ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผกก. สน.บางโพ

ความสำคัญของคดี

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, ชนินทร์ วงษ์ศรี และเกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงข้อหาตามมาตรา 116 จากกรณีปราศรัยระหว่างการชุมนุม #ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา จัดโดย “คณะประชาชนปลดแอก” ที่หน้าอาคารรัฐสภา เกียกกาย เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัดเนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บักทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมระบุพฤติการณ์ในคดีนี้มีใจความโดยสรุปว่า

ผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ได้ร่วมชุมนุมสาธารณะที่หน้ารัฐสภา และได้ร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นเวทีปราศรัยบนรถบรรทุก โดยใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อเรียกร้องกดดันรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และจากการสืบสวนของ พ.ต.อ.นิวัตน์ พึ่งอุทัยศรี ผู้กำกับสืบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งได้จัดทำบันทึกคำปราศรัยดังกล่าว พบว่ามีข้อความบางส่วนที่ใช้วาจาจาบจ้วงพระมหากษัตริย์โดยมิบังควร เพื่อให้ประชาชนผู้มาชุมนุมและประชาชนทั่วไป เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยมีคำปราศรัยบางส่วนดังนี้

- ชนินทร์ วงษ์ศรี ปราศรัยถึงปัญหาในรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวดที่ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ และปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้ ทั้งที่งบประมาณมาจากภาษีประชาชน
- ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ปราศรัยถึงความเปลี่ยนแปลงและขยายพระราชอำนาจทางการทหารของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะย้อนกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ปราศรัยถึงปัญหาการปิดถนนจากขบวนเสด็จ หลักการ the king can do no wrong และความฝันในการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
- จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ปราศรัยถึงความเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการจัดการงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
- เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ปราศรัยถึงความฝันในการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง สถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ “ทรงปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง” ของสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งปัญหาในรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวดที่ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์

(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.บางโพ ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2563)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 10.00 น. ที่สถานีตำรวจนครบาลบางโพ นักกิจกรรม 5 ราย ที่ถูกออกหมายเรียกจากกรณีการชุมนุม #ไปสภาไล่ขี้ข้าศักดินา ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก โดยตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาแยกเป็น 2 คดี ได้แก่ คดี “ยุยงปลุกปั่น” ตามมาตรา 116 และคดีตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

    ก่อนหน้านี้ แกนนำนักกิจกรรมจำนวน 6 ราย ได้แก่ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, ชนินทร์ วงษ์ศรี, เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ และชลธิชา แจ้งเร็ว ทยอยได้รับหมายเรียกจาก สน.บางโพ ลงวันที่ 3 พ.ย. 2563 โดยมี พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผู้กำกับการ สน.บางโพ เป็นผู้กล่าวหา และให้ผู้ถูกออกหมายเรียกไปพบกับ ร.ต.ท.ชัชวาลย์ นิยมชาติ รองสารวัตร (สอบสวน) สน.บางโพ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา

    เหตุในการออกหมายเรียกดังกล่าว เกิดจากการชุมนุมของ “คณะประชาชนปลดแอก” ที่หน้าอาคารรัฐสภา เกียกกาย เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 ระหว่างที่มีการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยผู้ชุมนุมมีการเรียกร้องให้สภาเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกหมวด, การลดอำนาจ สว. และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่ในวันดังกล่าว สภาได้ลงมติให้มีการตั้งกรรมาธิการศึกษาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นเวลา 1 เดือนก่อน

    ในวันนี้ ผู้ถูกออกหมายเรียก 5 ราย ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ยกเว้น จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ซึ่งติดภารกิจ และจะเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาในวันอื่นต่อไป

    คณะพนักงานสอบสวน นำโดย พ.ต.ท.เทวา บุญชาเรียง สารวัตร (สอบสวน) สน.บางโพ โดยแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกออกหมายเรียก โดยแจ้งแยกเป็นสองคดี ได้แก่

    คดีแรก คดีของผู้ขึ้นกล่าวปราศรัย รวม 5 ราย ได้แก่ ภัสราวลี, ทัตเทพ, ชนินทร์, เกียรติชัย รวมทั้งจุฑาทิพย์ ที่ยังไม่ได้เดินทางมา ถูกกล่าวหาในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116

    เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าทั้ง 5 คน ได้ร่วมชุมนุมสาธารณะที่หน้ารัฐสภา และได้ร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นเวทีปราศรัยบนรถบรรทุก โดยใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อเรียกร้องกดดันรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และจากการสืบสวนของ พ.ต.อ.นิวัตน์ พึ่งอุทัยศรี ผู้กำกับสืบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งได้จัดทำบันทึกคำปราศรัยดังกล่าว พบว่ามีข้อความบางส่วนที่ใช้วาจาจาบจ้วงพระมหากษัตริย์โดยมิบังควร เพื่อให้ประชาชนผู้มาชุมนุมและประชาชนทั่วไป เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

    ทางคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ถอดบันทึกคำปราศรัยของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 5 ราย พร้อมเห็นว่ามีข้อความบางส่วนที่เข้าข่ายความผิด จึงมีกล่าวหาดำเนินคดี

    คดีที่สอง คดีของผู้แจ้งจัดการชุมนุม ได้แก่ ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือ “ลูกเกด” ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการแจ้งจัดการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ และการใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ข้อกล่าวหาระบุว่า ชลธิชาได้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะที่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการของหน่วยงานรัฐ กล่าวคือได้จัดการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องกดดันให้รัฐสภาลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ และมี ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดการชุมนุมตามที่ขออนุญาต และในการชุมนุมได้มีการใช้เครื่องขยายเสียงที่ใช้กำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานด้วย

    ทาง พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผู้กำกับ สน.บางโพ ในฐานะเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ และเป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้ ยังพบว่าการชุมนุมมีการปิดการจราจรถนนสามเสน และกีดขวางประตูทางเข้าออกรัฐสภา จึงได้ออกประกาศ สน.บางโพ เลขที่ 132/2563 ลงวันที่ 24 ก.ย. 2563 แจ้งให้มีการแก้ไขการชุมนุม โดยการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปอยู่บนทางเท้าข้างรั้วกำแพงรัฐสภา ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 นาที คือภายในเวลา 17.00 น. แต่ผู้ต้องหาไม่ได้แก้ไขการชุมนุมตามประกาศ และยังคงมีการจัดชุมนุมที่ฝ่าฝืนกฎหมายต่อเนื่องไปถึงเวลา 22.00 น. จึงได้เลิกการชุมนุม

    หลังการแจ้งข้อกล่าวหา นักกิจกรรมทั้ง 5 คน ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาในทั้งสองคดี และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป พนักงานสอบสวนจึงได้ให้ทั้งหมดพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ ก่อนปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ และยังไม่มีนัดหมายเพื่อส่งสำนวนให้อัยการ

    ในส่วนของคดีแรก ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 116 ยังต้องจับตาต่อไปว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางโพ จะมีการกล่าวหาในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติมอีกหรือไม่ เนื่องจากมีการบรรยายข้อกล่าวหาในลักษณะที่มีเนื้อหาตามมาตรา 112 เอาไว้ด้วย หลังจากเริ่มมีการนำข้อกล่าวหานี้กลับมาใช้อีกครั้ง แม้จะมีการเปลี่ยนแนวทางการบังคับใช้ไปตั้งแต่ช่วงปี 2561 เป็นต้นมา

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.บางโพ ลงวันที่ 25 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23479)
  • เวลา 11.00 น. ที่ สน.บางโพ ภัสราวลี, ทัตเทพ, จุฑาทิพย์, ชนินทร์ และเกียรติชัย เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ลงวันที่ 27 พ.ย. 2563 โดยมี พ.ต.อ.สุรเดช พจนาวงษ์พานิช ผู้กำกับ สน.บางโพ เป็นผู้กล่าวหา

    พนักงานสอบสวน พ.ต.ท. เทวา บุญชาเรือง ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมโดยมีการบรรยายพฤติการณ์ของทั้ง 5 คนว่า ร่วมชุมนุมสาธารณะที่หน้ารัฐสภา และได้ร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นเวทีปราศรัยบนรถบรรทุก โดยใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อเรียกร้องกดดันรัฐสภาให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ

    จากการสืบสวนของ พ.ต.อ.นิวัตน์ พึ่งอุทัยศรี ผู้กำกับสืบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งได้จัดทำบันทึกคำปราศรัยดังกล่าว พบว่ามีข้อความบางส่วนที่ใช้วาจาจาบจ้วงพระมหากษัตริย์โดยมิบังควร เพื่อให้ประชาชนผู้มาชุมนุม และประชาชนทั่วไป เกิดความรู้สึกดูหมิ่น เกลียดชังพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน จึงได้แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติมแก่ทั้งห้า โดยมีการถอดคำปราศรัยบางส่วนบรรยายไว้ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา

    - ชนินทร์ วงษ์ศรี ปราศรัยถึงปัญหาในรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวดที่ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ และปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้ ทั้งที่งบประมาณมาจากภาษีประชาชน
    - ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ปราศรัยถึงความเปลี่ยนแปลงและขยายพระราชอำนาจทางการทหารของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะย้อนกลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
    - ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ปราศรัยถึงปัญหาการปิดถนนจากขบวนเสด็จ หลักการ the king can do no wrong และความฝันในการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
    - จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ปราศรัยถึงความเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการจัดการงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
    - เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ ปราศรัยถึงความฝันในการให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง สถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ “ทรงปกเกล้า แต่ไม่ปกครอง” ของสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งปัญหาในรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวดที่ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์

    จุฑาทิพย์ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 116 ซึ่งเป็นข้อหาที่ได้ถูกออกหมายเรียกไปก่อนหน้านี้ด้วย

    หลังการแจ้งข้อกล่าวหา ทั้งหมดให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 17 ม.ค. 2564 โดยจุฑาทิพย์ไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกรับทราบข้อกล่าวหาและไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งว่าจะมีการส่งหมายเรียกในข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานจากกรณีไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.บางโพ ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24169)
  • ภัสราวลี, ทัตเทพ, จุฑาทิพย์ และชนินทร์ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 3 หลังพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกลงวันที่ 22 ม.ค. 2564

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์คดีเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหากับพวกได้ร่วมกันชุมนุม มีผู้มาเข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก มีการกล่าวคําปราศรัยในลักษณะเรียกร้อง เชิญชวน ในลักษณะอันก่อให้เกิดความวุ่นวายและก่อความไม่สงบเกิดขึ้นในบ้านเมือง และผู้ที่เข้ามาร่วมชุมนุมนั้นได้รวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นและแออัด โดยกลุ่มผู้ชุมนุมมีเพียงใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก บางคนก็ไม่ปิด และอยู่ใกล้ชิดกัน ทั้งไม่ปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมชุมนุม

    จากนั้นได้แจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมทั้งสี่เพิ่มเติมในข้อหา ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, ร่วมกันจัดกิจกรรมและร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ

    ในกรณีของจุฑาทิพย์ที่ปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกรับทราบข้อกล่าวหาและไม่พิมพ์ลายนิ้วมือในนัดรับทราบข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 นั้น พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงานโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร เพิ่มอีก 1 ข้อหา

    สำหรับเกียรติชัยซึ่งได้รับหมายเรียกเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกคน แต่ไม่สามารถเดินทางมาพร้อมกับคนอื่นได้ ได้ส่งหนังสือขอเลื่อนเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 6 ก.พ. 2564

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.บางโพ ลงวันที่ 4 ก.พ. 2564)
  • พนักงานสอบสวนนัด 5 นักกิจกรรมเพื่อส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 อัยการนัดฟังคำสั่งวันที่ 20 ก.พ. 2567

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชนินทร์ วงษ์ศรี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์