ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส. (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส. (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส.

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส.

ความสำคัญของคดี

"บิ๊ก" เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ และเบนจา อะปัญ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการเข้าร่วมชุมนุมและปราศรัยในกิจกรรม “ราษฎรไม่ไว้วางใจมึง” ที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 โดยมี ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส. เป็นผู้กล่าวหาให้ดำเนินคดี

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบของประชาชนอย่างกว้างขวาง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุพฤติการณ์คดีมีใจความโดยสรุปว่า

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 กลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” จัดกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ เวลา 14.30 น. เริ่มมีมวลชนรอทำกิจกรรมระหว่างเล่นดนตรี และมีการนำแผงเหล็กมากั้นการจราจรจำนวน 4 ช่องทาง ในวันดังกล่าวมีการร้องเพลงและปราศรัยโจมตีรัฐบาล ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 20.00 น.

ในกิจกรรมดังกล่าว เกียรติชัยและเบนจาได้กล่าวคำปราศรัย อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

โดยเกียรติชัยกล่าวปราศรัยมีใจความสรุปกล่าวถึง การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย อย่างเช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดกษัตริย์ มาตรา 16 รวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์ที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้กฎหมายมาตรา 112 จนทำให้ประชาชนเดือดร้อน และประเด็นเรื่องปัญหาของวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์

ในส่วนเบนจาปราศรัยถึงความหวังและความฝันของตนที่จะเห็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พ้นจากการเป็นนายกฯ จากการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และอยากเห็นประชาธิปไตยเบ่งบาน คนทุกคนเท่าเทียมกันและไม่มีใครเหนือกว่าใคร และกล่าวย้ำถึงอำนาจที่แท้จริงว่าเป็นของประชาชนทุกคน มิใช่ สส., สว., นายทุน, ขุนศึก หรือศักดินาแต่อย่างใด และกล่าวถึงความเกี่ยวโยงของ นายทุน ขุนศึก และศักดินา ที่คอยค้ำจุนกันและกัน โดยมีข้อความบางตอนที่กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10

(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ลุมพินี ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 และ 16 ส.ค. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน.ลุมพินี "บิ๊ก" เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมด้วยทนายความ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามหมายเรียก จากกรณีเข้าร่วมการชุมนุมและขึ้นปราศรัยใน #ม็อบ3กันยา ที่แยกราชประสงค์

    พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์โดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 กลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” จัดกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ เวลา 14.30 น. เริ่มมีมวลชนรอทำกิจกรรมระหว่างเล่นดนตรี และมีการนำแผงเหล็กมากั้นการจราจรจำนวน 4 ช่องทาง ในวันดังกล่าวมีการร้องเพลงและปราศรัยโจมตีรัฐบาล ก่อนยุติกิจกรรมในเวลา 20.00 น.

    พนักงานสอบสวนได้แจ้ง 2 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันจัดกิจกรรมและชุมนุมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ฝ่าฝืนประกาศและข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร ตามประมวลกฎหมายมาตรา 385

    เกียรติชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ก่อนพนักงานสอบสวนปล่อยตัวกลับ ไม่ได้ควบคุมตัวไว้

    การชุมนุมในวันดังกล่าว พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ออกหมายเรียกนักกิจกรรมที่ขึ้นปราศรัยและร้องเพลงบนเวทีรวมทั้งหมด 16 คน โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564 มีนักกิจกรรมเข้ารับทราบ 2 ข้อกล่าวหา เช่นเดียวกันนี้แล้ว 11 คน ได้แก่ ศรีไพร นนทรีย์ นักสหภาพแรงงาน, ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), ทรงพล สิทธิรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, “ตี้” วรรณวลี ธรรมสัตยา, “ไบร์ท” ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, “บอล” ชนินทร์ วงษ์ศรี, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์, “ลูกนัท” ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย, “แก้วใส” ณัฐพงษ์ ภูแก้ว และ “ฟลุค เดอะสตาร์” พชร ธรรมมล

    สำหรับกิจกรรม #ม็อบ3กันยา หรือ กิจกรรม “ราษฎรไม่ไว้วางใจมึงที่แยกราชประสงค์” จัดโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมและกลุ่มทะลุฟ้า ซึ่งเปิดเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจคู่ขนานกับรัฐสภาที่แยกราชประสงค์ ก่อนจะยุติกิจกรรมโดยสงบในเวลา 20.00 น.

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 5 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35571)
  • เบนจา อะปัญ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมด้วยทนายความ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีนี้ที่ สน.ลุมพินี อีกราย หลังพนักงานสอบสวนแจ้ง 2 ข้อกล่าวหา เช่นเดียวกับคนอื่น เบนจาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ลุมพินี ลงวันที่ 10 ต.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/35571)
  • เวลา 13.00 น. ที่ สน.ลุมพินี เกียรติชัยพร้อมด้วยทนายความเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามหมายเรียก ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังได้รับหมายเรียกลงวันที่ 11 ก.ค. 2566 โดยมี ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิกกลุ่มสมาชิกศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เป็นผู้กล่าวหา

    พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ พนักงานสอบสวน ระบุว่า การแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในวันนี้ สืบเนื่องมาจากคณะพนักงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับความมั่นคง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้พิจารณาข้อความที่ได้จากการถอดเทปปราศรัยของเกียรติชัย ที่ได้ปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 แล้วเห็นว่ามีข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม

    พนักงานสอบสวนได้บรรยายพฤติการณ์โดยระบุคำปราศรัยจากการถอดเทปของเกียรติชัยโดยละเอียด รวม 3 หน้าครึ่งของกระดาษเอสี่ มีใจความสรุปกล่าวถึง การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสีย อย่างเช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดกษัตริย์ มาตรา 16 รวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์ที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้กฎหมายมาตรา 112 จนทำให้ประชาชนเดือดร้อน และประเด็นเรื่องปัญหาของวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์

    เกียรติชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมทั้งลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่า “ค.” และจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 21 ส.ค. 2566 หลังใช้เวลาสอบปากคำราว 1 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนให้เดินทางกลับ

    เกียรติชัยถูกกล่าวหาในข้อหาตามมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่ 4 แล้ว นอกจากเกียรติชัย มีรายงานว่าตำรวจได้ออกหมายเรียกเบนจาให้มารับทราบข้อหามาตรา 112 เพิ่มเติมเช่นกัน แต่เบนจายังไม่ได้รับหมายดังกล่าวแต่อย่างใด

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ลุมพินี ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/57788)
  • เวลา 16.00 น. ที่ สน.ลุมพินี เบนจาพร้อมด้วยทนายความ เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามหมายเรียก ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากตำรวจได้ส่งหมายเรียกครั้งที่ 2 เนื่องจากในครั้งแรกเบนจาไม่ได้รับ โดยมี ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ สมาชิก ศปปส. เป็นผู้กล่าวหา

    พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ สว.(สอบสวน) สน.ลุมพินี ระบุว่า ภายหลังการแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2564 ที่ประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับความมั่นคง บช.น. ได้พิจารณาข้อความที่ได้จากการถอดเทปปราศรัยของเบนจาที่ปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 แล้วมีมติว่า การที่เบนจาขึ้นปราศรัยด้วยข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 เพิ่มเติม

    ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมได้บรรยายพฤติการณ์โดยระบุข้อความจากการถอดเทปคำปราศรัยของเบนจาโดยละเอียด รวม 2 หน้าครึ่งของกระดาษเอสี่ มีใจความสรุปกล่าวถึง ความหวังและความฝันของตนที่จะเห็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พ้นจากการเป็นนายกฯ จากการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ และอยากเห็นประชาธิปไตยเบ่งบาน คนทุกคนเท่าเทียมกันและไม่มีใครเหนือกว่าใคร และกล่าวย้ำถึงอำนาจที่แท้จริงว่าเป็นของประชาชนทุกคน มิใช่ สส., สว., นายทุน, ขุนศึก หรือศักดินาแต่อย่างใด และกล่าวถึงความเกี่ยวโยงของ นายทุน ขุนศึก และศักดินา ที่คอยค้ำจุนกันและกัน โดยมีข้อความบางตอนที่กล่าวถึงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10

    ภายหลังรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม เบนจาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมทั้งลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม โดยที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวไว้

    ทั้งนี้ เบนจาถูกดำเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 เป็นคดีที่ 8 แล้ว

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.ลุมพินี ลงวันที่ 16 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58436)
  • เกียรติชัยพร้อมด้วยทนายความเดินทางเข้ารับทราบข้อเท็จจริงในคดีเพิ่มเติม หลังได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน

    พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ พนักงานสอบสวน ได้แจ้งถึงข้อความจากคำปราศรัยของเกียรติชัย เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 ที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 รวม 2 ข้อความ เกียรติชัยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ในส่วนเบนจาก็ได้รับหมายเรียกไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเช่นกัน แต่เบนจายังไม่ว่างในวันนี้ จึงขอเลื่อนนัดออกไปก่อน

    (อ้างอิง: รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สน.ลุมพินี ลงวันที่ 1 ธ.ค. 2566)
  • เบนจาพร้อมด้วยทนายความเดินทางเข้ารับทราบข้อเท็จจริงในคดีเพิ่มเติม พ.ต.ต.สุทวัฒน์ ศรีพรวรรณ์ พนักงานสอบสวน ได้แจ้งถึงข้อความจากคำปราศรัยของเบนจา เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2564 ที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 รวม 2 ข้อความ

    นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังได้แจ้งข้อกล่าวหาเบนจาเพิ่มเติมว่า ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีก 1 ข้อหา กรณีที่เบนจาปฏิเสธที่จะพิมพ์ลายนิ้วมือในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาครั้งก่อน เบนจาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี สน.ลุมพินี ลงวันที่ 13 ธ.ค. 2566)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เกียรติชัย ตั้งภรณ์พรรณ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบนจา อะปัญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์