ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
- พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
- พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
- ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2249/2567
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง รอง ผกก.ป.สภ.คลองหลวง
ความสำคัญของคดี
นักกิจกรรม 8 ราย ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์, เบนจา อะปัญ, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ณัฐชนน ไพโรจน์, ชลธิศ โชติสวัสดิ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก, พรหมศร วีระธรรมจารี, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา ถูกดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีการรวมตัวหน้า สภ.คลองหลวง ในคืนวันที่ 14 ม.ค. 2564 เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว “นิว” สิริชัย นาถึง เพื่อนนักกิจกรรมซึ่งถูกจับกุมในยามวิกาลด้วยข้อหาตามมาตรา 112 โดยทั้งแปดคน รวมทั้ง "ภูมิ" ที่ถูกแยกฟ้องในศาลเยาวชนฯ ถูกกล่าวหาว่า ปาอาหารหมาใส่พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 ที่อยู่เหนือป้าย สภ.คลองหลวง ในระหว่างการชุมนุมดังกล่าว
ในคดีนี้ยังมีนักกิจกรรมอีก 3 คน ถูกดำเนินคดีเฉพาะข้อหามั่วสุมเกินกว่า 10 คน ก่อความวุ่นวาย, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ จากกิจกรรมในวันดังกล่าวด้วย
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง
ในคดีนี้ยังมีนักกิจกรรมอีก 3 คน ถูกดำเนินคดีเฉพาะข้อหามั่วสุมเกินกว่า 10 คน ก่อความวุ่นวาย, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ จากกิจกรรมในวันดังกล่าวด้วย
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ศุรชัย ไชยขาว พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี บรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 จำเลยทั้งเก้าได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ
1. วันเกิดเหตุซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จำเลยทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นแกนนำหรือผู้จัดให้มีการชุมนุม เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง บริเวณ สภ.คลองหลวง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 100 คน อันเป็นการชุมนุมหรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัด ในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
2. จำเลยทั้งเก้ากับพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และมีการกระทำในลักษณะวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือ จำเลยทั้งเก้ากับพวกได้จัดให้มีการชุมนุมรวมตัวหน้าทางเข้า สภ.คลองหลวง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตั้งแถวเป็นแนวยาวเพื่อตรวจดูแลรักษาความปลอดภัย และรักษาความสงบเรียบร้อย โดยได้ร่วมกันเปิดเพลงมาร์ชตำรวจโดยใช้เครื่องขยายเสียง 1 จบ แล้วจำเลยที่ 2 ได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงว่า “เอ้า ฟังเพลงเสร็จแล้วก็กินอาหาร”
จากนั้น จำเลยทั้งเก้ากับพวกได้ร่วมกันนำอาหารสัตว์มาโปรยบนผ้าสีขาวและยังได้ขว้างปาอาหารสัตว์ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแถวอยู่ และยังได้มีการนำขวดน้ำเปล่าและน้ำแดงเทลงที่บันไดทางขึ้นพร้อมจุดธูปและพากันเข้ามาถือผ้าสีขาวที่ปูที่พื้นยกขึ้น ในขณะที่จำเลยคนหนึ่งได้พูดใส่ไมค์ลอยพร้อมเปิดเพลง “ธรณีกันแสง” คล้ายอยู่ในงานศพ หลังจากนั้น พวกของจำเลยได้ร่วมกันนำสีสเปรย์มาฉีดพ่นระบุเป็นข้อความหยาบคาย ลงบนกำแพง, พื้น และกระจกบานเลื่อนบริเวณหน้า สภ.คลองหลวง ได้รับความเสียหาย เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. การกระทำของจำเลยทั้งเก้าตั้งแต่ปูผ้าขาว ลั่นระฆัง จุดธูป เทน้ำแดง เป็นการดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอายเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ และเกียรติของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร และเปรียบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เหมือนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยง เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับความเสียหาย และมีการเผยแพร่อย่างสาธารณะ
4. จำเลยที่ 1 ถึง 6 และจำเลยที่ 8 ได้นำเอาอาหารสุนัขขว้างปาใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เหนือป้ายชื่อ สภ.คลองหลวง ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นเป็นเหมือนสุนัข และพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของสุนัข
จำเลยที่ 1 กับพวกยังได้กล่าวถ้อยคำที่วิญญูชนทั่วไปได้ฟังแล้วเข้าใจได้ว่า จำเลยกับพวกประสงค์จะขว้างปาอาหารสุนัขใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปต่างเคารพ สักการะบูชา เสมือนหนึ่งแทนพระองค์ และยังมีการกล่าวถ้อยคำจาบจ้วง เสียดสี หยาบคาย และไม่บังควร
การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 6 และที่ 8 กับพวกเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างสาธารณะทางระบบอินเทอร์เน็ต
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.2249/2567 ลงวันที่ 29 พ.ค. 2567)
1. วันเกิดเหตุซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จำเลยทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นแกนนำหรือผู้จัดให้มีการชุมนุม เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง บริเวณ สภ.คลองหลวง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 100 คน อันเป็นการชุมนุมหรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัด ในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
2. จำเลยทั้งเก้ากับพวกยังได้ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และมีการกระทำในลักษณะวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือ จำเลยทั้งเก้ากับพวกได้จัดให้มีการชุมนุมรวมตัวหน้าทางเข้า สภ.คลองหลวง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตั้งแถวเป็นแนวยาวเพื่อตรวจดูแลรักษาความปลอดภัย และรักษาความสงบเรียบร้อย โดยได้ร่วมกันเปิดเพลงมาร์ชตำรวจโดยใช้เครื่องขยายเสียง 1 จบ แล้วจำเลยที่ 2 ได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงว่า “เอ้า ฟังเพลงเสร็จแล้วก็กินอาหาร”
จากนั้น จำเลยทั้งเก้ากับพวกได้ร่วมกันนำอาหารสัตว์มาโปรยบนผ้าสีขาวและยังได้ขว้างปาอาหารสัตว์ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแถวอยู่ และยังได้มีการนำขวดน้ำเปล่าและน้ำแดงเทลงที่บันไดทางขึ้นพร้อมจุดธูปและพากันเข้ามาถือผ้าสีขาวที่ปูที่พื้นยกขึ้น ในขณะที่จำเลยคนหนึ่งได้พูดใส่ไมค์ลอยพร้อมเปิดเพลง “ธรณีกันแสง” คล้ายอยู่ในงานศพ หลังจากนั้น พวกของจำเลยได้ร่วมกันนำสีสเปรย์มาฉีดพ่นระบุเป็นข้อความหยาบคาย ลงบนกำแพง, พื้น และกระจกบานเลื่อนบริเวณหน้า สภ.คลองหลวง ได้รับความเสียหาย เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
3. การกระทำของจำเลยทั้งเก้าตั้งแต่ปูผ้าขาว ลั่นระฆัง จุดธูป เทน้ำแดง เป็นการดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอายเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ และเกียรติของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร และเปรียบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เหมือนสุนัขหรือสัตว์เลี้ยง เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับความเสียหาย และมีการเผยแพร่อย่างสาธารณะ
4. จำเลยที่ 1 ถึง 6 และจำเลยที่ 8 ได้นำเอาอาหารสุนัขขว้างปาใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เหนือป้ายชื่อ สภ.คลองหลวง ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นเป็นเหมือนสุนัข และพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของสุนัข
จำเลยที่ 1 กับพวกยังได้กล่าวถ้อยคำที่วิญญูชนทั่วไปได้ฟังแล้วเข้าใจได้ว่า จำเลยกับพวกประสงค์จะขว้างปาอาหารสุนัขใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปต่างเคารพ สักการะบูชา เสมือนหนึ่งแทนพระองค์ และยังมีการกล่าวถ้อยคำจาบจ้วง เสียดสี หยาบคาย และไม่บังควร
การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 6 และที่ 8 กับพวกเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยประการที่น่าจะทำให้รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างสาธารณะทางระบบอินเทอร์เน็ต
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.2249/2567 ลงวันที่ 29 พ.ค. 2567)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 05-02-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหาหลังพนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ออกหมายเรียกนักกิจกรรม-นักศีกษา-เยาวชนจำนวน 12 คน ให้เข้ารับข้อกล่าวหากรณีที่นักกิจกรรมและประชาชนเดินทางไปที่หน้า สภ.คลองหลวง เรียกร้องให้ปล่อยตัว “นิว” สิริชัย นาถึง สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ซึ่งถูกจับกุมช่วงดึกของวันที่ 13 ม.ค. 2564 ในข้อหามาตรา 112 หลังถูกกล่าวหาว่าพ่นข้อความ “ยกเลิก 112” บนรูปพระบรมวงศานุวงศ์
วันนี้นักกิจกรรมทั้ง 12 ราย เดินทางมาที่ สภ.คลองหลวง ตามหมายเรียก ได้แก่ เบนจา อะปัญ, พริษฐ์ ชิวารักษ์, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ณัฐชนน ไพโรจน์, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, ภาณุพงศ์ จาดนอก, ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์, ชลธิศ โชติสวัสดิ์, อรรถพล บัวพัฒน์, พรหมศร วีระธรรมจารี, ชนินทร์ วงศ์ศรี และ "ภูมิหัวลำโพง" เยาวชนอายุ 17 ปี
ตำรวจกล่าวหาว่าในช่วงวันที่ 14 ม.ค. 2564 เวลา 02.00 – 03.50 น. ทั้ง 12 คน ได้มาร่วมชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ที่หน้าสภ.คลองหลวง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แกนนำมีการพูดปราศรัยโจมตีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปลุกเร้า โดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อกดดันการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ สภ.คลองหลวง และยังเป็นการจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ลักษณะมั่วสุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายในลักษณะแออัดและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ข้อกล่าวหายังระบุว่าผู้ชุมนุมมีการนำผ้าสีขาวมีข้อความสีดำและแดงว่า “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย” พร้อมรูปวาดบุคคล จิตร ภูมิศักดิ์ มาปูที่พื้น พร้อมโปรยอาหารสัตว์ และขว้างอาหารใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งยังร่วมกันน้ำเปล่าและน้ำแดงมาเทลงที่บันไดทางขึ้นพร้อมจุดธูป และมีการพูดใส่ไมค์คล้ายการพูดประกอบพิธีงานศพ พร้อมเปิดเพลงธรณีกันแสง เปรียบเสมือนการไว้อาลัยแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอายเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้กล่าวหากับพวกจึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ไว้
ผู้ถูกกล่าวหา 5 ราย ยังได้นำสีสเปรย์สีขาวมาฉีดพ่นเป็นข้อความบนผนังกำแพง พื้น กระจกบานเลื่อนบริเวณหน้าสภ.คลองหลวง ได้รับความเสียหาย ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ มิตรปราสาท ผู้กำกับ สภ.คลองหลวง ร้องทุกข์เพิ่มเติมไว้ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 4 ข้อกล่าวหา ได้แก่
1. ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้า หรือสั่งการในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรค 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ร่วมกันกระทำการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นเหตุให้โรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
3. ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในลักษณะติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งได้กระทำตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ เบนจา, ปนัสยา, ณวรรษ, ภาณุพงศ์ และพรหมศร ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, ปนัสยา, ณวรรษ และภาณุพงศ์ ถูกแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ รวมทั้ง พริษฐ์, ณัฐชนน, ณวรรษ, ภาณุพงศ์, พรหมศร และอรรถพล ถูกแจ้งข้อหา ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วย
ทั้ง 12 คน ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้งหมดยังให้การกับตำรวจไว้อีกว่าไม่มีเหตุฝากขังตามกฎหมาย พร้อมระบุตัวอย่างคำสั่งของศาลซึ่งไม่อนุมัติการฝากขังในคดีที่ผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทำให้ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหา ตามมาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 และผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี และหลายคนยังเป็นนักศึกษา ไม่ได้มีพฤติการณ์จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น พร้อมยังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่จำเป็นจะต้องออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวน
ต่อมา พนักงานสอบสวนได้แก้ไขข้อความในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาใหม่ จากเดิมที่ระบุว่าพนักงานสอบสวนมีเหตุที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 และได้สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขัง เป็นว่าพนักงานสอบสวนได้ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปโดยไม่มีการควบคุมตัวไว้
จนเวลา 15.30 น. นักกิจกรรมและประชาชนที่ถูกกล่าวหาจึงได้ทยอยเดินทางออกจาก สภ.คลองหลวง หลังเสร็จสิ้นกระบวนการพิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้นั่งรถตู้ของตำรวจออกไป ระบุว่าไม่ต้องการให้ฝ่ามวลชนออกไป
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 5 ก.พ. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25761)
-
วันที่: 12-03-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่ สภ.คลองหลวง ณัฐชนน, ชลธิศ, พรหมศร และเบนจา เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดตามมาตรา 112 ตามที่พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก โดยคดีนี้มีผู้ถูกออกหมายเรียกไปแจ้งข้อหา 112 เพิ่มเติมทั้งหมด 9 ราย นอกจากทั้งสี่ที่เดินทางมาในวันนี้แล้ว ยังมีณวรรษ ซึ่งขอเลื่อนรับทราบข้อกล่าวหา, ภูมิ ซึ่งเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาไปแล้ว ส่วนปนัสยา, ภาณุพงศ์ และพริษฐ์ พนักงานสอบสวนระบุว่าจะเดินทางเข้าไปแจ้งข้อหาเพิ่มเติมที่เรือนจำในภายหลัง
พนักงานสอบสวน พ.ต.ท.พิศิษฐ บุญมีสุข และ ร.ต.ท.ภีมวัจน์ จิตต์สงวน ได้บรรยายพฤติการณ์ของทั้งเก้าว่า “ร่วมกันกระทําผิดโดยการขว้างปาอาหารสุนัขชนิดเม็ด ไปที่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อเปรียบเทียบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดังเช่นเจ้าหน้าที่ตํารวจ เป็นเหมือนสุนัข และพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของสุนัข”
ข้อกล่าวหายังระบุว่า พรหมศรได้กล่าวโดยชัดเจนที่วิญญูชนสามารถเข้าใจได้ทันทีว่า ผู้กระทําผิดประสงค์ที่จะขว้างปาไปยังพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ และเป็นสิ่งซึ่งประชาชนชาวไทยทั่วไปเคารพ สักการะบูชา เสมือนหนึ่งแทนพระองค์ โดยการกล่าวถ้อยคํา จาบจ้วง เสียดสีด้วยวาจา อันอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ข้อกล่าวหาได้บรรยายข้อความที่ผู้ต้องหาแต่ละคนปราศรัยที่ด้านหน้า สภ.คลองหลวง โดยมีผู้ที่ไม่ได้กล่าวถ้อยคำใดใดแต่พนักงานสอบสวนได้บรรยายพฤติการณ์ที่เข้าข่ายกระทำความผิดไว้ว่า “แม้หากว่าจะไม่ได้มีการพูดข้อความ หรือถ้อยคําใด ๆ แต่การดูหมิ่น หรือการหมิ่นประมาทนั้น ไม่จําเป็นที่จะต้องเป็นการใช้ถ้อยคํา เพราะการใช้สัญลักษณ์ การสื่อด้วยอวัยวะของร่างกาย หรือสิ่งอื่นใด รวมถึงการกระทําที่สื่อถึงการดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทก็ถือว่าเป็นการดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทได้”
จากนั้นพนักงานสอบสวนได้สรุปพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งหมด ตั้งแต่การปูผ้าขาว การเข้ามาลั่นระฆัง การโปรย อาหารสัตว์ การจุดธูปและกรวดน้ำ เทน้ำแดง และพูดกล่าวคล้ายการประกอบพิธีงานศพ อันเป็นการ ดูถูกเหยียดหยาม ทําให้อับอายเสียหาย แก่เจ้าหน้าที่ตํารวจที่นั่งอยู่ขณะปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยอยู่ในที่เกิดเหตุ เป็นการกระทําที่เปรียบเจ้าหน้าที่ตํารวจเสมือนเป็นสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงจึงได้โปรยอาหารสัตว์ที่ผ้าขาวด้านหน้าเจ้าหน้าที่ตํารวจ และยังขว้างอาหารสัตว์ใส่ตํารวจที่นั่งอยู่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตํารวจดังกล่าวให้ได้รับความเสียหายในคดีนี้
ทั้งจากข้อความที่ปรากฏด้วยวาจาของผู้ต้องหากับพวก รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งที่ปรากฏจากการตรวจสอบของฝ่ายสืบสวนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาว่าการกระทําผิดดังกล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นการร่วมกันกระทําผิด โดยการดูหมิ่น ใส่ความ หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อประชาชนทั่วไปที่อยู่ในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นการกระทําที่ละเมิดต่อกฎหมายซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร
พนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ได้แจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติมแก่ทั้งสี่คน และแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ เพิ่มเติมกับเบนจาและพรหมศรด้วย
เบื้องต้นทั้งสี่คนได้ให้ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน ทั้งนี้ตำรวจไม่ลงวันนัดเพื่อส่งสำนวนให้กับอัยการ แต่จะออกเป็นหมายเรียกให้ทราบในภายหลัง เนื่องจากผู้ต้องหาอาจติดธุระในวันที่นัด
สำหรับบรรยากาศที่ สภ.คลองหลวง มีตำรวจในเครื่องแบบตั้งแถวตามแนวรั้ว สภ. และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบนั่งอยู่รอบบริเวณ ที่ทางเข้ามีตำรวจยืดแถวพร้อมโล่หลังแบริเออร์ มีจุดให้ลงชื่อการเข้าบริเวณ สภ. พร้อมทั้งถ่ายรูปบัตร แต่ไม่ได้มีการตรวจวัดอุณหภูมิใด ๆ
ส่วนภายในห้องสอบสวนมีเจ้าหน้าที่สอบสวน และเจ้าหน้าที่สวมเสื้อกั๊กระบุหน่วยต่าง ๆ คอยยืนสังเกตการณ์และถ่ายรูปในห้องด้วยมากกว่า 4 ครั้ง รวมถึงเดินตามผู้ถูกกล่าวหาเมื่อไปเข้าห้องน้ำหรือไปสูบบุหรี่
ระหว่างเดินทางกลับ ผู้ต้องหาได้ร่วมกันถ่ายรูปหน้าตึก สภ.คลองหลวง แต่ได้มีเจ้าหน้าที่วิ่งมาห้าม พร้อมกับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้ามาถ่ายรูปและคลิปวีดีโอ พร้อมพูดคุยให้ไปถ่ายภายนอกรั้วของ สภ. ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะสามารถถ่ายรูปในบริเวณได้ก็ตาม เมื่อสอบถามถึงเหตุผล เจ้าหน้าที่บอกให้ไปคุยกับผู้บังคับบัญชาเอง
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 12 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/26923) -
วันที่: 16-03-2021นัด: รับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม"แอมป์" ณวรรษ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม คณะพนักงานสอบสวนได้แจ้งพฤติการณ์คดีเช่นเดียวกับที่แจ้ง 4 นักกิจกรรมก่อนหน้านี้ ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม ณวรรษให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 16 มี.ค. 2564) -
วันที่: 26-03-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง ภ.จว.ปทุมธานี ได้เข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับ “รุ้ง” ปนัสยา ที่สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี และพริษฐ์ ที่สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี ในข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยมีทนายความ และพี่สาวของรุ้งในฐานะผู้ไว้วางใจเข้าร่วมเป็นประจักษ์พยานด้วย
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์คดีเช่นเดียวกับคนอื่น ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติมกับทั้งปนัสยาและพริษฐ์ และข้อหาร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต กับปนัสยาอีกข้อหา ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือในภายหลัง
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564 พนักงานสอบสวนได้เดินทางมาเพื่อแจ้งข้อกล่าวแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากรุ้งยืนยันจะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยให้ผู้ไว้วางใจซึ่งเป็นแม่ พี่สาว และแฟน เข้าร่วมฟังการสอบสวน แต่ทางทัณฑสถานหญิงกลางไม่อนุญาต พนักงานสอบสวนจึงต้องเดินทางกลับ
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ทัณฑสถานหญิงกลาง และบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี ลงวันที่ 26 มี.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27565)
-
วันที่: 01-04-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พ.ต.ท.สุชัย แสงส่อง รองผู้กำกับ (สอบสวน) พร้อมกับ พ.ต.ท.พิศิษฐ บุญมีสุข สารวัตร (สอบสวน) และ ร.ต.ท. ภีมวัจน์ จิตต์สงวน รอง สารวัตร (สอบสวน) สภ.คลองหลวง คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งภูธรจังหวัดปทุมธานี ได้เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับ “ไมค์” ภาณุพงศ์ ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีทนายความเข้าร่วมฟังด้วย
พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์คดีเช่นเดียวกับคนอื่น ก่อนแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม เบื้องต้นภาณุพงศ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 พนักงานสอบสวนจากสภ.คลองหลวง และสน.ปทุมวันได้พยายามเข้ามาแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับภาณุพงศ์ในเรือนจำแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากผู้ต้องหาโต้แย้งเรื่องหลักฐานและข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน ต่อมาเรือนจำยังประสบปัญหาไฟดับ ทำให้พนักงานสอบสวนไม่สามารถแจ้งข้อหาและสอบปากคำได้อีก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลงวันที่ 1 เม.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/27911) -
วันที่: 29-05-2024นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมีจำเลยทั้งหมด 9 คน ได้แก่ เบนจา อะปัญ (จำเลยที่ 1), “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ (จำเลยที่ 2), “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (จำเลยที่ 3), ณัฐชนน ไพโรจน์ (จำเลยที่ 4), “แอมป์” ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา (จำเลยที่ 5), ชลธิศ โชติสวัสดิ์ (จำเลยที่ 6), “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์ (จำเลยที่ 7), “ฟ้า” พรหมศร วีระธรรมจารี (จำเลยที่ 8) และ “บอล” ชนินทร์ วงษ์ศรี (จำเลยที่ 9)
อย่างไรก็ตาม พริษฐ์ไม่ได้เดินทางมาตามนัดฟ้องในวันนี้แต่อย่างใด และในส่วนของ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ และ “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก นั้น พนักงานอัยการจะแยกฟ้องในภายหลัง
ในส่วนภูมินั้น พนักงานอัยการได้แยกฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางไปก่อนหน้านี้แล้ว ต่อมา ในการสืบพยานวันแรก ภูมิกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลเห็นควรให้ใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาตรา 132 วรรค 2 กำหนดให้ส่งตัวภูมิไปที่สถานพินิจฯ เป็นเวลา 1 ปี ให้อบรมหลักสูตรวิชาชีพ 2 หลักสูตร โดยปัจจุบันภูมิยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานพินิจฯ บ้านเมตตา และอยู่ระหว่างการฝึกอบรมวิชาชีพ
ศุรชัย ไชยขาว พนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี ได้ยื่นฟ้องทั้งเก้าคนใน 7 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้า, ทำให้เสียทรัพย์, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 12, ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้ ยังยื่นฟ้องข้อหา ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อีก 1 ข้อหา กับเบนจา, พริษฐ์, ปนัสยา, ณัฐชนน, ณวรรษ, ชลธิศ และพรหมศร
พนักงานอัยการบรรยายฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จำเลยทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นแกนนำหรือผู้จัดให้มีการชุมนุม เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง บริเวณ สภ.คลองหลวง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 100 คน อันเป็นการชุมนุมหรือการมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัด ในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยไม่มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
จำเลยทั้งเก้ากับพวกยังได้ร่วมกันเปิดเพลงมาร์ชตำรวจ นำอาหารสัตว์มาโปรยบนผ้าสีขาวและขว้างปาอาหารสัตว์ใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งแถวอยู่ และยังได้มีการนำขวดน้ำเปล่าและน้ำแดงเทลงที่บันไดทางขึ้นพร้อมจุดธูป เปิดเพลง “ธรณีกันแสง” คล้ายอยู่ในงานศพ นำสีสเปรย์มาฉีดพ่นระบุเป็นข้อความหยาบคายลงบนกำแพง, พื้น และกระจกบานเลื่อน เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเป็นการดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอายเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ถึง 6, และจำเลยที่ 8 ได้นำเอาอาหารสุนัขขว้างปาใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 เหนือป้ายชื่อ สภ.คลองหลวง จำเลยที่ 1 กับพวกยังได้กล่าวถ้อยคำที่เข้าใจได้ว่า จำเลยกับพวกประสงค์จะขว้างปาอาหารสุนัขใส่พระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์และเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปต่างเคารพ สักการะบูชา เสมือนหนึ่งแทนพระองค์ และยังมีการกล่าวถ้อยคำจาบจ้วง เสียดสี หยาบคาย และไม่บังควร
ท้ายคำฟ้อง พนักงานอัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณาคดี แต่ขอให้ศาลนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่น ๆ
ต่อมา หลังศาลรับฟ้อง และนายประกันยื่นประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันจำเลยทั้งหมดในระหว่างพิจารณาคดี โดยจำเลยที่ 1, 3 – 6 และ 8 ให้วางหลักทรัพย์เป็นจำนวนคนละ 150,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 7 และ 9 ให้วางหลักทรัพย์เป็นจำนวนคนละ 50,000 บาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์
ศาลกำหนดวันนัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 25 ก.ค. 2567 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดธัญบุรี คดีหมายเลขดำที่ อ.2249/2567 ลงวันที่ 29 พ.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/67446) -
วันที่: 25-07-2024นัด: คุ้มครองสิทธิ
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐชนน ไพโรจน์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชลธิศ โชติสวัสดิ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชนินทร์ วงษ์ศรี
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พรหมศร วีระธรรมจารี
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐชนน ไพโรจน์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชลธิศ โชติสวัสดิ์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อรรถพล บัวพัฒน์
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชนินทร์ วงษ์ศรี
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์