ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.382/2566

ผู้กล่าวหา
  • ถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์มหาวิยาลัยบูรพา (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.382/2566
ผู้กล่าวหา
  • ถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์มหาวิยาลัยบูรพา

ความสำคัญของคดี

“บีม” อรรฆพล (สงวนนามสกุล) กราฟิกดีไซเนอร์อิสระ วัย 25 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยถูกกล่าวหาว่า โพสต์เฟซบุ๊ก 8 ข้อความ ในทำนองหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ หลังถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าแจ้งความที่ สภ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งข้อความที่ถูกกล่าวหา บางข้อความไม่ได้กล่าวถึงบุคคลที่มาตรา 112 คุ้มครอง ทำให้อรรฆพลต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปต่อสู้คดีไกลถึง จ.ระยอง ระยะทางกว่า 160 กม.

อรรฆพลถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นคดีที่ 2 โดยในคดีนี้ถูกกล่าวหจากโพสต์เดียวกันกับคดีแรกด้วย 1 โพสต์

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความคุ้มครองไปถึงบุคคลในราชวงศ์ ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีโทษทางอาญาที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ปวริศ ปิ่นสินชัย พนักงานอัยการจังหวัดระยอง บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า

ระหว่างวันที่ 20 ก.ค. 2563 จนถึงวันที่ 8 ม.ค. 2564 อรรฆพลได้กระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์และรัชทายาท โดยได้โพสต์ข้อความหมิ่นประมาท ใส่ความ พระมหากษัตริย์และรัชทายาท ในเฟซบุ๊กรวม 8 ครั้ง ตั้งต่าเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถดูและอ่านได้ อาทิเช่น

- เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563 โพสต์ข้อความว่า “คิดถึงคนบนฟ้า อยากให้มารับลูกชายไปอยู่ด้วย”
- เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2563 โพสต์ข้อความว่า “อาจารย์โทรมาเตือนเรื่องโพสต์” “กู : อาจารย์เตือนตัวเองเถอะ ประเทศชิบหายขนาดนี้ ยังนั่งโบกธง ทรงพระเจริญ อยู่อีก // วางสาย”
- เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 โพสต์ข้อความว่า “สลิ่มบอก ถ้านักเรียนอยากใส่แบรนด์เนม ก็ใส่ Sirivannavari Bangkok สิ // สรุปเด็กกลับไปใส่ชุดนักเรียน”
- เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 โพสต์ข้อความว่า “ทำไมเด็กจะใส่ไปรเวทไปโรงเรียนไม่ได้อ่ะ ทีพ่อมึงยังใส่สูทไปเดินป่าได้เลย”
- เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 โพสต์ข้อความว่า “พิมรี่พายขึ้นดอยครั้งเดียวเด็กมีไฟฟ้าใช้ แต่บางคนขึ้นดอยมา 70 ปี…//ไม่พูดดีกว่า” และจำเลยยังได้โพสต์เพิ่มเติมในช่องความเห็นว่า “สงสัยจะมองไม่เห็น มีตาเดียว”

ข้อความทั้งแปดรวมความแล้วมีความหมายว่า จําเลยต้องการโพสต์เสียดสีรัชกาลที่ 9 ซึ่งสวรรคตไปแล้ว และรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรส ที่ทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน เป็นการให้ร้าย ใส่ความ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนําปัญหาของชาติบ้านเมืองไปโยงใยเกี่ยวเนื่องกับการถวายความจงรักภักดี ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงอคติในการบั่นทอนความมั่นคง ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์หาได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด

อีกทั้งมีการโพสต์เสียดสีการต่อต้านแต่งกายชุดนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการแต่กลับไปพาดพิงถึง พลตรีหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ 10 ที่ทรงเชี่ยวชาญในการออกแบบชุดแต่งกายต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยอันไม่บังควร ทั้ง ๆ ที่การออกแบบเครื่องแต่งกายของพระองค์เจ้าสิริวัณวรีฯ นั้นเป็นเรื่องส่วนพระองค์

ทั้ง 8 ข้อความเมื่อต่อเนื่องกันแล้ว ทําให้ประชาชนจํานวนมากที่ได้พบเห็นรับรู้ได้ว่า จําเลยใส่ความ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างการดูหมิ่นเกลียดชังต่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ อันเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพสถาบันกษัตริย์ ไม่จงรักภักดี ไม่ให้การถวายพระเกียรติ และจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว, รัชกาลที่ 10 และเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดระยอง คดีหมายเลขดำที่ อ.382/2566 ลงวันที่ 26 เม.ย. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. อรรฆพล (สงวนนามสกุล) หรือ “บีม” กราฟิกดีไซเนอร์อิสระ วัย 25 ปี เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สภ.แกลง จังหวัดระยอง ในข้อหา ‘หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ’ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) โดยมี ถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้กล่าวหา

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 อรรฆพลได้เคยเดินทางไปให้การในฐานะพยานตามหมายเรียกพยานมาแล้ว 1 ครั้ง ก่อนที่จะถูกออกหมายเรียกผู้ต้องหาในครั้งนี้ ในครั้งนั้นอรรฆพลไม่ได้ให้การใดๆ ทั้งสิ้นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    พ.ต.ท.ไพฑูรย์ ตั้งความเพียร รองผู้กำกับ (สอบสวน) สภ.แกลง เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ในคดีให้อรรฆพลรับทราบ โดยมีทนายความเข้าร่วมรับฟัง

    พนักงานสอบสวนระบุว่า มูลเหตุในคดีนี้สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 เวลาประมาณ 20.00 น. ถนอมศักดิ์ได้เปิดเฟซบุ๊ก พบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ข้อความลงบนไทม์ไลน์ของตนเองในลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

    ข้อความที่อรรฆพลถูกกล่าวหามาจากข้อความในเฟซบุ๊ก 8 ข้อความ โพสต์ระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ถึงเดือนมกราคม 2564 โดยผู้กล่าวหาพบว่า บัญชีเฟซบุ๊กที่เชื่อว่าเป็นของอรรฆพล มีผู้ติดตามจำนวน 3,058 คน (ณ วันเกิดเหตุ) และทุกข้อความข้างต้นมีผู้เข้ามากดไลค์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตพระมหากษัตริย์

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”

    อรรฆพลให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จนเวลา 13.00 น. หลังพนักงานแจ้งข้อกล่าวหาในคดีเสร็จสิ้นได้ปล่อยตัวอรรฆพลกลับ โดยไม่ได้ควบคุมตัวไว้ และจะประสานงานแจ้งวันนัดสำนวนส่งให้อัยการต่อไป

    ทั้งนี้ คดีนี้นับเป็นคดีมาตรา 112 คดีที่ 2 ของอรรฆพล โดยก่อนหน้านี้เขาเคยถูกแน่งน้อย อัศวกิตติกร ประธานศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ หรือ “ศชอ.”กล่าวหาจากโพสต์เฟซบุ๊กเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาในครั้งนี้ จำนวน 1 โพสต์

    หลังรับทราบข้อกล่าวหาแล้วเสร็จ อรรฆพลได้เปิดเผยว่า การเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาถึงจังหวัดระยองในครั้งนี้ ทำให้ตนเสียเวลาอย่างมาก เพราะต้องหยุดงาน 1 วัน เป็นการเสียโอกาสในการทำงานโดยเปล่าประโยชน์ การเดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทั้งสิ้น 1,700 บาท แต่ได้กองทุนดาตอร์ปิโดช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้

    อรรฆพลเล่าอีกว่า ข้อความที่ถูกกล่าวหาดำเนินคดีตามมาตรา 112 ในครั้งนี้นั้น เกิดจากการตีความไปเองของผู้กล่าวหาทั้งสิ้น ไม่ได้มีข้อความใดหรือคำใดที่ระบุถึงกษัตริย์อย่างตรงตัวเลยแต่อย่างใด

    อรรฆพลยอมรับว่า การที่ถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 ถึง 2 คดีด้วยกัน ทำให้เขาระมัดระวังตัวในการใช้สื่อโซเซียลออนไลน์มากขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงแสดงออกและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองและสถาบันกษัตริย์ต่อไป

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.แกลง ลงวันที่ 29 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/37346)
  • พนักงานสอบสวน สภ.แกลง นัดอรรฆพลไปส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการจังหวัดระยอง อัยการรับตัวแล้วนัดฟังคำสั่งในวันที่ 14 มิ.ย. 2565
  • อรรฆพลเดินทางไปพบพนักงานอัยการจังหวัดระยองในนัดส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดระยอง หลังอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหา ‘หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ’ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    สำหรับคำฟ้องที่อัยการยื่นต่อศาลนั้น ปวริศ ปิ่นสินชัย พนักงานอัยการจังหวัดระยอง บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า ระหว่างวันที่ 20 ก.ค. 2563 จนถึงวันที่ 8 ม.ค. 2564 อรรฆพลได้กระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์และรัชทายาท โดยได้โพสต์ข้อความหมิ่นประมาท ใส่ความ พระมหากษัตริย์และรัชทายาท ในเฟซบุ๊กรวม 8 ครั้ง ตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประชาชนทั่วไปสามารถดูและอ่านได้

    อัยการระบุว่า ข้อความทั้งแปดรวมความแล้วมีความหมายว่า จําเลยต้องการโพสต์เสียดสีรัชกาลที่ 9 ซึ่งสวรรคตไปแล้ว และรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรส ที่ทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน เป็นการให้ร้าย ใส่ความ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนําปัญหาของชาติบ้านเมืองไปโยงใยเกี่ยวเนื่องกับการถวายความจงรักภักดี ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงอคติในการบั่นทอนความมั่นคง ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์หาได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด

    อีกทั้งมีการโพสต์เสียดสีการต่อต้านแต่งกายชุดนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการแต่กลับไปพาดพิงถึง พลตรีหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ 10 ที่ทรงเชี่ยวชาญในการออกแบบชุดแต่งกายต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยอันไม่บังควร ทั้ง ๆ ที่การออกแบบเครื่องแต่งกายของพระองค์เจ้าสิริวัณวรีฯ นั้นเป็นเรื่องส่วนพระองค์

    อัยการยังระบุต่อไปว่า ทั้ง 8 ข้อความเมื่อต่อเนื่องกันแล้ว ทําให้ประชาชนจํานวนมากที่ได้พบเห็นรับรู้ได้ว่า จําเลยใส่ความ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างการดูหมิ่นเกลียดชังต่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ อันเป็นการแสดงถึงความไม่เคารพสถาบันกษัตริย์ ไม่จงรักภักดี ไม่ให้การถวายพระเกียรติ และจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยประการที่น่าจะทําให้รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว, รัชกาลที่ 10 และเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ซึ่งเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง

    หลังศาลรับฟ้อง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวอรรฆพลในชั้นพิจารณาคดี ต่อมา ราว 16.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอรรฆพล โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันจำนวน 150,000 บาท ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดวันนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 16 พ.ค. 2566 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดระยอง คดีหมายเลขดำที่ อ.382/2566 ลงวันที่ 26 เม.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/55575)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรฆพล (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรฆพล (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์