ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.3257/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์ สว.สส.สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.3257/2566
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์ สว.สส.สน.ชนะสงคราม
ความสำคัญของคดี
“บิ๊ก” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ สน.ชนะสงคราม จากกรณีปราศรัยถึงสถาบันกษัตริย์ในงานรำลึก 45 ปี 6 ตุลา 2519
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดปากบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยสงบ
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดปากบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยสงบ
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
สารสิทธิ์ พวงไพบูลย์ พนักงานอัยการ สำนักงานพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 ช่วงเวลาเย็น เกียรติชัยได้เข้าร่วมกิจกรรมปาฐกถาพิเศษรำลึก 45 ปี 6 ตุลาคม 2519 และนิทรรศการ “หนี้เลือด 6 ตุลา 2519 ถึงเวลาชำระ” โดยจำเลยได้แต่งกายสวมใส่เสื้อซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 อยู่ที่หน้าอก พร้อมมีข้อความว่า “ปกป้องสถาบัน” และได้กล่าวคำปราศรัยบนเวที
คำปราศรัยมีเนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึงประเด็น เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่ผู้กระทำผิดยังลอยนวล, สื่อ “ดาวสยาม” ที่มีเนื้อหายุยงปลุกปั่นใส่ร้ายนักศึกษา, การรัฐประหาร, สถาบันกษัตริย์ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพทั้งในอดีตและปัจจุบัน, การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาจากมาตรา 97 เป็นมาตรา 112 และไปอยู่ในหมวดความมั่นคง รวมถึงเพิ่มโทษ เพื่อปิดปากผู้เห็นต่างให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตได้, กลุ่มการเมืองฝ่ายขวาจัด เช่น ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มนวพล ที่มีส่วนร่วมในการฆ่านักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา รวมไปถึงสถาบันตุลาการของประเทศไทย
คำปราศรัยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จำเลยมีเจตนาอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำลายสถาบันกษัตริย์ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3257/2566 ลงวันที่ 27 ต.ค. 2566)
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 ช่วงเวลาเย็น เกียรติชัยได้เข้าร่วมกิจกรรมปาฐกถาพิเศษรำลึก 45 ปี 6 ตุลาคม 2519 และนิทรรศการ “หนี้เลือด 6 ตุลา 2519 ถึงเวลาชำระ” โดยจำเลยได้แต่งกายสวมใส่เสื้อซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 อยู่ที่หน้าอก พร้อมมีข้อความว่า “ปกป้องสถาบัน” และได้กล่าวคำปราศรัยบนเวที
คำปราศรัยมีเนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึงประเด็น เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่ผู้กระทำผิดยังลอยนวล, สื่อ “ดาวสยาม” ที่มีเนื้อหายุยงปลุกปั่นใส่ร้ายนักศึกษา, การรัฐประหาร, สถาบันกษัตริย์ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพทั้งในอดีตและปัจจุบัน, การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาจากมาตรา 97 เป็นมาตรา 112 และไปอยู่ในหมวดความมั่นคง รวมถึงเพิ่มโทษ เพื่อปิดปากผู้เห็นต่างให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตได้, กลุ่มการเมืองฝ่ายขวาจัด เช่น ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มนวพล ที่มีส่วนร่วมในการฆ่านักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา รวมไปถึงสถาบันตุลาการของประเทศไทย
คำปราศรัยดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง จำเลยมีเจตนาอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำลายสถาบันกษัตริย์ และทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3257/2566 ลงวันที่ 27 ต.ค. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 29-01-2022นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเวลาประมาณ 13.00 น. “บิ๊ก” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมทนายความ เดินทางไปที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีปราศรัยในงานรำลึก 45 ปี 6 ตุลา 2519 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ก่อนหน้านี้เกียรติชัยได้รับหมายเรียกครั้งที่ 1 จาก สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 6 ม.ค. 2565 โดยมี พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์ เป็นผู้กล่าวหา
พ.ต.ท.ประเสริฐ จันทร์แดง รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อกล่าวหาเกียรติชัย ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 เวลาประมาณ 06.00 น.- 20.00 น. ได้มีกลุ่มมวลชนและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ นัดหมายกันมาจัดกิจกรรม รําลึก 45 ปี 6 ตุลา 2519 ที่บริเวณภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จนเวลา 18.40-19.00 น. เกียรติชัยได้พูดปราศรัยต่อหน้าบุคคลจํานวนมากที่มาร่วมกิจกรรมดังกล่าว เนื้อหาถ้อยคําปราศรัยอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม ได้มีการบันทึกภาพนิ่งและวิดีโอไว้เป็นหลักฐาน แล้วนํามาถอดเทปคําปราศรัย
เนื้อหาคำปราศรัยโดยสรุป กล่าวถึงที่มาที่ไปของมาตรา 112 โดยเกียรติชัยเห็นว่า มาตราดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร 2490 โดยในปี 2499 มีการแก้ไขกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา) เปลี่ยนจากมาตรา 97 เป็นมาตรา 112 ในปัจจุบัน และจากความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งทุกคนสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้ และยังมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวอีกครั้งในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ซึ่งได้แก้ไขโทษจากจำคุกไม่เกิน 7 ปี มาเป็น 3-15 ปี
เกียรติชัยเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดที่ชนชั้นนำสร้างขึ้นเพื่อปิดปากผู้เห็นต่างทางการเมืองมาตั้งแต่อดีต เกียรติชัยได้ยกตัวอย่างตนเองซึ่งถูกดำเนินคดีด้วยมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ตามเ ขาเห็นว่าสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับเขาคือการติดคุก แต่สำหรับผู้เห็นต่างในปี 2519 นั้นหมายถึงความตาย โดยเฉพาะนักศึกษาซึ่งถูกเข่นฆ่าในช่วงเวลาดังกล่าว และยังไม่มีผู้รับผิดชอบจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้เขาได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของฝ่ายขวา เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มกระทิงแดง และกลุ่มลูกเสือชาวบ้านกับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งภายหลังกลุ่มดังกล่าวได้ออกเข่นฆ่านักศึกษาที่ในช่วงเวลานั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ก่อนจะจบการปราศรัยด้วยการยืนยันว่าตนกำลังปกป้องสถาบันกษัตริย์ ไม่ได้ล้มล้างแต่อย่างใด
พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์ ผู้กล่าวหา อ้างว่าถ้อยคำปราศรัยดังกล่าว มีลักษณะของการกระทำที่มิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน หรือกระทำให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท ต่อองค์พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
หลังพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา เกียรติชัยให้การปฏิเสธ โดยได้ให้การกับพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น
1. ตนเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่รัฐใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมนักศึกษาและประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และร่วมปราศรัยในเรื่องการปฏิรูปทางการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และเป็นสากล
การที่ตนพูดถึงสถาบันกษัตริย์ ก็เพราะสถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตนเพียงแต่กล่าวถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์โดยสุจริต ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทแต่อย่างใด การปราศรัยของตนเป็นไปด้วยความตั้งใจและสุจริตที่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์ปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 และเป็นไปตามกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
2. การที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหา โดยนำคำพูดเพียงบางประโยคและบางข้อความมา โดยมิได้นำข้อความคำปราศรัยทั้งหมดมาพิเคราะห์ถึงเจตจำนงโดยถ่องแท้ และด่วนสรุปว่าเป็นความผิดตามมาตรา 112 จึงมิชอบ
ทั้งที่สาธารณชนโดยทั่วไปก็เข้าใจว่า ผู้มีอำนาจรัฐในชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบธรรม ต้องการหยุดความเคลื่อนไหวของประชาชนไม่ให้ออกมาเรียกร้องซึ่งสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรม ดังนั้น การตั้งข้อกล่าวหาต่อตนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม เป็นวิธีการที่รัฐใช้อำนาจทางกฎหมายมาปิดปาก หยุดความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อรักษาอำนาจของตนเองไว้ ตนจึงไม่อาจยอมรับการตั้งข้อหาในวันนี้ได้
เกียรติชัยยังปฏิเสธการพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้พนักงานสอบสวนแจ้งว่าจะนัดเกียรติชัยมาแจ้งข้อกล่าวหาจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานอีกครั้งหนึ่ง
เกียรติชัยยังระบุผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวภายหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่า “พื้นที่มหาลัยที่ควรจะเป็นพื้นที่เสรีในการแสดงความคิดเห็นและสิ่งที่ตนปราศรัยเป็นข้อมูลที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการ การปราศรัยดังกล่าวเป็นเพียงการรำลึกและย้ำเตือนให้คนเห็นถึงความสำคัญของเหตุการณ์ 6 ตุลาที่เป็นการสังหารหมู่ (massacre) โดยรัฐ และได้สร้างมรดกเลือดไว้คือมาตรา 112 นอกจากนี้ คดีดังกล่าวยังเป็นการตอกย้ำความรุนแรงโดยรัฐในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง แม้เหตุการณ์จะผ่านแล้วกว่า 46 ปี แต่รัฐก็ยังใช้ความรุนแรงผ่านกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว”
คดีนี้นับเป็นคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ คดีที่ 3 ที่เกียรติชัยถูกแจ้งข้อกล่าวหา โดยก่อนหน้านี้ เขาถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 จากการปราศรัยในการชุมนุม #ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 และ #ม็อบ24มิถุนา #ราษฎรยืนยันดันเพดาน บริเวณสกายวอล์คปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 29 ม.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40080) -
วันที่: 29-05-2023นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดเกียรติชัยไปส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 29 มิ.ย. 2566
-
วันที่: 27-10-2023นัด: ยื่นฟ้องหลังอัยการนัดฟังเกียรติชัยมารายงานตัวและฟังคำสั่งราวเดือนละ 1 ครั้ง พนักงานอัยการ สำนักงานพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ก็มีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 ในที่สุด และนัดเกียรติชัยมาส่งฟ้อง
คำฟ้องที่ยื่นต่อศาลมีใจความโดยสรุปว่า คำปราศรัยของเกียรติชัยในกิจกรรมรำลึก 45 ปี 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519, การรัฐประหาร, สถาบันกษัตริย์ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพทั้งในอดีตและปัจจุบัน, การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อปิดปากผู้เห็นต่างให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตได้ ฯลฯ มิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยจำเลยมีเจตนาบิดเบือนใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 ทำลายสถาบันกษัตริย์
พนักงานอัยการยังคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี และยังขอให้นับโทษจำคุกต่อจากโทษจำคุกในคดีที่จำเลยถูกฟ้องที่ศาลแขวงดุสิตและศาลอาญากรุงเทพใต้
หลังศาลรับฟ้อง ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์จำนวน 90,000 บาท ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 19 ก.พ. 2567
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.3257/2566 ลงวันที่ 27 ต.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/60968) -
วันที่: 19-02-2024นัด: ตรวจพยานหลักฐาน
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์