ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.443/2566

ผู้กล่าวหา
  • ชุติมา เลี่ยมทอง กลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)” (ประชาชน)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.443/2566

ผู้กล่าวหา
  • ชุติมา เลี่ยมทอง กลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)” (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.443/2566
ผู้กล่าวหา
  • ชุติมา เลี่ยมทอง กลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)”

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ดำ อ.443/2566
ผู้กล่าวหา
  • ชุติมา เลี่ยมทอง กลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)”

ความสำคัญของคดี

“เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 2 นักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” และนักศึกษากลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากกรณีโพสต์และแชร์ข้อความเกี่ยวกับ the land of compromise เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ซึ่งเป็นวันที่ตำรวจฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม "ราษฎรสาส์น" บริเวณหน้าศาลฎีกา โดยมี ชุติมา เลี่ยมทอง สมาชิกกลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)” เป็นผู้แจ้งความ

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่มีความเห็นต่างทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

วิจิตร ศรีมะเรือง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 จำเลยที่ 1 (พริษฐ์) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กชื่อ “เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak” ข้อความว่า “เพราะประเทศเราเป็น the land of compromise เราจึงประนีประนอมด้วยรถฉีดน้ำ และ….” ต่อมา จำเลยที่ 2 (ปนัสยา) ได้ใช้เฟซบุ๊ก “Panusaya Sithijirawattanakul” แชร์ข้อความดังกล่าว อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง (จำเลยที่ 1), เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง (จำเลยที่ 2)

การกระทำของจำเลยทั้งสองยังเป็นการล่วงละเมิด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งประชาชนหรือบุคคลทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าว เข้าใจความหมายได้ว่ารัชกาลที่ 10 อยู่เบื้องหลังการใช้ความรุนแรง โดยไม่มีการประนีประนอม โดยการใช้รถฉีดน้ำใส่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกดูหมิ่นและเกลียดชังต่อรัชกาลที่ 10 และสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศ จนอาจนำมาซึ่งความแตกแยกในสังคม

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.443/2566 ลงวันที่ 16 ก.พ. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 2 นักกิจกรรมกลุ่ม “ราษฎร” และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เดินทางไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    พ.ต.ท.นิติธร เดชระพีร์ และ ว่าที่ ร.ต.อ.พิเชษฐศักดิ์ ปิยรัตนสถิตย์ รอง สว.(สอบสวน) ปรก.กก.3 บก.ปอท. แจ้งข้อกล่าวหาโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ชุติมา เลี่ยมทอง ได้มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak” กรณีเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 เวลา 20.25 น. บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวโพสต์ข้อความว่า “เพราะประเทศเราเป็น the land of compromise เราจึงประนีประนอมด้วยรถฉีดน้ำ และ….” เชื่อมโยงกษัตริย์กับการแสดงความรักด้วยการใช้กำลัง

    ต่อมาผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊ก “Panusaya Sithijirawattanakul” แชร์โพสต์ข้อความดังกล่าว ซึ่งผู้กล่าวหาเห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และการกระทำดังกล่าว เป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อความที่มีลักษณะหมิ่นประมาท และดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 โดยเจตนาทำให้ประชาชนที่อ่านเกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์

    พนักงานสอบสวนระบุอีกว่า จากการสืบสวนสอบสวน น่าเชื่อว่าเฟซบุ๊ก “เพนกวิน – พริษฐ์ ชิวารักษ์ Parit Chiwarak” เป็นของพริษฐ์ และเฟซบุ๊ก “Panusaya sithijirawattankul” เป็นของปนัสยา

    พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์และปนัสยาว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)

    ทั้งสองคนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยไม่ลงชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 22 ก.พ. 2564 พริษฐ์ยังให้การด้วยว่า ประสงค์ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกเลขาธิการพระราชวังมาสอบถามว่า ได้มอบอำนาจให้บุคคลที่กล่าวโทษในคดีนี้มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ และโพสต์ที่ถูกกล่าวหาเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์อย่างไร

    หลังการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวน บก.ปอท.ไม่ได้ควบคุมตัวทั้งสองคนไว้ เนื่องจากมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก

    ทั้งนี้ ตามวันเวลาที่มีการโพสต์ข้อความที่นำมากล่าวหาดังกล่าว เป็นเหตุการณ์การชุมนุม ซึ่งกลุ่ม “ราษฎร” รวมตัวที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเวลา 16.00 น. เพื่อร่วมกันเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ จากนั้นแกนนำประกาศเคลื่อนขบวนไปยื่นจดหมายหรือ “ราษฎรสาส์น” ที่สำนักพระราชวัง ประมาณ 18.30 น. เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำใส่กลุ่มผู้ชุมนุมขณะที่เคลื่อนขบวนมาถึงหน้าศาลฎีกา เพื่อสกัดไม่ให้เข้าเขต 150 เมตรจากพระบรมมหาราชวัง ทำให้เกิดเหตุชุลมุน และสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ชุมนุม ซึ่งหลังจากนั้นจากการกดดันของผู้ชุมนุม ผบช.น.ได้ออกมาประกาศขอโทษ

    สำหรับ ชุติมา เลี่ยมทอง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดี จากการสืบค้นรายงานข่าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ระบุว่าเป็นสมาชิกของกลุ่ม “พลังประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (พปปส.)” ก่อนหน้านี้เคยแจ้งความดำเนินคดี 112 กับผู้ปราศรัย #ม็อบ2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว มาแล้ว

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา กก.3 บก.ปอท. ลงวันที่ 22 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25472)
  • พนักงานสอบสวนนัดพริษฐ์และปนัสยาเพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 หลังรับตัว อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 22 ก.ย. 2564
  • เวลา 14.00 น. ที่ศาลอาญา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 ยื่นฟ้องพริษฐ์และปนัสยา ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)(5) กล่าวหาว่า พริษฐ์โพสต์ข้อความว่า “เพราะประเทศเราเป็น the land of compromise เราจึงประนีประนอมด้วยรถฉีดน้ำ และ….” เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ต่อมา ปนัสยาได้แชร์ข้อความดังกล่าว อันเป็นการล่วงละเมิด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 ทำให้ประชาชนเข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 อยู่เบื้องหลังการใช้ความรุนแรง โดยไม่มีการประนีประนอม โดยการใช้รถฉีดน้ำใส่ประชาชน

    ท้ายคำฟ้อง อัยการได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสองระหว่างพิจารณาคดี โดยอ้างว่าเนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง และเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคง

    อย่างไรก็ตาม เวลา 15.37 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันจำเลยทั้ง 2 คน โดยให้วางหลักทรัพย์ประกัน เป็นจำนวนคนละ 90,000 บาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ และกำหนดวันนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 24 เม.ย. 2566

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.443/2566 ลงวันที่ 16 ก.พ. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/53645)
  • โจทก์และทนายจำเลยแถลงประสงค์นำพยานบุคคลเข้าสืบฝ่ายละ 8 ปาก ใช้เวลาสืบฝ่ายละ 2 นัด ศาลสอบถามทนายจำเลยเกี่ยวกับพยานความเห็น โดยขอให้ส่งเป็นบันทึกความเห็นมาแทนการสืบพยาน แต่ทนายจำเลยทั้งสองยืนยันขอนำพยานเข้าสืบ นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 30-31 ม.ค. 2567 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 5 และ 12 มี.ค. 2567

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.443/2566 ลงวันที่ 24 เม.ย. 2566)
  • ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยที่ 1 (พริษฐ์) มีนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลจังหวัดอุบลฯ ในวันที่ 30-31 ม.ค. 2567 ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 มี.ค. 2567 ตามที่นัดสืบพยานจำเลยไว้เดิม
  • ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากจำเลยที่ 1 (พริษฐ์) ติดนัดสืบพยานในคดีอื่นของศาลอาญาฯ ในวันนี้และวันที่ 12 มี.ค. 2567 ศาลให้ยกเลิกวันนัดสืบพยานเดิม และกำหนดวันนัดใหม่เป็นสืบพยานโจทก์ในวันที่ 10, 11 ต.ค. 2567 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 15, 22 ต.ค. 2567

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์