ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 11)
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 11)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2407/2565
แดง อ.1690/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง
ความสำคัญของคดี
นักกิจกรรมกลุ่ม “ทะลุฟ้า” ได้แก่ "แซม" พรชัย ยวนยี, "บัง" (สงวนชื่อสกุลจริง) และ "คาริม" จิตริน พลาก้านตง ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการวางเพลิงซุ้มเฉลิมพระเกียรติบนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิต มัธยม ระหว่างการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ทำให้ซุ้มฯ ถูกไฟไหม้เป็นรอยดำ 2 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 1,000 บาท
แซม, บัง, จิตริน รวมทั้ง "แม็ก" สินบุรี แสนกล้า ยังถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการวางเพลิงป้อมจราจรบริเวณแยกนางเลิ้งในเวลาใกล้เคียงกัน มูลค่าความเสียหาย 15,000 บาท ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีในข้อหา วางเพลิงเผาทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แซม, บัง และคาริม ยังถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น แซมและแม็กยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณา แม้ว่าทนายจะยื่นประกันหลายต่อหลายครั้ง ก่อนได้ประกันโดยต้องติด EM และมีกำหนดเวลาออกนอกเคหสถาน หลังแซมถูกคุมขังเกือบ 5 เดือน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำต่อรูป ไม่ใช่ตัวบุคคล ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากนั้น การไม่ให้สิทธิประกันตัวเพียงเพราะเป็นคดีมาตรา 112 โดยที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาถึงหลักฐานในคดียังขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ซึ่งศาลจะต้องให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
แซม, บัง, จิตริน รวมทั้ง "แม็ก" สินบุรี แสนกล้า ยังถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการวางเพลิงป้อมจราจรบริเวณแยกนางเลิ้งในเวลาใกล้เคียงกัน มูลค่าความเสียหาย 15,000 บาท ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีในข้อหา วางเพลิงเผาทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แซม, บัง และคาริม ยังถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น แซมและแม็กยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัวตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณา แม้ว่าทนายจะยื่นประกันหลายต่อหลายครั้ง ก่อนได้ประกันโดยต้องติด EM และมีกำหนดเวลาออกนอกเคหสถาน หลังแซมถูกคุมขังเกือบ 5 เดือน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำต่อรูป ไม่ใช่ตัวบุคคล ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากนั้น การไม่ให้สิทธิประกันตัวเพียงเพราะเป็นคดีมาตรา 112 โดยที่ศาลยังไม่ได้พิจารณาถึงหลักฐานในคดียังขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ซึ่งศาลจะต้องให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
อมรรัช ศรีบุญขำ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันดังนี้
1. วันที่ 19 ก.ย. 2564 ที่มีการชุมนุมของกลุ่ม ‘ทะลุแก๊ส’ และจำเลยกับพวกได้เข้าร่วมกลุ่มชุมนุมดังกล่าว ซึ่งเป็นการชุมนุมในสถานที่แออัด มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ในเขตพื้นที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อันเป็นการรวมกลุ่มกันมากกว่า 25 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 พรชัย, บัง, จิตริน และพวกอีก 1 คน ได้ทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี โดยการขว้างปาระเบิดเพลิงขึ้นไปบนสะพานลอยบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และพระราชินี และโดยการราดน้ำมัน จุดไฟเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม จนไฟลุกทำให้ซุ้มดังกล่าวบริเวณตรงกลางถูกไฟไหม้เป็นรอยดำ 2 แห่ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 1,000 บาท การกระทำของพรชัยกับพวกมีเจตนากระทำการอันไม่สมควรและเป็นการล่วงละเมิด ด้วยการแสดงออกอันไม่ใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยม แต่เป็นการแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น กษัตริย์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี และมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์
3. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 พรชัย, สินบุรี, บัง, จิตริน กับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร บริเวณแยกนางเลิ้ง ทำให้ไฟลุกลามไหม้ตู้ควบคุมสัญญาณจราจรได้รับความเสียหาย และยังลุกลามไหม้เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.ต.ต.อัครพล ไชยขันธ์ จนได้รับความเสียหาย คิดเป็นค่าเสียหายจำนวน 15,000 บาท
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2565, คดีหมายเลขดำที่ อ.2517/2565 ลงวันที่ 4 ต.ค. 2565 และคดีหมายเลขดำที่ อ.215/2566 ลงวันที่ 27 ม.ค. 2566)
1. วันที่ 19 ก.ย. 2564 ที่มีการชุมนุมของกลุ่ม ‘ทะลุแก๊ส’ และจำเลยกับพวกได้เข้าร่วมกลุ่มชุมนุมดังกล่าว ซึ่งเป็นการชุมนุมในสถานที่แออัด มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ในเขตพื้นที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อันเป็นการรวมกลุ่มกันมากกว่า 25 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 พรชัย, บัง, จิตริน และพวกอีก 1 คน ได้ทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินี โดยการขว้างปาระเบิดเพลิงขึ้นไปบนสะพานลอยบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 และพระราชินี และโดยการราดน้ำมัน จุดไฟเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม จนไฟลุกทำให้ซุ้มดังกล่าวบริเวณตรงกลางถูกไฟไหม้เป็นรอยดำ 2 แห่ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 1,000 บาท การกระทำของพรชัยกับพวกมีเจตนากระทำการอันไม่สมควรและเป็นการล่วงละเมิด ด้วยการแสดงออกอันไม่ใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยม แต่เป็นการแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น กษัตริย์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี และมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์
3. เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 พรชัย, สินบุรี, บัง, จิตริน กับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร บริเวณแยกนางเลิ้ง ทำให้ไฟลุกลามไหม้ตู้ควบคุมสัญญาณจราจรได้รับความเสียหาย และยังลุกลามไหม้เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.ต.ต.อัครพล ไชยขันธ์ จนได้รับความเสียหาย คิดเป็นค่าเสียหายจำนวน 15,000 บาท
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2565, คดีหมายเลขดำที่ อ.2517/2565 ลงวันที่ 4 ต.ค. 2565 และคดีหมายเลขดำที่ อ.215/2566 ลงวันที่ 27 ม.ค. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 08-10-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหา (บัง)“บัง” (สงวนชื่อสกุลจริง) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วัย 22 ปี ซึ่งร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มโมกหลวงริมน้ำและกลุ่มทะลุฟ้า พร้อมทนายความ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาอื่นๆ ที่ สน.นางเลิ้ง
บังระบุว่าตนได้รับหมายเรียกจาก สน.นางเลิ้ง ลงวันที่ 7 ต.ค. 2564 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการนำมาส่งที่บ้านในวันนั้นเลย คดีมี พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี เป็นผู้กล่าวหา หมายระบุให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 8 ต.ค. 2564 เพียงวันเดียวหลังออกหมาย โดยไม่ให้เวลาเตรียมตัวใดๆ
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร สารวัตร (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง แจ้งข้อกล่าวหาบังทั้งหมด 5 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 32 และชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับที่ 10
พฤติการณ์ข้อกล่าวหาโดยสรุประบุว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมคาร์ม็อบบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังแยกนางเลิ้ง ซึ่งเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการขว้างปาสิ่งของ ประทัด ยิงหนังสติ๊กใส่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน บริเวณแนวสะพานชมัยมรุเชษฐฯ
ผู้กล่าวหาอ้างว่า ระหว่างนั้นได้พบ “บัง” ซึ่งร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวขับขี่รถจักรยานยนต์ไปจอดที่แยกนางเลิ้ง ต่อมาเวลาประมาณ 19.14 น. ได้มีชายคนหนึ่งใช้วัตถุขว้างขึ้นไปบนสะพานลอยคนข้าม ไปยังซุ้มเฉลิมพระเกียรติพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย จากนั้นชายคนดังกล่าวได้วิ่งไปขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ “บัง” หลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ
ผู้กล่าวหาอ้างว่าการกระทำต่อพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสิ่งที่คนไทยเคารพเทิดทูนเสมอกับพระองค์จริง พิจารณาได้จากตำแหน่งที่ประดิษฐาน เราจะไม่ตั้ง วาง ติด หรือแขวนพระบรมฉายาลักษณ์ฯ ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ไว้ในที่อันไม่สมควร และจะไม่ข้ามกรายพระบรมฉายาลักษณ์ฯ อันเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพ ความสำคัญของพระบรมฉายาลักษณ์ฯ คือเป็นสื่อให้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีที่ก่อสร้างชาติไทยสืบมาแต่บรรพกาล เป็นเหตุให้ลูกหลานไทยมีแผ่นดินถิ่นเกิดถิ่นอาศัยในโลกอยู่ทุกวันนี้ การระลึกถึงคุณของผู้มีพระคุณเป็นคุณธรรมสำคัญของความเป็นมนุษย์ เป็นการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณกาล
พฤติการณ์ข้อกล่าวหามีเพียงในลักษณะดังกล่าว บังจึงให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป โดยพนักงานสอบสวนได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ ลงบันทึกประจำวันไว้ และให้ปล่อยตัวไป โดยนัดหมายให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 7 พ.ย. 2564
หลังรับทราบข้อกล่าวหา บังเปิดเผยว่าตนยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด แม้ตนจะเข้าร่วมการชุมนุมวันดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้ไปก่อเหตุร่วมเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติแต่อย่างใด เพื่อนๆ ตนจะทราบดีว่าที่ผ่านมา ตนระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยง การถูกแจ้งข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่าความไม่เป็นธรรมกำลังมาเยือนเราแล้ว ตนเข้าใจว่าพยานหลักฐานที่ตำรวจมีเป็นเพียงรูปจากกล้องวงจรปิดที่ไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด
“ตอนได้หมายก็รู้สึกตกใจมาก เพราะเป็นข้อหา 112 เลย เป็นคดีการเมืองแรกในชีวิต ก็กลายเป็น 112 เลย วันนั้นมีตำรวจ 4 นาย มาส่งหมายให้แม่ที่บ้าน แม่ได้รับหมายก็ตกใจ ตำรวจให้แม่ผมดูรูปถ่าย แล้วก็พยายามให้ยืนยันว่าผมคือคนในรูป โดยมีรูปถ่ายปกติของตัวผม กับรูปจากกล้องวงปิดที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร”
บังยังเปิดเผยว่า 1 วันหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจรวมถึง 10 นาย เดินทางไปพบแม่ที่บ้าน ทั้งที่ตนก็ไปรับทราบข้อหามาแล้ว ทราบว่าเป็นตำรวจจาก สน.นางเลิ้ง ได้เข้าพูดคุยกับแม่ในลักษณะกดดันว่า ไม่อยากให้ลูกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ไม่ไปเกี่ยวกับการจัดม็อบอีก ทั้งยังกล่าวหาในลักษณะว่า “น้องโดนล้างสมองอะไรมาหรือเปล่า” และ “มีใครเขาให้ข้าวให้น้ำกินหรือเปล่า” ด้วย ทำให้แม่เกิดความกังวลต่อการถูกดำเนินคดีที่เกิดขึ้น
การถูกดำเนินคดียังก่อให้เกิดผลกระทบ โดยแม้ทางครอบครัวของบังจะเข้าใจ แต่ญาติที่เป็นข้าราชการ กลัวจะมีผลกระทบเกิดขึ้น จึงขอให้บังย้ายออกจากทะเบียนบ้านที่เคยอยู่ ส่วนทางมหาวิทยาลัย ก็มีอาจารย์มาถามไถ่ถึงคดีที่เกิดขึ้น บังก็พยายามชี้แจงว่าตนไม่ได้กระทำตามที่ถูกกล่าวหา นอกจากนั้นยังกังวลต่อเรื่องการเรียน ที่กำลังใกล้จะจบการศึกษาแล้ว ยังไม่รู้ว่าจะได้รับผลกระทบอะไรหรือไม่
“ก่อนหน้านี้เราระมัดระวังเรื่อง 112 อยู่แล้ว และคิดว่าไม่ควรมีใครโดนกล่าวหาด้วยข้อหานี้ แต่กลับเป็นผมเองที่โดน ก็ตื่นเต้น ตอนต้องปั๊มลายนิ้วมือเป็นครั้งแรกในชีวิต พอได้สัมผัสมันเอง ก็ทำให้ผมเกิดคำถามว่า ที่ผ่านมาทำไมเราถึงถูกทำให้กลัว โทษของมัน หรือความร้ายแรงของมัน ทำให้เกิดความรู้สึกแบบพอโดนแล้ว มันต้องใช้ชีวิตต่อไปยังไง จะเสียอิสรภาพไปหรือไม่ เราคาดเดาอะไรจากคดีแบบนี้ไม่ได้เลย แล้วความเป็นธรรมมันจะหาได้จากที่ไหน แต่พอคิดว่าเราไม่ได้ทำตามที่ถูกกล่าวหา ก็คงต้องต่อสู้ไปให้ถึงที่สุด จนกว่าความเป็นธรรมจะเกิดขึ้น และบ้านเมืองจะมีประชาธิปไตย” บังกล่าว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.นางเลิ้ง คดีอาญาที่ 341/2564 ลงวันที่ 8 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/36606) -
วันที่: 07-07-2022นัด: จับกุมตามหมายจับ (พรชัย)เวลาประมาณ 12.00 น. “แซม” พรชัย ยวนยี นักกิจกรรมกลุ่ม “ทะลุฟ้า” ถูกตำรวจ สน.นางเลิ้ง จับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาอื่นๆ
ก่อนหน้าถูกจับกุม พรชัยเดินทางไปที่ศาลทหารเพื่อไปดำเนินการขอเพิกถอนหมายจับของศาลทหาร ในคดี 14 นักศึกษา เมื่อปี 2558 โดยศาลทหารได้บอกให้เดินทางไปยัง สน.สำราญราษฎร์ ซึ่งเป็นเจ้าของคดี อย่างไรก็ตาม เมื่อพรชัยเดินทางไปถึง สน.สำราญราษฎร์ ตำรวจได้แจ้งว่าตนมีหมายจับค้างในคดี ม.112 ของ สน.นางเลิ้ง อยู่ด้วย โดยเป็นหมายจับออกโดยศาลอาญา เลขที่ 490/2565 ลงวันที่ 16 มี.ค. 2565
ทางตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ จึงได้ประสานงานให้ตำรวจ สน.นางเลิ้ง นำโดย พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก.สส.สน.นางเลิ้ง, ร.ต.ต.สุชาติ รัตนมณี รอง สว.สส.สน.นางเลิ้ง, ด.ต.แหวนเพชร วรรณมาศ, ส.ต.อ.อิสระ วงษ์ชัยเพ็ง, ส.ต.ต.อภิวัฒน์ เดชเชียร เจ้าหน้าที่ ฝ่ายสืบสวน สน.นางเลิ้ง เดินทางเข้าจับกุมและควบคุมตัวพรชัยไปที่ สน.นางเลิ้ง โดยพรชัยยืนยันว่าตนไม่เคยได้รับหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหามาก่อน
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร สารวัตร (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง ได้แจ้ง 5 ข้อกล่าวหากับพรชัย ได้แก่ ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ร่วมกันจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 32 และชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับที่ 10 โดยกล่าวหาว่า พรชัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม ระหว่างการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564
พรชัยให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะให้การเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้ง วันที่ 5 ส.ค. 2565 โดยเขาปฏิเสธไม่ลงชื่อในเอกสารของตำรวจ
พนักงานสอบสวนนำตัวพรชัยไปขอฝากขังที่ศาลอาญา รัชดาในเวลา 15.00 น. โดยคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ก่อนที่ในเวลา 16.50 น. ศาลอาญามีคำสั่งให้ฝากขัง และไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว หลังทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเงินสด 100,000 บาท
ศาลอาญาให้เหตุผลว่า พิเคราะห์กรณีการกระทำของผู้ต้องหาตามที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อหาร้ายแรง มีอัตราโทษสูง มีลักษณะร่วมกันกระทำโดยใช้ความรุนแรงในที่สาธารณะ และกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการอันเป็นการไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย น่าเชื่อว่าหากปล่อยชั่วคราวไป ผู้ต้องหาอาจหลบหนีหรือไปก่อภยันอันตรายประการอื่นอีก ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้าน ในชั้นนี้จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง
ทั้งนี้ตำรวจแจ้งว่ายังมีผู้ถูกออกหมายจับอีก 2 คน ทำให้ในเหตุเดียวกันนี้จะมีผู้ถูกดำเนินคดีรวมจำนวน 4 คน โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2564 “บัง” (สงวนชื่อสกุลจริง) ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว 1 คน และได้รับการปล่อยตัวในชั้นสอบสวน
จากการที่พรชัยไม่ได้รับการประกันตัวในวันนี้ ทำให้มีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดีเป็นจำนวน 23 คนแล้ว
(อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.นางเลิ้ง คดีอาญาที่ 341/2564 ลงวันที่ 7 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45767) -
วันที่: 27-07-2022นัด: ยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ยื่นคำร้องขอฝากขังพรชัยเป็นครั้งที่ 3 มีกำหนด 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. – 11 ส.ค. 2565 ระบุเหตุผลว่า ต้องสอบพยานอีก 4 ปาก รอผลการตรวจลายนื้วมือและประวัติของผู้ต้องหา โดยทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง พร้อมขอให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน แต่ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนทางจอภาพในวันที่ 11 ส.ค. 2565 เวลา 13.30 น. แทน ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 3 และพนักงานสอบสวนต้องยื่นคำร้องขอฝากขังครั้ง 4
-
วันที่: 03-08-2022นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 3เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว “แซม” พรชัย ยวนยี นักกิจกรรมกลุ่ม “ทะลุฟ้า” เป็นครั้งที่ 3
ต่อมา เวลา 11.47 น. ศาลมีคำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวพรชัยเช่นเดิม ระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลนี้เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ยกคำร้อง”
ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของพรชัยระบุโดยสรุปว่า ขอวางหลักประกันเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมทั้งระบุว่า พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหานั้น อ้างเหตุการณ์โดยเลื่อนลอย เคลือบคลุมเท่านั้น ไม่มีพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันเป็นความผิด
นอกจากนี้ ผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน คดีมีหนทางจะต่อสู้คดีได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย รวมถึงผู้ต้องหาประสงค์จะนำพยานบุคคลและพยานเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อนำเสนอต่อศาล โดยผู้ต้องหาประสงค์จะต่อสู้คดีให้ถึงที่สุดเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน รวมถึงผู้ต้องหาไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถใด ๆ ที่จะไปข่มขู่คุกคามหรือรบกวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรือก่ออันตรายประการอื่นได้
อีกทั้งเหตุแห่งการจับกุมคดีนี้เกิดจากผู้ต้องหาไปติดต่อราชการที่ สน.สำราญราษฎร์ เมื่อเจ้าหน้าที่แสดงหมายจับและจับกุม ผู้ต้องหาก็ให้ความร่วมมืออย่างดี ไม่ได้ต่อสู้ขัดขวาง จึงไม่มีพฤติการณ์หลบหนี เหตุผลของพนักงานสอบสวนในการคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ระบุว่า หากปล่อยตัวชั่วคราวไปเกรงว่าจะหลบหนี ยากแก่การติดตามมาดำเนินคดีในภายหลังนั้น จึงเป็นเพียงการคาดเดาของพนักงานสอบสวนโดยเลื่อนลอย โดยไม่ได้พิจารณาถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาเป็นสำคัญ
ที่สำคัญผู้ต้องหามีภรรยาและลูกสาว 1 คน ซึ่งยังจำเป็นต้องได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ต้องหา การที่ผู้ต้องหาถูกขังไว้ในขณะนี้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ครอบครัวของผู้ต้องหาเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ตามหลักกฎหมายทั้งวิธีพิจารณาความอาญาและหลักรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้ต้องหาย่อมถือเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําความผิด รวมถึงผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์จะไปก่อให้เกิดภยันตรายประการอื่นแต่อย่างใด
ในท้ายคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุอีกว่า หากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นประโยชน์เพื่อประกอบการพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน ผู้ต้องหายินดีปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด และขอให้ศาลได้เบิกตัวผู้ต้องหามาศาลเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ประกอบการพิจารณาเพื่อปล่อยชั่วคราวดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันโดยไม่ได้ไต่สวนพรชัยตามที่ร้องขอแต่อย่างใด
อนึ่ง พรชัยถูกจับกุมและคุมขัง มาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2565 ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 7 ก.ค. และ 13 ก.ค. 2565 แต่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกัน ขณะนี้เขาถูกคุมขังมาแล้ว 28 วัน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 ศาลอาญา ลงวันที่ 27 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46828) -
วันที่: 08-08-2022นัด: มอบตัวตามหมายจับ (สินบุรี)เวลา 10.00 น. สินบุรี แสนกล้า หรือ “แม็ก” จากกลุ่มทะลุฟ้า อายุ 26 ปี พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้าแสดงตัวที่ สน.นางเลิ้ง หลังทราบว่าตนมีหมายจับในข้อกล่าวหา “วางเพลิงเผาทรัพย์ฯ”, “ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ฯ” และฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สืบเนื่องมาจากกรณีเข้าร่วมการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร 2549 ที่บริเวณแยกนางเลิ้ง เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564
ก่อนเข้ามอบตัว สินบุรีได้เปิดเผยว่า ไม่รู้มาก่อนว่าตัวเองมีหมายจับในคดีนี้ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้เคยมีการส่งหมายเรียกมาที่บ้านแต่อย่างใด เมื่อทราบ เขาจึงมาแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี ยินดีจะทำตามกระบวนการทางกฎหมาย พร้อมกับระบุว่าขอให้ผู้ใช้กฎหมายปฏิบัติตามกระบวนการที่มีการบัญญัติไว้ เพราะตอนนี้กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐที่กลั่นแกล้งประชาชนผู้เห็นต่าง
สำหรับเหตุที่สินบุรีถูกกล่าวหา เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์เผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม และเผาป้อมจราจรบริเวณแยกนางเลิ้ง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 เช่นเดียวกับ “บัง” ที่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก และ “แซม” พรชัย ที่ถูกจับตามหมายจับไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทั้งสองถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการเผาซุ้มฯ แต่กรณีของสินบุรีถูกกล่าวหาเฉพาะเหตุการณ์เผาป้อมจราจร ทำให้ถูกแจ้งข้อกล่าวหา “วางเพลิงเผาทรัพย์ฯ”, “ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ฯ” และฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
สินบุรีได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยเขายืนยันว่าไม่ใช่ผู้เผาป้อมจราจรตามข้อกล่าวหา ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้นำตัวสินบุรีไปขอฝากขังต่อศาลอาญา รัชดาฯ ในเวลา 13.30 น. ก่อนที่ศาลอาญามีคำสั่งให้ฝากขังและไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
คำสั่งไม่ให้ประกันระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้วกรณีการกระทำของผู้ต้องหาตามที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อหาร้ายแรง มีอัตราโทษสูง มีลักษณะร่วมกันกระทำโดยใช้ความรุนแรงในที่สาธารณะ และกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ อันเป็นการไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย น่าเชื่อว่าหากปล่อยชั่วคราวไป ผู้ต้องหาอาจหลบหนีหรือไปก่อภยันอันตรายประการอื่นอีก ในชั้นนี้จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง” ลงนามคำสั่งผู้พิพากษาโดย อรรถการ ฟูเจริญ
เวลา 18.14 น. ผลจากคำสั่งไม่ให้ประกันดังกล่าว สินบุรีได้ถูกส่งตัวขึ้นรถไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยมีสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าขับรถตามไปส่งถึงหน้าเรือนจำ
สำหรับสินบุรีจบการศึกษาระดับ ปวส. สาขางานก่อสร้าง จากวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ก่อนร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มทะลุฟ้า ตั้งแต่ช่วงหมู่บ้านทะลุฟ้า ก่อนหน้านี้ เขาไม่เคยถูกดำเนินคดีจากกิจกรรมทางการเมืองใดๆ มาก่อน คดีนี้เป็นคดีแรกที่เขาถูกกล่าวหา
ขณะเดียวกัน ในคดีนี้ยังมีรายงานว่าตำรวจมีการขอออกหมายจับนักกิจกรรมทะลุฟ้าอีก 1 ราย ได้แก่ “คาริม” หรือจิตริน พลาก้านตง ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำอยู่แล้ว เหตุจากศาลอาญาไม่ให้ประกันตัวในคดีสาดสีหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ โดยคาดว่าตำรวจจะเข้าแจ้งข้อกล่าวหาในเรือนจำต่อไป
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/46992)
-
วันที่: 11-08-2022นัด: ไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 4เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังพรชัยครั้งที่ 4 ทนายและครอบครัวของผู้ต้องหาเดินทางมาถึงห้อง หลังจากนั้นแซมจึงได้ถูกนำตัวเข้ามายังห้องพิจารณา พร้อมกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อีกจำนวน 3 นาย
ต่อมา 10.05 น. ศาลออกพิจารณาคดี โดยสรุปคำร้องคัดค้านฝากขังที่ทนายความยื่นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 ระบุเหตุว่า พนักงานสอบสวนไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหารายนี้อีก เนื่องจากการคุมขังแซมไว้ เป็นการขังที่เกินความจำเป็นของพฤติการณ์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้การควบคุมผู้ต้องหาให้กระทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และผู้ต้องหารายนี้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง พนักงานสอบสวนสามารถติดตามตัวมาพบได้
อีกทั้ง ผู้ต้องหามีความยินยอมจะไปพบพนักงานสอบสวนตามที่เรียกโดยไม่มีเจตนาที่จะหลบหนี ตลอดจนพนักงานสอบสวนยังสามารถสอบพยานเพิ่มเติมในคดีนี้ รวมถึงรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือและประวัติต้องโทษของผู้ต้องหามาประกอบได้โดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมผู้ต้องหารายนี้เอาไว้
++พนักงานสอบสวนยืนยันว่าไม่ได้คัดค้านการประกันตัว ก่อนศาลเข้าปรึกษากับรองอธิบดีฯ ระบุเป็นระเบียบของศาล
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร สารวัตรสอบสวน สน.นางเลิ้ง เบิกความต่อศาลว่า พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นที่จะต้องสอบปากคำพยานอีกจำนวน 4 ปาก ในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 ส่วนในคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 4 วันนี้ (11 ส.ค. 2565) ผู้ร้องก็ได้ยื่นต่อศาลเรียบร้อยแล้ว
เมื่อทนายถามว่า ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าต้องรอผลตรวจลายพิมพ์นิ้วมือนั้น เป็นกระบวนการภายในของตำรวจฝ่ายเดียวใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ ทนายจึงถามต่อไปว่า การไม่คุมขังผู้ต้องหารายนี้ไว้ ก็ไม่ได้เป็นผลให้กระบวนการไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ พนักงานสอบสวนได้ยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว ว่าถึงแม้แซมจะได้รับการประกันตัว ก็ไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับกระบวนการใดๆ ของตำรวจได้
ทนายความยังถามถึงพยานบุคคลที่พนักงานสอบสวนต้องการสอบปากคำเพิ่มเติมว่าเป็นใครบ้าง ศาลก็ได้ท้วงติงคำถามของทนายว่าไม่ควรถามเช่นนี้กับผู้ร้อง ศาลจึงถามแทนทนายว่า ในการสอบปากคำพยานบุคคลนั้น มีความเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาในคดีนี้อย่างไร ผู้ร้องแถลงว่าเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป 1 ปาก และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐอีก 1 ปาก
ทนายถามจึงถามต่อว่า ในการสอบปากคำพยานดังกล่าว ก็สามารถทำได้ แม้ผู้ต้องหาในคดีนี้จะไม่ได้ถูกคุมขัง พ.ต.ท.สำเนียง รับว่าใช่
ในคดีนี้ แซมได้เดินทางไปติดต่อราชการที่ สน.สำราญราษฎร์ ก่อนจะทราบว่าตนมีหมายจับจาก สน.นางเลิ้ง อยู่ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกัน จนทำให้แซมถูกจับกุมในที่สุด ทนายจึงได้ถามว่าในกรณีนี้ที่ผู้ต้องหาเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงาน ก็ไม่ได้ปรากฏพฤติการณ์ที่จะหลบหนี และจนถึงการยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 4 ผู้ร้องก็ไม่ได้ขอคัดค้านการประกันตัวด้วยใช่หรือไม่ พนักงานสอบสวนตอบว่าใช่
ศาลบอกต่อจากทนายว่า ในการฝากขังและประกันตัวนั้นคนละส่วนกัน ขอให้แยกแยะด้วย ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อมโยงกัน ศาลไม่ได้ใช้ดุลยพินิจจากกฎหมายเพียงข้อเดียวในการพิจารณา ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะให้สิทธิและเสรีภาพต่อประชาชน แต่ก็มีหน้าที่พลเมืองกำหนดไว้ด้วย ตลอดจนได้บอกต่อทนายความและผู้ต้องหาว่า ศาลเคารพในการแสดงออกทางการเมืองตลอด
อย่างไรก็ตาม ศาลได้ยกตัวอย่างกรณีการไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับแซมว่า เนื่องจากในคดีอาญาหลายคดีที่ผ่านมา ผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลบหนี หรือเข้ายุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือกลับไปรวมกลุ่มชุมนุมอีก จึงเป็นเรื่องที่ควรระวังไว้ก่อน
อีกทั้งการทำงานของตำรวจก็มีความล่าช้าแบบนี้เพราะมีคดีจำนวนมาก ไม่ใช่คดีนี้เพียงคดีเดียว และในการขอฝากขังเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ มีตัวแปรและปัจจัยเยอะมากในกระบวนการนี้ เพื่อที่จะให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำพยานบุคคลอื่นเพิ่มเติมได้
ต่อมาเวลา 10.20 น. ศาลได้แจ้งว่าจะนำประเด็นการคัดค้านฝากขังในครั้งที่ 3 เข้าปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลก่อน ส่วนการฝากขังครั้งที่ 4 ศาลได้ถามความยืนยันต่อทนายว่าจะก็จะยื่นคำร้องคัดค้านใช่หรือไม่ ทนายก็ได้ตอบว่าใช่ และได้แถลงเพิ่มเติมในส่วนคดีอื่นของผู้ต้องหารายนี้ว่าได้รับประกันตัวแล้วในศาลอื่น และได้อ้างเหตุการขอประกันตัวแบบเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลในวันนี้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งในห้องพิจารณาเลยได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ศาลได้ชี้แจงว่า การเข้าปรึกษาคดี เป็นระเบียบของศาลที่ต้องเข้าปรึกษากับรองอธิบดี และขอให้รอฟังคำสั่งต่อไป
ในเวลา 11.54 น. เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ก่อนศาลจะกลับเข้ามาในห้องพิจารณาคดี อ่านคำสั่งระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าตามคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 3 มีระบุเหตุผลและความจำเป็นว่าต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวน 4 ปาก รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ และประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา ซึ่งนับว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำการรวบรวมพยานหลักฐานทางคดีอาญา
ในคำร้องฝากขัง ครั้งที่ 3 จึงชอบด้วยการขอหมายขังระหว่างสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 และส่วนในเรื่องอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหา เมื่อศาลอนุญาตให้หมายขังตามคำร้องขอฝากขังแล้ว เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา108/1 ซึ่งผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว หรือยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ตามกฎหมายต่อไป
ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะสามารถดำเนินการสอบสวนต่อไป หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วด้วยเหตุผลว่า การปล่อยชั่วคราวจะไม่เป็นอุปสรรค หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (5) ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าว ยังกำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจตามมาตรา 108/1 (1), (2),(3) และ (4) ได้อยู่
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องขอหมายขังของผู้ร้อง ตามคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 3 ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 กำชับให้พนักงานสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว”
ลงนามคำสั่งโดย นภาวรรณ ขุนอักษร
จากนั้น ทนายความยังได้ยื่นขอประกันตัวแซมเป็นครั้งที่ 4 ต่อมาในเวลา 17.08 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลเคยมีสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้วกรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมจึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง” ลงนามคำสั่งไม่อนุญาตประกันโดย วรินทร ขอบโคกกรวด
ทำให้ในวันนี้ “แซม” พรชัย ต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป รวมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2565 เป็นเวลา 35 วันแล้ว
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 11 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46828) -
วันที่: 23-08-2022นัด: ไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 5เวลา 14.00 น. ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังพรชัยครั้งที่ 5 หลังจากในช่วงเช้าทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังต่อครั้งที่ 5 โดยศาลแจ้งว่าการไต่สวนในครั้งนี้ เนื่องจากทนายได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามา และเพื่อความสะดวก รวดเร็วจึงขอให้พิจารณาคดีในห้องงานฝากขัง และเมื่อพิจารณาคดีเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจะให้ทนายเข้าพูดคุยกับจำเลยผ่านการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในภายหลัง
ศาลได้สรุปคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ซึ่งต้องการขอฝากขังผู้ต้องหาในครั้งที่ 5 อีก 12 วัน เนื่องจากยังมีพยานบุคคลที่ไม่ได้สอบปากคำจำนวน 1 ปาก อีกทั้งยังต้องทำสำนวนคดีเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
ต่อมา ศาลได้อ่านสรุปคำร้องขอคัดค้านฝากขังที่ทนายความยื่น ระบุเหตุว่า พนักงานสอบสวนไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะยื่นคำร้องขอฝากขังต่อผู้ต้องหารายนี้อีก เนื่องจากการคุมขังจำเลยไว้ เป็นการคุมขังเกินความจำเป็นของพฤติการณ์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้การควบคุมผู้ต้องหาให้กระทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และผู้ต้องหารายนี้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง พนักงานสอบสวนสามารถติดตามตัวมาพบได้
อีกทั้ง ผู้ต้องหามีความยินยอมจะไปพบพนักงานสอบสวนตามที่เรียกโดยไม่มีเจตนาที่จะหลบหนี ตลอดจนพนักงานสอบสวนยังสามารถสอบพยานเพิ่มเติม รวมถึงรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือและประวัติต้องโทษของผู้ต้องหามาประกอบได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมผู้ต้องหาเอาไว้
++พนักงานสอบสวนต้องการสอบพยานบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ได้เห็นเหตุการณ์ เพื่อมาบรรยายความรู้สึกในเหตุการณ์ของคดีนี้ ก่อนศาลอนุญาตให้ฝากขังต่อในครั้งที่ 5
ศาลได้ถามต่อพนักงานสอบสวนผู้ร้องว่า พยานบุคคลที่ยังไม่ได้สอบปากคำนั้น มีความเกี่ยวข้องในคดีนี้อย่างไร และสามารถนำตัวมาสอบสวนภายในอาทิตย์นี้ได้หรือไม่
ผู้ร้องได้ตอบว่า พยานบุคคลดังกล่าวเป็นพยานที่จะมาพูดถึงความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ในคดีนี้ ไม่ได้เป็นพยานผู้เห็นเหตุการณ์แต่อย่างใด และไม่สามารถยืนยันกับศาลได้ว่าจะสามารถนำตัวพยานบุคคลดังกล่าวมาสอบปากคำให้แล้วเสร็จภายในอาทิตย์นี้ได้หรือไม่
นอกจากนี้ ในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 5 ได้ระบุเหตุว่า พนักงานสอบสวนต้องใช้เวลาทำสำนวนคดีและเสนอต่อผู้บังคับบัญชา แต่ไม่ได้ระบุระยะเวลาว่าจะสามารถดำเนินกระบวนการดังกล่าวแล้วเสร็จเมื่อใด
ศาลได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ในคดีนี้เป็นคดีสำคัญ การขังผู้ต้องหาไว้นั้นเกินความจำเป็นแล้ว และขอให้ผู้ร้องระบุระยะเวลาในการทำสำนวนคดีให้แล้วเสร็จต่อศาลอย่างชัดเจนได้หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องได้ตอบศาลว่า ในส่วนของการสอบปากคำพยานบุคคลดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องใช้เวลา 2 วัน และในการนำเสนอสำนวนคดีต่อผู้บังคับบัญชาให้ทราบอีกเป็นจำนวน 2 วัน รวมเป็นระยะเวลา 4 วันในผัดนี้ และไม่สามารถที่จะดำเนินการกระบวนการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในอาทิตย์นี้ได้
ศาลได้อนุญาตให้ทนายความถามค้าน ซึ่งทนายได้ถามว่า พยานบุคคลดังกล่าวเป็นพยานที่ผู้ร้องจะนำตัวมาสอบสวน เพื่อถามความรู้สึกต่อเหตุการณ์เท่านั้นใช่หรือไม่ โดยผู้ร้องได้ตอบว่าใช่ และอธิบายเพิ่มเติมว่าจะเป็นการถามความรู้สึกถึงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่ถูกเผา
ทนายถามต่อผู้ร้องว่า ในการถามพยานเพื่ออธิบายความรู้สึก อันที่จริงแล้วสามารถเป็นใครก็ได้ และถามต่อผู้ร้องว่า ในการหาพยานปากนี้ พนักงานสอบสวนไปสืบเสาะมาได้อย่างไร ผู้ร้องแถลงว่า พยานปากนี้เป็นบุคคลที่เคยเข้ามาติดต่อราชการกับ สน.นางเลิ้ง และมีที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิเหตุ
ทนายความได้ตั้งข้อสังเกตในการยื่นคำร้องขอฝากขังในครั้งที่ 5 ระบุประเด็นสำคัญเพียงว่าต้องการสอบพยานบุคคลทั่วไป เพื่อให้มาบรรยายความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับผู้ต้องหาในคดีนี้เลย ซึ่งไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลในการขอฝากขังต่อแต่อย่างใด
เมื่อทนายถามต่อผู้ร้องว่า หากแซมไม่ได้ถูกคุมขังไว้ พนักงานสอบสวนก็สามารถสอบพยานบุคคลดังกล่าวได้ใช่หรือไม่ ผู้ร้องได้ตอบว่าใช่ และเมื่อทนายถามต่อว่า หากในวันนี้ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องหา ผู้ร้องก็ไม่คัดค้านการขอประกันใช่หรือไม่ ผู้ร้องก็ได้ยืนยันว่าจะไม่มีการทำเรื่องคัดค้านแต่อย่างใด
ต่อมาในเวลา 15.10 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังแซม พรชัย ต่อเป็นครั้งที่ 5 มีใจความสำคัญระบุว่า พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานบุคคลทั่วไปดังกล่าว และต้องทำสำนวนเสนอต่อผู้บังคับบัญชา จึงเห็นชอบให้มีการฝากขังต่ออีก 12 วัน กำชับให้พนักงานสอบสวนเร่งทำสำนวนให้เสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ เมื่ออ่านคำสั่งเสร็จแล้ว ศาลได้แจ้งคำสั่งให้พรชัยทราบผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในบริเวณห้องงานฝากขังของศาล จากนั้น ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาทันที ซึ่งเป็นการยื่นประกันเป็นครั้งที่ 5
ต่อมาในเวลา 17.00 น. ศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวพรชัย ระบุเหตุ “พิเคราะห์แล้ว ศาลเคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง”
ทำให้ในวันนี้ “แซม” พรชัย ต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป รวมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2565 เป็นเวลา 48 วันแล้ว
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 23 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/47454) -
วันที่: 02-09-2022นัด: ไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 6เวลา 10.30 น. ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังพรชัยครั้งที่ 6 โดยให้เบิกตัวผู้ต้องหาเข้าร่วมการไต่สวนผ่านการวีดิโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังแซม ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2565
++ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ‘แซม’ ต่อเป็นผัดที่ 6 แม้ครั้งก่อนจะเคยกำชับระยะเวลาการทำสำนวนคดีของพนักงานสอบสวนแล้ว
เวลา 10.30 น. ก่อนเริ่มไต่สวน ทนายความเปิดเผยว่าในวันนี้ พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ที่เดินทางมาเบิกความ ไม่ใช่ พ.ต.ท. สำเนียง โสธร สารวัตรสอบสวนผู้ยื่นคำร้อง แต่เป็นพนักงานสอบสวนในคณะทำงานเท่านั้น
ศาลจึงถามพนักงานสอบสวนคนดังกล่าวว่าเหตุใด พ.ต.ท. สำเนียง ในฐานะผู้ร้องขอฝากขังถึงไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมการไต่สวนในวันนี้ได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ตอบว่า พ.ต.ท.สำเนียง ติดภาระกิจต้องเดินทางไปที่ศาลอื่น จึงมอบหมายให้ตนมาแทน
อย่างไรก็ตาม ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุความจำเป็นของพนักงานสอบสวนผู้ร้อง โดยมีคำสั่งให้เลื่อนนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังในวันนี้ออกไปเป็นเวลา 14.00 น. และให้ พ.ต.ท. สำเนียง โสธร เดินทางมาเข้าร่วมการไต่สวนในครั้งนี้ด้วยตนเอง
เป็นเวลาเกือบ 4 ชั่วโมงต่อมา ผู้ต้องหาถูกเบิกตัวเข้าร่วมการพิจารณาคดีผ่านวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ และศาลออกพิจารณาคดี โดยพนักงานสอบสวนผู้ร้องได้แถลงถึงเหตุผลในการขอฝากขังแซมเป็นครั้งที่ 6 ระบุว่า เนื่องจากการสอบสวนคดียังไม่เสร็จสิ้นและอยู่ในระหว่างการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้น
ต่อมา ทนายผู้ต้องหาถามค้าน โดยย้อนถามผู้ร้องถึงนัดไต่สวนฝากขัง ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ว่าพนักงานสอบสวนได้รับปากกับศาลว่าจะดำเนินการสอบปากคำพยานบุคคลที่เหลืออยู่เพียง 1 ปาก ซึ่งขอใช้เวลา 2 วัน และดำเนินการเสนอสำนวนคดีต่อผู้บังคับบัญชาให้ทราบอีกเป็นจำนวน 2 วัน รวมเป็นระยะเวลา 4 วันในผัดดังกล่าว
ซึ่งในวันที่ 4 ก.ย. 2565 จะเป็นการครบฝากขังผู้ต้องหาในผัดที่ 5 แล้ว ครั้งก่อนผู้ร้องได้แจ้งต่อศาลชัดเจนว่าต้องเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาเพียง 2 ชั้นเท่านั้น เหตุใดผู้ร้องถึงได้ยื่นเรื่องการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุในการขอฝากขังผู้ต้องหาต่ออีก และไม่สามารถดำเนินการตามที่เบิกความไว้ได้
อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.สำเนียง ได้ชี้แจงต่อทนายว่าในการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชามีทั้งหมด 3 ชั้น ซึ่งทำให้ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 5 วัน และยังไม่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นในผัดที่ผ่านมา
ทนายจึงถามต่อว่า ในคดีนี้ ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ตลอดจนมีครอบครัวและลูกที่ยังเล็กอยู่ ซึ่งไม่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีได้ ซึ่งผู้ร้องได้ตอบว่า ทราบตามที่แจ้งในประวัติ แต่ไม่ได้ทราบว่าแซมได้พักอาศัยอยู่ตามที่แจ้งจริงหรือไม่ และยังตอบทนายว่า ส่วนเรื่องที่เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีนั้น ตนเองก็ไม่รู้หรอกว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีจริงไหม
ทั้งนี้ ทนายความได้ถามพนักงานสอบสวนผู้ร้องอีกว่า ในขั้นตอนการดำเนินการส่งสำนวนคดีให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้น เป็นการดำเนินการภายในขององค์กรตำรวจเอง ซึ่งหากศาลไม่ฝากขังต่อหรืออนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ต้องหาสามารถเข้าไปยุ่งเหยิงในกระบวนการดังกล่าวได้ใช่หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องก็ได้ตอบว่าใช่
จากนั้นศาลได้ให้แซมที่เข้าร่วมการไต่สวนผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ได้เบิกความ ซึ่งแซมได้แถลงต่อศาลว่า “การขังผมไว้ 60 กว่าวัน เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง ทุกครั้งที่มีคำสั่งไม่ให้ประกัน ก็จะเป็นผู้พิพากษาที่ชื่อ อรรถการ ฟูเจริญ เสมอ”
เมื่อผู้ต้องหาได้แถลงต่อศาลเสร็จสิ้นแล้ว ศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณา โดยมีคำสั่งระบุว่า เห็นว่าการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับเป็นชั้นสุดท้าย เป็นเหตุจำเป็น อนุญาตฝากขัง 10 วัน นับแต่วันที่ 5 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่ได้ปรากฏว่าศาลได้บันทึกถ้อยคำในการแถลงของแซมลงไปในรายงานกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด
ต่อมาในเวลา 15.00 น. ทนายได้ยื่นประกันแซมเป็นครั้งที่ 6 ก่อนศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกัน ระบุว่า พิเคราะห์แล้วศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมจึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง
ทั้งนี้ ขณะให้นายประกันอ่านคำสั่งไม่ให้ประกัน เจ้าหน้าที่ศาลได้ใช้กระดาษปิดชื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำสั่งดังกล่าว
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและคำสั่ง ศาลอาญา ลงวันที่ 2 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/47897) -
วันที่: 12-09-2022นัด: ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวของศาลอาญา ซึ่งเป็นการยื่นอุทธรณ์ครั้งแรก ระบุเหตุผลสำคัญว่า ในการไต่สวนพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2565 ปรากฏข้อเท็จจริงใหม่ว่าพยานหลักฐานทั้งหมดล้วนอยู่ในความครอบครองของพนักงานสอบสวนแล้วทั้งสิ้น ขณะนี้เหลือเพียงแต่การเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาในชั้นสุดท้ายเท่านั้น และพนักงานสอบสวนเบิกความต่อศาลว่าการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาไม่กระทบต่อการสอบสวน อีกทั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่ไม่คัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา
ประกอบกับเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 อันเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษสูงและศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 กรณีรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น และการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาไม่เป็นอุปสรรคหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาลแต่อย่างใด
ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 14 ก.ย. 2565 เวลา 15.00 น.
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 2 ก.ย. 2565) -
วันที่: 14-09-2022นัด: ยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 7หลังพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอฝากขังพรชัยครั้งที่ 7 ระบุเหตุผลว่า ยังตรวจสำนวนไม่เสร็จ อีกทั้งต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบสำนวนคดีของผู้ต้องหา และทนายความยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าวันนี้คงไม่สามารถไต่สวนคำร้องฝากขังได้ เหตุเพราะพรชัยถูกเบิกตัวไปขึ้นศาลในคดีอื่น ศาลจึงนัดไต่สวนในวันที่ 19 ก.ย. 2565 เวลา 13.30 น. โดยในวันนี้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังพรชัยต่ออีก 5 วัน
การนัดไต่สวนดังกล่าว เท่ากับศาลให้ขังไปก่อน ไต่สวนภายหลัง แต่ศาลได้อธิบายเหตุผลเพิ่มเติมว่า เนื่องจากการเบิกตัวไปขึ้นศาลอื่นของแซมที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 14 – 16 ก.ย. 2565 ทำให้ในวันนี้จึงไม่สามารถให้แซมมาเข้าร่วมการพิจารณาคดีในนัดไต่สวนคัดค้านฝากขังของคดีนี้ได้
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้ฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ผ่านมา ก็เนื่องจากพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ใช้เวลาทำสำนวนและดำเนินการภายในขององค์กรตำรวจเองล่าช้า และการฝากขังครั้งที่ 7 ในวันนี้ ก็มาจากเหตุที่ว่าพนักงานอัยการตรวจสำนวนไม่เสร็จทันฟ้อง
ทำให้ “แซม” พรชัย ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2565 เป็นเวลา 70 วันแล้ว
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ศาลยังได้แจ้งว่า วันนี้อาจจะไม่มีการฟังคำสั่งจากศาลอุทธรณ์ เนื่องจากในตอนเช้า ศาลอุทธรณ์ได้ขอดูเอกสารคำเบิกความในส่วนของพนักงานสอบสวนเพิ่มเติม และต่อมาได้นัดฟังคำสั่งใหม่ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.ย. 2565)
น่าสังเกตว่า หากนัดไต่สวนคำร้องฝากขังเป็นวันที่ 19 ก.ย. 2565 ซึ่งจำนวนวันที่ศาลอนุญาตฝากขังในผัดนี้ได้เพียง 5 วันเท่านั้น เท่ากับว่าพรชัยถูกคุมขังในผัดนี้ไปก่อนล่วงหน้า และพนักงานอัยการมาขอฝากขังในผัดต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ ทนายความในคดีหมู่บ้านทะลุฟ้าที่ทำการเบิกตัวแซมไปขึ้นศาลแขวงดุสิต ได้เปิดเผยว่า เมื่อทราบถึงการนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ ก็ได้ถอนหมายเบิกตัวดังกล่าวของแซมออกแล้ว และคิดว่าแซมน่าจะได้เดินทางไปศาลอาญาเพื่อรอฟังคำสั่งประกันตัวของศาลอุทธรณ์และไต่สวนฝากขังซึ่งมีความสำคัญกว่า
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาได้มีคำสั่งให้นัดไต่สวนฝากขังในวันที่ 19 ก.ย. 2565 ก่อนที่แซมจะเดินทางมาถึง ซึ่งทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้มีการเร่งรัดไต่สวนก่อนวันที่ 19 ก.ย. 2565 ในทันที แต่เจ้าหน้าที่ศาลก็ได้แจ้งว่า ให้มารอฟังคำสั่งในวันถัดไป
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/48271 และ https://tlhr2014.com/archives/48385) -
วันที่: 15-09-2022นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์ของพรชัย โดยระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง เป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งกระทบต่อความรู้สึกและศีลธรรมอันดีของประชาชน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ในชั้นนี้หากอนุญาตให้ปล่อนตัวชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวขอบแล้ว ให้ยกคำร้อง”
ลงนามคำสั่งโดยผู้พิพากษา ดำรงค์ ยาน้ำทอง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/48385) -
วันที่: 19-09-2022นัด: ไต่สวนคำร้องฝากขังครั้งที่ 7เวลา 13.30 น. ศาลอาญา รัชดา ยกเลิกนัดไต่สวนฝากขังพรชัยครั้งที่ 7 เนื่องมาจากแซมได้ติดนัดตรวจพยานหลักฐานที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ในคดีชุมนุมอดีตนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ที่อัยการเพิ่งสั่งฟ้องหลังเหตุเกิดเมื่อ 7 ปีก่อน จึงทำให้ไม่สามารถมาร่วมการย้อนไต่สวนคัดค้านฝากขังในครั้งนี้ได้
ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น. พนักงานอัยการได้มายื่นคำร้องขอฝากขังเป็นครั้งที่ 8 โดยทนายความได้ทำการยื่นคัดค้านขอฝากขังในทันที ก่อนศาลให้รอฟังคำสั่งนัดการไต่สวนต่อไป
อย่างไรก็ตาม เวลา 16.45 น. ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนนัดไต่สวนคัดค้านฝากขังแซม พรชัย ในผัดที่ 7 ไปเป็นวันที่ 20 ก.ย. 2565 เวลา 14.00 น.
ทนายความเปิดเผยว่าการไต่สวนตามคำสั่งดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการนัดซ้อนไต่สวนฝากขังครั้งที่ 8 ก็เป็นไปได้ เนื่องจากว่าการฝากขังครั้งที่ 7 นั้น ครบรอบฝากขังไปตามคำร้องของอัยการแล้ว และกำลังเข้าสู่การฝากขังครั้งที่ 8
ทำให้พรชัยจะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป รวมระยะเวลา 75 วันแล้ว โดยตำรวจและอัยการมีอำนาจขอฝากขังในชั้นสอบสวนได้ทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/48568) -
วันที่: 20-09-2022นัด: ไต่สวนคำร้องฝากขังครั้งที่ 7เวลา 14.00 น. ศาลอาญานัดไต่สวนฝากขัง "แซม" พรชัย พนักงานอัยการเดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดี 708 โดยในวันนี้ แซมได้ถูกเบิกตัวเข้าพิจารณาคดีผ่านการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ก่อนที่ศาลจะออกพิจารณาคดี ทนายความได้สอบถามอัยการว่าจะยื่นฟ้องคดีนี้ได้เมื่อไหร่ อัยการระบุว่าภายในวันที่ 23 ก.ย. 2565
เมื่อศาลออกพิจารณาคดี ร.ต.อ.ทองสุข ภิธรรม พนักงานอัยการผู้ร้อง เบิกความว่า ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาในระหว่างวันที่ 20 – 28 ก.ย. 2565 เนื่องจากขณะนี้สำนวนคดีได้อยู่ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว ตามระเบียบของสำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากเป็นคดีที่มีความสำคัญ โทษร้ายแรงและผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคดีสั่งฟ้องอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้ อัยการได้แถลงว่าหลังจากที่ได้รับสำนวนคดีจากพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง มาเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2565 ก็ได้รีบส่งให้คณะกรรมการพิจารณาโดยทันที
ทนายผู้ต้องหาสอบถามอัยการว่า พยานหลักฐานในคดีนี้ที่ได้รับเป็นภาพถ่ายและเอกสาร ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ส่งมอบให้ทั้งหมดแล้วใช่หรือไม่ ผู้ร้องได้ตอบว่าสำนวนคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ส่งบันทึกถ้อยคำพยาน และได้ส่งต่อให้คณะกรรมการแล้ว
ทนายความต่อว่า ในคณะกรรมการดังกล่าวเป็นกลุ่มข้าราชการระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุดใช่หรือไม่ ซึ่งอัยการผู้ร้องได้ตอบว่า ใช่
ทั้งนี้ ทนายได้ตั้งคำถามต่ออัยการผู้ร้องว่าคณะทำงานชุดดังกล่าวได้เปิดเผยรายชื่อให้ทราบหรือไม่ ผู้ร้องได้ตอบว่าไม่รู้ และเมื่อทนายถามต่อว่า พยานก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นใครบ้างที่ตัดสินใจพิจารณาคดีนี้ รู้เพียงแต่ว่าเป็นคณะกรรมการเท่านั้น พยานได้ตอบว่าใช่ ไม่ทราบ
เมื่อทนายถามว่าถ้าคณะทำงานดังกล่าวพิจารณาสำนวนคดีแล้วเสร็จ อัยการจะสามารถสั่งฟ้องได้ภายใน 1 วันหรือไม่ ผู้ร้องก็ได้ตอบว่าถ้าคณะทำงานมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว ก็จะสามารถทำได้ภายใน 1 วัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อทนายถามว่า ในคดีนี้หากปล่อยผู้ต้องหาไปก็ไม่ได้มีเหตุให้การพิจารณาคดีของคณะกรรมการดังกล่าวติดขัด หรือในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกคุมขังอยู่นี้ ก็ไม่ได้มีใครใช้อิทธิพลไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดีใช่หรือไม่ ผู้ร้องได้ตอบว่าใช่ แต่ก็เกรงว่าถ้าได้รับการปล่อยตัว ผู้ต้องหาจะหลบหนี
ศาลได้ถามต่อว่าในคดีนี้ อัยการจะสามารถสั่งฟ้องได้ในวันไหน ซึ่งพยานผู้ร้องได้มีท่าทีไม่แน่ใจ แต่ก็ตอบว่าภายในวันที่ 23 ก.ย. 2565 น่าจะได้
14.30 น. ศาลออกจากห้องพิจารณาคดี และขอให้รอฟังคำสั่งต่อไป
เวลา 14.45 น. ศาลกลับเข้าห้องพิจารณาคดี โดยมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังแซมต่อเป็นครั้งที่ 8 มีใจความสำคัญระบุว่า “กรณีมีเหตุจำเป็นที่จะต้องขังผู้ต้องหาไว้จนกว่ากระบวนการพิจารณาของผู้ร้องจะเสร็จสิ้นลง จึงอนุญาตให้ฝากขังต่อได้อีก 8 วัน ถึงวันที่ 28 ก.ย. 2565 ตามที่ผู้ร้องขอ แต่ให้อัยการแถลงผลการดำเนินกระบวนการพิจารณาของคณะทำงานคดีภายในวันที่ 23 ก.ย. 2565 ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป กำชับให้ผู้ร้องเร่งรัดให้การดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไม่ตัดสิทธิของผู้ต้องหาในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว”
ทั้งนี้ ในการฝากขังแซมต่ออีก 8 วันทำให้เขาถูกคุมขังจนครบ 8 ผัด รวมระยะเวลา 84 วันตามกฎหมายที่จะทำได้ และแซมยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป รวมวันนี้เป็นระยะเวลา 77 วันแล้ว
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/48619) -
วันที่: 23-09-2022นัด: ยื่นฟ้อง (พรชัย, สินบุรี)ที่ศาลอาญา รัชดาฯ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นฟ้องพรชัยและสินบุรีต่อศาลอาญา ในขณะที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยฟ้องแซม เป็นจำเลยที่ 1 ในข้อหา "ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และแม็ก เป็นจำเลยที่ 2 ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
อัยการบรรยายฟ้องว่า พรชัยและพวกร่วมชุมนุม, ร่วมกันวางเพลิงซุ้มเฉลิมพระเกียรติบนสะพานลอยโรงเรียนราชวินิตมัธยมจนเป็นรอยดำ 2 แห่ง ซึ่งไม่ใช่การใช้สิทธิตามปกตินิยม เป็นการแสดงออกถึงความอาฆาตมาดร้าย และดูหมิ่นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี เจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพของปวงชนชาวไทย ซึ่งอยู่ในฐานะที่ใครจะละเมิดไม่ได้
นอกจากนี้อัยการระบุว่า พรชัย สินบุรี และพวก ทำให้ไฟลุกลามไหม้ตู้ควบคุมสัญญาณจราจร และลุกลามไหม้เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งมีกรรมสิทธิ์เป็นของ ร.ต.ต.อัครพล ไชยขันธ์ ที่ได้นำมาติดตั้งไว้ใช้งานในตู้ควบคุมสัญญาณไฟดังกล่าว คิดเป็นค่าเสียหายจำนวน 15,000 บาท
ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการประกันตัว แต่ขอให้ศาลนับโทษจำคุกของพรชัยในคดีนี้เรียงต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาอื่นอีกจำนวน 2 คดีด้วย
ทั้งสองคนยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 31 ต.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
ในช่วงบ่าย ทนายได้เข้ายื่นประกันตัวจำเลยทั้งสองรายทันที โดยวางหลักทรัพย์ในการประกันจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
ก่อนที่ในเวลา 17.04 น. ศาลอาญาได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแซม พรชัย โดยระบุคำสั่งว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง”
ส่วนแม็ก หรือจำเลยที่ 2 ศาลยังไม่มีคำสั่ง ทำให้จำเลยทั้งสองจะยังคงถูกคุมขังต่อไปในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในระหว่างพิจารณาคดี
คดีนี้ยังมี “บัง” นักศึกษาสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าอีกรายหนึ่ง ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับพรชัย หลังเขาเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกเมื่อเดือนตุลาคม 2564 พนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวไป โดยไม่เคยถูกยื่นขอฝากขัง ล่าสุดอัยการก็มีคำสั่งฟ้องเป็นคดีเดียวกับทั้งสองคน แต่บังติดภารกิจ จึงได้ขอให้อัยการเลื่อนฟ้องคดีออกไปก่อน
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/48810) -
วันที่: 26-09-2022นัด: ยื่นประกันพรชัยครั้งที่ 8ทนายความได้เข้ายื่นขอประกันตัวพรชัยอีกเป็นครั้งที่ 8 และขอให้ไต่สวนจำเลย แต่ศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยระบุว่า “พิเคราะห์แล้ว ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นต้องไต่สวนและไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง“
นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งต่อคำร้องขอประกันสินบุรีที่ยื่นเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2565 ไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดียวกันแซม ระบุว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
-
วันที่: 27-09-2022นัด: ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันทนายได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวของศาลชั้นต้น ระบุเหตุผลว่า คำสั่งไม่ให้ประกันลงวันที่ 26 ก.ย. 2565 อ้างอิงถึงคำสั่งไม่ให้ประกันครั้งแรกในวันที่ 7 ก.ค. 2565 ซึ่งระบุว่า "ข้อกล่าวหาของจำเลยในคดีนี้ เป็นข้อหาที่มีความร้ายแรง และมีอัตราโทษสูง เป็นการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินข้าราชการและไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย เชื่อว่าหากปล่อยไปแล้ว อาจมีพฤติการณ์หลบหนีคดีได้" ได้ระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว
ทั้งนี้ คำสั่งข้างต้น เป็นเหตุจากการที่จำเลยถูกฝากขัง ครั้งที่ 1 และปัจจุบันอัยการโจทก์ได้มีคำสั่งฟ้องคดีแล้วเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา กรณีนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไป จึงขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
อีกทั้ง ในคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้านการประกันตัวของจำเลย โดยขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล อันเป็นการชี้ให้เห็นว่าจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และไม่มีพฤติการณ์ที่จะไปก่อภยันตรายประการอื่น
นอกจากนี้ จำเลยยังเป็นหัวหน้าครอบครัว ประกอบอาชีพรับจ้าง มีภรรยาและลูกสาว อายุเพียง 8 ปีที่ต้องเลี้ยงดู หากจำเลยถูกคุมขังไว้ในระหว่างพิจารณาคดีต่อไป จะกระทบต่อการประกอบอาชีพและส่งผลกระทบต่อครอบครัวของจำเลยเป็นอย่างยิ่ง การขังจำเลยไว้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม
หากศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวใดๆ เช่น การติดกำไล EM หรือกำหนดเวลาให้อยู่ในเคหะสถานหรือในพื้นที่ที่ศาลกำหนด จำเลยสามารถยอมรับเงื่อนไขและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวอย่างเคร่งครัดทุกประการ
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 27 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/49173) -
วันที่: 03-10-2022นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ศาลอาญาอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยังคงยืนตามศาลชั้นต้นไม่ให้ประกันแซม เป็นครั้งที่ 2 ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว พรชัย ในฐานะจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่าร่วมกับพวกกระทำผิดในข้อหาที่มีอัตราโทษสูง ลักษณะอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ถือเป็นเรื่องร้ายแรง ในชั้นนี้หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 จะหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก คำสั่งศาลชั้นต้นเห็นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง”
ผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ ทำให้แซมจะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 29 ก.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/49173) -
วันที่: 04-10-2022นัด: ยื่นฟ้อง (บัง)ที่ศาลอาญา รัชดาฯ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นฟ้อง "บัง หรือ “มิกกี้บัง” เป็นจำเลยอีกราย จากเหตุการณ์ไฟไหม้ซุ้มเฉลิมพระเกียรติบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม เป็นรอยดำ และไฟไหม้ป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง ระหว่างการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 หลังยื่นฟ้องพรชัยและสินบุรีไปเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2565 โดยมิกกี้บังติดภารกิจอื่น จึงได้ขอเลื่อนนัดส่งฟ้องมาเป็นวันนี้
อัยการบรรยายฟ้องบัง ในพฤติการณ์เดียวกันกับพรชัย คือร่วมชุมนุม, ร่วมกันวางเพลิงซุ้มเฉลิมพระเกียรติบนสะพานลอยโรงเรียนราชวินิตมัธยมจนเป็นรอยดำ 2 แห่ง และวางเพลิงป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง จนแอร์และตู้เย็นได้รับความเสียหาย
อัยการฟ้องบังใน 4 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ข้อหาตามมาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ทั้งอัยการยังไม่ได้คัดค้านการประกันตัว โดยระบุว่าหากจำเลยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
ต่อมา ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัวในชั้นพิจารณา และเวลา 16.40 น. ศาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุคำสั่งว่า “กรณีการกระทำของจำเลยตามที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อหาร้ายแรง มีอัตราโทษสูง มีลักษณะร่วมกันกระทำโดยใช้ความรุนแรงในที่สาธารณะ และกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ อันเป็นการไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย น่าเชื่อว่าหากปล่อยตัวชั่วคราวไป จำเลยอาจหลบหนีหรือไปก่อภยันตรายประการอื่น ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง”
ลงนามคำสั่งโดย อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้มิกกี้บังถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทันที
ก่อนหน้านี้ มิกกี้บังเคยระบุหลังรับทราบข้อกล่าวหาในคดีนี้ยืนยันว่า เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ถูกกล่าวหา แม้จะเข้าร่วมการชุมนุมวันดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้ไปก่อเหตุร่วมเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติแต่อย่างใด เพื่อนๆ จะทราบดีว่าที่ผ่านมา เขาระมัดระวังเรื่องการเคลื่อนไหวที่สุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2517/2565 ลงวันที่ 4 ต.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/49207) -
วันที่: 25-10-2022นัด: ยื่นประกันจำเลยทั้งสามทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพรชัย, สินบุรี และบัง ระหว่างพิจารณาคดีอีกครั้ง สำหรับพรชัยเป็นการยื่นประกันครั้งที่ 3 หลังอัยการยื่นฟ้องคดี ส่วนสินบุรีและบัง เป็นการยื่นประกันครั้งที่ 2
คำร้องขอประกันทั้งสามระบุว่า หากศาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อประกอบการพิจารณาปล่อยชั่วคราวจำเลย จำเลยทั้งสามยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลโดยเคร่งครัด
เวลา 16.30 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวทั้งสามคน ระบุในคำสั่งสำหรับพรชัยว่า ศาลนี้และศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม สำหรับคำสั่งไม่ให้ประกันสินบุรีและบัง ระบุเช่นเดียวกันว่า ศาลนี้เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม -
วันที่: 27-10-2022นัด: ยื่นประกันสินบุรีทนายความยื่นประกันสินบุรีอีกเป็นครั้งที่ 5 หรือครั้งที่ 3 หลังอัยการฟ้องคดี คำร้องระบุว่า เขายินยอมรับทุกเงื่อนไขการประกันตัว และยืนยันว่าการที่ถูกดำเนินคดีอาญาที่มีฐานความผิดที่มีอัตราโทษร้ายแรง มิได้เป็นเหตุให้จำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี หลังทราบว่ามีหมายจับในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงได้เข้ามอบตัวที่ สน.นางเลิ้ง ด้วยตัวเอง ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด ก่อนที่ตำรวจจะทำการขอฝากขังต่อศาลอาญา และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ต่อมา พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุว่า ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/50040) -
วันที่: 31-10-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานเวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 711 ศาลอาญา มีนัดตรวจพยานหลักฐาน แซม, แม็ก และบัง ถูกเบิกตัวมาร่วมการพิจารณาคดี โดยมีญาติและครอบครัว พร้อมทั้งประชาชนที่ติดตามกลุ่มทะลุฟ้าได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์คดีนี้เป็นจำนวนมาก
ต่อมาเวลา 09.30 น. ศาลออกพิจารณาคดี โดยให้จำเลยทั้ง 3 คน แสดงตัวต่อหน้าศาล และแจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2565 ศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 (พรชัยและสินบุรีเป็นจำเลย) เข้ากับคดีหมายเลขดำที่ อ.2517/2565 (บังเป็นจำเลย) ของศาลนี้ ก่อนจะอ่านคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ให้จำเลยทั้ง 3 คนทราบ จำเลยทั้งหมดได้ยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลได้สอบถามจำเลยที่ 1 หรือ แซม ว่ายอมรับหรือไม่ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอื่นที่อัยการโจทก์ขอให้นับโทษต่อ แซมได้รับว่าตนเป็นบุคคลเดียวกัน
อัยการโจทก์แถลงต่อศาลว่ามีเอกสารอ้างส่งจำนวน 20 ฉบับ และมีวัตถุพยานจำนวน 2 แผ่น ทั้งนี้ศาลได้เปิดพยานหลักฐานที่เป็นคลิปวิดีโอต่อหน้าจำเลยและทนายจำเลย รวมถึงประชาชนที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยปรากฏคลิปวีดิโอราว 5 คลิป เป็นเหตุการณ์ที่บริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี ถูกเผาที่บริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิต มัธยม และอีกจำนวนหนึ่งเป็นภาพและคลิปที่มีเหตุการณ์ของป้อมตำรวจที่ถูกเผา ซึ่งไม่ปรากฏภาพหรือลักษณะที่ระบุตัวตนของบุคคลที่กระทำการเผาในเหตุการณ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏภาพของจำเลยทั้งสามคนที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้อย่างชัดเจน
สำหรับวัตถุพยานที่เป็นคลิปวิดีโอทั้งหมด โจทก์ได้อ้างส่งเป็นจำนวน 8 คลิป และมีพยานหลักฐานเป็นภาพถ่ายจำนวน 58 ภาพ รวมถึงไฟล์ Microsoft Word จำนวน 1 ไฟล์ และประสงค์สืบพยานโจทก์รวม 11 ปาก ประกอบไปด้วย ผู้กล่าวหา, ผู้กล่าวโทษโดยให้ความเห็นทางกฎหมาย, พนักงานสอบสวนที่จัดทำรายงาน, ตำรวจผู้ร่วมจับกุม และผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุ โดยขอใช้เวลาสืบพยานโจทก์ 3 นัด
ส่วนทนายจำเลยและจำเลยทั้ง 3 คน แถลงแนวทางต่อสู้คดีร่วมกัน โดยอ้างฐานที่อยู่และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ถูกยกเลิกและไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2565 และประสงค์สืบพยานจำเลย 5 ปาก ประกอบไปด้วย จำเลยที่ 1 – 3, ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยทั้งสาม และผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบภาพและวิดีโอกล้องวงจรปิด โดยขอใช้เวลาสืบพยานจำเลย 1 นัด
คู่ความตกลงกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 19 – 21 มี.ค. 2567 และ สืบพยานจำเลย วันที่ 22 มี.ค. 2567
ในช่วงบ่าย หลังจากตรวจพยานหลักฐานแล้ว ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวทั้งสามคนอีกครั้ง โดยจำเลยทั้งหมดประสงค์ยินยอมรับทุกเงื่อนไขหากศาลจะกำหนด และพร้อมขอให้ตั้งผู้กำกับดูแลที่ไว้วางใจให้คอยควบคุมพฤติกรรมระหว่างการประกันตัว
ก่อนในเวลา 15.50 น. ศาลได้มีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งสามคน ในวันที่ 10 พ.ย. 2565 เวลา 10.00 น. ลงนามคำสั่งโดย พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
สำหรับจำเลยทั้งสามคนในวันนี้จะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป โดยจะถูกเบิกตัวเข้าร่วมการไต่สวนการประกันตัวในวันดังกล่าว ขณะเดียวกันหากยังไม่ได้สิทธิในการประกันตัว จะทำให้ทั้งสามคนต้องถูกคุมขังรอการสืบพยานไปอีกเกือบ 1 ปีครึ่ง
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 31 ต.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50170) -
วันที่: 10-11-2022นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันเวลา 10.00 น. ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวของผู้ต้องขังกลุ่มทะลุฟ้า 3 ราย ซึ่งถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี จำเลยทั้งสามถูกพาตัวเข้ามาในห้องพิจารณาคดี โดยเดินเท้าเปล่าและถูกใส่กุญแจข้อเท้า ทั้งสามสวมชุดผู้ต้องขังเป็นเสื้อคอกลม แขนสั้น สีน้ำตาลอ่อน ไม่มีกระดุม และสวมกางเกงลำลอง ยาวประมาณข้อเข่า มีสีน้ำตาลเข้มกว่าเสื้อ
แซมสวมแว่นตากรอบสีดำ มิกกี้บังใส่แว่นตากรอบใส ทั้งสามสวมหน้ากากอนามัยและต่างก็ไว้ทรงผมคล้ายทรงนักเรียน แต่ไม่ได้เกรียนสั้นมากนัก เมื่อมาถึงห้องพิจารณาทั้งสามเขยิบเข้าไปนั่งอยู่ริมสุดของมุมห้อง ขณะที่ญาติ เพื่อน และประชาชนบางส่วน รวมแล้วประมาณ 14 คน ซึ่งมารอให้กำลังใจได้มานั่งรอภายในห้องพิจารณาคดีอยู่แล้ว แต่ภายในห้องมีที่นั่งเพียงแถวเดียว สามารถนั่งได้เพียง 6-8 คนเท่านั้น ทำให้คนที่เหลือจึงต้องยืนขึ้นแนบผนังทั้งสองฝั่งซ้ายและขวาแทน ทั้งนี้ยังมีผู้คุมยืนรักษาความเรียบร้อยอยู่ภายในห้องอีก 4 คนด้วย บรรยากาศภายในห้องจึงค่อนข้างแออัดพอสมควร
การไต่สวนดำเนินขึ้น โดยไต่สวนจำเลยก่อน แล้วจึงไต่สวนผู้ที่เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยรายนั้นตาม ไล่เรียงไปดังนี้ แซมและญาติของแซม, แม็กและพี่สาวของแม็ก และมิกกี้บังพร้อมกับแม่บุญธรรม รวมทั้งสิ้น 6 ปาก ทั้งนี้ศาลยังได้เรียกนายประกันอาสามาแถลงต่อศาลเกี่ยวกับการวางหลักทรัพย์ในเบื้องต้นด้วย
++พยานปากที่ 1 – “แซม” พรชัย ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาแล้ว 127 วัน
แซม จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 32 ปี ประกอบอาชีพอิสระ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง โดยอาศัยอยู่บ้านพักแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ กับภรรยาและลูกสาวมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ในคดีนี้ตนถูกจับกุมเนื่องจากได้ไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.นางเลิ้ง และหลังจากนั้นได้ให้ความร่วมมือกับตำรวจเป็นอย่างดีตลอดมา
ตนถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2565 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเวลา 127 วัน หรือมากกว่า 4 เดือนแล้ว อีกทั้งในคดีนี้ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2565 โดยมีกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยนัดแรกในวันที่ 19 มี.ค. 2567 ซึ่งตนได้ให้การปฏิเสธตลอดมา ตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล
แซมยืนยันว่า ก่อนหน้าจะถูกดำเนินคดีในคดีนี้ ไม่เคยมีประวัติว่ากระทำความผิดมาก่อน และประกอบอาชีพอิสระเกี่ยวกับการทำงานวิจัยทางวิชาการด้านการเมือง การถูกคุมขังในครั้งนี้ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ จึงไม่สามารถจะดูแลภรรยา ลูกสาว และไม่สามารถส่งเงินให้แม่ที่อาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด
ถ้าศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตนจะกลับไปพักอาศัยอยู่ยังที่อยู่เดิมที่ได้แถลงบอกศาลไปข้างต้น หากศาลจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ เพื่อปล่อยตัวชั่วคราวก็ยินดีปฏิบัติตามทุกประการ และหากศาลจะแต่งตั้งญาติเป็นผู้กำกับดูแลในคดีนี้ ตนก็จะยินดีเชื่อฟังทุกประการ
++พยานปากที่ 2 – “ญาติของแซม” ผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลแซม
ญาติของแซม (สงวนชื่อและนามสกุล) เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 67 ปี ประกอบอาชีพรับราชการ เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีความยินดีและเต็มใจหากศาลจะแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับดูแลของแซม โดยยืนยันว่าจะคอยควบคุมกำกับดูแลให้แซมมาตามนัดหมายของศาลทุกครั้ง และจะไม่ให้หลบหนีอย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังได้ร้องขอต่อศาลว่าให้วินิจฉัยคำร้องในครั้งนี้อย่างเที่ยงธรรม และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจึงจะขอน้อมรับทุกคำตัดสินของศาลไว้
++พยานปากที่ 3 – “แม็ก” สินบุรี – ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาแล้ว 95 วัน
แม็กเบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 26 ปี ประกอบอาชีพหัวหน้าคุมงานก่อสร้าง (โฟร์แมน) มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง โดยอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ และพี่สาว ที่บ้านพักย่านบางแค กรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ในคดีนี้ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด เพราะได้เข้าไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.นางเลิ้ง จากนั้นได้ถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2565 เป็นเวลา 95 วันแล้ว
อีกทั้งในคดีนี้ตนได้ให้การปฏิเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล หลังถูกคุมขังในคดีนี้ทำให้ขาดรายได้ ไม่มีเงินส่งไปจุนเจือและช่วยเหลือครอบครัว
หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว แม็กสัญญาว่าจะไม่หลบหนี และจะเดินทางไปศาลตามนัดหมายทุกครั้ง ทั้งยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใดๆ ที่ศาลจะกำหนด และหากศาลจะแต่งตั้งให้พี่สาวเป็นผู้กำกับดูแล แม็กก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและเชื่อฟังอย่างเคร่งครัด
++พยานปากที่ 4 – “พี่สาวของแม็ก” ผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของแม็ก
พี่สาวของแม็ก (สงวนชื่อและนามสกุล) เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 26 ปี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แม็กผู้เป็นน้องชายนั้นมีลักษณะนิสัยเป็นคนมีน้ำใจ สุขุม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบให้ความช่วยเหลือคนอื่น ตั้งแต่เติบโตด้วยกันมาแม็กไม่เคยมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงหรือทะเลาะเบาะแว้งกับผู้ใดเลย และหากว่ากล่าวตักเตือนแม็กก็จะเชื่อฟังและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี
ตั้งแต่เด็กแม็กและตนเติบโตและอยู่อาศัยในบ้านเดียวกันตลอดมา หากแม็กมีปัญหาอะไรก็มักจะปรึกษาและพูดคุยกับตนเสมอ ดังนั้นจึงเชื่อว่าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลของแม็กได้ หากศาลจะแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับดูแลตนก็ยินดีและเต็มใจ และถ้าศาลจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ยืนยันว่าจะควบคุมกำกับดูแลให้แม็กปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไปตามนัดหมายของศาลทุกครั้ง และไม่ให้มีพฤติการณ์หลบหนี
++พยานปากที่ 5 – “มิกกี้บัง” ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีมาแล้ว 38 วัน
มิกกี้บัง (สงวนชื่อและนามสกุล) เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 23 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง ที่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง โดยอาศัยอยู่กับแม่บุญธรรม ที่ย่านคลองสาน กรุงเทพฯ แม่บุญธรรมเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่อายุได้ 2 เดือนเศษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจำเลยให้ความเคารพและเชื่อฟังมาโดยตลอด
ในคดีนี้จำเลยไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด เมื่อมีหมายเรียกมาถึงจำเลยก็ได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามนัดหมาย ที่ สน.นางเลิ้ง โดยทันที และถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 2565 เป็นเวลา 38 วันแล้ว โดยได้ให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ชั้นสอบสวนเรื่อยมาจนกระทั่งถึงชั้นศาล
หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยกำหนดเงื่อนไขก็จะยินยอมปฏิบัติตามที่ศาลกำหนดทุกประการ และยินยอมให้แต่งตั้งแม่บุญธรรมของตนเป็นผู้กำกับดูแลในคดีนี้ โดยจะเชื่อฟังและเดินทางมาตามนัดหมายของศาลทุกครั้ง
++พยานปากที่ 6 – “แม่บุญธรรมของมิกกี้บัง” ผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของมิกกี้บัง
พรรณี นิพภะยะ แม่บุญธรรมของมิกกี้บัง เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 65 ปี ประกอบอาชีพค้าขาย มีความสัมพันธ์กับจำเลยเป็นเสมือนมารดา ได้อุปการะเลี้ยงดูจำเลยตั้งแต่อายุได้ 2 เดือน พร้อมให้การเลี้ยงดูและให้การศึกษามาโดยตลอด ตั้งแต่จำเลยถูกขังในคดีนี้ ไม่มีใครอยู่คอยช่วยเหลือและดูแลตนเลย เนื่องจากพยานมีอายุมากแล้ว ก่อนหน้านี้จำเลยและพยานอาศัยอยู่ด้วยกันเพียง 2 คน แต่เมื่อจำเลยไม่อยู่ก็ไม่มีใครช่วยขับรถไปซื้อของที่จะต้องนำมาค้าขาย ซึ่งจะต้องจ่ายตลาดวันต่อวันเท่านั้น
อีกทั้งสุขภาพร่างกายของพยานยังไม่ค่อยแข็งแรงอีกด้วย โดยเฉพาะขา ซึ่งทำให้เดินไม่สะดวก และยังป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะไขมันในเลือดสูง และเมื่อทำงานหนักมากไปร่างกายก็จะเกิดอาการเกร็งจนอาจช็อกและหมดสติได้ เมื่อจำเลยถูกคุมขัง พยานจึงประกอบอาชีพและพักอาศัยเพียงลำพังอย่างยากลำบาก
จำเลยไม่เคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับใครมาก่อน ไม่เคยประพฤติไม่ดี เป็นที่รักของคนรอบข้างและคนในชุมชน จำเลยศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ซึ่งใกล้จะจบการศึกษาในเร็วๆ นี้แล้ว หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว พยานเชื่อว่าสามารถกำกับดูแลจำเลยได้ และยินดีเป็นผู้กำกับดูแลเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งศาล เดินทางมาตามนัดหมายของศาลทุกครั้ง และไม่ให้หลบหนี
เมื่อจำเลยทั้งสามและผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลเบิกความต่อศาลแล้ว ศาลยังได้ให้นายประกันอาสาจากกองทุนราษฎรประสงค์แถลงถึงความยินยอมในการวางหลักทรัพย์ประกันจำเลยทั้งสามคน โดยนายประกันอาสาแถลงว่า มีความยินยอมและเต็มใจที่จะประกันตัวจำเลยทั้งสามด้วยการวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 100,000 บาท ซึ่งได้จากกองทุนราษฎรประสงค์ และหากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขสัญญาประกันยินดีให้ศาลปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา และยินดีให้ริบเงินประกันดังกล่าว
กระบวนการไต่สวนเสร็จสิ้นลงหลังใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง จากนั้นศาลแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องว่า จะรวบรวมถ้อยคำสำนวนเสนอท่านผู้บริหารศาลอาญาพิจารณาและมีคำสั่ง โดยได้นัดฟังคำสั่งว่าจะให้ประกันตัวจำเลยทั้งสามหรือไม่ ในวันที่ 22 พ.ย. 2565 เวลา 10.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/50413) -
วันที่: 22-11-2022นัด: ฟังคำสั่งประกันเวลา 10.00 น. ศาลอาญานัดฟังคำสั่งประกันตัวของนักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้า 3 ราย โดยที่ห้องส่วนงานปล่อยตัวชั่วคราว เจ้าหน้าที่ได้อ่านคำสั่งศาล ซึ่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสามราย โดยมีรายละเอียดคำสั่ง ดังนี้
“พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้อง และจำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยทั้งสามถูกควบคุมตัวมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ประกอบกับผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยทั้งสามรับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสามอย่างใกล้ชิด กรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสาม ให้ตีราคาหลักประกันคนละ 100,000 บาท กำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1. ติด EM
2. ห้ามออกนอกเคหสถานหลังเวลา 20.00 น. ไปจนถึง 06.00 น. ของวันใหม่
3. ห้ามจำเลยกระทำการในลักษณะที่ถูกกล่าวหา
4. ห้ามใช้ความรุนแรงต่อเจ้าพนักงานของรัฐและทรัพย์สินของทางราชการ
5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล"
ศาลระบุอีกว่า “เห็นสมควรกำหนดให้ผู้กำกับดูแลทั้งสามร่วมกันรับผิดชอบในกรณีที่จำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งกระทำผิดเงื่อนไข จะต้องถือว่าผู้กำกับดูแลของจำเลยคนดังกล่าวผิดสัญญาปล่อยชั่วคราว แต่ปรากฏว่าผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวไม่มีความเกี่ยวพันกับจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด ผู้ร้องเพียงอ้างว่าเป็นคนรู้จัก ประกอบกับเงินที่ใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราวก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับผู้กำกับดูแล ในชั้นนี้จึงให้ยกคำร้อง
“หากผู้กำกับดูแลประสงค์ขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสาม ให้ผู้กำกับดูแลทำหนังสือรับรองว่า หากจำเลยทั้งสามทำผิดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวให้ถือว่าผิดสัญญาประกัน ยินยอมให้ยึดหลักประกันได้ทันที และการนำหลักประกันมายื่นต่อศาลจะต้องเป็นหลักประกันของผู้กำกับดูแล เพื่อเป็นมาตรการที่บังคับผู้กำกับดูแลให้ควบคุมจำเลยทั้งสามอย่างใกล้ชิด”
หลังฟังคำสั่งเสร็จ ทนายความจึงได้ติดต่อผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยแต่ละรายเดินทางมาศาลเพื่อยื่นขอประกันตัวผู้ต้องขังทั้งสามอีกครั้งทันที ครั้งนี้ได้ให้ผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยแต่ละรายทำสัญญาประกันเป็นนายประกันของจำเลยรายนั้นด้วย และได้ใช้เงินส่วนตัวของผู้กำกับดูแลในการยื่นขอประกันตัว เป็นจำนวนเงินคนละ 100,000 บาท แทนการใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมทั้งผู้เสนอตัวเป็นกำกับดูแลของจำเลยแต่ละรายได้ทำหนังสือรับรองว่า หากจำเลยผิดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราวให้ถือว่าผิดสัญญาประกัน ยินยอมให้ยึดหลักประกันได้ทันทีประกอบด้วย
ต่อมา เวลา 16.00 น. ศาลอนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งสามและกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว 5 ประการตามข้างต้น หากผิดสัญญาให้ปรับ 100,000 บาท และให้ตั้งผู้เสนอตัวเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยแต่ละคนเป็นผู้กำกับดูแลของจำเลยคนดังกล่าว นอกจากนี้เห็นสมควรกำหนดให้ผู้กำกับดูแลทั้งสามร่วมกันรับผิดในกรณีที่จำเลยทั้งสามคนใดคนหนึ่งกระทำผิดเงื่อนไข จะต้องถือว่าผู้กำกับดูแลจำเลยดังกล่าวผิดสัญญาปล่อยชั่วคราว
หลังจากศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว เจ้าหน้าที่ศาลจึงได้นำตัวผู้ต้องขังทั้งสามรายซึ่งถูกเบิกตัวมาฟังคำสั่งด้วยทยอยไปติด EM จากนั้นทั้งสามถูกนำตัวกลับเรือนจำเพื่อรอการปล่อยตัวเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป ภายในค่ำวันนั้น
จากการที่ศาลมีคำสั่งให้ประกันในครั้งนี้ ทำให้ทั้งสามรายได้รับอิสรภาพหลังถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นเวลานาน โดยแซมถูกคุมขังเป็นเวลา 139 วัน แม็กถูกคุมขังเป็นเวลา 107 วัน และมิกกี้บังถูกคุมขังเป็นเวลา 50 วัน
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 22 พ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50856)
-
วันที่: 30-11-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหาจิตรินเวลา 09.30 น. ที่ สน.นางเลิ้ง จิตริน พลาก้านตง หรือ “คาริม” สมาชิกกลุ่มทะลุฟ้าวัย 25 ปี พร้อมกับทนายความ ได้เดินทางเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังทราบว่ามีหมายจับในคดีเดียวกับ 3 สมาชิกทะลุฟ้า ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติและป้อมจราจร ที่บริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิต มัธยม ในระหว่างการเข้าร่วมชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564
ก่อนหน้านี้ จิตรินทราบว่าตนเองถูกดำเนินคดีนี้ร่วมกับพรชัย, สินบุรี และมิกกี้บัง เนื่องจากมีรายชื่ออยู่ในบันทึกข้อกล่าวหาของคนอื่นๆ แต่เจ้าหน้าที่ไม่เคยมีหมายเรียกหรือไปแสดงหมายจับเขามาก่อนแต่อย่างใด ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ได้ประสานงานว่ามีหมายจับในคดีของจิตริน ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางเข้าแสดงตัวกับตำรวจ
หลังเข้าพบตำรวจ พบว่ามีหมายจับที่ออกโดยศาลอาญา ที่ออกตั้งแต่ 16 มี.ค. 2565 แล้ว (วันที่ออกหมายวันเดียวกับหมายจับกรณีของพรชัย) แต่เจ้าหน้าที่ไม่เคยไปแสดงหมายจับ หรือเข้าแจ้งข้อกล่าวหา แม้ในขณะที่เขาถูกคุมขังในคดีสาดสีหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ระหว่างวันที่ 19 ก.ค. ถึง 13 ก.ย. 2565) และเมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ก็ไม่มีการอายัดตัวหรือเจ้าหน้าที่ไปแสดงหมายจับนี้แต่อย่างใด จนเวลาผ่านไปกว่า 2 เดือน
หลังเข้าพบ ตำรวจได้จัดทำบันทึกจับกุมจิตริน แม้เป็นการเข้าแสดงตัวด้วยตนเอง และพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ได้แจ้งข้อกล่าวหา 4 ข้อหา เช่นเดียวกับแซมและมิกกี้บัง จิตรินให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้นำตัวเขาไปขอฝากขังที่ศาลอาญา ก่อนศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทนายความและญาติของจิตรินได้ยื่นขอประกันตัวระหว่างสอบสอน
เวลา 16.35 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจิตริน โดยให้วางหลักทรัพย์ 100,000 บาท ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 18.00 ถึง 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น, ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหา หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ห้ามใช้ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อทรัพย์สินสาธารณะและทรัพย์สินทางราชการ และให้ตั้งบิดาของจิตรินเป็นผู้กำกับดูแล หากผู้ต้องหาผิดเงื่อนไขให้ถือว่าผิดสัญญาประกัน
ทั้งนี้ ทางครอบครัวของจิตรินได้นำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาวางสำหรับการประกันตัวด้วยตนเอง โดยที่ก่อนหน้านี้ในคดีสาดสีหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จิตรินมีเงื่อนไขการประกันตัวที่ต้องติดกำไล EM อยู่ก่อนแล้ว ทำให้เขาติดกำไลนี้มาตั้งแต่ได้รับการประกันตัวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
(อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.นางเลิ้ง ลงวันที่ 30 พ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/51165) -
วันที่: 27-01-2023นัด: ยื่นฟ้องจิตรินพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นฟ้องจิตรินเป็นจำเลยอีกราย จากเหตุการณ์ไฟไหม้ซุ้มเฉลิมพระเกียรติบริเวณหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม เป็นรอยดำ และไฟไหม้ป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง ระหว่างการชุมนุมครบรอบ 15 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ใน 4 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ข้อหาตามมาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์, ฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยบรรยายฟ้องเช่นเดียวกับคดีที่ยื่นฟ้องไปก่อนแล้วของพรชัยและบัง
ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการประกันตัว โดยระบุว่าหากจำเลยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.215/2566 ลงวันที่ 27 ม.ค. 2566)
-
วันที่: 30-01-2023นัด: รายงานตัวต่อศาลจิตรินเดินทางไปรายงานตัวต่อศาลตามสัญญาประกัน และรับทราบฟ้องของอัยการ จากนั้นทนายความได้ยื่นประกันระว่างพิจารณา ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกัน โดยต่อสัญญาประกันจากชั้นฝากขัง และนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 27 มี.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 27-03-2023นัด: นัดตรวจพยานหลักฐานจิตรินเดินทางไปศาลในนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐาน ด้านพรชัย, บัง และสินบุรี ก็เดินทางมาศาลด้วย เนื่องจากศาลนัดมาเพื่อพิจารณาคําร้องขอรวมการพิจารณาของโจทก์ โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รวมการพิจารณาคดี โดยเรียกจิตรินเป็นจำเลยที่ 4
หลังศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จิตรินฟัง จิตรินให้การปฏิเสธ และแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า ไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์แถลงขอใช้พยานบุคคลและพยานเอกสารชุดเดิมที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2565 รวมทั้งคงวันนัดสืบพยานตามที่นัดไว้เดิม คือ สืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-21 มี.ค. 2567 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 22 มี.ค. 2567
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.215/2566 ลงวันที่ 27 มี.ค. 2566) -
วันที่: 19-03-2024นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าเบิกความทั้งหมด 10 ปาก
++รอง ผกก. สืบสวน สน.นางเลิ้ง เข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจำเลยแม้ไม่เห็นหน้าผู้ก่อเหตุชัดเจน มีเพียงข้อมูลตามรายงานสืบสวน และผู้กำกับฯ มอบหมาย
พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้กำกับการฝ่ายสืบสวน สน.นางเลิ้ง ผู้กล่าวหาที่ 1 เบิกความว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 พยานไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ให้ดำเนินคดีกับ “มิกกี้บัง” กับพวกรวม 4 คน ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ และร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ซึ่งขณะที่ไปร้องทุกข์ยังไม่ทราบตัวผู้กระทำผิด จึงยังไม่ได้ระบุตัว
สืบเนื่องจากวันที่ 19 ก.ย. 2564 มีกลุ่มผู้ชุมนุม “ทะลุแก๊ส” ได้โพสต์บนเพจทะลุแก๊สเชิญชวนให้มาร่วมชุมนุมบริเวณแยกนางเลิ้ง มีข้อความว่า “คฝ.จัดม็อบแยกดินแดง เราไปจัดที่ทำเนียบดีไหม ถ้าดีก็ตาม” ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้พยานควบคุมพื้นที่ในเขต สน.นางเลิ้ง ส่วนตำรวจนายอื่นให้ควบควบคุมดูแลการเคลื่อนไหวผู้ชุมนุม
เวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มมวลชนเริ่มทยอยเข้าพื้นที่แยกนางเลิ้ง โดยมีตำรวจควบคุมฝูงชนตั้งแนวกั้นบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ต่อมาเวลาประมาณ 17.20 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มขว้างปาสิ่งของ ยิงหนังสติ๊ก ยิงระเบิดเพลิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน และยิงระเบิดเพลิงไปยังซุ้มเฉลิมพระเกียรติบนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม จนเกิดเป็นเพลิงลุกไหม้ หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้เผาตู้จราจรซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันเกิดเพลิงลุกไหม้จนได้รับความเสียหาย
ต่อมา พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว ได้สืบสวนหาตัวคนร้ายที่ร่วมก่อเหตุและทำรายงานการสืบสวนเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยทราบตัวผู้กระทำผิดคือ “มิกกี้บัง” แต่พยานไม่ทราบว่าเป็นคนใด และต่อมาได้มีการสืบสวนหาตัวผู้ร่วมกระทำผิดเพิ่มเติมอีก 3 คน คือ พรชัย, สินบุรี และจิตริน
พยานจึงเดินทางไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีพรชัย, มิกกี้บัง และจิตริน ในข้อหามาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ฯ อีกทั้งร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีสินบุรี ในข้อหาร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากนั้น วันที่ 7 ก.ค. 2565 พยานกับพวกจับกุมพรชัยได้ตามหมายจับ นำส่งพนักงานสอบสวน
พ.ต.ท.จงศักดิ์ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไปร้องทุกข์ต่อ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 โดยนำรายงานการสืบสวนไปให้พนักงานสอบสวนด้วย โดยมีผู้จัดทำและลงลายมือชื่อคือ พ.ต.ท.จักรพงษ์ ส่วนพยานไม่ใช่ผู้จัดทำเอกสารและไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่เมื่อทนายจำเลยให้ดูว่า รายงานการสืบสวนจัดทำเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2564 พ.ต.ท.จงศักดิ์ เบิกความใหม่ว่า ไม่ได้นำรายงานการสืบสวนไปมอบให้พนักงานสอบสวน
ในขณะที่พยานไปร้องทุกข์ยังไม่ทราบตัวผู้กระทำผิด และไม่มีภาพที่เห็นหน้าชัดเจน ต่อมาไม่ทราบว่าวันใด แต่น่าจะในเดือน ต.ค. 2564 พ.ต.ท.จักรพงษ์ได้แจ้งพยานด้วยวาจาถึงผู้ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ พยานจึงไปให้การเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่ได้นำรายงานการสืบสวนไปมอบให้ เนื่องจาก พ.ต.ท.จักรพงษ์ จัดทำแล้วจะเสนอผู้บังคับบัญชาและผู้กำกับการ สน.นางเลิ้ง จากนั้นผู้กำกับฯ จะมอบเอกสารดังกล่าวให้พนักงานสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจที่สืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและจัดทำรายงานการสืบสวนในคดีนี้นอกจาก พ.ต.ท.จักรพงษ์ ยังมีเจ้าหน้าที่คนอื่นของฝ่ายสืบสวน กองกำกับการสืบสวนตำรวจนครบาล 1 และพยานทราบตัวผู้ร่วมกระทำความผิดจากเจ้าพนักงานคนอื่นด้วยคือ ส.ต.อ.เอกลักษณ์ มาลีหวล และ พ.ต.ท.บุญโปรด แสงทับทิม
พยานลงลายมือชื่อในรายงานสืบสวนกรณีกลุ่มทะลุแก๊สในวันเกิดเหตุไว้ แต่ไม่ใช่ผู้จัดทำ ผู้ที่จัดทำคือ ส.ต.อ.เอกลักษณ์ ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ พยานไม่ยืนยัน ทั้งนี้ กลุ่มทะลุแก๊สและกลุ่มทะลุฟ้าเป็นคนละกลุ่มกัน จำเลยทั้งสี่คนอยู่ในกลุ่มทะลุฟ้า และไม่มีหลักฐานว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้โพสต์ข้อความชักชวนให้มาร่วมชุมนุมในคดีนี้
ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ พยานไม่ได้อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ แต่ที่พยานร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสี่ เพราะได้รับข้อมูลตามรายงานสืบสวน ซึ่งพยานไม่ทราบว่าข้อมูลตามเอกสารดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่
ที่เกิดเหตุเป็นที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และตามภาพถ่ายในรายงานการสืบสวน (เพิ่มเติม) ไม่สามารถมองเห็นชัดเจนว่าผู้ร่วมชุมนุมเป็นใครบ้าง เป็นจำเลยทั้งสี่คนในคดีนี้หรือไม่
ตามรายงานการสืบสวน เมื่อพยานดูภาพถ่ายที่ระบุว่าเป็นจิตรินก็ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด และไม่ทราบว่านาฬิกาที่บุคคลดังกล่าวสวมใส่เป็นยี่ห้อใด เข้าใจว่าหาซื้อได้ทั่วไป นอกจากนี้ ตามภาพถ่ายกลุ่มผู้ชุมนุม เห็นได้ว่ามีการปิดจราจรบริเวณแยกนางเลิ้ง รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ และภาพที่ปรากฏในคดีนี้เป็นเพียงภาพที่มาจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้ในจุดเกิดเหตุ ไม่มีภาพถ่ายจากบุคคลอื่นหรือตำรวจสายสืบ
ในวันเกิดเหตุไม่สามารถจับตัวผู้ร่วมกระทำความผิดได้ และหลังจากจับกุมจำเลยทั้งสี่คนก็ไม่มีการยึดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ที่อ้างว่าจำเลยใช้ในวันเกิดเหตุ
พ.ต.ท.จงศักดิ์ ตอบอัยการถามติงว่า สาเหตุที่ไม่ได้จับกุมตัวจำเลยในวันเกิดเหตุ เนื่องจากหากเข้าไปจับกุมขณะเกิดเหตุ เกรงว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะได้รับอันตราย
พยานไม่ทราบว่า พ.ต.ท.จักรพงษ์ มีวิธีการตรวจพิสูจน์เพื่อค้นหาตัวผู้กระทำผิดอย่างไร จะมีวิธีพิสูจน์ทราบผู้กระทำความผิดด้วยวิธีอื่นนอกจากการสวมใส่นาฬิกาหรือไม่ พยานก็ไม่ทราบ
พยานทราบว่ากลุ่มทะลุแก๊สและกลุ่มทะลุฟ้ามีวัตถุประสงค์ในการต่อต้านรัฐบาลเช่นเดียวกัน แต่ไม่ทราบว่าสมาชิกทั้งสองกลุ่มจะเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันหรือไม่ แต่ทั้งสองกลุ่มสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้
เหตุที่พยานมาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสี่คน เนื่องจาก พ.ต.ท.จักรพงษ์ ได้ทำรายงานสืบสวนเสนอต่อผู้กำกับการ สน.นางเลิ้ง จากนั้นผู้กำกับฯ มอบหมายให้พยานไปร้องทุกข์
.
++นายช่างศิลป์ สำนักการโยธา ผู้แจ้งความแทน กทม. ชี้ ความเสียหายเกิดขึ้นบริเวณด้านหลังซุ้มคิดเป็นเงิน 1,000 บาท ส่วนด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ไม่ได้รับความเสียหาย
ชานนท์ นันทวงศ์ ขณะเกิดเหตุรับราชการที่สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนายช่างศิลป์ชำนาญงาน ผู้กล่าวหาที่ 2 เบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายจาก พินิจ ค่ายสงคราม ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา กรุงเทพฯ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ทำลายทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร คือซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และราชินี
ในวันเกิดเหตุมีผู้มาชุมนุมที่บริเวณแยกนางเลิ้ง จนกระทั่งเวลา 18.30 น. พยานทราบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติบนสะพานลอยใกล้กับโรงเรียนราชวินิตมัธยม
เช้าวันรุ่งขึ้นพยานจึงไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบรอยดำ มีเขม่าเป็นรอยไหม้บริเวณด้านหลังพระบรมฉายาลักษณ์ซึ่งมีลักษณะเป็น 2 แผ่น ติดกัน มีรอยไหม้ดำ 2 จุด ไม่ต่อเนื่องกัน ค่อนมาตรงกลาง พยานจึงซ่อมแซม ความเสียหายมีมูลค่าประมาณ 1,000 บาท และเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2564 พยานได้มาร้องทุกข์และมอบภาพถ่ายให้พนักงานสอบสวน และพยานได้ทราบจากพนักงานสอบสวนว่าผู้ก่อเหตุคือ มิกกี้บังกับพวก
พยานเชื่อว่าสาเหตุที่พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เกิดเพลิงลุกไหม้ เนื่องจากวันที่เกิดเหตุมีฝนตกหนัก ประกอบกับด้านหลังเป็นโครงเหล็ก
ชานนท์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในวันที่พยานไปร้องทุกข์ ได้นำภาพถ่ายขณะเกิดเพลิงไหม้พระบรมฉายาลักษณ์ที่ได้มาจากสำนักข่าว พร้อมกับหนังสือของสำนักการโยธาไปมอบให้พนักงานสอบสวน ขณะนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
พยานไม่ได้รับมอบอำนาจจากพินิจ ค่ายสงคราม เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานและให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อพนักงานสอบสวน และพยานไม่ทราบว่า พนักงานสอบสวนจะมีหมายเรียกพินิจ หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ไปสอบปากคำหรือไม่
พยานไปร้องทุกข์วันที่ 30 ก.ย. 2564 แต่บัญชีทรัพย์ที่ถูกเพลิงไหม้ลงวันที่ 21 ก.ย. 2564 ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่อด้วย โดยพยานไม่ได้สังเกตว่าเอกสารดังกล่าวลงวันที่เท่าใด
ในการซ่อมแซมซุ้มเฉลิมพระเกียรติ มีการขัดสีเดิมออก จากนั้นจึงใช้สีพลาสติกรองพื้นและสีขาวทาทับอีกชั้นหนึ่ง บริเวณที่ซ่อมแซมเป็นด้านหลัง ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ด้านหน้าไม่ต้องซ่อมแซม เนื่องจากไม่ได้รับความเสียหาย
.
++สารวัตรจราจร สน.นางเลิ้ง เข้าแจ้งความเนื่องจากแอร์และตู้เย็นในป้อมจราจรซึ่งเป็นของส่วนตัวได้รับความเสียหาย
ร.ต.ท.อัครพล ไชยขันท์ ขณะเกิดเหตุเป็นรองสารวัตรจราจร สน.นางเลิ้ง ผู้กล่าวหาที่ 3 เบิกความว่า เมื่อประมาณปลายปี 2564 พยานไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เนื่องจากเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นซึ่งอยู่ในป้อมจราจรแยกนางเลิ้งเสียหายจากเพลิงไหม้
พยานจำได้ว่า ปลายปี 2564 มีกลุ่มทะลุแก๊สมาชุมนุมบริเวณแยกนางเลิ้ง ในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ในคดีนี้ พยานได้ถอนกำลังออกมาแล้วเมื่อเวลา 18.30 น. จึงไม่เห็นเหตุการณ์ หลังจากนั้นประมาณ 20 นาที พยานได้รับแข้งทางวิทยุสื่อสารว่า “ป้อมนางเลิ้งเรียบร้อยแล้ว” ขณะนั้นพยานเข้าใจว่าป้อมจราจรน่าจะถูกทุบทำลาย แต่เมื่อชะโงกไปมองจากแยกยมราชก็เห็นเปลวไฟบริเวณป้อมจราจรนางเลิ้ง
ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. พยานกับพนักงานสอบสวนและพวกได้เข้าไปตรวจที่เกิดเหตุ พบป้อมจราจรถูกทุบทำลายและถูกเพลิงไหม้ กระจกทุกบานแตก เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นซึ่งเป็นของส่วนตัวของพยานถูกเพลิงไหม้ และตรวจพบกองไฟในป้อมจราจรด้วย มีค่าเสียหายคือ ค่าเครื่องปรับอากาศราคา 12,000 บาท และตู้เย็นราคา 3,000 บาท รวมความเสียหายเป็นเงิน 15,000 บาท จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน แต่ขณะนั้นยังไม่ทราบว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร ต่อมาพนักงานสอบสวนแจ้งว่าจับกุมผู้กระทำความผิดได้แล้ว และสอบถามพยานเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เสียหาย
ร.ต.ท.อัครพล ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ตามรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุมีข้อความว่า จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากพนักงานสอบสวนได้ความว่าในเดือน ส.ค. 2564 ป้อมจราจรที่เกิดเหตุเคยถูกกลุ่มคนร้ายทุบทำลายจนบานกระจกของประตูและหน้าต่างแตกเสียหายทั้งหมด ในวันเกิดเหตุยังไม่ได้ซ่อมแซม ใช้กระดาษและพลาสติกปิดไว้ก่อน
ส่วนเครื่องปรับอากาศ พยานใช้งานมาประมาณ 5-6 ปี และตู้เย็นใช้งานมาประมาณ 8-9 ปี
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 19 มี.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67425) -
วันที่: 20-03-2024นัด: สืบพยานโจทก์++ศปปส. เข้าแจ้งความ ม.112 เหตุพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์-ราชินี เป็นที่เคารพรักของประชาชน การเผาเป็นการล่วงละเมิด แต่ภาพบันทึกหน้าจอที่นำส่งพนักงานสอบสวน ไม่ได้ระบุว่าผู้ก่อเหตุคือใคร
ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้กล่าวหาที่ 4 เบิกความว่า ก่อนวันเกิดเหตุในคดีนี้ พยานทราบว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุม “ทะลุแก๊ส” จะมาชุมนุมบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ เนื่องจากเห็นการชักชวนให้เข้าร่วมชุมนุมผ่านเฟซบุ๊กและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ
ในวันเกิดเหตุ พยานไม่ได้ไปร่วมชุมนุมหรือสังเกตการณ์ในที่ชุมนุม แต่ดูจากการถ่ายทอดสดของสำนักข่าว The Reporters โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. จนเมื่อ 19.20 น. มีนักข่าววิ่งขึ้นไปบนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม และรายงานข่าวว่ามีการเผาซุ้มเฉลิม และเห็นบุคคลไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย เนื่องจากสวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบ สวมเสื้อยืดแขนสั้นไม่ทราบสี สวมกางเกงน่าจะเป็นกางเกงยีนส์ขายาวไม่ทราบสี สะพายกระเป๋าไม่ทราบสี ฉีดของเหลวเข้าไปบริเวณกองไฟหลังซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ทำให้เพลิงลุกท่วมขึ้น โดยพยานได้บันทึกภาพเหตุการณ์จากหน้าจอโทรศัพท์ไว้
พยานและบุคคลทั่วไปทราบดีว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และราชินีเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวไทย การกระทำดังกล่าวพยานมีความเห็นว่า เป็นการล่วงละเมิดต่อทั้งสองพระองค์ตามมาตรา 112 ทั้งยังเป็นการทำลายทรัพย์สินของทางราชการและวางเพลิงเผาทรัพย์
ต่อมาในวันที่ 20 ก.ย. 2564 พยานเดินทางไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ให้ดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ โดยนำภาพที่ได้จากการบันทึกหน้าจอโทรศัพท์และ QR Code ซึ่งหากสแกนเข้าไปแล้วจะเป็นคลิปเหตุการณ์ของสำนักข่าว The Reporters ไปมอบให้กับพนักงานสอบสวน
ต่อมาในเดือน ต.ค. 2564 พนักงานสอบสวนมีหมายเรียกให้พยานไปให้การเพิ่มเติม วันดังกล่าวพนักงานสอบสวนแจ้งพยานว่า จากการสืบสวนทราบว่ามีคนร้าย 4 คน ร่วมกันกระทำผิด และจากการสอบปากคำผู้ทำรายงานการสืบสวน คือ พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว ทราบว่า จากการตรวจกล้องวงจรปิดและรายงานการสืบสวนของเจ้าหน้าที่สืบสวน สน.นางเลิ้ง พบชายที่เป็นคนขับรถจักรยานยนต์มีคนร้ายซ้อนท้ายได้ปาระเบิดปิงปองขึ้นไปบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติ โดยชายที่ปรากฏในภาพถ่ายคือ จิตริน
กลุ่มทะลุแก๊ส กลุ่มทะลุฟ้า และกลุ่มอื่น ๆ ระบุว่าต่อต้านรัฐบาล แต่พยานเข้าใจว่าสาเหตุที่แท้จริงคือการต่อต้านสถาบันกษัตริย์
ระพีพงษ์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไม่ทราบชื่อพนักงานสอบสวนที่แจ้งให้พยานทราบว่าคนร้ายคือ จิตริน พนักงานสอบสวนคนดังกล่าวยังได้นำคำให้การของ พ.ต.ท.จักรพงษ์ มาให้พยานอ่านด้วย โดยพยานอ่านเฉพาะชื่อคนร้าย ไม่ได้อ่านในรายละเอียด และพยานไม่ได้ให้การไว้ว่า ได้อ่านคำให้การของ พ.ต.ท.จักรพงษ์
ทนายถามพยานว่า ข้อความที่ระบุว่าคนร้ายวางเพลิงซุ้มเฉลิมพระเกียรติคือจิตรินนั้น อยู่บริเวณหน้าซ้ายหรือหน้าขวา มีอักษรเข้มหรือจาง แต่พยานไม่ขอตอบ
ระพีพงษ์ตอบทนายจำเลยอีกว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้พยานชี้ภาพคนร้าย นอกจากนี้ภาพที่พยานบันทึกจากหน้าจอโทรศัพท์ไว้และมอบให้พนักงานสอบสวน พยานไม่ได้ระบุว่าบุคคลในภาพคือผู้ใด
ชายที่วางเพลิงซุ้มเฉลิมพระเกียรติ พยานไม่แน่ใจว่าสวมเสื้อกั๊กหรือไม่ แต่สวมเสื้อยืดสีขาว
ที่พยานเบิกความว่า เชื่อว่าวัตถุประสงค์ในการชุมนุมครั้งนี้เพื่อล้มล้างสถาบันฯ นั้น พยานไม่ได้ให้การไว้กับพนักงานสอบสวน
ระพีพงษ์รับว่า ก่อนหน้านี้พยานเคยจะทำร้ายกลุ่มที่ประท้วงบริเวณหน้าศาลอาญา เนื่องจากมีคนปีนพระบรมฉายาลักษณ์ และพยานเข้าใจว่าบุคคลดังกล่าวเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบัน แต่ก็ไม่ได้ทำร้าย นอกจากนี้ พยานเคยไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมหลายคดี และเคยไปเบิกความต่อศาลหลายคดี โดยพยานร้องทุกข์ในนามของศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมาก ทั่วประเทศ
.
++ตำรวจสืบสวนนครบาล 1 ระบุ หาตัวผู้กระทำผิดจากจากกล้องวงจรปิดและวิดีโอจากสำนักข่าว ซึ่งไม่มีเสียงและเป็นภาพระยะไกล – เปรียบเทียบการแต่งกาย รถ เครื่องประดับ แต่ไม่ได้ตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ ลายนิ้วมือ หรือ DNA
พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว ขณะเกิดเหตุเป็นรองผู้กำกับสืบสวนสอบสวน กองบังคับการสืบสวนนครบาล 1 เบิกความว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ได้เกิดเหตุกลุ่มผู้ชุมนุมร่วมกันก่อความไม่สงบโดยยิงหนังสติ๊ก จุดไฟเผาพระบรมฉายาลักษณ์กษัตริย์และพระราชินี และป้อมจราจรบริเวณแยกนางเลิ้ง ผู้บังคับบัญชาจึงออกคําสั่งให้พยานเป็นผู้หาตัวผู้กระทําความผิด
จากการสืบสวน โดยตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดบริเวณแยกนางเลิ้ง สามารถพิสูจน์ทราบตัวบุคคลผู้กระทําความผิดได้ 4 คน คือ
มิกกี้บัง (จำเลยที่ 3) เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์พาคนร้ายที่จุดระเบิดและปาขึ้นไปบนสะพานลอยหลบหนี และมีส่วนร่วมในการวางเพลิงป้อมไฟจราจร
พรชัย (จําเลยที่ 1) เป็นผู้สั่งการกลุ่มคนร้ายให้วางเพลิงเผาพระบรมฉายาลักษณ์และเผาป้อมจราจร
จิตริน (จําเลยที่ 4) มีส่วนร่วมในการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ และมีส่วนรู้เห็นกับจําเลยที่ 1 ในการสั่งการให้กลุ่มคนร้ายเผาป้อมจราจร
สินบุรี (จําเลยที่ 2) เป็นผู้จุดไฟเผาป้อมจราจร
และจากการตรวจสอบคลิปจากกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ พบชายคนร้ายจุดไฟและโยนขึ้นไปบนสะพานลอยด้านหลังซุ้มเฉลิมพระเกียรติ โดยชายคนดังกล่าวสวมเสื้อสีขาว มีหมวกปิดบังใบหน้า สวมกางเกงขายาวสีเข้ม ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด หลังเกิดเหตุพรชัยและจิตรินวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของคนร้ายซึ่งไม่ทราบว่าเป็นใคร โดยจิตรินนั่งตรงกลาง พรชัยซ้อนท้ายหลังสุด ไปรวมกลุ่มกับผู้ชุมนุมอื่นบริเวณแยกนางเลิ้ง ส่วนซุ้มเฉลิมพระเกียรติไม่ถูกเพลิงไหม้ เนื่องจากในวันดังกล่าวมีฝนตกหนัก
พยานยังตรวจสอบวีดีโอเหตุการณ์การจากสํานักข่าว The Reporters เห็นคนร้าย 2 คน สาดน้ํามันเข้าไปบริเวณกองเพลิง โดยไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด และปรากฏภาพชายซึ่งสวมหน้ากากอนามัยสีขาว สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีดํา คือจิตริน ยืนอยู่ด้วย แต่เห็นไม่ชัดเจนว่าสาดน้ํามันเข้าไปในกองเพลิงหรือไม่ ทั้งนี้ กล้องวงจรปิดบนสะพานลอยถูกทําลายทั้งหมด จึงได้ภาพมาจากสํานักข่าว The Reporters เท่านั้น
กรณีเผาป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง พยานได้ตรวจสอบคลิปเหตุการณ์ชุมนุม ปรากฏภาพสินบุรียืนสะพายกระเป๋าสีดําใกล้ป้อมจราจร และยื่นส่งสิ่งของให้ชายซึ่งยืนอยู่บริเวณซ้ายมือ โดยมีมิกกี้บังสวมเสื้อสีขาวยืนอยู่ใกล้ ๆ จากนั้นสินบุรีจึงเริ่มจุดไฟบริเวณป้อมจราจร และเดินกลับไปที่รถจักรยานยนต์ โดยมีพรชัยมานั่งซ้อนท้าย แล้วขับรถมุ่งหน้าไปแยกยมราช ส่วนมิกกี้บังเดินไปคร่อมรถจักรยานยนต์ จากนั้นก็มีคนร้ายซึ่งปาระเบิดเพลิงขึ้นไปบนสะพานลอยมานั่งซ้อนท้าย ก่อนขับมุ่งหน้าแยกยมราช
ในวิดีโอเหตุการณ์ชุมนุมปรากฏภาพจิตรินยืนอยู่ใกล้กับพรชัย เมื่อจิตรินวางเพลิงบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติแล้วและลงมาด้านล่าง จิตรินได้ถอดเสื้อและสวมเสื้อกลับด้าน ไปยืนรวมกลุ่มกับพรชัย และกลุ่มที่เผาป้อมจราจร โดยจิตรินสวมเสื้อสีเข้มและสวมหน้ากากอนามัยสีขาว โดยปรากฏภาพพรชัยและจิตรินยืนอยู่ด้วยกันตลอด และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นคนขับออกไปจากจุดเกิดเหตุ
พยานพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำผิด โดยนําภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดมาเปรียบเทียบกับภาพในเฟซบุ๊กของจำเลย หรือภาพในการชุมนุมครั้งอื่น ๆ รวมถึงตรวจสอบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในวันก่อเหตุ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงจำเลย จากนั้นพยานจึงทำรายงานการสืบสวนสรุปการกระทําความผิดของจำเลยทั้งสี่เสนอผู้บังคับบัญชาและส่งมอบให้พนักงานสอบสวน
ในส่วนของพรชัยพบว่ามีลักษณะเป็นผู้นํากลุ่มทะลุฟ้า และกลุ่มผู้ก่อเหตุทุกคนจะเดินเข้ามาหา จึงน่าเชื่อว่าผู้สั่งการให้กระทําความผิดคือพรชัย
นอกจากพยานจะได้รับมอบหมายให้สืบสวนคดีนี้แล้ว ในคดีอื่นกรณีที่มีการชุมนุม พยานจะลงพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของกองบังคับการตํารวจนครบาล 1 คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รัฐสภา ทําเนียบรัฐบาล แยกดินแดง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นต้น จําเลยทั้งสี่คนในคดีนี้เคยเข้าร่วมชุมนุมในคดีอื่นด้วย ซึ่งพยานเคยติดตามมาตลอด จึงสามารถจดจําได้
พ.ต.ท.จักรพงษ์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า หลักฐานที่พยานใช้ในการติดตามตัวคนร้ายในคดีนี้ คือกล้องวงจรปิดและคลิปวิดีโอซึ่งถ่ายไว้ในวันเกิดเหตุ โดยพยานไม่ได้เข้าไปบริเวณจุดชุมนุม
พยานให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ว่า เคยติดตามพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ในการชุมนุมครั้งอื่น ๆ มาแล้ว แต่พยานไม่ได้มอบหลักฐานในการติดตาม รวมทั้งภาพจําเลยทั้งสี่ที่ร่วมชุมนุมครั้งอื่น ๆ ให้แก่พนักงานสอบสวน
ส่วนภาพรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่บริเวณด้านข้างร้านแมคโดนัลด์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งพยานใช้เปรียบเทียบกับภาพรถจักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุ แล้วระบุว่าเป็นของสินบุรีนั้น พยานถ่ายไว้เฉพาะด้านหลัง และไม่ได้ถ่ายภาพในขณะที่สินบุรีขับรถคันดังกล่าว รวมทั้งไม่ได้นำหลักฐานที่แสดงว่า วันที่ถ่ายภาพคือวันที่ 9 ต.ค. 2564 นั้น สินบุรีได้ไปร่วมชุมนุม
พยานเป็นผู้ตรวจดูกล้องวงจรปิดแต่เพียงผู้เดียว ส่วนการตรวจสอบภาพถ่ายของผู้ก่อเหตุก่อนและหลังเกิดเหตุและในการชุมนุมครั้งอื่น ๆ เพื่อนํามาเปรียบเทียบกับผู้กระทําความผิดนั้นมีทีมงานหลายคน ส่วนการจัดทํารายงานการสืบสวนเป็นการรวบรวมมาจากกล้องวงจรปิดและภาพจากสํานักข่าวต่าง ๆ
สําหรับคลิปวิดีโอจากสํานักข่าว The Reporters และ Friends Talk จะไม่ระบุวันที่ เวลา และสถานที่ในการถ่ายคลิปวิดีโอไว้ การจะทราบว่าเป็นวันเวลาใด ต้องเปรียบเทียบกับกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ
ตามรายงานการสืบสวน ปรากฏเฉพาะภาพถ่ายที่มิกกี้บังเข้าร่วมการชุมนุมในคดีนี้ ไม่ได้ระบุพฤติการณ์ในการเข้าร่วมการชุมนุมในครั้งอื่นไว้ ซึ่งภาพชายที่ระบุว่าเป็นมิกกี้บัง ก็เห็นเพียงด้านข้างและด้านหลัง และไม่ใช่ภาพขณะกระทําความผิด ส่วนภาพที่นํามาเปรียบเทียบเป็นภาพจากเฟซบุ๊กจุดที่นํามาเชื่อมโยงกันคือ นาฬิกาสายเหล็ก ซึ่งพยานรับว่า เป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไป และรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นพีซีเอ็กซ์ ก็เป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไป อีกทั้งตามภาพในรายงานการสืบสวนก็ไม่สามารถระบุยี่ห้อ สี และรุ่นของรถได้
พยานทราบว่าแกนนํากลุ่มทะลุแก๊สคือใคร ซึ่งพยานเคยพูดคุยและติดตามมาตลอด สําหรับเหตุการณ์ในคดีนี้ พยานไม่เคยสอบถามจากแกนนำกลุ่มทะลุแก๊สว่า บุคคลตามภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอเป็นผู้ใด
พยานทราบว่า สํานักข่าว The Reporters มีฐปณีย์ เอียดศรีไชย ดูแลและเป็นนักข่าวภาคสนามด้วย แต่ไม่เคยสอบถามฐปณีย์ว่า บุคคลที่ก่อเหตุที่ปรากฏในคลิปวิดีโอเป็นผู้ใด และไม่เคยสอบถามจากตํารวจสายสืบที่ไปแฝงตัวในการชุมนุม อีกทั้งไม่เคยให้ญาติหรือผู้ที่มีความสนิทสนมกับจําเลยทั้งสี่คนชี้ภาพที่ปรากฏตามคลิปวิดีโอและภาพถ่ายในคดีนี้
เหตุที่พยานไม่สามารถตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดซึ่งติดตั้งไว้บริเวณถนนเพื่อให้เห็นเส้นทางการเดินทางมาและกลับหลังจากการชุมนุม เนื่องจากกล้องวงจรปิดบริเวณนั้นถูกทําลายหรือผลักกล้องให้ขึ้นไปด้านบน แต่กล้องวงจรปิดที่ปรากฏในคดีนี้ เป็นกล้องที่ติดตั้งไว้สูง จึงไม่ถูกทําลาย แต่พยานไม่ได้ให้การไว้กับพนักงานสอบสวนเรื่องกล้องวงจรปิดถูกทําลาย นอกจากนี้พยานไม่ได้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดจากบ้านพักของจําเลยทั้งสี่ด้วย
พยานไม่แน่ใจว่ากล้องวงจรปิดบริเวณแยกยมราชจะติดตั้งไว้จุดใด แต่บริเวณถนนราชดําเนินนอก ส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ริมถนนรวมกับเสาไฟฟ้า พยานไม่เคยทําหนังสือสอบถามไปยังกรุงเทพมหานครว่า บริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุมีกล้องวงจรปิดติดตั้งอยู่บริเวณใด และกล้องเสียหรือไม่
ช่วงเวลากลางวันของวันเกิดเหตุไม่ปรากฏภาพของจําเลยทั้งสี่ในคาร์ม็อบ แต่มีภาพปรากฏที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยสินบุรีปีนขึ้นไปบนอนุสาวรีย์และนําถุงผ้าสีดําไปคลุมไว้
พยานไม่ได้ตรวจสอบจากสัญญาณโทรศัพท์ว่าจําเลยทั้งสี่อยู่ในที่เกิดเหตุ และไม่ปรากฏรถที่มีชื่อจิตรินครอบครอง
พยานรับว่า หน้ากากอนามัยสีขาวสามารถหาซื้อได้ทั่วไป และบุคคลทั่วไปก็มักจะใช้ ในที่เกิดเหตุไม่พบเสื้อผ้า นาฬิกา รองเท้าของผู้ก่อเหตุตกอยู่ ในบริเวณราวสะพานลอยและป้อมจราจรที่ถูกเผาไม่ได้มีการตรวจสอบพบลายนิ้วมือหรือ DNA ของผู้ก่อเหตุ และพยานไม่ได้ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือที่แฮนด์รถจักรยานยนต์ที่จําเลยใช้ในวันเกิดเหตุ
คลิปวิดีโอเหตุการณ์ชุมนุมที่จําเลยทั้งสี่ยืนรวมกลุ่มกัน เป็นภาพที่มีความละเอียดชัดเจนที่สุดที่พอจะมองเห็นได้ว่ามีการสั่งการกัน แต่ไม่มีเสียงและไม่มีพยานอื่นมาให้การว่ามีการพูดคุยกันอย่างไร
กรณีการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติรอบที่ 2 ซึ่งมีผู้ก่อเหตุขึ้นไปบริเวณสะพานลอยและจิตรินยืนอยู่ด้วย พยานไม่ได้สอบถามนักข่าวที่ถ่ายวิดีโอและภาพนิ่งว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร และไม่ได้สอบถามไปยังสำนักข่าว The Reporters ว่า นักข่าวคนใดเป็นคนถ่ายเหตุการณ์ นอกจากนี้ การถ่ายวิดีโอในเวลากลางคืนอาจไม่มีความละเอียดเพียงพอ แต่หากเป็นภาพนิ่งสามารถซูมระยะใกล้และไกลได้จะทําให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่า
ภาพที่พยานมีความเห็นว่าเป็นจิตริน ซึ่งยืนอยู่ด้านหลังชายคนที่ใช้น้ํามันสาดเข้าไปในกองเพลิงบริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรตินั้น เป็นภาพที่ความละเอียดชัดเจนที่สุดแล้วเท่าที่พยานจะหาได้ ส่วนคลิปวิดีโอขณะจิตรินจะขึ้นไปบนสะพานลอย มีลักษณะเป็นภาพเงา ๆ ไม่ชัดเจน ส่วนภาพจิตรินในการชุมนุมครั้งอื่น ๆ พยานไม่ได้อ้างส่งในคดีนี้
คลิปเหตุการณ์ที่พยานเบิกความว่า พรชัยสั่งการให้จําเลยคนอื่น ๆ เผาป้อมจราจรนั้นไม่มีเสียงพูด และไม่มีพยานบุคคลที่อยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวมาให้การ รวมทั้งไม่สามารถอ่านปากของผู้พูดได้ พยานได้ดูภาพจากคลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดบริเวณแยกนางเลิ้งหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ประมาณ 1 วัน
พยานไม่ได้สอบถามข้อเท็จจริงจาก พ.ต.ท.จงลักษณ์, พ.ต.ท.บุญโปรด, พ.ต.ท.สําเนียง, พ.ต.ท.อธิชย์, ส.ต.อ.เอกลักษณ์ และ ร.ต.ท.หญิง อัญญารัตน์
ที่เกิดเหตุในคดีนี้เป็นที่โล่งแจ้ง แยกนางเลิ้งอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐมีตึกและอาคารด้านข้าง ทําให้อากาศไม่ค่อยถ่ายเท แต่ผู้เข้าร่วมชุมนุมยังสามารถเดินสัญจรไปมาได้ ไม่แออัด และไม่มีข้อมูลว่าจําเลยทั้งสี่เป็นผู้ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุม
.
++ผู้บังคับหมู่สืบสวนลงพื้นที่พร้อมสายลับ แต่สายลับไม่ได้แจ้งว่าพบเห็นวัตถุพยานในการกระทำผิด และไม่เห็นจำเลยทั้งสี่อยู่ในที่เกิดเหตุ
ส.ต.อ.เอกลักษณ์ มาลีหวล ขณะเกิดเหตุเป็นผู้บังคับหมู่สืบสวน สน.นางเลิ้ง เบิกความว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ขณะนั้นพยานเข้าเวรอยู่ที่ สน.นางเลิ้ง และมีกลุ่ม “ทะลุแก๊ส” มาชุมนุมบริเวณแยกนางเลิ้ง ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้พยานแฝงตัวเข้าไปรวมกลุ่มอยู่กับผู้ชุมนุมเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริง วันดังกล่าวพยานอยู่บริเวณแยกนางเลิ้ง แต่ไม่ได้เข้าไปด้านใน
ในวันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนได้ตั้งแถวอยู่บริเวณแยกพาณิชยการพระนคร ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล ผู้เข้าร่วมการชุมนุมบางคนส่วนหน้ากากอนามัย บางคนไม่สวม ไม่มีการตั้งจุดตรวจวัดอุณหภูมิ และไม่มีแอลกอฮอล์ล้างมือ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการแพร่ระบาดโควิด-19 และรัฐบาลประกาศให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยและต้องมีจุดคัดกรอง ผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 100-200 คน ทําให้มีความแออัด
จุดที่พยานสังเกตการณ์อยู่ห่างจากกลุ่มผู้ก่อเหตุประมาณ 50 เมตร มีการปาประทัดเสียงดัง และเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ขวดปาเข้าไปในป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง และเหตุเกิดเพลิงไหม้ จากนั้นมวลชนจึงแยกย้ายกัน หลังจากเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ตํารวจพิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบบริเวณป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง พยานไม่ได้ร่วมด้วย แต่ยังคงยืนสังเกตการณ์อยู่ที่เดิม จนกระทั่งเวลาเที่ยงคืนพยานจึงเข้าไปบริเวณป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง
หลังจากเกิดเหตุ พยานได้ทํารายงานการสืบสวนซึ่งเป็นการลําดับเหตุการณ์ในการก่อเหตุของคนร้าย พร้อมแนบภาพถ่ายประกอบที่ได้มาจากสายลับ
ส.ต.อ.เอกลักษณ์ ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 18.30 น. พยานเห็นโพสต์จากเพจกลุ่มทะลุแก๊สชักชวนให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุม ซึ่งพยานได้ข้อมูลมาจากสายลับ
รายงานการสืบสวนที่พยานจัดทำในวันเกิดเหตุ เป็นรายงานการสืบสวนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทะลุแก๊ส ตามรายงานพยานระบุว่า ‘ไม่มีผู้สนับสนุนกิจกรรม’ คำว่า ผู้สนับสนุน หมายถึง ผู้สนับสนุนยานพาหนะและสิ่งของให้ผู้ชุมนุม รวมทั้งระบุว่า กลุ่มที่ก่อเหตุเผาป้อมจราจรและเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติคือ กลุ่มทะลุแก๊ส
พยานไม่ได้เห็นเหตุการณ์เผาซุ้มฯ ด้วยตนเอง แต่ทราบจากสายลับ ส่วนเหตุการณ์เผาป้อมจราจรแยกนางเลิ้งนั้น พยานเห็นอยู่ห่าง ๆ จำผู้ก่อเหตุไม่ได้ เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมาก
ตามรายงานการสืบสวนพยานระบุว่า มีผู้ร่วมชุมนุมจำนวน 100 คน แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าไม่มีจุดตรวจโควิด และไม่ได้ระบุจำนวนคนที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ จากภาพเหตุการณ์ชุมนุมที่ทนายจำเลยให้ดู พยานเห็นว่า ไม่แออัด
ที่เกิดเหตุมีแสงไฟส่องสว่าง แต่ตามภาพเหตุการณ์ชุมนุม พยานไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นบุคคลใด หรือรถยนต์ยี่ห้อใด พยานไม่ทราบว่าการชุมนุมในคดีนี้จะมีแกนนำหรือไม่
เกี่ยวกับสายลับที่เบิกความไปนั้นมีทั้งตำรวจและพลเรือน แต่งกายนอกเครื่องแบบ ไม่ได้ปิดบังใบหน้า เดินปะปนกับผู้ชุมนุม มีหน้าที่ถ่ายภาพและสังเกตการณ์ว่ามีผู้ใดกระทำผิดบ้างและให้ข้อมูลต่อตำรวจ พยานไม่ทราบว่า สายลับทั้งหมดมีจำนวนเท่าใด แต่ที่ขึ้นตรงต่อพยานมี 6 คน เป็นตำรวจทั้งหมด
ไม่มีสายลับคนใดมาแจ้งพยานว่า เห็นเหตุการณ์ขณะคนร้ายเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ปาระเบิดเพลิงขึ้นไปบนสะพานลอย และเผาป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง รวมทั้งไม่มีใครถ่ายภาพเหตุการณ์ดังกล่าวและผู้ต้องสงสัยมาให้พยาน ตลอดจนไม่ได้แจ้งพยานว่า มีจำเลยทั้งสี่คนอยู่ในที่เกิดเหตุ พยานเองก็ไม่ได้สอบถามสายลับว่ามีผู้ใดเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่
พยานไม่เคยไปให้การกับพนักงานสอบสวน
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 20 มี.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67425) -
วันที่: 21-03-2024นัด: สืบพยานโจทก์++ผู้ตรวจพิสูจน์สถานที่เกิดเหตุระบุ การเผาป้อมจราจรและซุ้มเฉลิมพระเกียรติ เกิดจากการกระทำของบุคคล แต่ไม่สามารถยืนยันตัวผู้ก่อเหตุจาก DNA ได้ เนื่องจากความร้อนทำให้ DNA เสื่อมสภาพ
ร.ต.อ.หญิง อัญญารัตน์ ไพศาลพิสุทธิสิน ขณะเกิดเหตุรับราชการอยู่ที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์สัญญาบัตร 1 กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุตามที่ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน เบิกความว่า เกี่ยวกับคดีนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2564 เวลาประมาณ 20.21 น. พยานได้รับแจ้งจาก ร.ต.อ.อุทัย วังทัน ว่ามีเหตุเพลิงไหม้ที่ป้อมจราจรแยกนางเลิ้งและสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม ซึ่งติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติไว้
เวลา 20.55 น. พยานกับพวกได้เดินทางไปตรวจบริเวณป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง พบสภาพความเสียหายคือโครงสร้างภายนอกได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้เล็กน้อย ส่วนภายในเสียหายค่อนข้างมาก เช่น กรอบหน้าต่างและประตู ตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร แผงไฟจราจร เครื่องรับโทรศัพท์ ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม และเครื่องปรับอากาศ
จากการตรวจสอบพบว่า มีต้นเพลิง 5 จุด เชื้อเพลิงเป็นวัตถุที่สามารถติดไฟได้ง่าย โดยต้นเพลิงจะมาจากพลาสติกใส หมอน เก้าอี้พลาสติก เสื้อจราจร ซึ่งการเกิดเพลิงไหม้จะต้องมีเชื้อเพลิง แหล่งความร้อน และออกซิเจน พยานมีความเห็นว่า แหล่งความร้อนเกิดจากการกระทำของบุคคล จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุไม่พบว่ามีกลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งพยานได้จัดทำผลการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุไว้
จากนั้นพยานเดินทางไปตรวจบริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม พบรอยเผาไหม้เป็นสีดำบริเวณด้านหน้าและด้านหลังซุ้มเฉลิมพระเกียรติ บริเวณซุ้มเฉลิมพระเกียรติจะมีทั้งสองฝั่งของสะพานลอย ด้านหน้าจะเป็นฝั่งที่ติดกับแยกนางเลิ้ง โดยพบรอยไหม้ด้านหน้า 2 จุด ไม่ต่อเนื่องกัน พยานเห็นว่า จุดต้นเพลิงไม่ต่อเนื่องกัน ส่วนด้านหลังทั้งแผ่นบนและแผ่นล่างพบรอยถูกเพลิงไหม้ 1 จุด
จากการตรวจสอบพยานเชื่อว่า ต้นเพลิงเกิดจากไฟเบอร์กลาสหรือน้ำมันเชื้อเพลิง และสาเหตุเพลิงไหม้เกิดจากแหล่งความร้อน เกิดจากการกระทำของบุคคล เนื่องจากแต่ละจุดไม่มีแหล่งความร้อน พยานจัดทำบันทึกการแจ้งผลตรวจสถานที่เกิดเหตุ จากนั้นได้นำส่งให้แก่พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง
ร.ต.อ.หญิง อัญญารัตน์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไปตรวจที่เกิดเหตุทั้งสองจุดเพียงครั้งเดียวในวันเกิดเหตุ และไม่ทราบว่าก่อนเกิดเหตุมีสภาพอย่างไร แต่ทราบว่าก่อนหน้านี้ป้อมจราจรดังกล่าวเคยถูกทุบทำลายมาก่อนแล้ว ไม่ใช่เพลิงไหม้ ซึ่งพยานไม่ได้เป็นผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุเมื่อเดือน ส.ค. 2564
สำหรับรอยทุบทำลาย ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นรอยเก่าหรือใหม่ แต่การเกิดเพลิงไหม้นั้น พยานมั่นใจว่าเป็นการเกิดใหม่เนื่องจากยังมีเพลิงลุกไหม้อยู่ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเพลิงไหม้จะเกิดก่อนที่พยานเข้าไปตรวจสอบนานเท่าใด และพยานไม่ได้ระบุในรายงานว่า ขณะที่เข้าตรวจพิสูจน์ยังมีวัตถุบางอย่างที่ยังเกิดเพลิงไหม้อยู่
สำหรับวัตถุที่ถูกเพลิงไหม้ แม้บางส่วนจะไม่ถูกเพลิงไหม้ แต่เมื่อมีความร้อนที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถตรวจลายนิ้วมือหรือ DNA ได้ เนื่องจากความร้อนจะทำให้ลายนิ้วมือและ DNA เสื่อมสภาพ จึงไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ก่อเหตุ และพยานไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการตรวจ DNA อีกทั้งไม่ทราบว่าในคดีนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญมาตรวจ DNA หรือไม่
ผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุที่ระบุว่า บริเวณเพลิงไหม้ขึ้นก่อน ได้แก่ ภายในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจรจำนวน 5 แห่ง ไม่ต่อเนื่องกัน ตามปกติการเกิดเพลิงไหม้ตามธรรมชาติจะมีต้นเพลิงเพียง 1 แห่ง แล้วลามไปยังจุดอื่น กรณีนี้พยานจึงมีความเห็นว่าเป็นการวางเพลิงอย่างชัดเจน
ตามรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุที่ระบุว่า เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดการลุกไหม้บริเวณจุดต้นเพลิง ได้แก่ วัตถุติดไฟได้อย่างง่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง นั้น เป็นกรณีที่พยานยกตัวอย่างเชื้อเพลิง เพราะไฟเบอร์กลาสไม่ใช่เชื้อเพลิงที่ดี เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นรอยดำ เข้าใจว่ามีเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาติดบริเวณไฟเบอร์กลาสและดับเอง ส่วนเพลิงไหม้ป้อมจราจร บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ เช่น หมอน เสื้อจราจร ซึ่งเป็นวัตถุไวไฟ เมื่อถูกกับวัตถุไวไฟก็สามารถลุกไหม้ได้ง่าย ประกอบกับไม่ได้กลิ่นน้ำมัน จึงไม่ได้ระบุมีเชื้อเพลิงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
ในที่เกิดเหตุพยานไม่พบวัตถุที่คนร้ายใช้เป็นเครื่องมือก่อเหตุคดีนี้ เช่น ไฟแช็ค คบเพลิง หรือแกลลอนน้ำมัน รวมทั้งไม่พบก้นบุหรี่ด้วย
.
++‘คมสัน’ นักวิชาการให้ความเห็นว่า การเผาภาพเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย ชี้บุคคลที่โกรธแค้นกันมักจะสาปแช่งโดยการ เผาพริกเผาเกลือ หรือเผาภาพ แต่ไม่เคยทราบว่า ศาลอุทธรณ์เคยมีคำพิพากษายกฟ้อง
คมสัน โพธิ์คง นักวิชาการอิสระเกี่ยวกับกฎหมาย gบิกความว่า ประกอบอาชีพด้านกฎหมายมาประมาณ 30 ปี จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี และปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน และเป็นอาจารย์สอนกฎหมายอาญาที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชประมาณ 10 ปี
เกี่ยวกับคดีนี้ จำวันเดือนปีไม่ได้ มีพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง จำชื่อไม่ได้ โทรติดต่อ และเดินทางมาพบพยานด้วยตนเองที่อาคารพญาไทพลาซ่า เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ เกี่ยวกับกรณีมีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงและราชินีที่แยกนางเลิ้ง พยานได้ให้ความเห็นว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมและหลายบท กรณีการวางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และเป็นความผิดตามมาตรา 112
สาเหตุที่พยานมีความเห็นว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากหากกรณีปกติธรรมดาแล้ว บุคคลที่มีความโกรธแค้นกันมักจะใช้วิธีเผาพริกเผาเกลือ หรือเผาภาพ ซึ่งลักษณะการกระทำเช่นนี้เป็นการสาปแช่ง และพยานมีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อกษัตริย์และพระราชินี
คมสันตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานไม่เคยทราบมาก่อนว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง กรณีที่มีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ อีกทั้งพยานไม่เคยค้นคำพิพาษาศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
++พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเห็นว่า จำเลยทำความผิดก่อนสถานการณ์ฉุกเฉินถูกยกเลิก แต่เห็นว่าพื้นที่ชุมนุมโล่งกว้าง ไม่แออัด อีกทั้งไม่ไเรียกนักข่าวที่เห็นเหตุการณ์มาสอบปากคำ
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร ขณะเกิดเหตุเป็นพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เบิกความว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ประมาณ 20.00 น. พยานได้รับแจ้งจากฝ่ายสืบสวนว่ากลุ่มทะลุแก๊ส จัดชุมนุมบริเวณแยกนางเลิ้ง มีการขว้างปาสิ่งของและเผาป้อมจราจรแยกนางเลิ้ง และเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 และพระราชินี ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตมัธยม
เมื่อได้รับแจ้งเหตุดังกล่าว พยานไปตรวจที่เกิดเหตุร่วมกับเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.นางเลิ้ง ได้แก่ ร.ต.อ.อุทัย วางพันธุ์ และพนักงานสอบสวนอีกคนหนึ่ง จำชื่อสกุลไม่ได้ เข้าร่วมตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบซุ้มเฉลิมพระเกียรติเสียหาย มีร่องรอยถูกเผา และป้อมจราจรแยกนางเลิ้งมีร่องรอยถูกเผาและทรัพย์สินภายในถูกทุบทำลายเสียหาย
พยานได้ทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ โดยระบุความเสียหายบริเวณสะพานลอยพบรอยไหม้ และป้อมจราจรเกิดเพลงไหม้และมีทรัพย์สินภายในนั้นเสียหาย พยานสันนิษฐานเบื้องต้นว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้ใช้วัตถุไวไฟไปถูกกับซุ้มเฉลิมพระเกียรติและป้อมจราจรทำให้ไหม้และเสียหาย จากนั้นเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานได้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์สถานที่เกิดเหตุ
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี ได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.อธิชย์ ดอนนันชัย ให้ดำเนินคดีต่อผู้ก่อเหตุ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด พ.ต.ท.อธิชย์ได้รับคดีไว้สอบสวน และมอบหมายให้พยานเป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี
พยานเป็นผู้สอบปากคำผู้กล่าวหา คือ พ.ต.ท.จงศักดิ์ ซึ่งในครั้งแรกยังไม่สามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุได้ ต่อมา พ.ต.ท.จงศักดิ์ ได้มาร้องทุกข์กล่าวหาเพิ่มเติมว่าสามารถตรวจพิสูจน์ผู้ก่อเหตุได้ โดยได้รับแจ้งจาก พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว ว่ามีผู้ร่วมกระทำผิด 4 คน คือ มิกกี้บัง, พรชัย ยวนยี, จิตริน พลาก้านตง และ สินบุรี แสนกล้า จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับทั้งสี่คน
นอกจากนั้นพยานได้สอบปากคำ ชานนท์ นันทวงศ์ เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานโยธา กรุงเทพฯ ที่ได้มาให้การเกี่ยวกับรายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับซุ้มเฉลิมพระเกียรติเป็นมูลค่า 1,000 บาท และมีการซ่อมแซมแล้ว
สำหรับป้อมจราจร ได้มี ร.ต.อ.อัครพล ไชยขันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาร้องทุกข์ว่า เครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่อยู่ในป้อมจราจรเป็นของตน ได้รับความเสียหายรวมเป็นเงิน 15,000 บาท
อีกทั้งยังมีระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุในคดีนี้ แต่ขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด โดยระพีพงษ์ได้นำภาพถ่าย และลิงก์ภาพเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุมามอบให้พยาน
จากการรวบรวมพยานหลักฐานแล้วพบว่า พรชัย, มิกกี้บัง และจิตริน ทำความผิดตามมาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ส่วนสินบุรีมีความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
พ.ต.ท.สำเนียง ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 32) ข้อ 2 ระบุว่า ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค แต่ที่ชุมนุมในคดีนี้เป็นที่โล่ง ผู้ชุมนุมไม่แออัด
ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 10 ระบุว่า ห้ามมิให้มีการชุมนุมเว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ พยานไม่ทราบว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึงผู้ใด จึงไม่ได้สอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง
พยานจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคระบาด อีกทั้งพยานไม่ได้มีหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขว่า การชุมนุมดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคหรือไม่ และหลังจากการชุมนุมในคดีนี้มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นหรือไม่
รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกาศ ข้อกำหนด และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง แล้ว เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 แต่แม้จะยกเลิกแล้ว พยานเห็นว่า จำเลยทั้งสี่คนกระทำความผิดก่อนที่จะมีประกาศยกเลิกดังกล่าว
พยานยืนยันว่า ในการดำเนินคดีนี้ ใช้รายงานการสืบสวนและวัตถุพยานที่อ้างส่งต่อศาลเป็นพยานหลักฐาน ส่วนฐปนีย์ เอียดศรีไชย หรือนักข่าวคนอื่นจะอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุหรือไม่ พยานไม่ทราบ และพยานไม่ได้ประสานไปยังสำนักข่าว The Reporters และไม่ได้สอบปากคำนักข่าวภาคสนามที่เห็นเหตุการณ์ในคดีนี้
พยานสอบปากคำระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ แต่ไม่ได้สอบรายละเอียดเกี่ยวกับทัศนคติทางการเมือง ส่วน QR Code ที่ระพีพงษ์มอบให้ พยานก็ไม่เคยเข้าไปดูว่ามีรายละเอียดอย่างไร
พยานไม่ได้สอบปากคำผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า ได้อนุญาตให้จัดกิจกรรมชุมนุมแล้วหรือไม่ และไม่ได้สอบผู้ว่าฯ ว่า เป็นเจ้าของซุ้มเฉลิมพระเกียรติหรือไม่ และไม่ได้สอบว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ผู้ใดจะเป็นผู้ที่มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษ ในการสอบปากคำชานนท์ นันทวงศ์ ก็ไม่ได้มีการมอบหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างการทำซุ้มเฉลิมพระเกียรติให้พยาน อีกทั้ง ร.ต.อ.อัครพล ไชยขันท์ ก็ไม่ได้นำหลักฐานการเป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นมามอบให้
พยานไม่ได้ตรวจกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุว่า มีความเสียหายหรือไม่ รวมทั้งกล้องวงจรปิดในที่อื่น ๆ ด้วย และไม่ได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดตามเส้นทางที่กลุ่มคนร้ายหลบหนี รวมถึงบริเวณใกล้เคียงกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสี่คนว่า ช่วงเวลาหลังเกิดเหตุได้เดินทางกลับมาที่บ้านหรือไม่ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน แต่ก็ไม่ได้สอบเจ้าหน้าที่สืบสวนว่ามีกล้องวงจรปิดตัวใดเสียบ้าง
พยานไม่ได้ตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ของจำเลยทั้งสี่ว่าในช่วงเวลาเกิดเหตุอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่ และเมื่อจับกุมจำเลยทั้งสี่คนแล้ว ก็ไม่ได้ตรวจยึดโทรศัพท์มาตรวจสอบว่า มีการพูดคุยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้หรือไม่ อีกทั้งพยานไม่ได้ตรวจสอบลายนิ้วมือหรือ DNA ในที่เกิดเหตุว่า ตรงกับจำเลยทั้งสี่หรือไม่ และหลังจากเกิดเหตุ พยานไม่ได้ยึดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือรองเท้าของจำเลยทั้งสี่มาตรวจสอบ
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67425) -
วันที่: 02-04-2024นัด: สืบพยานโจทก์++พนักงานสอบสวนระบุ ภาพพยานหลักฐานไม่สามารถมองได้ชัดว่าใครเป็นใคร และเหตุที่เลือกคมสันมาเป็นพยานความเห็นมาตรา 112 เพราะคณะทำงานแนะนำและมอบหมายให้ไปสอบ
พ.ต.ท.อธิชย์ ดอนนันชัย ขณะเกิดเหตุเป็นรอง ผกก. (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง เบิกความว่า เกี่ยวกับคดีนี้เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี รอง ผกก. สืบสวน สน.นางเลิ้ง ได้มาแจ้งความร้องทุกข์กลุ่มคนที่วางเพลิงเผาทรัพย์ในหลวงและราชินี บริเวณสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิต และวางเพลิงป้อมจราจรบริเวณสามแยกนางเลิ้งจนทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 พยานรับแจ้งความและลงบันทึกประจำวันไว้ จากนั้นได้ส่งมอบให้กับ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ต.ท.จงศักดิ์ ผู้แจ้งความ ยังไม่ได้ระบุตัวผู้ก่อเหตุ
ต่อมาพยานได้ร่วมสอบสวนกับ พ.ต.ท.สำเนียง ในการสอบปากคำ พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว ตำรวจกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งมีหน้าที่สืบสวนหาตัวผู้ร้ายในคดีนี้ พ.ต.ท.จักรพงษ์ ได้มอบรายงานการสืบสวนและยืนยันตัวผู้ก่อเหตุ 4 คน ได้แก่ มิกกี้บัง, จิตริน พลาก้านตง, สินบุรี แสนกล้า และพรชัย ยวนยี
นอกจากนี้พยานได้สอบปากคำนักวิชาการคือ คมสัน โพธิ์คง โดยพยานติดต่อประสานให้คมสันมาให้ความเห็นว่าการที่จำเลยทั้งสี่คนเผารูป ร.10 และราชินี เป็นความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ ซึ่งคมสันให้การว่าลักษณะการเผาเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์และราชินีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากนั้นยังมีความผิดตามมาตรา 217 และมาตรา 358
พ.ต.ท.อธิชย์ ตอบทนายจำเลยถามค้าน ว่า บุคคลที่วงไว้ในภาพที่ทนายจำเลยให้ดู น่าจะมีผิวดำแดง แต่ไม่รู้ว่าถ่ายจากสถานที่ใด เนื่องจากมัวและมองไม่ชัดเจน ส่วนภาพถ่ายรถจักรยานยนต์ พยานมองเห็นเป็นสีดำ แต่ไม่ทราบว่าเป็นรถของใคร และชายที่ยืนอยู่ใกล้รถคันดังกล่าวก็เห็นว่าสวมเสื้อสีขาว แต่ดูไม่ออกว่าเป็นผู้ใด
นอกจากนี้ พยานดูภาพถ่ายแล้วไม่สามารถระบุได้ว่า จำเลยทั้งสี่คือบุคคลใด เนื่องจากไม่เคยเห็นจำเลยทั้ง 4 คนมาก่อน
ทนายถามตามรายงานการสืบสวนกลุ่มผู้ก่อเหตุร่วมกันชุมนุมก่อความไม่สงบ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 บริเวณแยกนางเลิ้ง และ จ.10 ไม่ปรากฏภาพของจำเลยทั้งสามคนร่วมชุมนุมในการชุมนุมครั้งอื่น ๆ ใช่หรือไม่ พยานตอบว่าขอยืนยันตามเอกสาร
พยานตอบทนายจำเลยอีกว่า ไม่รู้จักคมสัน โพธิ์คง เป็นการส่วนตัว และไม่เคยอ่านผลงานทางวิชาการของคมสัน ส่วนที่ระบุว่าเป็นนักวิชาการ คมสันเป็นผู้บอกเอง แต่จำไม่ได้ว่าคมสันได้มอบผลงานทางวิชาการให้พนักงานสอบสวนด้วยหรือไม่ และพยานไม่ได้สอบปากคำคมสันถึงทัศนคติทางการเมือง และไม่ได้สอบค้นตรวจสอบชื่อของคมสันใน Google ว่ามีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด และมีทัศนคติอย่างไร
พ.ต.ท.อธิชย์ ตอบอัยการโจทก์ถามติงว่า หน้าที่ในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดคือตำรวจฝ่ายสืบสวน ซึ่งพยานไม่ทราบว่า พ.ต.ท.จักรพงษ์ จะมีวิธีการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดอย่างไร และพยานไม่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด
เหตุพยานรู้จักคมสัน เพราะคณะทำงานสอบสวนแนะนำและมอบหมายให้ไปสอบปากคำคนนี้
.
หลังจากการสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ทนายจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยานจำเลย แต่ขอยื่นแถลงการณ์ปิดคดีต่อศาล ก่อนที่ศาลจะนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 พ.ค. 2567
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 2 เม.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67425) -
วันที่: 29-04-2024นัด: ยื่นแถลงการณ์ปิดคดีทนายความได้ยื่นแถลงการณ์โดยมีใจความสำคัญว่า
วันที่ 19 ก.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุในคดีนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ไปร่วมชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกับกลุ่มทะลุแก๊สตามฟ้อง บุคคลที่ปรากฏในวัตถุพยานโจทก์ทั้งหมด ได้แก่ ภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวตามรายงานการสืบสวน, ภาพถ่ายเปรียบเทียบการแต่งกายของผู้ต้องหา และบันทึกภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิด ไม่ใช่จำเลยในคดีนี้
อีกทั้งจำเลยทั้งสามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มทะลุแก๊ส รวมถึงการโพสต์ข้อความเชิญชวนบนเพจเฟซบุ๊กทะลุแก๊สในวันเกิดเหตุ ทั้งนี้ รายงานการสืบสวนกรณีกลุ่มทะลุแก๊สทำกิจกรรมบริเวณแยกนางเลิ้ง ระบุว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 เวลาประมาณ 18.30 น. กลุ่มทะลุแก๊สได้โพสต์ข้อความชักชวนผ่านเฟซบุ๊ก “คฝ.จัดม็อบแยกดินแดง เราไปจัดที่ ทำเนียบ ดีไหม ถ้าดีก็ตาม” และมีสมาชิกประมาณ 100 คน รวมตัวที่บริเวณแยกนางเลิ้ง ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความชักชวนดังกล่าว และไม่รู้จักหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับกลุ่มทะลุแก๊สทั้งสิ้น
ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ขอศาลพิพากษายกฟ้อง และปล่อยตัวจำเลยทั้งสามพ้นข้อหาไป
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานโจทก์ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2407/2565 ลงวันที่ 29 เม.ย. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67425) -
วันที่: 30-05-2024นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 703 มิกกี้บัง, จิตริน และสินบุรี เดินทางมาฟังคำพิพากษาพร้อมกับครอบครัว อีกทั้งเพื่อนนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุฟ้า อาทิ "ไผ่" จตุภัทร์, "ปูน" ธนพัฒน์ รวมถึงประชาชน, สื่อพลเมือง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจในการฟังคำพิพากษา
เวลา 10.20 น. ศาลออกนั่งอ่านคำพิพากษากว่าครึ่งชั่วโมง โดยผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีนี้ได้แก่ สายสนีย์ สายสุนทร และพรศักดิ์ เชาวลิต คำพิพากษาสามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า
พิเคราะห์พยานหลักฐานที่นำสืบและข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 กลุ่มทะลุแก๊สนัดหมายชุมนุมที่แยกนางเลิ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแผงเหล็กป้องกัน ผู้ชุมนุมปะปนกับเจ้าหน้าที่และขว้างปาสิ่งของ จำเลยอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม มีคนร้ายปาระเบิดเพลิงไปบนสะพานลอยที่มีซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ต่อมามีคนราดน้ำมันเพลิงไปยังซุ้มเฉลิมพระเกียรติอีก และมีการวางเพลิงป้อมจราจรแยกนางเลิ้งจนได้รับความเสียหาย
ในขณะนั้นมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และในขณะเกิดเหตุก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 โดยห้ามมิให้มีการชุมนุมมากกว่า 25 คนขึ้นไป และห้ามมิให้ชุมนุมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งประกาศดังกล่าวครอบคลุมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสิบกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
- ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
พยานโจทก์เบิกความว่าเห็นจำเลยทั้งสามคนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก เป็นการรวมกลุ่มมากกว่า 25 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยเข้าร่วมการชุมนุม จำเลยจึงมีความผิดในข้อหานี้ ถึงแม้ว่าจะมีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วก็ตาม แต่การประกาศนั้นไม่ใช่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
- ในข้อหามาตรา 112, วางเพลิงเผาทรัพย์ฯ ตามมาตรา 217 และทำให้เสียทรัพย์ฯ ตามมาตรา 358
ศาลเห็นว่ามีพยานโจทก์ (พ.ต.ท.จักรพงษ์ กิ่งแก้ว) เบิกความจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบภาพจำเลยทั้งสี่คน ถึงแม้ว่าภาพจากกล้องวงจรปิดจะไม่ชัดเจน แต่พยานโจทก์ (พ.ต.ท.จักรพงษ์) เบิกความว่า ได้ติดตามกลุ่มนี้มานาน ประกอบกับได้นำกล้องวงจรปิดมาเปรียบเทียบการแต่งกาย พบว่าพรชัยสวมรองเท้าตรงกับวันเกิดเหตุคือมีสีดำและหัวแหลม
ส่วนสินบุรีอยู่ในกลุ่มทะลุฟ้า มีการถ่ายภาพวันเดียวกันกับวันเกิดเหตุแต่เป็นช่วงเย็น สวมนาฬิกา หมวกแก๊ป และขับรถจักรยานยนต์สีเทา ปิดเลขทะเบียน เมื่อพยานไปตรวจสอบพบว่าเป็นคันเดียวกันกับรถที่จอดอยู่ที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันหลังเกิดเหตุ พยานตรวจสอบเลขทะเบียนดังกล่าวพบว่าเป็นบิดาของสินบุรี จึงเชื่อว่าสินบุรีเป็นผู้ก่อเหตุวางเพลิงป้อมจราจรจริงตามฟ้อง
ส่วนมิกกี้บัง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปในเฟซบุ๊ก พบว่ามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับในกล้องวงจรปิด และรถจักรยานยนต์ที่ใช้หลบหนีหลังคนร้ายเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติพบว่ามีภูมิลำเนาเดียวกันกับมิกกี้บัง จึงเชื่อว่ามิกกี้บังอยู่ในที่เกิดเหตุ ถึงแม้ว่าไม่พบว่าเป็นผู้วางเพลิง แต่เป็นผู้พาคนร้ายหลบหนีไป
และจิตริน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนสาดน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ก็อยู่กับคนร้ายและไม่ได้ห้ามปรามผู้ก่อเหตุ อีกทั้งยังพรางตัวโดยการกลับด้านเสื้อ ซึ่งถ้าไม่มีความผิดก็ไม่มีเหตุที่ต้องทำเช่นนั้น จึงเชื่อว่าจิตรินมีส่วนรู้เห็นในการกระทำ
เห็นว่าพยานโจทก์ตรวจกล้องวงจรปิด ภาพจากสำนักข่าว และภาพที่ถ่ายไว้ในครั้งอื่น ๆ รวมถึงการตรวจสอบเลขทะเบียนพบว่ามีภูมิลำเนาเดียวกัน จึงเชื่อว่าพยานโจทก์จำจำเลยทั้งสี่คนได้ไม่ผิดตัว และที่พยานโจทก์ (ร.ต.ท.หญิง อัญญารัตน์ ไพศาลพิสุทธิสิน) เบิกความว่ามีการสาดของเหลวจนทำให้เกิดไฟนั้นเชื่อว่าเป็นสารเคมี จึงฟังได้ว่าการสาดสารเคมีทำให้ซุ้มเฉลิมพระเกียรติจนเกิดไฟลุกไหม้เสียหายคิดเป็นเงิน 1,000 บาท
นอกจากนั้นยังมีพยานโจทก์ (คมสัน โพธิ์คง) เบิกความว่าการที่ใช้ไฟเผารูปในหลวงและราชินีที่ประดิษฐานไว้นั้นเป็นการสาปแช่ง อาฆาตมาดร้าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ การกระทำจึงเป็นการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ฯ
ส่วนกรณีวางเพลิงป้อมจราจร มีพยานโจทก์ (พ.ต.ท.จักรพงษ์) เบิกความว่าพบเห็นสินบุรีจุดไฟเผา จนทำให้สิ่งของซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.ต.ท.อัครพล ไชยขันท์ (ผู้กล่าวหาที่ 3) เสียหายเป็นเงิน 15,000 บาท อีกทั้งมีพยานโจทก์ (ร.ต.ท.หญิง อัญญารัตน์) ได้เบิกความอีกว่าการเผาไหม้เป็นการกระทำโดยบุคคล และจากกล้องวงจรปิด ถึงแม้ว่ามิกกี้บังจะไม่ใช่คนจุดไฟ แต่เมื่อไม่ได้ห้ามปรามหรือดับไฟ จึงน่าเชื่อว่ามิกกี้บังทราบการดำเนินการของสินบุรี จึงมีลักษณะเป็นตัวการร่วม พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของสินบุรีและมิกกี้บังเป็นความผิดตามฟ้อง แต่ไม่พบว่าจิตรินมีส่วนร่วมในการกระทำผิดอย่างไร จึงให้ยกฟ้องในข้อหานี้
พิพากษาว่า ทั้งสามคนมีความผิดในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นอกจากนั้นสินบุรียังผิดในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ ตามมาตรา 217 และทำให้เสียทรัพย์ฯ ตามมาตรา 358 ส่วนมิกกี้บังและจิตรินมีความผิดตามมาตรา 112, วางเพลิงเผาทรัพย์ฯ ตามมาตรา 217 และทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358
ในฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ และมาตรา 112 เป็นกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกมิกกี้บังและจิตรินคนละ 3 ปี
ส่วนฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ และทำให้เสียทรัพย์ฯ ป้อมจราจร เป็นกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกสินบุรีและมิกกี้บังคนละ 2 ปี
ส่วนฐานร่วมชุมนุมมากกว่า 25 คนขึ้นไปอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้จำคุกทั้งสามคน คนละ 10 วัน
รวมจำคุกสินบุรี 2 ปี 10 วัน, จำคุกจิตริน 3 ปี 10 วัน และจำคุกมิกกี้บัง 5 ปี 10 วัน ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกของพรชัยและจิตรินในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกคดีอื่น ๆ แต่เนื่องจากศาลยังไม่มีคำพิพากษาในส่วนของพรชัย และจิตรินยังไม่มีคำพิพากษาให้จำคุกในคดีอื่น จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ คำขอในส่วนนี้จึงให้ยกไป
หลังจากศาลอ่านคำพิพากษา ทั้งสามคนถูกเจ้าหน้าที่เข้าใส่กุญแจมือ ก่อนนำตัวไปควบคุมที่ห้องขังใต้ถุนศาลระหว่างรอผลการยื่นประกันตัวในชั้นอุทธรณ์
ต่อมาเมื่อเวลา 15.34 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวทั้งสามคนระหว่างอุทธรณ์ โดยกรณีมิกกี้บังให้วางหลักทรัพย์ 300,000 บาท, จิตริน ให้วางหลักทรัพย์ 200,000 บาท, สินบุรี ให้วางหลักทรัพย์ 150,000 บาท โดยไม่กำหนดเงื่อนไขใด หลักทรัพย์ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ และทำให้เย็นวันนี้ทั้งสามคนจะได้เดินทางกลับบ้าน
.
ด้านทนายความในคดีนี้ มีความเห็นต่อคดีหลังมีคำพิพากษาว่า พยานหลักฐานโจทก์จากกล้องวงจรปิดไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน มีการยิงแก๊ซน้ำตา ทำให้มีฝุ่นควัน จุดเกิดเหตุอยู่ในระยะไกลจากกล้อง ไม่ชัดเจน และไม่มีเสียง จึงไม่ชัดเจนพอที่จะระบุได้ว่าเป็นใคร หรือใคร ทำอะไรอยู่ ได้อย่างชัดเจน แต่ศาลได้พิพากษาให้ลงโทษจำเลยจากพยานหลักฐานเช่นนี้
สำหรับมิกกี้บังและจิตริน คดีนี้เป็นคดีเดียวที่ทั้งคู่ถูกกล่าวหาในข้อหาตามมาตรา 112 ส่วนในคดีอื่น ๆ เป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากการร่วมชุมนุม ส่วนใหญ่ถูกกล่าวหาในข้อหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้านสินบุรีนั้นก็ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองในคดีนี้เพียงคดีเดียวเท่านั้น
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/67468)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จิตริน พลาก้านตง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
“บัง” (สงวนชื่อสกุลจริง)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สินบุรี แสนกล้า
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรชัย ยวนยี
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จิตริน พลาก้านตง
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สายสนีย์ สายสุนทร
- พรศักดิ์ เชาวลิต
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
30-05-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
“บัง” (สงวนชื่อสกุลจริง)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สายสนีย์ สายสุนทร
- พรศักดิ์ เชาวลิต
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
30-05-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สินบุรี แสนกล้า
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- สายสนีย์ สายสุนทร
- พรศักดิ์ เชาวลิต
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
30-05-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรชัย ยวนยี
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จิตริน พลาก้านตง
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
“บัง” (สงวนชื่อสกุลจริง)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สินบุรี แสนกล้า
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์