ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.641/2566
ผู้กล่าวหา
- สุเฑพ ศิลปะงาม (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.641/2566
ผู้กล่าวหา
- สุเฑพ ศิลปะงาม
ความสำคัญของคดี
“เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษาและนักกิจกรรมกลุ่ม "ราษฎร" ถูกนักธุรกิจรายหนึ่งแจ้งความดำเนินคดีตามมาตรา 112 กรณีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 พริษฐ์ได้โพสต์จดหมายถึงรัชกาลที่ 10 ในกิจกรรม #ราษฎรสาส์น เรียกร้องให้ปฏิบัติตาม 3 ข้อเรียกร้องของราษฎร ซึ่งรวมถึง 10 ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยผู้กล่าวหาเห็นว่า มี 2 ข้อความ เป็นการหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นกษัตริย์
ทั้งนี้ กิจกรรม #ราษฎรสาส์น ซึ่งจัดโดยกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ โดยมีนักกิจกรรมร่วมเขียนจดหมายยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ภายหลังกิจกรรมมีแกนนำ "ราษฎร" ถึง 5 ราย ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีประชาชนที่เห็นต่างในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้เข้าแจ้งความ
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเองเหมือนกับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ทำให้กฎหมายมาตรานี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่าง
ทั้งนี้ กิจกรรม #ราษฎรสาส์น ซึ่งจัดโดยกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ โดยมีนักกิจกรรมร่วมเขียนจดหมายยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ภายหลังกิจกรรมมีแกนนำ "ราษฎร" ถึง 5 ราย ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีประชาชนที่เห็นต่างในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้เข้าแจ้งความ
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเองเหมือนกับข้อหาหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ทำให้กฎหมายมาตรานี้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกลั่นแกล้งกลุ่มคนที่เห็นต่าง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
นพัตธร สำเภาเงิน พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 บรรยายคำฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
เมื่อวันที่ 8-10 พ.ย. 2563 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak’ ได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์และตั้งค่าเป็นสาธารณะ โดยมีการโพสต์ข้อความถึงการประทับของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในประเทศเยอรมนี รวมถึงย้ำถึง 3 ข้อเรียกร้องของการชุมนุม โดยมีใจความว่า
“ข้อแรก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที ข้อสอง ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชน โดยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญอันมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนร่างใหม่ทั้งฉบับ ข้อสาม ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตามข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่ได้เคยมีการเสนอไว้
“ข้างต้นนี้คืออุดมการณ์ที่ประชาราษฎรได้ปักเป็นธงในการส่งเสียงให้ถึงผู้มีอํานาจทั้งหมด... จนวันนี้ ประชาราษฎรก็ได้ยืนหยัดต่อสู้มาหลายเดือนแล้ว ดังนั้น นี่จึงควรเป็นเวลาที่ท่านจะตอบประชาชนได้แล้วว่าท่านจะมีจุดยืนอย่างไรต่อข้อเรียกร้องของประชาชน
“หากท่านยังอุปถัมภ์ค้ำชูทรราชประยุทธ์ นั่นแสดงว่าท่านดูถูกความทุกข์ยากและความคับแค้นของประชาราษฎร หากท่านไม่เปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นแสดงว่าท่านไม่ให้คุณค่ากับเสียงและอํานาจของประชาราษฎร และหากท่านไม่ยอมให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั่นแสดงว่าท่านปฏิเสธไม่ยอมปรับปรุงตัว ให้อยู่ร่วมกันกับประชาราษฎร
“ข้อเรียกร้องทั้งสามข้อที่ประชาราษฎรตะโกนพร่ำร้องมาหลายเดือนนี้มิใช่คําร้องขอ แต่คือคําขาด หากข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ปัญหาของประเทศชาติที่หมักหมมมาหลายสิบปีก็จะไม่ได้รับการแก้ไข และก็จะยังคงเฟะเน่าคาราคาซังเช่นนี้ต่อไป หากท่านยังเห็นแก่ชาติ จงโปรดปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเหล่านี้
“ขอท่านคิดไตร่ตรองให้จงดี นี่คือโอกาสที่ท่านจะได้ทบทวนตัวเองและปรับปรุงตัวให้ท่านและสถาบันของท่านได้มีความสง่างามเหมือนที่สถาบันกษัตริย์ของอารยะประเทศเป็น ด้วยความเคารพ ประชาราษฎรที่เป็นมนุษย์ มิใช่ฝุ่นธุลี”
ข้อความดังกล่าว ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็น ย่อมเข้าใจได้ว่าสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 10 และเข้าใจความหมายได้ว่า รัชกาลที่ 10 ทรงละทิ้งพสกนิกรปวงชนชาวไทยไปอาศัยอยู่อย่างสุขสบายที่ประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่บําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชนชาวไทย รวมถึงทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเป็นผู้นําขององคาพยพของเผด็จการศักดินาทั้งปวง และยังทรงอุปภัมภ์ค้ำชูทรราช โดยไม่ได้ดูแลความทุกข์ยากของประชาราษฎร
การกระทําของจำเลยจึงทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเกิดความรู้สึก ดูหมิ่น เกลียดชัง หรือเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.641/2566 ลงวันที่ 7 มี.ค. 2566)
ขณะเกิดเหตุประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
เมื่อวันที่ 8-10 พ.ย. 2563 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak’ ได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์และตั้งค่าเป็นสาธารณะ โดยมีการโพสต์ข้อความถึงการประทับของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในประเทศเยอรมนี รวมถึงย้ำถึง 3 ข้อเรียกร้องของการชุมนุม โดยมีใจความว่า
“ข้อแรก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที ข้อสอง ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชน โดยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญอันมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนร่างใหม่ทั้งฉบับ ข้อสาม ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตามข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่ได้เคยมีการเสนอไว้
“ข้างต้นนี้คืออุดมการณ์ที่ประชาราษฎรได้ปักเป็นธงในการส่งเสียงให้ถึงผู้มีอํานาจทั้งหมด... จนวันนี้ ประชาราษฎรก็ได้ยืนหยัดต่อสู้มาหลายเดือนแล้ว ดังนั้น นี่จึงควรเป็นเวลาที่ท่านจะตอบประชาชนได้แล้วว่าท่านจะมีจุดยืนอย่างไรต่อข้อเรียกร้องของประชาชน
“หากท่านยังอุปถัมภ์ค้ำชูทรราชประยุทธ์ นั่นแสดงว่าท่านดูถูกความทุกข์ยากและความคับแค้นของประชาราษฎร หากท่านไม่เปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นแสดงว่าท่านไม่ให้คุณค่ากับเสียงและอํานาจของประชาราษฎร และหากท่านไม่ยอมให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั่นแสดงว่าท่านปฏิเสธไม่ยอมปรับปรุงตัว ให้อยู่ร่วมกันกับประชาราษฎร
“ข้อเรียกร้องทั้งสามข้อที่ประชาราษฎรตะโกนพร่ำร้องมาหลายเดือนนี้มิใช่คําร้องขอ แต่คือคําขาด หากข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ปัญหาของประเทศชาติที่หมักหมมมาหลายสิบปีก็จะไม่ได้รับการแก้ไข และก็จะยังคงเฟะเน่าคาราคาซังเช่นนี้ต่อไป หากท่านยังเห็นแก่ชาติ จงโปรดปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเหล่านี้
“ขอท่านคิดไตร่ตรองให้จงดี นี่คือโอกาสที่ท่านจะได้ทบทวนตัวเองและปรับปรุงตัวให้ท่านและสถาบันของท่านได้มีความสง่างามเหมือนที่สถาบันกษัตริย์ของอารยะประเทศเป็น ด้วยความเคารพ ประชาราษฎรที่เป็นมนุษย์ มิใช่ฝุ่นธุลี”
ข้อความดังกล่าว ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็น ย่อมเข้าใจได้ว่าสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 10 และเข้าใจความหมายได้ว่า รัชกาลที่ 10 ทรงละทิ้งพสกนิกรปวงชนชาวไทยไปอาศัยอยู่อย่างสุขสบายที่ประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่บําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชนชาวไทย รวมถึงทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเป็นผู้นําขององคาพยพของเผด็จการศักดินาทั้งปวง และยังทรงอุปภัมภ์ค้ำชูทรราช โดยไม่ได้ดูแลความทุกข์ยากของประชาราษฎร
การกระทําของจำเลยจึงทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเกิดความรู้สึก ดูหมิ่น เกลียดชัง หรือเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.641/2566 ลงวันที่ 7 มี.ค. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 09-12-2020นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 13.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พริษฐ์ ชิวารักษ์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 จากกรณีโพสต์จดหมายถึงกษัตริย์ในกิจกรรม #ราษฎรสาส์น
พ.ต.ท.นิติธร เดชระพีร์ และ ร.ต.อ.ปิยวัฒน์ ปรัญญา พนักงานสอบสวน เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563 สุเฑพ ศิลปะงาม ได้มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ ผู้ใช้บัญชีเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak” กรณีโพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 เป็นจดหมายถึงรัชกาลที่ 10 เรียกร้องให้ปฏิบัติตาม 3 ข้อเรียกร้องของราษฎร คือ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก, ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ตามข้อเสนอ 10 ข้อ
พนักงานสอบสวนระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อความที่มีเนื้อหาเป็นการกล่าวหา ใส่ความรัชกาลที่ 10 มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระมหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาอ่าน เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ และสถาบันกษัตริย์
จึงแจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์ว่า หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
พริษฐ์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยขอยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 22 ม.ค. 2564 และปฏิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา โดยเขียนข้อความว่า “ไม่ขอลงลายมือชื่อ เพราะไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการศักดินา และมาตรา 112” จากนั้นพนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวพริษฐ์ โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว เนื่องจากมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก
ในวันนี้พริษฐ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาพร้อม "รุ้ง" ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ซึ่งถูกนิติพงษ์ ห่อนาค แจ้งความ จากกรณีที่ปนัสยาแชร์จดหมายถึงรัชกาลที่ 10 จากเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ย้ำ 3 ข้อเรียกร้องของราษฏร เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 กลุ่มประชาชนปลดแอกได้จัดการชุมนุม #ราษฎรสาส์น ให้ประชาชนร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ และมีการเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปใกล้พระบรมมหาราชวัง เพื่อส่งจดหมาย ทำให้นักกิจกรรมมีการเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 9 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23916) -
วันที่: 07-06-2022นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวน บก.ปอท.นัดหมายส่งตัวพริษฐ์พร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9
-
วันที่: 07-03-2023นัด: ยื่นฟ้องเวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9) ยื่นฟ้องพริษฐ์ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) คำฟ้องโดยสรุประบุว่า
เมื่อวันที่ 8-10 พ.ย. 2563 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak’ ได้โพสต์ข้อความถึงการประทับของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในประเทศเยอรมนี รวมถึงย้ำถึง 3 ข้อเรียกร้องของการชุมนุม โดยมีใจความว่า
“ข้อแรก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที ข้อสอง ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับประชาชน โดยให้สภาร่างรัฐธรรมนูญอันมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนร่างใหม่ทั้งฉบับ ข้อสาม ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตามข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่ได้เคยมีการเสนอไว้
“ข้างต้นนี้คืออุดมการณ์ที่ประชาราษฎรได้ปักเป็นธงในการส่งเสียงให้ถึงผู้มีอํานาจทั้งหมด... จนวันนี้ ประชาราษฎรก็ได้ยืนหยัดต่อสู้มาหลายเดือนแล้ว ดังนั้น นี่จึงควรเป็นเวลาที่ท่านจะตอบประชาชนได้แล้วว่าท่านจะมีจุดยืนอย่างไรต่อข้อเรียกร้องของประชาชน
“หากท่านยังอุปถัมภ์ค้ำชูทรราชประยุทธ์ นั่นแสดงว่าท่านดูถูกความทุกข์ยากและความคับแค้นของประชาราษฎร หากท่านไม่เปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นั่นแสดงว่าท่านไม่ให้คุณค่ากับเสียงและอํานาจของประชาราษฎร และหากท่านไม่ยอมให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั่นแสดงว่าท่านปฏิเสธไม่ยอมปรับปรุงตัว ให้อยู่ร่วมกันกับประชาราษฎร
“ข้อเรียกร้องทั้งสามข้อที่ประชาราษฎรตะโกนพร่ำร้องมาหลายเดือนนี้มิใช่คําร้องขอ แต่คือคําขาด หากข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง ปัญหาของประเทศชาติที่หมักหมมมาหลายสิบปีก็จะไม่ได้รับการแก้ไข และก็จะยังคงเฟะเน่าคาราคาซังเช่นนี้ต่อไป หากท่านยังเห็นแก่ชาติ จงโปรดปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเหล่านี้
“ขอท่านคิดไตร่ตรองให้จงดี นี่คือโอกาสที่ท่านจะได้ทบทวนตัวเองและปรับปรุงตัวให้ท่าน และสถาบันของท่านได้มีความสง่างามเหมือนที่สถาบันกษัตริย์ของอารยะประเทศเป็น ด้วยความเคารพ ประชาราษฎรที่เป็นมนุษย์ มิใช่ฝุ่นธุลี”
คำฟ้องระบุว่าข้อความดังกล่าว ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็น ย่อมเข้าใจได้ว่าสื่อถึงพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 10 ทรงละทิ้งพสกนิกรปวงชนชาวไทยไปอาศัยอยู่อย่างสุขสบายที่ประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่บําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชนชาวไทย รวมถึงทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเป็นผู้นําขององคาพยพของเผด็จการศักดินาทั้งปวง และยังทรงอุปภัมภ์ค้ำชูทรราช โดยไม่ได้ดูความทุกข์ยากของประชาราษฎร
การกระทําของจำเลยจึงทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเกิดความรู้สึก ดูหมิ่น เกลียดชัง หรือเกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 และสถาบันพระมหากษัตริย์
ท้ายคำฟ้องอัยการยังได้ระบุว่า ขอให้ศาลได้นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากอีก 17 คดีที่พริษฐ์ตกเป็นจำเลยอยู่ด้วย พร้อมกับคัดค้านคำขอปล่อยตัวชั่วคราว อ้างว่าเนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูงและเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เกรงว่าจำเลยจะหลบหนีและไปก่อคดีเช่นเดียวกับคดีนี้ซ้ำอีก
ก่อนที่ในเวลา 16.40 น. ปริญญา สิตะโปสะ มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวพริษฐ์ โดยให้วางหลักทรัพย์ประกัน 90,000 บาท ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ อันทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันกษัตริย์ในทุกด้าน พร้อมกำหนดวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 8 พ.ค 2566 เวลา 13.30 น.
ทั้งนี้ เพนกวินเป็นนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 จำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเขาถูกกล่าวหาไปถึง 23 คดี โดยในจำนวนนี้ถูกสั่งฟ้องถึงชั้นศาลไปแล้วจำนวน 18 คดี โดยยังไม่มีแม้แต่คดีเดียวที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ทำให้เขามีภาระในการต่อสู้คดีจำนวนมากต่อไป
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.641/2566 ลงวันที่ 7 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54088) -
วันที่: 08-05-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐาน
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์