ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.877/2565

ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.877/2565

ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.877/2565

ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.877/2565
ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.877/2565
ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.877/2565
ผู้กล่าวหา
  • มะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)

ความสำคัญของคดี

#ม็อบราษฎรยืนยันดันเพดาน ในโอกาสครบรอบ 89 ปี อภิวัฒน์สยาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ที่สกายวอล์ค แยกปทุมวัน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อยืนยันข้อเรียกร้องดันเพดานเดิม ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีนักกิจกรรมที่ร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัยถูกดำเนินคดีฐานร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถึง 11 ราย เป็นเยาวชน 2 ราย และในจำนวนนี้มีนักศึกษา 3 ราย “บิ๊ก” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ, เบนจา อะปัญ และ “ตี้” วรรณวลี ธรรมสัตยา ถูกมะลิวัลย์ หวาดน้อย เครือข่ายศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีตาม มาตรา 112 จากการปราศรัยถึงปัญหาของสถาบันกษัตริย์ซึ่งนำมาสู่ข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

กรณีนี้ชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญของมาตรา 112 ประการหนึ่ง คือ การเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลอื่น รวมทั้งการตีความการกระทำที่เป็นความผิดเกินกว่าตัวบทและเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งทำให้บทบัญญัติดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในยุครัฐบาลสืบทอดอำนาจของ คสช.

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

อรรถพันธ์ ตั้งมโนวุฒิกุล พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 บรรยายคำฟ้อง มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 บัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิด กล่าวหา หรือฟ้องร้องไม่ได้ และผู้ใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองไม่ได้ ตลอดจนใช้สิทธิ เสรีภาพ ให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือให้เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและพลเมืองมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศชาติตลอดไป

นอกจากนี้ สถาบันกษัตริย์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย อยู่คู่ประเทศมานาน พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ คนไทยต่างจงรักภัคดี เทิดทูน ผู้ใดจะนำสถาบันกษัตริย์มาล้อเลียนไม่ได้ การกล่าวพระนามของกษัตริย์ก็ต้องแสดงออกด้วยความเคารพตามขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีอันเป็นสิ่งที่คนไทยโดยทั่วไปพึงปฏิบัติสั่งสมกันตลอดมา

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 จำเลยทั้งสามกับนักกิจกรรมรายอื่นอีก 6 ราย ซึ่งแยกดำเนินคดีที่ศาลแขวงปทุมวัน และนักกิจกรรมเยาวชน 2 ราย แยกดำเนินคดีที่ศาลเยาวชนแบละครอบครัวกลางแล้ว ได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่างกัน กล่าวคือ

1. จำเลยที่ 1 และ 3 และพวกนักกิจกรรมบางราย ได้ร่วมกันจัดการชุมนุม ชื่อ “ราษฎรยืนยันดันเพดาน” โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ได้โพสต์ข้อความเชิญชวนบนเฟซบุ๊ก

เมื่อถึงวัดนัดจัดกิจกรรม มีประชาชนมาเข้าร่วมการชุมนุมราว 400 กว่าคน ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน เป็นการชุมนุมที่ไม่ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั้งยังเป็นการชุมนุมที่แออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรค

2. ในระหว่างการชุมนุม จำเลยทั้งสามและกลุ่มผู้ชุมนุมได้ร่วมกันปราศรัยผ่านไมโครโฟน-ลำโพงเครื่องขยายเสียง พูดโจมตีการบริหารงานของรัฐบาลและการปฏิรูปสถาบันฯ อันเป็นการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

3. จำเลยทั้งสามได้กล่าวปราศรัย อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

3.1 วรรณวลี จำเลยที่ 1 ได้ปราศรัยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามในอดีต ซึ่งมีประชาชนร่วมรบจนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำการเชิดชูเพียงแค่กษัตริย์ ไม่มีการบันทึกชื่อของประชาชนที่เสียสละแต่อย่างใด โดยข้อความดังกล่าวอาจทำให้ผู้ที่ได้รับฟ้งเข้าใจได้ว่า ในเวลาที่มีสงคราม คนที่บาดเจ็บล้มตายคือประชาชน ในขณะที่กษัตริย์ไม่เคยออกรบ อยู่แต่แนวหลัง แต่กลับได้รับการยกย่องเชิดชู มีความหมายสื่อถึงกษัตริย์ทุกพระองค์

จำเลยที่ 1 ยังได้ปราศรัยถึงการใส่เสื้อเหลือง โดยคำปราศรัยดังกล่าวทำให้คนฟังเข้าใจว่า ถ้าเป็นคนของรัชกาลที่ 10 เมื่อทำผิดกฎหมายก็ไม่ต้องรับโทษ สื่อว่าพระองค์อยู่เหนือกฎหมาย สามารถปกป้องพรรคพวกและบริวารของตนได้

3.2 เกียรติชัย จำเลยที่ 2 ได้ปราศรัยมีเนื้อหาว่า

- แม้รัชกาลที่ 5 จะเลิกทาสไปแล้ว แต่ประชาชนยังคงถูกกดขี่ ทำให้โง่และกลัว ไม่กล้าทวงสิทธิที่ตัวเองมี ทำให้เข้าใจว่า รัชกาลที่ 5 ไม่ได้ตั้งใจล้มเลิกระบบทาสอย่างแท้จริง

- ที่หนังสือเรียนระบุว่า รัชกาลที่ 7 เป็นกษัตริย์ประชาธิปไตยนั้นไม่เป็นความจริง ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า การที่ประชาชนยกย่องรัชกาลที่ 7 ว่าเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่เป็นความจริง แท้จริงแล้ว รัชกาลที่ 7 ไม่ได้ประสงค์จะให้ประชาธิปไตยแก่ประชาชน

- ปัจจุบันสถาบันกษัตริย์ถูกยกย่องให้สูงส่งเหมือนพระเจ้า ทำให้ประชาชนและภาครัฐไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า กษัตริย์ถูกยกย่องจนเกินความจริงและเปรียบเทียบให้สูงส่ง ทำให้เข้าใจได้ว่า กษัตริย์องค์ปัจจุบันวางพระองค์ไม่เหมาะสม

- การยกสถาบันกษัตริย์ให้สูงส่งเกินไป ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะในเรื่องของงบประมาณสถาบันฯ ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงอยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือการตรวจสอบและไม่มีความโปร่งใส

- การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ข้อแรก ต้องไม่เซ็นรับรองการรัฐประหาร ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า รัชกาลที่ 10 ทรงรับรองให้กับคณะรัฐประหาร ไม่ปฏิบัติตนในฐานะประมุขของประเทศ ซึ่งจะต้องอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง

3.3 เบนจา จำเลยที่ 3 ได้ปราศรัยมีเนื้อหาว่า

- กษัตริย์ปล่อยให้มีการรัฐประหารหลายครั้ง ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า การรัฐประหารเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 9 เป็นการใส่ความรัชกาลที่ 9 ว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร ซึ่งไม่เป็นความจริง

- มีครั้งเดียวที่กษัตริย์ไม่ยอมปล่อยให้มีการรัฐประหาร แสดงว่ากษัตริย์ยับยั้งการรัฐประหารได้ ทำให้คนที่ฟังเข้าใจว่า ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร รัชกาลที่ 9 ทรงอยู่เบื้องหลัง ซึ่งไม่เป็นความจริง

- การสถาปนาวันที่ 5 ธ.ค. ให้เป็นวันพ่อแห่งชาติและวันชาติ มีการนำเงินภาษีประชาชนไปจัดกิจกรรม ทั้งๆ ที่เงินดังกล่าวควรหมุนเวียนกลับสู่ประชาชน เป็นการกล่าวหาว่า รัชกาลที่ 10 นำเงินภาษีประชาชนไปจัดงานวันเกิดของรัชกาลที่ 9 อย่างใหญ่โต แทนที่จะนำเงินมาใช้จ่ายเพื่อประชาชน

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.877/2565 ลงวันที่ 16 มิ.ย. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน. ปทุมวัน “บิ๊ก” เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กรณีร่วมปราศรัยในกิจกรรม #ราษฎรยืนยันดันเพดาน ครบรอบ 89 ปี การอภิวัฒน์สยาม เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ที่บริเวณสกายวอล์คแยกปทุมวัน

    ก่อนหน้านี้เกียรติชัยได้รับหมายเรียกลงวันที่ 13 ส.ค. 2564 ในคดีที่ พ.ต.ท.ธนพล ติ๊บหนู กับพวก เป็นผู้กล่าวหา ระบุข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    ร.ต.อ.สุรศักดิ์ ช่วงทิพย์ รองสารวัตรสอบสวน สน.ปทุมวัน แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 เกียรติชัยกับพวกรวม 11 คน ได้มาร่วมกิจกรรม #ราษฎรยืนยันดันเพดาน ที่บริเวณสกายวอล์คแยกปทุมวัน โดยมีวัตถุประสงค์ ยืนยันข้อเรียกร้องดันเพดานเดิม ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และแก้ไขมาตรา 112 โดยมีผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากในลักษณะแออัด โดยไม่ได้จัดให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19

    เกียรติชัยได้เข้าร่วมชุมนุมและทำการปราศรัย มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

    1. "แม้เราจะเจอในแบบเรียนว่ารัชกาลที่ 5 ทรงเลิกไพร่ทรงเลิกทาสแต่ถ้าดูตามความเป็นจริงแล้ว กษัตริย์ยังคงกดขี่ประชาชนกดให้จมทําให้โง่ทําให้กลัวไม่กล้าทวงถามสิทธิที่ตนมี"
    2. "หนังสือเรียนที่เราเรียนก็ระบุว่า รัชกาลที่ 9 เป็นกษัตริย์ประชาธิปไตยถ้าอ่านหนังสือจริงๆ แล้ว บอกว่ามันเป็นแค่เรื่องเฟคนิว"
    3. "ข้อที่สอง ปัญหาสถาบันกษัตริย์ปัจจุบันคือสถาบันกษัตริย์ถูกยกให้มีสถานะสูงส่ง เปรียบเสมือนพระเจ้า ทําให้สูงส่งจนเกิดเป็นพระโพธิสัตว์บ้าง สะสมบุญจนเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง เป็นสมมุตเทพบ้าง ทําให้ประชาชนและภาครัฐไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์"
    4. "ยกสถาบันกษัตริย์ให้สูงส่งเกินไปทําให้สถาบันกษัตริย์ตรวจสอบไม่ได้ ปัญหา ณ เวลานี้คือ กษัตริย์ ไม่ว่าจะทําอะไรจะไม่พิมพ์และไม่มีการตรวจสอบ เช่น งบประมาณสามหมื่นเจ็ดพันล้านที่โคตรฉิบหาย"
    5. "การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ข้อที่หนึ่งสถาบันกษัตริย์ต้องไม่เซ็นรัฐประหาร”

    ต่อมา มะลิวัลย์ หวาดน้อย พบว่า ข้อความที่เกียรติชัยปราศรัยมีลักษณะก้าวล่วงวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต มีเจตนาทำให้ประชาชนที่ได้รับฟังเกิดความเกลียดชังพระมหากษัตริย์ จึงได้เข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเกียรติชัยใน 3 ข้อหา ประกอบด้วย

    1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์"
    2. พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ "ร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูง"
    3. พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียงฯ "ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่"

    เกียรติชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และให้การเพิ่มเติมว่า ตนมาชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีเจตนาจะดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตรย์ แต่พูดถึงอดีตกษัตริย์ในแนววิชาการ โดยจะขอให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายในวันที่ 28 ก.ย. 2564 เขายังได้ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาว่า “ปฎิรูปสถาบันกษัตริย์” จากนั้นพนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวไว้ เนื่องจากมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก

    ทั้งนี้จากกิจกรรมช่วงเย็นวันที่ 24 มิ.ย. 2564 บริเวณสกายวอล์กปทุมวัน ยังมีเบนจา อะปัญ และวรรณวลี ธรรมสัตยา ที่ได้รับหมายเรียกในข้อหาตามมาตรา 112 ด้วยเช่นกัน แต่ขอเลื่อนการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาออกไป ขณะที่มีแกนนำและผู้ปรา่ศรัยอีก 8 ราย ในจำนวนนี้เป็นเยาวชน 2 ราย ได้รับหมายเรียกในเฉพาะข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    สำหรับกิจกรรมวันที่ 24 มิ.ย. 2564 เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลา 05.00 น.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนเวลา 17.00 น. กลุ่มราษฎรนัดรวมตัวกันทำกิจกรรมอีกครั้งที่สกายวอล์คแยกปทุมวัน บอย-ธัชพงศ์ แกดำ ได้ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นคนแรก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงตัวเพื่อประกาศข้อกำหนดตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า การรวมตัวมากกว่า 50 คนเป็นการฝ่าฝืนข้อกฎหมาย

    จากนั้นแกนนำคนอื่น ผลัดกันขึ้นปราศรัยเพื่อตอกย้ำว่าจะไม่มีการลดเพดานข้อเสนอในการออกมาเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เด็ดขาด โดยเฉพาะ “การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” รวมไปถึงเรื่อง “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ปัญหาของระบบการศึกษา และปณิธานของคณะราษฎร 2475 ในช่วงท้ายของกิจกรรมประชาชนได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์คณะราษฎร และจุดเทียนวางเป็นตัวเลข 2475 ก่อนจะประกาศยุติกิจกรรมในเวลาราว 20.30 น.

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 28 ส.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34206)
  • เวลา 11.00 น. ที่ สน.ปทุมวัน 2 นักศึกษาและนักกิจกรรม เบนจา อะปัญ และ “ตี้ พะเยา” วรรณวลี ธรรมสัตยา เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และข้อหาอื่นๆ อีก 2 ข้อหา จากกรณีร่วมปราศรัยและชุมนุมใน #ม็อบราษฎรยืนยันดันเพดาน หรือ #ม็อบ24มิถุนา เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ที่สกายวอล์ค แยกปทุมวัน ซึ่งจัดโดยกลุ่ม ราษฎร และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

    ร.ต.อ. สุริศักดิ์ ช่วงทิพย์ รองสารวัตรสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้บรรยายพฤติการณ์ข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับที่แจ้งเกียรติชัย โดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 มีการจัดกิจกรรมที่สกายวอล์ค แยกปทุมวัน เบนจาและวรรณวลีต่างขึ้นปราศรัย มีข้อความสำคัญดังนี้

    เบนจากล่าวถึง ความสัมพันธ์ของกษัตริย์และรัฐประหาร และการใช้ภาษีประชาชนจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในวันพระราชสมภพของกษัตริย์

    วรรณวลีกล่าวถึง การทำสงครามที่กษัตริย์ถูกยกย่องและเชิดชูเพียงผู้เดียว แต่ประชาชนธรรมดากลับไม่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ และตั้งคำถามว่า ถ้าหากกระทำความผิด แต่ใส่เสื้อสีเหลืองและถวายความจงรักภักดีกับกษัตริย์ จะไม่ถูกดำเนินคดีหรือไม่

    ต่อมา มะลิวัลย์ หวาดน้อย พบว่า ข้อความที่เกียรติชัยปราศรัยมีลักษณะก้าวล่วงวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต มีเจตนาทำให้ประชาชนที่ได้รับฟังเกิดความเกลียดชังรัชกาลที่ 10 จึงได้เข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี

    พนักงานสอบสวนจึงแจ้ง 3 ข้อหาให้ทั้งสองทราบเช่นเดียวกับเกียรติชัย ได้แก่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกําหนดและประกาศออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และ ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

    ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การเพิ่มเติมว่า ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามมาตรา 112 นั้นไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทกษัตริย์ และยืนยันว่าการชุมนุมในวันดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบและเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ พร้อมกับต้องการอ้างพยานเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นพยานในประเด็นว่า ข้อความที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 นั้นเป็นความผิดอย่างไร

    นอกจากนี้ ทั้งสองได้ปฎิเสธลงลายมือชื่อในบันทึกข้อกล่าวหา โดยเขียน “ทะลุดินแดง” และ “เพื่อนเล่น ไม่เล่นเพื่อน” แทนชื่อ-สกุลจริง และจะขอยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสืออีกครั้งภายใน 30 วัน

    หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวทั้งสอง เนื่องจากมาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 9 ก.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/34799)
  • เกียรติชัย, วรรณวลี และเบนจา เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนที่ สน.ปทุมวัน ตามนัด ก่อนพนักงานสอบสวนส่งตัวทั้งสามให้พนักงานอัยการพร้อมสำนวนการสอบสวน ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 3 พ.ค. 2565
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง นัดฟังคำสั่งครั้งต่อไปในวันที่ 16 มิ.ย. 2565
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นฟ้องวรรณวลี, เกียรติชัย และเบนจา ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนดเรื่องการชุมนุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    อัยการบรรยายฟ้องโดยสรุปกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสามได้กล่าวปราศรัยผ่านไมโครโฟนในระหว่างการชุมนุม โจมตีการบริหารงานของรัฐบาลและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยวรรณวลี จำเลยที่ 1 ได้ปราศรัยเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามในอดีต และการใส่เสื้อเหลือง มีลักษณะใส่ความ รัชกาลที่ 10 และกษัตริย์ทุกพระองค์

    เกียรติชัย จำเลยที่ 2 ได้ปราศรัยมีเนื้อหาในทำนองว่า รัชกาลที่ 5 ไม่ได้ตั้งใจล้มเลิกระบบทาสอย่างแท้จริง, รัชกาลที่ 7 ไม่ได้ประสงค์จะให้ประชาธิปไตยแก่ประชาชน, สถาบันกษัตริย์ถูกยกย่องให้สูงส่ง ทำให้รัชกาลที่ 10 ทรงอยู่เหนือกฎหมายและเหนือการตรวจสอบ ซึ่งอัยการระบุว่า เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 5, 7 และ 10

    และเบนจา จำเลยที่ 3 ได้ปราศรัยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเซ็นรับรองรัฐประหารและการสถาปนาวันที่ 5 ธ.ค. ให้เป็นวันพ่อแห่งชาติและวันชาติ ซึ่งอัยการระบุว่า เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 9 และ 10

    ท้ายคำฟ้อง อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    หลังศาลรับฟ้องไว้ ได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นพิจารณา กำหนดหลักประกันรายละ 200,000 บาท รวม 600,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดเงื่อนไข “ห้ามกระทำการใดๆ อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับที่ถูกฟ้องหรือมีลักษณะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามชักชวนหรือโพสต์ข้อความลงในสื่อโซเชียลมีเดีย ชักชวน ยุยง ให้เกิดการชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาล” และยังกำหนดให้ติดกำไลอิเลกทรอนิกส์ (EM) ด้วย

    ศาลกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 25 ก.ค. 2565 เวลา 13.30 น.

    ทั้งนี้ วรรณวลีและเกียรติชัยนั้นยังไม่เคยถูกศาลกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว โดยให้ติด EM ในคดีใดมาก่อน ขณะที่เบนจาถูกสั่งให้ติดอยู่ก่อนแล้วในคดีอื่น ทำให้เกียรติชัยต้องถูกติด EM ทันที ส่วนวรรณวลี ทนายความและนายประกันได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการติด EM ออกไปเป็นวันที่ 25 ก.ค. 2565 เนื่องจากเธอต้องเดินทางด้วยเครื่องบินกลับไปเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยพะเยาซึ่งมีกำหนดการไว้ก่อนแล้ว ถ้าหากติด EM จะทำให้ไม่สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ โดยศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้มาติด EM ในวันนัดตรวจพยานหลักฐานแทนได้

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.877/2565 ลงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45052)
  • อัยการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากยังเตรียมพยานเอกสารไม่แล้วเสร็จ ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 ส.ค. 2565 เวลา 13.30 น.
  • ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง วรรณวลี, เกียรติชัย และเบนจายืนยันให้การปฏิเสธ โจทก์แถลงว่า มีพยานเอกสารที่อ้างส่งศาล 14 ฉบับ วัตถุพยาน 6 รายการ และมีพยานบุคคลจะนำเข้าสืบ 14 ปาก ใช้เวลาสืบ 6 นัด

    ด้านทนายจำเลยแถลงว่า ประสงค์จะสืบพยานบุคคล 7 ปาก ใช้เวลาสืบไม่เกิน 2 นัด ศาลอนุญาตตามที่ทั้งสองฝ่ายขอ นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 20-23 มิ.ย. และ 27-28 มิ.ย. 2566 นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 29-30 มิ.ย. 2566

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.877/2565 ลงวันที่ 22 ส.ค. 2565)
  • สืบพยานโจทก์ได้ 1 ปาก ทั้งนี้ เนื่องจากทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความ ศาลจึงให้ยกเลิกวันนัดสืบพยานที่เหลือและกำหนดวันนัดใหม่ เป็นวันที่ 19 - 20 ต.ค., 7 - 8 ธ.ค. 2566, 31 ม.ค. และ 7 - 8 มี.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.877/2565 ลงวันที่ 20 มิ.ย. 2566)
  • ตี้ วรรณวลี และบิ๊ก เกียรติชัย, ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 และทนายจำเลยที่ 3 เดินทางมาศาล ส่วนเบนจา จำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลัง เนื่องจากติดภาระทางการศึกษา ไม่สามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีได้ตลอดทุกวัน ซึ่งศาลได้อนุญาตไปแล้ว

    ก่อนเริ่มสืบพยาน ผู้รับมอบฉันทะจากทนายความของตี้และบิ๊ก ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากทนายมีอาการป่วยเป็นไมเกรน ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นให้พักรักษาตัว 1 วัน ตามใบรับรองแพทย์ที่แนบมาด้วย

    อย่างไรก็ตาม ศาลกลับไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี เนื่องจากอัยการได้แถลงว่า พยานโจทก์ 3 ปากเดินทางมาศาลพร้อมแล้ว ได้แก่ ส.ต.ต.ธีระศักดิ์ สัตย์สารกุลธร และนันทนัช เปี่ยมสิน ส่วน นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย รอสืบพยานทางไกลอยู่ที่ศาลจังหวัดราชบุรี ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงและยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ศาลเห็นว่าหากจำเลยไม่คัดค้านประเด็นที่โจทก์นำสืบก็ไม่จำเป็นต้องมีทนายจำเลย จึงสมควรให้สืบพยานไปก่อน

    ตี้และบิ๊กในฐานะจำเลยจึงแถลงต่อศาลว่า ทั้งสองไม่ต้องการให้สืบพยานโจทก์โดยที่ไม่มีทนายความอยู่ด้วย และตนก็ไม่ได้ยื่นขอสืบพยานลับหลังเหมือนจำเลยที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะให้มีการสืบพยานโดยไม่มีทนายความ

    อย่างไรก็ตาม ศาลยืนยันที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์ในนัดนี้ ตี้และบิ๊กจึงแถลงอีกครั้งขอเข้าพบอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อปรึกษาในเรื่องดังกล่าว แต่องค์คณะผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนไม่เห็นด้วย ตี้และบิ๊กยืนยันว่า ต้องการพบอธิบดีฯ ขณะทั้งสองเดินออกจากห้องไปในเวลาประมาณ 11.00 น. เพื่อเขียนคำร้องขอพบอธิบดีฯ ศาลก็ได้เริ่มสืบพยานโจทก์โดยที่จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมด้วย

    ทั้งนี้ ศาลบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ไม่ได้มีคำสั่งให้เลื่อนการพิจารณาคดีตามที่ทนายจำเลยที่ 1 และ 2 ยื่นคำร้อง เนื่องจากแม้ใบรับรองแพทย์ระบุว่า มีอาการปวดศีรษะให้พักรักษาตัว 1 วัน แต่ไม่ได้ระบุว่าอาการป่วยของทนายมีความรุนแรงอย่างใด และเมื่อพยานโจท์กในวันนี้มาพร้อมแล้ว จึงเห็นสมควรให้มีการสืบพยานโจทก์ที่มาศาลในวันนี้ไปก่อน และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงอนุญาตให้ทนายจำเลยที่ 1 และ 2 มาซักค้านพยานโจทก์ในนัดหน้าได้

    อนึ่ง ตามที่จำเลยทั้งสองได้แถลงว่า ต้องการให้ทนายอยู่ด้วยในขณะที่มีการเบิกความ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้ศาลพิจารณาคดีต่อหน้าจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมาศาลแล้ว แม้ทนายจะไม่มา แต่ศาลเห็นว่า ไม่ได้ตัดสิทธิทนายจำเลยซักค้านพยานโจทก์ที่มาในนัดนี้ แม้จะมีการสืบพยานโจทก์ไปก่อน ทนายก็สามารถคัดคำเบิกความของพยานโจทก์เพื่อไปซักค้านในนัดต่อไปได้ ไม่เห็นว่าจำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด และให้ทนายจำเลยได้มีโอกาสซักถามค้านกับพยานโจทก์วันนี้ ในนัดต่อไปคือวันที่ 7 – 8 มี.ค. 2567

    ภายหลังเสร็จสิ้นการสืบพยานโจทก์โดยไม่มีทนายความจำเลยอยู่ด้วย ตี้และบิ๊กเปิดเผยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่ใช่ความยุติธรรม แม้จำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการสืบพยานและทนายได้ยื่นใบรับรองแพทย์อาการป่วยแล้ว ศาลก็ไม่ได้มีท่าทีจะฟังคำแถลงของฝ่ายจำเลยแต่อย่างใด

    กรณีการสืบพยานโดยไม่มีทนายจำเลยอยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วย เคยเกิดขึ้นกับคดีของ “ลูกเกด” ชลธิชา แจ้งเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ซึ่งถูกฟ้องคดีที่ศาลอาญา ในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ข้อความถึงสถาบันกษัตริย์ในการเคลื่อนไหว “ราษฎรสาส์น” เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ซึ่งลูกเกดได้แถลงยืนยันว่าจะไม่ขอรับกระบวนการที่เกิดขึ้น และได้ขอพูดคุยกับอธิบดีศาลโดยตรง แต่ก็ถูกปฏิเสธ จนนำไปสู่การแถลงขอเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา เพราะการที่ศาลใช้ดุลพินิจว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาคดีนั้นไม่เป็นธรรม ทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.877/2565 ลงวันที่ 31 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/64345)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรรณวลี ธรรมสัตยา

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นัดดา โชคบุญธิยานนท์
  2. วิโรจน์ ศักดาไกร

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นัดดา โชคบุญธิยานนท์
  2. วิโรจน์ ศักดาไกร

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นัดดา โชคบุญธิยานนท์
  2. วิโรจน์ ศักดาไกร

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์