ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ ยชอ.117/2565

ผู้กล่าวหา
  • ไม่ทราบชื่อ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
ดำ ยชอ.117/2565

ผู้กล่าวหา
  • ไม่ทราบชื่อ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ ยชอ.117/2565
ผู้กล่าวหา
  • 1

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • ไม่เลิกชุมนุมมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 216)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ ยชอ.117/2565
ผู้กล่าวหา
  • 1

ความสำคัญของคดี

หลังเหตุการณ์การจับกุมผู้ชุมนุมและประชาชนระหว่างการสลายการชุมนุม #ม็อบ20มีนา ที่สนามราษฎร์ (สนามหลวง) และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 เยาวชน 2 ราย "เสกจิ๋ว" อายุ 15 ปี และ "โป๊ยเซียน" อายุ 14 ปี ถูกจับกุมจากบริเวณถนนพระราม 6 ขณะทั้งสองนั่งรถแท็กซี่กลับบ้าน และถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาเกี่ยวกับการชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า ทั้งสองคนเกี่ยวข้องกับการพ่นสี ทิ้งขยะ รวมถึงจุดไฟเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ในระหว่างการชุมนุม

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการดำเนินคดีกับเยาวชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเด็กตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมไทยยังมีแนวโน้มที่จะสร้างภาระทางคดีแก่เยาวชนมากกว่าผู้ใหญ่อีกด้วย

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ธีรภัทร์ เมฆฉา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีครอบครัวและเยาวชน 1 บรรยายคำฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

1. เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 ได้มีผู้ชุมนุมราว 30 คนมาชุมนุมกันบริเวณถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดในสถานการณ์ไวรัสโควิด–19 ระบาด เป็นการชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลตามที่ทางกลุ่ม Redem ได้นัดหมาย จำเลยทั้งสองกับพวกได้เข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว อันเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคตามที่ทางราชการกำหนด

จำเลยทั้งสองกับพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง กล่าวคือ ในการชุมนุมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามมาวางตั้งกั้นตลอดแนว เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่สนามหลวงและเขตพระราชฐาน และมีเจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมฝูงชนดูแลพื้นที่อีกชั้น ตำรวจได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบว่าการชุมนุมเป็นการละเมิดกฎหมาย และให้แยกย้าย แต่จำเลยและผู้ชุมนุมได้ด่าทอ ตำหนิ โห่ไล่ พยายามรื้อลวดหนามเพื่อเปิดพื้นที่เข้าไปในสนามหลวง รื้อตาข่ายบนตู้คอนเทนเนอร์ ตัดรื้อโครงเหล็กเพื่อทำกิจกรรมร่อนจรวดกระดาษ ใช้เชือกผูกคอนเทนเนอร์แล้วดึงตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเปิดทางเข้าไปในเขตพระราชฐาน มีการใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้หนังยางยิงลูกแก้วเข้าใส่ ปาพลุควัน ฝาโลหะ อุปกรณ์โลหะ พลาสติกทรงกลม ประทัดยักษ์ ก้อนหิน ขวดแก้ว และของแข็งต่างๆ เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน

2. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้จำเลยและผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมมั่วสุมก่อความวุ่นวาย แยกย้ายกันไป แต่จำเลยและผู้ชุมนุมไม่เลิก

3. จำเลยทั้งสองยังได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จำเลยทั้งสองกับพวกที่มาร่วมชุมนุมได้นำถังขยะซึ่งมีขยะบรรจุอยู่ภายใน โยนใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่มีคนติดแผ่นกระดาษเขียนข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” และฉีดสีสเปรย์ใส่ จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ถือขวดพลาสติก ไม่ทราบว่าบรรจุสิ่งใด เทใส่พระบรมฉายาลักษณ์ และเวลานานไม่นานเกิดเพลิงไหม้บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์

การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน หรือกระทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจได้ว่า เป็นการเปรียบเทียบพระองค์ท่านกับถังขยะ หรือเป็นตัวแทนของสิ่งไม่ดี ไม่มีประโยชน์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยทั้งสองมีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย มีเจตนาให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.117/2565 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ภายหลังจากที่กลุ่ม REDEM และแนวร่วมกลุ่มอื่นๆ เช่น #เยาวชนปลดแอก, #นักเรียนไท, #แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, #ศิลปะปลดแอก #กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และ #คณะราษสเก็ต นัดหมายชุมนุม เวลา 18.00 น. ที่สนามหลวง โดยมีเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ส่งสาส์นเรียกร้องให้มีการจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ถูกเจ้าหน้าที่นำตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งแนวกั้นขวางเอาไว้ และเมื่อผู้ชุมนุมพยายามช่วยกันเลื่อนเปิดแนว ก็ถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจนมีผู้สื่อข่าวและประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้ถูกจับกุมหลายราย

    ราว 21.00 น. “เสกจิ๋ว” (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 15 ปี และ “โป๊ยเซียน” (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 14 ปี ถูกจับกุมบริเวณ ถ.พระราม 6 ขณะทั้งสองนั่งรถแท็กซี่กลับบ้าน โดยตำรวจได้ให้แท็กซี่หยุดรถและแสดงตัวเข้าจับกุม อ้างว่าทั้ง 2 คน พ่นสี ทิ้งขยะ รวมถึงจุดไฟเผาพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ในระหว่างการชุมนุม พร้อมทั้งยึดโทรศัพท์มือถือของทั้งสอง จากนั้นได้ควบคุมตัวทั้ง 2 คน ไปที่ บก.ตชด. ภาค 1 จ.ปทุมธานี

    เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาในชั้นจับกุมรวม 5 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 215, มาตรา 216, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ โดยระบุพฤติการณ์ว่า ระหว่างการชุมนุมวันที่ 20 มี.ค. 2564 เวลา 18.48 น. ขณะ พ.ต.ต.อภิสิทธิ์ ธัยยามาตร์ สว.กก.สส. 1 บก.สส. อยู่บริเวณภาพพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ได้มีผู้นำขญะมาโยนใส่ภาพ นำสีสเปรย์มาพ่น และเทของเหลวในขวดพลาสติกใส่ภาพ ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ ก่อนจะมีประชาชนดับไฟดังกล่าว เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ร่วมติดตามจับกุมผู้ต้องหา โดยมีผู้ปกครองร่วมรับฟัง

    ทั้งสองคนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุม เนื่องจากตำรวจชุดจับกุมไม่ได้แจ้งสิทธิให้ทั้งสองทราบตามที่ระบุในบันทึกจับกุม อีกทั้งไม่ลงชื่อในบันทึกการตรวจยึดโทรศัพท์ โดยเขียนข้างท้ายว่า ไม่ยินยอมให้ยึดโทรศัพท์และเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ เนื่องจากไม่ใช่สิ่งของที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา และไม่ใช้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมทั้งไม่มีคำสั่งของศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

    จากนั้นตำรวจได้ปล่อยตัวทั้งสองคนไปกับผู้ปกครอง และนัดหมายให้ผู้ปกครองพาไปตรวจสอบการจับกุมที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางในช่วงสายของวันที่ 21 มี.ค. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม บก.ตชด.ภาค 1 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27246)

  • เสกจิ๋ว, โป๊ยเซียน พร้อมผู้ปกครองเดินทางไปที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมาย ศาลได้ตรวจสอบการจับกุมของตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ก่อนวินิจฉัยว่าเป็นการจับกุมโดยชอบแล้ว และอนุญาตให้ออกหมายควบคุมตัวระหว่างสอบสวน จากนั้นได้ให้ประกันเยาวชนทั้งสองคน โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 20,000 บาท ก่อนปล่อยตัวกลับ

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/27246)
  • พนักงานสอบสวนนัดหมายเสกจิ๋ว, โป๊ยเซียน พร้อมผู้ไว้วางใจไปที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำ โดยมีที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมรับฟัง พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง รอง ผกก.(สอบสวน) สน.ชนะสงคราม ได้แจ้งพฤติการณ์คดีและข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับในชั้นจับกุม ทั้งสองให้การปฏิเสธเช่นเดิม

    นอกจากนี้ พ.ต.ท.สุรโชค กังวานวาณิชย์ สารวัตร กองกำกับการกลุ่มงานสนับสนุน บก.ปอท.ได้นำคำสั่งศาลอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ของเสกจิ๋วและโป๊ยเซียน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พร้อมทั้งบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาแสดง ระบุว่า ปอท.ได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ให้รวบรวมพยานหลักฐานทางเทคโนโลยี เสกจิ๋วและโป๊ยเซียนเซ็นรับทราบคำสั่ง พร้อมทั้งเขียนหมายเหตุว่า ตนถูกยึดโทรศัพท์ตั้งแต่วันที่ถูกจับกุมโดยไม่มีคำสั่งศาล และตนไม่ยินยอม เจ้าหน้าที่ได้ขอออกคำสั่งศาลย้อนหลัง โดยที่คดีนี้ไม่มีพฤติการณ์การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 30 มี.ค. 2564)
  • พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง นัดหมายเสกจิ๋วและโป๊ยเซียนไปแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นข้อหา ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากเดิมที่แจ้งว่า ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 16) และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง (ฉบับที่ 3) ได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 15) และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง (ฉบับที่ 5) ด้วย

    เสกจิ๋วและโป๊ยเซียนปฏิเสธในข้อกล่าวหาที่เพิ่มเติมนี้เช่นกัน

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 29 เม.ย. 2564)
  • พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีครอบครัวและเยาวชน 1) ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในข้อกล่าวหารวม 4 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการกระทำ กลับไม่ยอมเลิก ตาม มาตรา 216 และร่วมกันฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    สำหรับพฤติการณ์ตามคำฟ้องโดยสรุประบุว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 จำเลยทั้งสองกับพวกได้เข้าร่วมการชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อขับไล่รัฐบาลตามที่ทางกลุ่ม Redem นัดหมาย มีผู้ชุมนุมราว 30 คน อันเป็นการชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

    จำเลยทั้งสองกับพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยได้ด่าทอ ตำหนิ โห่ไล่เจ้าหน้าที่ตำรวจ พยายามรื้อลวดหนามเพื่อเปิดพื้นที่เข้าไปในสนามหลวง รื้อตาข่ายบนตู้คอนเทนเนอร์ ตัดรื้อโครงเหล็ก ใช้เชือกผูกตู้คอนเทนเนอร์แล้วดึงเพื่อเปิดทางเข้าไปในเขตพระราชฐาน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้จำเลยและผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมมั่วสุมก่อความวุ่นวาย แยกย้ายกันไป แต่จำเลยและผู้ชุมนุมไม่เลิก

    นอกจากพฤติการณ์ข้างต้น อัยการยังฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่มาร่วมชุมนุมได้นำถังขยะซึ่งมีขยะบรรจุอยู่ภายใน โยนใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ที่มีคนติดแผ่นกระดาษเขียนข้อความว่า “ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล” และฉีดสีสเปรย์ใส่ จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ถือขวดพลาสติก ไม่ทราบว่าบรรจุสิ่งใด เทใส่พระบรมฉายาลักษณ์ และเวลานานไม่นานเกิดเพลิงไหม้บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์

    อัยการระบุว่า การกระทำของทั้งสองเป็นการกระทำที่มิบังควร จาบจ้วง ล่วงเกิน หรือกระทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจได้ว่า เป็นการเปรียบเทียบพระองค์ท่านกับถังขยะ หรือเป็นตัวแทนของสิ่งไม่ดี ไม่มีประโยชน์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยจำเลยทั้งสองมีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย มีเจตนาให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้

    ท้ายคำฟ้องอัยการระบุว่า คดีนี้ขาดผัดฟ้องแล้ว แต่ได้รับอนุญาตให้ฟ้องโดยรองอัยการสูงสุด หากจำเลยขอปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี โจทก์ไม่คัดค้าน ขอให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    ภายหลังจากที่ศาลเยาวชนฯ รับฟ้อง ได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในชั้นพิจารณาโดยให้วางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 20,000 บาท ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์รวม 40,000 บาท กำหนดนัดคุ้มครองสิทธิวันที่ 1 มิ.ย. 2565 และนัดพร้อมสอบคำให้การ วันที่ 20 มิ.ย. 2565

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.117/2565 ลงวันที่ 12 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43795)
  • เสกจิ๋ว, โป๊ยเซียน พร้อมผู้ปกครอง และที่ปรึกษากฎหมายเดินทางไปศาลในนัดสอบถาม ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยทั้งสองฟัง เสกจิ๋วและโป๊ยเซียนขอให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นศาลได้อ่านรายงานแสดงข้อเท็จจริงของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานครให้จําเลยทั้งสองและผู้เกี่ยวข้องทราบ ไม่มีใครคัดค้าน

    จําเลยทั้งสองและผู้ปกครองแถลงว่า ประสงค์จะให้ศาลใช้มาตรการแทนการพิพากษาคดี ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 132 โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ศาลเห็นว่า จําเลยทั้งสองกระทําความผิดคดีนี้เป็นครั้งแรก ตามพฤติการณ์แห่งคดียังไม่สมควรที่จะพิพากษา จึงเห็นควรให้ใช้วิธีการประเมินสภาพปัญหาและจัดทําแผนแก้ไขฟื้นฟูจําเลยตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 132 ประกอบข้อบังคับประธานศาลฎีกา ข้อ 10 โดยให้ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนําประจําศาลนี้เป็นผู้ดําเนินการจัดทําแผน มีระยะเวลาปฏิบัติ
    ตามแผน 1 ปี นัดพร้อมเพื่อฟังผลการเสนอแผนดังกล่าวในวันที่ 3 ส.ค. 2565 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.117/2565 ลงวันที่ 20 มิ.ย. 2565)
  • จําเลยทั้งสองและผู้ปกครองแถลงว่า ตามแผนฟื้นฟูฯ ซึ่งศาลได้แจ้งให้ทราบแล้วนั้น จําเลยทั้งสองและผู้ปกครองสามารถปฏิบัติตามแผนได้ ศาลจึงมีคําสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูดังกล่าว และให้ดําเนินการตามแผนต่อไป ให้เลื่อนไปนัดฟังผลปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูในวันที่ 4 ก.ย. 2566 เวลา 09.00 น. และให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.117/2565 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2565)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
โป๊ยเซียน (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เสกจิ๋ว (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
โป๊ยเซียน (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เสกจิ๋ว (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์