สรุปความสำคัญ
“พิมพ์” แทนฤทัย แท่นรัตน์ นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีร่วมปราศรัยเรียกร้องให้ สว. และ สส. เคารพเสียงของประชาชนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในการชุมนุม ‘Respect My Vote’ ที่บริเวณหน้าหอศิลป์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2566 โดยมี อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. เข้าแจ้งความกล่าวหาว่า เนื้อหาคำปราศรัยพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยเฉพาะคนที่เห็นต่างทางการเมือง
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยเฉพาะคนที่เห็นต่างทางการเมือง
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 07-08-2023
-
ผู้ถูกละเมิด
- “พิมพ์” แทนฤทัย แท่นรัตน์
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก/เคลื่อนไหว/รวมกลุ่ม
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
พฤติการณ์การละเมิด
7 ส.ค. 2566 ที่ สน.ปทุมวัน "พิมพ์" แทนฤทัย แท่นรัตน์ นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ เดินทางไปเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีร่วมปราศรัยในเวทีเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เคารพเสียงของประชาชนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ในการชุมนุม ‘Respect My Vote’ ที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2566
คดีนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2566 อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ สน.ปทุมวัน โดยอ้างว่าได้พบคลิปวีดิโอที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนัดรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีแทนฤทัย หนึ่งในผู้เข้าร่วมปราศรัยที่มีเนื้อหากล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางที่เสื่อมเสียพระเกียรติ
ต่อมา แทนฤทัยได้รับการติดต่อจากตำรวจ สน.ปทุมวัน ว่าได้ออกหมายเรียกให้เธอมาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว แม้เธอยังไม่ได้รับหมายเรียกดังกล่าว แต่ก็นัดหมายเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน
บริเวณหน้า สน.ปทุมวัน พบการตั้งจุดตรวจคนเข้าสถานีอย่างเข้มงวด โดยประชาชนผู้เข้าใช้บริการจะต้องลงชื่อก่อนเข้าไปในตัวอาคาร นอกจากนี้ยังมีการตั้งรั้วกั้นในบริเวณโดยรอบของสถานีตำรวจ และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินตรวจตรา และถ่ายภาพตลอดบริเวณสถานีตำรวจ
ต่อมา เวลา 10.15 น. แทนฤทัยได้เดินทางมาพร้อมกับทนายความเพื่อเข้าพบ พ.ต.ท.แดนชัย ทูลอ่อง รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ปทุมวัน
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์แห่งคดีว่า ในวันที่ 14 ก.ค. 2566 ผู้ต้องหาได้ขึ้นปราศรัยโดยกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทำนองว่าไม่มีสถาบันใดอยู่เหนือสถาบันประชาชน และกล่าวเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคารพเสียงของประชาชนและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
ก่อนที่จะเซ็นรับทราบข้อกล่าวหา แทนฤทัยได้ขอให้พนักงานสอบสวนแก้ไขบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาในส่วนของอานนท์ที่เข้ามากล่าวโทษเธอในคดีนี้ โดยเปลี่ยนจากข้อความว่าผู้กล่าวหาไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้มาก่อน เป็นผู้กล่าวหาเป็นกลุ่มคนที่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาและเพื่อน ๆ โดยมีการพยายามหาเรื่อง และข่มขู่เธอบนโซเชียลมีเดียมาก่อน ตลอดจนการแจ้งความในคดีนี้ก็สืบเนื่องมาจากผู้กล่าวหาเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง
นอกจากนั้น พบว่าในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนระบุว่าอานนท์ กลิ่นแก้ว เป็น “ผู้เสียหาย” ในคดีนี้อีกด้วย
แทนฤทัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนเปิดเผยความรู้สึกว่า “คดีนี้เป็น 112 คดีแรกของเรา จริง ๆ คิดว่าคดีน่าจะมาไวกว่านี้นานแล้ว แต่ก็เตรียมใจไว้แล้วค่ะ”
นอกจากนี้เธอยังได้กล่าวถึงกิจกรรมชุมนุมในวันที่ 14 ก.ค. ว่าไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามข้อกล่าวหา ในการปราศรัยครั้งนั้น เป็นเพียงการเรียกร้องต่อรัฐบาลและผู้มีอำนาจให้ฟังเสียงของประชาชนเท่านั้น ก่อนหน้านี้ เธอเคยถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมทางการเมืองมาแล้ว 4 คดี แต่ไม่เคยถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 มาก่อน
การชุมนุมซึ่งเป็นเหตุในคดีนี้ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ก.ค. 2566 หรือม็อบ ‘Respect My Vote’ ซึ่งเป็นการนัดหมายของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเคารพเสียงของประชาชน ภายหลังวันที่ 13 ก.ค. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันในรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จากการประชุมในวันดังกล่าว
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 7 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58117)
คดีนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2566 อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าแจ้งความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ สน.ปทุมวัน โดยอ้างว่าได้พบคลิปวีดิโอที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนัดรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีแทนฤทัย หนึ่งในผู้เข้าร่วมปราศรัยที่มีเนื้อหากล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทางที่เสื่อมเสียพระเกียรติ
ต่อมา แทนฤทัยได้รับการติดต่อจากตำรวจ สน.ปทุมวัน ว่าได้ออกหมายเรียกให้เธอมาเข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว แม้เธอยังไม่ได้รับหมายเรียกดังกล่าว แต่ก็นัดหมายเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน
บริเวณหน้า สน.ปทุมวัน พบการตั้งจุดตรวจคนเข้าสถานีอย่างเข้มงวด โดยประชาชนผู้เข้าใช้บริการจะต้องลงชื่อก่อนเข้าไปในตัวอาคาร นอกจากนี้ยังมีการตั้งรั้วกั้นในบริเวณโดยรอบของสถานีตำรวจ และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินตรวจตรา และถ่ายภาพตลอดบริเวณสถานีตำรวจ
ต่อมา เวลา 10.15 น. แทนฤทัยได้เดินทางมาพร้อมกับทนายความเพื่อเข้าพบ พ.ต.ท.แดนชัย ทูลอ่อง รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.ปทุมวัน
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์แห่งคดีว่า ในวันที่ 14 ก.ค. 2566 ผู้ต้องหาได้ขึ้นปราศรัยโดยกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในทำนองว่าไม่มีสถาบันใดอยู่เหนือสถาบันประชาชน และกล่าวเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคารพเสียงของประชาชนและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
ก่อนที่จะเซ็นรับทราบข้อกล่าวหา แทนฤทัยได้ขอให้พนักงานสอบสวนแก้ไขบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาในส่วนของอานนท์ที่เข้ามากล่าวโทษเธอในคดีนี้ โดยเปลี่ยนจากข้อความว่าผู้กล่าวหาไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาในคดีนี้มาก่อน เป็นผู้กล่าวหาเป็นกลุ่มคนที่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ต้องหาและเพื่อน ๆ โดยมีการพยายามหาเรื่อง และข่มขู่เธอบนโซเชียลมีเดียมาก่อน ตลอดจนการแจ้งความในคดีนี้ก็สืบเนื่องมาจากผู้กล่าวหาเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง
นอกจากนั้น พบว่าในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนระบุว่าอานนท์ กลิ่นแก้ว เป็น “ผู้เสียหาย” ในคดีนี้อีกด้วย
แทนฤทัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนเปิดเผยความรู้สึกว่า “คดีนี้เป็น 112 คดีแรกของเรา จริง ๆ คิดว่าคดีน่าจะมาไวกว่านี้นานแล้ว แต่ก็เตรียมใจไว้แล้วค่ะ”
นอกจากนี้เธอยังได้กล่าวถึงกิจกรรมชุมนุมในวันที่ 14 ก.ค. ว่าไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามข้อกล่าวหา ในการปราศรัยครั้งนั้น เป็นเพียงการเรียกร้องต่อรัฐบาลและผู้มีอำนาจให้ฟังเสียงของประชาชนเท่านั้น ก่อนหน้านี้ เธอเคยถูกดำเนินคดีจากการร่วมชุมนุมทางการเมืองมาแล้ว 4 คดี แต่ไม่เคยถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 มาก่อน
การชุมนุมซึ่งเป็นเหตุในคดีนี้ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ก.ค. 2566 หรือม็อบ ‘Respect My Vote’ ซึ่งเป็นการนัดหมายของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเคารพเสียงของประชาชน ภายหลังวันที่ 13 ก.ค. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันในรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จากการประชุมในวันดังกล่าว
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 7 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58117)
List คดี
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์