ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- Line
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย (มาตรา 360)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
ดำ อ.1463/2565
แดง อ.2669/2566
ผู้กล่าวหา
- ไม่ทราบชื่อ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- Line
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย (มาตรา 360)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1463/2565
แดง อ.2669/2566
ผู้กล่าวหา
- 1
ความสำคัญของคดี
สมพล (นามสมมติ) พนักงานบริษัทวัย 28 ปี ถูก สภ.คลองหลวง ดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ทำให้ทรัพย์สาธารณะเสียหาย, ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ โดยถูกกล่าวหาว่า พ่นสีสเปรย์เป็นข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์บนป้ายบอกทางหน้าสนามกอล์ฟเอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2565 สมพลยังถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อีก 5 คดี ในท้องที่ต่างๆ จากการปาสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2565
กรณีของสมพลเป็นอีกกรณีที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความขยายขอบเขตเกินกว่าตัวบทของกฎหมาย ครอบคลุมถึงการกระทำต่อรูปภาพ ไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
กรณีของสมพลเป็นอีกกรณีที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความขยายขอบเขตเกินกว่าตัวบทของกฎหมาย ครอบคลุมถึงการกระทำต่อรูปภาพ ไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ชัยวัฒน์ ด้วงสง พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า
1. ประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์มาแต่สร้าง เริ่มตั้งแต่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ใดจะล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพระมหากษัตริย์ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 และมาตรา 50
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายอาญา ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยแจ้งชัดว่า องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รวมถึงสถาบันกษัตริย์ ทรงเป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยมาแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
ระหว่างวันที่ 28-30 ม.ค. 2565 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความลงบนแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่ติดตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินขาออก บริเวณหน้าสนามกอล์ฟ เอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ของแขวงการทางหลวงปทุมธานี กรมทางหลวง ผู้เสียหาย
การกระทำของจําเลยดังกล่าวนั้น ย่อมทําให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในทางเพศ เป็นผู้มีความมักมากในกามารมณ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยประการที่จะทําให้รัชกาลที่ 10 ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทําให้แผ่นป้ายบอกเส้นทาง 2 แผ่นดังกล่าว เสียหายใช้การไม่ได้ คิดเป็นค่าเสียหายจํานวน 30,000 บาท
2. ภายหลังจากเกิดเหตุตามฟ้อง ข้อ 1 แล้ว จําเลยได้ส่งภาพถ่ายแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่จําเลยได้ใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความแล้ว ไปยังกลุ่มไลน์ อันเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1463/2565 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2565)
1. ประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์มาแต่สร้าง เริ่มตั้งแต่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผู้ใดจะล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพระมหากษัตริย์ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 และมาตรา 50
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายอาญา ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยแจ้งชัดว่า องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รวมถึงสถาบันกษัตริย์ ทรงเป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยมาแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน
ระหว่างวันที่ 28-30 ม.ค. 2565 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จําเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความลงบนแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่ติดตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินขาออก บริเวณหน้าสนามกอล์ฟ เอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ของแขวงการทางหลวงปทุมธานี กรมทางหลวง ผู้เสียหาย
การกระทำของจําเลยดังกล่าวนั้น ย่อมทําให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในทางเพศ เป็นผู้มีความมักมากในกามารมณ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยประการที่จะทําให้รัชกาลที่ 10 ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทําให้แผ่นป้ายบอกเส้นทาง 2 แผ่นดังกล่าว เสียหายใช้การไม่ได้ คิดเป็นค่าเสียหายจํานวน 30,000 บาท
2. ภายหลังจากเกิดเหตุตามฟ้อง ข้อ 1 แล้ว จําเลยได้ส่งภาพถ่ายแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่จําเลยได้ใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความแล้ว ไปยังกลุ่มไลน์ อันเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1463/2565 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 22-02-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหาและฝากขังหลังเมื่อค่ำวันที่ 21 ก.พ. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ เข้าจับกุมสมพล (นามสมมติ) ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี ขณะเขาได้รับการประกันตัวใน 3 คดีที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ จากนั้นนำตัวไปคุมขังอยู่ที่ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ โดยแจ้งกับทนายความว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำในช่วงบ่ายวันนี้ แต่ในเวลาประมาณ 11.00 น. พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาสมพลในอีกคดีหนึ่ง โดยนำทนายความขอแรงที่ประจำที่สถานีตำรวจเข้าร่วมการสอบสวนด้วย ไม่รอทนายความที่ผู้ต้องหาไว้วางใจ
พ.ต.ท.พิศิษฐ บุญมีสุข สารวัตร (สอบสวน) สภ.คลองหลวง แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนของกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 1 และ สภ.คลองหลวง ได้ตรวจสอบพบภาพในทวิตเตอร์เป็นภาพถ่ายและข้อความแสดงออกทางการเมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สภ.คลองหลวง จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบการพ่นสีสเปรย์สีน้ำเงินที่มีข้อความเกี่ยวกับกษัตริย์ ทับป้ายบอกทาง 2 จุด ได้แก่ บริเวณหน้าสนามกอล์ฟเอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นทรัพย์สินใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เชื่อว่าผู้กระทำมีเจตนาดูหมิ่นพระเกียรติและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเจตนาทำให้ทรัพย์สินทางราชการได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่จึงได้ออกสืบสวนหาผู้กระทำผิด พร้อมกับร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี
ต่อมา หลังการจับกุมสมพลได้และควบคุมตัวไปที่ สภ.ปากเกร็ด ได้ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือที่ยึดจากสมพล ปรากฏภาพถ่ายในไลน์ของสมพลที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับภาพป้ายบอกทางที่ถูกพ่นสีดังกล่าวถูกส่งไปให้ผู้อื่นในวันที่ 28 ม.ค. 2565 เวลา 02.41 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเชื่อว่าสมพลเป็นผู้กระทำผิดในคดีนี้
พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาสมพล 4 ข้อหา คือ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, ทําให้เสียทรัพย์ซึ่งใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์, นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และกระทําด้วยประการใด ๆ ให้ป้ายหรือสิ่งอื่นใดที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดทําไว้เพื่อสาธารณชน เกิดความเสียหายหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 360, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 35
สมพลให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน จากนั้น พนักงานสอบสวนได้นำตัวสมพลไปยื่นขอฝากขังต่อศาลจังหวัดธัญบุรี พร้อมกับคดีของ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ แม้ในคดีนี้ตำรวจจะไม่ได้มีหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 จึงได้สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังด้วย
ต่อมา ศาลอนุญาตให้ฝากขัง แต่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคดี โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันตัวคดีละ 150,000 บาท โดยใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 22 ก.พ. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/40654) -
วันที่: 12-05-2022นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี ยื่นฟ้องสมพลในฐานความผิด หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ทําให้ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เสียหาย, นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และกระทําด้วยประการใด ๆ ให้ป้ายหรือสิ่งอื่นใดที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดทําไว้เพื่อสาธารณชน เกิดความเสียหายหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้ โดยกล่าวหาว่า ระหว่างวันที่ 28-30 ม.ค. 2565 สมพลได้ใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความลงบนแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่ติดตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินขาออก บริเวณหน้าสนามกอล์ฟ เอไอที และหน้าศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ของแขวงการทางหลวงปทุมธานี กรมทางหลวง ผู้เสียหาย
การกระทำของจําเลยทําให้ประชาชนทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในทางเพศ เป็นผู้มีความมักมากในกามารมณ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยประการที่จะทําให้รัชกาลที่ 10 ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติยศ และทําให้แผ่นป้ายบอกเส้นทาง 2 แผ่นดังกล่าว เสียหายใช้การไม่ได้ คิดเป็นค่าเสียหายจํานวน 30,000 บาท
นอกจากนี้ จําเลยได้ส่งภาพถ่ายแผ่นป้ายบอกเส้นทางที่จําเลยได้ใช้สีสเปรย์ฉีดพ่นข้อความแล้ว ไปยังกลุ่มไลน์ อันเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
ท้ายฟ้องอัยการคัดค้านการให้ประกันระหว่างพิจารณาคดี อ้างว่าเป็นคดีที่มีโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี พร้อมทั้งขอให้นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในอีกคดีของศาลนี้ด้วย
ทั้งนี้ อัยการยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดธัญบุรีพร้อมกับคดีปาสีใส่ป้ายพระบรมฉายาลักษณ์บริเวณจุดกลับรถหน้าห้างสรรพสินค้าโลตัส รังสิต
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.1463/2565 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2565) -
วันที่: 29-08-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานโจทก์แถลงสืบพยานบุคคลใช้เวลา 2 นัดครึ่ง ทนายจำเลยแถลงสืบพยานจำเลยใช้เวลาครึ่งนัด นัดสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยในวันที่ 7-9 มิ.ย. 2566
-
วันที่: 07-06-2023นัด: สืบพยานโจทก์ก่อนเริ่มการสืบพยาน สมพลแถลงขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และขอให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 ส.ค. 2566
-
วันที่: 15-08-2023นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 9.00 น. ศาลจังหวัดธัญบุรีอ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปว่า พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง
ความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์, ทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ และความผิดตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ซึ่งมีโทษหนักสุด จำคุก 4 ปี และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง จำคุก 2 ปี ปรับ 80,000 บาท รวมจำคุก 6 ปี ปรับ 80,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี ปรับ 40,000 บาท
พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยและคำแถลงประกอบคำรับสารภาพแล้วเห็นว่า ระหว่างพิจารณาเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 จำเลยเดินทางไปกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานอภัยโทษที่พระบรมมหาราชวัง โดยทำเป็นหนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยจำเลยได้ผ่านการคัดกรองประวัติอาชญากรรมโดย สน.พระราชวัง ได้รับการรับรองโดยประทับตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติยื่นผ่านทหารราชองค์รักษ์เวรที่ทำหน้าที่รับเรื่องฎีกาตามขั้นตอน กรณีถือว่าจำเลยสำนึกในการกระทำแล้ว
ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 4 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ 4 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 12 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นระยะเวลา 30 ชั่วโมง
ห้ามจำเลยกระทำการอันใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกับการกระทำที่ถูกฟ้อง ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจากคดีอื่น ๆ เนื่องจากคดีนี้ให้รอการลงโทษ จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ คำขอส่วนนี้จึงให้ยก
.
สำหรับโทษปรับ 40,000 บาท ทนายความได้ยื่นคำร้องขอบริการสาธารณะแทนค่าปรับ แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยให้เหตุผลว่าการที่จะขอบริการสาธารณะนั้นจะต้องไม่มีเงินมาชำระค่าปรับแล้ว แต่ศาลเห็นว่าเงินประกันขอคืนได้แล้วก็ยังคงมีเงินที่จะชำระค่าปรับได้ จึงยกคำร้อง แต่ให้ผ่อนผันการชำระหนี้ไปได้ โดยชำระก่อนในวันนี้เป็นเงิน 10,000 บาท และชำระเป็นงวด งวดละ 10,000 บาท จำนวน 3 งวด ในวันที่ 22, 29 ส.ค. และ 5 ก.ย. 2566
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/58339)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมพล (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สมพล (นามสมมติ)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- วินัย หนูโท
- ปิยบดี ชีวิตโสภณ
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
15-08-2023
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์