ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.อุกฤษฏ์ แพงไธสง สว.สส.สภ.เมืองนครราชสีมา (ตำรวจ)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.อุกฤษฏ์ แพงไธสง สว.สส.สภ.เมืองนครราชสีมา (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.อุกฤษฏ์ แพงไธสง สว.สส.สภ.เมืองนครราชสีมา
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ผู้กล่าวหา
- พ.ต.ท.อุกฤษฏ์ แพงไธสง สว.สส.สภ.เมืองนครราชสีมา
ความสำคัญของคดี
“บุ๊ค” วรัญญู คงสถิตย์ธรรม และ “เตอร์” มกรพงษ์ ทรัพย์ประเสริฐ นักกิจกรรมชาวโคราช ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยเตอร์ถูกกล่าวหาว่า พูดใส่ความ ร.10 ขณะไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก Korat Movement เรียกร้องให้ยกเลิก 112 และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ระหว่างกิจกรรมยืนหยุดขัง บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เมื่อเย็นวันที่ 17 เม.ย. 2564 ขณะที่บุ๊คถูกกล่าวหาว่าสลับกับเตอร์พูดในไลฟ์สดในกิจกรรมดังกล่าว แม้ว่าข้อความที่กล่าวหาบุ๊คไม่มีข้อความพาดพิงถึงกษัตริยื
กรณีนี้สะท้อนให้ถึงปัญหาสำคัญประการหนึ่งของมาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 3-15 ปี แต่เปิดกว้างให้เจ้าหน้าที่หรือผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษได้ ทำให้เกิดการตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน
กรณีนี้สะท้อนให้ถึงปัญหาสำคัญประการหนึ่งของมาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 3-15 ปี แต่เปิดกว้างให้เจ้าหน้าที่หรือผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษได้ ทำให้เกิดการตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์คดีว่า
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2564 เวลา 17.30 น. เตอร์กับคนอื่น ๆ ราว 15 คน ทำกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 นาที บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีการถือป้ายผ้าเขียนข้อความ ปล่อยเพื่อนเรา, ป้ายกระดาษเขียนข้อความ ยกเลิก 112 พร้อมชูภาพแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้น เปิดเพลงปลุกระดม และไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก Korat Movement มีการกล่าวถึงจุดประสงค์ในการทำกิจกรรม คือ โจมตีการทำงานของรัฐบาล เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มราษฎรที่ถูกคุมขังจากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง
ระหว่างไลฟ์สด เตอร์ได้พูดใส่ความ ร.10 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ไทย โดยประการที่จะทำให้ ร.10 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม และเป็นการลดคุณค่าทางสังคม โดยยกถ้อยคำมาเป็น 4 ตอน มีเนื้อหาในทำนองว่า ให้ยกเลิก 112 และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากกษัตริย์ไทยใช้ภาษีประชาชนไปในการดูแลตนเองและครอบครัว ไม่ดูแลประชาชน ทั้งที่มีสถานการณ์โควิด วัคซีนที่กล่าวกันว่าเป็นวัคซีนที่พระราชทานก็ไม่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ เตอร์ยังได้กล่าวถ้อยคําเชิญชวนผู้ติดตามให้ทําการกดไลค์ กดแชร์ หรือช่วยไลค์ ช่วยแชร์ไลฟ์สดดังกล่าว ซึ่งเป็นการนําเข้าสู่ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2565 และ 4 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/51532)
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2564 เวลา 17.30 น. เตอร์กับคนอื่น ๆ ราว 15 คน ทำกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 นาที บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีการถือป้ายผ้าเขียนข้อความ ปล่อยเพื่อนเรา, ป้ายกระดาษเขียนข้อความ ยกเลิก 112 พร้อมชูภาพแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้น เปิดเพลงปลุกระดม และไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก Korat Movement มีการกล่าวถึงจุดประสงค์ในการทำกิจกรรม คือ โจมตีการทำงานของรัฐบาล เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มราษฎรที่ถูกคุมขังจากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง
ระหว่างไลฟ์สด เตอร์ได้พูดใส่ความ ร.10 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ไทย โดยประการที่จะทำให้ ร.10 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม และเป็นการลดคุณค่าทางสังคม โดยยกถ้อยคำมาเป็น 4 ตอน มีเนื้อหาในทำนองว่า ให้ยกเลิก 112 และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากกษัตริย์ไทยใช้ภาษีประชาชนไปในการดูแลตนเองและครอบครัว ไม่ดูแลประชาชน ทั้งที่มีสถานการณ์โควิด วัคซีนที่กล่าวกันว่าเป็นวัคซีนที่พระราชทานก็ไม่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ เตอร์ยังได้กล่าวถ้อยคําเชิญชวนผู้ติดตามให้ทําการกดไลค์ กดแชร์ หรือช่วยไลค์ ช่วยแชร์ไลฟ์สดดังกล่าว ซึ่งเป็นการนําเข้าสู่ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2565 และ 4 พ.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/51532)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 13-12-2022นัด: แจ้งข้อกล่าวหา“เตอร์” มกรพงษ์ ทรัพย์ประเสริฐ เดินทางไป สภ.เมืองนครราชสีมา ตามหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจาก พ.ต.ท.อุกฤษฏ์ แพงไธสง สว.สส.สภ.เมืองนครราชสีมา เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งเตอร์เองยังไม่ทราบสาเหตุที่เขาถูกออกหมายเรียกครั้งนี้มาจากเหตุการณ์หรือพฤติการณ์ใด
เวลา 10.00 น. ท่ามกลางตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบราว 50 นาย เฝ้าระวังอยู่บริเวณสถานีตำรวจ พร้อมแจ้งกำชับกับทนายความว่า จะมีเพียงเตอร์ ทนาย และบุคคลผู้ไว้วางใจ เข้ารับฟังการแจ้งข้อกล่าวหาได้เท่านั้น เมื่อไปถึงห้องประชุมของ สภ.เมืองนครราชสีมา ที่ใช้เป็นห้องสอบสวนชั่วคราว พ.ต.ท.โกสินทร์ แจ่มทองหลาง พนักงานสอบสวนได้อ่านบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาใจความว่า
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2564 เวลา 17.30 น. เตอร์กับคนอื่น ๆ ราว 15 คน ทำกิจกรรมยืนหยุดขัง 112 นาที บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีการถือป้ายผ้าเขียนข้อความ ปล่อยเพื่อนเรา, ป้ายกระดาษเขียนข้อความ ยกเลิก 112 พร้อมชูภาพแกนนำที่ถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้น
พ.ต.ท.โกสินทร์ ระบุด้วยว่า มีการเปิดเพลงปลุกระดม และไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก Korat Movement มีการกล่าวถึงจุดประสงค์ในการทำกิจกรรม คือ โจมตีการทำงานของรัฐบาล เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวแกนนำกลุ่มราษฎรที่ถูกคุมขังจากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง
พนักงานสอบสวนอ้างว่า ระหว่างไลฟ์สด เตอร์ได้พูดใส่ความ ร.10 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ไทย โดยประการจะทำให้ ร.10 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม และเป็นการลดคุณค่าทางสังคม โดยยกถ้อยคำมาเป็น 4 ตอน มีเนื้อหาในทำนองว่า ให้ยกเลิก 112 และปฏิรูปสถาบัน เนื่องจากกษัตริย์ไทยใช้ภาษีประชาชนไปในการดูแลตนเองและครอบครัว ไม่ดูแลประชาชน ทั้งที่มีสถานการณ์โควิด วัคซีนที่กล่าวกันว่าเป็นวัคซีนที่พระราชทานก็ไม่ได้มาตรฐาน
พ.ต.ท.โกสินทร์ แจ้งว่า การกระทำดังกล่าว เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี
เตอร์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมกล่าวสั้น ๆ ว่า เขาไปอยู่ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในวันดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้พูดข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์แต่อย่างใด
จากนั้น พ.ต.ท.โกสินทร์ สอบปากคำเตอร์ ถึงประวัติส่วนตัวสั้น ๆ ก่อนถามว่า มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม Korat Movement อย่างไร โดยที่เตอร์ตอบว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน และไม่ทราบว่าใครเป็นแอดมินเพจ Korat Movement เพราะตนหยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองมาได้ 1 ปีกว่าแล้ว เมื่อพนักงานสอบสวนถามว่า เตอร์เคยถูกดำเนินคดีอะไรมาก่อนหน้านี้ เขาตอบไปว่า มีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกิจกรรมชุมนุม ที่ศาลแขวงนครราชสีมายกฟ้องไป 2 คดี ส่วนอีกคดีอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา
ก่อนที่ตำรวจจะพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและลงบันทึกประจำวัน โดยพนักงานสอบสวนแจ้งว่า วันนี้จะไม่ควบคุมตัวไว้ระหว่างสอบสวน และนัดส่งตัวให้อัยการในวันที่ 12 ม.ค. 2566 เตอร์จึงเดินทางกลับในช่วงเวลา 11.45 น.
สำหรับเตอร์ในวัย 23 ปี เพิ่งจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา โดยตัวเขากล่าวว่า หยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองมาได้พักใหญ่แล้ว เพราะต้องการมุ่งมั่นทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
กิจกรรมยืนหยุดขัง ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา เมื่อ 17 เม.ย. 2564 เป็นกิจกรรมแสดงจุดยืนเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพียงเพราะพูดถึงสถาบันกษัตริย์ และไม่ได้รับสิทธิประกันตัวในระหว่างพิจารณาคดี ทั้ง ๆ ที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา
เท่าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนติดตามหลังการกลับมาบังคับใช้มาตรา 112 อีกครั้งในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2563 คดีของเตอร์นับเป็นคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ คดีที่ 2 ของ จ.นครราชสีมา (คดีแรกทราบเพียงว่ามีผู้ถูกดำเนินคดี แต่ไม่ทราบชื่อและพฤติการณ์คดี) เตอร์กล่าวว่า การถูกดำเนินคดีครั้งนี้สร้างภาระ ทำให้เสียเวลาในการต้องมาต่อสู้คดีอีกครั้ง ทั้งที่เขาเองเคยคาดหวังว่า ชีวิตนับจากนี้จะไม่ต้องมาเสียเวลาทำงานเพื่อสร้างชีวิตอีกแล้ว ยิ่งกับมาตรา 112 ที่อัตราโทษสูง การที่ต้องมาสถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ และศาล ก็คงจะใช้เวลาอีกไม่น้อย
ก่อนหน้านี้ คดีของเตอร์ที่ถูกถูกกล่าวหาว่าจัดคาร์ม็อบ “CAR MOB KORAT คาราวานไล่เผด็จการ” เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2564 และคดีสาดสีประณามที่ตำรวจทำรุนแรงกับผู้ชุมนุมที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2564 ทั้งสองคดีศาลแขวงนครราชสีมาต่างมีคำพิพากษายกฟ้อง แต่เตอร์ยังมีอีกคดีจากคาร์ม็อบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2564 ที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 16 ม.ค. 2566
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/51532) -
วันที่: 12-01-2023นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนแจ้งว่ายังทำสำนวนไม่เสร็จ เลื่อนนัดส่งตัวให้อัยการไปเป็นวันที่ 26 ม.ค. 2566
-
วันที่: 26-01-2023นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนแจ้งว่า สำนวนการสอบสวนอยู่ระหว่างเสนอให้ตำรวจภูธรภาค 3 พิจารณา จึงให้เลื่อนนัดส่งตัวให้อัยการไปก่อน ยังไม่กำหนดวันนัดใหม่
-
วันที่: 04-05-2023นัด: แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมเตอร์เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความ หลังพนักงานสอบสวนติดต่อให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมโดยไม่ได้ออกหมายเรียก
พ.ต.ท.โกสินทร์ แจ่มทองหลาง สว.(สอบสวน) สภ.เมืองนครราชสีมา หนึ่งในคณะพนักงานสอบสวน ตามคําสั่งตํารวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา แจ้งพฤติการณ์คดีและข้อกล่าวหาเพิ่มเติมให้เตอร์ทราบว่า หลังสรุปสํานวนการสอบสวนคดีนี้พร้อมความเห็น เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา กองบัญชาการตํารวจภูธรภาค 3 ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 มี.ค. 2566 ให้สอบสวนเพิ่มเติม ตามประเด็น เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ
พ.ต.ท.โกสินทร์ ระบุอีกว่า จากการสอบสวนข้อเท็จจริงยืนยันว่า ขณะกิจกรรมซึ่งผู้ต้องหาได้กล่าวถ้อยคําที่เข้าข่ายดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์นั้น ได้มีการไลฟ์สดผ่านเฟชบุ๊ก Korat Movement ผู้ต้องหาได้กล่าวถ้อยคําเชิญชวนผู้ติดตามให้ทําการกดไลค์ กดแชร์ หรือช่วยไลค์ ช่วยแชร์ไลฟ์สดดังกล่าว ซึ่งการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดฐาน นําเข้าสู่ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อีกข้อหาหนึ่งด้วย
เตอร์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พ.ต.ท.โกสินทร์ แจ้งว่า ต้องเสนอสำนวนให้ภาค 3 พิจารณาอีกครั้ง หากสำนวนกลับมาจะติดต่อให้เตอร์มาพบเพื่อส่งตัวให้อัยการ
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สภ.เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 4 พ.ค. 2566) -
วันที่: 29-09-2023นัด: เรียกพยานสอบปากคำวรัญญู คงสถิตย์ธรรม เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ปากคำในฐานะพยาน ตามที่พนักงานสอบสวนติดต่อนัดหมายมา โดยให้การในทำนองว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และทราบว่ามีการไลฟ์สด แต่ไม่ทราบว่ามีการกล่าวข้อความเข้าข่ายผิดมาตรา 112
-
วันที่: 06-12-2023นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนนัดหมายเตอร์ไปส่งตัวให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา ก่อนนัดฟังคำสั่งในวันที่ 9 ม.ค. 2567
-
วันที่: 09-01-2024นัด: ฟังคำสั่งอัยการอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง (สำนวนยังอยู่ที่อัยการสูงสุด) เลื่อนนัดไปวันที่ 9 ก.พ. 2567
-
วันที่: 31-01-2025นัด: แจ้งข้อกล่าวหาวรัญญู“บุ๊ค” วรัญญู คงสถิตย์ธรรม และเตอร์ พร้อมทนายความ เดินทางไปที่ สภ.เมืองนครราชสีมา หลังผ่านไปกว่า 1 ปี เตอร์ได้รับหมายเรียกอีกครั้งให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาและสอบปากคำเพิ่มเติม โดยมีชื่อวรัญญูเป็นผู้ต้องหาร่วมด้วย ก่อนที่วรัญญูจะได้หมายเรียกด้วยเช่นกันในไม่กี่วันต่อมา
บุ๊คกล่าวก่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยสีหน้าประหลาดใจนิด ๆ ว่า “คดี APEC เพิ่งมีคำพิพากษาไปเมื่อเดือนธันวา ผมยังดีใจว่าคดีของผมหมดแล้ว อยู่ ๆ ก็มีคดีนี้โผล่มาอีก”
พ.ต.ท.พงษ์พร เกตุพละ พนักงานสอบสวนซึ่งรับสำนวนมาจาก พ.ต.ท.โกสินทร์ แจ่มทองหลาง เจ้าของสำนวนคนเดิม ได้แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาให้วรัญูญูและมกรพงษ์ทราบ โดยมีทนายความและผู้ไว้วางใจร่วมรับฟัง ดังนี้
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2564 เวลาประมาณ 17.20 น. วรัญญู ผู้ต้องหาที่ 1 และมกรพงษ์ ผู้ต้องหาที่ 2 กับพวก รวมประมาณ 15 คน ได้เดินทางมายังบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อทํากิจกรรมยืนหยุดขัง 112 นาที โดยผู้ร่วมกิจกรรมได้ถือป้ายข้อความ ปล่อยเพื่อนเรา และ ยกเลิก 112 พร้อมชูรูปภาพแกนนําที่ถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้น
ทั้งมีการไลฟ์สดผ่านเพชบุ๊ก Korat Movement โดยมีผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการทํากิจกรรม คือ โจมตีการทํางานของรัฐบาล เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนํากลุ่มราษฎรที่ถูกคุมขังจากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ในระหว่างการไลฟ์สด ผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 ได้พูดสลับกันไปมา โดยผู้ต้องหาที่ 1 ได้พูดถ้อยคําว่า
1. ตอนนี้สถานการณ์ปัจจุบัน เพนกวินอดอาหารมา 30 กว่าวันแล้ว ก็ไม่รู้เพนกวินจะทนได้นานแค่ไหน โดยสถิติที่เคยทําไว้ของคานธีคือ 21 วัน เพนกวินทะลุไปแล้ว 10 วัน รุ้ง ปนัสยา ก็เช่นกัน สมควรแล้วหรือคนเหล่านั้นต้องติดคุกในคดีที่ยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าผิดหรือถูก ตามมาได้นะครับตามมาได้ เราจะอยู่กันข้างหลานย่าโมเลยยืนกันใหญ่ยาวจริงถึงทุ่มนึง ไม่ขยับไปไหนเลย
2. เราจะยืนกัน 112 นาที 1 ชั่วโมงกับ 42 นาที เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมทั้งหมดที่ถูกคุมขัง ยังตามมาได้นะครับถ้าใครว่าง มายืนให้เพนกวินเห็น ยืนให้อานนท์เห็น ยืนให้คุณไผ่เห็น ยืนให้คุณลุงสมยศ ทุกคน หรือว่าใครก็แล้วแต่ที่ถูกจับอยู่ หรือทุกคนที่โดนการยัดเยียดข้อหาจากทางภาครัฐ ออกมากันเยอะเยอะนะครับ ยังไงฝากกดไลค์กดแชร์ไลฟ์สดนี้ด้วยนะครับ
3. ร่วมกัน ถ้าเราไม่ทําอะไรเลย เราจะปล่อยให้คนพวกนั้นเค้าประสบชะตากรรมที่ไม่เป็นธรรมได้อย่างนั้นเหรอ คุณสามารถเห็นเด็กที่มีคุณภาพ เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ต้องถูกยัดเยียดความผิดแล้วเข้าไปผจญคุกอยู่ในเรือนจําจากคดีที่ยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าผิดจริงหรือเปล่าด้วยซ้ำ
4. เราจะร่วมกันจุดเทียนให้กับระบอบยุติธรรมแล้วก็ประเทศนี้ด้วยนะครับ เพราะว่าตอนนี้ผมรู้สึกว่าเรา ต้องการแสงสว่างเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตจากโควิด จากรัฐบาลที่ห่วย จากการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า รวมถึงการที่ต้องเฝ้ารอวัคซีน ที่ไม่รู้ว่าจะได้ครบหรือว่าได้ถึงสัดส่วนเท่าไหร่นะครับ ตอนนี้ปัญหามันรุมเร้าคนไทยไปหมด รู้สึกว่า ทุกคนต้องการแสงสว่าง ดังนั้นเราก็เดี๋ยวเราจะช่วยกันจุดแสงสว่าง
ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 ได้พูดใส่ความพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยประการที่จะทําให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม เป็นที่เกลียดชังของประชาชน และเป็นการลดคุณค่าทางสังคมของพระองค์ โดยยกถ้อยคำ 4 ข้อความ ที่เคยแจ้งมกรพงษ์ไปก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมทั้งแจ้งเพิ่มอีก 1 ข้อความ
พนักงานสอบสวนระบุว่า สภ.เมืองนครราชสีมา ได้ส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมกับส่งตัวมกรพงษ์ ผู้ต้องหาที่ 2 ไปยังสำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้ดําเนินการตามกฎหมายต่อไป แต่ต่อมาสํานักงานอัยการฯ ได้ส่งสํานวนการสอบสวนคืนให้ สภ.เมืองนครราชสีมา โดยแจ้งว่าสํานักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาสํานวนการสอบสวนคดีนี้แล้วให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาแก่วรัญญู ผู้ต้องหาที่ 1 และมกรพงษ์ ผู้ต้องหาที่ 2 ว่ากระทําความผิดฐาน “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ”
พ.ต.ท.พงษ์พร จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาวรัญญู และแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับมกรพงษ์ว่า “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ”
ทั้งสองคนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา มกรพงษ์ยืนยันให้การตามคำให้การเดิมที่เคยให้ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้พูดข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์แต่อย่างใด
ด้านวรัญญูก็ยืนยันตามที่เคยให้การไว้ในฐานะพยานว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และทราบว่ามีการไลฟ์สด แต่ไม่ทราบว่ามีการกล่าวข้อความเข้าข่ายผิดมาตรา 112 ทั้งได้ให้การเพิ่มเติมว่า จำไม่ได้ว่าตนได้พูดในไลฟ์สดหรือไม่ อย่างไร
หลังจากลงชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาและบันทึกคำให้การแล้ว พนักงานสอบสวนให้วรัญญูไปพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อนำไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ก่อนปล่อยทั้งสองคนกลับ โดยแจ้งว่าคณะพนักงานสอบสวนจะต้องสรุปสำนวนและทำความเห็นใหม่ หากเสร็จแล้วจะนัดหมายมาส่งตัวให้อัยการอีกครั้ง
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 31 ม.ค. 2568 และ https://tlhr2014.com/archives/72670)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
มกรพงษ์ ทรัพย์ประเสริฐ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรัญญู คงสถิตย์ธรรม
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์