สรุปความสำคัญ
“ปีเตอร์” (นามสมมติ) พ่อค้าออนไลน์วัย 27 ปี ชาวกรุงเทพฯ แต่ไปทำงานที่เชียงใหม่ ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต เรื่องการพระราชทานยศให้ “ฟูฟู” สุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุม #กฐินราษฎร์ตลาดหลวง ที่ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาไปที่ทำงานอยู่ที่อุดรฯ
คดีนี้มีข้อน่าสังเกตถึงดุลพินิจในการสั่งฟ้องของอัยการ เนื่องจากศาลเคยวินิจฉัยไว้ในชั้นขอออกหมายจับว่า ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมกลับตีความกว้างขวางเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
คดีนี้มีข้อน่าสังเกตถึงดุลพินิจในการสั่งฟ้องของอัยการ เนื่องจากศาลเคยวินิจฉัยไว้ในชั้นขอออกหมายจับว่า ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมกลับตีความกว้างขวางเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 09-05-2022
-
ผู้ถูกละเมิด
- ปีเตอร์ (นามสมมติ)
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
9 พ.ค. 2565 “ปีเตอร์” (นามสมมติ) พ่อค้าออนไลน์วัย 27 ปี เดินทางจากจังหวัดทางภาคเหนือ เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ตามที่ สภ.เมืองอุดรธานี ออกหมายเรียกเมื่อเดือน มี.ค. 2565 โดยมี พ.ต.ต.จักรกฤษณ์ กองม่วง สว.สส.สภ.เมืองอุดรธานี เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ
ทั้งนี้ หมายเรียกดังกล่าวถูกส่งไปที่อยู่ตามทะเบียนบ้านซึ่งปีเตอร์ไม่ได้อยู่ และญาติที่รับหมายเรียกไม่ได้แจ้งเขาจนกระทั่งปลายเดือนเมษายน เมื่อทราบว่ามีหมายเรียกปีเตอร์จึงติดต่อพนักงานสอบสวนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 9 พ.ค. 2565
ในการรับทราบข้อกล่าวหา คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคําสั่ง ภ.จว.อุดรธานี ที่ 39/2564 แจ้งปีเตอร์และทนายความถึงพฤติการณ์คดีโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 ปีเตอร์ได้เข้าร่วมชุมนุมที่จัดขึ้นบริเวณแยกกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในชื่อกลุ่มกิจกรรมว่า "กลุ่มอุดรพอกันที" และได้ขึ้นพูดปราศรัยวิจารณ์การแต่งตั้งยศให้ฟูฟู ซึ่งเป็นการพูดบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ความรัชกาลที่ 10 เนื่องจากไม่พบว่ามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงเรื่องการพระราชทานยศ “พลอากาศเอก” ให้กับ “ฟูฟู” แต่อย่างใด
และปราศรัยเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ โดยใช้ถ้อยคําส่อไปในทางพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางมิบังควรเป็นอย่างยิ่ง เป็นการก้าวล่วง ล่วงเกิน ลิดรอนพระราชอํานาจของพระองค์ท่าน ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงได้ฟังแล้วอาจเกิดความสับสนเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกษัตริย์
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงคววามอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผุ้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้คณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นไม่ควรสั่งฟ้องปีเตอร์ในข้อหาตามมาตรา 112 โดยเห็นว่า ผู้ต้องหาปราศรัยด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม มีข้อความหมิ่นเหม่ แต่ไม่ถึงขนาดเป็นความผิด แต่เมื่อส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง จึงต้องติดตามตัวปีเตอร์มาดําเนินคดี
ปีเตอร์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายในวันที่ 6 มิ.ย. 2565 พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวให้อัยการวันเดียวกัน ก่อนปล่อยตัวกลับ เนื่องจากมารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก
ปีเตอร์กล่าวถึงการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีแรก จากการขึ้นปราศรัยครั้งแรกและครั้งเดียวของเขาว่า “ผมเริ่มต้นการปราศรัยด้วยการบอกว่า ผมหวังดีกับสถาบันกษัตริย์ จริงๆ ผมเป็นคนที่รักสถาบันฯ แต่ผมคิดว่าถึงเวลาที่สถาบันฯ ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว”
สำหรับเหตุในคดีนี้ ย้อนไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 กลุ่ม “อุดรพอกันที” ร่วมกับนักเรียนกลุ่ม “อุดรพิทย์ไม่ยอมเป็นทาส” และ “RN ปฏิวัติ” จัดชุมนุม #กฐินราษฎร์ตลาดหลวง บริเวณอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของคณะราษฎร รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยคนที่ถูกจับและยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมีนักกิจกรรมและประชาชนขึ้นปราศรัยแสดงความเห็นหลายคน
นอกจากปีเตอร์ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แล้ว ยังมีนักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” อีก 2 ราย ได้แก่ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ และ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ ถูกดำเนินคดีมาตรา 116 จากการขึ้นปราศรัยในการชุมนุมครั้งเดียวกันนี้
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองอุดรธานี ลงวันที่ 9 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46032)
ทั้งนี้ หมายเรียกดังกล่าวถูกส่งไปที่อยู่ตามทะเบียนบ้านซึ่งปีเตอร์ไม่ได้อยู่ และญาติที่รับหมายเรียกไม่ได้แจ้งเขาจนกระทั่งปลายเดือนเมษายน เมื่อทราบว่ามีหมายเรียกปีเตอร์จึงติดต่อพนักงานสอบสวนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 9 พ.ค. 2565
ในการรับทราบข้อกล่าวหา คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคําสั่ง ภ.จว.อุดรธานี ที่ 39/2564 แจ้งปีเตอร์และทนายความถึงพฤติการณ์คดีโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 ปีเตอร์ได้เข้าร่วมชุมนุมที่จัดขึ้นบริเวณแยกกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในชื่อกลุ่มกิจกรรมว่า "กลุ่มอุดรพอกันที" และได้ขึ้นพูดปราศรัยวิจารณ์การแต่งตั้งยศให้ฟูฟู ซึ่งเป็นการพูดบิดเบือนข้อเท็จจริง ใส่ความรัชกาลที่ 10 เนื่องจากไม่พบว่ามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงเรื่องการพระราชทานยศ “พลอากาศเอก” ให้กับ “ฟูฟู” แต่อย่างใด
และปราศรัยเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ โดยใช้ถ้อยคําส่อไปในทางพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางมิบังควรเป็นอย่างยิ่ง เป็นการก้าวล่วง ล่วงเกิน ลิดรอนพระราชอํานาจของพระองค์ท่าน ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงได้ฟังแล้วอาจเกิดความสับสนเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกษัตริย์
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงคววามอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผุ้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้คณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นไม่ควรสั่งฟ้องปีเตอร์ในข้อหาตามมาตรา 112 โดยเห็นว่า ผู้ต้องหาปราศรัยด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม มีข้อความหมิ่นเหม่ แต่ไม่ถึงขนาดเป็นความผิด แต่เมื่อส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง จึงต้องติดตามตัวปีเตอร์มาดําเนินคดี
ปีเตอร์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายในวันที่ 6 มิ.ย. 2565 พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวให้อัยการวันเดียวกัน ก่อนปล่อยตัวกลับ เนื่องจากมารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก
ปีเตอร์กล่าวถึงการถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีแรก จากการขึ้นปราศรัยครั้งแรกและครั้งเดียวของเขาว่า “ผมเริ่มต้นการปราศรัยด้วยการบอกว่า ผมหวังดีกับสถาบันกษัตริย์ จริงๆ ผมเป็นคนที่รักสถาบันฯ แต่ผมคิดว่าถึงเวลาที่สถาบันฯ ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว”
สำหรับเหตุในคดีนี้ ย้อนไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 กลุ่ม “อุดรพอกันที” ร่วมกับนักเรียนกลุ่ม “อุดรพิทย์ไม่ยอมเป็นทาส” และ “RN ปฏิวัติ” จัดชุมนุม #กฐินราษฎร์ตลาดหลวง บริเวณอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของคณะราษฎร รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยคนที่ถูกจับและยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมีนักกิจกรรมและประชาชนขึ้นปราศรัยแสดงความเห็นหลายคน
นอกจากปีเตอร์ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แล้ว ยังมีนักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” อีก 2 ราย ได้แก่ “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ และ “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงค์ ถูกดำเนินคดีมาตรา 116 จากการขึ้นปราศรัยในการชุมนุมครั้งเดียวกันนี้
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองอุดรธานี ลงวันที่ 9 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46032)
List คดี
ภูมิหลัง
-
ปีเตอร์ (นามสมมติ)รับรู้และตื่นตัวทางการเมืองจากการชอบเล่นเกม ‘Rome: Total War’ เกมที่มีต้นแบบมาจากสงครามจริงในประวัติศาสตร์โลก ทำให้เขาสนใจประวัติศาสตร์และรู้จักตั้งคำถามตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งสนใจติดตามการเมืองเมื่อโตขึ้น
อ่านเพิ่มเติมที่ https://tlhr2014.com/archives/58828
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์