ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.138/2567
แดง อ.2509/2568
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
ดำ อ.138/2567
แดง อ.2509/2568
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.138/2567
แดง อ.2509/2568
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.138/2567
แดง อ.2509/2568
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)
ความสำคัญของคดี
“ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี นักกิจกรรมจากกลุ่มราษฎรมูเตลู และ “ปูน” ธนพัฒน์ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้า ถูกสมาชิกศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” จากคำปราศรัยในการชุมนุม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 ซึ่งเป็นกิจกรรมเปิดตัวการรณรงค์เข้าชื่อประชาชนเพื่อเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เดิมฟ้าและปูน พร้อมทั้งนักกิจกรรมรวม 13 ราย ถูกดำเนินคดี ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการเข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว ต่อมา เมื่อสมาชิก ศปปส. เข้าแจ้งความ พนักงานสอบสวนจึงออกหมายเรียกทั้งสองคนมาแจ้งข้อหา 112 เพิ่มเติม
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น
เดิมฟ้าและปูน พร้อมทั้งนักกิจกรรมรวม 13 ราย ถูกดำเนินคดี ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการเข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว ต่อมา เมื่อสมาชิก ศปปส. เข้าแจ้งความ พนักงานสอบสวนจึงออกหมายเรียกทั้งสองคนมาแจ้งข้อหา 112 เพิ่มเติม
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พัชรา อิศราภรณ์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 บรรยายคำฟ้องสรุปเนื้อหาได้ว่า
1. เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกหลายคนซึ่งแยกดำเนินคดีแล้ว ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและทำกิจกรรมชื่อว่า “ราษฎรประสงค์ยกเลิก 112” ที่บริเวณถนนราชดำริ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 50 คน โดยมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 800 คน อันเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวในลักษณะแออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด-19 โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2. จำเลยทั้งสองยังได้ขึ้นกล่าวปราศรัยในกิจกรรมดังกล่าวแก่ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมฟัง โดยคำฟ้องได้ยกคำปราศรัยของธนพัฒน์ ในฐานะจำเลยที่ 1 และพรหมศร จำเลยที่ 2 ซึ่งโดยภาพรวมกล่าวถึงความจำเป็นในยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็นความเท็จ และทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 ทรงนำทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของพระองค์เองและมิได้ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ, ทรงขาดความเมตตาและใช้กฎหมายมาตรา 112 รังแกประชาชน อันเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างร้ายแรง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.138/2567 ลงวันที่ 23 ม.ค. 2567)
1. เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกหลายคนซึ่งแยกดำเนินคดีแล้ว ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและทำกิจกรรมชื่อว่า “ราษฎรประสงค์ยกเลิก 112” ที่บริเวณถนนราชดำริ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 50 คน โดยมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 800 คน อันเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวในลักษณะแออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด-19 โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2. จำเลยทั้งสองยังได้ขึ้นกล่าวปราศรัยในกิจกรรมดังกล่าวแก่ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมฟัง โดยคำฟ้องได้ยกคำปราศรัยของธนพัฒน์ ในฐานะจำเลยที่ 1 และพรหมศร จำเลยที่ 2 ซึ่งโดยภาพรวมกล่าวถึงความจำเป็นในยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็นความเท็จ และทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 ทรงนำทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของพระองค์เองและมิได้ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ, ทรงขาดความเมตตาและใช้กฎหมายมาตรา 112 รังแกประชาชน อันเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างร้ายแรง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.138/2567 ลงวันที่ 23 ม.ค. 2567)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 03-02-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหา“ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี นักกิจกรรมจากกลุ่มราษฎรมูเตลู และ “ปูน” ธนพัฒน์ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมกลุ่มทะลุฟ้า ได้เดินทางไป สน.ลุมพินี เพื่อรับทราบข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามหมายเรียก ซึ่งมี พ.ต.ท.ภราดร สุวรรณรัตน์ เป็นผู้กล่าวหา จากการเข้าร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัยปราศรัยในการชุมนุม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564
พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์ข้อกล่าวหาโดยไล่ลำดับเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 พร้อมระบุว่าเวลาประมาณ 16.41-16.56 น. ธนพัฒน์ ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีเป็นคนที่ 2 มีเนื้อหากล่าวถึงการตายของลุงนวมทอง ที่ออกมาสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชน และชนชั้นปกครองเห็นว่าหากประชาชนมีเสรีภาพตนเองจะหมดอํานาจ จึงต้องคงไว้ซึ่งกฎหมายที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น แต่ประชาชนควรมีสิทธิเสรีภาพในการวิจารณ์แสดงความคิดเห็นและมีสิทธิพูดความจริง และกล่าวถึงการโอนทรัพย์สินต่างๆ ในส่วนของสถาบันกษัตริย์
ต่อมาเวลา 18.39-18.57 น. พรหมศร วีระธรรมจารี ได้ขึ้นเป็นผู้ปราศรัยคนที่ 9 กล่าวปราศรัยโดยกล่าวถึงต้องยกเลิกมาตรา 112 สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กล่าวถึงการที่ประยุทธ์ เมื่อขึ้นดํารงตําแหน่ง ประเทศก็พบกับความยากลําบากและกล่าวถึงการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยกล่าวถึง “โครงการในพระราชดำริ” ที่มีอยู่กว่า 4,000 โครงการ ประชาชนควรมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ข้อดี ข้อเสีย ของโครงการต่างๆ ได้
จากนั้น พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาธนพัฒน์และพรหมศรว่า ร่วมกันจัดกิจกรรมและร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385
ทั้งสองให้การปฎิเสธ และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 15 วัน
สำหรับกิจกรรม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 นับเป็นการเปิดตัวการรณรงค์เข้าชื่อประชาชนเพื่อเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเตรียมยื่นต่อรัฐสภา
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 3 ก.พ. 2565) -
วันที่: 17-03-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหา 112 เพิ่มเติมฟ้าและปูนเดินทางเข้ารับทราบข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติม ตามหมายเรียกของ สน.ลุมพินี หลังจากถูกแจ้งข้อกล่าวหา ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับนักกิจกรรมอีก 11 ราย จากการเข้าร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัยในการชุมนุม #ราษฎรประสงค์ยกเลิก112 ที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564
พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ และ พ.ต.ท.เทอดศักดิ์ มนัสชน สารวัตร (สอบสวน) สน.ลุมพินี บรรยายพฤติการณ์ข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับที่แจ้งข้อกล่าวหาในครั้งแรก โดยมีเนื้อหาเพิ่มเติมว่า ต่อมา คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคําสั่ง บก.น.5 ที่ 251/2564 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน กรณีที่ ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ (ผู้กล่าวหา) มาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพิ่มเติม ให้ดำเนินคดีกับธนพัฒน์และพรหมศรในความผิดฐาน "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ" ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า คำปราศรัยของพรหมศรและธนพัฒน์ เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และ อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์จริง เนื่องจากเป็นการใส่ร้ายสถาบันกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาได้บรรยายเนื้อหาคำปราศรัยบางตอนของทั้งสองคนไว้คนละ 2-3 หน้ากระดาษ
คณะพนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" เพิ่มเติมให้พรหมศรและธนพัฒน์ทราบ เบื้องต้นทั้งคู่ได้ให้การปฎิเสธและจะให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ก่อนพนักงานสอบสวนจะให้ปล่อยตัวทั้งสองคน โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
สำหรับฟ้าคดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 5 แล้วที่เขาถูกกล่าวหา ส่วนปูนนับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 3 ซึ่งถูกกล่าวหา โดยมี 1 คดี ที่ถูกกล่าวหาขณะยังเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี
ทั้งนี้ ผู้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีฟ้าและปูนตามมาตรา 112 ในคดีนี้ คือ ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ เป็นสมาชิกของศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้กล่าวหาในคดีมาตรา 112 ของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และเบนจา อะปัญ ในกรณีปราศรัยในการชุมนุม #กระชากหน้ากากไบโอไซน์ หน้าที่ทำการของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ของ สน.ปทุมวัน มาแล้ว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 17 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41622) -
วันที่: 22-12-2022นัด: ส่งตัวให้อัยการฟ้าและปูนเดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต์ 3 ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมายส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ หลังรับตัวอัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 1 ก.พ. 2566
-
วันที่: 23-01-2024นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ได้นัดหมายฟ้าและปูนเพื่อส่งฟ้องคดีต่อศาล ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันจัดกิจกรรมและร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังอัยการนัดฟังคำสั่งเรื่อยมาเป็นระยะเวลาราว 1 ปี จนมีคำสั่งฟ้องคดีในที่สุด
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 บรรยายฟ้องโดยสรุปกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและทำกิจกรรมชื่อว่า “ราษฎรประสงค์ยกเลิก 112” ที่บริเวณถนนราชดำริ อันเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวในลักษณะแออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด-19 โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังได้ขึ้นกล่าวปราศรัยให้ประชาชนที่มาร่วมชุมนุมฟัง โดยอัยการระบุว่า คำปราศรัยของทั้งสองเป็นความเท็จ และทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า รัชกาลที่ 10 ทรงนำทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของพระองค์เองและมิได้ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ, ทรงขาดความเมตตาและใช้กฎหมายมาตรา 112 รังแกประชาชน อันเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม
ในท้ายฟ้อง อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา โดยระบุว่า หากจำเลยทั้งสองยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล
ต่อมา หลังศาลรับฟ้อง และนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ยื่นประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวปูนและฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ศาลกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 มี.ค. 2567 เวลา 09.00 น.
ทั้งนี้ ฟ้าถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ถึง 5 คดี โดยศาลมีคำพิพากษาแล้ว 1 คดี คือ คดีจากการปราศรัยและร้องเพลงหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 เรียกร้องให้ศาลปล่อยตัว สิริชัย นาถึง นักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งศาลจังหวัดธัญบุรีพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2566 ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี ก่อนได้รับการประกันตัวระหว่างอุทธรณ์
ส่วน ปูนถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ถึง 3 คดี โดยศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดีวางเพลิงพระบรมฉายาลักษณ์ หน้าเรือนจำกลางคลองเปรม เป็นคดีแรกในวันที่ 26 มี.ค. 2567
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.138/2567 ลงวันที่ 23 ม.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/64005) -
วันที่: 11-03-2024นัด: ตรวจพยานหลักฐานทนายจำเลยขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยที่ 2 ต้องเฝ้ามารดาที่ป่วย ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสอบคำให้การและตรวจพยานในวันที่ 13 พ.ค. 2567 เวลา 13.30 น
-
วันที่: 13-05-2024นัด: ตรวจพยานหลักฐานปูนและฟ้าเดินทางมาศาลพร้อมทนายจำเลย ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง ปูนและฟ้าให้การปฏิเสธ โจทก์อ้างพยานบุคคล 13 ปาก ใช้เวลาสืบ 2 นัดครึ่ง ฝ่ายจำเลยมีพยานบุคคล 5 ปาก ใช้เวลาสืบ 1 นัดครึ่ง นัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยในวันที่ 14, 15, 19 และ 20 พ.ย. 2567
-
วันที่: 14-11-2024นัด: สืบพยานโจทก์ในการสืบพยานนัดแรก พรหมศรได้ขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ เนื่องจากต้องดูแลมารดาที่ป่วย ส่วนธนพัฒน์ยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา
อัยการนำพยานโจทก์เข้าสืบทั้งหมด 7 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.ภรากร สุวรรณรัตน์, ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์, สุรสิทธิ์ โคษา, ธวัชชัย รุจิศาสตร์, ธนพจน์ อนุภาพจาตุรงค์, ร.ต.อ.วัฒนา เล็กโล่ง และ พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ ฝ่ายจำเลยนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 1 ปาก คือ ธนพัฒน์
การนำสืบโจทก์พยายามกล่าวหาว่า ข้อความที่จำเลยปราศรัยเป็นความเท็จ ทำให้เข้าใจได้ว่ารัชกาลที่ 10 ทรงนำทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของพระองค์เอง ต้องการจะเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ เป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ
ด้านธนพัฒน์ต่อสู้ว่า จำเลยปราศรัยเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันเสนอชื่อแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพที่สามารถกระทำได้ และวิพากษ์วิจารณ์การแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้เกิดการโอนย้ายทรัพย์สินของแผ่นดิน ไปเป็นของส่วนพระองค์ และดำเนินการได้ตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
++สมาชิกกลุ่ม ศปปส. ผู้กล่าวหา ไปแจ้งความหลังเห็นว่าตำรวจไม่ได้ดำเนินคดี ม.112 เห็นว่าคำปราศรัยเรื่องการนำทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของส่วนตัว เป็นเรื่องเท็จ
ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ เบิกความผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากศาลจังหวัดแพร่ เนื่องจากประกอบอาชีพรับจ้าง อยู่ที่ จ.แพร่ ก่อนหน้านี้พยานอยู่ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เคลื่อนไหวที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก จึงเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ และ จ.แพร่
พยานมีหน้าที่เป็นผู้ประสานงานของกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน โดยกลุ่มมีวัตถุประสงค์ ดูการชุมนุมที่จาบจ้วงสถาบันฯ ซึ่งในคดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 ที่แยกราชประสงค์ เวลา 16.00 น. ในช่วงนั้น พยานอยู่ที่กรุงเทพฯ
ระพีพงษ์เบิกความว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุประมาณ 1 อาทิตย์ มีการโพสต์เฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มต่าง ๆ ว่าจะมีการชุมนุม จำได้ว่าเป็นเฟซบุ๊กของฝั่งที่เรียกตัวเองว่า “ฝั่งประชาธิปไตย” โพสต์เชิญชวนคนมาชุมนุม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ยกเลิก ม.112 แม้พยานไม่ได้เดินทางไปที่ชุมนุม แต่ได้ดูผ่านมือถือและสื่อต่าง ๆ เห็นว่าจำเลยมีการพูดปราศรัยจาบจ้วง ผ่านไลฟ์ถ่ายทอดสด
อัยการโจทก์ถามว่ารู้จัก ธนพัฒน์ มาก่อนไหม พยานตอบว่า ตนติดตามมาก่อนหน้าอยู่แล้ว เพราะเห็นว่าเคยเผาพระบรมฉายาลักษณ์หน้าเรือนจำ
พยานเห็นว่าจำเลย ขึ้นพูดปราศรัยประมาณ 16.30 น. พยานไม่ได้ดูไลฟ์สดจนจบการปราศรัย แต่จำได้ว่าจำเลยพูดใส่ร้ายรัชกาลที่ 10 ว่ายักยอกเอาทรัพย์แผ่นดินไปเป็นของส่วนตัว เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้า ถูกล้อมรั้วไม่ให้คนเข้าไปกราบไหว้
อัยการถามว่า ที่จำเลยปราศรัยมีข้อความเยอะกว่านี้ใช่ไหม แต่สาระสำคัญเป็นเรื่องทรัพย์สิน พยานตอบว่าใช่ อัยการโจทก์จึงถามต่อว่าที่จำเลยปราศรัยเป็นความจริงหรือไม่ พยานตอบว่าไม่จริง เป็นความเท็จ จากนั้นอัยการได้ขอให้พยานชี้ตัวจำเลย โดยให้จำเลยไปยืนที่หน้ากล้องคอนเฟอเรนซ์ พยานยืนยันว่าจำเลยคือบุคคลเดียวกันกับคนที่ปราศรัย
อัยการโจทก์ถามต่อ ว่าหลังจากเหตุการณ์นั้น พยานดำเนินการอย่างไรต่อ พยานตอบว่า ตนได้เห็นข่าว ว่าจำเลยและผู้จัดชุมนุมถูกตำรวจ สน.ลุมพินี ดำเนินคดี แต่ไม่ได้แจ้งข้อหามาตรา 112 ตนจึงถอดเทปคำปราศรัยและไปแจ้งความ ให้ดำเนินคดีตามมาตรา 112 ด้วย
พยานได้ไปแจ้งความด้วยตนเองที่ สน.ลุมพินี วันที่ 15 พ.ย. 2564 โดยได้มอบถ้อยคำที่ถอดเทปการปราศรัยที่ทำเองให้ตำรวจ และมีบางส่วนที่ตำรวจถอดเทปคำปราศรัยเอง โดยยังได้ส่งหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษและได้สอบคำให้การไว้ด้วย
พยานเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าจบปริญญาตรีวิทยาลัยเพาะช่าง สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ขณะเกิดเหตุประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างร้านน้ำปั่นในกรุงเทพฯ
ทนายจำเลยถามว่า “นักสู้อิสระ” เป็นกลุ่มย่อยในกลุ่ม ศปปส. ใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ ทนายจำเลยจึงถามต่อว่า โดยโครงสร้างแล้วในกลุ่มมี อานนท์ กลิ่นแก้ว เป็นประธาน มีภารกิจคือร้องทุกข์ดำเนินคดี มาตรา 112 ใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ และเสริมว่า กลุ่ม ศปปส. คือภาคประชาชน
พยานตอบว่ามีประมาณ 100 คดี ที่ทางกลุ่มได้ไปดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ เป็นคดีที่ไปกล่าวโทษด้วยและไปเป็นพยานด้วย ทุกคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และยืนยันว่า คดี Lazada ที่แจ้งความหนูรัตน์เป็น 1 ในคดีที่กลุ่มพยานฟ้องร้อง และตนทราบว่าคดีนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง แต่คดีอื่นที่ชนะก็มี
พยานจำข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่กลุ่มประชาธิปไตยเรียกร้องได้ เช่น 1. ให้พลเอกประยุทธ์ลาออก 2. ให้แก้รัฐธรรมนูญ 3. ปฏิรูปสภา แต่ตนจำได้ว่ามีมากกว่านี้อีก เช่น มีการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ให้ปล่อยเพื่อนเรา ทนายจำเลยจึงถามต่อว่าเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องรือไม่ พยานตอบว่า ตนก็ไม่ได้ต่อต้าน แต่ผู้ปราศรัยใส่ร้ายจาบจ้วงว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แก้กฎหมายให้รัชกาลที่ 10 เอาสมบัติชาติไปเป็นของตน พยานไม่เห็นด้วยที่ให้ยกเลิกมาตรา 112 ถ้าจะปราศรัยก็ไม่ควรใส่ร้าย
หลังฟังการปราศรัย กลุ่ม ศปปส. ก็ไม่พอใจ พยานได้กล่าวให้ทนายอ่านคำปราศรัยอีกครั้ง ก่อนศาลจะดุว่าพยานไม่ต้องสั่งให้ใครพูดหรือทำอะไร ให้พยานใจเย็น ๆ
พยานตอบทนายว่า ตนดูถ่ายทอดสดการปราศรัยผ่านเฟซบุ๊ก ทนายจำเลยถามต่อว่าแล้วได้ฟังถึงกระบวนการแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่ พยานไม่ตอบ แต่ทราบว่าการแก้ไขกฎหมายสามารถทำได้ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่จำเลยปราศรัยใส่ร้ายในหลวง และพยานไม่ทราบว่ามาตรา 112 มีการแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง
พยานไม่ตอบทนายจำเลย เมื่อถูกถามว่าทราบหรือไม่ว่าในการปราศรัย มีการพูดถึง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีการแก้ไข เนื่องจากฟังคำถามไม่ชัด ทนายจำเลยถามย้ำหลายครั้ง แต่เหมือนจะมีปัญหาทางเทคนิค ฝั่งพยานไม่ได้ยินไมค์ของทนาย แต่ได้ยินเสียงไมค์จากฝั่งอัยการและเจ้าหน้าที่ศาล
หลังจากแก้ปัญหาได้ ทนายจำเลยถามต่อว่า เรื่องทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทราบหรือไม่ว่า จำเลยพูดว่าให้แก้ไขกฎหมายการจัดระเบียบทรัพย์สิน พยานตอบว่าไม่ทราบเพราะฟังการปราศรัยไม่จบ เรื่องที่จำเลยปราศรัยไม่เกี่ยวกับการจัดระเบียบทรัพย์สิน จำเลยพูดใส่ร้ายในหลวง และกล่าวกับทนายว่า “อย่าใช้เหลี่ยมกับผม” ศาลจึงขอให้พยานอยู่ในความสงบ
ทนายจำเลยถามต่อว่า พยานทราบหรือไม่ว่าการออกกฎหมายต้องทำผ่านสภา พยานตอบว่าไม่ทราบว่ากฎหมายจะออกโดยสภา หรือพระมหากษัตริย์ และพูดกับทนายว่า “ถ้าทนายถามเรื่องกฎหมาย พยานจะไม่ตอบ ขอให้ศาลตักเตือนหน่อย”
ทนายจำเลยถามพยานว่า ที่จำเลยปราศรัยเกี่ยวกับสาธารณรัฐเป็นคำแนะนำใช่หรือไม่ พยานเห็นว่าไม่ใช่คำเสนอแต่เป็นการข่มขู่ ทนายจำเลยจึงถามต่อว่า พยานจำข้อเสนอ 3 ข้อที่จำเลยปราศรัยได้หรือไม่ พยานไม่ขอตอบ ทนายจำเลยถามอีกครั้งว่า ข้อเสนอสาธารณรัฐอยู่ในข้อเสนอ 3 ข้อนั้นหรือไม่ พยานตอบว่าไม่รู้ รู้แค่ว่าเป็นการพูดข่มขู่
หลังจากตอบคำถามสัญญาณจากศาลจังหวัดแพร่ขัดข้อง ศาลจึงให้อัยการโทรหาพยานผ่านเบอร์ส่วนตัว และให้เปิดลำโพง ให้ทนายจำเลยถามค้านผ่านโทรศัพท์
พยานตอบเคยไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ทราบว่าคือพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ประชาชนมักจะไปเคารพสักการะ ทราบว่าเมื่อก่อนไม่มีการล้อมรั้ว แต่ขอไม่ตอบว่าปัจจุบันมีการล้อมรั้วหรือไม่ หลังฟังการปราศรัย พยานยังเคารพรักรัชกาลที่ 10 อยู่ ไม่ได้รู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังเหยียดหยาม
++พนักงานสอบสวนเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุไม่มีการแจ้งเหตุร้าย มีแต่การชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และทราบว่า ระพีพงษ์ เป็นสมาชิกกลุ่ม ศปปส. ที่ดำเนินคดีมาตรา 112 มากกว่า 100 คดี
พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ตอบอัยการโจทก์ซักถามว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2564 ช่วงบ่ายจนถึงช่วงกลางคืน มีการชุมนุม “ราษฎรยกเลิก 112” บริเวณแยกราชประสงค์ ในคดีนี้ พ.ต.ท.ภรากร สุวรรณรัตน์ ผู้กล่าวหา เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนมาเข้าพบตน แจ้งว่ามีการเชิญชวนให้มีการชุมนุมของกลุ่ม “ราษฎรยกเลิก 112” ผ่านโซเชียล โดยมีการนัดหมายวันที่ 31 ต.ค. 2564 วันเกิดเหตุ ตนจึงเข้าไปตรวจสอบ
พยานจำได้ว่าในการชุมนุมมีผู้เข้าร่วมประมาณ 800 คน ในวันนั้นไม่มีการแจ้งเหตุร้ายอะไร มีแต่การชุมนุมที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามชุมนุมรวมตัวกันมากกว่า 50 คน และฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ประกาศห้ามชุมนุม ในพื้นที่เข้มงวดสูงสุด ซึ่งกรุงเทพฯ คือพื้นที่เข้มงวดสูงสุด
พ.ต.ท.ภรากร ได้ไปแจ้งความกับคณะพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มแกนนำ ประมาณ 13 ราย ลักษณะการกระทำของแกนนำทั้งหมด คือ ไปร่วมชุมนุมและขึ้นกล่าวปราศรัย ผู้กล่าวหายังได้มอบรายงานการสืบสวน, ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้กับคณะพนักงานสอบสวน
ในการตั้งข้อหา ผู้ต้องหาทำผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และร่วมกันกีดขวางการจราจร
นอกจากนี้ยังได้มีการสอบคำให้การ พ.ต.ท.ภรากร ผู้กล่าวหา และต่อมามี ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ มาแจ้งความเพิ่ม ในหมู่ผู้ถูกกล่าวหา 13 คน ในข้อหามาตรา 112 เนื่องจากเห็นว่ามีผู้ปราศรัยเข้าข่ายหมิ่นพระมหากษัตริย์ คนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวเพิ่ม 2 คน คือ พรหมศร และ ธนพัฒน์
ระพีพงษ์ ได้มอบแผ่นซีดีบันทึกการปราศรัย และมอบหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษให้ พยานได้สอบคำให้การและได้ส่งแผ่นซีดีไปตรวจว่ามีการตัดต่อหรือไม่ ผลปรากฏว่าไม่มีการตัดต่อ จากนั้นก็ได้ส่งให้พนักงานสอบสวนถอดเทปออกมา
หลังถอดเทปปราศรัยเสร็จ พยานได้ให้พนักงานสอบสวนวิเคราะห์คำปราศรัย ได้ขอความเห็นจากนักวิชาการ ได้แก่ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ และ คมสัน โพธิ์คง นอกจากนี้มีบุคคลธรรมดาอีก 2 ราย คือ ธวัชชัย รุจิศาสตร์ และ ธนพจน์ อนุภาพจาตุรงค์
ตอนสอบปากคำ อานนท์ ได้มอบ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ให้ ความเห็นของ อานนท์ เห็นว่า ข้อความปราศรัยเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ กล่าวหาว่าเอาทรัพย์แผ่นดินเป็นของตน และ อานนท์ ยืนยันว่าไม่จริง ซึ่งความเห็นของคนอื่น ๆ ก็เป็นไปในแนวเดียวกัน
นอกจากนี้พยานได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่เขต ว่าการชุมนุมมีการขออนุญาตหรือไม่
คณะพนักงานสอบสวนได้มีความเห็นว่า ผู้ชุมนุมทั้ง 13 ราย มีความผิด ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, ฝ่าฝืนคำสั่ง ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และร่วมกันกีดขวางการจราจร โดยมี 2 ราย ที่เห็นว่ามีความผิดตามมาตรา 112
พยานตอบทนายจำเลยถามค้านว่าในวันดังกล่าว ตนไม่ได้ลงพื้นที่ แต่ทราบว่ามีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมักจะมีการชุมนุมบ่อย เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่ง
ทนายจำเลยถามว่า ในรายงานสืบสวน มีคลิปที่ถ่ายโดยชุดสืบสวนที่ลงพื้นที่หรือไม่ พยานตอบว่า มีตามคลิปนาทีที่ 11.40 เป็นการปราศรัยเรื่องการต่อสู้, เสรีภาพ, สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ และ ทรัพย์สินสถาบันกษัตริย์ โดยชุดสืบได้ถ่ายคลิปและรายงานให้ความเห็นว่าการชุมนุมเป็นไปโดยเรียบร้อย
พยานทราบว่าจะมีการชุมนุมจากเฟซบุ๊ก แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นแอดมินเพจ พยานคาดเดาไม่ได้ว่าจะมีผู้ชุมนุมกี่คน ทราบว่ามีเจ้าของรถถูกจับในข้อหากีดขวางการจราจร แต่รถนั้นไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 และ 2 ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ
ทนายจำเลยให้ดูภาพจำเลยที่ 2 ขณะขึ้นปราศรัย พยานดูและตอบว่า จำเลยสวมหน้ากากอนามัย
ทนายจำเลยให้พยานดู หนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ ประกอบกับข่าวที่ระบุว่า ระพีพงศ์ เป็นผู้ประสานงานกลุ่ม ศปปส. พยานดูและตอบว่า บุคคลที่มาร้องทุกข์เป็นคนเดียวกันกับในข่าว และได้ตอบทนายว่า ตนทราบว่ากลุ่มดังกล่าวดำเนินคดี ม.112 มากกว่า 100 คดี
พยานตอบทนายจำเลยว่า ตนไม่ได้เป็นผู้เลือกพยานนักวิชาการที่มาเป็นพยาน แต่คณะพนักงานสอบสวนเป็นผู้ติดต่อมาให้ ทนายจำเลยถามต่อว่า ทราบหรือไม่ว่า อานนท์ พยานนักวิชาการ เคยถูกต้นสังกัดสอบสวน เพราะโพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการรัฐประหาร พยานตอบว่าไม่ทราบ ตนไม่ได้สอบแนวคิดด้านการเมืองของนักวิชาการทั้งสอง ไม่ทราบว่าทั้งสองเป็นแกนนำ กปปส.
ทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารของโจทก์ ผลการตรวจซีดี แล้วถามว่าผลการตรวจซีดีเป็นอย่างไร พยานดูแล้วตอบว่า ผลตรวจปรากฏว่าไม่ใช่ต้นฉบับตรวจสอบไม่ได้ และได้เบิกความตอบอัยการโจทก์ถามติงว่า ซีดีที่ไม่ใช่ต้นฉบับพยานไม่ได้เอามาวินิจฉัย ที่เบิกความตอบอัยการไปตอนต้น อาจจะสับสนจึงเบิกความเช่นนั้น
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/72938) -
วันที่: 15-11-2024นัด: สืบพยานโจทก์++สองตำรวจผู้สังเกตการณ์ชุมนุม เบิกความว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่ในช่วงดังกล่าวมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
พ.ต.ท.ภรากร สุวรรณรัตน์ และ ร.ต.อ.วัฒนา เล็กโล่ง ตำรวจฝ่ายสืบสวน ตอบอัยการว่าทั้งคู่ไปถึงที่เกิดเหตุเวลา 14.00 น. เนื่องจากเห็นว่ามีเพจเฟซบุ๊กเพจราษฎร ประกาศรวมตัวทำกิจกรรมราษฎรประสงค์ยกเลิก112 วันที่ 31 ต.ค. 2564 โพสต์ดังกล่าวพยานพบเห็นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2564
พยานทั้งสองเบิกความว่า สภาวะบ้านเมืองขณะนั้นมีความเห็นต่างทางด้านการเมือง มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2563 ประกาศดังกล่าวมีการขยายระยะเวลาต่อเรื่อย ๆ ตอนนั้นพยานจำได้ว่าเป็นครั้งที่ 14
ขณะนั้นเขตปทุมวันที่เกิดเหตุดังกล่าว ยังมีประกาศห้ามการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคโควิด-19, ประกาศเจ้าพนักงานฝ่ายความมั่นคง ห้ามจัดกิจกรรมมั่วสุม 50 คนขึ้นไป ตามข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพื้นที่ที่เกิดเหตุอยู่ในความรับผิดชอบของพยานทั้งสอง
พยานทั้งสองได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้มาดูกรณีตามโพสต์ประกาศว่าจะมีคนทำผิดกฎหมายหรือไม่ มาถึงสถานที่ชุมนุมเวลา 14.00 น. พร้อมกับผู้ใต้บังคับบัญชาประมาณ 10 คน โดยปฏิบัติการในชุดนอกเครื่องแบบ
เวลา 14.20 น. พยานเห็นว่ามวลชนเริ่มเดินลงบนพื้นผิวจราจรประมาณ 20-30 คน มีคนนำแผงเหล็กและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจัดเตรียมปิดถนนในลักษณะหัวท้าย ปิดการจราจรประมาณ 3 ช่องทางฝั่งหน้าห้างเซนทรัลเวิร์ล เพื่อจัดเตรียมทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการเปิดให้ลงชื่อแก้ไขมาตรา 112
เวลาต่อมา ผู้ชุมนุมเริ่มทยอยมา มีกิจกรรมระบายสี ร่วมลงชื่อแก้มาตรา 112 ขายอาหารและมีการปราศรัย ขณะนั้นพยานคาดว่ามีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 100-200 คน
เวลา 15.00 น. พ.ต.อ.ภพธร จิตต์หมั่น รักษาราชการแทนผู้กำกับการ สน.ลุมพินี ได้อ่านประกาศว่าการชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมประมาณ 300 คน หลังอ่านประกาศแล้ว ผู้ชุมนุมก็ไม่ได้หยุด ยังคงทำกิจกรรมต่อไป
จากนั้นมีการตั้งเวที และเริ่มปราศรัยในเวลาประมาณ 16.00 น. อัยการโจทก์ถามว่ามีผู้ดำเนินการหรือต่างคนต่างเข้ามาบนเวที พยานตอบว่า มีพิธีกรคือชาติชาย แกดำ และมีผู้ขึ้นพูดประมาณ 13 คน พยานจำได้ไม่หมดทุกคน
มีเพียง พ.ต.ท.ภรากร เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ การชุมนุมตามสถานการณ์ ไม่ได้ประจำที่จุดใดจุดหนึ่ง ส่วน ร.ต.อ.วัฒนา ยืนประจำอยู่ที่หน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ นอกจากกลุ่มของพยานมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบกลุ่มอื่น มีตำรวจจราจร ช่วยดูการจราจรที่ติดขัด ตำรวจสายตรวจ ช่วยยับยั้งกรณีเกิดเหตุความรุนแรงอยู่ด้วย
การปราศรัยเสร็จสิ้นประมาณ 20.00 น. ช่วงเวลาที่นั้นมีผู้ชุมนุมประมาณ 800-1,000 คน จากการตรวจสอบพบว่าการชุมนุมไม่ได้ขออนุญาต การปิดจราจรก็ไม่ได้ขออนุญาต ผู้ชุมนุมบางคนสวมหน้ากากอนามัย บางคนก็ไม่สวม ไม่มีการเว้นระยะห่าง ไม่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พื้นที่การชุมนุมกว้างประมาณ 3 เลน น่าจะประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 – 700 เมตร
พยานทั้งสองบันทึกภาพการชุมนุมและส่งไปรายงานผู้บังคับบัญชาให้ดูภาพรวมทั้งหมด โดยจัดทำเป็นรายงานการสืบสวน หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชา ได้ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้กล่าวปราศรัย 13 ราย ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 พยานทั้งสองจึงได้เข้าให้การกับพนักงานสอบสวน
พยานจำได้ว่าบนเวทีปราศรัยพูดเรื่อง ความเห็นต่างทางการเมือง, เสียดสีสถาบัน และยกเลิกมาตรา 112
อัยการโจทก์ถามต่อว่าแล้วพฤติการณ์ของจำเลยเป็นอย่างไร พยานตอบว่าจำเลยที่ 1 พูดปราศรัยฝั่งห้างฯ The market ส่วนจำเลยที่ 2 ปราศรัยด้านล่างเวที
พยานตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในวันเกิดเหตุพยานทั้งสองตอบว่าแต่งกายนอกเครื่องแบบ ทนายจำเลยถามต่อว่าโดยปกติแล้วถ้ามีการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจะคอยบันทึกภาพใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ ซึ่งจะปรากฏตามรายงานสืบสวนเป็นคลิปวิดิโอในซีดีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาบันทึกไว้
ในการปฏิบัติหน้าที่พยานทังสองสวมหน้ากากอนามัย ทั้งสองอยู่ในพื้นที่ตลอดการชุมนุม หลังจากปฏิบัติหน้าที่ติดก็ไม่มีผู้ใดติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการชุมนุม
พยานทั้งสองทราบว่า ข้อกำหนดใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนดห้ามชุมนุม ห้ามทำกิจกรรมในสถานที่แออัด และเบิกความตอบทนายจำเลยว่า ที่ชุมนุมคือพื้นผิวจราจร ไม่ใช่ภายในอาคาร มีอากาศถ่ายเท และเป็นที่โล่ง
พยานทั้งสองไม่รู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อน แต่เคยได้ยินชื่อ ที่พยานตอบว่าทราบจากโซเชียลมีเดียว่าจะมีการชุมนุม แต่ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้โพสต์ เมื่อดูภาพรวมคิดว่า การชุมนุมมีการเตรียมอุปกรณ์ รันคิว น่าจะมีการเตรียมตัวมา ไม่ใช่ว่าใครอยากจะขึ้นพูดปราศรัยก็ขึ้นได้ คนจัด คือกลุ่มผู้ที่ขึ้นมาปราศรัย เพราะมีการแบ่งงาน
ร.ต.อ.วัฒนา ยังเบิกความเพิ่มเติมว่า ลักษณะเวทียกสูงมาระดับหนึ่ง เป็นเวทีชั่วคราว มีพื้นที่ระหว่างเวทีกับผู้ชุมนุมประมาณ 3-4 เมตร ในวันที่เกิดเหตุ คนเริ่มทยอยเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ไม่ได้กรูเข้ามาทีเดียว ช่วงนั้นมีฝนตกด้วยบางคนก็หลบอยู่ในร่ม และตนเห็นเวทีตั้งแต่ตอนที่กำลังตั้ง แต่ไม่ได้เข้าไปคุยกับเจ้าของรถบรรทุกเครื่องเสียง และเจ้าของเวที จึงไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ
ในการทำข้อพิจารณาและสรุปการชุมนุม พยานทั้งสองสรุปตรงกันว่าการชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรค
อัยการโจทก์ถามติงพยานทั้งสอง พยานตอบสอดคล้องกันว่าตอนที่จดคำปราศรัยเป็นการสรุปคร่าว ๆ เพราะตอนนั้นอยู่ในที่เกิดเหตุ มีประชาชนจำนวนมาก ไม่สามารถจดได้ทุกคำ พอจะจำได้ว่าจำเลยพูดเรื่องการตายของประชาชนที่ออกมา และเรื่องกฎหมายปิดกั้นสิทธิ พูดให้มาฟังการปราศรัยหน้าเวที มีการปรบมือ มีการร้องเพลง และกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ศิลปะการแสดงส่วนใหญ่อยู่บนเวที
++นักวิชาการสุขาภิบาลเห็นว่าการชุมนุมไม่มีมาตรการป้องกันโรค แต่ในช่วงปี 63 – 66 ไม่มีใครขอจัดการชุมนุมในช่วงโควิด – 19 บริเวณแยกราชประสงค์ ก็มีการจัดชุมนุมบ่อย เป็นที่โล่งกว้าง
สุรสิทธิ์ โคษา เบิกความว่า รับข้าราชการเป็น นักวิชาการสุขาภิบาล ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตปทุมวัน มีหน้าที่กำกับการควบคุมป้องกันโรค ปัจจุบันรับราชการอยู่ที่สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร
ตอบอัยการโจทก์ซักถามว่า ในคดีนี้พนักงานสอบสวนได้เรียกไปเป็นพยาน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ ช่วงปี 2563 จากนั้น พยานขอเบิกความใหม่ว่าเป็นช่วงปี 2564 ปลายปี ซึ่งตอนเกิดเหตุตนยังปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานเขตปทุมวัน
พยานไม่ได้ถูกเรียกหรือมีคำสั่งให้ไปตรวจในการชุมนุมนี้ พยานตอบอัยการว่าช่วงนั้น มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีการออกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ การชุมนุมดังกล่าวไม่มีการขออนุญาต ไม่มีการป้องกันโรค โดยดูจากภาพที่พนักงานสอบสวนให้ดู เห็นว่ามีคนมากกว่า 50 คน มีการสวมหน้ากากอนามัยบ้าง แต่ไม่มีการเว้นระยะห่าง ไม่มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และไม่มีการลงรายชื่อผู้เข้าร่วม
พยานทนายจำเลยถามค้าน ว่าในช่วง ปี 2563-2566 ขณะตนทำงาน ในตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ก็ไม่มีคนมาขออนุญาตชุมนุม ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตนทราบว่าแยกราชประสงค์มีการชุมนุมบ่อยครั้ง เพราะลักษณะสถานที่เป็นที่โล่งกว้าง
ในการชุมนุมที่เกิดเหตุ พยานไม่ทราบว่าผู้ใดจะเป็นแกนนำหรือผู้จัด และไม่ทราบว่าการชุมนุมมีวัตถุประสงค์อะไร ทราบว่าตำรวจบอกว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 800-1,000 คน และทราบว่าผู้ที่ต้องขออนุญาตจัดการชุมนุมคือผู้จัด ไม่ใช่ผู้เข้าร่วม
ทนายจำเลยจึงถามว่า ตอนที่พนักงานสอบสวนให้ดูภาพการชุมนุม ให้ดูกี่ภาพ พยานตอบว่าจำไม่ได้ จำได้ว่าเป็นเอกสาร ไม่ทราบว่าใครถ่ายภาพ และพยานเองก็ไม่ได้ไปในพื้นที่การชุมนุม ไม่ทราบว่าจะมีจุดคัดกรอง จุดแจกเจลแอลกอฮอล์หรือไม่ ไม่ทราบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการชุมนุมหรือไม่ พยานทราบว่า ประกาศตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ถูกยกเลิกภายหลัง
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/72938) -
วันที่: 19-11-2024นัด: สืบพยานโจทก์และพยานจำเลย++ประชาชน 2 ราย ถูกตำรวจเรียกให้มาเป็นพยาน ทราบว่าทรัพย์สินส่วนตัว ต่างจากทรัพย์สินของสถาบันฯ หนึ่งในประชาชนเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์ทำได้ แต่ต้องมีขอบเขต
ธวัชชัย รุจิศาสตร์ และ ธนพจน์ อนุภาพจาตุรงค์ เป็นประชาชนธรรมดาที่ถูกพนักงานสอบสวน ตามให้เป็นพยานในคดีนี้
พยานทั้งสองเบิกความตอบอัยการ ทำนองเดียวกันว่า ในวันชุมนุมดังกล่าว พยานไม่ได้ไปในที่เกิดเหตุ แต่ถูกพนักงานสอบสวนเรียกมาที่ สน.ลุมพินี และให้ดูข้อความที่ทำการถอดเทปปราศรัย ว่าเป็นเช่นไร ทั้งสองเข้าใจว่าเป็นการปราศรัยว่าในหลวงเอาทรัพย์สมบัติมาเป็นของส่วนตัว
ธวัชชัยยังเสริมว่า ปกติแล้วมรดกต้องตกสู่รัชกาลต่อไป จำเลยปราศรัยเหมือนว่าทรัพย์สมบัติ จะไม่สามารถตกสู่รัชกาลต่อไปได้ ซึ่งในความเห็นตนไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน
ในเอกสารที่ตำรวจให้ดู จำเลยยังปราศรัยว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ตรากฎหมาย ให้พระมหากษัตริย์สามารถเอาทรัพย์สินอะไรไปก็ได้ ก็ไม่สามารถเอาทรัพย์สินมาเป็นของตนได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นการกล่าวอ้างดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
ธวัชชัย เบิกความว่า ตนไม่ทราบถึงรายละเอียดการโอนทรัพย์สิน พนักงานสอบสวนถามถึงความรู้สึก หลังอ่านข้อความ ซึ่งเป็นคำพูดปราศรัยของ ฟ้า แต่ตนจำชื่อจริงไม่ได้ และ ปูน ธนพัฒน์ ตนไม่ได้รู้จักผู้ปราศรัยเป็นการส่วนตัว ในการสอบคำให้การ พนักงานสอบสวนก็ถามคำถามและให้พยานตอบ จากนั้นก็ให้เซ็นคำให้การเป็นพยาน ตนทราบว่าต่อมามีการจับกุมจำเลยทั้งสอง
ทนายจำเลยถามค้านว่าทั้งสองมาให้การกับพนักงานสอบสวนได้อย่างไร ธวัชชัย ตอบว่า มีตำรวจมาตาม เป็นตำรวจที่เคยเจอ จำได้ว่าตำรวจนายนั้นประจำอยู่ที่ สน.ลุมพินี รู้จักมักคุ้นอยู่ เนื่องจากขับมอเตอร์ไซค์ผ่าน แต่จำชื่อไม่ได้ ส่วนธนพจน์ ตอบว่า ที่ตำรวจเลือกมาเป็นพยานเนื่องจากรู้จักกัน ตำรวจนายนั้นเป็นพ่อของรุ่นพี่ที่ทำงาน แต่คนที่สอบปากคำเป็นคนละคนกัน
ทั้งสองเบิกความสอดคล้องกันว่าในวันที่ไปให้การ จะมีโต๊ะ มีเอกสาร และพนักงานสอบสวนก็จะอ่านข้อความ แต่ก็ไม่ได้อ่านหมดเนื่องจากข้อความยาว เป็นการอ่านโดยรวม ไม่มีการเปิดคลิปตอนปราศรัย ใจความคือ ผู้ปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 แต่ไม่ทราบในรายละเอียด
พยานทั้งสองเข้าใจว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่างจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัว แต่ทั้งสองไม่ทราบขั้นตอนการโอนทรัพย์สินสาธารณะเป็นทรัพย์สินส่วนตัว จะมีวิธีตามกฎหมายใด
ทนายจำเลยยกตัวอย่างพระบรมรูปทรงม้า พยานทั้งสองตอบว่า ทราบว่าเมื่อก่อนไม่มีรั้วกั้น มีการเข้าไปใช้กราบไหว้ตามปกติ แต่เดี๋ยวนี้มีรั้วกั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะยังเข้าใช้ได้หรือไม่ พยานทั้งสองเคยเห็นข่าวการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ มาเป็นพระปรมาภิไธยของรัชกาลที่ 10 แทน
ธวัชชัยได้เบิกความตอบทนายจำเลยว่า ตนคิดว่า ในฐานะประชาชนมีสิทธิแสดงความเห็นเรื่อง “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” ได้ แต่ก็ต้องมีขอบเขต สำหรับพยานหลังอ่านข้อความที่ถอดเทปการปราศรัย ก็ไม่ได้รู้สึกเกลียดชังหรือดูหมิ่นรัชกาลที่ 10
อัยการโจทก์ถามติงธวัชชัยคนเดียว พยานตอบว่า ตนไม่ได้ไปลานพระบรมรูปทรงม้านานแล้ว ไม่ทราบว่าคนทั่วไปยังเข้าไปได้หรือไม่ ตนไม่ทราบว่าเขตที่ตั้งพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือ พื้นที่ของพระมหากษัตริย์ และไม่ทราบว่าการล้อมรั้ว จะมีจุดประสงค์เพื่อเอาเป็นของตนเอง หรือเพื่อความปลอดภัย
++ธนพัฒน์ ยืนยันว่า ตนปราศรัยแสดงความเห็นต่อการแก้ไขกฎหมายการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์
ธนพัฒน์ ขึ้นเบิกความในฐานะพยานจำเลย ขณะเกิดเหตุ พยานศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เริ่มสนใจเรื่องสังคมและการเมือง ในช่วงอายุ 17-18 ปี เพราะช่วงนั้นมีการเลือกตั้งปี 2562 เพราะคิดว่าพลเมืองมีสิทธิในการติดตามข่าวสาร
ในปี 2562 พรรคที่ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนอันดับ 1 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้ตนยิ่งสนใจมากขึ้น และช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตนก็ไม่ได้รับการเยียวยา การเรียนออนไลน์ก็สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
พยานทราบล่วงหน้าประมาณ 2-3 วัน จากเฟซบุ๊กว่าผู้จัดการชุมนุม คือกลุ่มราษฎร ทำกิจกรรมเข้าชื่อยกเลิกมาตรา 112 ในวันที่ 31 ต.ค. 2564 ที่แยกราชประสงค์ ซึ่งการเข้าชื่อแก้กฎหมายถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ
พยานไม่ใช่ผู้จัดการชุมนุม เป็นเพียงผู้เข้าร่วม โดยไปถึงที่ชุมนุมประมาณ 15.00 น. ตอนนั้นอยู่บริเวณห้างสยามพารากอน แล้วเดินไปที่แยกราชประสงค์ บริเวณจัดกิจกรรมอยู่ที่ถนนราชดำริ และห้างเซนทรัลเวิลด์ เป็นถนน 8 ช่องสัญจร ไม่มีเกาะกลาง ปลอดโปร่งไม่มีหลังคาคลุม
เมื่อมาถึง พบว่ามีการปราศรัย การเข้าชื่อเสนอยกเลิก ม.112 บริเวณฝั่งห้างฯ เกษร ไกลจากเวทีประมาณ 500 เมตร จากนั้นได้มีเพื่อนชวนตนไปพูดปราศรัย เป็นเพื่อนที่มักเจอบ่อยในการชุมนุม ที่ชวนเนื่องจากตอนนั้นกิจกรรมบนเวทีเริ่มแล้ว แต่คนยังไม่มา พยานจึงถามว่า จะให้ปราศรัยอะไร เพื่อนคนนั้นก็ตอบว่า พูดเรื่องยกเลิก ม.112
พยานขึ้นปราศรัยประมาณ 16.00 น. พูดไม่นานประมาณ 30 นาที ก็ลงจากเวที การขึ้นพูดจะมีการจัดคิว โดยจะมีคนมาบอกว่าต้องขึ้นตอนไหน เจตนาในการปราศรัยของพยาน เพื่อให้เสนอร่างยกเลิก ม.112 เพราะมีปัญหาในตัวบท และมีอัตราโทษที่สูงกว่าคดีอาญาอื่น ใครจะฟ้องก็ได้
ในสมัย รศ.127 มาตรา 98 กำหนดโทษมาตรานี้ ตราในกฎหมายลักษณะอาญา ไม่มีโทษขั้นต่ำ และสามารถปรับแทนได้ จนปี พ.ศ. 2519 สมัยพลเอกสงัด ชลออยู่ รัฐประหาร ได้แก้โทษกฎหมายนี้
นอกจากนี้ ตนทราบว่าการเสนอชื่อยกเลิก ม.112 มีเผยแพร่ในโซเชียล เช่น เว็บไซต์ iLaw และ เว็บไซต์คณะก้าวหน้า ก็เปิดเป็นสาธารณะ ใครก็เข้าถึงได้ ในแวดวงนักวิชาการ นักการเมือง ก็มีการพูดเรื่องประเด็นนี้ด้วย
พยานเบิกความ ยืนยันว่าคำพูดตามฟ้อง ตนต้องการแสดงความเห็น ต่อกฎหมายที่ประกาศใช้ในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเดิมทีแล้วใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 กำหนดให้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เป็นประธานสำนักงานทรัพย์สินฯ ทรัพย์สินแบ่งเป็น ส่วนพระองค์, สาธารณะสมบัติ และ ส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นของสถาบันกษัตริย์ที่จะส่งต่อให้กษัตริย์องค์ต่อไป ไม่ใช่ขององค์ใดองค์หนึ่ง
ต่อมาปี 2560 มีการแก้ไขกฎหมายใหม่ รวมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับสาธารณะสมบัติ มีคณะกรรมการที่แต่งตามตามอัธยาศัยเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน และใน ปี 2561 มีการแก้ชื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ตัดคำว่า “ส่วน” ออก เหลือแค่คำว่า “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์”
ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว ให้อำนาจกษัตริย์ แต่งตั้งกรรมการสำนักงานทรัพย์สินฯ ตามพระราชอัธยาศัย ในเวลาต่อมา มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือหุ้นจาก สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นพระปรมาภิไธย
พยานเคยไปลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ก่อนเป็นที่สาธารณะ รถเมล์สามารถสัญจรผ่านได้ สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ สวนสัตว์เขาดิน แต่ก่อนก็ไม่มีรั้ว ปัจจุบันมีรั้วกั้น สัญจรไม่ได้ เขาดินก็ไม่ได้เป็นสวนสัตว์แล้ว เข้าไปไม่ได้แล้ว รัฐสภาเดิมก็ถูกย้ายไปอยู่ตรงเกียกกาย
ก่อนเกิดเหตุ พยานเคยอ่านบทความที่นักวิชาการได้เผยแพร่ หลังเกิดเหตุ ก็มีหลายสื่อ หลายองค์กรแสดงความเห็นเรื่องนี้ หลังเสร็จการชุมนุม พยานกลับบ้านเวลาประมาณ 18.00 น. หลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19
ในข้อที่พยานพูดเรื่องสาธารณรัฐ พยานเสนอกับประชาชนทั่วไป เนื่องจากอ่านจากบทความ เข้าใจว่าหมายถึงรัฐที่เห็นการจัดการของสาธารณะสำคัญเป็นหลัก
หลังถูกดำเนินคดีนี้ พยานได้ส่งข้อมูลคดีให้พยานนักวิชาการ คือ สมชาย ปรีชาศิลปกุล เพื่อขอความเห็น แต่อาจารย์ไม่สามารถมาเป็นพยานได้ เนื่องจากติดภารกิจสอนหนังสือ แต่ได้ทำความเห็นมาให้ จึงได้ยื่นประกอบต่อศาล
ปัจจุบันอยู่ในช่วงรอการสอบที่จะจัดในวันที่ 8 ธ.ค. 2567 เนื่องจากเมื่อต้น ก.พ. 2567 พยานจะซิ่วจากคณะนิเทศศาสตร์ มาเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ครอบครัวของพยานมีพ่อและแม่ทำงานค้าขาย พยานอยู่กับตา ยาย และแม่ เพราะพ่อและแม่แยกกันอยู่ พยานมีพี่น้อง 3 คน พยานเป็นลูกคนโต ทุกคนอยู่ในวัยกำลังศึกษา กำลังหลักของบ้าน คือ แม่ ตนเองก็ช่วยที่บ้านทำงานหาเงิน เนื่องจากไม่อยากขอเงินแม่ ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ ทำกิจกรรมในค่ายอนุรักษ์ มีรายได้ไม่แน่นอน เฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท
พยานยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาปราศรัยเพื่อดูหมิ่น แต่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ออกมา ถ้าพยานสอบไม่ติด พยานก็ได้ลงทะเบียนเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้ว
ตอบอัยการโจทก์ถามค้านว่า ในวันเกิดเหตุ พยานอยู่ที่กรุงเทพฯ ตนไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิกยกเลิก ม.112 แต่พยานกดถูกใจและกดติดตามไว้ พยานปฏิเสธว่าไม่ได้พบบุคคลหลายคนที่มักจะเจอในที่ชุมนุมอื่น
อัยการโจทก์ถามว่า ทำไมพยานได้พูดในลำดับที่ 3 พยานตอบว่า เพราะมีการจัดลำดับการพูด การพูดของพยาน พูดความเห็นวิชาการ ใครเห็นด้วยก็ลงชื่อ ในวันนั้นที่คนลงชื่อ ทั้งในที่ชุมนุมและบนเว็บไซต์มีประมาณ 300,000 คน
พยานเกิดปี 2546 ทราบว่าการแก้กฎหมาย ม.112 เกิดขึ้นก่อนพยานจะเกิด ทราบว่าพระบรมรูปทรงม้าเป็นการสร้างตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ใช้งบประมาณจากการบริจาค สร้างบนที่ดินพระคลังข้างที่ซึ่งต่อมาเป็นที่ดินพระมหากษัตริย์
อัยการโจทก์ถามว่า พระบรมรูปทรงม้าอยู่ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ แต่เดิมทีแล้วที่มาจากพระคลังข้างที่ ก่อนที่พระคลังข้างที่จะเป็นที่ดินพระมหากษัตริย์ก็เป็นสาธารณสมบัติ และพยานไม่ทราบว่าการกั้นลานพระบรมรูปทรงม้า จะเพื่อความปลอดภัยหรือไม่
พยานทราบว่าหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ในพระปรมาภิไธยมีจำนวน 30% ทราบแค่ว่ารัชกาลที่ 10 เป็นผู้ถือหุ้นสูงสุด และการเปลี่ยนหุ้นดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักฐานเป็นคำชี้แจงจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
อัยการโจทก์ถามว่าที่ต้องการแก้โทษ ม.112 ให้โทษต่ำลง เพราะไม่ได้ประกันตัวใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ และได้ตอบทนายจำเลยถามติงใหม่ว่า ที่ต้องการให้ยกเลิก ม.112 เพราะไม่ได้ประกัน เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง แต่เพราะกฎหมายมีโทษสูง ใครจะฟ้องก็ได้ บทบัญญัติมีความกว้างเกินไป
ทนายจำเลยถามพยานว่า พระบรมรูปทรงม้ามีความสำคัญอย่างไร พยานตอบว่าลานพระบรมรูปทรงม้า เดิมสร้างบนที่ดินของพระคลังข้างที่ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลานดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นที่จัดการประชุม จัดงานอุ่นไอรัก เป็นที่รับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
.
คดีเสร็จการพิจารณา ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 ก.พ. 2568
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/72938) -
วันที่: 17-02-2025นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณา 603 พรหมศรพร้อมกับเพื่อนและ ทนายความได้เดินทางมาถึงศาลแล้ว แต่ธนพัฒน์กำลังเดินทางมา ศาลจึงพิจารณาคดีอื่นไปก่อน เมื่อเวลา 10.34 น. ธนพัฒน์มาถึงศาล จำเลยทั้งสองพร้อมทนายความและเพื่อนที่มาให้กำลังใจก็เข้าไปยังห้องพิจารณา รวมถึงตำรวจศาล 1 นาย
ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษา พรหมศรได้ขออนุญาตศาลและเดินไปยื่นเอกสารประกอบคำรับสารภาพ โดยศาลได้รับไว้และให้ทนายจำเลยเขียนคำร้องขอยื่นเอกสารเพิ่มเติม จากนั้นศาลได้อ่านคำพิพากษา สรุปใจความได้ว่า
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โดย ธนพัฒน์ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ส่วนพรหมศร จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพ ตามประมวลกฎหมายวิธีความพิจารณา มาตรา 176 ศาลสามารถพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามฟ้อง
ในส่วนของจำเลยที่ 1 ในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ พยานโจทก์ต่างเบิกความสอดคล้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ขึ้นปราศรัยในการชุมนุมในวันที่เกิดเหตุ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจำเลยที่ 1 เองก็รับว่าได้ขึ้นพูดปราศรัยจริง โดยอ้างว่า ตนมีเจตนาดี ปราศรัยเพื่อเชิญชวนให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย
ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าการชุมนุมในวันเกิดเหตุ เป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50 คน ไม่มีมาตรการป้องกันโรค ตามที่ราชการกำหนด การชุมนุมดังกล่าวจึงฝ่าฝืนประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ แต่ในทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดกิจกรรม เพียงแต่เป็นคนขึ้นพูดปราศรัย
ในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จากคำให้การเป็นหนังสือของพยานโจทก์ ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้การว่า ข้อความที่จำเลยกล่าวทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสียหาย ทำให้คนไม่จงรักภักดี
จำเลยที่ 1 กล่าวปราศรัยว่า ในหลวงรัชกาลที่ 10 เอาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติไปเป็นของตนเอง ดำรงตนอยู่เหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้รับความเสียหาย เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ แล้ว เห็นว่า ไม่มีการแก้กฎหมายเอาสาธารณสมบัติมาเป็นของพระองค์เอง เป็นการแก้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์
ที่จำเลยที่ 1 ปราศรัยถึงการแปลงชื่อผู้ถือหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์มาเป็นพระปรมาภิไธยของรัชกาลที่ 10 แทน เห็นว่า เป็นเรื่องดี เนื่องจากทำให้ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ปราศรัยถึงการล้อมรั้วลานพระบรมรูปทรงม้า เห็นว่า เป็นการล้อมรั้วเพื่อความปลอดภัย
การปราศรัยของจำเลยจึงเป็นการด้อยค่า ไม่ใช่การรณรงค์ให้เข้าชื่อแก้กฎหมาย หากจำเลยมีเจตนาดีในการปราศรัยที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมาย ควรใช้วิธีการที่ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
ในส่วนที่จำเลยปราศรัยเกี่ยวกับสาธารณรัฐ ยังไม่มีข้อเท็จจริงมากพอว่าจำเลยจะกล่าวเกี่ยวกับการปกครองว่าอย่างไร จึงยังไม่เป็นการอาฆาตมาดร้าย
พิพากษาว่า ธนพัฒน์ จำเลยที่ 1 และพรหมศร จำเลยที่ 2 มีความผิดตามคำฟ้อง ในข้อหาตามมาตรา 112 และร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ในขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว ถือว่ามีความรู้ผิดชอบชั่วดีแล้ว ไม่มีเหตุให้ลดโทษ ข้อหาตามมาตรา 112 จำคุกคนละ 6 ปี ส่วนข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จำคุกคนละ 1 ปี และปรับคนละ 30,000 บาท
ธนพัฒน์ จำเลยที่ 1 ให้การเป็นประโยชน์ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน และปรับ 20,000 บาท
พรหมศร จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน และปรับ 15,000 บาท
เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดี เห็นว่า เป็นการปราศรัยทางการเมือง ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ มีการจัดการเลือกตั้ง มีหลายกลุ่มที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมือง เป็นการแสดงความเห็นเพื่อต้องการให้ประเทศพัฒนาดีขึ้น และธนพัฒน์ จำเลยที่ 1 อายุยังน้อย ขาดความยับยั้งชั่งใจ โทษจำคุกไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลยทั้งสอง จึงให้รอการลงโทษเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติ 2 ปี โดยให้รายงานตัวต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติทุก 4 เดือน และให้ทำประโยชน์สาธารณะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่น เมื่อศาลพิพากษาให้รอการลงโทษ จึงไม่สามารถนับโทษต่อได้ ให้ยกคำขอของอัยการโจทก์
ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษา ได้แก่ ทิวา ชีวินไกรสร และ บวรวรรณ ธีระมงคลกุล
.
หลังอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น พรหมศรได้ร้องไห้ด้วยความดีใจและสวมกอดเพื่อน ธนพัฒน์เองก็ขอบคุณทนายความและเพื่อน ๆ ที่มาให้กำลังใจ และทั้งสองได้กล่าวขอบคุณผู้พิพากษาก่อนที่จะไปจ่ายค่าปรับรวม 35,000 บาท
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/72998)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนพัฒน์ (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ทิวา ชีวินไกรสร
- บวรวรรณ ธีระมงคลกุล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
17-02-2025
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนพัฒน์ (สงวนนามสกุล)
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- ทิวา ชีวินไกรสร
- บวรวรรณ ธีระมงคลกุล
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
17-02-2025
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์