สรุปความสำคัญ
“อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน ผู้ชุมนุมทางการเมืองวัย 31 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยถูกตำรวจสันติบาลกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความ ภาพ และคลิปบนเฟซบุ๊กจำนวน 8 โพสต์ ในช่วงวันที่ 8 ก.พ. - 1 เม.ย. 2565 มีเนื้อหาบิดเบือน ให้ร้าย ล้อเลียน เสียดสี รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดกั้นการแสดงออกและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง ทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดกั้นการแสดงออกและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 08-04-2022
-
ผู้ถูกละเมิด
- กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- สิทธิในความมั่นคงปลอดภัย
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จับกุม / ควบคุมตัว
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
ครั้งที่ : 2
วันที่ : 01-07-2022
-
ผู้ถูกละเมิด
- กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- บุกค้น / ยึดทรัพย์สิน
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
ครั้งที่ : 3
วันที่ : 17-02-2023
-
ผู้ถูกละเมิด
- กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
8 เม.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งว่า “อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน อายุ 30 ปี ถูกกลุ่มชายอ้างตัวเป็นตำรวจสันติบาลจำนวน 8 นาย ล่อลงออกมาจากห้องพัก อ้างว่ากันต์ฤทัยโพสต์เฟซบุ๊กเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต้องการเจรจาตกลงไม่ให้โพสต์ลักษณะเช่นนี้อีกและต้องการให้ปิดบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวดังกล่าวไป ก่อนตำรวจจะพาตัวเธอไป สน.ลาดพร้าว แต่สุดท้ายหลังถึง ตำรวจได้ทิ้งเธอไว้และขับรถหนีออกไป เธอจึงลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ไว้ที่ สน.ลาดพร้าว
++เปิดไทม์ไลน์ “กันต์ฤทัย” ถูกล่อลงจากห้อง ข่มขู่ “ถ้าไม่ยอมไป จะอุ้มไป” พาตัวไป สน.ลาดพร้าว อ้างเจรจาความผิด ม.112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก ทั้งที่ไม่มีหมายจับ-ค้น ก่อนถูกปล่อยทิ้งไว้ที่ สน.
1. กันต์ฤทัยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ว่า เวลาประมาณ 10.00 น.ขณะที่เธอนอนหลับอยู่ในหอพักแห่งหนึ่งย่านลาดพร้าว มีผู้หญิงคนหนึ่งเดินมาเคาะห้องพักของเธอแล้วพูดในทำนองว่า “รถยนต์ของเธอไปเฉี่ยวชนรถยนต์ของกันต์ฤทัย ช่วยลงไปดูหน่อยได้ไหม” เธอจึงเดินที่ระเบียงเพื่อชะโงกดูรถของตัวเองซึ่งจอดอยู่บริเวณลานจอดรถด้านล่าง ปรากฏว่ามีรถยนต์อีกคันจอดชิดท้ายในลักษณะคล้ายการเฉี่ยวชนจริงๆ เธอจึงรีบเดินลงมายังลานจอดรถทันที
2. เมื่อเธอลงมาถึงลานจอดรถ เธอเข้าไปตรวจดูท้ายรถยนต์ของตัวเอง แต่กลับไม่พบร่องรอยของการถูกเฉี่ยวชนใดๆ เมื่อหันหลังเพื่อจะเดินกลับขึ้นห้อง ก็พบว่ามีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวน 8 คนยืนล้อมอยู่ด้านหลัง โดยบอกกับเธอว่าพวกเขาเป็น “ตำรวจสันติบาล”
3. จากนั้นตำรวจนายหนึ่งได้ยื่นเอกสารบางอย่างให้เธออ่านดู เอกสารดังกล่าวเป็นรูปภาพโพสต์เฟซบุ๊กจากบัญชีส่วนตัวของกันต์ฤทัยเองจำนวนหลายโพสต์ด้วยกัน ซึ่งตำรวจอ้างว่าการโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นการกระทำที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต้องการจะพากันต์ฤทัยไปเจรจาตกลงกันที่ สน.ลาดพร้าว เพื่อไม่ให้เธอโพสต์ข้อความในลักษณะนี้อีกและต้องการให้เธอปิดบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวดังกล่าวด้วย หากเธอยินยอมให้ความร่วมมือตำรวจก็จะไม่ดำเนินคดีใดๆ กับเธอ
4. กันต์ฤทัยไม่ยอมไป สน.ลาดพร้าวกับตำรวจ เนื่องจากเธอเห็นว่า ชายกลุ่มดังกล่าวไม่มีแสดงบัตรประจำตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริง ไม่มีหมายค้น หมายจับ หรือเอกสารใดๆ ตำรวจคะยั้นคะยอจะพาตัวเธอขึ้นรถไป และบอกกับเธอว่า “ถ้าไม่ยอมไป จะอุ้มไปให้ได้” แต่ขณะนั้นเธอไม่ได้ใส่ชุดชั้นในข้างในเลย ตำรวจยินยอมให้เธอขับรถส่วนตัวตามไป สน.ลาดพร้าว ในระยะประชิดแทน
5. เมื่อมาถึง สน.ลาดพร้าว ในเวลาประมาณ 12.00 น. กันต์ฤทัยพบว่ามีมวลชนและผู้สื่อข่าวเดินทางมารออยู่ก่อนหน้าแล้วประมาณ 10 คน และกำลังมีมาสมทบอีกเรื่อยๆ เมื่อชายกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นตำรวจสันติบาลดังกล่าวเห็นดังนั้น ก็ได้เดินมาบอกเธอว่า “จะไม่เจรจาด้วยแล้ว ให้เธอรอหมายจับอย่างเดียว” จากนั้นชายกลุ่มดังกล่าวก็ได้ขับรถออกไปทันที
กันต์ฤทัยพยายามโทรติดต่อหา พ.ต.ต.ครรชิต สีหะรอด ซึ่งเป็น 1 ในชายกลุ่มดังกล่าว ซึ่งได้ให้นามบัตรมีเบอร์โทรศัพท์ไว้ แต่ก็ไม่มีใครรับสายเลย เธอจึงเดินเข้าไปสอบถามตำรวจที่ประจำการอยู่ด้านใน สน.ลาดพร้าว แต่ตำรวจทุกนายก็ปฏิเสธการให้ข้อมูล บอกแต่เพียง “ไม่รู้เรื่อง”
6. กันต์ฤทัยรู้สึกงุนงงกับเรื่องที่เกิดขึ้นพอสมควร แต่ยังคงปักหลักรอที่ สน.ลาดพร้าว ต่อไปเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ จนกระทั่งทนายความได้เดินทางไปถึงและแนะนำให้เธอลงบันทึกประจำวันไว้เกี่ยวกับการถูกกลุ่มชายซึ่งอ้างตัวว่าเป็นตำรวจข่มขู่คุกคามในวันนี้
7. กันต์ฤทัยแจ้งความกลับ ตร. 2 ข้อหา “ปฏิบัติหน้าที่-ใช้อำนาจโดยมิชอบ”
เวลา 13.12 น. กันต์ฤทัยพร้อมทนายความได้ลงบันทึกประจำวันและแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับชายที่อ้างตัวเป็นตำรวจสันติบาลทั้ง 8 นาย จากการถูกคุกคามและพาตัว สน.ลาดพร้าว โดยมี พ.ต.ต.ดิลก ปรีดาศักดิ์ พนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว เป็นผู้รับเรื่องไว้
กันต์ฤทัยได้ให้รายละเอียดข้างต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยยื่นหลักฐานประกอบเป็นคลิปวิดีโอขณะถูกกลุ่มชายฉกรรจ์คุกคามและโน้มน้าวให้ยินยอมถูกพาตัวมา สน.ลาดพร้าว รวมถึงภาพถ่ายใบหน้า 1 ในชายกลุ่มดังกล่าวไว้ให้พนักงานสอบสวน และประสงค์ให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
เธอได้แจ้งความร้องทุกข์กับชายที่อ้างตัวว่าเป็นตำรวจทั้ง 8 ราย ใน 2 ข้อหาด้วยกัน ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 “เป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ” และมาตรา 157 “ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”
หลังจากนั้นวันที่ 1 ก.ค. 2565 ได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 6 นาย ระบุเป็นเจ้าหน้าที่สายสืบจาก สน.ลาดพร้าว นำหมายค้นออกโดยศาลอาญา เข้าตรวจค้นห้องพักของกันต์ฤทัย โดยได้มีการตรวจยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของเธอไป รวมทั้งสอบถามข้อมูลสมุดบัญชีธนาคารเอาไว้
ต่อมา กันต์ฤทัยได้รับหมายเรียกของ สน.ลาดพร้าว ลงวันที่ 8 ก.พ. 2566 ให้เข้ารับทราบข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยหมายระบุว่า คดีมี พ.ต.ท.แทน ไชยแสง รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 เป็นผู้กล่าวหา เธอพร้อมกับทนายความ จึงได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.อมฤทธิ์ วิเศษสิงห์ พนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว ในวันที่ 17 ก.พ. 2566
คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ร่วม 20 นาย ได้ร่วมกันแจ้งข้อหา 2 ข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อกันต์ฤทัย โดยระบุพฤติการณ์คดีว่า บิดเบือนให้ร้ายโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ในช่วงระหว่างวันที่ 8 ก.พ. - 1 เม.ย. 2565 กันต์ฤทัยได้ใช้เฟซบุ๊กเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ รวม 8 โพสต์ อันเป็นข้อมูลที่บิดเบือนให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยผู้ต้องหารู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ ต่อมา เจ้าพนักงานกองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 โดย พ.ต.ท.แทน ไชยแสง ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้สืบสวนและตรวจสอบการกระทำความผิด ก่อนได้แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว
กันต์ฤทัยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ และแจ้งว่าจะนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลอาญา ทั้งที่กันต์ฤทัยเดินทางมาพบตามหมายเรียก จากนั้น พนักงานสอบสวนได้นำตัวกันต์ฤทัยขึ้นรถผู้ต้องขังไปยังศาลอาญา ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขัง โดยยืนยันว่าผู้ต้องหาได้มาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก จึงไม่มีเหตุหรือพฤติการณ์ให้ต้องฝากขังผู้ต้องหา
ต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป โดยไม่ต้องประกันตัว และกำชับให้มาตามนัดหมายของศาล
คดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีแรกที่กันต์ฤทัยถูกกล่าวหา ก่อนหน้านี้เธอเคยถูกกล่าวหาคดีเกี่ยวกับการร่วมชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2564 มาแล้ว 2 คดี ได้แก่ การชุมนุมของกลุ่ม “ทะลุแก๊ส” #ม็อบ29กันยา64 ที่ดินแดง คดียังอยู่ในชั้นสอบสวน และคดีก่อความเดือดร้อนรำคาญ จากการชุมนุม #ม็อบ20มีนา64 ซึ่งตำรวจเปรียบเทียบปรับ ทำให้คดีสิ้นสุดไปแล้ว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลาดพร้าว ลงวันที่ 17 ก.พ. 2566, https://tlhr2014.com/archives/42358 และ https://tlhr2014.com/archives/53679)
++เปิดไทม์ไลน์ “กันต์ฤทัย” ถูกล่อลงจากห้อง ข่มขู่ “ถ้าไม่ยอมไป จะอุ้มไป” พาตัวไป สน.ลาดพร้าว อ้างเจรจาความผิด ม.112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก ทั้งที่ไม่มีหมายจับ-ค้น ก่อนถูกปล่อยทิ้งไว้ที่ สน.
1. กันต์ฤทัยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ว่า เวลาประมาณ 10.00 น.ขณะที่เธอนอนหลับอยู่ในหอพักแห่งหนึ่งย่านลาดพร้าว มีผู้หญิงคนหนึ่งเดินมาเคาะห้องพักของเธอแล้วพูดในทำนองว่า “รถยนต์ของเธอไปเฉี่ยวชนรถยนต์ของกันต์ฤทัย ช่วยลงไปดูหน่อยได้ไหม” เธอจึงเดินที่ระเบียงเพื่อชะโงกดูรถของตัวเองซึ่งจอดอยู่บริเวณลานจอดรถด้านล่าง ปรากฏว่ามีรถยนต์อีกคันจอดชิดท้ายในลักษณะคล้ายการเฉี่ยวชนจริงๆ เธอจึงรีบเดินลงมายังลานจอดรถทันที
2. เมื่อเธอลงมาถึงลานจอดรถ เธอเข้าไปตรวจดูท้ายรถยนต์ของตัวเอง แต่กลับไม่พบร่องรอยของการถูกเฉี่ยวชนใดๆ เมื่อหันหลังเพื่อจะเดินกลับขึ้นห้อง ก็พบว่ามีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวน 8 คนยืนล้อมอยู่ด้านหลัง โดยบอกกับเธอว่าพวกเขาเป็น “ตำรวจสันติบาล”
3. จากนั้นตำรวจนายหนึ่งได้ยื่นเอกสารบางอย่างให้เธออ่านดู เอกสารดังกล่าวเป็นรูปภาพโพสต์เฟซบุ๊กจากบัญชีส่วนตัวของกันต์ฤทัยเองจำนวนหลายโพสต์ด้วยกัน ซึ่งตำรวจอ้างว่าการโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นการกระทำที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ต้องการจะพากันต์ฤทัยไปเจรจาตกลงกันที่ สน.ลาดพร้าว เพื่อไม่ให้เธอโพสต์ข้อความในลักษณะนี้อีกและต้องการให้เธอปิดบัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวดังกล่าวด้วย หากเธอยินยอมให้ความร่วมมือตำรวจก็จะไม่ดำเนินคดีใดๆ กับเธอ
4. กันต์ฤทัยไม่ยอมไป สน.ลาดพร้าวกับตำรวจ เนื่องจากเธอเห็นว่า ชายกลุ่มดังกล่าวไม่มีแสดงบัตรประจำตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจริง ไม่มีหมายค้น หมายจับ หรือเอกสารใดๆ ตำรวจคะยั้นคะยอจะพาตัวเธอขึ้นรถไป และบอกกับเธอว่า “ถ้าไม่ยอมไป จะอุ้มไปให้ได้” แต่ขณะนั้นเธอไม่ได้ใส่ชุดชั้นในข้างในเลย ตำรวจยินยอมให้เธอขับรถส่วนตัวตามไป สน.ลาดพร้าว ในระยะประชิดแทน
5. เมื่อมาถึง สน.ลาดพร้าว ในเวลาประมาณ 12.00 น. กันต์ฤทัยพบว่ามีมวลชนและผู้สื่อข่าวเดินทางมารออยู่ก่อนหน้าแล้วประมาณ 10 คน และกำลังมีมาสมทบอีกเรื่อยๆ เมื่อชายกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นตำรวจสันติบาลดังกล่าวเห็นดังนั้น ก็ได้เดินมาบอกเธอว่า “จะไม่เจรจาด้วยแล้ว ให้เธอรอหมายจับอย่างเดียว” จากนั้นชายกลุ่มดังกล่าวก็ได้ขับรถออกไปทันที
กันต์ฤทัยพยายามโทรติดต่อหา พ.ต.ต.ครรชิต สีหะรอด ซึ่งเป็น 1 ในชายกลุ่มดังกล่าว ซึ่งได้ให้นามบัตรมีเบอร์โทรศัพท์ไว้ แต่ก็ไม่มีใครรับสายเลย เธอจึงเดินเข้าไปสอบถามตำรวจที่ประจำการอยู่ด้านใน สน.ลาดพร้าว แต่ตำรวจทุกนายก็ปฏิเสธการให้ข้อมูล บอกแต่เพียง “ไม่รู้เรื่อง”
6. กันต์ฤทัยรู้สึกงุนงงกับเรื่องที่เกิดขึ้นพอสมควร แต่ยังคงปักหลักรอที่ สน.ลาดพร้าว ต่อไปเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ จนกระทั่งทนายความได้เดินทางไปถึงและแนะนำให้เธอลงบันทึกประจำวันไว้เกี่ยวกับการถูกกลุ่มชายซึ่งอ้างตัวว่าเป็นตำรวจข่มขู่คุกคามในวันนี้
7. กันต์ฤทัยแจ้งความกลับ ตร. 2 ข้อหา “ปฏิบัติหน้าที่-ใช้อำนาจโดยมิชอบ”
เวลา 13.12 น. กันต์ฤทัยพร้อมทนายความได้ลงบันทึกประจำวันและแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับชายที่อ้างตัวเป็นตำรวจสันติบาลทั้ง 8 นาย จากการถูกคุกคามและพาตัว สน.ลาดพร้าว โดยมี พ.ต.ต.ดิลก ปรีดาศักดิ์ พนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว เป็นผู้รับเรื่องไว้
กันต์ฤทัยได้ให้รายละเอียดข้างต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยยื่นหลักฐานประกอบเป็นคลิปวิดีโอขณะถูกกลุ่มชายฉกรรจ์คุกคามและโน้มน้าวให้ยินยอมถูกพาตัวมา สน.ลาดพร้าว รวมถึงภาพถ่ายใบหน้า 1 ในชายกลุ่มดังกล่าวไว้ให้พนักงานสอบสวน และประสงค์ให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
เธอได้แจ้งความร้องทุกข์กับชายที่อ้างตัวว่าเป็นตำรวจทั้ง 8 ราย ใน 2 ข้อหาด้วยกัน ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 “เป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ” และมาตรา 157 “ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”
หลังจากนั้นวันที่ 1 ก.ค. 2565 ได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจำนวนกว่า 6 นาย ระบุเป็นเจ้าหน้าที่สายสืบจาก สน.ลาดพร้าว นำหมายค้นออกโดยศาลอาญา เข้าตรวจค้นห้องพักของกันต์ฤทัย โดยได้มีการตรวจยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของเธอไป รวมทั้งสอบถามข้อมูลสมุดบัญชีธนาคารเอาไว้
ต่อมา กันต์ฤทัยได้รับหมายเรียกของ สน.ลาดพร้าว ลงวันที่ 8 ก.พ. 2566 ให้เข้ารับทราบข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดยหมายระบุว่า คดีมี พ.ต.ท.แทน ไชยแสง รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 เป็นผู้กล่าวหา เธอพร้อมกับทนายความ จึงได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.อมฤทธิ์ วิเศษสิงห์ พนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว ในวันที่ 17 ก.พ. 2566
คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ร่วม 20 นาย ได้ร่วมกันแจ้งข้อหา 2 ข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อกันต์ฤทัย โดยระบุพฤติการณ์คดีว่า บิดเบือนให้ร้ายโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ในช่วงระหว่างวันที่ 8 ก.พ. - 1 เม.ย. 2565 กันต์ฤทัยได้ใช้เฟซบุ๊กเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ รวม 8 โพสต์ อันเป็นข้อมูลที่บิดเบือนให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยผู้ต้องหารู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ ต่อมา เจ้าพนักงานกองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 โดย พ.ต.ท.แทน ไชยแสง ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้สืบสวนและตรวจสอบการกระทำความผิด ก่อนได้แจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ลาดพร้าว
กันต์ฤทัยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ และแจ้งว่าจะนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลอาญา ทั้งที่กันต์ฤทัยเดินทางมาพบตามหมายเรียก จากนั้น พนักงานสอบสวนได้นำตัวกันต์ฤทัยขึ้นรถผู้ต้องขังไปยังศาลอาญา ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขัง โดยยืนยันว่าผู้ต้องหาได้มาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก จึงไม่มีเหตุหรือพฤติการณ์ให้ต้องฝากขังผู้ต้องหา
ต่อมาศาลอาญาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป โดยไม่ต้องประกันตัว และกำชับให้มาตามนัดหมายของศาล
คดีนี้เป็นคดีมาตรา 112 คดีแรกที่กันต์ฤทัยถูกกล่าวหา ก่อนหน้านี้เธอเคยถูกกล่าวหาคดีเกี่ยวกับการร่วมชุมนุมทางการเมืองในช่วงปี 2564 มาแล้ว 2 คดี ได้แก่ การชุมนุมของกลุ่ม “ทะลุแก๊ส” #ม็อบ29กันยา64 ที่ดินแดง คดียังอยู่ในชั้นสอบสวน และคดีก่อความเดือดร้อนรำคาญ จากการชุมนุม #ม็อบ20มีนา64 ซึ่งตำรวจเปรียบเทียบปรับ ทำให้คดีสิ้นสุดไปแล้ว
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลาดพร้าว ลงวันที่ 17 ก.พ. 2566, https://tlhr2014.com/archives/42358 และ https://tlhr2014.com/archives/53679)
List คดี
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์