ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ อ.2948/2564

ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ไม่แจ้งการชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ดำ อ.2948/2564
ผู้กล่าวหา
  • วราวุธ สวาย

ความสำคัญของคดี

นักกิจกรรม "ราษฎร" 8 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ, “แหวน” ณัฎฐธิดา มีวังปลา, พรหมศร วีระธรรมจารี, “ทราย” อินทิรา เจริญปุระ ถูกดำเนินคดีมาตรา 112, 116 และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุมอีกหลายข้อหา จากการเข้าร่วม #ม็อบ29พฤศจิกา หรือการชุมนุม “ปลดอาวุธศักดินาไทย” ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 และขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นสถานะของกษัตริย์ในปัจจุบันที่มีการโอนทรัพย์สินและกำลังทหารไปอยู่ภายใต้กษัตริย์ รวมถึงเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หลังประชาชนรายหนึ่งเข้าแจ้งความที่ สน.บางเขน อย่างไรก็ตาม เมื่ออัยการฟ้องคดีต่อศาล ไม่ได้ฟ้องอินทิราในข้อหา 112 เนื่องจากอินทิราไม่ได้ขึ้นกล่าวปราศรัย

ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ยกเว้นอานนท์และพริษฐ์ โดยศาลอ้างว่า ทั้งสองมีพฤติการณ์กระทำการซ้ำในทำนองเดียวกันกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาหลายคดี หากอนุญาตปล่อยชั่วคราว จะไปกระทำการในทำนองเดียวกันอีก

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ชญาพร นาคะผดุงรัตน์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 บรรยายคำฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยประกาศชักชวนประชาชนมาร่วมชุมนุมทางการเมืองผ่านทางช่องทางต่างๆ ในหัวข้อการชุมนุม “ปลดอาวุธศักดินาไทย” ที่กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยจำเลยทั้งหมด ยกเว้นอินทิรา ได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยเรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันต่อสู้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อ พ.ต.อ.อรรถพล มีเสียง ผู้กำกับ สน.บางเขน หัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว

การชุมนุมดังกล่าวมีประชาชนเข้าร่วมประมาณ 2,000 คน โดยรวมตัวกันปิดการจราจรบริเวณวงเวียนบางเขน มุ่งหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปได้ เนื่องจากมีรถโดยสารเก่าจำนวน 2 คัน ที่เจ้าหน้าที่จอดเป็นแนวกั้นขวาง และมีการติดตั้งรั้วลวดหนาม เพื่อให้ยุติการเคลื่อนขบวน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมดันรถโดยสารและทำการรื้อลวดหนามออกได้บางส่วน กลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนไปหน้ากรมทหารราบที่ 11 พร้อมรถบรรทุกเครื่องขยายเสียง และเป็ดยางลม ก่อนกั้นแบริเออร์และกรวยยางปิดการจราจรและปราศรัยบนถนนสาธารณะ อันเป็นการกีดขวางการจราจรและกีดขวางทางสาธารณะ และเป็นการทำกิจกรรมใดๆ ที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค

รวมทั้งยังไม่เลิกการชุมนุมตามคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ได้ประกาศว่าการชุมนุมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้น ยังมีผู้เทสีและขีดเขียนข้อความลงบนพื้นถนนอันเป็นทางสาธารณะ

จำเลยทั้งหมด ยกเว้นอินทิรา ยังได้ผลัดเปลี่ยนกันใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยแก่ประชาชนที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ในระหว่างการชุมนุมสาธารณะ โดยอัยการมีการระบุเนื้อหาคำปราศรัยของจำเลยทั้ง 7 คน ว่าเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

อานนท์ปราศรัยตั้งคำถามถึงการโอนกองกำลังทหารให้ไปอยู่ใต้องค์พระมหากษัตริย์และย้ำข้อเรียกร้องขอให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

พริษฐ์ปราศรัยถึงสถาบันกษัตริย์ไม่มีความจำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัวและไม่ควรแทรกแซงอำนาจของประชาชน ทั้งสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนร่วมในการอุ้มหายประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว

ชินวัตรปราศรัยถึงการวิจารณ์เรื่องการโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ได้หมายความว่าต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แต่เพราะเป็นห่วงสถาบันกษัตริย์จึงขอให้โอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับมาอยู่ที่ส่วนกลาง

สมยศปราศรัยถึงประวัติที่มาของกองพลทหารราบที่ 11 ว่าตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 พร้อมตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีทหารเพื่อประชาชนและเรียกร้องถึงการตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้อย่างโปร่งใส

พรหมศรปราศรัยตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีทหารส่วนพระองค์และเหตุใดจึงต้องมีผู้แทนพระองค์แทนสำนักงานทรัพย์สิน และต้องการให้สถาบันกษัตริย์สามารถตรวจสอบได้

พิมพ์สิริปราศรัยถึงหน้าที่ของกองทัพไทยและสถาบันกษัตริย์ในการทำรัฐประหารของไทย พร้อมกล่าวถึงข้อคิดเห็นของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าไม่มีการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ย้ำว่ากฎหมายมาตรา 112 มีปัญหาและควรยกเลิก

ณัฎฐธิดาปราศรัยว่า “มึงยัด 112 ให้กู ซึ่งกูไม่เคยรู้เรื่อง 112 จากพวกมึงเลย” และ “เมื่อถามคนบนฟ้าใครสั่งยิงก็ไม่ตอบ”

คำปราศรัยทั้งหมด เป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 7 รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้

ส่วนอินทิราได้ร่วมกับจำเลยคนอื่นๆ ชักชวน ยุยงให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมมั่วสุมดังกล่าวทั้งหมด ที่เข้าข่ายยุยงปลุกปั่นประชาชนให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง และล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 ลงวันที่ 25 พ.ย. 2564 และคดีหมายเลขดำที่ อ.2994/2564 ลงวันที่ 29 พ.ย. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน.บางเขน 8 ผู้ได้รับหมายเรียกจากการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา หรือการชุมนุม “ปลดอาวุธศักดินาไทย” ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 เดินทางมารับทราบข้อหามาตรา 112 และมาตรา 116 ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือวราวุธ สวาย

    มูลเหตุของคดีนี้มาจากการชุมนุม “ปลดอาวุธศักดินาไทย” เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 ที่เดิมประกาศชุมนุมหน้ากรมทหารราบที่ 1 ซึ่งเป็นบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อป้องกันและต่อต้านไม่ให้เกิดการรัฐประหาร และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่ชุมนุมเป็นกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

    ผู้ได้รับหมายเรียกในคดีนี้ ได้แก่ อานนท์ นำภา, “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ, “แหวน” ณัฎฐธิดา มีวังปลา, พรหมศร วีระธรรมจารี, “ทราย” อินทิรา เจริญปุระ โดยทั้งหมดเป็นผู้ปราศรัยในการชุมนุมดังกล่าว ยกเว้นอินทิราที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยใดๆ ทำให้มวลชนจับตานัดรับทราบข้อกล่าวหาครั้งนี้เป็นอย่างมาก

    เวลาประมาณ 10.30 น. ก่อน 8 ผู้ได้รับหมายเรียกเดินทางไปรับทราบข้อหา มีประชาชนราว 200 คนมาให้กำลังใจ พร้อมตั้งขบวนแห่ขันหมากส่งตัวผู้ได้รับหมายเรียกไปที่หน้า สน.บางเขน และมีการปราศรัยรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112

    ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศขอให้ยกเลิกการชุมนุม โดยให้เหตุผลว่าการชุมนุมนี้เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้จัดการชุมนุมไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าภายใน 24 ชั่วโมงก่อนการชุมนุม, การชุมนุมกีดขวางสถานที่ราชการหรือ สน.บางเขน, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ

    ++7 ผู้ปราศรัยถูกแจ้ง 9 ข้อหา รวมมาตรา 112 และมาตรา 116++

    ในห้องสอบสวนมีกล้องวงจรปิดติดตั้งอยู่ที่ทุกมุมของห้อง ทั้งยังมีกล้องขนาดเล็กติดตั้งอยู่บริเวณหน้าผู้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาอีก 4 ตัว รวมเป็น 8 ตัว

    พ.ต.ท.สราวุธ บุตรดี สารวัตร (สอบสวน) สน.บางเขน หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน บรรยายพฤติการณ์ในคดีว่า พริษฐ์​, อานนท์ และเพจแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเพื่อเชิญชวนประชาชนให้มาเข้าร่วมชุมนุมสาธารณะ ที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 ในเวลา 15.00 น. ของวันที่ 29 พ.ย. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ในการปราศรัยเรื่องการปลดอาวุธศักดินาไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

    ในการชุมนุมครั้งนี้ อานนท์, พริษฐ์, ชินวัตร, พรหมศร, พิมพ์สิริ, ณัฏฐธิดา, สมยศ และอินทิรา ได้ตกลงแบ่งหน้าที่กันทํา โดย 7 คนแรกนั้นทำหน้าที่ขึ้นปราศรัย ส่วนอินทิรามีหน้าที่จัดหารถตู้รับส่งประชาชนเพื่อให้ความสะดวกในการมาชุมนุม, เป็นผู้บริหารการทํางานของการ์ด และเป็นผู้ส่งอาหารน้ำดื่มให้กับผู้ชุมนุม

    ทั้ง 8 คนจึงมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ว่าโอนกําลังทหารมาเป็นของพระองค์เอง ทำให้ผู้ชุมนุมต้องมาปลดอาวุธศักดินา ซึ่งถือเป็นการพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวิธีใดๆ อันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่แสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

    ทั้งยังมีการปิดถนนพหลโยธินขาเข้าที่บริเวณหน้าห้างโลตัส สาขาหลักสี่ และปิดถนนพหลโยธินขาออกหน้าปากซอยพหลโยธิน 49/1 ทําให้ประชาชนไม่สะดวกที่จะใช้พื้นที่สาธารณะ และมีการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งยังมีการเทสีน้ำราดไปบนพื้นถนนหน้ากรมทหารราบที่ 11 และมีการฉีดพ่นสีไปที่พื้นถนนพหลโยธิน นอกจากนี้ ยังมีการทําให้รถยนต์ตู้ของเจ้าหน้าที่ตํารวจได้รับความเสียหาย 16 คัน

    ประกอบกับการชุมนุมในครั้งนี้ เป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก มีโอกาสสัมผัสกันได้ง่าย เสี่ยงต่อการติดโรคระบาด มิได้มีการระวังป้องกันตามสมควร ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการแจ้งให้เลิกการชุมนุมแล้ว แต่กลุ่มผู้ต้องหา ไม่ปฏิบัติตามและไม่เลิกการชุมนุม

    ด้าน 7 ผู้ที่มีหน้าที่ปราศรัยได้ขึ้นปราศรัยบนรถที่ติดตั้งเครื่องเสียงขนาดใหญ่ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

    อานนท์ปราศรัยตั้งคำถามถึงการโอนกองกำลังทหารให้ไปอยู่ใต้สถาบันกษัตริย์ และย้ำข้อเรียกร้องขอให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

    พริษฐ์ปราศรัยว่าสถาบันกษัตริย์ไม่มีความจำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว และไม่ควรแทรกแซงอำนาจของประชาชน ทั้งสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนร่วมในการอุ้มหายประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว

    ชินวัตรปราศรัยว่า การวิจารณ์เรื่องการโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ไม่ได้หมายความว่าต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แต่เพราะเป็นห่วงสถาบันกษัตริย์จึงขอให้โอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับมาอยู่ที่ส่วนกลาง

    สมยศปราศรัยถึงประวัติที่มาของกองพลทหารราบที่ 11 ว่าตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 พร้อมตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีทหารเพื่อประชาชน และเรียกร้องถึงการตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้อย่างโปร่งใส

    พรหมศรปราศรัยตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีทหารส่วนพระองค์และเหตุใดจึงต้องมีผู้แทนพระองค์แทนสำนักงานทรัพย์สิน และต้องการให้สถาบันกษัตริย์สามารถตรวจสอบได้

    พิมพ์สิริปราศรัยถึงหน้าที่ของกองทัพไทยและสถาบันในการทำรัฐประหารของไทย พร้อมกล่าวถึงข้อคิดเห็นของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าไม่มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ย้ำว่ากฎหมายมาตรา 112 มีปัญหาและควรยกเลิก

    ณัฎฐธิดาปราศรัยว่า “มึงยัด 112 ให้กู ซึ่งกูไม่เคยรู้เรื่อง 112 จากพวกมึงเลย” ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่าเป็นการกล่าวล่วงเกินต่อการทำงานของรัฐบาลที่ใช้มาตรา 112 แต่ก็มีเจตนาให้ยกเลิกเพื่อจะดำเนินการอื่นใดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้ ซึ่งไม่เหมาะสม

    จากเนื้อหาคำปราศรัยข้างต้น มีบริบทในสาระเนื้อหาที่ทำให้ประชาชนทั่วไปฟังแล้วดูหมิ่น เกลียดชังในสถาบันกษัตริย์ ทำให้เชื่อตามคําปราศรัยของผู้ต้องหา ดังนั้นจึงเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท สถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชกาลที่ 10 และมีเจตนาร่วมกันทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา เพื่อยุยงให้ประชาชน แสดงออกถึงการวิพากษ์วิจารณ์ และดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

    ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์ของณัฏฐธิดาต่างจากคนอื่นว่า การกระทำของณัฏฐธิดาเป็นการร่วมกันหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท สถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชกาลที่ 9

    พนักงานสอบสวนแจ้ง 9 ข้อหาแก่ 7 ผู้ปราศรัย ได้แก่
    1. มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์”
    2. มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา “ร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย”
    3. มาตรา 215 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายหรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง”
    4. มาตรา 216 ประมวลกฎหมายอาญา “เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุมแต่ไม่เลิกการกระทำ”
    5. มาตรา 385 ประมวลกฎหมายอาญา “ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจร”
    6. มาตรา 10 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ “ร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง”
    7. ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ “ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย”
    8. มาตรา 33 พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ “ร่วมกันเท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย โสโครก หรือ สิ่งใดลงบนถนน”
    9. มาตรา พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ “ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต”

    อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า พนักงานสอบสวนได้ยกเนื้อหาของคำปราศรัยมาตัดตอนเป็นส่วนๆ และนำมาเรียงต่อกันเพื่อบรรยายพฤติการณ์คดี แต่กลับไม่ระบุอย่างชัดเจนว่าแต่ละประโยคนั้นเข้าข่ายมาตรา 112 อย่างไร

    ++ทราย เจริญปุระ ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ด้วยเพราะเป็นผู้สนับสนุนการชุมนุม แม้ไม่ได้ขึ้นปราศรัย++

    ในส่วนของอินทิรา พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์ในคดีโดยสรุปว่า อินทิราเป็นผู้มีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับ 7 ผู้ต้องหาในคดีนี้ จากการโพสต์กิจกรรมที่ร่วมสนับสนุนกับกลุ่มมวลชนผ่านทวิตเตอร์ชื่อ ITRC และการสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และรถห้องน้ำให้กับการชุมนุม

    การชุมนุมที่อินทิราสนับสนุนนั้นมีการประกาศข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และมีการปราศรัยโจมตี พาดพิง หมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด เช่น การชุมนุมเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ที่อินทิราก็ได้เข้าร่วมเช่นกัน

    นอกจากนี้ อินทิราเป็นผู้ใช้เฟสบุคชื่อว่า “Inthira Charoenpura” และได้โพสต์ภาพซึ่งมีข้อความการล้อเลียนสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่ “ฉันคง ไม่กลับ ไปรักเธอ” “กล้ามาก เลย นะเธอ” “ก็ตาสว่างกันหมดแล้ว” โดยคําว่า “กล้ามาก” เป็นพระราชดํารัสที่รัชกาลที่ 10 เคยตรัสไว้กับพสกนิกรที่มาเฝ้ารับเสด็จ ซึ่งการนําถ้อยคําดังกล่าวมาพูดซ้ำในเชิงล้อเลียน เสียดสี จึงเป็นการทําให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ

    นอกจากนี้ อินทิรายังใช้เฟซบุ๊กโพสต์ข้อความเชิญชวนให้เข้าร่วมชุมนุมที่ราบ 11 โดยมีข้อความว่า “เพราะทุกคนคือแกนนำ” และใช้ทวิตเตอร์ชื่อว่า “ITRC” โพสต์แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับห้องน้ำและรถตู้ให้บริการประชาชนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดไปที่ราบ 11 และแชร์ข้อความของภาณุพงศ์ จาดนอก ให้ไปชุมนุมที่ราบ 11

    นอกจากนี้ อินทิรายังโพสต์ข้อความอีกว่า “ทีมที่ห่วงที่สุดคือทีมการ์ด ตอนนี้ค่อยยังชั่วว่าจัดระบบเซฟตี้จัดของเติมของ สโตร์ของเสร็จเรียบร้อย น้องๆ มีบัญชีกลางไว้คอยซัพโดยตรงแล้ว เอ้อ ป้าจะได้ถอยมาส่งข้าวส่งน้ำ อุปโภคบริโภคเหมือนเดิม ไม่งั้นเกร็งไปหมด” ซึ่งจากการโพสต์ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีการร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ

    พนักงานสอบสวนระบุว่า อินทิราจึงต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เป็นการชุมนุมที่มาเรียกร้องเพื่อพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง และต้องสามารถเล็งเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ว่า อานนท์กับพวกจะต้องปราศรัยและกล่าวถ้อยคําที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายเหมือนกันทุกเวทีการปราศรัยที่ผ่านมา

    ทั้งอานนท์กับพวกได้ถูกแจ้งความดําเนินคดีในการกระทําความผิดมาตรา 112 และมาตรา 116 มาแล้วหลายคดี ดังนั้นอินทิราย่อมต้องทราบดีถึงพฤติกรรมของอานนท์กับพวก แต่ก็ยังร่วมกันกระทําความผิด

    ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงแจ้ง 3 ข้อหาแก่อินทิรา ได้แก่ มาตรา 112, มาตรา 116, และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10

    ทั้ง 8 คนให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายในวันที่ 25 ม.ค. 2564

    ผู้ได้รับหมายเรียกบางส่วนไม่ประสงค์ลงลายมือชื่อ แต่ได้เขียนข้อความเพื่อแสดงอารยะขัดขืนถึงการดำเนินคดีครั้งนี้ลงในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแทน เช่น ชินวัตรลงลายมือชื่อว่า “ยกเลิก 112” พรหมศรลงว่า “ไม่ยอมรับอำนาจศักดินาและมาตรา 112” อินทิราลงว่า “ศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ” และพิมพ์สิริลงว่า “ไม่เข้าองค์ประกอบ ไปเรียนกฎหมายมาใหม่ค่า (รูปหัวใจ)”

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.บางเขน ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24264)
  • อินทิรา, ชินวัตร, สมยศ, พรหมศร, พิมพ์สิริ และณัฎฐิดา เดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ตามที่พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวให้อัยการ ส่วนอานนท์และพริษฐ์ถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีอื่น

    พร้อมกันนี้ นักกิจกรรมทั้งหกได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้พิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากการฟ้องคดีจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ด้วยเหตุผลว่า พฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาเป็นการร่วมกันมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการใช้พระราชอํานาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีลักษณะเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา วิจารณ์ขอบเขตอํานาจหน้าที่ขององค์กรทางรัฐธรรมนูญอย่างพระมหากษัตริย์โดยสุจริตที่พึงกระทําได้ตามระบอบประชาธิปไตย และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ รวมถึงเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามmujรัฐธรรมนูญรับรอง

    และเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาและการไม่ประโยชน์ต่อสาธารณะในการฟ้องคดีนี้ ขอให้อัยการมีคําสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบสวนสอบปากคําพยานบุคคลเพิ่มเติม ในประเด็นเกี่ยวกับหลัก “พระมหากษัตริย์ไม่อาจกระทําผิด” ตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ และพัฒนาการเกี่ยวกับพระราชอํานาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน รวมถึงในประเด็นเกี่ยวกับพัฒนาการความไม่สอดคล้องต่อระบอบประชาธิปไตยของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

    อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 27 ก.ย. 2564 เวลา 10.00 น.
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดครั้งต่อไปวันที่ 28 ต.ค. 2564
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดครั้งต่อไปวันที่ 25 พ.ย. 2564
  • สมยศ, พิมพ์สิริ, ณัฏฐธิดา และอินทิรา เดินทางไปฟังคำสั่งอัยการตามนัด ขณะที่ชินวัตรและพรหมศร ยังไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่ง เนื่องจากติดภารกิจอื่น ส่วนอานนท์และพริษฐ์ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ

    พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ได้มีคำสั่งฟ้อง และยื่นฟ้องนักกิจกรรมรวม 6 ราย ต่อศาลอาญา ได้แก่ อานนท์, พริษฐ์, สมยศ, พิมพ์สิริ, ณัฏฐธิดา และอินทิรา โดยกรณีอานนท์และพริษฐ์ อัยการยื่นฟ้องโดยไม่มีตัวจำเลย ส่วนชินวัตรและพรหมศร อัยการนัดหมายยื่นฟ้องในวันที่ 29 พ.ย. 2564

    สำหรับจำเลย 6 ราย ยกเว้นอินทิรา ถูกฟ้องในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116, มาตรา 215, มาตรา 216, มาตรา 385, ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 108, มาตรา 114, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 12 และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ขณะที่อินทิรา ถูกฟ้องใน 2 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และไม่แจ้งการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ โดยอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 ที่เธอถูกกล่าวหาในชั้นสอบสวน

    โดยอัยการคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมด ยกเว้นอินทิรา ในชั้นพิจารณา อ้างว่า “เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง มีอัตราโทษสูง และหากปล่อยตัวไป อาจกระทำความผิดซ้ำอีก” ส่วนอินทิรา อัยการไม่ได้คัดค้านการประกันตัว แต่ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล

    หลังศาลรับฟ้องคดี และทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย 4 ราย ที่เดินทางมาวันนี้ พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ประกัน กรณีสมยศให้วางหลักประกัน 200,000 บาท กรณีพิมพ์สิริและณัฎฐธิดา ให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท และกรณีอินทิรา ให้วางหลักประกันจำนวน 35,000 บาท โดยใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์

    ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวทุกคนเช่นเดียวกัน รวมทั้งอินทิรา ที่ไม่ได้ถูกฟ้องตามมาตรา 112 ได้แก่ ห้ามทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาต

    ศาลได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีต่อไปวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.

    กรณีของอานนท์และพริษฐ์ เหตุที่ทนายความยังไม่ได้ยื่นประกันตัวในคดีนี้ เนื่องจากทั้งสองถูกคุมขังและไม่ได้รับการประกันตัวในคดีอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 ลงวันที่ 25 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38375)
  • ชินวัตรและพรหมศรเดินทางไปรายงานตัวกับพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ตามนัด ก่อนอัยการนำตัวไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ในฐานความผิดเช่นเดียวกับอานนท์และคนอื่นๆ อีก 4 ราย โดยอัยการคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกัน

    หลังศาลรับฟ้องคดี และทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติด มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันชินวัตรในวงเงิน 200,000 บาท และพรหมศรในวงเงิน 100,000 บาท ใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังได้กำหนดเงื่อนไขการประกันตัว โดยห้ามกระทำการใดในลักษณะเช่นเดียวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องซ้ำอีก หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล

    กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2994/2564 ลงวันที่ 29 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38375)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และพริษฐ์ ในคดีนี้และทุกคดีของศาลอาญาที่มีหมายขัง รวมถึงยื่นประกันภาณุพงศ์และจตุภัทร์ด้วย

    ต่อมา พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งเหมือนกันในทุกคำร้อง นัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เวลา 10.00 น. โดยให้เบิกจำเลยไต่สวนทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 2564)
  • ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดไต่สวนคําร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 4 แกนนำราษฎร ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก และ “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาในคดีชุมนุมต่างๆ และทนายยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้าวันนัด ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้เบิกตัวทั้ง 4 คน มาไต่สวนที่ศาล

    บรรยากาศในศาลอาญาช่วงเช้ามีการตั้งจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ และมีบัตรชั่วคราวสำหรับบุคคลที่จะเข้าร่วมฟังการไต่สวน ส่วนที่ห้องพิจารณา 704 เจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้เก็บเครื่องมือสื่อสารเหมือนที่ผ่านมา ทั้งยังให้ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าร่วมฟังการไต่สวนครั้งนี้ได้ โดยมีผู้สังเกตการณ์จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมสังเกตการณ์

    เวลา 09.50 น.เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ราว 8 นาย คุมตัวนักกิจกรรมทั้งสี่ในชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาลอ่อน สวมหน้ากากอนามัยเข้าห้องพิจารณา ครอบครัวและประชาชนที่มาให้กำลังใจต่างทยอยเข้าไปสวมกอดและทักทาย ในช่วงเวลาที่การพิจารณาคดียังไม่เริ่ม

    ++“เพนกวิน” แถลงอยู่ในคุกเรียนลำบาก ต้องค้นคว้าทำรายงาน หากไม่ส่งอาจไม่จบ พร้อมยินดีรับเงื่อนไขเดียวกับรุ้ง++

    เวลา 10.45 น. ศาลออกนั่งพิจารณาคดี โดยเริ่มไต่สวนคำร้องขอประกันพริษฐ์เป็นอันดับแรก พริษฐ์เบิกความต่อศาลว่า ปัจจุบันตนอายุ 23 ปี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับทุกคดีที่อยู่ในชั้นศาลนั้น ตนได้ให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี ซึ่งทุกคดียังไม่มีการตัดสิน

    ส่วนเรื่องสุขภาพขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ตนเคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วครั้งหนึ่ง จากนั้นป่วยมาโดยตลอด ทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นหอบหืดและภูมิแพ้ โดยตนถูกคุมขังมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว และปัจจุบันยังไม่ได้รับวัคซีนต้านโควิด-19 แต่อย่างใด

    ด้านคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ตนถูกเพิกถอนประกันโดยไม่มีการไต่สวนในวันที่ 9 ส.ค. 2564 เนื่องจากขณะนั้นตนอยู่ในห้องพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดธัญบุรี ขณะถูกฝากขังในคดี #ม็อบ2สิงหา เรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มทะลุฟ้าที่หน้า บก.ตชด.ภาค 1

    สำหรับเหตุผลที่มีการยื่นขอประกันต่อศาลในครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเป็นนักศึกษาปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ ซึ่งการส่งเอกสารการเรียนต่างๆ ออกมาจากเรือนจำทำได้อย่างยากลำบาก และช่วงนี้อยู่ในช่วงสอบปลายภาค อีกทั้งยังมีรายงานที่ต้องเก็บข้อมูลและทำการค้นคว้า แต่ตนไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ รวมไปถึงต้นปี 2565 ตนต้องลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาใหม่ ซึ่งการอยู่ในเรือนจำจะไม่สามารถจัดตารางเรียน และลงทะเบียนเรียนได้ และหากไม่ลงเรียนก็จะไม่จบตามหลักสูตร

    พริษฐ์แถลงอีกว่า หากศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตนยินดีจะปฎิบัติตามเงื่อนไขเดียวกันกับที่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เคยได้รับการปล่อยตัวเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งย้ำว่า เพื่อให้ศาลมั่นใจว่าตนจะปฎิบัติตามเงื่อนไขของศาล จะขอให้ศาลตั้ง รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ตนเรียนอยู่ด้วย เป็นผู้กำกับดูแล

    ด้านอัยการโจทก์ถามค้านพริษฐ์ว่า จำได้หรือไม่ว่าหลังจากได้รับการปล่อยตัวถูกกล่าวหาอีกกี่คดี ด้านพริษฐ์ตอบว่า ไม่แน่ใจ จำไม่ได้ ก่อนถูกถามต่อว่า ทราบถึงเหตุผลที่ถูกถอนประกันในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร หรือไม่ พริษฐ์ตอบว่า ไม่ทราบเนื่องจากไม่ได้มีการไต่สวน

    ด้านทนายถามติงว่า หากมีการไต่สวนคำร้องที่ขอเพิกถอนประกัน จำเลยจะอธิบายพฤติการณ์ที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุในการถอนประกันว่าอย่างไร พริษฐ์ระบุว่า จะอธิบายต่อศาลว่า สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถเสื่อมเสียเพียงเพราะคำพูดของตนได้ ส่วนคดีที่ถูกฟ้องเข้ามาใหม่นั้น เป็นคดีเก่าที่เกิดขึ้นก่อนการปล่อยตัวชั่วคราว

    จากนั้นศาลได้ถามพริษฐ์ว่า มีคดีละเมิดอำนาจศาลกี่ครั้ง ด้านพริษฐ์ตอบศาลว่า มี 2 ครั้ง คือ ที่ศาลาอาญา รัชดา และศาลจังหวัดธัญบุรี โดยคดีดังกล่าวศาลได้พิพากษาสั่งขัง 10 วันแล้ว

    ต่อมาเวลา 11.10 น. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ เข้าเบิกความว่า ตนรู้จักกับพริษฐ์ เนื่องจากจำเลยเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยปัจจุบันจำเลยลงเรียนวิชาการเมืองเปรียบเทียบที่ตนเป็นผู้สอนด้วย

    จำเลยเป็นเด็กเรียนเก่ง สอบได้คะแนนสูง เกรดเฉลี่ยปัจจุบันยังอยู่ในขอบข่ายที่ได้รับเกียรตินิยม ตอนนี้เป็นช่วงการสอบเก็บคะแนน โดยจำเลยต้องทำงานเก็บคะแนน และต้องทำรายงานด้วย หากศาลให้ประกันยังมีเวลาพอที่พริษฐ์จะไปทำงาน ซึ่งมีกำหนดส่งวันที่ 12 ม.ค. 2565 ได้ และหากศาลตั้งตนเป็นผู้กำกับดูแล ตนก็ยินดี

    ++“อานนท์ นำภา” ชี้ ติดคุกว่าความไม่ได้ ศาลยังคงไม่ได้ประกันตัวคดีอื่น แม้ศาลเคยยกคำร้องขอถอนประกันมาแล้ว++

    เวลา 11.20 น. อานนท์ นำภา เข้าเบิกความว่า ตนจบเนติบัณฑิตรุ่น 62 ประกอบอาชีพทนายความมา 13 ปี ในคดีนี้ตนถูกขังมาตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2564 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างถูกคุมขังครั้งก่อน ตนได้ติดโควิดในเรือนจำเมื่อช่วงกลางปี และปัจจุบันยังมีอาการ Long COVID (อาการที่หลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19) ทำให้เหนื่อยง่าย

    กอปรกับการที่ตนประกอบอาชีพทนาย การทำหน้าที่ว่าความในคดีต่างๆ ทำได้ลำบาก เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ หลายคดีต้องเลื่อนการพิจารณา ทั้งที่เดิมในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ตนเป็นจำเลย ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมามีพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนมายื่นคำร้องขอเพิกถอนประกัน เนื่องจากเห็นว่าผิดเงื่อนไข ที่ตนเข้าร่วมชุมนุมทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ก่อนศาลสั่งให้มีการไต่สวนและยกคำร้องโจทก์ไป โดยวินิจฉัยว่าตนไม่ได้กระทำผิดเงื่อนไข

    เหตุที่ตนไม่ได้ประกัน หลังยื่นขอประกันหลายครั้ง เนื่องจากศาลให้เหตุผลว่าจะไปกระทำความผิดซ้ำ หากแต่ก่อนหน้านั้น ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า การกระทำที่ถูกร้องให้เพิกถอนประกันนั้นไม่ได้เป็นการกระทำผิดเงื่อนไข

    สำหรับคดีที่ถูกฟ้องใหม่ เป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนการไต่สวนถอนประกัน และหลังจากที่ไต่สวนเสร็จแล้ว ตนถูกเพิ่มเงื่อนไขอีก 2 ข้อ คือ ห้ามออกจากเคหสถาน 24 ชั่วโมง และให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) แต่ยังไม่ได้ปฎิบัติตาม เนื่องจากถูกขังตามหมายขังคดีอื่นๆ

    ก่อนศาลถามว่า เคยถูกไต่สวนในคดีละเมิดอำนาจศาลไหม อานนท์ตอบไม่เคย

    ++อนุญาตอัยการยื่นคำคัดค้าน ก่อนนัดฟังคำสั่ง 24 ธ.ค.++

    เวลา 14.45 น. ภายหลังศาลไต่สวนจำเลยทั้ง 4 คนพร้อมทั้งพยานแล้ว ได้กล่าวกับจำเลยว่า จะต้องนำข้อเท็จจริงจากการไต่สวนไปพิจารณาในที่ประชุมของศาล เนื่องจากไม่อยากให้การสั่งปล่อยหรือไม่ปล่อยเป็นการสั่งโดยผู้พิพากษาคนเดียว พร้อมทั้งย้ำว่า อย่าเข้าใจว่าการให้โอกาสไต่สวนในครั้งนี้จะเป็นเหตุให้ปล่อยตัวได้ทันที การอ้างว่าจะต้องกลับไปเรียนหรือกลับไปทำงานไม่ใช่เหตุที่จะนำไปสู่การปล่อยตัว ไม่เช่นนั้นทุกคนที่ถูกขังอยู่ก็คงอ้างได้

    นอกจากนี้ศาลยังกล่าวด้วยว่า ไม่ใช่ว่าจำเลยแถลงยอมรับเงื่อนไขแล้วศาลจะต้องปล่อยตัวเท่านั้น การเสนอเงื่อนไขไม่ใช่เหตุปล่อยตัวอย่างเดียว ศาลจะต้องพิจารณาที่การกระทำ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าควรให้ปล่อย จึงจะอนุญาตปล่อยชั่วคราว ไม่ว่าจะสั่งอย่างไร สังคมก็จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อคำสั่งนั้น ศาลจึงต้องให้โอกาสในการเรียกมาไต่สวน

    จากนั้นศาลได้ถามพนักงานอัยการฝ่ายโจทก์ว่า จะคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ก่อนกล่าวว่าอันที่จริงอัยการได้แถลงคัดค้านไว้แล้วก่อนจะมีการไต่สวน อัยการแถลงว่า จะต้องคัดค้านเนื่องจากคดีทั้งหมดเป็นคดีที่มีโทษสูง หากปล่อยตัวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี

    ต่อมา คณะพนักงานอัยการราว 15 คน ได้ปรึกษากันอีกครั้ง ก่อนจะแถลงว่าไม่สามารถแถลงคัดค้านภายในวันนี้ได้ เนื่องจากจำเลยแต่ละคนมีหลายคดี จึงขอทำคำแถลงเป็นเอกสารมายื่นภายในสัปดาห์หน้าซึ่งอาจจะเป็นวันพุธที่ 22 ธ.ค. 2564

    อานนท์ได้ขอแถลงต่อศาลว่า ตนรู้สึกว่าขั้นตอนการไต่สวนค่อนข้างแปลก เนื่องจากเปิดให้มีการไต่สวนแล้ว ยังจะเปิดให้มีการแถลงคัดค้านหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนอีก ซึ่งตนกังวลว่าหากอัยการทำคำแถลงมาแล้วปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใหม่ ฝ่ายจำเลยก็จะไม่ได้โต้แย้ง จะเป็นเสมือนการตอกฝาโลงตนหรือไม่ จึงขอท้วงติงไว้

    ศาลกล่าวตอบอานนท์ว่า จำเลยอย่าบังคับศาลมากเกินไป ศาลได้ย่นย่อการพิจารณาให้สั้นลงโดยไม่ได้เรียกพนักงานสอบสวนแต่ละคดีมาไต่สวน หรืออานนท์อยากจะให้มีการสืบพยานอีกซัก 2-3 นัด ซึ่งมันก็อาจจะช้าออกไปอีก อานนท์จึงกล่าวว่า การพูดอย่างนี้ก็เหมือนเอาคนที่ถูกคุมขังอยู่เป็นตัวประกัน เพราะเวลาของคนข้างนอกกับคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำไม่ได้เท่ากัน

    หลังศาลและจำเลยโต้เถียงเหตุผลกันอยู่ราวครึ่งชั่วโมง ศาลจึงกล่าวสรุปว่า เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ต้องให้โอกาสทั้งสองฝ่ายเต็มที่ โดยโจทก์ได้ยืนยันว่าจะไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ การทำหนังสือคัดค้านเป็นเพียงการคัดค้านตามปกติ ส่วนฝ่ายจำเลยก็สามารถทำคำแถลงคล้ายกับการทำคำแถลงปิดคดีได้เช่นกันหากประสงค์จะทำ

    ให้พนักงานอัยการยื่นคำคัดค้านคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหนังสือภายในวันที่ 23 ธ.ค. 2564 และนัดฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ในเวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/38980)
  • เวลา 13.30 น. ศาลได้เบิกตัวอานนท์, พริษฐ์ และภาณุพงศ์ รวมทั้งจตุภัทร์ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนคดีไม่ได้เดินทางมาฟังคำสั่งด้วยแต่อย่างใด

    เวลา 14.10 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา อ่านคำสั่งไม่ให้ประกันทั้งหมด กรณีของ “เพนกวิน” ระบุเหตุผลว่า

    “พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่าข้อเท็จจริงในการไต่สวนได้ความว่า หลังจากพริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ จำเลยได้กระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยศาลเคยตักเตือนจำเลยและกำชับจำเลยผ่านผู้กำกับดูแลมาแล้วหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลย อีกทั้งจำเลยมีพฤติการณ์กระทำการซ้ำในทำนองเดียวกันกับการกระทำอันเป็นมูลเหตุที่ถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องหลายคดี

    เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะและพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออกหรือร่วมทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอย่างมาก มีความรุนแรงตลอดมา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตปล่อยชั่วคราว จำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้อง หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”

    ด้านคำสั่งไม่ให้ประกันอานนท์ระบุเหตุผลว่า

    “พิเคราะห์แล้ว ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาเห็นว่า เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ของจำเลยในการแสดงออก ปราศรัย หรือชักนำในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ประกอบกับจำเลยถูกกล่าวหาในลักษณะเช่นนี้ที่ศาลนี้และศาลอื่นหลายคดี

    กรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไปกระทำการในทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องร้องหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ในชั้นนี้จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงในทางคดีที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ศาลสั่งไว้โดยชอบแล้ว ยกคำร้อง”

    ศาลยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่ประชุมผู้บริหารศาลอยากให้ประกันมากนะ แต่เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปล่อยตัวออกมาแล้วก็จึงมีคำสั่งแบบนี้ ขนาดนี้วันนี้ยังมีเลย” และกล่าวต่ออีกว่า “ในชั้นนี้มีคำสั่งไม่ให้ประกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า ครั้งหน้าจะไม่ให้ประกันนะ”

    ++เสียงจากแม่ถึงลูก ในวันที่คงไม่ได้กลับบ้านในเทศกาลปีใหม่เช่นทุกปี++

    หลังผู้พิพากษาเดินออกจากห้องพิจารณาคดีไป แม่ของภาณุพงศ์ จตุภัทร์ และอานนท์ ทยอยเดินไปที่ด้านหน้าของห้องพิจารณาเพื่อสับเปลี่ยนกันพูดคุยกับลูกของตัวเองผ่านจอวิดีโอ

    แม่ของไผ่ จตุภัทร์ เดินเข้าไปพูดกับไผ่เป็นคนแรก “อดทน อดทนนะลูก อดทนๆๆๆ …” เธอพูดประโยคนี้ซ้ำๆ พลางกลั้นน้ำตาอย่างสุดความสามารถไปพร้อมกัน แต่ท้ายที่สุดเธอก็หลั่งน้ำตาแห่งความผิดหวังออกมาจนได้

    “ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว ไผ่เรียนกฎหมาย ไผ่คงรู้ดี ต้องอดทนนะลูก” เธอพูดไปเอามือปาดน้ำตาที่อาบแก้มไป ก่อนจะลุกขึ้นให้แม่ของไมค์ ภาณุพงศ์ได้เข้าไปพูดต่อ

    “อีก 2 วันเจอกันนะลูก เดี๋ยวแม่มาหา” แม่ของไมค์พูดอย่างใจเย็นและเบิกยิ้มกว้าง

    “แม่ ผมฝากสั่งซื้อพิซซ่ากับเค้กเข้ามาให้พวกผมกินหน่อยนะ จะได้เอามาฉลองปีใหม่ด้วยกันข้างในนี้กับเพื่อนๆ” ไมค์บอกแม่ เพราะในเทศกาลปีใหม่นี้ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้จัดรายการเมนูอาหารพิเศษเพื่อให้ญาติได้สั่งให้ผู้ต้องขังในเรือนจำได้ อาทิ กุ้งเผาครึ่งกิโล เป็ดพะโล้ทั้งตัว สเต๊กหมู รวมถึงเมนูพิเศษที่ไมค์ร้องขออย่างพิซซ่าและเค้กช็อกโกแลต ราคาอย่างละ 300 บาทอีกด้วย

    “มันติดวันเสาร์-อาทิตย์นะลูก จะฝากเข้าไปให้ได้เหรอ” อานนท์สวนทันควันว่า “เอากับข้าวอะไรก็ได้ที่อร่อยๆ ครับแม่” “ได้เลย เดี๋ยวแม่จัดการให้ จะหาของอร่อยๆ ให้นะ” แม่ไมค์บอกกับทุกคน

    “เมอร์รี่คริตมาสต์นะทุกคน…” แม่ไมค์พูดทิ้งท้ายก่อนลุกเปลี่ยนให้แม่ของอานนท์มานั่งพูดต่อ

    แม่ของอานนท์พูดเป็นภาษาอีสานใจความว่า “คิดถึงลูกนะ ขอให้เข้มแข็ง”

    ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มทะลุฟ้า ได้จัดกิจกรรมจับตาผลการให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย โดยได้นัดหมายมวลชนไปรวมตัวกันบริเวณหน้าศาลอาญาเพื่อรอรับเพื่อนกลับบ้านตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป และจัดกิจกรรม “เดิน หยุด ขัง” โดยนัดหมายประชาชนให้เริ่มต้นเดินตั้งแต่ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยนมอล์ในเวลา 11.00 น. เพื่อเดินไปจนถึงศาลอาญา รัชดาฯ

    ภายหลังมวลชนเดินทางมาถึงหน้าศาลอาญาในเวลาประมาณ 13.30 น. และต่อมาทราบว่าศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 4 ราย กลุ่มมวลชนได้จัดกิจกรรมพูดปราศรัยเกี่ยวกับการไม่ทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรงของศาลและสถาบันตุลาการ รวมไปถึงมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น เผาชุดครุยผู้พิพากษา เผาหนังสือประมวลกฎหมายอาญา และขีดเขียนพ่นสีสเปรย์ที่ป้ายของศาลอาญา เพื่อแสดงความไว้อาลัยแก่กระบวนการยุติธรรมไทย

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39156)
  • สมยศ, พิมพ์สิริ, ณัฏฐธิดา, อินทิรา, ชินวัตร และพรหมศร ต่างทยอยเดินทางมาศาลตั้งแต่ช่วงเวลา 09.00 น. โดยมีพรหมศรเดินทางมาเป็นคนสุดท้ายด้วยชุดผ้าฝ้ายสีแดงสด สร้างความสดใสให้กับห้องพิจารณา พรหมศรบอกความหมายของสีแดงบนชุดของเธอในวันนี้ว่าหมายถึง “ชาติที่สื่อความถึงประชาชน”

    ส่วนอานนท์และพริษฐ์ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวถูกเบิกตัวมาศาล และเดินเข้าห้องพิจารณาพร้อมกับผู้คุมอีก 4 นาย โดยในวันนี้มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์คดี ทั้งจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ องค์กรสิทธิมนุษยชน ครอบครัว และเพื่อนนักกิจกรรมอีกจำนวนหนึ่งที่ได้เข้าไปพูดคุยและให้กำลังใจอานนท์และพริษฐ์

    ต่อมาเวลา 10.00 น. ผู้พิพากษา 3 คนเข้ามาในห้องพิจารณา ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน เนื่องจากทนายความของจำเลย 1 คน ติดว่าความที่ศาลอื่น และจำเลยอีก 2 คน ยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความที่ได้ติดต่อไว้แล้ว

    พนักงานอัยการโจทก์ไม่ค้านการเลื่อนนัดคดีออกไปก่อน และขอยื่นพยานเอกสารของโจทก์ 37 ลำดับ และแผ่น CD 1 แผ่น ให้ศาลและจำเลยตรวจดู พร้อมแถลงขอรวมการพิจารณาคดีในส่วนของชินวัตรและพรหมศรที่ถูกแยกฟ้องคนละเลขคดีกัน มารวมการพิจารณากับคดีของอีก 6 คน เพราะเป็นเหตุการณ์และมีพยานหลักฐานชุดเดียวกัน

    ศาลจึงมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ถือคดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 เป็นหลัก และให้เรียกจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ในคดีหมายเลขดําที่ อ.2994/2564 เป็นจําเลยที่ 7 และจําเลยที่ 8 ตามลําดับ และให้เลื่อนไปนัดสอบให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกําหนดวันนัดสืบพยานในวันที่ 9 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 และ อ.2994/2564 ลงวันที่ 7 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40290)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘เพนกวิน’ พริษฐ์ และอานนท์ ในคดีการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองที่มีหมายขังทั้งหมดของศาลอาญา ในส่วนของอานนท์รวมแล้ว 9 คดี ของเพนกวิน มีการยื่นประกัน 8 คดี รวมทั้งคดีนี้ซึ่งทั้งสองคนเป็นจำเลยและยังไม่ได้รับการประกันตัวด้วย

    สำหรับคดีของศาลอาญา เพนกวินและอานนท์เคยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง และศาลเคยให้มีการไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมผู้บริหารศาลอาญาก็ยังยืนกรานไม่ให้ประกัน ‘เพนกวิน-อานนท์-ไมค์-ไผ่’ ในครั้งนั้น อ้างเหตุว่า “เกรงว่าจะกระทำผิดซ้ำ”

    การยื่นประกันในครั้งล่าสุดนี้ ทั้งสองได้ระบุในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในทุกคดีของทุกศาลเช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาว่า จะไม่กระทําการใดๆ ให้สถาบันกษัตริย์เกิดความเสื่อมเสีย ไม่ทํากิจกรรมใดที่จะทําให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่เดินทางออกนอกประเทศ และพร้อมที่จะเดินทางมาศาลตามที่มีการนัดหมายทุกครั้ง รวมถึงยินยอมติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ทั้งยังมีคำร้องเพิ่มเติมเข้ามาว่า

    1. นับจนถึงวันนี้จําเลยถูกคุมขังไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีเกินกว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งในคดีนี้พยานโจทก์และพยานจําเลยมีจํานวนมาก ยังไม่อาจกําหนดได้ว่าจะสามารถพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นเมื่อใด และยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ในการสืบพยานโจทก์ที่ผ่านมาให้เห็นถึงความผิดของจําเลย
    2. ในคดีหมายเลขดําที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา (คดี 19 กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร) ซึ่งมีจําเลยคนอื่น ๆ ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดร่วมกันกับจําเลยทั้งสองนี้ ศาลก็ได้มีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยในคดีนี้จํานวนหลายคน เช่น ปนัสยา หรือรุ้ง สิทธิจิรวัฒนกุล, จตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน บุญภัทรรักษา, ภาณุพงศ์ หรือไมค์ จาดนอก โดยศาลได้กําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้จําเลยปฏิบัติตาม ก็ปรากฏว่าจําเลยเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลได้เคร่งครัดทุกประการ และไม่ได้ผิดเงื่อนไขของศาลเลย ซึ่งจําเลยทั้งสองก็ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนดังเช่นจําเลยคนอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก่อนหน้านี้

    เวลา 16.30 น. พลีส เทอดไทย ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดของศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์และเพนกวินในทุกคดี ระบุในคำสั่งว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีโดยรวมแล้ว กรณีเห็นควรให้โอกาสจําเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาลสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณามีกําหนดเวลา 3 เดือน (ครบกําหนดวันที่ 22 พ.ค. 2565) กําหนดเงื่อนไข

    1. ห้ามทํากิจกรรมหรือกระทําการใด ๆ อันจะทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลในทุกด้าน รวมทั้งห้ามกระทําการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
    2. ห้ามเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM
    4. ห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 21.00 – 06.00 น. เว้นแต่มีเหตุจําเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปศึกษาเล่าเรียน ไปสถานีตํารวจ สํานักงานอัยการ หรือศาล หรือได้รับอนุญาตจากศาล
    5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
    หากจําเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมคําสั่งเดิมตามพฤติการณ์ของจําเลยที่เปลี่ยนไป ตามความเหมาะสมและความร้ายแรงของพฤติการณ์ต่อไป นอกจากนี้ กรณีครบกําหนดการปล่อยชั่วคราวโดยมีกําหนดระยะเวลาแล้ว หากจําเลยไม่มีพฤติการณ์ที่ผิดเงื่อนไข ศาลจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งเดิมต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อานนท์และเพนกวินซึ่งถูกขังมาแล้ว 196 และ 198 วัน ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในวันนี้ เนื่องจากยังมีหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศาลแขวงพระนครใต้ ซึ่งจะยื่นประกันต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.2948/2564 ลงวันที่ 22 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40716)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมยศ พฤกษาเกษมสุข

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พิมพ์สิริ เพ็ชรน้ำรอบ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฏฐธิดา มีวังปลา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อินทิรา เจริญปุระ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมยศ พฤกษาเกษมสุข

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พิมพ์สิริ เพ็ชรน้ำรอบ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฏฐธิดา มีวังปลา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อินทิรา เจริญปุระ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์