ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส. (ประชาชน)
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส. (ประชาชน)
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส. (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส.
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส.
ข้อหา
- การชุมนุม
- พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- หมิ่นประมาท / หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา (มาตรา 326 / 328)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.918/2566
แดง อ.1459/2567
ผู้กล่าวหา
- ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส.
ความสำคัญของคดี
เชน ชีวอบัญชา สื่ออิสระเพจ “ขุนแผน แสนสะท้าน” วัย 55 ปี, “มานี” เงินตา คำแสน ประชาชนวัย 43 ปี และ "ไบรท์" ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ดูหมิ่นศาล, หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได่รับอนุญาต จากการร่วมกันร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ชูป้ายและติดป้ายวิจารณ์ศาล บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 ระหว่างจัดกิจกรรม “ยืนบอกเจ้าว่าเราโดนรังแก” เรียกร้องให้ประกัน “ใบปอ” และ “บุ้ง” โดยมีระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่ม ศปปส. เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีมาตรา 112
ทั้งนี้ มีศิลปิน นักข่าวอิสระ และผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร้องหรือเล่นดนตรีเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น ในการชุมนุมครั้งต่างๆ อย่างน้อย 5 คน โดยมีทั้งประชาชน “กลุ่มปกป้องสถาบันฯ” และตำรวจเป็นผู้กล่าวหา
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเอง และการตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังกลายเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคนที่มีความคิดต่างทางการเมือง
ทั้งนี้ มีศิลปิน นักข่าวอิสระ และผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการร้องหรือเล่นดนตรีเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น ในการชุมนุมครั้งต่างๆ อย่างน้อย 5 คน โดยมีทั้งประชาชน “กลุ่มปกป้องสถาบันฯ” และตำรวจเป็นผู้กล่าวหา
กรณีดังกล่าวสะท้อนปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ใครก็ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยไม่ต้องเป็นผู้เสียหายเอง และการตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งยังกลายเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคนที่มีความคิดต่างทางการเมือง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
วัฒนาพร เอื้อกิตติโรจน์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 บรรยายฟ้องมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดรวม 3 กรรม กล่าวคือ
1. ร่วมกันปราศรัยแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชนทั่วไป และร่วมกันร้องเพลงที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
2. ร่วมกันโฆษณาแสดงแผ่นป้าย ซึ่งเกี่ยวข้องหรือมุ่งหมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาและศาลในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของ “ใบปอ” และ “บุ้ง” และเผยแพร่ผ่านยูทูบช่อง "ไทยทีวีนิวส์" อันเป็นการร่วมกันดูหมิ่นผู้พิพากษาและศาลในการพิจารณาคดีดังกล่าว ด้วยถ้อยคำหยาบคายว่าเป็นบุคคลหรือองค์กรที่มีความประพฤติไม่ดี เป็นคนไม่ดี โดยกล่าวหาว่าตุลาการทำงานตามใบสั่ง อันหมายถึงว่า ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีความเป็นอิสระในการทำงาน และไม่มีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องเป็นของตัวเอง เพราะถูกแทรกแซงจากภายนอก และเป็นการร่วมกันใส่ความผู้พิพากษาและศาลต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณา ทำให้ประชาชนที่ร่วมชุมนุมและรับฟัง เข้าใจว่า ผู้พิพากษาและตุลาการเป็นคนไม่ดี ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท และลดคุณค่าศาลหรือองค์กรตุลาการ
3. ร่วมกันเปิดเพลงที่ชื่อ “..โชคดีที่มีคนไทย” โดยมีชินวัตรเป็นผู้ร้องนำผ่านไมโครโฟน เชนและเงินตาเป็นผู้ร่วมร้อง นอกจากนี้ ชินวัตรยังปราศรัยระหว่างดนตรีบรรเลง อันเป็นความเท็จและเป็นการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาท เปรียบเทียบเปรียบเปรย เสียดสี แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์คือในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ทำให้ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ หรือถูกเกลียดชังอย่างแรง
อีกทั้งในการร้องเพลงและกล่าวปราศรัยของจำเลยทั้งสามยังเป็นการยุยง ปลุกปั่น ปลุกเร้าให้ประชาชนอื่นทั่วไปเมื่อได้ยินเกิดความเกลียดชัง เข้าใจผิดหรือเข้าใจความคลาดเคลื่อนต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และมีเจตนาไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทย และอยู่ในฐานะผู้ที่จะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.918/2566 ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2566)
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดรวม 3 กรรม กล่าวคือ
1. ร่วมกันปราศรัยแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชนทั่วไป และร่วมกันร้องเพลงที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
2. ร่วมกันโฆษณาแสดงแผ่นป้าย ซึ่งเกี่ยวข้องหรือมุ่งหมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาและศาลในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของ “ใบปอ” และ “บุ้ง” และเผยแพร่ผ่านยูทูบช่อง "ไทยทีวีนิวส์" อันเป็นการร่วมกันดูหมิ่นผู้พิพากษาและศาลในการพิจารณาคดีดังกล่าว ด้วยถ้อยคำหยาบคายว่าเป็นบุคคลหรือองค์กรที่มีความประพฤติไม่ดี เป็นคนไม่ดี โดยกล่าวหาว่าตุลาการทำงานตามใบสั่ง อันหมายถึงว่า ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีความเป็นอิสระในการทำงาน และไม่มีดุลพินิจในการพิจารณาคำร้องเป็นของตัวเอง เพราะถูกแทรกแซงจากภายนอก และเป็นการร่วมกันใส่ความผู้พิพากษาและศาลต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณา ทำให้ประชาชนที่ร่วมชุมนุมและรับฟัง เข้าใจว่า ผู้พิพากษาและตุลาการเป็นคนไม่ดี ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท และลดคุณค่าศาลหรือองค์กรตุลาการ
3. ร่วมกันเปิดเพลงที่ชื่อ “..โชคดีที่มีคนไทย” โดยมีชินวัตรเป็นผู้ร้องนำผ่านไมโครโฟน เชนและเงินตาเป็นผู้ร่วมร้อง นอกจากนี้ ชินวัตรยังปราศรัยระหว่างดนตรีบรรเลง อันเป็นความเท็จและเป็นการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาท เปรียบเทียบเปรียบเปรย เสียดสี แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์คือในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ทำให้ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติ หรือถูกเกลียดชังอย่างแรง
อีกทั้งในการร้องเพลงและกล่าวปราศรัยของจำเลยทั้งสามยังเป็นการยุยง ปลุกปั่น ปลุกเร้าให้ประชาชนอื่นทั่วไปเมื่อได้ยินเกิดความเกลียดชัง เข้าใจผิดหรือเข้าใจความคลาดเคลื่อนต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และมีเจตนาไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของปวงชนชาวไทย และอยู่ในฐานะผู้ที่จะละเมิดไม่ได้
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.918/2566 ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2566)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 09-03-2023นัด: จับกุมตามหมายจับเวลาประมาณ 16.00 น. เชน ชีวอบัญชา สื่ออิสระเพจ “ขุนแผน แสนสะท้าน” ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าจับกุมระหว่างปักหลักที่หน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก โดยแสดงหมายจับที่ออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 24 ม.ค. 2566 มี พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ยานนาวา เป็นผู้ร้องขอออกหมาย ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเชนไม่เคยได้รับหมายเรียกใด ๆ มาก่อน
เจ้าหน้าที่ได้นำตัวเชนขึ้นรถตำรวจ ไปยัง สน.พหลโยธิน ซึ่งเป็นท้องที่จับกุมก่อน จากนั้นตำรวจจึงนำตัวเชนไปยัง สน.ยานนาวา ซึ่งเป็นสถานีตำรวจเจ้าของคดี โดยไปถึงสถานีในเวลาประมาณ 16.45 น.
บันทึกจับกุม ระบุว่า ชุดจับกุมมีทั้งตำรวจจาก สน.ยานนาวา และ สน.พหลโยธิน รวมกัน 9 นาย นำโดย พ.ต.ท.นพดล ปิ่นพงศ์พันธ์ รองผู้กำกับการสืบสวน สน.ยานนาวา เจ้าหน้าที่ยังระบุว่า ตำรวจชุดจับกุมได้สืบทราบว่าเชนได้มาปรากฏตัวอยู่บริเวณประตูหน้าศาลอาญา จึงเดินทางไปตรวจสอบ ทั้งที่เชนได้ร่วมปักหลักไลฟ์สดกิจกรรมทั้งที่หน้าศาลอาญาและศาลฎีกาในรอบเดือนที่ผ่านมาโดยตลอด แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เข้าจับกุมตามหมายที่ออกตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
ระหว่างที่เชนถูกควบคุมตัวอยู่ภายใน สน.ยานนาวา เวลาประมาณ 18.25 น. มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุม “มานี” เงินตา คำแสน ที่เดินทางติดตามมาให้กำลังใจเชนที่หน้า สน.ยานนาวา โดยมีการแสดงหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ออกเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 เช่นเดียวกัน และระบุข้อหาเดียวกับเชน ทั้งเงินตาก็ไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อนเช่นกัน
เงินตาได้ถูกตำรวจควบคุมตัวเข้าไปทำบันทึกจับกุมภายใน สน.ยานนาวา โดยชุดจับกุมนอกจากตำรวจ สน.ยานนาวา แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการตํารวจนครบาล 6 ร่วมด้วย
หลังทนายความเดินทางติดตามไปที่ สน.ยานนาวา พ.ต.ท.ฐิติวัชร์ พรศิวัฒน์ และ พ.ต.ท.อินศร อุดติ๊บ คณะพนักงานสอบสวนได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเชนและเงินตา ใน 4 ข้อกล่าวหาที่ระบุตามหมายจับของทั้งสองคน
พฤติการณ์ในคดีระบุว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 เวลาประมาณ 17.00-18.20 น. ผู้ต้องหาทั้งสองคน กับพวก ได้จัดกิจกรรม “ยืนบอกเจ้าว่าเราโดนรังแก” บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยมีการปราศรัยโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันชูป้ายและติดป้ายข้อความอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ซึ่งเกี่ยวข้องหรือมุ่งหมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย ได้แก่ “ใบปอ” และ “บุ้ง” ในขณะนั้น สำนักงานศาลยุติธรรม จึงมอบอำนาจให้ สุรศักดิ์ กิจชาลารัตน์ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีผู้ร่วมกิจกรรมดังกล่าว
นอกจากนี้แล้ว จากการตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ พบว่าผู้ต้องหาทั้งสองกับพวก ได้ร่วมกันร้องเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ที่มีเนื้อหาเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ โดยข้อกล่าวหาได้ยกเนื้อร้องของเพลงดังกล่าวมาประกอบ ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ จึงเข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีผู้ต้องหากับพวกในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ"
เชนและเงินตาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่ได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือและลงบันทึกประจำวันไว้ ขณะเดียวกันยังไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนนี้ ระบุว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และผู้ต้องหามีพฤติการณ์ในการกระทำผิดชัดเจน จึงคัดค้านการประกันตัว และจะนำตัวทั้งสองคนไปขอฝากขังต่อศาลในวันรุ่งขึ้น ทำให้ทั้งสองคนถูกควบคุมตัวไว้ที่ สน.ยานนาวา ตลอดคืน
(อ้างอิง: บันทึกจับกุม, รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สน.ยานนาวา คดีอาญาที่ 567/2565 ลงวันที่ 9 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54209) -
วันที่: 10-03-2023นัด: ฝากขังเวลาประมาณ 09.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวเชนและเงินตาไปยื่นขอฝากขังที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ขณะที่ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง ศาลจึงให้มีการไต่สวนการฝากขัง
จนเวลา 15.20 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองคน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการจับกุมโดยชอบ พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อกล่าวหาโดยชอบแล้ว พนักงานสอบสวนยังเบิกความยืนยันว่า มีความจำเป็นต้องสอบปากคำพยานและส่งตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหา อีกทั้งคดีมีอัตราโทษสูง และการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น จึงเห็นว่าพนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหา และมีตัวผู้ต้องหาไว้ในวันฟ้อง เว้นแต่มีการปล่อยชั่วคราว
ต่อมาทนายความได้ยื่นขอประกันตัวทั้งสองคน ก่อนที่เวลา 16.15 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน โดยระบุว่าพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน ประกอบกับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าพฤติกรรมของผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นเรื่องร้ายแรง คดีมีอัตราโทษสูง ดังนั้นหากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ลงนามคำสั่งโดย ไพบูลย์ ทองน่วม รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้เชนถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเงินตาถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง โดยเป็นการถูกคุมขังครั้งที่ 2 ของเงินตา หลังเคยถูกคุมขังในคดีดูหมิ่นศาลเป็นเวลา 9 วันเมื่อปี 2565
ทั้งนี้น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้มีคดีที่มีประชาชนถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 เกี่ยวกับการร้องหรือเปิดเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น มาแล้วอย่างน้อย 4 คดี ทั้งคดีของวรัณยา, คดีของวรินทร์ทิพย์ และคดีของโชคดี ทั้งหมดศาลอนุญาตให้ประกันตัว
ในส่วนทั้งเชนและเงินตาถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีแรก
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 10 มี.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/54209) -
วันที่: 13-03-2023นัด: ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันเชนและเงินตาของศาลอาญากรุงเทพใต้ต่อศาลอุทธรณ์ โดยระบุเหตุผลสำคัญว่า คดีนี้ผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้กระทําผิดตามที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา การทํากิจกรรมของผู้ต้องหาหน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันเกิดเหตุนั้นมิได้มีความมุ่งหมายทําร้ายหรือทําลายผู้พิพากษาหรือศาลหรือกระบวนการยุติธรรม แต่มุ่งหวังให้ศาลและกระบวนการยุติธรรมดํารงไว้ซึ่งความสง่างามและความยุติธรรมโดยคํานึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจําเลยเป็นสําคัญ และมีเจตนารมณ์เรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้แก่ผู้ต้องขังคดีทางการเมืองโดยเฉพาะเนติพรและใบปอ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำตามหมายขังของศาลอาญากรุงเทพใต้และมีสุขภาพร่างกายอยู่ในช่วงวิกฤติหากไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว
นอกจากนี้พฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งสองเป็นเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา แต่มิใช่เหตุที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ต้องนํามาพิจารณาในการสั่งให้ประกันหรือไม่ให้ประกัน ตามมาตรา 108/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีเพียง 5 เหตุเท่านั้น อีกทั้งพฤติการณ์วันเกิดเหตุนั้นเป็นกิจกรรมเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมือง ผู้ต้องหาไม่ใช่แกนนํา เป็นเพียงประชาชนธรรมดาที่มีใจรักความเป็นธรรม ซึ่งเมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้ได้คงไว้ซึ่งความเป็นธรรมโดยการให้สิทธิประกันตัวกับจําเลยทั้งสอง ผู้ต้องหาก็ยุติการเข้าร่วมกิจกรรมในวันถัดมาทันที การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาถึงเนื้อหาแห่งคดี และเชื่อตามคําร้องฝากขังครั้งที่ 1 และเห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองมีพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งที่ผู้ต้องหายังมิได้ถูกฟ้องคดีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เลยนั้น ย่อมขัดหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคําพิพากษาถึงที่สุด
(อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 13 มี.ค. 2566)
-
วันที่: 15-03-2023นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ประกันตัวเชนและเงินตา ระบุว่า "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งสองในระหว่างสอบสวน กรณีผิดสัญญาประกันให้ปรับคนละ 150,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาทั้งสองหลบหนี จึงเห็นสมควรให้ผู้ต้องหาทั้งสองนำหลักประกันตามจำนวนดังกล่าวมาวางศาล ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป"
หลังกองทุนราษฎรประสงค์วางเงินสดรวม 300,000 บาท เป็นหลักประกัน เชนและเงินตาจึงได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในช่วงเย็น รวมถูกคุมขัง 6 วัน ศาลนัดรายงานตัววันที่ 27 เม.ย. 2566
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ 14 มี.ค. 2566) -
วันที่: 01-06-2023นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นฟ้องเชนและเงินตาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต กล่าวหาว่า การที่เชนและเงินตาร่วมกันชูป้ายและติดป้ายวิจารณ์ศาล บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทผู้พิพากษาและศาล อีกทั้งการที่ทั้งสองร่วมร้องเพลง “..โชคดีมีคนไทย” โดยมีชินวัตรเป็นผู้ร้องนำ เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10
อัยการโจทก์ยังระบุในท้ายฟ้องว่า หากจำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณา โจทก์ขอให้อยู่ในดุลพินิจของศาล และขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยทั้งสองต่อโทษจำคุกในคดีอื่น
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.918/2566 ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/68641) -
วันที่: 02-06-2023นัด: รายงานตัวเชนและเงินตาเดินทางมารายงานตัวต่อศาลตามนัด เจ้าหน้าที่แจ้งว่าอัยการยื่นฟ้องคดีแล้ว นายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์จึงได้ยื่นคำร้องขอประกันเชนและมานีระหว่างพิจารณาคดี ก่อนศาลอนุญาตให้ประกันโดยใช้หลักประกันเดิมในชั้นฝากขัง เป็นเงินสดคนละ 150,000 บาท นัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 10 ก.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 15-06-2023นัด: ยื่นฟ้อง (ชินวัตร)พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นฟ้องชินวัตรต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยบรรยายฟ้องเช่นเดียวกับในคดีของเชนและเงินตา
หลังศาลรับฟ้อง ได้อนุญาตให้ประกันชินวัตรระหว่างพิจารณาคดี นัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 7 ส.ค. 2566 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.1000/2566 ลงวันที่ 15 มิ.ย. 2566) -
วันที่: 10-07-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลส่งหมายยกเลิกนัด หลังฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอรวมพิจารณาคดีของเชนและเงินตาเข้ากับคดีของชินวัตร และให้นัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 7 ส.ค. 2566
-
วันที่: 07-08-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอนุญาตให้รวมการพิจารณาคดีของเชนและเงินตาเข้ากับคดีของชินวัตร และให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 25 ก.ย. 2566
-
วันที่: 25-09-2023นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้เชน, เงินตา และชินวัตรฟังก่อนถามคำให้การ ทั้งสามยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4-6 มิ.ย. 2567 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 7 มิ.ย. 2567
-
วันที่: 04-06-2024นัด: สืบพยานโจทก์ก่อนเริ่มสืบพยานในนัดแรก เชน, เงินตา และชินวัตรได้แถลงขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และขอให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมีความหวังว่าเมื่อมีคำพิพากษา จะได้รับโอกาสให้รอการลงโทษไว้ ศาลจึงให้งดการสืบพยาน และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยรายงานต่อศาล ก่อนนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 18 ก.ค. 2567
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/68641) -
วันที่: 18-07-2024นัด: ฟังคำพิพากษาเวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณา 601 ขุนแผน, มานี และทนายความเดินทางมาถึงศาลและเข้าไปนั่งรอในห้องพิจารณา ก่อนที่ไบรท์จะถูกควบคุมตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยมีนักกิจกรรมและญาติมาให้กำลังใจทั้งสามคนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีสื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์คดีจากองค์กรสิทธิมนุษยชนมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
เวลา 09.30 น. ศาลออกนั่งอ่านคำพิพากษา สรุปใจความได้ว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามฟ้อง ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุกคนละ 3 ปี, ฐานร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี จำคุกคนละ 2 ปี, ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จำคุกคนละ 2 ปี และฐานใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับคนละ 200 บาท รวมโทษจำคุกคนละ 7 ปี ปรับคนละ 200 บาท
เนื่องจากจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 3 ปี 6 เดือน ปรับ 100 บาท โดยไม่รอลงอาญา
ทั้งนี้ ศาลให้นับโทษจำคุกมานีและไบรท์ในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นที่มีคำพิพากษาแล้วตามคำขอของโจทก์
หลังฟังคำพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว ตำรวจประจำศาลได้ใส่กุญแจมือขุนแผนและมานี ควบคุมตัวไปรอที่ห้องเวรชี้ ขณะที่ทนายความยื่นคำร้องขอประกันในชั้นอุทธรณ์
อย่างไรก็ตาม เวลา 13.06 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันขุนแผนและมานีไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ซึ่งโดยปกติศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งออกมาในอีก 2-3 วันข้างหน้า ทำให้ในระหว่างนี้ขุนแผนและมานีต้องถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางก่อน
.
ในส่วนของไบรท์ หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาในคดีนี้ให้จำคุกอีก 3 ปี 6 เดือน ทำให้ปัจจุบันไบรท์มีโทษจำคุกรวมทั้งสิ้น 14 ปี 18 เดือน แล้ว จากคดีทั้งหมดที่มีคำพิพากษาไป 7 คดี โดยในแต่ละคดียังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น
มีข้อน่าสังเกตว่า ในคดีนี้ อัยการฟ้องทั้งสามคนรวม 3 กรรม คือ 1. ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต 2. ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและร่วมกันหมิ่นประมาทผู้พิพากษาและศาลโดยการโฆษณา และ 3. ร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
โดยอัยการบรรยายฟ้องในกรรมที่ 2 ว่า การแสดงแผ่นป้ายข้อความวิจารณ์ศาลที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ พร้อมทั้งเผยแพร่ผ่านยูทูบ เป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลฯ และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ซึ่งโดยปกติศาลจะพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ในคดีนี้ ศาลได้ลงโทษจำเลยทั้งสามในทั้ง 3 กรรม รวม 4 กระทงความผิด ทำให้จำเลยทั้งสามอาจจะถูกลงโทษจำคุกมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งกรณีนี้ทนายจะได้ปรึกษาหารือกับจำเลยและยื่นอุทธรณ์ต่อไป
ทั้งนี้ นอกจากทั้งสามคนดังกล่าว ยังมีศิลปิน สื่ออิสระ และผู้ชุมนุม ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากพฤติการณ์เดียวกันคือ การร้องหรือเล่นดนตรีเพลง “โชคดีที่มีคนไทย” ของวงไฟเย็น ในการชุมนุมครั้งต่าง ๆ อย่างน้อย 4 คดี ได้แก่ คดีของวรัณยา-โชคดี (แยกเป็น 2 คดีถูกพิจารณารวมกัน), คดีของโชคดีคดีที่ 2, คดีของวรินทร์ทิพย์ โดยทั้ง 4 คดีนี้ ศาลอาญาได้พิพากษาว่ามีความผิดตามฟ้อง แต่ให้รอลงอาญาจำเลยในทุกคดี
ต่อมาวันที่ 21 ก.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งมานีและขุนแผน โดยเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพ คดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยชั่วคราว เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/68710) -
วันที่: 09-08-2024นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 2 (มานี)ทนายความยื่นประกันมานีเป็นครั้งที่ 2 คำร้องโดยสรุประบุว่า ศาลนี้เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นสอบสวนจนชั้นระหว่างพิจารณา จำเลยไม่เคยกระทำผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว และไม่เคยถูกเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวในคดีนี้สักครั้ง
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและมีภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน สามารถติดตามด้วยโดยง่าย อีกทั้งยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องกินยาอย่างต่อเนื่องและรักษาโดยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังมีหน้าที่เลี้ยงหลานวัยทารก 2 คน ซึ่งจำเลยต้องพาหลานคนหนึ่งไปทำกายภาพบำบัดทุกเดือน การคุมขังจำเลยไว้ทำให้ขาดคนเลี้ยงดูหลานทั้งสอง กระทบต่อการทำงานของบุตรของจำเลย และส่งผลต่อรายได้ของครอบครัวด้วย
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายจะเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยได้รับการประกันตัวมาตลอดโดยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี จึงขอให้ศาลนำบทบัญญัติในข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 มาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในการปล่อยชั่วคราวจำเลย
ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคำร้อง และเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งลงวันที่ 10 ส.ค. 2567 ให้ยกคำร้องของจำเลย ระบุว่า
“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยที่ 1 จะหลบหนี ประกอบกับศาลอุทธรณ์เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์มาแล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ็บป่วยนั้น กรมราชทัณฑ์สามารถดูแลจัดการให้ได้ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 55 ตามคำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.918/2566 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1459/2567 ลงวันที่ 10 ส.ค. 2567 และ https://tlhr2014.com/archives/69152)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เงินตา คำแสน
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เชน ชีวอบัญชา
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ชินวัตร จันทร์กระจ่าง
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
18-07-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เงินตา คำแสน
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
18-07-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เชน ชีวอบัญชา
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
18-07-2024
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เงินตา คำแสน
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เชน ชีวอบัญชา
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์