ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- ต่อสู้/ ขัดขวางการปฎิบัติของเจ้าพนักงาน (มาตรา 138)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
ดำ อ.1237/2565
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผกก.สน.นางเลิ้ง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ต่อสู้/ ขัดขวางการปฎิบัติของเจ้าพนักงาน (มาตรา 138)
- ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1237/2565
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผกก.สน.นางเลิ้ง
ความสำคัญของคดี
“ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักศึกษาและนักกิจกรรมวัย 20 ปี จากกลุ่มมังกรปฏิวัติ ถูกจับกุมขณะไปยืนไลฟ์สดหน้า UN ก่อนเวลาที่ขบวนเสด็จจะผ่านถนนราชดำเนินนอก ควบคุมตัวไป สน.พญาไท และ บช.ปส. โดยไม่ให้ทนายความเข้าพบเกือบ 2 ชั่วโมง ก่อนแจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112, ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย อ้างว่าตำรวจให้หยุดไลฟ์สด แต่ทานตะวันไม่หยุด ทั้งยังกล่าวบรรยายในไลฟ์สดมีเนื้อหา “ด้อยค่า” กษัตริย์ แม้ศาลจะให้ประกันในชั้นฝากขัง แต่กำหนดให้ติด EM พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาอีก
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ร.ต.อ.ทองสุข พิธรรม พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 สูงสุด บรรยายคำฟ้องใจความว่า
1. ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 จำเลยได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ “มารับขบวนเสด็จ” โดยเนื้อหาที่ถ่ายทอดสดดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งมีจํานวนยอดไลน์ 503 แสดงความคิดเห็น 848 รายการ และแชร์ 435 ครั้ง โดยจำเลยได้กล่าวข้อความว่า
“เส้นทางอะไรเอ่ยคะ หนูดูม้าได้ไหม หนูซมม้าได้ไหม หนูเดินชมใกล้ๆได้ไหม ทําอะไรคะ ทําอะไรเอ่ย อยู่คนเดียวค่ะ ตอนนี้อยู่คนเดียว อยู่คนเดียวหน้ายูเอ็น มีม้าด้วย อันนี้ใครเสด็จคะ มีม้าด้วย โหวๆ มีม้าต้อนรับค่ะ ค่ะ...”
“...สีหน้าคนที่มารับเสด็จ ขบวนเสด็จที่ทําให้ม็อบชาวนาต้องเคลื่อนย้ายนะคะ ม็อบชาวนาจะต้องถูกย้ายนะคะ ก็ให้มันรู้เอาไว้ ให้มันรู้เอาไว้ ว่าม็อบชาวนาจะต้องถูกย้าย เพียงเพราะมีคนเสด็จนะคะ นะคะ นี่นะคะ คนจะต้องเสด็จ คนเดียว คนคนเดียวเสด็จ”
“หนูอธิบายไปแล้วค่ะ หนึ่งคือหนูสงสัยว่า แค่ขบวนเสด็จผ่านเนี่ยนะ ม็อบชาวนาต้องโดนไล่ และสองคือทําไม ถึงใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้...”
“หนูถามกลับไปก็คือ ทําไมขบวนเสด็จจึงใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้ ทําไมพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ใด ทําไมใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้”
“…เพียงแค่คนคนเดียวเสด็จต้องย้ายม็อบชาวนาที่เขามาเรียกร้อง เขาต้องการให้คนลงมาฟังปัญหาของเขา มาแก้ปัญหาของเขา แต่ไม่มีใครคิดได้สักคนว่า ต้องไปฟังปัญหาเขา แก้ปัญหาเขา แล้วก็ไปไล่เขาออก มันทำไมนักหรอคะ กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่คิดสิคิด หนูมาคนเดียว เมื่อกี้มากันกี่คน เป็น 50 คน 60 คน เลยมั้ง นั่นหน่ะ อารักขาความปลอดภัยอะไร ไปรักษาประชาชนนู่น ม็อบชาวบ้านเขาต้องย้าย เขามานานเท่าไหร่แล้ว เขามาร้อนๆ เนี่ย พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไง ให้ประเทศชาติมันเจริญ ไปไล่เขาออก ไปลากเขาออก คิดดิ คิดไม่ได้แล้วจะมาเป็นตำรวจทำไม ต้องเรียน เรียนมารับใช้ประชาชนไม่ใช่หรา หรือรับใช้องค์ราชัน แค่นี้ยังคิดไม่ได้เลย..”
“…ก็จำเอาไว้ว่าม็อบชาวนาต้องย้ายแทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แต่กลับไล่เขาออก เพียงเพราะมีคนคนเดียวเสด็จ ก็จำเอาไว้ละกัน ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อ่ะ ใครมันสำคัญกว่ากัน”
“…กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่ คิดสิคิด…”
“…พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไงให้ประเทศชาติมันเจริญ…”
คำกล่าวของจำเลยที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊กและเปิดเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้นั้น มีเจตนาให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อรัชกาลที่ 10 ว่า เหตุที่ม็อบชาวนาต้องย้ายเป็นเพราะพระมหากษัตริย์เสด็จผ่าน และพระมหากษัตริย์ไม่รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน อันเป็นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ และเป็นการกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบเปรียบเปรย หรือเสียดสีให้เป็นที่ระคายต่อเบื้องพระยุคลบาทของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
2. วันเกิดเหตุ ขณะที่ พ.ต.อ.เอกสมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผู้กำกับการ สน.นางเลิ้ง กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเส้นทางเสด็จประจําจุดแยกมัฆวาน ได้พบเห็นจําเลยกำลังไลฟ์สด บริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งเป็นบริเวณใกล้กับเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินของรัชกาลที่ 10 จึงสั่งให้จำเลยหยุดการกระทำดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัยฯ แต่จำเลยไม่ได้ปฎิบัติตาม โดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันสมควร ถือเป็นการขัดขืนไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานขณะปฎิบัติหน้าที่
3. หลังเกิดเหตุ จำเลยได้ต่อสู้ขัดขวาง ส.ต.ต.หญิง ภาวินีย์ เดชพิพัฒนวงศ์ ซึ่งเป็นพนักงานควบคุมฝูงชน (หญิง) สน.นางเลิ้ง ที่ได้เข้าควบคุมตัวจำเลยออกจากที่เกิดเหตุ โดยจำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้เท้าถีบที่บริเวณท้อง และใช้ข้อศอกกดบริเวณหน้าท้องและชายโครงของ ส.ต.ต.หญิง ภาวินีย์ จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2565)
1. ขณะเกิดเหตุ ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 10 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ตามมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 จำเลยได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในหัวข้อ “มารับขบวนเสด็จ” โดยเนื้อหาที่ถ่ายทอดสดดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งมีจํานวนยอดไลน์ 503 แสดงความคิดเห็น 848 รายการ และแชร์ 435 ครั้ง โดยจำเลยได้กล่าวข้อความว่า
“เส้นทางอะไรเอ่ยคะ หนูดูม้าได้ไหม หนูซมม้าได้ไหม หนูเดินชมใกล้ๆได้ไหม ทําอะไรคะ ทําอะไรเอ่ย อยู่คนเดียวค่ะ ตอนนี้อยู่คนเดียว อยู่คนเดียวหน้ายูเอ็น มีม้าด้วย อันนี้ใครเสด็จคะ มีม้าด้วย โหวๆ มีม้าต้อนรับค่ะ ค่ะ...”
“...สีหน้าคนที่มารับเสด็จ ขบวนเสด็จที่ทําให้ม็อบชาวนาต้องเคลื่อนย้ายนะคะ ม็อบชาวนาจะต้องถูกย้ายนะคะ ก็ให้มันรู้เอาไว้ ให้มันรู้เอาไว้ ว่าม็อบชาวนาจะต้องถูกย้าย เพียงเพราะมีคนเสด็จนะคะ นะคะ นี่นะคะ คนจะต้องเสด็จ คนเดียว คนคนเดียวเสด็จ”
“หนูอธิบายไปแล้วค่ะ หนึ่งคือหนูสงสัยว่า แค่ขบวนเสด็จผ่านเนี่ยนะ ม็อบชาวนาต้องโดนไล่ และสองคือทําไม ถึงใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้...”
“หนูถามกลับไปก็คือ ทําไมขบวนเสด็จจึงใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้ ทําไมพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์ใด ทําไมใช้ถนนร่วมกับประชาชนไม่ได้”
“…เพียงแค่คนคนเดียวเสด็จต้องย้ายม็อบชาวนาที่เขามาเรียกร้อง เขาต้องการให้คนลงมาฟังปัญหาของเขา มาแก้ปัญหาของเขา แต่ไม่มีใครคิดได้สักคนว่า ต้องไปฟังปัญหาเขา แก้ปัญหาเขา แล้วก็ไปไล่เขาออก มันทำไมนักหรอคะ กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่คิดสิคิด หนูมาคนเดียว เมื่อกี้มากันกี่คน เป็น 50 คน 60 คน เลยมั้ง นั่นหน่ะ อารักขาความปลอดภัยอะไร ไปรักษาประชาชนนู่น ม็อบชาวบ้านเขาต้องย้าย เขามานานเท่าไหร่แล้ว เขามาร้อนๆ เนี่ย พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไง ให้ประเทศชาติมันเจริญ ไปไล่เขาออก ไปลากเขาออก คิดดิ คิดไม่ได้แล้วจะมาเป็นตำรวจทำไม ต้องเรียน เรียนมารับใช้ประชาชนไม่ใช่หรา หรือรับใช้องค์ราชัน แค่นี้ยังคิดไม่ได้เลย..”
“…ก็จำเอาไว้ว่าม็อบชาวนาต้องย้ายแทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แต่กลับไล่เขาออก เพียงเพราะมีคนคนเดียวเสด็จ ก็จำเอาไว้ละกัน ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อ่ะ ใครมันสำคัญกว่ากัน”
“…กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่ คิดสิคิด…”
“…พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไงให้ประเทศชาติมันเจริญ…”
คำกล่าวของจำเลยที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊กและเปิดเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้นั้น มีเจตนาให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อรัชกาลที่ 10 ว่า เหตุที่ม็อบชาวนาต้องย้ายเป็นเพราะพระมหากษัตริย์เสด็จผ่าน และพระมหากษัตริย์ไม่รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน อันเป็นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ และเป็นการกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบเปรียบเปรย หรือเสียดสีให้เป็นที่ระคายต่อเบื้องพระยุคลบาทของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
2. วันเกิดเหตุ ขณะที่ พ.ต.อ.เอกสมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผู้กำกับการ สน.นางเลิ้ง กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเส้นทางเสด็จประจําจุดแยกมัฆวาน ได้พบเห็นจําเลยกำลังไลฟ์สด บริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งเป็นบริเวณใกล้กับเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินของรัชกาลที่ 10 จึงสั่งให้จำเลยหยุดการกระทำดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัยฯ แต่จำเลยไม่ได้ปฎิบัติตาม โดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันสมควร ถือเป็นการขัดขืนไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานขณะปฎิบัติหน้าที่
3. หลังเกิดเหตุ จำเลยได้ต่อสู้ขัดขวาง ส.ต.ต.หญิง ภาวินีย์ เดชพิพัฒนวงศ์ ซึ่งเป็นพนักงานควบคุมฝูงชน (หญิง) สน.นางเลิ้ง ที่ได้เข้าควบคุมตัวจำเลยออกจากที่เกิดเหตุ โดยจำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้เท้าถีบที่บริเวณท้อง และใช้ข้อศอกกดบริเวณหน้าท้องและชายโครงของ ส.ต.ต.หญิง ภาวินีย์ จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 05-03-2022นัด: จับกุมประมาณ 18.14 น. "ตะวัน" ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กส่วนตัวบริเวณทางเท้าบนถนนราชดำเนินนอก ตรงข้ามกับสำนักงานอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) ต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบทยอยกันเข้ามาล้อมตัวเธอ ห้ามไม่ให้เธอไลฟ์สด อ้างว่าจะมีขบวนเสด็จผ่าน และพยายามเชิญเธอออกจากบริเวณดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ที่เข้าพูดคุยนำโดย พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผู้กำกับ สน.นางเลิ้ง ในชุดเครื่องแบบตำรวจรับเสด็จ พร้อมมีการนำกำลัง คฝ.หญิง, นอกเครื่องแบบที่เป็นชายฉกรรจ์ขับรถจักรยานยนต์เข้ามาล้อมกรอบ รวมกันมากกว่า 50 นาย ส่วนตะวันได้พยายามสอบถามตำรวจกรณีการให้ม็อบชาวนาย้ายออกจากพื้นที่ชุมนุม เพราะมีขบวนเสด็จ
ก่อนเวลาประมาณ 18.25 น. คฝ.หญิงได้เข้าควบคุมตัวทานตะวันขึ้นรถตำรวจ โดยผู้กำกับ สน.นางเลิ้ง กล่าวอ้างว่าเธอขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน บนรถได้มีเจ้าหน้าที่หญิงขึ้นนั่งประกบเธอ และพาตัวไปยัง สน.พญาไท ซึ่งไม่ใช่ท้องที่เกิดเหตุ
เวลา 18.40 น. เมื่อถูกนำตัวมาถึง สน.พญาไท ทานตะวันปฏิเสธไม่ยินยอมลงจากรถของตำรวจ โดยยืนยันว่าตนไม่ได้กระทำความผิดใด แม้เจ้าหน้าที่พยายามเกลี้ยกล่อม ต่อมาได้มีประชาชนและผู้สื่อข่าวอิสระทยอยติดตามไปยังสถานีตำรวจ
จนเวลา 19.12 น. เมื่อทานตะวันยังไม่ยอมลงจากรถ เจ้าหน้าที่ชายนอกเครื่องแบบได้เข้าใช้กำลังเข้ากระชากโทรศัพท์มือถือของเธอซึ่งทำการไลฟ์สดอยู่ ก่อนมีเจ้าหน้าที่ขับรถพาตัวออกจาก สน.พญาไท ทันที โดยไม่มีการแจ้งว่าจะนำตัวไปที่ใด และทานตะวันไม่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อใครได้ระหว่างถูกควบคุมออกไปนี้
เวลาประมาณ 19.45 น. หลังมีผู้สื่อข่าวอิสระเดินทางติดตามรถตำรวจไป จึงพบว่าทานตะวันถูกนำตัวไปยังกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ซึ่งอยู่ภายในสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี-รังสิต
แต่เมื่อทนายความเดินทางไปถึง บช.ปส. ในเวลาประมาณ 20.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่อนุญาตให้ทนายความพบกับทานตะวัน และไม่อนุญาตให้ติดต่อใดๆ อ้างว่าต้องรอคำสั่ง “นาย” ก่อน จึงจะให้เข้าไปได้ ทั้งที่เป็นสิทธิของผู้ถูกจับกุมในการได้พบและปรึกษาทนายความหรือผู้ไว้วางใจ
หลังการรอคอยเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง เวลา 21.48 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้อนุญาตให้ทนายความคนเดียวเข้าไปพบกับทานตะวัน แต่ไม่อนุญาตให้มีผู้ไว้วางใจหรือคนอื่นๆ ติดตามเข้าไป
เมื่อทนายความเข้าไป พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เริ่มจัดทำบันทึกจับกุมไปก่อนแล้ว โดยมีการแจ้งข้อกล่าวหา 2 ข้อหา ได้แก่ “ทราบคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 (อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท) และข้อหา “ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 (อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
พฤติการณ์จับกุมอ้างว่า ระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยรัชกาลที่ 10 ซึ่งเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่วัดเทพศิรินทร์ พบว่าผู้ถูกจับกุมได้ไลฟ์สดทางสื่อโซเชียล บริเวณใกล้กับเส้นทางเสด็จ เจ้าพนักงานเห็นว่าเป็นการกระทำไม่สมควรและอาจเกิดผลกระทบต่อการถวายความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติ จึงได้สั่งให้ผู้ถูกจับกุมหยุดการกระทำดังกล่าว แต่ผู้ถูกจับกุมไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหญิง 3 นาย เข้าควบคุมตัว แต่ผู้ถูกจับกุมได้ขัดขืนโดยการใช้เท้าถีบเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ
เจ้าหน้าที่ตำรวจยังอ้างว่า การกระทำของทานตะวันอาจเข้าข่ายความผิดฐานอื่นด้วย จึงได้ทำการตรวจยึดโทรศัพท์มือถือจำนวน 1 เครื่อง เพื่อทำการตรวจสอบ และยังอ้างว่าการควบคุมตัวผู้ต้องหา อาจมีกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนหรือคัดค้านช่วยเหลือหรือทำอันตรายผู้ถูกจับกุม จนเกิดเหตุวุ่นวายจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ จึงได้นำตัวทานตะวันไปที่ บช.ปส.
ทานตะวันได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานได้ยึดโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีเหตุอันควร และไม่แจ้งว่าจะพาตัวผู้ถูกจับกุมไปที่ใด
จากนั้น เวลาประมาณ 01.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่ายังไม่ได้ตรวจร่างกายของผู้ต้องหา และต้องตรวจสอบว่ายังมีการกระทำเข้าข่ายข้อหาอื่นๆ หรือไม่ จึงไม่ปล่อยตัวทานตะวันหลังแจ้งข้อกล่าวหา โดยเบื้องต้นพบว่าทานตะวันมีบาดแผลรอยช้ำบริเวณแขนข้างขวา อันเนื่องจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่าในช่วงกลางคืน ทานตะวันได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปคุมขังในห้องขังรวมกับผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายอื่นๆ ภายใน บช.ปส. โดยไม่ได้มีอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม บช.ปส. ลงวันที่ 5 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41057) -
วันที่: 06-03-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเวลา 11.40 น. หลังทนายความเดินทางเข้าไปพบทานตะวันใน บช.ปส. อีกครั้ง ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ว่าได้รับคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาทานตะวันตามมาตรา 112 ด้วย โดยให้รอพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เดินทางมาแจ้งข้อกล่าวหาในช่วงบ่าย
ต่อมา พ.ต.ท.สำเนียง โสธร รองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาทานตะวัน ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า ทานตะวันได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.14 น. โดยเปิดเป็นสาธารณะ เพื่อถ่ายทอดสดขบวนเสด็จ เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าไม่เหมาะสมจึงได้ตักเตือนให้หยุดการถ่ายทอดสด แต่ผู้ต้องหากลับฝ่าฝืน และไม่หยุดถ่ายทอด กลับใช้คำพูดอธิบายในขณะทำการถ่ายทอดสด ลักษณะเสียดสีว่าในขบวนเสด็จมีม้ามาด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจม้า มาทำหน้าที่ถวายความปลอดภัย ผู้ต้องหาได้ใช้คำพูดไม่เหมาะสม จนเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ห้าม และขอให้ออกจากพื้นที่ แต่ผู้ต้องหาก็ยังดื้อดึงที่จะฝ่าฝืนกระทำต่อไป
เจ้าหน้าที่ยังกล่าวหาอ้างว่าทานตะวันได้บรรยายถ้อยคำขณะไลฟ์สดที่อ้างว่าเป็น “การท้าทายและยั่วยุ” เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยผู้ต้องหาไม่ยอมหยุด เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมตัว นำตัวไปที่ทำการของพนักงานสอบสวน (โดยข้อเท็จจริงไม่ได้มีการนำตัวไปที่ สน.นางเลิ้ง ซึ่งเป็นที่ทำการของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด) จากนั้นจึงนำตัวไป สน.พญาไท เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าระหว่างนั้นทานตะวันยังไม่หยุดไลฟ์สด แต่ได้บรรยายต่อว่า
“…เพียงแค่คนคนเดียวเสด็จต้องย้ายม็อบชาวนาที่เขามาเรียกร้อง เขาต้องการให้คนลงมาฟังปัญหาของเขา มาแก้ปัญหาของเขา แต่ไม่มีใครคิดได้สักคนว่า ต้องไปฟังปัญหาเขา แก้ปัญหาเขา แล้วก็ไปไล่เขาออก มันทำไมนักหรอคะ กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่คิดสิคิด หนูมาคนเดียว เมื่อกี้มากันกี่คน เป็น 50 คน 60 คน เลยมั้ง นั่นหน่ะ อารักขาความปลอดภัยอะไร ไปรักษาประชาชนนู่น ม็อบชาวบ้านเขาต้องย้าย เขามานานเท่าไหร่แล้ว เขามาร้อนๆ เนี่ย พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไง ให้ประเทศชาติมันเจริญ ไปไล่เขาออก ไปลากเขาออก คิดดิ คิดไม่ได้แล้วจะมาเป็นตำรวจทำไม ต้องเรียน เรียนมารับใช้ประชาชนไม่ใช่หรา หรือรับใช้องค์ราชัน แค่นี้ยังคิดไม่ได้เลย..”
ตำรวจกล่าวหาต่อไปว่า ผู้ต้องหาได้พูดว่า “…ก็จำเอาไว้ว่าม็อบชาวนาต้องย้ายแทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แทนที่จะไปฟังปัญหาเขา แต่กลับไล่เขาออก เพียงเพราะมีคนคนเดียวเสด็จ ก็จำเอาไว้ละกัน ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อ่ะ ใครมันสำคัญกว่ากัน”
ผู้กล่าวหาอ้างว่าคำพูดดังกล่าว สื่อความหมายว่า ผู้พูดเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมที่เป็นชาวนาซึ่งมีจำนวนหลายคน มีความสำคัญมากกว่าพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ควรจะต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นในขณะที่พระมหากษัตริย์เสด็จผ่านเส้นทางนั้น พระมหากษัตริย์ควรเข้าไปรับฟังปัญหาของกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงตัดพ้อ ทั้งยังเป็นการด้อยค่าพระมหากษัตริย์ ว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีความสำคัญ
ตำรวจกล่าวหาต่อไปว่า ผู้ต้องหาได้พูดว่า “…กะอีแค่ผ่านแล้วเห็นชาวบ้านเนี่ย เห็นชาวบ้านที่เขาเดือดร้อนเนี่ย คนที่เขาให้ภาษี คนที่เขาจ่ายภาษีให้พวกพี่เนี่ย คนที่เขาจ่ายภาษีที่พระมหากษัตริย์เขาใช้เนี่ย พี่รับใช้ใครอยู่ คิดสิคิด…”
ผู้กล่าวหาอ้างว่าคำพูดดังกล่าว สื่อความหมายว่าตำรวจต้องรับใช้ชาวบ้าน เนื่องจากชาวบ้านเป็นผู้จ่ายเงิน (ภาษี) ให้กับตำรวจ ทั้งยังจ่ายเงิน (ภาษี) ให้พระมหากษัตริย์นำไปใช้อีกด้วย ซึ่งถ้อยคำดังกล่าว เป็นการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในทางเสื่อมเสีย กล่าวหาว่าพระมหากษัตริย์นำเงินของชาวบ้านไปใช้ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ได้เข้าชมการเผยแพร่ภาพสดดังกล่าว เสื่อมศรัทธาต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ถือเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ตำรวจกล่าวหาต่อไปว่า ผู้ต้องหาได้พูดว่า “…พระมหากษัตริย์พี่อ่ะอยู่ที่ไหน มาฟังความเดือดร้อนประชาชนไหม เขากลับมาไทยเนี่ย เขามาฟังบ้างไหม กะอีแค่เสด็จผ่านแล้วจะเห็นเข้าเนี่ย แทนที่จะไปคุยว่าปัญหามันคืออะไร จะช่วยแก้กันยังไงให้ประเทศชาติมันเจริญ…”
ผู้กล่าวหาอ้างว่าคำพูดดังกล่าว สื่อความหมายว่าพระมหากษัตริย์ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งเป็นการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในทางเสื่อมเสีย อาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ได้เข้าชมการเผยแพร่ภาพสดดังกล่าว เสื่อมศรัทธาต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ถือเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ผู้กล่าวหาอ้างว่า คำพูดทั้งหลายที่ผู้ต้องหามีการบรรยายประกอบในขณะถ่ายทอดสดสู่สาธารณะ ไปยังผู้ฟังทั้งหลาย โดยมีเจตนาพิเศษ เพื่อให้ผู้ที่รับฟังมีความคิดและเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เป็นการด้อยค่าต่อพระมหากษัตริย์ ว่าพระมหากษัตริย์เป็นปัญหาและเป็นเหตุให้กลุ่มม็อบชาวนาต้องเคลื่อนย้าย ทั้งความจริงไม่ถูกต้อง เนื่องจากกลุ่มม็อบชาวนาที่มาเรียกร้องบริเวณดังกล่าว ส่วนใหญ่มีความจงรักภักดี และพอทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าจะมีเส้นทางเสด็จ ทุกคนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือขยับออกจากพื้นที่เส้นทาง แต่การที่ผู้ต้องหามีการบรรยายให้เกิดการเข้าใจผิด ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมต้องถูกไล่ออก หรือถูกลากออกเพราะขบวนเสด็จนั้นเป็นเรื่องเท็จ ที่ผู้ต้องหาได้พูดลงในการถ่ายทอดสดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2560 และการกระทำของผู้ต้องหามีเจตนาเล็งเห็นผล หรือประสงค์ต่อผล ว่าถ้อยคำในการบรรยายขณะถ่ายทอด มีลักษณะเป็นการด้อยค่าต่อพระมหากษัตริย์ และประชาชนทั่วไปที่รับฟังรับชมการถ่ายทอดสดของผู้ต้องหา ที่มีความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน เกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ มีความคิดด้อยค่าดูหมิ่นเกลียดชังต่อพระมหากษัตริย์ได้
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งว่า การกระทำดังกล่าวของทานตะวันเป็นความผิดฐาน
1. “ทราบคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368
2. “ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่ ได้กระทําโดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
3. “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
4. “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2)
5. “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงฯ” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)
ทานตะวันได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายใน 30 วัน และปฏิเสธจะลงลายมือชื่อใดๆ ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา
จากนั้น พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้ประกันตัวทานตะวันในชั้นสอบสวน แต่จะยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญาในวันรุ่งขึ้น ทำให้เธอต้องถูกควบคุมตัวที่ บช.ปส. อีก 1 คืน โดยมีรายงานว่าเธอถูกนำตัวไปควบคุมร่วมกับผู้ต้องหาในคดียาเสพติดอื่นๆ เช่นเดิมกับคืนก่อนหน้า
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา บช.ปส. ลงวันที่ 6 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41057) -
วันที่: 07-03-2022นัด: ฝากขังพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขังทานตะวันต่อศาลอาญา ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยคัดค้านการให้ประกันตัว อ้างเหตุว่า คดีมีอัตราโทษสูง เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี และยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดี ศาลได้อนุญาตให้ฝากขัง และทนายความได้ยื่นขอประกันตัว
ต่อมา ชาญชัย ณ พิกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว โดยให้วางหลักทรัพย์ 100,000 บาท เป็นเงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามมิให้ผู้ต้องหากระทำในลักษณะแบบเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และกิจกรรมหรือการกระทำใดๆ ในอันที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็คทรอนิกส์ (EM) นัดรายงานตัววันที่ 25 เม.ย. 2565 เวลา 08.30 น.
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผูัต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 7 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41057) -
วันที่: 05-04-2022นัด: ไต่สวนคำร้องถอนประกันกรณี พ.ต.ท.สำเนียง โสธร รองผู้กำกับสอบสวน สน.นางเลิ้ง พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565 ขอให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวทานตะวัน อ้างเหตุว่าทานตะวันผิดเงื่อนไขประกันตัว มีการกระทำในลักษณะแบบเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก จากการโพสต์และแชร์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว 10 ครั้ง และพยายามขับรถเข้าใกล้พื้นที่ขบวนเสด็จอีก 1 ครั้ง ศาลอาญา รัชดาฯ จึงนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวในวันนี้
++คำร้องขอถอนประกัน: ตร.ระบุ 10 โพสต์-แชร์เฟซบุ๊ก และขับรถเข้าใกล้พื้นที่ขบวนเสด็จ เข้าข่ายสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ ผิดเงื่อนไขประกัน++
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร สว.(สอบสวน) สน.นางเลิ้ง ได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันทานตะวันต่อศาลอาญา โดยระบุว่าทานตะวันมีพฤติการณ์ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ต้องหาในคดีนี้ และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปแล้ว
พฤติการณ์ดังกล่าวที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าผิดเงื่อนไขนั้นปรากฏตามรายงานตรวจสอบความเคลื่อนไหวบุคคลเฝ้าระวังของกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งมีการสืบหาข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการถวายความปลอดภัยระหว่างขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 และราชินี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ในวันที่ 17 มี.ค. 2565 โดยพฤติการณ์ของทานตะวันทั้งหมดตามรายงานเกิดขึ้นในวันที่ 17 มี.ค. 2565 เพียงวันเดียวเท่านั้น สรุปพฤติการณ์ได้ดังนี้
1. เวลา 14.57 น. โพสต์วิดีโอขณะนั่งอยู่บนรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่และมีรถยนต์สีดำเคลื่อนที่อยู่ข้างหน้าลงบนบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมพิมพ์ข้อความประกอบว่า “เมื่อคุณโดนตำรวจตาม คุณจึงตามตำรวจกลับ ทะเบียน…”
2. เวลา 16.01 น. แชร์โพสต์ซึ่งเป็นรูปภาพและข้อความจากเพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์ช่วยเหลือกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ ศชอ.” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนัดหมายการเสด็จของรัชกาลที่ 10 และราชินี ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร พร้อมพิมพ์ข้อความประกอบว่า “กำหนดการในหลวง ร.10 วันนี้ ทรงพระเจริญ”
3. เวลา 00.00 น. แชร์รูปภาพโพลสำรวจความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “ขบวนเสด็จเดือดร้อนหรือไม่” ผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก
4. เวลา 15.00 น. โพสต์วิดีโอขณะขับรถตามรถคันหนึ่งบนถนนผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก พร้อมเขียนข้อความว่า “เมื่อโดนตำรวจตาม คุณจึงตามตำรวจกลับ”
5. เวลา 16.00 น. โพสต์รูปภาพกำหนดการบำเพ็ญกุศลเจ้าพระสมเด็จวันรัต อดีตเจ้าอาวาส วัดบวรวรนิเวศวิหาร ผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก พร้อมเขียนข้อความว่า “กำหนดการในหลวง ร.10 วันนี้ ทรงพระเจริญ”
6. เวลา 17.00 น. โพสต์วิดีโอบริเวณถนนแห่งหนึ่งขณะนั่งอยู่บนรถยนต์ ผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก พร้อมเขียนข้อความว่า “วันนี้ไม่มีม้าเหรอ”
7. เวลา 18.00 น. โพสต์วิดีโอขณะมีทหารม้าหลายนายขี่ม้าอยู่บริเวณทางเท้าริมถนนแห่งหนึ่งผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก พร้อมเขียนข้อความว่า “ม้า มีม้าด้วย ขบวนเสด็จพ่อหลวงมีม้าด้วย”
8. เวลา 19.00 น. โพสต์วิดีโอขณะมีแผงเหล็กกั้นปิดถนนเส้นหนึ่งและถูกตำรวจเรียกให้ลงจากรถผ่านสตอรี่เฟซบุ๊กพร้อมเขียนข้อความว่า “กำลังจะไปกินแมค งง”
9. เวลา 19.00 น. โพสต์วิดีโอผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก พร้อมเขียนข้อความว่า “จะไปกินแมคก็ไม่ยอมให้ไป เพราะขบวนเสด็จพ่อหลวงจะผ่านตรงนั้น ทรงพระเจริญ”
10. เวลา 19.47 น. แชร์โพสต์จากเพจเฟซบุ๊ก “มังกรปฏิวัติ Draconis Revolution” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเชิญชวนประชาชนร่วมรับเสด็จในหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 18 มี.ค. 2565 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป และพิมพ์ข้อความประกอบว่า “ทรงพระเจริญ”
นอกจากนี้ตามรายงานดังกล่าวยังระบุเหตุการณ์ที่ทานตะวันและพวกรวม 4 คน ขับรถยนต์เข้าไปใกล้พื้นที่ที่จะมีขบวนเสด็จ ในวันที่ 17 มี.ค. 2565 ในเวลาประมาณ 18.30 น. ก่อนถูกตำรวจ บก.น.1 เรียกตรวจรถเพื่อสอบถาม รวมถึงตรวจสอบภาพกล้องวงจรปิดของรถคันดังกล่าว และพบว่ามีลักษณะการขับรถวนเวียนใกล้เคียงเส้นทางเสด็จ ซึ่งตำรวจก็มีความเห็นว่าการกระทำนี้เข้าข่ายการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
++ไต่สวนพยานผู้ร้องขอถอนประกัน “ตะวัน” รวม 2 ปาก++
ณ ห้องพิจารณาคดี 804 ฝั่งผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนประกันได้นำพยานเข้าเบิกความ 2 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ผู้ยื่นคำร้อง และ พ.ต.ต.ภัทร บุญอารักษ์ ตำรวจสืบสวนผู้จัดทำรายงานความเคลื่อนไหวของทานตะวัน
**พงส.ผู้ยื่นคำร้องตอบทนายไม่ได้ว่า พฤติการณ์ที่เป็นเหตุขอถอนประกัน ผิดเงื่อนไขประกันตัวอย่างไร**
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร สารวัตร (สอบสวน) สน.นางเลิ้ง อายุ 53 ปี เบิกความว่า ในคดีนี้ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ตำรวจได้เข้าจับกุมทานตะวัน ขณะไปยืนไลฟ์สดก่อนมีขบวนเสด็จบริเวณถนนราชดำเนินนอกโดยกล่าวหาว่า ขัดคำสั่งพนักงาน, ต่อสู้ขัดขวาง, นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และความผิดตามมาตรา 112
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2565 พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ได้นำตัวทานตะวันไปขอฝากขังต่อศาลอาญา และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วย 4 เงื่อนไข
1. ห้ามทำกิจกรรมหรือการกระทำใดที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ห้ามโพสต์เชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูงประชาชนให้เขาร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดียหรือร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
4. ให้ติด EM
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 พยานได้รับรายงานจากตำรวจฝ่ายสืบสวนของกองกำกับการตำรวจนครบาล 1 ว่าทานตะวันได้เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊กในลักษณะสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งพยานเห็นว่าผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้จึงได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลอาญาในวันที่ 18 มี.ค. 2565
หลังพยานยื่นคำร้องขอถอนประกันในวันดังกล่าว ทานตะวันยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อวันที่ 30 มี.ค. และวันที่ 3 เม.ย. 2565
ทนายผู้ต้องหาได้แย้งว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าพยานจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากวันยื่นคำร้องขอถอนประกันมายื่นต่อศาลเพิ่มเติม ทนายผู้ต้องหาจึงไม่ได้เตรียมเอกสารเพื่อมาแย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว และจะเป็นการไม่ยุติธรรมหากศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงภายหลังพยานยื่นคำร้องแล้ว
พยานเบิกความว่า การยื่นคำร้องในครั้งนี้เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ มีจุดเริ่มต้นมาจากตำรวจฝ่ายสืบสวนทำรายงานการสืบสวนเกี่ยวกับการกระทำที่อาจผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวของผู้ต้องหามาเสนอต่อตนเอง โดยพยานเห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ต้องเข้าข่ายกระทำผิดเงื่อนไขจริง จึงได้รายงานต่อไปยังผู้บังคับบัญชาให้รับทราบ แล้วจึงยื่นคำร้องขอถอนประกันผู้ต้องหาต่อศาลอาญา
ทนายผู้ต้องหาถามว่า พฤติการณ์ของผู้ต้องหาตามรายงานการสืบสวนที่ได้ยื่นประกอบคำร้องขอถอนประกันต่อศาลและอ้างว่าเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น พยานได้ตรวจสอบดูรายละเอียด “เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล” หรือไม่
พยานตอบว่า ได้ตรวจสอบเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวจากคำสั่งของศาลใน “คำร้องขอฝากขัง” โดยตรวจดูหลังจากที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีนี้เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2565
ทนายแย้งว่า คำสั่งของศาลซึ่งระบุเงื่อนไขปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้นั้นไม่ได้บันทึกอยู่ใน “คำร้องขอฝากขัง” แต่ศาลมีคำสั่งใน “คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว” ที่ทนายความของผู้ต้องหาได้ยื่นต่อศาล โดยในคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่ได้ระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการ “ห้ามโพสต์สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์และเชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูง ประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเซียลมีเดีย …” ตามที่พยานได้กล่าวอ้าง
พยานขอดูเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งของศาลในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้อีกครั้ง และเบิกความตอบว่า เงื่อนไขที่ศาลสั่งว่าห้ามกระทำการใดๆ ที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์นั้น “พยานตีความเอง” ว่า รวมถึงการโพสต์ลงสื่อโซเชียลมีเดียด้วย
พยานเบิกความอีกว่า รายงานการสืบสวนของตำรวจฝ่ายสืบสวน กก.สส.บก.น.1 ที่พยานได้รับมานั้นพยานไม่ได้จัดทำเอง พยานยืนยันข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของผู้ต้องหาตามรายงานดังกล่าวที่ได้รับมา
ทนายผู้ต้องหากล่าวกับพนักงานสอบสวนว่า ติดใจรายงานการสืบสวนดังกล่าวอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือ หนึ่ง เหตุการณ์ที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนดักล้อมและตรวจค้นรถของผู้ต้องหา ขณะขับอยู่บนถนนทางหลวง เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 17 มี.ค. 2565 ซึ่งผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับความวุ่นวายและกระทบต่อสถาบันกษัตริย์เลย และถามพยานว่าการขับรถอยู่บนถนนนั้นผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างไร
พยานเบิกความว่า ในประเด็นนี้ให้ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้นมาชี้แจงด้วยตนเองจะดีกว่า แต่เท่าที่พยานทราบเบื้องต้นนั้นตำรวจได้บุกล้อมและชะลอรถของผู้ต้องหาครั้งนั้นเป็นเพราะว่าผู้ต้องหาได้ขับรถยนต์เคลื่อนที่เข้ามาใกล้กับพื้นที่ที่กำลังจะมีขบวนเสด็จของ ร.10 แต่ทั้งนี้เมื่อเรียกให้รถหยุดและเรียกตรวจไม่พบว่ามีสิ่งผิดกฎหมายภายในรถคันดังกล่าว จึงไม่ได้จับกุมผู้ใดไว้และปล่อยตัวไปในที่สุด
สุดท้ายทนายได้ถามพนักงานสอบสวนอีกประเด็นว่า โพสต์ซึ่งเป็นรูปภาพเกี่ยวกับการเชิญชวนร่วมรับเสด็จในหลวงที่ผู้ต้องหาแชร์จากเพจเฟซบุ๊กอื่นนั้น พยานเห็นว่าผิดเงื่อนไขอย่างไร เพราะเป็นภาพเชิญชวนร่วมรับเสด็จที่ถูกเผยแพร่เป็นการทั่วไป พ.ต.ท.สำเนียง ตอบเพียงว่า เห็นด้วยว่าผู้ต้องหาไม่ได้จัดทำภาพดังกล่าวเอง แต่เป็นการแชร์มาจากเพจเฟซบุ๊กอื่น และเป็นภาพที่เผยแพร่อยู่ทั่วไปอยู่แล้ว
**ตำรวจสืบผู้จัดทำรายงานความเคลื่อนไหวของตะวัน รับข้อมูลจากลูกน้อง ไม่ได้ติดตามตะวันด้วยตนเอง**
พ.ต.ต.ภัทร บุญอารักษ์ อายุ 32 ปี สารวัตรกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เบิกความว่า ทานตะวันเป็นบุคคลเฝ้าระวัง เนื่องจากได้กระทำการสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์หลายครั้งด้วยกัน โดยพยานติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ต้องหามาตั้งแต่หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีทำโพลเรื่องขบวนเสด็จที่ห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 ซึ่งเป็นคดีมาตรา 112 คดีแรกของเธอ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอื่นๆ
เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 มีขบวนเสด็จของในหลวงและราชินี ผู้ต้องหาก็ได้ปรากฏตัวพร้อมกับพวกในโซเชียลมีเดีย ต่อมาตำรวจพบตัวผู้ต้องหาและพวกขณะขับรถเคลื่อนเข้าหาขบวนเสด็จจึงได้เรียกให้ผู้ต้องหาหยุดรถเพื่อเรียกตรวจ แต่ไม่มีการค้นตัวและสิ่งของภายในรถแต่อย่างใด เมื่อชะลอรถผู้ต้องหาไว้จนขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านไปแล้วจึงได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาและพวกไป ตำรวจเบิกความตอบทนายว่า “การชะลอรถผู้ต้องหาไว้ เพราะเกรงว่าจะไปขัดขวางขบวนเสด็จ” ต่อมาพยานได้ทำรายงานการสืบสวนเพื่อเสนอต่อพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง
ทนายผู้ต้องหาขอให้พยานเบิกความว่าพฤติการณ์ตามรายงานสืบสวนแต่ละอย่างนั้น “ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างไร” พยานพยายามตอบทนายผู้ต้องหาโดยดูรายงานการสืบสวนประกอบ ศาลจึงบอกให้พยานเบิกความตามที่ได้จัดทำรายงานมาโดยไม่ต้องดูเอกสาร พยานเบิกความต่อว่า หลังติดตามเฝ้าระวังผู้ต้องหา เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2565 ผู้ต้องหามีการโพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “เห็นด้วยหรือไม่กับขบวนรับเสด็จ” จากนั้นก็ได้ไปปรากฏตัวใกล้กับขบวนเสด็จอีก พยานและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องจึงได้รวบรวมโพสต์ดังกล่าว ซึ่งเห็นว่ากระทบต่อสถาบันกษัตริย์ไว้ และจัดทำเป็นรายงานส่งพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2565 พยานและผู้ใต้บังคับบัญชาได้จัดทำรายงานเพิ่มเติมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการยุยง ปลุกปั่น และสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ โดยพยานจำรายละเอียดไม่ได้จึงไม่ได้เบิกความต่อ
ทนายผู้ต้องหาถามค้านว่า “การเฝ้าระวังติดตาม” ที่พยานได้เบิกความต่อศาลนั้น คือการที่ตำรวจติดตามผู้ต้องหาแทบจะตลอดเวลา ทั้งเวลากินข้าว ไปเรียน อยู่บ้าน และทำกิจกรรม ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า พยานไม่ได้เป็นผู้ทำหน้าที่ติดตามผู้ต้องหาด้วยตนเอง แต่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้นมาอีกทีหนึ่ง หากผู้ใต้บังคับบัญชาพบพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่ากระทำการผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะรายงานมาให้ตนทราบ
ทนายผู้ต้องหาถามว่า ตามคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนั้นไม่มีพฤติการณ์ใดของผู้ต้องหาที่ตำรวจจะนำไปดำเนินคดีอาญาเป็นคดีอื่นใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบ แต่หากมีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาเป็นคดีอื่นจากพฤติการณ์ที่ปรากฏตามรายงาน ตนก็จะทราบได้ทันทีจากการถูกเรียกไปเป็นพยาน
ในวันที่ตำรวจเข้าชะลอรถของผู้ต้องหาและควบคุมรถนั้นไว้ พยานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ มีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไปปฏิบัติหน้าที่ แต่พยานเห็นพฤติการณ์ของผู้ต้องหาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะติดตามผ่านเครื่องมอนิเตอร์ แต่ไม่ได้เป็นผู้ออกคำสั่งในเหตุครั้งนั้น
ทนายผู้ต้องหาถามว่า การที่บุกล้อมและชะลอรถครั้งนั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำที่กระทบต่อสถาบันกษัตริย์อย่างไร พยานตอบว่า ผู้ต้องหาและพวกขับรถเคลื่อนเข้าใกล้ขบวนเสด็จในกรุงเทพฯ ทนายถามต่อว่า ตามรายงานการสืบสวนนั้นพยานทราบหรือไม่ว่า “ขณะที่ผู้ต้องหาโพสต์ภาพว่ากำลังขับรถเข้ามาในกรุงเทพฯ ผ่านสตอรี่เฟซบุ๊ก รถของผู้ต้องหาเคลื่อนที่อยู่บนถนนสายใด” พยานตอบว่า “ไม่ทราบ”
ทนายถามค้านอีกว่า การที่ผู้ต้องหาโพสต์เฟซบุ๊ก “ขบวนเสด็จเดือดร้อนหรือไม่” นั้นเป็นภาพที่ผู้ต้องหาถูก สน.ปทุมวัน ดำเนินคดีแล้ว ก่อนได้รับการประกันตัวในคดีนี้ พยานตอกว่า ทราบว่าผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีจากการทำกิจกรรมทำโพลดังกล่าวไปแล้ว แต่เมื่อผู้ต้องหานำภาพถ่ายขณะกระทำผิดมาโพสต์ซ้ำอีกครั้งเท่ากับมีเจตนายุยงและปลุกปั่น ทั้งนี้ พยานไม่ทราบว่า ภาพกิจกรรมทำโพลดังกล่าวนั้น ผู้ต้องหาได้โพสต์บนเฟซบุ๊กอยู่บ่อยครั้งเพื่อยืนยันเจตนาว่า “การทำโพลสำรวจความเห็นดังกล่าวไม่มีความผิดตามมาตรา 112”
ส่วนที่ผู้ต้องหาแชร์ภาพมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเชิญชวนประชาชนร่วมต้อนรับขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 นั้น พยานไม่ทราบว่ามีที่มาจากที่ใด แต่น่าจะมาจากที่อื่น และผู้ต้องหาไม่ได้จัดทำเอง
ทนายถามว่าพยานทราบหรือไม่ว่า ผู้ต้องหาต้องเดินทางไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษที่สถาบันแห่งหนึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน พยานเบิกความตอบว่า ในการติดตามตัวบุคคลเฝ้าระวังนั้น ตนจะไม่ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตประจำวันว่าเป็นอย่างไร เพียงแต่จะคอยระวังว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำผิดเงื่อนไขหรือไม่เท่านั้น
หลังพยานฝ่ายผู้ร้องเบิกความเสร็จ ฝ่ายผู้ถูกร้องคือทานตะวันไม่ได้นำพยานปากอื่นเข้าเบิกความในการไต่สวนครั้งนี้ โดยจะทำคำคัดค้านแถลงยืนยันว่าผู้ต้องหาไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ นำมายื่นต่อศาลภายใน 10 วัน ศาลจึงนัดฟังคำสั่งในวันที่ 20 เม.ย. 2565 เวลา 10.30 น.
(อ้างอิง: คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 18 มี.ค. 2565, รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 5 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42298) -
วันที่: 20-04-2022นัด: ฟังคำสั่งเวลา 10.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 801 ทานตะวัน ทนายความ และตัวแทนพนักสอบสวนผู้ยื่นคำร้องขอถอนประกันมาศาล พร้อมทั้งมีมวลชนและสื่อมวลชนมาร่วมรอฟังคำสั่งในห้องพิจารณาประมาณ 15 คน
ก่อนเริ่มอ่านคำสั่ง ศาลได้ให้ทานตะวันและทนายความตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้เป็นผู้จัดหามาเอง พนักงานสอบสวนไม่ได้ยื่นเพิ่มเติมแต่อย่างใด
เอกสารดังกล่าวมีจำนวน 4 แผ่น เป็นภาพถ่ายขณะตะวันเข้าร่วมกิจกรรมรอรับขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2565 และกิจกรรมเรียกร้องความยุติธรรมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรณีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ได้อำนวยการให้มีการจับกุมควบคุมตัวเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 3 คน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2565 ขณะกำลังนั่งทานอาหารอยู่ที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คาดว่ามีเหตุจากกิจกรรมรอรับเสด็จในเวลาใกล้เคียงกัน และประกอบกับรายงานการสืบสวนกลุ่ม “มังกรปฏิวัติ” โดยเอกสารอย่างหลังนี้ ศาลไม่ได้ชี้แจงว่าตำรวจเป็นผู้ยื่นต่อศาลเพิ่มเติมหรือศาลเป็นผู้จัดทำเอง
จากนั้นศาลได้ถามว่า ต้องการคำตอบเพียงว่าทานตะวันเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองครั้งดังกล่าวจริงหรือไม่
ทานตะวันแถลงต่อศาลยอมรับว่า เข้ารับกิจกรรมทั้งสองครั้งดังกล่าวจริง ทนายแถลงต่อว่า การเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 6 เม.ย. 2565 นั้น เป็นการร่วมรอรับขบวนเสด็จจริง แต่ทานตะวันนั่งอยู่ในพื้นที่จุดคัดกรอง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนล้อมรักษาความสงบอยู่โดยรอบ และในวันดังกล่าวเธอไม่ได้รบกวนหรือสร้างความวุ่นวายต่อขบวนเสด็จเลยแม้แต่น้อย
ด้านกิจกรรมวันที่ 15 เม.ย. 2565 ทนายแถลงว่า เป็นกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับขบวนเสด็จหรือสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด แต่เป็นกิจกรรมเรียกร้องความเป็นธรรมต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรณีเยาวชน 3 ราย อายุ 13, 16 และ 17 ปี ถูกตำรวจและเจ้าหน้าที่ พม. เข้าจับกุมขณะนั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ร้านแมคโดนัล ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2565
จากนั้นศาลได้พูดย้ำถึงเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ว่า เข้าใจเงื่อนไขทั้งสามหรือไม่ และพูดอีกว่า “เอาเวลาของคุณมาสู้คดีที่มีก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งไปสร้างคดีใหม่ สู้คดีที่มีกับศาลก่อนเพื่อแสดงเจตนาว่าบริสุทธิ์จริงๆ ทำแบบนี้มีแต่จะเพิ่มคดี เพิ่มเงื่อนไขการปล่อยตัวให้กับตัวเอง”
ทนายแย้งศาลว่า “การร่วมรับเสด็จนั้นเป็นสิ่งปกติที่ราษฎรพึงทำได้ไม่ใช่หรือ”
ศาลตอบว่า “การร่วมรับเสด็จนั้นประชาชนทุกคนสามารถทำได้ แต่กรณีของทานตะวันถือว่าผิดวิสัย ใส่เสื้อดำ ไม่ได้ใส่เสื้อเหลือง และยังถูกกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ด้วย” และได้พูดเปรียบเทียบอีกว่า “หากคุณใส่เสื้อดำไปร่วมงานแต่งงาน เขาจะให้คุณเข้างานไหม เขาคงไม่ให้คุณเข้างานหรอก เพราะมันไม่ปกติ” และบอกอีกว่า การร่วมรอรับขบวนเสด็จของผู้ต้องหาในวันที่ 6 เม.ย. 2565 หากไม่มีตำรวจอยู่ดูแลความสงบโดยรอบ ผู้ต้องหาคงจะก่อเหตุต่อขบวนเสด็จไปแล้ว
ศาลบอกอีกว่า “ตั้งแต่เป็นผู้พิพากษาทำคดีมา ยังไม่เคยเห็นใครไปทำกิจกรรมที่ผิดเงื่อนไข ขณะที่ศาลยังทำการไต่สวนไม่แล้วเสร็จเลย”
ทนายแถลงเพิ่มเติมอีกว่า “ผู้ต้องหาถูกจับกุมและถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษด้วย” ศาลตอบว่า “นั่นสิ ทำไมนักเรียนไทยมีเป็นแสนเป็นล้านคน ทำไมเขาถึงไม่ถูกรบกวนเหมือนอย่างนี้บ้าง”
++เปิดคำสั่งถอนประกัน ศาลชี้ร่วมรับเสด็จ 17 มีนา – 6 เมษา เป็นการสร้างความวุ่นวาย ด้านโพสต์โพลล์ขบวนเสด็จเดือดร้อนหรือไม่ เป็นการกระทำในลักษณะที่ถูกกล่าวหาอีก++
หลังศาลไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วเสร็จ ศาลได้อ่านคำสั่งต่อทันที โดยพริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันตะวันในคดีนี้
“เห็นว่าตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ปรากฏภาพของผู้ต้องหาโพสต์หมายกำหนดการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ซึ่งเป็นหมายกำหนดการของวันที่ 17 มี.ค. 2565
แสดงว่าผู้ต้องหาทราบหมายกำหนดการเสด็จแล้ว แต่ผู้ต้องหายังคงเดินทางไปบริเวณที่มีการเสด็จตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น. และอยู่ในบริเวณดังกล่าวจนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. ตลอดระยะเวลาที่ผู้ต้องหาอยู่ในบริเวณดังกล่าว ผู้ต้องหาโพสต์ข้อความบรรยายถึงพื้นที่โดยรอบ โดยมิได้มุ่งหมายเข้าร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง แม้ผู้ต้องหาจะระบุข้อความว่า ‘จะไปกินแม็คก็ไม่ยอมให้ไป เพราะขบวนเสด็จพ่อหลวงจะผ่านตรงนั้น ทรงพระเจริญ’ ตามเอกสารท้ายคำร้องแผ่นที่ 14
แต่หากผู้ต้องหาต้องการไปรับประทานอาหารจริง ผู้ต้องหาสามารถระบุสถานที่รับประทานอาหารได้ตั้งแต่เวลา 17.00 น. และหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวได้ แต่หาได้ทำเช่นนั้นไม่ ผู้ต้องหามุ่งที่จะร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งการที่ผู้ต้องหาโพสต์ตามเอกสารท้ายคำร้องแผ่นที่ 9 พร้อมบรรยายข้อความว่า ‘ขบวนเสด็จเดือดร้อน’ แม้จะเป็นภาพที่ผู้ต้องหาเคยโพสต์มาก่อน แต่ผู้ต้องหาก็เลือกที่จะโพสต์ข้อภาพดังกล่าวได้อีกหรือไม่ก็ได้ การที่ผู้ต้องหาเรื่องโพสต์ข้อความดังกล่าวอีกครั้งถือว่าผู้ต้องหากระทำการในลักษณะเดียวกันกับที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาในคดีนี้
อีกทั้งผู้ต้องหารับข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2565 และวันที่ 15 เม.ย. 2565 ผู้ต้องหาให้การรับว่าเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับตามเอกสารที่ศาลให้ตรวจดู การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา”
++ส่งตะวันเข้าเรือนจำทันที โดยไม่รอการยื่นประกัน ทนายชี้ผิดวิสัย เพราะต้องส่งผู้ต้องหาเข้าเรือนจำวันละรอบในช่วงเย็นเท่านั้น++
หลังศาลมีคำสั่งถอนประกัน มวลชนและเพื่อนของตะวันได้มาพูดคุยให้กำลังใจครู่หนึ่ง โดยช่วงหนึ่งทานตะวันได้พูดกับแซม สาแมท ว่า “ฝากด้วยนะ” ก่อนตำรวจศาลจะควบคุมตัวเธอไป แซมได้ตะโกนทิ้งท้ายกับเธอว่า “อย่าลืมว่าเธอไม่ใช่ผู้ต้องหา!” จากนั้นมวลชนที่เข้าใจว่าทานตะวันจะถูกควบคุมไปไว้ที่ห้องเวรชี้ใต้ถุนศาล ได้ไปพบทานตะวันในที่ดังกล่าว
ต่อมา เวลา 11.37 น. ตำรวจศาลได้มาแจ้งกับทนายความและมวลชนว่า “ทานตะวันถูกควบคุมตัวไปยังทัณฑสถานหญิงกลางแล้ว” โดยจะไม่ควบคุมตัวไว้ในห้องเวรชี้ใต้ถุนศาลอาญา และรอการยื่นขอประกันตัวจากทนายความ
ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่ผิดวิสัย เนื่องจากตามปกติแล้วผู้ต้องหาทุกคนจะถูกควบคุมตัวไว้ในห้องเวรชี้ก่อน และเมื่อยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว และศาลมีคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจึงจะถูกควบคุมตัวไปเรือนจำพร้อมกับผู้ต้องหาคนอื่นๆ ในเที่ยวรถของราชทัณฑ์เที่ยวเดียว คือในเวลาประมาณ 17.00 น.
หลังมวลชนทราบว่าทานตะวันถูกควบคุมไปทัณฑสถานหญิงกลางแล้ว มวลชนได้ไปยืนรอบริเวณถนนตรงข้ามกับห้องเวรชี้และต่อว่าตำรวจศาล
จากนั้นทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทานตะวันต่อศาลอาญา โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด มูลค่า 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ เปิดเผยว่า การนัดฟังคำสั่งวันนี้ ศาลได้นำข้อเท็จจริงมาไต่สวนเพิ่มเติม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้อยู่ในคำร้องขอถอนประกันของพนักงานสอบสวน เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังการยื่นคำร้องของพนักงานสอบสวนและเกิดขึ้นหลังการไต่สวนคำร้องขอถอนประกันในครั้งที่ผ่านมา อีกทั้งศาลยังไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวล่วงหน้ากับผู้ต้องหาและทนายความ ทำให้ผู้ต้องหาไม่มีโอกาสเตรียมตัวและแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
ต่อมาเวลาประมาณ 16.30 น. เจ้าหน้าที่ศาลอ่านคำสั่งของศาลที่สั่งยกคำร้อง ระบุว่า “กรณีจำเลยเคยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วโดยมีเงื่อนไข ห้ามมิให้กระทำการในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่จำเลยยังกระทำการในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา อันถือเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองจนศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ในชั้นนี้จึงน่าเชื่อว่าหากให้ปล่อยชั่วคราวไป จำเลยจะไปก่อให้เกิดภัยอันตรายอย่างอื่นอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง”
การสั่งถอนประกันและการไม่ให้ประกันในวันนี้ ทำให้ “ตะวัน” ต้องถูกคุมขังระหว่างการสอบสวนที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/42687) -
วันที่: 22-04-2022นัด: ฝากขังครั้งที่ 5ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังตะวันครั้งที่ 5 หลังศาลเพิกถอนประกันตะวันในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ทำให้เธอถูกฝากขังระหว่างสอบสวนในผัดที่ 4 มาตั้งแต่วันนั้น ซึ่งครบกำหนดฝากขังในวันที่ 23 เม.ย. 2565 ในวันนี้พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง จึงมายื่นคำร้องขอฝากขังตะวันต่อเป็นผัดที่ 5 เป็นระยะเวลา 12 วัน โดยอ้างว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องสอบพยานอีก 4 ปาก ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขังต่อ
ที่ห้องพิจารณาคดี 915 ตะวันปรากฏตัวผ่านจอภาพวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยติดต่อมาจากทัณฑสถานหญิงกลาง เธอสวมชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาล สวมหน้ากากอนามัย โดยมีหน้ากากใสคุมหน้าอีกชั้นหนึ่ง และสวมชุดกันฝนสีเหลืองโปร่งใสตั้งแต่หัวจรดเท้าเป็นชั้นนอก
ทนายความพูดคุยกับตะวันครู่ใหญ่ก่อนจะมีการไต่สวน โดยแจ้งเธอว่าหลังศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกันในคดีนี้ทนายได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวเธอในวันดังกล่าวแล้วทันที แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และได้บอกกับเธออีกว่า ช่วงเช้าของวันนี้เพื่อนของเธอ 3 คน ถูกออกหมายจับในคดีมาตรา 112 และถูกพาตัวไป ปอท. เพื่อดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้
ตะวันเมื่อได้ยินดังนั้นเธอรู้สึกตกใจพอสมควรและพยายามถามย้ำว่า “ถูกจับไปตอนไหน, ถูกพาไปที่ไหน” วนอยู่เช่นนั้นประมาณ 2-3 ครั้ง ทนายจึงบอกกับเธอว่า “ขอให้ใจเย็นๆ ทุกคนกำลังพยายามหาทางช่วยเหลือกันอยู่”
เวลา 11.43 น. ผู้พิพากษาออกพิจารณาคดีและเริ่มดำเนินการไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 5 พ.ต.ท.สำเนียง โสธร พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ผู้ยื่นคำร้องแถลงว่า ขอฝากขังผู้ต้องหาไปอีกเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. ไปจนถึง 5 พ.ค. 2565 เพื่อสอบปากคำพยาน จำนวน 4 ปาก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมเพื่อตีความเนื้อหาที่ผู้ต้องหาพูดขณะไลฟ์สด, แพทย์นิติเวชผู้ตรวจร่างกายผู้ต้องหา และเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) ผู้ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาในวันเกิดเหตุและได้รับบาดเจ็บ 1 ราย, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกฎหมาย เพื่อขอความเห็นว่าเมื่อได้รับฟังเนื้อหาที่ผู้ต้องหาพูดขณะไลฟ์สดแล้วมีความรู้สึกอย่างไรในฐานะประชาชนคนไทย
ด้านทนายความแถลงคัดค้านการขอฝากขังในครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า พยานทั้ง 4 ปากนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับผู้ต้องหา และผู้ต้องหาอายุเพียง 20 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่มีความสามารถที่จะไปยุ่งเกี่ยวหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ การขังผู้ต้องหาไว้จึงไม่มีความจำเป็น
นอกจากนี้ยังไม่ทราบช่วงเวลาที่ชัดเจนที่พยานทั้ง 4 ปากจะเข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน ซึ่งอาจเกินระยะเวลา 12 วันตามที่ร้องขอต่อศาลก็ได้ ซึ่งหากเวลาล่วงเลยไปนานเท่าใดก็จะส่งผลเสียต่อผู้ต้องหาเองในทุกทาง และขอให้ศาลพิจารณาไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาบริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิดจริง ซึ่งก็ควรปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
ศาลแถลงว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นทุกวันนี้ หากมีการไต่สวนคำร้องขอฝากขังไม่ว่าจะครั้งใดก็ตาม ศาลจะมีแนวทางให้เบิกตัวผู้ต้องหาจากเรือนจำผ่านวิธีวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ทุกกรณี โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่มีข้อยกเว้นให้กับบุคคลใดเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคระบาด
ทนายแย้งว่า ครั้งนี้เป็นการขอฝากขังครั้งที่ 5 จากทั้งหมด 7 ครั้ง ซึ่งต่อไปจะเหลือการขอฝากขังอีกเพียง 2 ครั้งแล้ว ในครั้งหน้าจึงขอให้ศาลอนุญาตให้เบิกตัวผู้ต้องหาจากเรือนจำเพื่อเข้าร่วมไต่สวนที่ศาลได้ ผู้ต้องหาและทนายจะได้พูดคุยและปรึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคดีกันได้อย่างสะดวกใจ โดยผู้ต้องหายินดีที่จะกลับไปกักตัวเพิ่มที่เรือนจำเป็นเวลา 14 วันหากถูกเบิกตัวมาศาล
ศาลย้ำว่า ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ศาลได้วางไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และย้ำว่าผู้ต้องหาจะไม่เสียประโยชน์ในการต่อสู้คดีอย่างแน่นอน เนื่องจากการเบิกตัวมาเข้าร่วมการไต่สวนผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ก็ยังสามารถต่อสู้คดีได้ดังเดิมทุกประการ
ศาลยังย้ำอีกว่า “ขอให้ทานตะวันรักษาสุขภาพให้ดี แล้วมาสู้กันใหม่ …”
จากนั้นศาลได้กล่าวกับพนักงานสอบสวนว่า การยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งต่อไป พยานที่จะต้องสอบปากคำจะต้องมีจำนวนลดน้อยลงจาก 4 ปากที่ได้ยื่นไว้ในวันนี้ และจะต้องมีความคืบในการสอบสวน นอกจากนี้ศาลย้ำอีกว่าจะต้องสอบสวนพยานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องหาด้วยเช่นกัน
ทนายได้ถามพนักงานสอบสวนผู้ยื่นคำร้องว่า “พยานทั้ง 4 ปากที่ตำรวจต้องการสอบปากคำนั้น ผู้ต้องหาไม่สามารถไปยุ่งเหยิงอยู่แล้วใช่หรือไม่” พนักงานสอบสวนตอบว่า “ใช่”
เวลา 12.20 น. การไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 5 เสร็จสิ้น โดยศาลได้นัดฟังคำสั่งในเวลา 13.30 น.
เวลา 13.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 12 วัน ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง โดยมีรายละเอียดคำสั่ง ดังนี้
“พิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคำร้องและข้อคัดค้านของผู้ต้องหาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 วางหลักเกณฑ์การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุมไว้ซึ่งเป็นขั้นตอนเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
คดีนี้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนครั้งที่ 5 มีกำหนดระยะเวลา 12 วัน อ้างว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากต้องทำการสอบสวนพยานอีก 4 ปาก ได้แก่ พยานด้านภาษาและวัฒนธรรม, แพทย์นิติเวชผู้ตรวจร่างกายผู้ต้องหา และเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน รวมถึงพยานผู้มีความรู้ด้านกฎหมายเพื่อให้ความเห็นประกอบคดี
กรณีจึงมีเหตุผลและความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน ผู้ต้องหาคัดค้านว่าพยานทั้ง 4 ปากไม่เกี่ยวกับคดี การฝากขังไม่มีเหตุจำเป็น ผู้ต้องหาอายุ 20 ปีเศษ ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีและหากพนักงานสอบสวนมีหมายเรียก ผู้ต้องหาจะมาตามหมายเรียก เห็นว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องฝากขัง เพื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติม ขอให้ออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ ซึ่งเป็นกระบวนการก่อนฟ้องที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาลเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี ถึงกระนั้นผู้ต้องหาก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอยู่แล้ว จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาได้ตามขอ”
หลังมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ศาลได้กล่าวกำชับกับพนักงานสอบสวนว่าขอให้ดำเนินการสอบสวนพยานอีก 4 ปากตามที่ได้ร้องขอโดยเร็วที่สุดและให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความคืบหน้า ศาลจะไม่อนุญาตให้ฝากขังในครั้งหน้าอีก และศาลยังกล่าวอีกว่าแม้ศาลจะอนุญาตให้ฝากขังในวันนี้ แต่ผู้ต้องหาก็ยังสามารถยื่นขอประกันตัวได้อีก
ตะวันได้พูดคุยกับทนายความต่ออีกครู่ใหญ่ เธอบอกว่าต้องการจะสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งจะเปิดรับในต้นเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ จึงอยากจะฝากส่งต่อเรื่องนี้ให้เพื่อนข้างนอกจัดการแทน เพราะกลัวว่าจะสมัครไม่ทัน
ตะวันยังฝากขอให้ซื้อ “ช้อน” และ “น้ำยาล้างจาน” เข้ามาให้ด้วย เพราะช้อนในเรือนจำมีไม่พอใช้ ต้องแย่งกันใช้และไม่สะอาดด้วย ส่วนชุดผู้ต้องขังนั้น เธอบอกว่ามีคนซื้อให้แล้ว 2 ชุด ไม่ต้องซื้อมาเพิ่มให้แล้ว เธอฝากบอกทุกคนข้างนอกเพียงสั้นๆ ว่า “คิดถึง” และฝากบอกพ่อกับแม่ว่า “ไม่ต้องเป็นห่วง”
“บอกสั้นๆ แค่นี้พอ เพราะเดี๋ยวก็ได้ออกไปแล้ว” เธอพูดพลางหัวเราะไปด้วย
วันนี้ตะวันอดอาหารเข้าวันที่ 3 แล้ว เธอบอกว่ารู้สึกอ่อนเพลียเล็กน้อย แต่ก็ยังไหวอยู่ แต่วันแรกที่อดอาหารนั้นรู้สึกไม่มีแรงมากๆ แต่ตอนนี้โอเคแล้ว จากนั้นทนายได้เล่าให้เธอฟังว่า เมื่อวานนี้ เพื่อนๆ ของเธอและประชาชนจำนวนหนึ่งได้มาเรียกร้องให้ปล่อยตัวตะวันหน้าศาลอาญา โดยหลายคนแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยวิธีเปลือยกายด้วย ตะวันฟังแล้วยิ้มและบอกว่า “ฝากขอบคุณพวกเขามากๆ ถ้าออกไปแล้วเจอกันนะ”
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/42805) -
วันที่: 05-05-2022นัด: ฝากขังครั้งที่ 6เวลา 14.00 น. ศาลอาญา รัชดาฯ นัดไต่สวนคำร้องฝากขังทานตะวันครั้งที่ 6 หลังพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ยื่นขอให้ศาลฝากขังต่อไปอีกเป็นเวลา 12 วัน โดยอ้างว่าต้องสอบสวนพยานอีก 2 ปาก ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 – 17 พ.ค. 2565 ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน แม้ทนายความยื่นคัดค้าน
++ไต่สวนขอฝากขัง ตำรวจ ‘ตอบวกวน’ ว่าเหตุใดต้องขังต่ออีก ทั้งๆ ที่ ผตห.ไม่หลบหนี-ไม่ยุ่งเหยิงกับพยาน-มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทนายสวนตำรวจทำงานล่าช้า 12 วัน สอบพยานได้แค่ 2 ปาก++
เวลา 14.00 น. ที่ห้องเวรชี้ ชั้น 1 ศาลเริ่มทำการไต่สวนคำร้องขอฝากขังผัดที่ 6 โดยมี พ.ต.ท.สำเนียง โสธร พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ผู้ยื่นคำร้อง และทนายความผู้ต้องหาเข้าร่วม
ทั้งนี้ศาลไม่ได้เบิกตัวตะวันมาเข้าร่วมการไต่สวนแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่อ รวมถึงเห็นว่าผู้ต้องหาได้แต่งตั้งทนายความในคดีนี้แล้ว ซึ่งสามารถทำการเบิกความคัดค้านแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องเบิกตัวผู้ต้องหาจากทัณฑสถานหญิงกลาง
พ.ต.ท.สำเนียง โสธร ผู้ยื่นคำร้องเบิกความว่า เช้าวันนี้ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังตะวันต่อไปอีก 12 วัน เนื่องจากจำเป็นจะสอบปากคำพยานอีก 2 ปาก ได้แก่ แพทย์นิติเวชผู้ตรวจร่างกายผู้ต้องหาและเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนที่ได้รับบาดเจ็บหลังเข้าทำการจับกุมผู้ต้องหา และพยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อขอความเห็นประกอบสำนวนคดี
พยานอีก 2 ปากที่เหลือนั้น เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งคู่ ด้านพยานแพทย์นิติเวชพยานได้ทำการตรวจร่างกายผู้ต้องหาและตำรวจแล้วเสร็จ เหลือเพียงการสอบปากคำเท่านั้น
ส่วนพยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมาย พนักสอบสวนบอกว่ายังไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นผู้ใด โดยจะแจ้งให้ทราบในภายหลังเมื่อหาพยานปากดังกล่าวได้แล้ว การสอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายนั้นมีจุดประสงค์เพื่อขอความเห็นไปประกอบสำนวนคดีว่า ผู้ต้องหากระทำผิดตามมาตรา 112 จริงและอย่างไรบ้าง เพื่อให้ศาลเข้าใจว่าการกระทำของผู้ต้องหามีความผิดจริง
ทนายความผู้ต้องหาคัดค้านการขอฝากขัง โดยให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหาเป็นเพียงนักศึกษา ไม่มีอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานทั้ง 2 ปากได้ แม้จะไม่ขังผู้ต้องขังไว้ ผู้ต้องหาก็ไม่อาจทำให้การสอบสวนของตำรวจเสียหายได้ และพนักงานสอบสวนยังดำเนินการสอบปากคำพยานได้ตามปกติ
พ.ต.ท.สำเนียง เบิกความว่า เห็นด้วยว่าผู้ต้องหาไม่สามารถเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานทั้ง 2 ปากที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐได้ และเป็นบุคคลที่ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเป็นใครได้ โดยรับด้วยว่าผู้ต้องหาไม่มีทีท่าจะหลบหนี และเมื่อมีหมายเรียกก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ทนายเบิกความว่า ตะวันถูกขอฝากขังมานาน 16 วันแล้ว ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่เคยหลบหนี ตามมานัดหมายของศาลตลอด ศาลเรียกตัวมาไต่สวน ในวันที่อาจจะมีการถอนประกันก็ไป ไม่เคยบ่ายเบี่ยงหรือผิดนัดแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนผู้ปกครองก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเช่นกัน และยังมีสถานที่ทำงานให้สามารถติดตามตัวได้อีกด้วย
ทนายถามย้ำพนักงานสอบสวนอีกว่า “ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งใช่ไหม” พ.ต.ท.สำเนียง ตอบว่า “ใช่”
ทนายถามอีกว่า “ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาไม่มีอิทธิพลจะไปยุ่งเหยิงกับพยานทั้ง 2 ปากที่เป็นข้าราชการใช่หรือไม่” พ.ต.ท.สำเนียง ตอบว่า “ใช่” และทนายถามอีกว่า “ผู้ปกครองของผู้ต้องหามีก็ที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงานเป็นหลักแหล่งใช่หรือไม่” พ.ต.ท.สำเนียง ก็ตอบอีกว่า “ใช่”
ทนายสอบถามว่า เหตุที่ขอฝากขังต่ออีก 12 วัน เพราะตำรวจมีเหตุผลอย่างเดียว คือ ‘กลัวผู้ต้องหาหลบหนีใช่หรือไม่’ ซึ่งทาง พ.ต.ท. สำเนียงกลับไม่สามารถตอบได้ชัดเจนตลอดการไต่สวน และเลี่ยงที่จะไม่ตอบตรงๆ หากแต่กล่าวเพียงว่าตำรวจจะต้องมาขอให้ขังทุกครั้งไป เพราะยังทำการสอบสวนไม่เสร็จ โดยทนายความก็ได้อธิบายต่อหน้าผู้พิพากษาและตำรวจผู้ร้องเพิ่มเติมว่า การทำงานของตำรวจนั้นล่าช้ามากและเป็นการขังผู้ต้องขังไว้อย่างไม่มีความจำเป็น ผิดเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการมาขอฝากขังของตำรวจนั้น ที่จริงเป็นคนละเรื่องกับการถอนประกันจากเหตุที่เด็กผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาล การฝากขังผู้ต้องหาที่ยังไม่ใช่จำเลย อัยการยังไม่ได้สั่งฟ้องแต่อย่างใดนั้น จะต้องทำไม่เกินแก่ความจำเป็น ก่อนหน้านี้ตำรวจก็ได้ขอฝากขังต่อศาลไปแล้วเป็นเวลา 12 วันจนครบผัด โดยอ้างว่าต้องสอบปากคำพยานจำนวน 4 ปาก แต่ 12 วันผ่านไปตำรวจสอบปากคำพยานเสร็จแค่ 2 ปาก ซึ่งนับว่าช้ามาก
ทนายกล่าวต่อว่า “กฏหมายมอบอำนาจให้ทนายความพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ต้องหา ไม่ให้ผู้ต้องหาสูญเสียสิทธิและเสรีภาพ และย้ำว่าการขังผู้ต้องหาต่อไป ไม่ได้มีความจำเป็นและมีประโยชน์ใดๆ”
พ.ต.ท.สำเนียง ตอบว่า “เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่สามารถขอฝากขังผู้ต้องหาได้ เพื่อจะได้มีเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานในสำนวนคดีให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ไม่ได้เกรงกลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานแต่อย่างใด”
ทนายถามย้ำพนักงานสอบสวนอีกครั้งเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในการคัดค้านขอฝากขังว่า “ไม่เคยเห็นผู้ต้องหามีพฤติการณ์ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานมาก่อนใช่หรือไม่” พ.ต.ท.สำเนียง ตอบว่า “ใช่” ทนายถามอีกว่า “ผู้ต้องหาไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนีใช่หรือไม่” ซึ่งในครั้งนี้ พ.ต.ท.สำเนียง ตอบว่า “ไม่ทราบ”
จากนั้นทนายผู้ต้องหาได้สรุปเหตุผลในการขอคัดค้านการฝากขังว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้ เกินกว่าความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี” และประกอบกับเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ผู้ต้องหาไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้
2. พนักงานสอบสวนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผู้ต้องหาไว้ต่อไป
3. ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
4. พยาน 2 ปาก ที่พนักงานสอบสวนจะต้องสอบปากคำนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาไม่ว่าทางใด
5. พนักงานสอบสวนผู้ยื่นคำร้องขอฝากขังให้การยืนยันด้วยตนเองว่า ‘ไม่กลัวว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี’
จากนั้นศาลกล่าวว่า “การสอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายเพื่อขอความเห็นมาประกอบสำนวนคดีนี้นั้นไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ต้องหาถูกคุมขังมาเป็นเวลานานแล้ว ตำรวจควรรีบดำเนินการสอบปากคำพยานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พยานปากไหนที่ไม่สำคัญก็ให้ตัดออกไปได้”
จากนั้นเมื่อทนายความถาม พ.ต.ท.สำเนียง ว่า หากครั้งนี้ศาลไม่ให้ขังไว้และปล่อยตัวไป ตำรวจจะมาคัดค้านการประกันตัวอีกหรือไม่ ซึ่งสำหรับคำถามนี้ พ.ต.ท.สำเนียง ได้ตอบกลับว่า “ผมมีความจำเป็นที่จะต้องทำไปตามหน้าที่ สมควรหรือไม่ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล”
++หลังไต่สวนเสร็จไม่ถึง 2 นาที ศาลอ่านคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 12 วันทันที++
เวลาประมาณ 14.30 น. หลังดำเนินการไต่สวนคัดค้านขอฝากขังแล้วเสร็จ จากนั้นผู้พิพากษาได้เดินเข้าไปปรึกษาผู้พิพากษาท่านอื่นอีกหนึ่งท่านในห้องผู้พิพากษาเวรประจำวัน ใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที ก่อนจะเดินออกมาและอ่านคำสั่งทันที
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันตามคำร้องของพนักงานสอบสวนต่อไปอีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 – 17 พ.ค. 2565 เนื่องจากเห็นว่าพนักงานสอบสวนมีความจำเป็นที่จะต้องสอบปากคำพยานอีก 2 ปาก โดยระบุในคำสั่งเพิ่มเติมว่า หากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาอีกในครั้งหน้าศาลจะพิจารณาโดยเคร่งครัด
หลังอ่านคำสั่ง ศาลได้บอกว่า “อนุญาตให้ฝากขังต่ออีก 12 วัน แต่บอกไม่ได้ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ฝากขังครั้งสุดท้ายหรือไม่” และได้กำชับพนักงานสอบสวนครั้งสุดท้ายว่า “ขอให้เร่งรัดการสอบสวนขึ้นอีกนิดหนึ่ง”
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการอนุญาตให้ขังในครั้งก่อน ผู้พิพากษาก็มีการจดคำสั่งและกระบวนพิจารณาในแบบเดียวกัน คือมีการปรามว่าหากทำงานล่าช้าก็จะไม่อนุญาตให้ฝากขังอีก แต่อย่างไรก็ดีก็ยังคงสั่งอนุญาตให้ขังตัวผู้ต้องหาไว้
ทั้งนี้ ในคดีข้อหาตามมาตรา 112 กฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการขออำนาจศาลฝากขังได้ครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43335) -
วันที่: 17-05-2022นัด: ฝากขังครั้งที่ 7เวลา 13.30 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังทานตะวันในผัดที่ 7 หลังพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ยื่นขอให้ศาลฝากขังต่อไปอีกเป็นเวลา 12 วัน โดยอ้างว่าทำสำนวนคดีเสร็จแล้ว แต่ต้องส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตามลำดับ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 – 22 พ.ค. 2565 ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน แม้ทนายความยื่นคัดค้าน ขณะตะวันถูกขังพร้อมอดอาหารเป็นวันที่ 28 แล้ว
ที่ห้องพิจารณา 711 ศาลไม่อนุญาตให้เบิกตัวตะวันมาศาล แม้ก่อนหน้านี้ทนายความจะยื่นคำร้องไปแล้วก็ตาม โดยศาลระบุถึงมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด และให้เข้าร่วมการไต่สวนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลางแทน
แต่เมื่อถ่ายทอดสัญญาณจากทัณฑสถานหญิงกลาง กลับพบปัญหาสัญญาณเสียงขัดข้อง เจ้าหน้าที่ศาลจึงพยายามแก้ไขอยู่ประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง กระทั่งศาลแจ้งว่าจะดำเนินการไต่สวนโดยไม่มีตัวผู้ต้องหา แต่ทนายค้านว่า ให้ศาลรอเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนได้หรือไม่ เพราะการไต่สวนครั้งที่ผ่านมา ผู้ต้องหาก็ไม่ได้เข้าร่วมไต่สวนและถามค้านด้วย ท้ายที่สุดศาลได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทางการถ่ายทอดสัญญาณอื่น จึงสามารถแก้ไขปัญหาเสียงขัดข้องได้
การไต่สวนเริ่มขึ้น โดยมีพยาน 1 ปาก คือ พ.ต.ท.อรรถวิท เรืองโภควิทย์ พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ให้การว่า ในคดีนี้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน คือ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร ซึ่งในวันนี้ติดภารกิจอื่น พยานจึงได้มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ร้อง
ในคดีนี้พยานไม่ทราบว่าได้ทำการสอบปากคำพยานไปแล้วกี่ปาก พยานไม่เคยสอบปากคำพยานในคดีนี้เลย และไม่ทราบว่าในคดีนี้มีพยานบุคคลพยานหรือวัตถุอยู่ทั้งหมดกี่ลำดับ พยานรู้จักผู้ต้องหา และเป็นผู้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลขณะผู้ต้องหาถูกจับกุมในคดีนี้
ด้านเหตุผลในการฝากขังต่ออีก 12 วันนั้น เนื่องจากจำเป็นจะต้องเสนอสำนวนคดีให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา โดยจะต้องเสนอไปยังกองบังคับการตำรวจ (บก.) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน หรือภายในวันที่ 21 พ.ค. 2565 โดยพยานจะตามเร่งรัดกับผู้บังคับบัญชาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด แต่ในวันนี้พยานได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วันไว้ก่อนเพื่อเผื่อเวลาไว้หากผู้บังคับบัญชาตีสำนวนกลับให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก
ตะวันถามค้านว่า เมื่อตำรวจทำสำนวนเสร็จแล้วและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว มีเหตุผลใดที่จะต้องขอฝากขังตนต่อไปอีก แล้วยังขอเผื่อเวลาอีกด้วย และได้พูดอีกว่า “ขอเหตุผลที่มีน้ำหนักกว่านี้จะได้หรือไม่” ตำรวจตอบว่า ไม่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาสำนวนแล้วเสร็จเมื่อใด 4 วัน เป็นเพียงเวลาจากการคาดการณ์ของตนเท่านั้น
ทนายถามค้านว่า คดีนี้มีอายุความถึง 20 ปี พนักงานสอบสวนจะตามตัวผู้ต้องหามาฟ้องเมื่อใดก็ได้ เหตุใดจึงต้องฝากขังอีก ตำรวจตอบว่า “ตนไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการพิจราณาว่าเป็นอย่างไรหรือต้องใช้เวลานานเท่าใด ตนแค่มาทำตามหน้าที่เท่านั้น จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องใช้เวลาเท่าใดกันแน่”
ตำรวจตอบอีกว่า ผู้บังคับบัญชาอาจตีกลับสำนวนเพื่อให้ไปสอบปากคำพยานเพิ่มเติมในประเด็นอื่นอีกก็เป็นได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนคดียังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทนายถามค้านว่า การเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นถ้าศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา หรือศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนของพยานใช่หรือไม่ ตำรวจตอบว่า “แม้ศาลจะไม่ให้ฝากขังผู้ต้องหาหรือให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
ตะวันแถลงต่อศาลว่า “หวังว่าศาลจะพิจารณาตามที่ตำรวจได้เบิกว่า หากปล่อยตัวตนเองไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
จากนั้นทนายความแถลงต่อศาลว่า ขอโอกาสให้ผู้ต้องหาได้เบิกความถึงเหตุที่ศาลไม่ควรอนุญาตให้ฝากขังอีกต่อไป โดยเฉพาะประเด็นการเสียโอกาสในการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ผู้ต้องหายังเป็นเพียงเยาวชนและกำลังศึกษาอยู่ แต่ศาลไม่อนุญาตให้เบิกความ และบอกว่าจะบันทึกเฉพาะในประเด็นการไต่สวนผู้ร้องกรณีขอฝากขังเท่านั้น
หลังดำเนินการไต่สวนจนแล้วเสร็จ ศาลได้นัดฟังคำสั่งภายในวันนี้ โดยกล่าวว่า “ขอให้รอฟังคำสั่ง จะให้ฝากขังหรือไม่อย่างไร จะต้องขอไปปรึกษา ‘อธิบดีศาลอาญา’ ก่อน”
++ศาลให้ฝากขังต่ออีก 5 วัน ชี้เป็นการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่ง เป็นเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวนตามกฎหมาย++
เวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน โดยเห็นว่าการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นอาจจะถูกตีกลับให้ไปทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องอีกก็ได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนยังไม่เสร็จสิ้น ถือเป็นกรณีจำเป็นให้ฝากขังต่อ รายละเอียดคำสั่งโดยสรุป ดังนี้
“เห็นว่าการสอบสวนตามกฎหมายนั้น กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์ให้เห็นถึงความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ดังนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือเพียงการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชา แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว อาจมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมในข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ที่ยังเห็นว่าบกพร่องอยู่ การเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาจึงยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวน ถือว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์
“กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวน อย่างไรก็ตามการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาไม่น่าจะใช้ระยะเวลานานจึงเห็นควรอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาในครั้งที่ 7 นี้ เพียง 5 วัน นับตั้งแต่วันนี้ กำชับให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังนี้”
ลงนามคำสั่งโดยสมบัติ บุญหิรัญ และครรชิต ช่อเกตุ ผู้พิพากษาศาลอาญา
++ศาลยกคำร้องประกันตัว โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุไม่มีหลักฐานอัตราเงินเดือนพิจารณาคำร้องไม่ได้ ทั้งที่แนบหนังสือรับรองจากสภาฯ ระบุอัตราเงินเดือนไว้ชัดเจน++
หลังศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน ทนายความได้ยื่นประกันตัวตะวันในคดีนี้เป็นครั้งที่ 2 ต่อทันที โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ต่อมา เวลา 16.50 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า “ยังไม่ปรากฏหลักฐานอัตราเงินเดือนของผู้ร้องจึงไม่อาจพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ร้องได้ประกอบกับยังไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นที่จะพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว จึงให้ยกคำร้อง”
ลงนามคำสั่งโดย พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ทั้งนี้ “หลักฐานอัตราเงินเดือน” ดังกล่าว ศาลหมายถึง “สลิปเงินเดือน” ซึ่งไม่ได้แนบประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไป แต่อย่างไรก็ตามพิธาได้แนบหนังสือรับรองตำแหน่งและรายได้จากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุอัตราเงินเดือนไว้แล้วอย่างชัดเจน
อีกทั้ง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอผลัดส่งเอกสารสลิปเงินเดือนภายใน 7 วันไป เพื่อให้ศาลพิจารณาคำร้องในวันนี้ก่อนและจะขอยื่นสลิปเงินเดือนดังกล่าวในภายหลังแล้วก็ตาม แต่ท้ายที่สุดศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง
++ตะวันเผยอดอาหาร 28 วัน หน้ามืดวันละหลายหน อ่อนเพลียกว่าเดิมมาก 2 วันที่ผ่านมา รู้สึกว่า “ร่างกายไม่ไหวแล้ว”++
ขณะรอฟังคำสั่งของศาล ทนายความได้พูดคุยกับตะวันโดยเธอได้เปิดเผยว่าการอดอาหารเข้าสู่วันที่ 28 แล้ว ทำให้มีอาการหน้ามืดทุกวัน รู้สึกเพลียมากขึ้น โดย 2-3 วันก่อนหน้านี้รู้สึกว่าร่างกายของไม่ไหวแล้ว แต่ได้นอนพักผ่อนจึงรู้สึกดีขึ้นบ้างเล็กน้อย
ทั้งนี้ ตะวันจะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดฝากขังในผัดที่ 7 ในวันที่ 22 พ.ค. 2565 ตั้งแต่เธอถูกควบคุมในชั้นสอบสวนในคดีนี้ ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวไปแล้ว 2 ครั้ง ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนประกันไปแล้ว 1 ครั้ง และยื่นคัดค้านคำร้องขอฝากขังไปแล้ว 3 ครั้ง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43721) -
วันที่: 20-05-2022นัด: ฝากขังครั้งที่ 8เวลา 13.30 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขัง “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ในผัดที่ 8 หลังพนักงานอัยการยื่นขอให้ศาลฝากขังต่อไปอีกเป็นเวลา 7 วัน โดยอ้างว่าขอเวลาเพื่อพิจารณาสำนวนเพื่อมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ รวมถึงรอความเห็นสั่งฟ้องจากคณะกรรมการอัยการสูงสุด ขณะที่ตะวันถูกขังมาแล้ว 31 วัน
หลังศาลเพิกถอนประกันตะวันในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ทำให้เธอถูกฝากขังระหว่างสอบสวนมาตั้งแต่ผัดที่ 4 และศาลอนุญาตให้ฝากขังเรื่อยมาจนถึงผัดที่ 7 ซึ่งจะครบกำหนดฝากขังในวันที่ 22 พ.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ โดยก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง เจ้าของสำนวนได้สรุปสำนวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสั่งฟ้อง วันนี้พนักงานอัยการจึงมายื่นคำร้องขอฝากขังตะวันต่อเป็นผัดที่ 8 อีกเป็นเวลา 7 วัน (23-29 พ.ค. 2565) ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขังต่อ ศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขัง โดยเบิกตัวตะวันผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ แม้ทนายความจะระบุในคำร้องขอให้เบิกตัวผู้ต้องหามาศาลก็ตาม
ร.ต.อ.ทองสุข พิธรรม พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องขอฝากขังตะวันในครั้งนี้เบิกความว่า คดีนี้ตนเองได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 ในช่วงบ่าย และจะครบกำหนดฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 7 ในวันที่ 22 พ.ค. 2565 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์
สำนวนคดีนี้มีเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาทำความเห็นและทำคำสั่งเป็นจำนวนมาก และคดีนี้เป็นคดีสำคัญที่ต้องเสนอให้คณะกรรมการสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ซึ่งขณะนี้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ได้จัดส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาแล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าวพนักงานอัยการจึงขอยื่นคำร้องให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ต่ออีก 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 23-29 พ.ค. 2565
ทนายผู้ต้องหาถามค้านว่า “การขังผู้ต้องหาไว้ต่อไปเป็นการขังที่เกินแก่ความจำเป็นหรือไม่” ร.ต.อ.ทองสุข ตอบว่า “พยานยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาวันนี้เป็นไปตามหน้าที่และตามกฏหมายเท่านั้น ส่วนศาลจะอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่นั้นเป็นดุลยพินิจของศาล ศาลจะฝากขังหรือไม่ก็ไม่เป็นไร”
ทนายถามว่า “จะขังหรือปล่อยตัวผู้ต้องหาสำนวนคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปใช่หรือไม่” ร.ต.อ.ทองสุข ตอบว่า “ไม่เปลี่ยน แต่หากไม่ขังไว้ก็อาจจะนำตัวผู้ต้องหามาฟ้องคดีไม่ได้ เพราะคดีนี้เป็นคดีสำคัญและมีอัตราโทษสูง”
จากนั้นศาลได้ถามตะวันว่า “รู้จักกับ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส. และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้ซึ่งใช้ตำแหน่ง ส.ส.ยื่นประกันตะวันในครั้งที่แล้ว (17 พ.ค. 2565) และในวันนี้หรือไม่” ตะวันตอบว่า “ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว”
จากนั้นศาลได้อธิบายถึง “คำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว” ตะวันครั้งก่อน ที่ยื่นประกันโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยศาลแถลงว่าคำสั่งไม่ให้ประกันดังกล่าวมีใจความสำคัญอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) สลิปเงินเดือน และ 2) พฤติการณ์พิเศษอื่น
“สลิปเงินเดือน” ศาลชี้แจงว่ามีความสำคัญเพื่อที่ศาลจะได้พิจารณาถึง “รายได้สุทธิ” ซึ่งต่างจาก “อัตราเงินเดือน” โดยอัตราเงินเดือนคือรายได้ที่ยังไม่ถูกหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกไป เช่น ภาษี ฯลฯ แต่สลิปเงินเดือนนั้นจะบอกให้ทราบถึงรายได้สุทธิที่หักค่าใช้ต่างๆ ออกไปแล้ว และแสดงจำนวนรายได้ที่ได้รับจริงๆ ว่าเท่าใดกันแน่ ซึ่งสำคัญต่อการประกอบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว “เพราะเมื่อผู้ต้องหาหลบหนีจะได้บังคับเอาเงินจากนายประกันได้”
ส่วน “พฤติการณ์พิเศษอื่น” นั้นศาลชี้แจงว่า หมายถึงการที่ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องขอเป็นผู้รับรองความประพฤติผู้ต้องหาว่า หากถูกปล่อยตัวไปจะควบคุมไม่ให้ผู้ต้องหาฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวได้ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลต้องการจะนำไปประกอบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อไป
ศาลกล่าวอีกว่า ตะวันเป็นเพียงเยาวชนอายุ 20 ปี ไม่ใช่คนก้าวร้าวอะไร แต่ที่ต้องขังไว้เพราะเป็นไปตามกฏหมาย เนื่องจากคดีมาตรา 112 มีหลักเกณฑ์ต่างจากคดีอื่นๆ ทั่วไป
สุดท้าย ทนายความแถลงต่อศาลเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี โดยได้มาตามนัดหมายของพนักงานสอบสวนและศาลทุกครั้ง ไม่เคยผิดสัญญาแม้แต่ครั้งเดียว
ทั้งนี้ ในระหว่างการไต่สวน ศาลได้ตักเตือนผู้สังเกตการณ์จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการจดบันทึกการไต่สวนว่า “หากจะจด ให้นำไปเผยแพร่ทุกเรื่อง อย่าเลือกเสนอเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น”
++ศาลให้ฝากขังตะวันต่ออีก 7 วัน (23-29 พ.ค.) อ้างให้เวลาอัยการพิจารณาสำนวน-รอความเห็นคณะกรรมการเพื่อมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่++
เวลาประมาณ 14.00 น. สมบัติ บุญหิรัญ และครรชิต ช่อเกตุ ผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันต่ออีก 7 วัน เนื่องจากพนักงานอัยการไม่อาจพิจารณาสั่งได้ทันทีและต้องรอความเห็นว่าจากคณะกรรมการอัยการสูงสุดก่อนจึงจะมีความเห็นสั่งฟ้องได้ กรณีจึงเป็นเหตุจำเป็นเพื่อการฟ้องคดี รายละเอียดคำสั่ง ดังนี้
“พิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคำร้องและข้อคัดค้านของผู้ต้องหาแล้วได้ความจากผู้ร้องว่า ผู้ร้องเพิ่งได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะพิจารณาสั่งฟ้องได้ทัน
ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุดเรื่องแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เอกสารหมาย ร.1 ผู้ร้องต้องส่งสำนวนให้คณะกรรมการของสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน และได้ส่งสำนวนให้ทางคณะกรรมการพิจารณาแล้วในวันเดียวกันหลังจากได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวน แต่ยังไม่ได้รับสำนวนกลับคืนมา ด้วยเหตุดังกล่าวจึงขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลในครั้งนี้อีก 7 วัน และผู้ร้องยืนยันว่าผู้ร้องเองและคณะกรรมการสามารถดำเนินการพิจารณาสั่งคดีได้แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้
ผู้ต้องหาคัดค้านว่า ผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุภยันตรายประการอื่น หากไม่ฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลก็ไม่ได้เป็นเหตุที่จะทำให้ผู้ร้องไม่สามารถที่จะพิจารณาสั่งคดีได้ ขอให้ศาลยกคำร้องขอฝากขัง
เห็นว่าเมื่อผู้ร้องเพิ่งได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 เวลาประมาณ 13.00 น. ทำให้ผู้ร้องไม่อาจพิจารณาสั่งได้ทันที และคดีนี้ก่อนฟ้องคดี ผู้ร้องต้องส่งสำนวนให้คณะกรรมการพิจารณาก่อน กรณีจึงเป็นเหตุจำเป็นเพื่อการฟ้องคดี
ส่วนที่ผู้ต้องหาคัดค้านว่าผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายอื่น จึงไม่มีเหตุที่จะขังผู้ต้องหานั้น เห็นว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรค 1 บัญญัติว่า เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้วในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 57 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ซึ่งมาตรา 66 บัญญัติว่า เหตุที่จะออกหมายจับได้ มีดังต่อไปนี้ 1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี ดังนั้น ตามบทดังกล่าวให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 เมื่อคดีนี้ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 (1)
กรณีการฝากขังของผู้ร้องจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ว่า ผู้ต้องหาจะมีพฤติการณ์หลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66(2) ตามที่ผู้ต้องหาคัดค้าน
จึงเห็นสมควรให้ฝากขังผู้ต้องหาในครั้งที่ 8 นี้เป็นเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ 23 พ.ค. 2565 ถึงวันที่ 29 พ.ค. 2565 แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ต้องหาในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106”
หลังศาลมีคำสั่ง ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ได้แนบเอกสารเพิ่มเติมเป็นสลิปเงินเดือนของพิธาไปด้วย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องในครั้งที่ผ่านมาด้วยเหตุผลว่า ยังไม่ปรากฏหลักฐานอัตราเงินเดือนหรือสลิปเงินเดือนของผู้ร้อง
ต่อมา เวลา 15.50 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้อง และให้ทนายความรวมถึงผู้ร้องเสนอเงื่อนไขประกอบการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลเพิ่มเติม มีรายละเอียดคำสั่ง ดังนี้
“นัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราววันที่ 26 พ.ค. 2565 เวลา 10.00 น. ให้ผู้ร้องเสนอพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา เช่น ผู้ร้องขอเป็นผู้กำกับดูแลผู้ต้องหาอย่างใกล้ชิดเพื่อมิให้ผู้ต้องหาทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนดไว้อีก ดังที่เคยผิดสัญญาประกันมาแล้ว และหากผู้ต้องหาผิดเงื่อนไข ผู้ร้องจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร ให้ผู้ต้องหาและทนายผู้ต้องหาเสนอเงื่อนไขให้ศาลพิจารณาประกอบในการปล่อยตัวชั่วคราวก่อนหรือในวันนัด ให้แจ้งพนักงานสอบสวน หากขอคัดค้านให้ยื่นคำร้องขอคัดค้านก่อนหรือในวันนัด ให้ผู้ร้องมาศาลเพื่อไต่สวนพฤติการณ์พิเศษในวันนัดด้วย”
ด้านตะวันเผยว่า อดอาหารมาครบ 1 เดือนแล้ว น้ำหนักตัวลงลงไปกว่า 4 กิโลกรัม เหลือเพียง 44 กิโลกรัม จากเดิมประมาณ 48 กิโลกรัม มีอาการหน้ามืดบ่อยครั้ง อ่อนเพลีย แต่ยังยืนยันว่ากำลังใจดีอยู่ และฝากขอบคุณทุกคนว่า “เป็นเพราะคนข้างนอกถึงยังมีกำลังใจดีอยู่อย่างนี้ ไม่รู้ว่าถ้าไม่มีกำลังใจจากทุกคน ตอนนี้จะเป็นยังไง” โดยตะวันประกาศจะดื่มแต่น้ำเปล่าเท่านั้นหลังจากไม่ได้ประกันในวันนี้
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43937) -
วันที่: 23-05-2022นัด: ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมอัยการเวลา 15.00 น. ที่ สำนักงานอัยการสูงสุด ทนายความเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด ขอความเป็นธรรมและขอให้สั่งสอบสวนเพิ่มเติม หลังจากในนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังตะวันครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 พบว่า อัยการในคดีนี้ที่เพิ่งได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ได้เร่งรัดเสนอต่ออัยการสูงสุดทันที โดยยังไม่ได้มีระยะเวลาพิจารณาสำนวนคดีอย่างเพียงพอ และยังไม่ได้มีการสอบพยานฝ่ายผู้ต้องหา
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ตะวันถูกคุมขังอยู่และสภาพร่างกายที่อิดโรยมาก ไม่สามารถมาร้องความขอเป็นธรรมได้ด้วยตัวเอง ทนายความของผู้ต้องหาจึงมาดำเนินการแทนตามกฎหมาย โดยมีอิทธิพร แก้วทิพย์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดลงมารับหนังสือดังกล่าวด้วยตนเอง
ในหนังสือที่ยื่นต่ออัยการสูงสุด มีเนื้อหาระบุถึงการขอความเป็นธรรม ดังนี้
1. ในสำนวนคดีนี้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า พนักงานสอบสวนได้นำหมายจับของศาลไปจับกุมตัวผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2565 และแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่มีอายุเพียง 20 ปี ในข้อหาอุกฉกรรจ์หลายข้อหา ทั้งที่พฤติการณ์ที่อ้างมานั้นล้วนแต่เป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยขาดเหตุผลรองรับข้อกล่าวหา โดยเจตนากลั่นแกล้งผู้ต้องหาซึ่งมีความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกับรัฐบาลเท่านั้น
2. ภายหลังจากการที่จับกุมตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนได้ฝากขังผู้ต้องหาจนถึงบัดนี้ นับเป็นเวลา 78 วันแล้ว โดยพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวมาโดยตลอด ในขณะนี้ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกรุงเทพ และโดยพฤติการณ์แห่งการสอบสวนคดี พนักงานสอบสวนเร่งรัดการสอบสวนโดยสอบเฉพาะพยานของผู้กล่าวหาเท่านั้น โดยพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนพยานของผู้ต้องหาแต่อย่างใด ทั้งที่ผู้ต้องหาร้องขอให้สอบสวนพยานของฝ่ายผู้ต้องหาหลายครั้ง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา และเป็นการกระทำที่ผิดต่อประมวลวิธีพิจารณาความอาญาอย่างร้ายแรง เพราะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่พิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ต้องหา
3. การที่ผู้ต้องหาถูกขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกรุงเทพจนบัดนี้ จึงทำให้ไม่มีโอกาสที่จะต่อสู้คดีนี้อย่างเต็มที่ในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด
ทนายความจึงขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีนี้ทำการสอบสวนพยานของผู้ต้องหา เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ได้แก่
1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาในเชิงธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า ไม่ได้เป็นการผิดต่อประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด
2. พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการ, อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิสูจน์ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาว่าไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นเสรีภาพที่ได้รับการปกป้องจากกฎหมาย
3. รณกร บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ประเด็นเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตราอื่นตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด
จนถึงตอนนี้ ตะวันได้ถูกคุมขังและประกาศอดอาหารอยู่ในทัณฑสถานหญิงกรุงเทพนับตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2565 จนถึงวันที่ 23 พ.ค. 2565 มาเป็นระยะเวลา 34 วันแล้ว
(อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด ลงวันที่ 23 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43983)
-
วันที่: 25-05-2022นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นฟ้องตะวันในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2)(3), ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 และ 368 การฟ้องคดีเกิดขึ้นในระหว่างที่ตะวันถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง หลังจากถูกถอนประกัน
คำฟ้องได้ถอดข้อความแต่ละท่อนที่อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กล่าวมาเรียงต่อกัน พร้อมสรุปว่าคำพูดดังกล่าวของจำเลยที่เผยแพร่บนเฟซบุ๊กนั้น มีเจตนาให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อรัชกาลที่ 10 ว่า เหตุที่ม็อบชาวนาต้องย้ายเป็นเพราะพระมหากษัตริย์เสด็จผ่าน และพระมหากษัตริย์ไม่รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน อันเป็นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศรัชกาลที่ 10 หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และเป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
ท้ายคำฟ้อง พนักงานอัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวตะวันในระหว่างพิจารณาคดี โดยให้อยู่ดุลพินิจของศาล แต่ขอให้ศาลนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีชุมนุมไล่ประยุทธ์ที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2564 ของศาลแขวงนนทบุรี พร้อมกับให้ริบโทรศัพท์มือถือ
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44075) -
วันที่: 26-05-2022นัด: ไต่สวนคำร้องขอประกันเวลา 10.00 น. ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอประกันตะวัน โดยให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้าร่วมและให้เบิกตัวตะวันจากเรือนจำมาที่ศาลด้วย หลังเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 ทนายความได้ยื่นขอประกันโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพิธา
อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มการไต่สวน เจ้าหน้าที่ศาลได้แจ้งว่า จะไม่เบิกตัวตะวันมาศาลแล้ว โดยจะให้เบิกตัวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เช่นทุกครั้งแทน โดยให้เหตุผลว่า หากเบิกตัวตะวันมาศาลเกรงว่าตะวันจะอ่อนล้าเกินไป เพราะอดอาหารมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ทนายความเคยยื่นเหตุผลเกี่ยวกับการเบิกตัวจำเลยมาศาลแล้วว่าสะดวกต่อการพูดคุยและสื่อสารกว่า เพราะพบว่าศาลอาญาประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้การสื่อสารภาพและเสียงทางคอนเฟอเรนซ์ขัดข้องบ่อยครั้ง
ห้องพิจารณาคดี 716 มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ประมาณ 17 คน อาทิ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์, พ่อและแม่ของตะวัน, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, สุรีรัตน์ ชิวารักษ์, เบนจา อะปัญ ฯลฯ และยังมีตัวแทนจากสถานทูตอเมริกา เยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีกประมาณ 15 รายที่เดินทางให้กำลังใจ แต่ไม่สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์การไต่สวนภายในห้องพิจารณาได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาลได้จำกัดจำนวนคนในห้องพิจารณาคดีตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ระหว่างรอศาลออกพิจารณาคดี พิธาได้พูดคุยกับตะวันผ่านทางจอภาพ โดยถามว่าสภาพร่างกายจากการอดอาหารเป็นอย่างไรบ้างและกล่าวชมว่าตะวันมีความกล้าหาญมาก พิธาพูดอีกว่าวันนี้มายื่นประกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้แทนราษฎรของประชาชนที่พึงกระทำอยู่แล้ว
สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถามตะวันว่า อยู่ในเรือนจำได้เจอกับ “ใบปอ” และ “เนติพร” หรือไม่ ตะวันตอบว่าทั้งสองยังอยู่ในระหว่างการกักตัว จึงยังไม่ได้เจอกัน แต่เห็นทั้งสองแบบผ่านๆ เท่านั้นในตอนอาบน้ำ
ตะวันบอกอีกว่าตอนนี้อยู่แดนแรกรับ วันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ลดปริมาณการกินนมลงจากเดิม จึงรู้สึกอ่อนเพลียมากๆ แต่ในวันจันทร์ได้กลับมาดื่มนมมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์และเพื่อนผู้ต้องขัง ขณะนี้จึงรู้สึกดีขึ้นมาบ้างแล้ว ส่วนอาการเลือดออกตามไรฟัน ตะวันเล่าว่าได้เข้าพบทันตแพทย์ในเรือนจำแล้ว พบว่าเป็นอาการที่เกิดจากการขาดวิตามินซีและสารอาหารเป็นเวลานาน
จากนั้นการไต่สวนเริ่มต้นขึ้น โดยศาลจะดำเนินการไต่สวนพยาน 3 ปาก ได้แก่ พิธา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอประกัน รวมถึงพ่อและแม่ของตะวัน
พิธาแถลงว่า จริงๆ แล้ววันนี้ตนมีนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่อยากมาร่วมการไต่สวนในวันนี้มากกว่า โดยในคดีนี้มีความเกี่ยวข้องกับจำเลยเป็นผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของจำเลย
ศาลได้สอบถามว่า “หากปล่อยตัวชั่วคราวตะวัน ในฐานะนายประกันจะให้ความมั่นใจต่อศาลได้อย่างไรว่าจะกำกับดูแลจำเลยได้”
พิธาตอบว่า ตนยินดีทำหน้าที่เป็น “ผู้กำกับดูแล” เพื่อให้ตะวันปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล จะทำหน้าที่คอยตักเตือนและดูแลตะวันเอง โดยพ่อและแม่ของตะวันยินยอมให้ศาลแต่งตั้งพิธาเป็นผู้กำกับดูแลของตะวันด้วย
ศาลถามว่า หากตะวันได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวออกไปแล้วและทำผิดเงื่อนไขของศาลอีก พิธาในฐานะนายประกันและผู้กำกับดูแลจะทำอย่างไร พิธาตอบว่า “จะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจรับรองไว้”
ศาลตอบกลับว่า การรับผิดชอบดังกล่าวศาลจะถือว่าเป็นการทำผิดเงื่อนไขสัญญาประกันของศาล ซึ่งอาจจะถูกปรับเงินหรืออาจจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยที่จะกระทำผิดเงื่อนไขของศาลในเวลานั้นก่อน
ศาลกล่าวอีกว่า จริงๆ อยากมีคำสั่งให้ประกันตัวตะวันตั้งแต่ยื่นประกันครั้งก่อนๆ แล้ว เพราะศาลมีความมั่นใจและเชื่อใจ ในการยื่นประกันด้วยตำแหน่ง ส.ส. ของพิธา แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องเพิ่มเติมเงื่อนไขบางประการอีก จึงนัดไต่สวนในวันนี้
ทนายจำเลยแถลงว่า ตามที่ศาลมีคำสั่งในครั้งที่แล้วว่าให้เสนอพฤติการณ์พิเศษอื่น คดีนี้อัยการมีคำสั่งยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวานนี้ แต่ในคำฟ้องดังกล่าวอัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยไว้ นี่คือพฤติการณ์พิเศษ
ศาลกล่าวว่า เหตุผลที่ขังตะวันไว้ในครั้งนี้เป็นเพราะตะวันทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่ใช่เพราะอัยการหรือตำรวจคัดค้านการให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ศาลกล่าวอีกว่า ในคดีนี้จำเลยและทนายความยื่นขอประกันตัวเรื่อยมา การยื่นขอประกันครั้งล่าสุดโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพิธา ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งว่าไม่สามารถพิจารณาคำร้องได้เนื่องจากไม่มี “สลิปเงินเดือน” นั้น ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ศาลแล้วได้ความว่า ในวันนั้นเจ้าหน้าที่ศาลได้บอกกับทนายจำเลยแล้วว่า “สามารถยื่น ‘สำเนาสลิปเงินเดือน’ ไว้ก่อนได้ โดยยังไม่ต้องแนบสลิปเงินเดือนฉบับจริง” แต่ทนายความยืนยันที่จะไม่ยื่นสำเนาสลิปเงินเดือนเอง จึงทำให้เวลาล่าช้ามาจนถึงวันนี้
จากนั้นศาลได้ทำการไต่สวนตะวัน โดยเธอเบิกความตอบว่า รู้จักกับพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตนยินดีที่จะปฏิบัติตนตามเงื่อนไขหากศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว และจะเชื่อฟังพิธาในฐานะผู้กำกับดูแลให้สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ และหากตนถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาล ตนยินดีจะมาศาลพร้อมกับพิธา ในฐานะผู้กำกับดูแล หากตนได้ปล่อยตัวชั่วคราวออกไปจะพักอยู่อาศัยกับพ่อแม่ ผู้ซึ่งเป็นผู้อบรมสั่งสอนและดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตและเล่าเรียนทั้งหมด
จากนั้นศาลเสนอเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวกับตะวันว่ายินดีรับเงื่อนไขต่างๆ ของศาลหรือไม่ ตะวันตอบรับว่ายินดีหากศาลกำหนดเงื่อนไขให้ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM), จำกัดสถานที่, ให้เรียนผ่านระบบออนไลน์, จำกัดการเดินทาง, ให้อยู่ในเคหสถาน, แต่งตั้งให้พิธาเป็นผู้กำกับดูแล และจะไม่กระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอีก
จากนั้นศาลบอกว่าหากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และศาลกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าตะวันจะถูกควบคุมด้วยเงื่อนไขเหล่านั้นตลอดไป หลังได้ปล่อยตัวแล้วให้ตะวันค่อยยื่นคำร้องขอเพิกถอนเงื่อนไขทีละประการเหล่านั้นต่อไปได้
ทนายได้แถลงต่ออีกว่าหากจะกำหนดเงื่อนไขด้านเวลากับจำเลยขอให้ศาลมีดุลยพินิจด้วย เนื่องจากมหาวิทยาลัยของจำเลยได้เปิดทำการสอนโดยให้เรียนในห้องเรียนตามปกติ ไม่ได้ให้เรียนผ่านทางออนไลน์แล้ว
ศาลยังกล่าวว่า ในตอนแรก ศาลจะนัดฟังคำสั่งหลายวันจากนี้ แต่หลังได้ไต่สวนแล้ว ตัดสินใจว่าจะนัดฟังคำสั่งภายในวันนี้เลย โดยในวันนี้ ผู้บริหารศาลอาญาติดภารกิจอยู่ แต่ศาลจะใช้วิธีการ “โทร” ไปเพื่อปรึกษาในการมีคำสั่งว่าจะให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ เพราะเห็นว่าการปล่อยหรือไม่ปล่อยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกทั้งเห็นว่าตะวันถูกขังมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว
ระหว่างที่รอรายงานกระบวนการพิจารณา ศาลยังได้เรียกพ่อและแม่ของตะวันขึ้นมาสอบถามเพิ่มเติมอีก โดยทั้งสองเบิกความตอบว่าหากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่ขัดข้องกับเงื่อนไขที่ศาลจะให้ดูแลตะวันอย่างเข้มงวด และยินยอมให้ตั้งเป็นผู้กำกับดูแล
ศาลกล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอชมว่าตะวันเป็นเด็กดีไม่ก้าวร้าว แต่ยังไงก็ขอฝากพ่อแม่ช่วยดูแลด้วย”
เวลา 13.30 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตะวัน โดยแต่งตั้งให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้กำกับดูแล คำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีกำหนดเวลา 1 เดือน และเงื่อนไขอื่นๆ อีก 5 ประการ มีรายละเอียดคำสั่งโดยสรุป ดังนี้
พิเคราะห์คำเบิกความของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวและจำเลยประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแล้วเห็นว่า ผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวรับรองและยืนยันว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยไม่ให้ผิดเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนด แสดงความรับผิดชอบว่าหากจำเลยผิดเงื่อนไข ผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวยินยอมรับผิดตามที่ศาลเห็นสมควร
ประกอบกับจำเลยรับรองว่าจะไม่ทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนดอีกดังเช่นที่เคยผิดเงื่อนไขมาแล้ว และไม่ขัดข้องที่ศาลจะกำหนดเงื่อนไขในการติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM รวมทั้งการจำกัดเวลาในการอยู่ในเคหสถาน
แสดงว่าจำเลยรู้สึกสำนึกถึงการกระทำผิดเงื่อนไขในครั้งก่อนมาพอสมควรแล้ว ประกอบกับผู้ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือว่าจะกำกับดูแลและควบคุมจำเลยได้ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย
อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยมีกำหนด 1 เดือน นับแต่วันนี้โดยกำหนดเงื่อนไข
1. ให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องติดตามตัว (EM)
2. ห้ามออกนอกเคหสถานตลอดระยะเวลาที่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอนุญาตจากศาล หากเป็นกรณีเจ็บป่วยให้แสดงหลักฐานทางการแพทย์ต่อศาลภายใน 3 วัน
3. ห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาหรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
4. ห้ามจำเลยกระทำการใดๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเกิดความกระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
5. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
โดยตั้งนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นผู้กำกับดูแลความประพฤติของจำเลย มีอำนาจในการว่ากล่าวตักเตือนและควบคุมมิให้จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขของศาลอย่างเคร่งครัด หากมีการกระทำผิดเงื่อนไขถือว่าผู้ร้องขอปล่อยชั่วคราวผิดสัญญาประกัน
ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 27 มิ.ย. 2565 เวลา 09.00 น.
ทั้งนี้ หลังตะวันถูกเพิกถอนประกันในคดีนี้ ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนประกัน 1 ครั้ง ยื่นคัดค้านการขอฝากขังของพนักงานสอบสวนและอัยการ 4 ครั้ง และยื่นขอประกันตัวรวม 3 ครั้ง
จากคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวในวันนี้ทำให้ตะวันจะถูกปล่อยตัวในช่วงเย็นของวันนี้ ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง รวมระยะเวลาถูกคุมขังระหว่างชั้นสอบสวนและระหว่างพิจารณาคดี พร้อมกับอดอาหารประท้วง ทั้งสิ้น 37 วัน
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 26 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44045) -
วันที่: 23-06-2022นัด: ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขประกันทนายความยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขประกันจากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 25 มิ.ย. 2565 เป็นขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลา และขอให้ศาลกำหนดระยะเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งจากเดิมที่ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเคหสถานตลอดเวลา
ต่อมา พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นเวลา 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. 2565 โดยกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวเช่นเดิมทุกประการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล คำขออื่นให้ยก
-
วันที่: 27-06-2022นัด: สอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานทานตะวันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โจทก์แถลงมีพยานบุคคลที่จะนำเข้าสืบ 17 ปาก ไม่มีพยานปากใดที่ฝ่ายจำเลยรับข้อเท็จจริงได้ ใช้เวลาสืบ 4 นัด ทานตะวันและทนายจำเลยแถลงแนวทางต่อสู้คดีว่า การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 112 จำเลยไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่ได้ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน มีพยานบุคคลที่จะนำเข้าสืบ 13 ปาก ใช้เวลาสืบ 3 นัด นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 8, 9, 10 และ 16 ส.ค. 2566 สืบพยานจำเลยวันที่ 17, 18 และ 22 ส.ค. 2566
-
วันที่: 08-08-2022นัด: ยื่นประกัน (ต่อจากสัญญาเดิม)ทนายความยื่นประกันทานตะวัน โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส.พิธา เช่นเดิม เนื่องจากสัญญาประกันเดิมครบกำหนด ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวมีกำหนด 2 เดือน โดยกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวเช่นเดิมทุกประการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
-
วันที่: 05-10-2022นัด: ยื่นประกัน (ต่อจากสัญญาเดิม)ทนายความยื่นประกันทานตะวัน โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส.พิธา เช่นเดิม เนื่องจากสัญญาประกันเดิมครบกำหนด และขอให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลา ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาตามขอ เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เนื่องจากจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้กำไล EM จึงยังคงใช้เงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวเช่นเดิมทุกประการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
-
วันที่: 26-12-2022นัด: ไต่สวนถอนประกันเวลา 09.00 น. ศาลอาญา รัชดา นัดไต่สวนถอนประกันตัวคดีมาตรา 112 ของสองนักกิจกรรม ได้แก่ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมจากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ และ “ใบปอ” (สงวนนามชื่อสกุล) นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง ขณะทนายความเดินทางถึงห้องพิจารณาคดีที่ 801 พบว่า ตารางกำหนดนัดพิจารณาคดีที่ติดอยู่หน้าห้องระบุว่า มีนัดไต่สวนถอนประกันทานตะวันในคดีนี้ด้วย โดยทั้งทานตะวันและทนายความไม่ทราบมาก่อน
ในเวลา 09.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณา และสอบถามว่าจำเลยทั้งสามมาปรากฏตัวต่อศาลในวันนี้หรือไม่ ทนายความจึงแถลงต่อศาลว่ามีเพียงเก็ทกับใบปอเท่านั้นที่มาศาล ส่วนตะวันไม่ได้มา เนื่องจากไม่ได้มีการออกหมายเรียกจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน ประกอบกับในวันนี้ตะวันเดินทางไปให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกที่ สน.ปทุมวัน ส่วนทนายความเองก็เพิ่งทราบเรื่องนี้ตอนที่เห็นตารางนัดหน้าห้องพิจารณา และพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีของตะวันก็ไม่ได้มาศาลในวันนี้ ทนายความจึงขอให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนนัดไต่สวนถอนประกันของตะวันไปก่อน
ศาลเห็นว่า เมื่อจำเลยยังไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนโดยชอบ และติดภารกิจที่ได้นัดหมายมาก่อนหน้านี้แล้ว จึงให้เลื่อนไปนัดไต่สวนถอนประกันวันที่ 9 ม.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/51831) -
วันที่: 09-01-2023นัด: ไต่สวนถอนประกันเวลา 09.00 น. ศาลอาญานัดไต่สวนถอนประกันทานตะวัน กรณีตะวันเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างการประชุม APEC 2022 เช่นเดียวกับ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมจากกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ และ “ใบปอ” (สงวนนามชื่อสกุล) ซึ่งศาลนัดฟังคำสั่งถอนประกันในวันเดียวกันนี้
เก็ท ใบปอ และตะวัน เดินทางมาศาลพร้อมกับครอบครัว โดยในวันนี้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่จากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กรเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีและให้กำลังใจนักกิจกรรมทั้งสามเป็นจำนวนมาก จนเต็มพื้นที่ห้องพิจารณาคดีที่ 912 นอกจากนี้ยังมีตำรวจศาลกว่า 7 นาย มาดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกห้องพิจารณา โดยมีการตั้งโต๊ะตรวจบัตรประชาชนและสัมภาระของทุกคนที่เข้าห้องพิจารณา ทั้งนี้ ทุกคนที่ประสงค์จะเข้าห้องพิจารณา จะต้องลงชื่อไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจศาลด้วย
หลังจากที่ พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกนั่งพิจารณาและอ่านคำสั่งถอนประกันเก็ทกับใบปอเสร็จสิ้น และทั้งสองถูกนำตัวไปคุมขังที่ห้องขังใต้ถุนศาลอาญา ตะวันและประชาชนจึงทยอยเดินย้ายเข้าสู่ห้องพิจารณาคดีที่ 914
เวลา 11.00 น. “ทิม” พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายประกันในคดีของตะวัน เดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดี พริษฐ์ ปิยะนราธร ออกนั่งไต่สวน
ศาลสอบถามพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ว่า ในวันนี้ได้นำพยานหลักฐานเข้ามาไต่สวนเรื่องการกระทำผิดเงื่อนไขประกันของตะวันหรือไม่ อัยการแถลงว่า ตนไม่ทราบเรื่องการไต่สวนในวันนี้มาก่อน เนื่องจากศาลไม่มีการแจ้งใดๆ และตนไม่ทราบข้อเท็จจริงเรื่องการผิดเงื่อนไขประกันในครั้งนี้เลย
อัยการแถลงต่อศาลด้วยว่า อยากให้ศาลทำคำสั่งหรือเอกสารแจ้งไปตามระบบเพราะมิเช่นนั้นอัยการก็ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร ศาลกล่าวว่า เรื่องนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอ แต่ศาลเห็นเอง ศาลมีอำนาจ และอัยการในคดีของโสภณและใบปอก็ยังเดินทางมาไต่สวน และทำหน้าที่ตามที่ศาลได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ศาลไปบอก อย่างไรก็ดี อัยการเจ้าของสำนวนของทานตะวันก็ยังยืนยันว่า ตนไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไร เนื่องจากเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับตน และไม่ได้รับแจ้งมาก่อน และในวันนี้ก็ไม่ทราบเรื่องว่าเป็นเรื่องอะไรเลย
ศาลจึงหันไปถามตำรวจว่า แล้วตำรวจล่ะ รู้อะไรบ้างหรือไม่ ด้านทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า ตนก็ไม่ได้เตรียมตัวมาไต่สวนประกันในครั้งนี้เช่นกัน เนื่องจากทนายความยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องที่ตะวันกระทำผิดเงื่อนไข ผู้พิพากษาจึงแจ้งว่า แต่ข้อเท็จจริงก็คือพยานหลักฐานชุดเดียวกันกับคดีของเก็ทและใบปอ ทนายความจึงถามผู้พิพากษาว่า ท่านต้องการจะให้เอาเอกสารในคดีอื่นมาใช้กับกรณีของทานตะวันด้วยเลยหรือ เอกสารในคดีของเก็ทกับใบปอก็เป็นคดีอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตะวัน และไม่มีความเกี่ยวพันกับการจะถอนประกันทานตะวัน เพราะฉะนั้นในวันที่พยานในคดีอื่นมาเบิกความเกี่ยวกับกรณีของโสภณและใบปอ ทนายความจึงไม่ได้ถามค้านหรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทานตะวันเลย
ทนายจำเลยแถลงต่ออีกว่า ในครั้งนี้ เนื่องจากตำรวจที่มาก็เป็นตำรวจของ สน.อื่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งทนายความจะต้องขอใช้เวลาในการขอคัดถ่ายและขอตรวจสอบเอกสารที่จะส่งเข้ามาใช้กล่าวหาทานตะวัน เพื่อให้เข้าใจข้อกล่าวหาในการไต่สวนถอนประกัน จึงขอเลื่อนคดีเพื่อไปคัดถ่ายเอกสารดังกล่าวและเตรียมตัวต่อสู้คดี
ศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันตะวันในวันที่ 1 มี.ค. 2566 เวลา 10.00 น.
.
อย่างไรก็ตามก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดไต่สวนในคดีนี้ ทนายความได้แถลงและตั้งคำถามต่อศาลใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. การขอให้เพิกถอนประกันในครั้งนี้เป็นกรณีที่ศาลมีความเห็นเองใช่หรือไม่ เพราะไม่ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนหรืออัยการเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการดังกล่าว
ศาลอธิบายว่า กรณีนี้เกิดจากการคดีของเก็ทกับใบปอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมเป็นผู้ขอให้มีการเพิกถอนประกัน และต่อมาเมื่อศาลพิจารณาพยานเอกสารที่ส่งมาพบว่า ตะวันเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมในระหว่างการประชุม APEC 2022 ด้วย ศาลจึงเห็นว่าตะวันมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และให้มีการไต่สวนถอนประกันตะวันในภายหลัง
ทนายความแถลงว่าถ้าเป็นเช่นนี้ ก็แสดงว่าศาลก็น่าจะมีพยานหลักฐานอยู่ในมือแล้วว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว คงไม่จำต้องอาศัยโจทก์และพนักงานสอบสวนขวนขวายหาพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา
ศาลจึงชี้แจงว่าที่ให้มีการไต่สวนขึ้น ก็เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสในการแก้ต่าง จะให้ศาลเห็นพยานเอกสารแล้วมีคำสั่งเลยก็จะถูกกล่าวหาว่าไม่เปิดโอกาสให้จำเลยแก้ต่าง และยังกล่าวต่อไปเพื่ออธิบายให้ผู้ที่อยู่ในห้องพิจารณาฟังอีกว่าโดยปกติในคดีอื่นพนักงานสอบสวนหรืออัยการมักเป็นผู้ทำคำร้องขอถอนประกัน แต่ในคดีนี้ศาลเห็นเองจึงให้มีการไต่สวนถอนประกัน ไม่เช่นนั้นคำสั่งเรื่องเงื่อนไขที่ศาลเคยสั่งไปก็ไม่มีประโยชน์
ในส่วนที่พนักงานอัยการและพนักงานตำรวจในคดีนี้ไม่ทราบเรื่องนั้น ศาลชี้แจงว่าทราบเรื่องของตะวันจากเอกสารในคดีเก็ทกับใบปอ และศาลเองได้เข้าใจผิดว่าโจทก์ในคดีนั้นเป็นโจทก์เดียวกับในคดีนี้ด้วย จึงเข้าใจว่าโจทก์รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงนั้น โจทก์เป็นคนละคน แต่ศาลที่ไต่สวนเป็นคนเดียวกัน และภายหลังศาลก็แจ้งพนักงานอัยการว่าในคดีนี้ศาลจะออกหมายเรียกเจ้าพนักงานตำรวจมาเป็นพยาน และให้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้เบิกความเองโดยที่อัยการไม่ต้องซักถามก็ได้
2. กรณีการทำคำสั่งใดๆ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่เป็นผู้ขึ้นพิจารณาต้องเป็นผู้สั่งเอง ผู้บริหารศาลอาญามีอำนาจเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ศาลยืนยันว่า การทำคำสั่งประกันตัวหรือเพิกถอนประกันนั้น เป็นอำนาจของผู้บริหารศาลอาญา และหากทนายความเห็นว่าการไต่สวนถอนประกันในครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถคัดค้านได้ แต่การอุทธรณ์ในเรื่องนี้ต้องทำหลังจากพิจารณาคดีเสร็จสิ้นแล้ว เพราะคำสั่งเช่นนี้เป็น “คำสั่งระหว่างพิจารณา”และต้องเป็นในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันเท่านั้น โดยยังกล่าวอีกว่าเคยมีคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หลายครั้งหลายหนเกี่ยวกับกรณีเช่นนี้
นอกจากนี้ผู้พิพากษายังสอบถามว่า ทานตะวันยังต้องติดอีเอ็มอยู่หรือไม่ ทานตะวันกับทนายจึงได้แจ้งว่ายังติดอยู่ ผู้พิพากษาคนดังกล่าว จึงพูดถึง กรณีอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวของทานตะวันว่า ที่จริงก็ตั้งใจจะปลดอีเอ็มให้หลายๆ คนอยู่แล้ว แต่กรณีของทานตะวันนั้นได้ทำการอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ทานตะวันมาผิดทาง และให้ทานตะวันดูตัวอย่างคนอื่นๆ ที่เมื่อได้รับการปล่อยชั่วคราวอย่างมีเงื่อนไข แล้วเมื่อออกมาก็ทำตัวได้เหมาะสม อาจจะมีโพสต์บ้างว่าอะไรดีไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ออกมาทำอะไร
3. การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ ไม่ผิดเงื่อนไขการประกันตัว เพราะคำสั่งของศาลในเรื่องเงื่อนไขก็ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย
ในเรื่องนี้ศาลมีความเห็นว่า การชุมนุมตามรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ แต่เป็นในกรณีที่ศาลไม่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ศาลกล่าวว่ามิได้บอกว่าการกระทำของจำเลยผิดกฎหมาย แต่ผิดเงื่อนไขการประกันตัว โดยกล่าวอธิบายว่า สำหรับคนเหล่านี้ที่ถูกฟ้องและเข้ากระบวนการถูกฟ้องมานั้น เขามาสู่ศาลแล้วและได้ปล่อยไปโดยมีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น จึงมีเงื่อนไขเป็นตัวกำหนด
ในขณะที่ทนายความและผู้ดูแลตะวัน ก็แถลงต่อศาลว่ามีความเห็นว่าการชุมนุมตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ ไม่ผิดเงื่อนไขการประกันตัว และเป็นสิทธิพลเมือง โดยถึงแม้จำเลยจะเป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่ก็ไม่ได้ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิตามรัฐธรรมนูญไป
อย่างไรก็ตาม ศาลก็ยืนยันว่าเป็นเรื่องของการผิดเงื่อนไขที่สัญญาไว้ในการประกันตัว ไม่เกี่ยวข้องว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่ เมื่อเงื่อนไขกำหนดว่า ห้ามเข้าร่วมชุมนุมและก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ก็ต้องดูว่าการกระทำผิดเงื่อนไขข้างต้นหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองว่าสามารถประท้วงได้ กรณีนี้ศาลจะดูว่าชุมนุมวุ่นวายเกินไปหรือไม่ ถ้าพอรับได้ก็จะเสนอต่อผู้บริหารศาล และแม้สุดท้ายจะไม่ถอนประกัน แต่อย่างไรก็ต้องมีการตักเตือน
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/52033) -
วันที่: 16-01-2023นัด: ถอนประกันตัวเองเวลา 13.00 น. ตะวัน และ “แบม" อรวรรณ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมอิสระ เดินทางมาที่ศาลอาญา แสดงเจตจำนงขอถอนประกันของตนเองเพื่อประท้วงความอยุติธรรมของศาล และทวงคืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังในคดีจากการแสดงออกทางการเมือง
เวลา 13.10 น. บริเวณหน้าศาลอาญา มีการตั้งจุดตรวจบัตรประชาชนและตรวจค้นสัมภาระอย่างเข้มงวด มีประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากเดินทางมาร่วมติดตามสถานการณ์ของสองนักกิจกรรมอย่างใกล้ชิด ตะวันและแบมเดินทางมาพร้อมกันที่ศาลอาญา และเริ่มอ่านแถลงการณ์ซึ่งมีข้อเรียกร้อง 3 ประการ ดังนี้
1. ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างแรกมาก่อนสิ่งอื่นใด ต้องเป็นอิสระ ปราศจากอำนาจนำ ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน และผู้บริหารศาลต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาคดี
2. ยุติการดำเนินคดีความกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง
3. พรรคการเมืองทุกๆ พรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการยกเลิกมาตรา 112 และ 116
ทั้งสองกล่าวต่อหน้าสื่อมวลชนว่า พวกเธอจะให้เวลาศาลและพรรคการเมืองทุกพรรคเป็นระยะเวลา 3 วัน หากในวันพุธที่ 18 ม.ค. 2566 ผู้ต้องขังคดีการเมืองยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และข้อเรียกร้องดังกล่าวยังไม่เป็นผล จะมีการยกระดับทั้งในและนอกเรือนจำ ในวันที่ 19 ม.ค. 2566
++ศาลรับคำร้อง อนุญาตให้ “ตะวัน – แบม” ถอนประกัน ทั้งสองเผยขอยืนยันว่าจะไม่ยื่นประกันตัวเองจนกว่าคนในเรือนจะได้รับสิทธิประกันตัวคืน
ต่อมา ตะวันได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอยกเลิกการปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีใจความสำคัญระบุว่า ศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดี โดยมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องปฏิบัติตามหลายประการ
จำเลยเห็นว่า เงื่อนไขในการที่ศาลกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามในระหว่างที่ได้รับการประกันตัวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของจำเลยที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
จำเลยจึงไม่ประสงค์ที่จะขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีนี้อีกต่อไป จำเลยขอถอนคำร้องปล่อยตั่วชั่วคราวนับตั้งแต่ที่ยื่นคำร้องนี้ จึงขอเรียนมาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งประกันตัวของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีนี้เสีย
อนึ่ง จำเลยได้เดินทางมาปรากฏตัวต่อหน้าศาลและให้ศาลรับตัวจำเลยไปดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อไป ทั้งนี้การถอนการประกันตัวเอง เป็นความประสงค์ของจำเลยอย่างแท้จริง
ต่อมาเวลา 14.27 น. ศาลอาญารับคำร้องขอถอนประกันตัวเองของตะวัน ระบุคำสั่ง ‘อนุญาตรับตัวไว้ ออกหมายหมายขัง และให้ปลดอุปกรณ์กำไล EM แจ้งศูนย์ทราบ ตรวจคืนหลักประกัน’ ลงนามโดย ชาญชัย ณ พิกุล ผู้พิพากษาศาลอาญา
ในขณะที่แบมได้เดินทางไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้พร้อมกับทนายความ เพื่อยื่นคำร้องแสดงเจตจำนงขอถอนประกันตัวเองในคดีทำโพลขบวนเสด็จ ก่อนในเวลา 16.06 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็มีคำสั่งรับคำร้องขอถอนประกันตัวของแบม
ก่อนที่ตะวันจะถูกส่งตัวลงไปที่ห้องฝากขัง เธอได้เปิดเผยถึงการแสดงเจตจำนงขอถอนประกันตัวครั้งนี้ว่า “เรายืนยันว่าจะไม่ยื่นประกันตัวเอง จนกว่าเพื่อนเราจะได้รับสิทธิประกันตัว เราจะไม่อ้อนวอนร้องขอความเห็นใจใดๆ ทั้งสิ้นจากศาล”
ทางด้านแบม ก็ได้เปิดเผยเช่นเดียวกันว่า ตัวเองขอหนักแน่นถึงการประท้วงเพื่อทวงคืนสิทธิประกันตัวของผู้ต้องขังคดีการเมืองในเรือนจำ และการที่เธอได้ประกันตัวออกมายืนอยู่ ณ ที่นี้ มันไม่ใช่อิสรภาพที่แท้จริง ดังนั้น การที่เธอและตะวันแสดงเจตจำนงที่จะถอนประกันของตัวเองเป็นสิ่งที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่า พวกเธอไม่ยอมรับความอยุติธรรมของศาล โดยแบมได้กล่าวว่า “เราขอแลกอิสรภาพจอมปลอม เพื่ออิสรภาพที่แท้จริงของทุกคน”
ผลของการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ ‘ตะวัน ทานตะวัน’ และ ‘แบม อรวรรณ’ ได้ถูกส่งตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางทันที และทำให้มีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดีเป็นจำนวน 15 คนแล้ว โดยเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 จำนวน 7 คน
(อ้างอิง: คำร้องขอถอนประกัน ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 16 ม.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/52338) -
วันที่: 07-02-2023นัด: ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ยื่นประกันพฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวตะวันต่อศาลอาญา ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐในสถานพยาบาลที่ได้รับมอบตัวผู้ต้องควบคุมในอำนาจศาลไว้ดูแล และได้รับมอบหมายจากกรมราชทัณฑ์ ระบุเหตุผลว่า อาการโดยรวมของผู้ถูกควบคุมตัวมีภาวะคีโตนในเลือดสูงมากขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานกรองของเสียของไตลดลงอย่างมาก อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งโรงพยาบาลเห็นว่าจำเลยอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะแก่การควบคุมตัวระหว่างพิจารณา และสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะวิกฤติอย่างยิ่ง
จึงขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนหมายขังและให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีโดยไม่มีเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในเรื่องการสันนิษฐานจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษา และหลักการการควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยให้ทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้มีการหลบหนีซึ่งจะทำให้การรักษาตัวและฟื้นฟูสภาพร่างกายของจำเลยทำได้สะดวกและลดเงื่อนไขที่อาจจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งให้ประกันตะวัน ระบุว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยอยู่ในความดูแลรักษาของโรงพยาบาลที่ผู้ร้องเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายแพทย์รายงานมาว่าจำเลยอยู่ในภาวะวิกฤติอาจเสียชีวิตได้ ประกอบกับการเข้าเยี่ยมจำเลยจากบุคคลใกล้ชิดในกรณีที่จำเลยยังอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องเป็นไปตามระเบียบซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในการเยียวยาจิตใจของจำเลยขณะอยู่ในภาวะวิกฤติ กรณีมีเหตุสมควรให้ออกหมายปล่อยจำเลยชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคสาม เมื่อครบเวลาปล่อยชั่วคราวแล้วให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาล โดยให้ออกหมายปล่อยจำเลยวันนี้ และแจ้งผู้ร้องทราบด้วย"
หลังศาลมีคำสั่งให้ประกันทั้งตะวันและแบม เพจเฟซบุ๊ก "ทะลุวัง" เผยแพร่ภาพคำชี้แจงของทั้งสอง ระบุในตอนหนึ่งว่า ทนายความได้แจ้งข่าวที่ทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ขณะที่ ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองจำนวน 8 ราย กลับไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้ทั้งทั้งสองเกิดความประหลาดใจ โดยกล่าวว่า เธอทั้งสองคนไม่ได้ต้องการขออิสรภาพให้ตัวเธอเอง เพราะที่จริงแล้ว พวกเธอก็เป็นคนไปขอถอนประกันตัวเอง และเรียกร้องให้ศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคน
ตะวันและแบมยืนยันว่า ตนไม่รับรู้และไม่รับทราบใดๆ กับการที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ และศาลดำเนินการสั่งถอนหมายขังครั้งนี้แต่อย่างใด และไม่ลงลายมือชื่อในเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวเธอในครั้งนี้โดยเด็ดขาด
(อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2023/02/102663) -
วันที่: 08-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าสืบรวม 4 ปาก ได้แก่ พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผกก.สน.นางเลิ้ง, พ.ต.ท.จงศักดิ์ ชาญศรี, พล.ร.ต.ทองย้อย แสงสินชัย และ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล
-
วันที่: 09-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าสืบรวม 3 ปาก ได้แก่ ร.ต.อ.หญิง ดาราณี ตุ๊ประทีป, ร.ต.อ.หญิง ภาวินีย์ เดชพิพัฒนวงศ์ และระพีพงษ์ ชัยยารัตน์
-
วันที่: 10-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์โจทก์นำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.บุญโปรด แสงทับทิม
-
วันที่: 16-08-2023นัด: สืบพยานโจทก์สืบพยานโจทก์ได้ 2 ปาก คงเหลืออีก 3 ปาก แต่เนื่องจากพยานโจทก์ติดราชการ โจทก์ถึงแถลงขอเลื่อนคดี ศาลให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 14 พ.ค. 2567 สืบพยานจำเลยในวันที่ 15-17 พ.ค. 2567 และยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยที่นัดไว้เดิมในวันที่ 17, 18 และ 22 ส.ค. 2566
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 16 ส.ค. 2566) -
วันที่: 23-10-2023นัด: UN มีความเห็นต่อการคุมขังและดำเนินคดีตะวันคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (UN Working Group on Arbitrary Detention:; UN WGAD) ซึ่งเป็นกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) ได้เผยแพร่ความคิดเห็น ลงวันที่ 23 ต.ค. 2566 ในกรณีของ “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักศึกษาและนักกิจกรรมวัย 21 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ จากการประชุมครั้งที่ 97 ระหว่างวันที่ 28 ส.ค. – 1 ก.ย. 2566
คณะทำงานฯ ลงมติเห็นว่า การจับกุมตะวันเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ขณะยืนไลฟ์สดก่อนมีขบวนเสด็จ และการคุมขังตะวัน เข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการ, การที่ตะวันไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีโดยเร็วและไม่ล่าช้าเกินสมควร เป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และการดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112 กับตะวันเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก
.
ย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยความยินยอมของลูกความ ยื่นคำร้องเร่งด่วน (an urgent appeal) ต่อคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ เพื่อรายงานกรณีของตะวันและ “แบม” อรวรรณ ซึ่งยื่นถอนประกันตัวเอง เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566
เอกสารเผยแพร่ของคณะทำงานฯ ระบุว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 คณะทำงานฯ ได้ส่งจดหมายระบุข้อกล่าวหาตามคำร้องไปยังรัฐบาล และขอให้รัฐบาลชี้แจงข้อมูลโดยละเอียดภายในวันที่ 10 ก.ค. 2566 เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและบทบัญญัติทางกฎหมายที่สมเหตุสมผลในการกักขังตะวัน ตลอดจนความสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลดูแลตะวันทั้งทางร่างกายและจิตใจอีกด้วย แต่รัฐบาลไทยก็ไม่ได้ตอบกลับจดหมายดังกล่าวแต่อย่างใด
คณะทำงานจึงได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากคำร้องและให้ความเห็นซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็น ดังนี้
++ประเด็นที่ 1 การจับกุมตะวันโดยไม่มีหมายจับเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 และการคุมขังโดยไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ เป็นการควบคุมตัวโดยพลการ (Arbitrary Detention)
ในกรณีการจับกุมตัวตะวันโดยไม่มีหมายจับ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ขณะไลฟ์สดก่อนมีขบวนเสด็จ หน้าอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) ในประเทศไทย คณะทำงานฯ ได้ย้ำเตือนว่าการจับกุม คุมขัง โดยไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับอย่างเพียงพอถือเป็นการควบคุมตัวตามอำเภอใจ การลิดรอนสิทธิและเสรีภาพจะต้องมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ ซึ่งโดยทั่วไปการจับกุมจะต้องมีหมายจับ คำสั่งจับกุม หรือเอกสารอื่นที่เทียบเท่า
นอกจากนี้ การคุมขังหรือการจำคุกในรูปแบบใด ๆ ควรได้รับคำสั่งหรืออยู่ภายใต้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายตุลาการหรือหน่วยงานอื่นภายใต้กฎหมาย ซึ่งคณะทำงานฯ พบว่าตะวันถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามหลักการในข้างต้น เป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 และข้อ 9 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 (1)
แม้ตะวันจะได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 แต่เงื่อนไขในการประกันตัวของตะวันในขณะนั้นคล้ายกับการคุมขังในบ้าน โดยตะวันไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากเคหสถาน ยกเว้นยื่นคำร้องต่อศาลและได้รับการอนุมัติ, ต้องสวมอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และถูกห้ามไม่ให้ออกนอกประเทศ ซึ่งคณะทำงานฯ พบว่าในสถานการณ์ดังกล่าว การคุมขังตะวันในบ้านเป็นการลิดรอนเสรีภาพตามอำเภอใจ
สุดท้ายนี้ ในการพิจารณาว่าการจับกุมและควบคุมตัวตะวันโดยที่ยังไม่ได้มีการพิจารณาคดี ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่นั้น คณะทำงานฯ ระบุว่า มาตรา 112 มีความคลุมเครือและกว้างเกินไป โดยไม่ได้กำหนดว่าการแสดงออกประเภทใดที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้ายสถาบันกษัตริย์ และปล่อยให้การตัดสินว่าการกระทำเป็นความผิดหรือไม่เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 (2) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 15 (1)
คณะทำงานฯ จึงเชื่อว่าตะวันถูกควบคุมตัวตามกฎหมายที่ละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างชัดแจ้ง เป็นผลให้ไม่มีฐานทางกฎหมายในการกักขัง และการลิดรอนเสรีภาพของตะวันเป็นไปตามอำเภอใจ
.
++ประเด็นที่ 2 การดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112 กับตะวันเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก
คณะทำงานฯ พิจารณาว่า การถ่ายทอดสดและการโพสต์ของตะวันอยู่ภายในขอบเขตของการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 ซึ่งสิทธิดังกล่าวรวมถึงการแสดงออกทางความคิดและความคิดเห็นทุกรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ รวมถึงวาทกรรมทางการเมือง ความเห็นเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ และการแสดงออกทางวัฒนธรรมและศิลปะ
คณะทำงานฯ เห็นว่า รูปแบบในการแสดงออกในลักษณะที่ถูกพิจารณาว่าเป็นการดูหมิ่นบุคคลสาธารณะ ยังไม่เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมมากเพียงพอให้ต้องกำหนดบทลงโทษทางอาญา บุคคลสาธารณะทุกคน ซึ่งรวมถึงบุคคลที่ใช้อำนาจทางการเมืองสูงสุด เช่น ประมุขแห่งรัฐและรัฐบาล ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่จำต้องรับคำวิพากษ์วิจารณ์ และการมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง หลักกฎหมายไม่ควรบัญญัติให้มีการลงโทษที่รุนแรงขึ้นเพียงเพราะสถานะหรือตัวตนของบุคคลซึ่งไม่อาจกล่าวหาได้
ภายใต้ข้อ 19 (3) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด 3 ประการ คือ ข้อจำกัดต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน ตามความจำเป็นและได้สัดส่วน ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการจับกุม กักขัง และดำเนินคดีเป็นการตอบสนองที่จำเป็นและได้สัดส่วนต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบของตะวัน
การกระทำของตะวันถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สาธารณะโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่ามาตรา 112 จะกำหนดให้การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดทางอาญา แต่กฎหมายไม่ได้ให้แนวทางว่าการกระทำเช่นใดบ้างที่ถูกจำกัด และส่วนสำคัญ คือ ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าพฤติกรรมของตะวันเป็นการยุยงให้เกิดความรุนแรงอย่างไร
คณะทำงานฯ ไม่คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่การกระทำของตะวันอาจคุกคามสิทธิหรือชื่อเสียงของผู้อื่น, ความมั่นคงของชาติ, ความสงบเรียบร้อย, การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน และคณะทำงานฯ ตั้งข้อสังเกตด้วยความกังวลอย่างยิ่งถึงโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับการใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน
คณะทำงานฯ เห็นว่า การตั้งข้อกล่าวหาและการพิพากษาลงโทษตามมาตรา 112 สำหรับการใช้สิทธิโดยสันติไม่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
จากเหตุผลข้างต้น คณะทำงานฯ พบว่า การลิดรอนเสรีภาพของตะวันเกิดขึ้นโดยพลการ ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 ซึ่งคณะทำงานฯ จะส่งกรณีของตะวันไปยังผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น (Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression) เพื่อดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป
.
++ประเด็นที่ 3 การที่ตะวันไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีโดยเร็วและไม่ล่าช้าเกินสมควร เป็นการละเมิดสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to a Fair Trial)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 (3) และ 14 (3) (ค) ระบุว่า บุคคลที่ถูกจับกุมหรือคุมขังในข้อหาทางอาญาจะต้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีภายในเวลาอันสมควรและไม่ชักช้าเกินความจำเป็น ความสมเหตุสมผลของความล่าช้าในการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาจะต้องได้รับการประเมินตามพฤติการณ์ของแต่ละคดี โดยคำนึงถึงความซับซ้อน ความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหา และวิธีการจัดการของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อคณะทำงานฯ พบว่าการกักขังตะวันเป็นไปตามอำเภอใจ เนื่องจากเป็นผลมาจากการใช้สิทธิโดยสันติ ความล่าช้าในการดำเนินคดีของตะวันจึงไม่สมเหตุสมผล
แม้ตะวันจะได้รับการปล่อยตัวระหว่างการพิจารณาคดีแล้ว แต่รัฐบาลก็มีพันธกรณีที่จะต้องจัดให้มีการพิจารณาคดีโดยเร็ว ในการนี้ คณะทำงานฯ ตั้งข้อสังเกตว่า โจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ทำให้การดำเนินคดีล่าช้าโดยไม่จำเป็น รวมทั้งไม่ตอบสนองต่อคำร้องของทนายฝ่ายจำเลย ทำให้เกิดความล่าช้า เมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้ว คณะทำงานฯ พบว่ากำหนดการพิจารณาคดีในเดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นเวลามากกว่า 1 ปีครึ่ง หลังจากการถูกจับกุมของตะวันนั้น ยาวนานจนไม่อาจยอมรับได้และเป็นการละเมิดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 (3) และข้อ 14 (3) (ค)
จากเหตุผลข้างต้น คณะทำงานฯ จึงสรุปว่า การที่ตะวันถูกละเมิดสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การถูกลิดรอนเสรีภาพของตะวันมีลักษณะเป็นไปโดยอำเภอใจ
.
กรณีของตะวันเป็นหนึ่งในหลายกรณีที่ถูกเสนอต่อคณะทำงานฯ ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวกับการลิดรอนเสรีภาพของบุคคลโดยพลการในไทย คณะทำงานฯ ตั้งข้อสังเกตว่าหลายกรณีในไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 เป็นการตั้งข้อหาและดำเนินคดีภายใต้ความผิดอาญาที่ใช้ถ้อยคำคลุมเครือ ซึ่งโดยทั่วไปมีบทลงโทษที่หนัก ขาดฐานทางกฎหมาย และละเมิดกระบวนการทางกฎหมาย
ในตอนท้ายของเอกสารความคิดเห็น คณะทำงานฯ ยังได้ร้องขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของตะวันโดยไม่ชักช้า และให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และจะติดตามผลการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อไป
.
++กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความห่วงใยถึงรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องต่อการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์
เป็นเวลากว่าทศวรรษที่กลไกติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับการฟ้องร้องและการบังคับใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาในไทย และยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ซ้ำแล้วซ้ำอีก
ความเห็นของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการในกรณีของตะวันนี้ (A/HRC/WGAD/2023/49) เป็นกรณีล่าสุดรายที่ 10 ของไทย ซึ่งนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 คณะทำงานฯ พบว่าการลิดรอนเสรีภาพของบุคคล 10 รายที่ถูกควบคุมตัวภายใต้มาตรา 112 ถือเป็นการ “กระทำโดยพลการ” เนื่องจากฝ่าฝืนบทบัญญัติหลายบทของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และ ICCPR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ผู้ต้องขัง 8 รายได้รับการปล่อยตัวหลังรับโทษจำคุก ขณะที่รายที่ 9 อัญชัน ปรีเลิศ ยังคงถูกคุมขัง หลังจากถูกตัดสินจำคุก 87 ปีในเดือนมกราคม 2564
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/61479) -
วันที่: 08-02-2024นัด: ตำรวจขอถอนประกันพ.ต.ท.สำเนียง โสธร รอง ผกก.(สอบสวน) สน.นางเลิ้ง ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยชั่วคราวทานตะวันในคดีนี้ โดยอ้างเหตุการณ์ในคดีบีบแตรใส่ขบวนเสด็จพระเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดซ้ำในลักษณะเดิมหลายครั้ง
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า ตรวจสำนวนแล้วพบว่าจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2566 มีกำหนด 1 เดือน และเมื่อครบกำหนดให้มารายงานตัวต่อศาล โดยไม่มีสัญญาประกันแต่อย่างใด หลังครบกำหนดจำเลยไม่ได้มารายตัวต่อศาล แต่ได้มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานมาตลอด โดยยังไม่มีการรับตัวจำเลย หรือให้จำเลยทำสัญญาประกัน ดังนั้น จึงไม่มีคำสั่งปล่อยชั่วคราวให้ผู้ร้องยื่นขอเพิกถอน
(อ้างอิง: คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 8 ก.พ. 2567) -
วันที่: 18-04-2024นัด: สอบถามศาลได้ออกหมายเรียกทานตะวัน ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในคดีมาตรา 116 และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ มาคอนเฟอเรนซ์สอบถามถึงสาเหตุที่จําเลยไม่ได้มารายงานตัว หลังจากที่ศาลให้ประกันในวันที่ 7 ก.พ. 2566 ตะวันแจ้งว่า ขณะนี้สภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงขอปรึกษาทนายความก่อน
อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งให้ออกหมายขังตะวันไว้ ระบุว่า คดีนี้อยู่ระหว่างสืบพยาน จึงเห็นควรให้รับตัวจําเลยไว้ หากจําเลยประสงค์ที่จะขอปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา ให้ยื่นคําร้องเข้ามาได้
(อ้างอิง: คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2567)
-
วันที่: 14-05-2024นัด: สืบพยานโจทก์ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยมีอาการป่วยและอ่อนแรงจากการอดอาหาร ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลเห็นว่า เพื่อให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ จึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 14 พ.ย. 2567 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 15, 26 และ 29 พ.ย. 2567 ยกเลิกวันนัดสืบพยานในวันที่ 14 -17 พ.ค. 2567
-
วันที่: 16-05-2024นัด: ยื่นประกันทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตะวันครั้งแรกหลังศาลออกหมายขัง แต่ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง ระบุในคำสั่งว่า "ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม" แม้จะเป็นการยื่นเป็นครั้งแรกหลังถูกคุมขังรอบใหม่นี้ และการยื่นขอประกันยังเกิดขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของ “บุ้ง” เนติพร ระหว่างการถูกคุมขัง
-
วันที่: 22-05-2024นัด: ยื่นประกันเนื่องในวันครบรอบ 10 ปี การรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเพื่อเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีทางการเมืองกับประชาชน ทนายความได้ยื่นประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง จำนวน 19 ราย รวมทั้งทานตะวันในคดีนี้และคดีมาตรา 116 ด้วย
วันเดียวกัน ศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ประกันตะวันในคดีนี้ โดยให้วางหลักทรัพย์ประกัน 100,000 บาท ระบุคำสั่งว่า
“พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวมาก่อน ภายหลังจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ปล่อยชั่วคราวเอง แล้วถูกควบคุมตัวอยู่ทันฑสถานหญิงกลางมาจนถูกย้ายไปควบคุมที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ จนกระทั่ง ผอ. โรงพยาบาลดังกล่าว ขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย เนื่องจากจำเลยอาจจะเสียชีวิตระหว่างพิจารณาได้ ศาลได้ปล่อยชั่วคราวไปแล้วจำเลยไม่มารายงานตัว แต่จำเลยมาศาลตลอดในช่วงที่มีการสืบพยาน พฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยไม่เคยหลบหนีในคดีนี้ ดังนั้นหากจำเลยสมัครใจที่จะติด EM และผู้ประกันวางเงินประกันตามเสนอ ให้เบิกตัวจำเลยมาทำสัญญาประกันตัวต่อไป”
อย่างไรก็ตาม ในคดีมาตรา 116 ศาลยังมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทำให้ตะวันยังไม่ได้รับการปล่อยตัว
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 22 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67311) -
วันที่: 10-09-2024นัด: ขอถอนประกันวีระพุทธิรัน วีนาซีมูทู ประชาชน ได้ยื่นคำร้องขอให้ถอนประกันทานตะวันในคดีนี้ และอีก 2 คดี ของศาลอาญา อ้างเหตุว่า ทานตะวันได้เข้าร่วมกิจกรรมแปะและโยนภาพวันเฉลิมที่อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2567 ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขประกัน
วันเดียวกัน ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ระบุว่า ตามคำร้องปรากฏเพียงภาพบุคคลที่ปิดบังใบหน้า อำพรางตัวตนที่แท้จริง จึงสมควรรอฟังผลการพิสูจน์จากพนักงานสอบสวนผ่านทางพนักงานอัยการ ให้ได้ความโดยชัดแจ้งก่อน จึงจะเพียงพอในการสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว
(อ้างอิง: คำร้องขอให้ถอนประกัน ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1237/2565 ลงวันที่ 10 ก.ย. 2567) -
วันที่: 03-10-2024นัด: ไต่สวนคำร้องขอถอนประกันจำเลยแถลงขอเลื่อนการไต่สวน เนื่องจากทนายจำเลยติดว่าความคดีที่ศาลอื่น ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปในนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 พ.ย. 2567 เวลา 15.30 น.
-
วันที่: 14-11-2024นัด: สืบพยานโจทก์
-
วันที่: 15-11-2024นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 26-11-2024นัด: สืบพยานจำเลย
-
วันที่: 29-11-2024นัด: สืบพยานจำเลย
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์