สรุปความสำคัญ
“เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักศึกษาวัย 23 ปี ภาควิชารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และนักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ถูกจับกุมตามหมายจับศาลอาญา ในคดีตามมาตรา 112 ที่ออกหลังอานนท์ กลิ่นแก้ว สมาชิกกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความเพียง 6 วัน โดยกล่าวหาว่า คำปราศรัยของโสภณในการชุมนุม #ทัวร์มูล่าผัว เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 เป็นการลดคุณค่าของพระราชินีสุทิดา หลังถูกจับกุมโดยไม่มีการออกหมายเรียกก่อน ศาลยังไม่อนุญาตให้ประกันโสภณในชั้นฝากขัง ก่อนให้ประกันหลังโสภณถูกคุมขังในเรือนจำ 1 เดือน แต่มีเงื่อนไขให้ติด EM และอยู่ในบ้าน 24 ชม.
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตีความอย่างกว้างขวางและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 01-05-2022
-
ผู้ถูกละเมิด
- โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- เสรีภาพในการชุมนุม
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
1 พ.ค. 2565 เวลา 21.20 น. ตำรวจนอกเครื่องแบบได้เข้าอ่านหมายจับในคดีตามมาตรา 112 ต่อ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักศึกษาวัย 23 ปี ขณะเขากำลังนั่งแท็กซี่เพื่อเดินทางออกจากกิจกรรมวันแรงงาน #ม็อบ1พฤษภา65 #รวมพลคนทำงาน ที่ลานหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ตำรวจหลายสิบนายทั้งในและนอกเครื่องแบบได้ล้อมรถแท็กซี่ไว้ โดยโสภณยังไม่ยอมลงจากรถ ขณะที่มีมวลชนในบริเวณดังกล่าวเข้ามาเจรจากับเจ้าหน้าที่ และพยายามล้อมรถแท็กซี่ไว้ เพื่อไม่ให้ตำรวจนำตัวโสภณไป เนื่องจากยังไม่แน่ชัดว่าจะนำตัวไปที่ใดและอยากให้รอจนกว่าทนายความจะเดินทางมาถึง
22.05 น. หลังการล้อมรถและเจรจากับมวลชน โสภณจึงยอมลงจากรถแท็กซี่ไปขึ้นรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีผู้ไว้วางใจและมวลชนจำนวนหนึ่งขอติดตามขึ้นรถไปด้วย ก่อนจะพาตัวไปถึง สน.สำราญราษฎร์ ในเวลาประมาณ 22.20 น. และมีทนายความติดตามไป โดยที่ด้านหน้าสถานีตำรวจได้ตั้งแผงรั้วเหล็กกั้นไว้ และมีมวลชนหลายสิบคนรอให้กำลังใจ
ในชั้นจับกุม โสภณได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา รวมถึงไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุมข้างต้น
ต่อมา เวลาประมาณ 23.30 น. ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ยืนยันที่จะนำตัวโสภณไปสอบสวนที่กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เกิดเหตุ โสภณจึงได้ยื่นหนังสือขอให้ทำการสอบสวนตนต่อทันทีที่ สน.สำราญราษฎร์ และไม่ยินยอมให้ย้ายไปสอบสวนที่ บช.ปส. เพราะไม่ใช่ท้องที่เกิดเหตุและประกาศเรื่องกำหนดสถานที่ควบคุมตัวที่ 1/2563 ที่กำหนดให้ บช.ปส. เป็นสถานที่ควบคุมตัวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม เวลา 00.20 น. ตำรวจได้ควบคุมตัวโสภณไปที่ บช.ปส. โดยไม่มีทนายความขึ้นรถไปด้วย ทำให้ทนายความต้องเดินทางแยกไปต่างหาก และต้องรออยู่หน้าตึก บช.ปส. ก่อนจะตามเข้าไปให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับโสภณด้านในอาคารได้ในเวลาต่อมา
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์คดีมีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 เวลาประมาณ 17.50 น. โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง ทราบชื่อและนามสกุลจริงภายหลัง ได้ปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) ซึ่งมีข้อความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยมีเนื้อหาพาดพิงถึงการทำบุญของพระราชินีสุทิดา และกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาโสภณตามหมายจับ คือ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อมา ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ระบุว่า จากการตรวจสอบพบว่า โสภณไม่ได้ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงจากเจ้าหน้าที่ จึงแจ้งอีก 1 ข้อหา คือ ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โสภณได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา
หลังจากสอบคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว โสภณได้ถูกคุมขังที่ บช.ปส. 1 คืน และทราบว่าพนักงานสอบสวนจะทำการขอฝากขังผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงได้ทำการคัดค้านการฝากขังออนไลน์นี้ โดยการลงบันทึกประจำวันไว้
ต่อมาช่วงเช้าวันที่ 2 พ.ค. 2565 พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลอาญาฝากขังผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นระยะเวลา 12 วัน พร้อมคัดค้านการประกันตัวโดยระบุว่าเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูง และผู้ต้องหาเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีพฤติการณ์เป็นบุคคลเฝ้าระวังพิเศษต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และในเดือนพฤษภาคม มีงานพระราชพิธีฉัตรมงคล พิธีสมโภชเครื่องราชกุธภัณฑ์ พระราชพิธีพืชมงคล และงานพระราชพิธีต่างๆ หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลัง
หลังทนายความทราบคำสั่งศาลที่อนุญาตให้ฝากขังโสภณ จึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยขอวางหลักทรัพย์ 90,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์เป็นหลักประกัน แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้โสภณถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
กิจกรรม "ทัวร์มูล่าผัว" ในวันที่ 22 เม.ย. 2565 จัดโดยกลุ่มมังกรปฏิวัติ เป็นทริปเที่ยวสถานที่สำคัญย่านเกาะรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยกิจกรรมถูกตำรวจควบคุมฝูงชนสกัดกั้น จนกลุ่มมังกรปฏิวัติต้องประกาศยุติกิจกรรม (ดูที่ https://www.mobdatathailand.org/case-file/1650627051801/)
ทั้งนี้ อานนท์ กลิ่นแก้ว เป็นสมาชิกกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวแจ้งความนักกิจกรรมในคดีมาตรา 112 หลายคดี น่าสังเกตว่าการขอออกหมายจับโสภณของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดขึ้นหลังการแจ้งความเพียง 6 วันเท่านั้น โดยไม่มีการออกหมายเรียก และคดีนี้ยังเป็นคดีมาตรา 112 คดีแรกที่โสภณถูกกล่าวหา
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 2 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43145)
ในขณะที่ตำรวจหลายสิบนายทั้งในและนอกเครื่องแบบได้ล้อมรถแท็กซี่ไว้ โดยโสภณยังไม่ยอมลงจากรถ ขณะที่มีมวลชนในบริเวณดังกล่าวเข้ามาเจรจากับเจ้าหน้าที่ และพยายามล้อมรถแท็กซี่ไว้ เพื่อไม่ให้ตำรวจนำตัวโสภณไป เนื่องจากยังไม่แน่ชัดว่าจะนำตัวไปที่ใดและอยากให้รอจนกว่าทนายความจะเดินทางมาถึง
22.05 น. หลังการล้อมรถและเจรจากับมวลชน โสภณจึงยอมลงจากรถแท็กซี่ไปขึ้นรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีผู้ไว้วางใจและมวลชนจำนวนหนึ่งขอติดตามขึ้นรถไปด้วย ก่อนจะพาตัวไปถึง สน.สำราญราษฎร์ ในเวลาประมาณ 22.20 น. และมีทนายความติดตามไป โดยที่ด้านหน้าสถานีตำรวจได้ตั้งแผงรั้วเหล็กกั้นไว้ และมีมวลชนหลายสิบคนรอให้กำลังใจ
ในชั้นจับกุม โสภณได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา รวมถึงไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุมข้างต้น
ต่อมา เวลาประมาณ 23.30 น. ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ยืนยันที่จะนำตัวโสภณไปสอบสวนที่กองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งไม่ใช่พื้นที่เกิดเหตุ โสภณจึงได้ยื่นหนังสือขอให้ทำการสอบสวนตนต่อทันทีที่ สน.สำราญราษฎร์ และไม่ยินยอมให้ย้ายไปสอบสวนที่ บช.ปส. เพราะไม่ใช่ท้องที่เกิดเหตุและประกาศเรื่องกำหนดสถานที่ควบคุมตัวที่ 1/2563 ที่กำหนดให้ บช.ปส. เป็นสถานที่ควบคุมตัวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม เวลา 00.20 น. ตำรวจได้ควบคุมตัวโสภณไปที่ บช.ปส. โดยไม่มีทนายความขึ้นรถไปด้วย ทำให้ทนายความต้องเดินทางแยกไปต่างหาก และต้องรออยู่หน้าตึก บช.ปส. ก่อนจะตามเข้าไปให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับโสภณด้านในอาคารได้ในเวลาต่อมา
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์คดีมีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 เวลาประมาณ 17.50 น. โสภณ สุรฤทธิ์ธํารง ทราบชื่อและนามสกุลจริงภายหลัง ได้ปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) ซึ่งมีข้อความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยมีเนื้อหาพาดพิงถึงการทำบุญของพระราชินีสุทิดา และกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาโสภณตามหมายจับ คือ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อมา ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ระบุว่า จากการตรวจสอบพบว่า โสภณไม่ได้ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงจากเจ้าหน้าที่ จึงแจ้งอีก 1 ข้อหา คือ ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โสภณได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา
หลังจากสอบคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว โสภณได้ถูกคุมขังที่ บช.ปส. 1 คืน และทราบว่าพนักงานสอบสวนจะทำการขอฝากขังผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงได้ทำการคัดค้านการฝากขังออนไลน์นี้ โดยการลงบันทึกประจำวันไว้
ต่อมาช่วงเช้าวันที่ 2 พ.ค. 2565 พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลอาญาฝากขังผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นระยะเวลา 12 วัน พร้อมคัดค้านการประกันตัวโดยระบุว่าเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูง และผู้ต้องหาเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีพฤติการณ์เป็นบุคคลเฝ้าระวังพิเศษต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และในเดือนพฤษภาคม มีงานพระราชพิธีฉัตรมงคล พิธีสมโภชเครื่องราชกุธภัณฑ์ พระราชพิธีพืชมงคล และงานพระราชพิธีต่างๆ หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลัง
หลังทนายความทราบคำสั่งศาลที่อนุญาตให้ฝากขังโสภณ จึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยขอวางหลักทรัพย์ 90,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์เป็นหลักประกัน แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ทำให้โสภณถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
กิจกรรม "ทัวร์มูล่าผัว" ในวันที่ 22 เม.ย. 2565 จัดโดยกลุ่มมังกรปฏิวัติ เป็นทริปเที่ยวสถานที่สำคัญย่านเกาะรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยกิจกรรมถูกตำรวจควบคุมฝูงชนสกัดกั้น จนกลุ่มมังกรปฏิวัติต้องประกาศยุติกิจกรรม (ดูที่ https://www.mobdatathailand.org/case-file/1650627051801/)
ทั้งนี้ อานนท์ กลิ่นแก้ว เป็นสมาชิกกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวแจ้งความนักกิจกรรมในคดีมาตรา 112 หลายคดี น่าสังเกตว่าการขอออกหมายจับโสภณของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดขึ้นหลังการแจ้งความเพียง 6 วันเท่านั้น โดยไม่มีการออกหมายเรียก และคดีนี้ยังเป็นคดีมาตรา 112 คดีแรกที่โสภณถูกกล่าวหา
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 2 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43145)
List คดี
ภูมิหลัง
-
โสภณ สุรฤทธิ์ธำรงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองหลังเข้าร่วมการประชุมกับสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) โดยเข้าร่วมกับกลุ่ม We Volunteer ก่อนออกมาตั้ง ‘กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ’ เคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยให้ลึกมากขึ้น ก็คือต่อสู้เรื่องคนเท่ากัน ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเสวนา จัดคลับเฮ้าส์ ไปคุยกับชาวบ้าน หรือจัดการชุมนุมเดินขบวน
อ่านเพิ่มเติม https://tlhr2014.com/archives/43343
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์