ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • นัธทวัฒน์ ชลภักดี แอดมินเพจ "ศรีสุริโยไท" (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • นัธทวัฒน์ ชลภักดี แอดมินเพจ "ศรีสุริโยไท"

ความสำคัญของคดี

"บอส" ฉัตรมงคล วัลลีย์ อดีตนักกิจกรรม และขณะประกอบอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัยในจังหวัดปทุมธานี ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 หลังนัธทวัฒน์ ชลภักดี แอดมินเพจ "ศรีสุริโยไท" เข้าแจ้งความ กล่าวหาว่า ฉัตรมงคลใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวไปคอมเมนต์ข้อความหมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์ในเพจดังกล่าว หลังฉัตรมงคลเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวไว้

ฉัตรมงคลเปิดเผยความรู้สึกหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่า “มันตลกดี ข้อหานี้ปล่อยให้ใครก็ได้ไปแจ้งความ ที่ไหนก็ได้ มันเปิดโอกาสมากเกินไป และมาแจ้งกล่าวหาผมไกลมาก ถึงจังหวัดเชียงราย” ซึ่งทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก ทั้งยังต้องลางานอย่างน้อย 2 วัน เพื่อเดินทางไปตามนัดคดีในแต่ละครั้ง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์ในคดีโดยสรุปดังนี้

เมื่อประมาณปี 2562 นัธทวัฒน์ ชลภักดี ผู้กล่าวหา ได้ก่อตั้งและดูแลเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “ศรีสุริโยไท” จนในวันที่ 17 พ.ค. 2564 เวลาประมาณ 14.00 น. นัธทวัฒน์ได้โพสต์ข้อความว่า “เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ หัวใจของเราคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สิ่งที่พวกเราต้องการที่สุดคือกำลังใจ ไม่มีแบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งสี” ในเพจ

ต่อมาผ่านไป 2 ชั่วโมง เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เปิดดูเพจดังกล่าว พบว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีชื่อเดียวกับฉัตรมงคล ได้คอมเมนต์ข้อความในโพสต์ดังกล่าว ซึ่งนัธทวัฒน์เห็นว่าเป็นข้อความที่หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 1 พ.ย. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่ สภ.เมืองเชียงราย ฉัตรมงคล วัลลีย์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีนัธทวัฒน์ ชลภักดี เป็นผู้กล่าวหา

    ก่อนหน้านี้ฉัตรมงคลได้รับหมายเรียกจาก สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 11 ต.ค. 2564 ให้เข้าพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 20 ต.ค. 2564 แต่เขายังไม่สามารถเดินทางไปตามนัดได้ โดยขอเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหาออกไปเป็นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากต้องลางานล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน แต่พนักงานสอบสวนยืนยันให้มาพบในเดือนตุลาคม และได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 2 ฉัตรมงคลและทนายความจึงได้ประสานนัดหมายเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้ โดยเขาต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ มาที่จังหวัดเชียงราย ล่วงหน้า 1 วัน

    ร.ต.อ.เกียรติพงษ์ ติ๊บมา รองสารวัตรสอบสวน สภ.เมืองเชียงราย ได้เป็นตัวแทนคณะทำงานของตำรวจในคดีนี้ แจ้งข้อกล่าวหาต่อฉัตรมงคล โดยมีทนายความเข้าร่วมรับฟังการสอบสวน

    พฤติการณ์ข้อกล่าวหาระบุว่าเมื่อประมาณปี 2562 นัธทวัฒน์ ผู้กล่าวหาได้ก่อตั้งและดูแลเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “ศรีสุริโยไท” จนในวันที่ 17 พ.ค. 2564 เวลาประมาณ 14.00 น. นัธทวัฒน์ได้โพสต์ข้อความว่า “เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ หัวใจของเราคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สิ่งที่พวกเราต้องการที่สุดคือกำลังใจ ไม่มีแบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งสี” ในเพจ

    ต่อมาผ่านไป 2 ชั่วโมง เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เปิดดูเพจดังกล่าว พบว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีชื่อเดียวกับฉัตรมงคล ได้คอมเมนต์ข้อความในโพสต์ดังกล่าว ซึ่งนัธทวัฒน์เห็นว่าเป็นข้อความที่หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงราย เพื่อให้ดำเนินคดีผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาฉัตรมงคลในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ฉัตรมงคลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไปภายใน 30 วัน ก่อนตำรวจได้ให้ฉัตรมงคลพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และให้ลงบันทึกประจำวันไว้

    ในตอนแรก พนักงานสอบสวนระบุว่าคณะทำงานในคดี ได้มีความเห็นว่าจะให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปขอฝากขังต่อศาลจังหวัดเชียงราย แต่หลังการพูดคุย และพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาเดินทางมาพบตามหมายเรียก ไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี และยืนยันจะมาตามนัดหมาย จึงจะให้ปล่อยตัวไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ พร้อมกำหนดวันนัดหมายเพื่อมาส่งสำนวนคดีให้กับอัยการต่อไปในวันที่ 8 ธ.ค. 2564

    ฉัตรมงคลเปิดเผยความรู้สึกหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่า เขารู้สึกแปลกใจนิดหน่อย ที่ถูกดำเนินคดี เพราะตอนนี้ก็ไม่ค่อยได้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเขาก็อยู่เงียบๆ มาพักใหญ่แล้ว แต่กลับถูกกล่าวหาในข้อหามาตรา 112 ไกลถึงจังหวัดเชียงราย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวกับคดีที่เกิดขึ้น พร้อมจะต่อสู้คดีต่อไป ปัญหาสำคัญคือมีการดำเนินคดีในพื้นที่ที่ไกลจากภูมิลำเนาที่เขาอยู่ ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก ทั้งยังทำให้เขาต้องลางานอย่างน้อย 2 วัน เพื่อเดินทางมาที่เชียงราย จึงกังวลเรื่องผลกระทบต่อการทำงานที่อาจเกิดขึ้น

    “มันตลกดี ข้อหานี้ปล่อยให้ใครก็ได้ไปแจ้งความ ที่ไหนก็ได้ มันเปิดโอกาสมากเกินไป และมาแจ้งกล่าวหาผมไกลมาก ถึงจังหวัดเชียงราย” ฉัตรมงคลกล่าว

    ฉัตรมงคลระบุว่า เขาเคยถูกกล่าวหาในคดีชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง 2 คดี แต่คดีได้สิ้นสุดไปแล้ว โดยศาลยกฟ้องทั้งหมด ขณะนี้ยังเหลือคดีทำกิจกรรม “ปาไข่-สาดสี” ที่หน้า ม.พัน 4 รอ. เหตุทวงถามการลงโทษทหารล็อกคอผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2563 ซึ่งเขาเพิ่งถูกจับกุมไปสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญา เมื่อช่วงวันที่ 1 ต.ค. 2564 ซึ่งต้องต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไปอีก

    ฉัตรมงคลเคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ที่นำโดย “จ่านิว” สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ในช่วงยุค คสช. และเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในช่วงปี 2561 ต่อมาเขาระบุว่าได้ลดการเคลื่อนไหวทางการเมืองลง และเน้นประกอบอาชีพเพื่อหารายได้และดูแลครอบครัว โดยเขาทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ในย่านจังหวัดปทุมธานี มาราวเกือบ 1 ปีแล้ว

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 1 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37257)
  • ฉัตรมงคลเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนตามนัดส่งสำนวนให้อัยการ แต่ ร.ต.อ.เกียรติพงษ์ พนักงานสอบสวน ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมโดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาเช่นเดิม ระบุเพิ่มเติมว่า ตามที่เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ได้แจ้งข้อกล่าวหาฉัตรมงคลว่า หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ นั้น ด้วยความผิดฐานดังกล่าวเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง จึงถือว่าเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง

    และได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า พฤติการณ์และการกระทําของฉัตรมงคลเป็นความผิดฐาน "นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ และเผยแพร่ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ" ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3),(5)

    ฉัตรมงคลยืนยันให้การปฏิเสธ พนักงานสอบสวนนัดส่งสำนวนอัยการในวันที่ 24 ธ.ค. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองเชียงราย ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2564)
  • ฉัตรมงคลเดินทางเข้ารายงานตัวต่อพนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย พร้อมยื่นหนังสือเลื่อนนัดครั้งต่อไป โดยให้ทนายความรับคำสั่งแทน จนกว่าอัยการจะมีคำสั่งฟ้อง ระบุเหตุผลว่า เนื่องจากผู้ต้องหามีภูมิลําเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ และเป็นผู้มีรายได้น้อย การเดินทางมาที่จังหวัดเชียงรายมีความยากลําบาก เนื่องจากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว และค่าเดินทางมาสูงมาก อีกทั้งจะต้องลางาน ประกอบกับยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

    อัยการนัดครั้งต่อไปวันที่ 24 ก.พ. 2565 เวลา 09.30 น.
  • พนักงานอัยการจังหวัดเชียงรายยังไม่มีคำสั่ง นัดครั้งต่อไปวันที่ 24 มี.ค. 2565 โดยฉัตรมงคลไม่ต้องมารายงานตัวเอง

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฉัตรมงคล วัลลีย์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์