ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • อื่นๆ
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567

ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567

ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา (ประชาชน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567

ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • อื่นๆ
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567

ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • อื่นๆ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567
ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567
ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567
ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • อื่นๆ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1405/2566
แดง อ.3402/2567
ผู้กล่าวหา
  • ศรีสุวรรณ จรรยา

ความสำคัญของคดี

“มัมดิว” หรือ กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ เจ้าของเพจ มัมดิวไดอารี่ และ "หนูรัตน์" หรือ ธิดาพร ชาวคูเวียง ถูกดำเนินคดีร่วมกับ "นารา เครปกะเทย" หรือ อนิวัต ประทุมถิ่น ตลอดจนบริษัทขายตรงและบริษัทโฆษณาที่เกี่ยวข้อง ในข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีจัดทำคลิปเพื่อใช้ในแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 โดยถูกกล่าวหาว่า มีการแสดงล้อเลียน เสียดสี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยมี ศรีสุวรรณ จรรยา เข้าแจ้งความร้องทุกข์

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความคุ้มครองไปถึงบุคคลในราชวงศ์ ทำให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ดนุพล จาตุรนต์พงศา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 บรรยายฟ้อง มีใจความโดยสรุปดังนี้

1. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 หนูรัตน์กับบริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้า พร้อมกับนารา ได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอโฆษณาขนาดสั้นและภาพนิ่งอันมีลักษณะเป็นการล้อเลียน พาดพิง หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ลาซาด้า โดยนาราเป็นผู้จัดทำและร่วมแสดง, หนูรัตน์ร่วมแสดง บริษัททั้งสองควบคุมและตรวจสอบวีดิโอโฆษณา

โดยวีดิโอโฆษณามีเนื้อหาว่า นารากำลังหาชุดไปเต้นรำ พบว่าชุดราตรีของตนเองได้หายไป จึงได้เข้าไปถามหนูรัตน์ ซึ่งกำลังนั่งรถเข็นผู้พิการอยู่ว่า เสื้อของตนได้หายไปไหน แต่หนูรัตน์ตอบว่า ไม่เห็น จนกระทั่งนาราได้ค้นเจอจากรถเข็นที่นั่งของหนูรัตน์ โดยหนูรัตน์ ได้มีการทำกิริยาท่าทางน่าเกลียด เช่น ทำมือชี้ท้องฟ้าแล้วทำตาเหลือก ก่อนที่จะลุกขึ้นยืนเพื่อแสดงว่าตนเองไม่ได้พิการจริง อันเป็นการล้อเลียนเสียดสี และหมิ่นประมาทเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10 ว่าไม่ได้ป่วยจริง ทั้งยังเป็นการด้อยค่า ทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ

ต่อมา นาราได้นำคลิปดังกล่าวที่มีการแสดงเนื้อหาที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากบริษัททั้งสองแล้ว โพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของตน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ

2. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 มัมดิว, หนูรัตน์ และนารา ได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอขนาดสั้นและภาพนิ่ง โฆษณาเซรั่มของนารา โดยมัมดิวและหนูรัตน์เป็นนักแสดงร่วม มีเนื้อหาว่า นาราได้นำสินค้าซึ่งวางอยู่บนภาชนะคล้ายจาน ทำจากหวาย มามอบให้มัมดิว ซึ่งแต่งกายด้วยชุดผ้าไหม นุ่งผ้าถุงลายไทย สวมใส่สร้อยคอ ตุ้มหู และสร้อยข้อมือไข่มุก ส่วนหนูรัตน์นั่งอยู่บนรถเข็น เป็นตัวประกอบไม่มีบทพูด แต่แสดงอาการพยักหน้าพึงพอใจกับสินค้าของนาราที่มอบให้กับมัมดิว

นารามีหน้าที่เป็นผู้ผลิตและอัปโหลดคลิปดังกล่าวบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok โดยมีหนูรัตน์ร่วมแสดงเป็นหญิงพิการ นั่งอยู่บนรถเข็นคนพิการ แต่งกายด้วยชุดไทยประยุกต์ นุ่งโจงกระเบน สวมใส่สร้อยไข่มุก แต่งหน้าและทำผมคล้ายเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นพระโสทรกนิษฐภคินี และเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10

ส่วนมัมดิวได้ ใช้สำเนียงการพูดช้าๆ มีลักษณะเฉพาะ มิใช่น้ำเสียงตามธรรมชาติของจำเลย หรือประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการทำให้เข้าใจได้ว่า มัมดิวมีเจตนาล้อเลียนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งเป็นพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 10

การกระทำของมัมดิว, หนูรัตน์ และนารา เป็นการจงใจแสดงให้ประชาชนที่พบเห็นเกิดความเข้าใจความหมายตามที่จำเลยแสดง ซึ่งเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ด้อยค่า ดูหมิ่น และหมิ่นประมาท ต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อีกทั้งยังเป็นการด้อยค่า ดูหมิ่น และทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ

3. ระหว่างเดือนเมษายน ถึงวันที่ 5 พ.ค. 2565 บริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้าได้ร่วมกับนาราใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยบริษัทขายตรงได้ว่าจ้างนาราผ่านการติดต่อของบริษัทโฆษณาให้ทำวีดิโอโฆษณาแคมเปญ Lazada 5.5 เมื่อนาราออกแบบและจัดทำ บริษัททั้งสองได้ตรวจสอบและอนุมัติให้นาราโพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของนารา โดยประชาชนที่พบเห็นวีดิโอดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนผู้พิการ มีลักษณะดูแคลน ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรง

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1405/2566 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 09.00 น. ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เข้าแสดงหมายจับ “มัมดิว” หรือ กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ เจ้าของเพจ มัมดิวไดอารี่ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถึงบ้านพัก พร้อมทั้งตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง สืบเนื่องมาจากแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ที่ทำร่วมกับ นารา - เครปกะเทย และหนูรัตน์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565

    จากนั้นมัมดิวได้ถูกตำรวจควบคุมตัวไปทำบันทึกการจับกุมที่กองกำกับการ 2 บก.ปอท. ระบุรายละเอียดว่า ตำรวจชุดจับกุมจาก บก.ปอท. 7 นาย ได้ร่วมกันทำการจับกุมมัมดิว ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1116/2565 ลงวันที่ 10 มิ.ย. 2565 กล่าวหาว่า กระทำความผิดฐาน ‘ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์’

    นอกจากมัมดิว ยังมีรายงานข่าวว่า อนิวัต ประทุมถิ่น หรือ “นารา” และธิดาพร ชาวคูเวียง หรือ “หนูรัตน์” ก็ถูกจับกุมและควบคุมตัวมาที่ กก.2 บก.ปอท. ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

    ต่อมา พนักงานสอบสวน บก.ปอท.ได้แจ้งพฤติการณ์ของข้อกล่าวหาให้ทั้งสามทราบว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 ศรีสุวรรณ จรรยา ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาได้มาพบพนักงานสอบสวน บก.ปอท. และร้องทุกข์กล่าวโทษ กรณีเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 เว็บไซต์ LAZADA และ TikTok ได้โพสต์คลิปวีดิโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของลาซาด้า โดยมีผู้แสดงคือ นารา, หนูรัตน์ และมัมดิว ซึ่งมีลักษณะไม่เหมาะสม เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ผู้ป่วยหรือผู้พิการ อีกทั้งมีเนื้อหาในลักษณะล้อเลียน เสียดสี บุคคลอันเป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งหลายคนเห็นแล้วไม่สบายใจ เพราะมีรูปภาพหรือการแสดงที่มีลักษณะพาดพิง ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง หรือสถาบันกษัตริย์

    พนักงานสอบสวนยังระบุว่า จากการสืบสวนสอบสวนพบการกระทำที่เป็นความผิดดังนี้

    1. เป็นคลิปโฆษณาแคมเปญ LAZADA 5.5 เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของ LAZADA และบัญชี TikTok ของนารา ความยาว 1 นาที 26 วินาที โดยมีหนูรัตน์ได้แสดงบทบาทเป็นหญิงพิการแต่งชุดไทยประยุกต์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั่งรถเข็นในลักษณะเอียง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการเลียนแบบหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ และนาราได้แสดงการพูดกับหนูรัตน์ว่า…ฉันจะจัดการกับแก แล้วหนูรัตน์ได้ลุกขึ้นแล้วพูดว่า ฉันลุกขึ้นได้ ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว มีลักษณะในเชิงบิดเบือนว่า สมาชิกราชวงศ์ดังกล่าวโกหกให้คนหลงเชื่อว่าป่วย เพื่อให้เห็นใจ สงสาร ซึ่งเป็นการนำข้อมูลที่บิดเบือนเข้าสู่คอมพิวเตอร์

    2. เป็นคลิปวิดีโอที่นาราแสดงร่วมกับหนูรัตน์และมัมดิว ซึ่งภาพที่ปรากฏในคลิปเป็นการที่นาราได้นําสินค้าของตนมอบให้กับมัมดิว โดยที่นารานั่งพับเพียบอยู่กับพื้น ส่วนมัมดิวนั่งอยู่บนโซฟา และหนูรัตน์นั่งอยู่บนรถเข็น แสดงเป็นคนพิการ โดยที่มัมดิวได้สวมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ แต่งหน้า และทําทรงผม มีลักษณะที่คนทั่วไปเข้าใจได้ว่าเป็นการแสดงเลียนแบบพระราชินีในรัชกาลที่ 9 คลิปดังกล่าวเผยแพร่ผ่านบัญชี TikTok ของนารา เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565

    พนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า ผู้ต้องหาทั้งสามได้ร่วมกันจัดทำบท ร่วมกันแสดง โดยเจตนาล้อเลียน ด้อยค่า อดีตพระราชินีในรัชกาลที่ 9 และสมาชิกราชวงศ์คนดังกล่าว โดยมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากการสืบสวนสอบสวนเชื่อได้ว่า ผู้ต้องหาทั้งสามเป็นผู้ร่วมแสดงในคลิปวีดีโอดังกล่าว โดยนาราเป็นผู้โพสต์คลิปในบัญชีเฟซบุ๊กและ TikTok ของตนเอง

    จากนั้น พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้งสามในข้อหา “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งยังแจ้งข้อกล่าวหานารา “โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ประชาชน และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)(3) อีกด้วย

    เน็ตไอดอลทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญาผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว อ้างเหตุว่า เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งมีอัตราโทษสูง ทั้งเกรงว่าผู้ต้องหาทั้งสามอาจจะไปลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงพยานหลักฐานในระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลเสียหายต่อรูปคดี รวมทั้งอาจมีกระทําความผิดในลักษณะซ้ำเดิมอีกได้ หรืออาจมีการโพสต์ในลักษณะหมิ่นเจ้าพนักงานตํารวจลงในสื่อสังคมออนไลน์

    อย่างไรก็ตาม หลังศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ได้ให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันในวงเงินคนละ 90,000 บาท ซึ่งมัมดิวได้ใช้เงินประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก และให้ทั้งสามมารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม กก.2 บก.ปอท. และคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44935)
  • เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องมัมดิวและหนูรัตน์ รวมทั้ง 2 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาแคมเปญ LAZADA 5.5 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในส่วนนารา อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องและยื่นฟ้องไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 แล้ว

    พนักงานอัยการกล่าวหาจำเลยทั้งสี่ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เฉพาะสองบริษัทยังถูกกล่าวหาในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (3) ตลอดจนร่วมกันใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมโดยรวม

    ในคำฟ้อง อัยการได้ฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 แยกเป็นสองกระทง กระทงแรกกล่าวหาว่า หนูรัตน์กับบริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้า พร้อมกับนารา ได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอโฆษณาขนาดสั้นและภาพนิ่งอันมีลักษณะเป็นการล้อเลียน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ รัชทายาทในรัชกาลที่ 10 เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางลาซาด้า โดยนาราเป็นผู้จัดทำและร่วมแสดง, หนูรัตน์ร่วมแสดง บริษัททั้งสองควบคุมและตรวจสอบวีดิโอโฆษณา ต่อมา นาราได้นำคลิปดังกล่าวที่มีการแสดงเนื้อหาที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง โพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของตน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ

    ส่วนอีกกระทงหนึ่ง เป็นคลิปโฆษณาเซรั่มของนารา ซึ่งนาราเป็นผู้ผลิตและร่วมแสดง หนูรัตน์และมัมดิวร่วมแสดง โดยหนูรัตน์แสดงเป็นหญิงพิการ นั่งอยู่บนรถเข็น แต่งหน้าและทำผมคล้ายเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ส่วนมัมดิวได้ใช้สำเนียงการพูดช้าๆ ทำให้เข้าใจได้ว่ามีเจตนาล้อเลียนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 10

    ท้ายคำฟ้องอัยการโจทก์คัดค้านการให้ประกันมัมดิวและหนูรัตน์ โดยระบุว่าคดีมีอัตราโทษสูง และเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง

    หลังศาลรับฟ้อง ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันจำเลยระหว่างพิจารณาคดี กำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันที่อาจทำให้เสื่อมเสีย และห้ามชุมนุมที่อาจทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันคนละ 90,000 บาท ซึ่งกรณีของมัมดิวและหนูรัตน์ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24 ก.ค. 2566

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1405/2566 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/56330)
  • จําเลยทั้งสามมาศาล โจทก์แถลงว่า จําเลยที่ 1 (มัมดิว) หลบหนีออกนอกราชอาณาจักร จึงขอให้ศาลออกหมายจับ และเลื่อนคดีไปตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 21 ส.ค. 2566 โจทก์ยังแถลงขอรวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีของนารา ตามคําร้องฉบับลงวันที่ 13 ก.ค. 2566

    ศาลมีคำสั่งให้ออกหมายจับจําเลยที่ 1 ปรับนายประกัน และเลื่อนคดีไปตามที่โจทก์ขอ ส่วนคําร้องขอรวมการพิจารณารอไว้สั่งในนัดหน้า

    หลังศาลอ่านและอธิบายฟ้อง จําเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1405/2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566)
  • ศาลมีคำสั่งให้จําหน่ายคดีสําหรับจําเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราว ส่วนคําร้องของโจทก์ที่ขอรวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีของนารานั้น ฝ่ายจําเลยแถลงคัดค้านว่า คดีของนารามีกําหนดนัดสืบพยานแล้ว ซึ่งเป็นวันที่ทนายจําเลยไม่ว่าง อีกทั้งในคดีดังกล่าวมีการรับข้อเท็จจริงในพยานโจทก์บางปาก ซึ่งฝ่ายจําเลยไม่อาจรับข้อเท็จจริงได้ ศาลจึงให้ยกคําร้องขอรวมการพิจารณาคดีของโจทก์

    จําเลยทั้งสามแถลงแนวทางการต่อสู้คดีว่า ตนไม่ได้กระทําความผิดตามฟ้อง

    โจทก์แถลงจะสืบพยานรวม 28 ปาก ขอใช้เวลาในการสืบพยาน 5 นัด ทนายจําเลยแถลงว่าประสงค์จะสืบพยานบุคคลรวมทั้งหมด 9 ปาก ใช้เวลาสืบ 2 นัด นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 6, 13, 14, 20, 27 ส.ค. 2567 สืบพยานจำเลยในวันที่ 3, 4 ก.ย. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1405/2566 ลงวันที่ 21 ส.ค. 2566)
  • สืบพยานโจทก์ได้ 2 ปาก ได้แก่ อานนท์ กลิ่นแก้ว กลุ่ม ศปปส. และศรีสุวรรณ จรรยา ผู้กล่าวหา
  • สืบพยานโจทก์ได้ 5 ปาก ได้แก่ กวีวงศ์ วณิชย์ธนารักษ์ ผู้กล่าวหา, วีระพงษ์ โก, ลลิลทิพย์ พัฒนสาร, พ.ต.ท.แทน ไชยแสง ตำรวจสันติบาล 2 และณัฐวิทย์ บัวคลี่ นิติกรชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • สืบพยานโจทก์ได้ 3 ปาก ได้แก่ ณฐพร โตประยูร, อดิศร เห่งรวย และชลัฐพล สวัสดิชีวิน
  • สืบพยานโจทก์ได้ 4 ปาก ได้แก่ อร่ามศักดิ์ บุตรจู, นพดล พรหมภาสิต, ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ และทรงชัย เนียมหอม
  • สืบพยานโจทก์ทั้งหมด 3 ปาก ได้แก่ ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, ตรีดาว อภัยวงศ์ และ พ.ต.ต.กล้า สมบัติพิบูลย์
  • สืบพยานโจทก์อีก 1 ปาก ได้แก่ พ.ต.ต. วุฒิชัย ทับทวี สารวัตรสอบสวน บก.ปอท. และสืบพยานจำเลย ได้แก่ สุภัคชญา ชาวคูเวียง จำเลยที่ 2, จำเลยที่ 3, รศ.ดร. สมชาย ปรีชาศิลปกุล และ รศ.ดร.สาวตรี สุขศรี

    หนูรัตน์บอกกับทนายความว่าเธอเพิ่งไปปรับเครื่องช่วยฟังใหม่มา เพราะตลอดการสืบพยานที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม การได้ยินและรับรู้ของเธอค่อนข้างเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะห้องพิจารณาคดีมีขนาดกว้าง โดยจากตรงเก้าอี้ยาวที่เธอนั่งในฐานะจำเลย เธอแทบไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องสี่เหลี่ยมกว้างนี้เลยสักนิดเดียว

    เมื่อการสืบพยานจำเลยเริ่มขึ้น หนูรัตน์สวมใส่ชุดสีเหลืองทั้งตัว เธอยืนขึ้นและเดินเข้าไปนั่งที่คอกพยานตรงหน้าศาลด้วยท่าทีสุภาพ และเนื่องจากเธอมีปัญหาการได้ยิน ทนายความจึงถามความโดยขอให้เธอตอบใช่หรือไม่เป็นส่วนใหญ่

    “หนูชื่อ สุภัคชญา ชาวคูเวียง ปัจจุบันอายุ 31 ปี” เธอกล่าวแสดงตัว ทนายจำเลยจึงถามต่อถึงระดับการศึกษาสูงสุดของเธอว่าคือระดับ ปวช. ที่จังหวัดสระบุรี ในสาขาวิชาการบัญชี ใช่หรือไม่ หนูรัตน์ตอบว่า ใช่

    เมื่อทนายความถามถึงความพิการทางร่างกายว่าหนูรัตน์มีความพิการทางการได้ยิน โดยเป็นคนหูตึง พูดไม่ค่อยชัด เนื่องจากลิ้นไก่สั้นแต่กำเนิด หนูรัตน์ตอบว่า ใช่ ส่วนการประกอบอาชีพปัจจุบัน เธอตอบว่า “เล่นลิเกค่ะ”

    นอกจากเล่นลิเกแล้ว หนูรัตน์ยังเบิกความตอบศาลว่า เธอขายสินค้าออนไลน์ด้วย โดยเป็นการรับสินค้ามาโฆษณา ทำมาตั้งแต่ปี 2558

    “หนูเล่นลิเก และรับของจากโรงงานมาขายออนไลน์ในเฟซบุ๊กตัวเอง หนูเจอนาราจากเพจหนู เขาติดต่อมา ตอนนั้นเขาก็ช่วยหนูซื้อของออนไลน์ด้วยในปี 61”

    “นาราช่วยหาจ้างงานให้หนู หนูเริ่มทำคลิปตลกตั้งแต่ปี 62 เราติดต่อกันบ่อย หลายครั้ง และเขาก็มาช่วยซ่อมบ้านให้หนูด้วยปี 64”

    ทนายความถามต่อไปว่าเกี่ยวกับคดีนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไรที่ทำให้หนูรัตน์ถูกแจ้งข้อหามาตรา 112 หนูรัตน์ตอบว่า “นาราโทรมาวันที่ 2 พ.ค. ประมาณเที่ยง ๆ บอกหนูว่ามีงานให้ทำ เจอกันวันที่ 3 พ.ค. เป็นงานถ่ายเซรั่ม นัดให้หนูไปเจอประมาณ 1 ทุ่ม แต่หนูไปถึง 1 ทุ่มครึ่ง สถานที่คือสตูดิโอ”

    “นาราให้หนูเข้าไปแต่งหน้า แล้วก็เจอมัมดิว”

    ทนายถามต่อในประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ถ่ายโฆษณาว่า บทบาทที่หนูรัตน์ได้เล่นคือบทของใครและมีเนื้อหาอย่างไร

    “เขาให้ถ่ายเป็น คุณหนูเล็ก บ้านทรายทอง บอกบทให้หนูทำคอเอียง นั่งรถเข็นคนพิการ” และหนูรัตน์ยืนยันกับทนายเพิ่มเติมว่าบทบาทสมมติดังกล่าว ไม่มีใครเอารูปคนอื่นมาให้ดูเพิ่มเติม เธอเลยเข้าใจว่าเล่นเป็นคุณหนูเล็ก

    “หนูถ่ายทั้งหมด 2 คลิป มีคลิปเซรั่มที่ถ่ายกัน 3 คน กับคลิปที่เล่นเป็นคุณหนูเล็ก เป็นโฆษณา” โดยหนูรัตน์เบิกความต่อไปอีกว่า การถ่ายทำดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นาน และเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 21.00 น. การจัดการตั้งแต่การแต่งหน้า จัดทรงผม และชุดที่ใส่ล้วนเป็นสิ่งที่เธอไม่ได้จัดเตรียม

    หลังจากนั้นไม่นาน ในเดือนมิถุนายน 2565 ตำรวจก็ได้เข้าจับกุมหนูรัตน์ และพาตัวมาสอบสวนแจ้งว่าเธอกระทำผิดในข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เธอบอกว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิดตามข้อกล่าวหา

    “หนูได้รับงานที่ต้องใส่ชุดไทยบ่อย ๆ และหนูก็ถ่ายคลิปตลก ๆ ในเฟซบุ๊กตัวเอง”

    อย่างไรก็ตาม ทนายของจำเลยที่ 4 (ลาซาด้า) ได้ถามหนูรัตน์ต่อว่าในการถ่ายทำโฆษณาในคดีนี้ หนูรัตน์ไม่ได้รับการว่าจ้างจากลาซาด้าให้ทำโฆษณาในแคมเปญใด ๆ มาก่อนใช่หรือไม่ หนูรัตน์ตอบว่า ใช่ ที่เธอไปถ่ายก็เพราะเป็นการชักชวนจากนาราอีกทีหนึ่ง

    อัยการโจทก์ถามค้านว่า ในคดีนี้เธอถูกฟ้องด้วยข้อหาตามมาตรา 112 ซึ่งมีการเลียนแบบและดูหมิ่นเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีของรัชกาลที่ 10 เธอรู้หรือไม่ หนูรัตน์ตอบว่า เธอไม่รู้ว่าเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์คือใคร และไม่สามารถระบุตัวของพระองค์ได้ว่ามีรูปพรรณเป็นอย่างไร แต่เธอรู้จักในหลวงรัชกาลที่ 9

    อัยการจึงถามต่อไปว่า แต่หนูรัตน์รู้ใช่หรือไม่ว่าตัวเองกำลังถูกดำเนินคดีความตามข้อหาดังกล่าว และรู้ใช่หรือไม่ว่าโดนกล่าวหาว่าล้อเลียนเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ หนูรัตน์ยอมรับว่ารู้ว่าตัวเองถูกดำเนินคดี แต่ไม่รู้ว่าบุคคลในข้อกล่าวหาคือใคร แม้โจทก์จะยื่นภาพถ่ายบุคคลให้เธอชี้ตัวบุคคลว่าใครคือเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ

    ทั้งนี้ หนูรัตน์ยืนยันว่า ตัวเองไม่ได้เลียนแบบเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และนาราก็ไม่เคยเอารูปของพระองค์ให้เธอดูก่อนถ่ายโฆษณามาก่อน นอกจากนี้ ช่างที่แต่งหน้าให้หนูรัตน์ในวันถ่ายทำก็ไม่ได้มีรูปถ่ายของพระองค์มาเป็นแบบแต่งหน้าแต่อย่างใด

    อัยการจึงถามต่อไปว่า หนูรัตน์เคยดูละครบ้านทรายทองหรือไม่ ที่มีชายเล็กนั่งรถเข็น หนูรัตน์ตอบว่า “บทหนูเล็กไม่เหมือนกับในทีวี ตามที่นาราออกแบบมา บทนี้ไม่เหมือนกับในละคร”

    อย่างไรก็ตาม อัยการถามต่อไปว่าตั้งแต่ที่เป็นเพื่อนกับนารามา รู้หรือไม่ว่านารามีทัศนคติที่เป็นลบกับสถาบันกษัตริย์

    “หนูติดตาม TikTok และเป็นเพื่อนกับนารา แต่ไม่เคยเห็นเรื่องแสดงความเห็นอื่น ๆ และเป็นเพื่อนกับมัมดิว และไม่ทราบว่ามัมดิวแต่งตัวเลียนแบบใคร” หนูรัตน์ตอบ

    อัยการโจทก์จบการถามค้าน ทนายความของหนูรัตน์จึงเริ่มถามติง 1 ประเด็น คือเรื่องละครบ้านทรายทองที่หนูรัตน์เบิกความข้างต้น เป็นบทละครที่ถูกคิดขึ้นใหม่ให้เธอเล่นโดยเฉพาะหนูรัตน์ใช่หรือไม่ เธอยืนยันว่า ใช่
    .
    หลังพยานจำเลยทั้งหมดเข้าเบิกความจนเสร็จ ทนายจำเลยแถลงหมดพยาน ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ต.ค. 2567 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/70854)
  • เวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 805 ศาลออกพิจารณาคดี โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 – 4 ยืนขึ้นแสดงตัว ก่อนเริ่มอ่านคำพิพากษา สรุปใจความได้ว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามฟ้อง เป็นความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หรือไม่

    โจกท์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันดูหมิ่นเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยการโฆษณาล้อเลียนพระองค์ซึ่งเป็นรัชทายาทของพระมหากษัตริย์ มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำว่า “รัชทายาท” ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 ได้กำหนดความหมายของคำว่า รัชทายาท คือ เจ้านาย เชื้อพระบรมราชวงศ์ ซึ่งต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป

    และเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงยังมิได้แต่งตั้งองค์รัชทายาท เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ก็ย่อมไม่ใช่เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎมณเฑียรบาลฯ ดังกล่าว ดังนั้น คำว่า รัชทายาท ตามฟ้อง ที่โจทก์กล่าวหา จำเลยที่ 2 (หนูรัตน์) ว่า ดูหมิ่นเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดของมาตรา 112

    และตามฟ้องที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยได้ร่วมการหมิ่นประมาททำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย ซึ่งมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า คำว่า “สถาบันกษัตริย์” เป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ เมื่อพิเคราะห์ตัวบทกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดไว้ว่า ต้องเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงสถาบันกษัตริย์ ดังนั้น การกระทำที่เป็นความผิดจึงต้องเป็นการแสดงออกหรือมีถ้อยคำที่หมายถึงตัวบุคคลเท่านั้น การบังคับใช้มาตรา 112 ไม่ควรตีความในทางขยายความให้เกินกว่าข้อบัญญัติของกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดในข้อกล่าวหานี้

    เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 ในส่วนข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีการโฆษณาและเผยแพร่คลิปวีดิโอ จึงย่อมไม่เป็นความผิด

    กรณีที่หนูรัตน์ได้รับการชักชวนจากนาราให้ร่วมทำโฆษณาแคมเปญ 5.5 ของบริษัทลาซาด้า โดยในช่วงต้นคลิปที่ 1 ได้มีการเชิญชวนให้ซื้อสินค้าในช่วงโปรโมชั่นดังกล่าว ส่วนในคลิปที่ 2 ที่โจทก์ฟ้องว่า มัมดิวแสดงบทบาทเป็นพระพันปีหลวง และหนูรัตน์แสดงเป็นเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โดยมีนาราเชิญชวนให้มัมดิวร่วมกันโฆษณาเซรั่ม ซึ่งเป็นสินค้าของนาราเองนั้น

    ศาลเห็นว่า การแสดงบทบาทดังกล่าวไม่สามารถสื่อถึงพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดตามฟ้องได้ โดยจำเลยได้เบิกความว่า การแสดงดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงบทบาทสมมติจากละครย้อนยุคเท่านั้น ไม่มีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทบุคคลตามมาตรา 112 การกระทำของหนูรัตน์ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามข้อกล่าวหานี้เช่นกัน

    ทั้งการเผยแพร่โฆษณา ซึ่งไม่เห็นว่ามีผลเสียอย่างไร และไม่ปรากฏว่ามีการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้คนในสังคมแตกความสามัคคีกันอย่างไร และจำเลยที่ 3 – 4 ก็ได้มีการทำสื่อโฆษณา ซึ่งลงรายละเอียดตามสมควรและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคแล้ว พยานหลักฐานของโจกท์ไม่มีน้ำหนักแสดงให้เห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องอย่างไร ส่วนพยานหลักฐานของจำเลยสามารถรับฟังได้ พิพากษายกฟ้อง
    .
    หลังจบการอ่านคำพิพากษา ทนายความได้เข้าไปอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับคำพิพากษาให้เธอฟ้อง หลังรู้ว่าพ้นข้อกล่าวหาแล้ว หนูรัตน์แสดงท่าทีโล่งใจและยิ้มออกมาได้ เธอเดินออกมาจากห้องพิจารณาคดีพร้อมบิดา และผู้จัดการส่วนตัว

    “ก็ 3 ปีแล้ว เดินทางเยอะ 3 ปีเลย รู้สึกจะได้ไม่ต้องมาอีกแล้ว” หนูรัตน์กล่าว

    “หนูจะได้ทำงานรู้สึกสบายทั่วไปขึ้น” หนูรัตน์เปิดเผยความรู้สึกของตัวเอง เธอกล่าวเพิ่มเติมว่าการเดินทางมีความยากลำบาก เพราะเวลามาตามนัดหมายของศาล เธอต้องเดินทางจากสระบุรีเข้ากรุงเทพฯ ทุกครั้ง

    การที่หนูรัตน์ถูกกล่าวหาเพราะทำงาน “คือหนูไม่รู้เรื่องหรอกว่าให้หนูไปทำอะไร เขาไม่ได้บอกล่วงหน้า พอถึงหน้างานเราก็แต่งหน้าที่ไม่แต่งเหมือนใคร”

    “หนูทำงานแบบนี้มาถูกต้องแล้ว เป็นความเต็มใจ เป็นงานสุจริต งานเราก็ได้บทคุณหนูเล็กไง” หนูรัตน์ทิ้งทวนเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ของเธอ ก่อนเดินทางกลับบ้านที่สระบุรี
    .
    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 ศาลอาญาก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องเช่นเดียวกัน ในคดีของ “นารา เครปกะเทย” ซึ่งเป็นคดีที่มีมูลเหตุเดียวกัน โดยศาลได้มีคำพิพากษาที่มีใจความสำคัญที่สอดคล้องกัน ระบุว่า การตีความมาตรา 112 จะต้องกระทำโดยเคร่งครัด การแสดงบทบาทสมมติยังไม่ถึงกับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/70819 และ https://tlhr2014.com/archives/70854)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
บริษัทขายตรง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มัมดิว

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
หนูรัตน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
บริษัทโฆษณา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
บริษัทขายตรง

ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 30-10-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มัมดิว

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
หนูรัตน์

ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 30-10-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
บริษัทโฆษณา

ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ : 30-10-2024

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์