สรุปความสำคัญ
“สินธุ” (นามสมมติ) พนักงานขายอุปกรณ์ไฟฟ้าชาวจันทบุรีวัย 27 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่า โพสต์แสดงความเห็นล้อเลียนท้ายโพสต์ในเพจ The MalaengtaD ซึ่งได้เผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 และพระราชินี พร้อมข้อความประกอบ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565 โดยมี ทรงชัย เนียมหอม จากกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน เป็นผู้เข้าแจ้งความที่ สภ.ตะโหมด จ.พัทลุง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัดเนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัดเนื่องจากมีบทลงโทษที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 03-04-2023
-
ผู้ถูกละเมิด
- “สินธุ” (นามสมมติ)
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
ครั้งที่ : 2
วันที่ : 19-07-2023
-
ผู้ถูกละเมิด
- “สินธุ” (นามสมมติ)
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
3 เม.ย. 2566 ที่ สภ.ตะโหมด จังหวัดพัทลุง “สินธุ” (นามสมมติ) พนักงานขายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากจังหวัดจันทบุรี วัย 27 ปี พร้อมทนายความ เดินทางเข้ารับทราบข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามหมายเรียกของตำรวจ
ก่อนหน้านี้ สินธุได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาลงวันที่ 16 ก.พ. 2566 ให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีที่มี ทรงชัย เนียมหอม จากกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน เป็นผู้กล่าวหา โดยเขาได้ขอเลื่อนนัดในช่วงเดือนมีนาคมออกมา เนื่องจากยังไม่สามารถลางานเดินทางไปที่จังหวัดพัทลุงได้
ในการเดินทางมายัง สภ.ตะโหมด สินธุเปิดเผยว่าเขาต้องเดินทางจากจังหวัดจันทบุรี เข้ามาที่กรุงเทพฯ ก่อนต่อเครื่องบินเดินทางมาที่สนามบินหาดใหญ่ และหารถเช่า เพื่อเดินทางไปยังสถานีตำรวจ โดยเขาเล่าว่าในชีวิตก่อนหน้านี้ เดินทางลงมาใต้สุดคือถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น ยังไม่เคยเดินทางมาที่จังหวัดพัทลุงมาก่อน
ร.ต.อ.อาคม ปานจันทร์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.ตะโหมด แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 ต่อสินธุ โดยระบุถึงพฤติการณ์ในคดีว่า เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. ทรงชัย เนียมหอม ได้เข้าใช้งานบัญชีเฟซบุ๊ก และปรากฏการแจ้งเตือนจากเพจเฟซบุ๊กชื่อเพจ The MalaengtaD ซึ่งได้เผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 พร้อมสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมข้อความอักษรประกอบภาพ ระบุว่า “‘ในหลวง-พระราชินี’ ไม่เคยรับเงินเดือน หรือ ‘ทรงไม่รับเงินปี’ ที่รัฐบาลถวายองค์ละ 60 ล้านต่อปี เงินทั้งหมดคืนให้ประชาชนทุกบาททุกสตางค์” และยกข้อความในโพสต์ดังกล่าวมา ซึ่งอ้างอิงว่ามีที่มาจาก “วาสนา นาน่วม” และเพจ “ฤๅ – Lue History” โดยโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่เข้าสู่โซเชียลเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2565 เวลา 21.41 น.
ผู้กล่าวหาอ้างว่าจากโพสต์ดังกล่าว ได้พบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยตนได้เลื่อนอ่านข้อความไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพบการแสดงความคิดเห็นจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็นท้ายโพสต์ ส่งผลให้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเข้ามาแสดงความรู้สึกตลกขบขัน
ผู้กล่าวหาจึงได้เข้าไปตรวจสอบการโพสต์และรูปภาพอย่างอื่นในเฟซบุ๊กดังกล่าวอีก ทำให้เชื่อว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวคือสินธุ และเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ล้อเลียนต่อรัชกาลที่ 10 หวังผลให้พระมหากษัตริย์ อันเป็นประมุขของราชอาณาจักรไทยในรัชกาลปัจจุบันต้องเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นแสดงความรู้สึกตลกขบขัน จึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
สินธุได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันและให้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ ก่อนปล่อยตัวไป เนื่องจากเห็นว่าเขาเดินทางมาตามหมายเรียก โดยจะติดต่อนัดหมายมาส่งสำนวนคดีให้กับอัยการต่อไป
.
สินธุเปิดเผยความรู้สึกหลังการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่า ยังงง ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ทำไมถึงถูกดำเนินคดี เพราะไม่เคยรู้จักผู้กล่าวหามาก่อน รู้สึกเหมือนโดนกลั่นแกล้ง โดยก่อนหน้านี้เขาก็เคยติดตามข่าวสารเรื่องคดีมาตรา 112 มาบ้าง แต่ก็ไม่เคยนึกว่าจะมาเจอกับตัวเอง ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเองจริง ๆ ข้อความที่ถูกกล่าวหาก็ไม่น่าเข้าข่ายมาตรา 112 โดยเขายืนยันจะต่อสู้คดีต่อไป
แต่การถูกดำเนินคดึไกลถึงพัทลุงก็สร้างความกังวลให้กับสินธุ เนื่องจากเขาทำงานเป็นลูกจ้าง และมีข้อจำกัดในการลางาน ไม่สามารถลางานมาได้บ่อย ๆ ไม่แน่ใจว่าอาจจะส่งผลกระทบถึงขั้นต้องออกจากงานหรือไม่ ทั้งการเดินทางไกล ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ไป-กลับเที่ยวหนึ่งเกือบ 10,000 บาท ทำให้กังวลเรื่องภาระในการต่อสู้คดีในส่วนนี้ด้วย
สินธุยังระบุว่า ก่อนหน้าที่เขาจะได้รับหมายเรียกผู้ต้องหา แฟนของเขาในจังหวัดจันทบุรีก็ได้รับหมายเรียกพยาน ให้ไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจในท้องที่ โดยแฟนได้เดินทางไปพบตำรวจเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. แล้ว โดยมีการสอบถามยืนยันเรื่องผู้ใช้เฟซบุ๊กในคดีนี้ และทัศนคติทางการเมืองของสินธุด้วย
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า ทรงชัย เนียมหอม เป็นผู้แจ้งความคดีมาตรา 112 ที่สถานีตำรวจในภาคใต้ไว้นับสิบคดี
19 ก.ค. 2566 สินธุพร้อมทนายความได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ที่ สภ.ตะโหมด จ.พัทลุง เนื่องจากหลังพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนคดีส่งให้กับคณะทำงานของตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง คณะทำงานได้มีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับเกี่ยวกับความมั่นคง
สินธุต้องใช้เวลาถึงสองวันในการเดินทางจากจันทบุรี นั่งรถเข้ามาต่อเครื่องบินที่กรุงเทพฯ มาลงที่หาดใหญ่ และเช่ารถจักรยานยนต์ขี่มายังอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งห่างจากหาดใหญ่ราว 65 กิโลเมตร ในเส้นทางที่ไม่รู้จักและไม่เคยไปมาก่อน ทั้งยังมีฝนตกมาตลอดทาง
ร.ต.อ.อาคม ปานจันทร์ ได้แจ้งข้อหาและสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมทั้งมีพนักงานสอบสวนอีกนายหนึ่งร่วมนั่งฟังอยู่ด้วย โดยมีการยกโทรศัพท์มือถือขึ้นถ่ายภาพผู้ต้องหา และทนายความระหว่างสอบสวนด้วย สินธุได้รับทราบข้อหา และยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยไม่ขอให้การใดๆ เพิ่มเติม ก่อนตำรวจให้เดินทางกลับไป
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.ตะโหมด ลงวันที่ 3 เม.ย. 2566, https://tlhr2014.com/archives/55043 และ https://tlhr2014.com/archives/57684)
ก่อนหน้านี้ สินธุได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาลงวันที่ 16 ก.พ. 2566 ให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีที่มี ทรงชัย เนียมหอม จากกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน เป็นผู้กล่าวหา โดยเขาได้ขอเลื่อนนัดในช่วงเดือนมีนาคมออกมา เนื่องจากยังไม่สามารถลางานเดินทางไปที่จังหวัดพัทลุงได้
ในการเดินทางมายัง สภ.ตะโหมด สินธุเปิดเผยว่าเขาต้องเดินทางจากจังหวัดจันทบุรี เข้ามาที่กรุงเทพฯ ก่อนต่อเครื่องบินเดินทางมาที่สนามบินหาดใหญ่ และหารถเช่า เพื่อเดินทางไปยังสถานีตำรวจ โดยเขาเล่าว่าในชีวิตก่อนหน้านี้ เดินทางลงมาใต้สุดคือถึงจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้น ยังไม่เคยเดินทางมาที่จังหวัดพัทลุงมาก่อน
ร.ต.อ.อาคม ปานจันทร์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.ตะโหมด แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 ต่อสินธุ โดยระบุถึงพฤติการณ์ในคดีว่า เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. ทรงชัย เนียมหอม ได้เข้าใช้งานบัญชีเฟซบุ๊ก และปรากฏการแจ้งเตือนจากเพจเฟซบุ๊กชื่อเพจ The MalaengtaD ซึ่งได้เผยแพร่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 พร้อมสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมข้อความอักษรประกอบภาพ ระบุว่า “‘ในหลวง-พระราชินี’ ไม่เคยรับเงินเดือน หรือ ‘ทรงไม่รับเงินปี’ ที่รัฐบาลถวายองค์ละ 60 ล้านต่อปี เงินทั้งหมดคืนให้ประชาชนทุกบาททุกสตางค์” และยกข้อความในโพสต์ดังกล่าวมา ซึ่งอ้างอิงว่ามีที่มาจาก “วาสนา นาน่วม” และเพจ “ฤๅ – Lue History” โดยโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่เข้าสู่โซเชียลเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2565 เวลา 21.41 น.
ผู้กล่าวหาอ้างว่าจากโพสต์ดังกล่าว ได้พบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยตนได้เลื่อนอ่านข้อความไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพบการแสดงความคิดเห็นจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้แสดงความคิดเห็นท้ายโพสต์ ส่งผลให้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเข้ามาแสดงความรู้สึกตลกขบขัน
ผู้กล่าวหาจึงได้เข้าไปตรวจสอบการโพสต์และรูปภาพอย่างอื่นในเฟซบุ๊กดังกล่าวอีก ทำให้เชื่อว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวคือสินธุ และเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ล้อเลียนต่อรัชกาลที่ 10 หวังผลให้พระมหากษัตริย์ อันเป็นประมุขของราชอาณาจักรไทยในรัชกาลปัจจุบันต้องเสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นแสดงความรู้สึกตลกขบขัน จึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
สินธุได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันและให้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ ก่อนปล่อยตัวไป เนื่องจากเห็นว่าเขาเดินทางมาตามหมายเรียก โดยจะติดต่อนัดหมายมาส่งสำนวนคดีให้กับอัยการต่อไป
.
สินธุเปิดเผยความรู้สึกหลังการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่า ยังงง ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ทำไมถึงถูกดำเนินคดี เพราะไม่เคยรู้จักผู้กล่าวหามาก่อน รู้สึกเหมือนโดนกลั่นแกล้ง โดยก่อนหน้านี้เขาก็เคยติดตามข่าวสารเรื่องคดีมาตรา 112 มาบ้าง แต่ก็ไม่เคยนึกว่าจะมาเจอกับตัวเอง ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเองจริง ๆ ข้อความที่ถูกกล่าวหาก็ไม่น่าเข้าข่ายมาตรา 112 โดยเขายืนยันจะต่อสู้คดีต่อไป
แต่การถูกดำเนินคดึไกลถึงพัทลุงก็สร้างความกังวลให้กับสินธุ เนื่องจากเขาทำงานเป็นลูกจ้าง และมีข้อจำกัดในการลางาน ไม่สามารถลางานมาได้บ่อย ๆ ไม่แน่ใจว่าอาจจะส่งผลกระทบถึงขั้นต้องออกจากงานหรือไม่ ทั้งการเดินทางไกล ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ไป-กลับเที่ยวหนึ่งเกือบ 10,000 บาท ทำให้กังวลเรื่องภาระในการต่อสู้คดีในส่วนนี้ด้วย
สินธุยังระบุว่า ก่อนหน้าที่เขาจะได้รับหมายเรียกผู้ต้องหา แฟนของเขาในจังหวัดจันทบุรีก็ได้รับหมายเรียกพยาน ให้ไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจในท้องที่ โดยแฟนได้เดินทางไปพบตำรวจเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. แล้ว โดยมีการสอบถามยืนยันเรื่องผู้ใช้เฟซบุ๊กในคดีนี้ และทัศนคติทางการเมืองของสินธุด้วย
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า ทรงชัย เนียมหอม เป็นผู้แจ้งความคดีมาตรา 112 ที่สถานีตำรวจในภาคใต้ไว้นับสิบคดี
19 ก.ค. 2566 สินธุพร้อมทนายความได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ที่ สภ.ตะโหมด จ.พัทลุง เนื่องจากหลังพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนคดีส่งให้กับคณะทำงานของตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง คณะทำงานได้มีคำสั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับเกี่ยวกับความมั่นคง
สินธุต้องใช้เวลาถึงสองวันในการเดินทางจากจันทบุรี นั่งรถเข้ามาต่อเครื่องบินที่กรุงเทพฯ มาลงที่หาดใหญ่ และเช่ารถจักรยานยนต์ขี่มายังอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งห่างจากหาดใหญ่ราว 65 กิโลเมตร ในเส้นทางที่ไม่รู้จักและไม่เคยไปมาก่อน ทั้งยังมีฝนตกมาตลอดทาง
ร.ต.อ.อาคม ปานจันทร์ ได้แจ้งข้อหาและสอบปากคำเพิ่มเติม พร้อมทั้งมีพนักงานสอบสวนอีกนายหนึ่งร่วมนั่งฟังอยู่ด้วย โดยมีการยกโทรศัพท์มือถือขึ้นถ่ายภาพผู้ต้องหา และทนายความระหว่างสอบสวนด้วย สินธุได้รับทราบข้อหา และยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยไม่ขอให้การใดๆ เพิ่มเติม ก่อนตำรวจให้เดินทางกลับไป
(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สภ.ตะโหมด ลงวันที่ 3 เม.ย. 2566, https://tlhr2014.com/archives/55043 และ https://tlhr2014.com/archives/57684)
List คดี
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์