ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • อื่นๆ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. และพวก (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • อื่นๆ
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. และพวก

ความสำคัญของคดี

“ป้านิด” จิราภรณ์ บุษปะเกศ ประชาชนชาวนนทบุรีอายุ 74 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการปราศรัยเรียกร้องประชาธิปไตยโดยกล่าวพาดพิงถึงกษัตริย์ ในการชุมนุม THE RETURN OF THAMMASAT #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน แสดงจุดยืนต่อ 8 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ในระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2566 หลัง อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และพวกเข้ากล่าวโทษให้ดำเนินคดี

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลที่เห็นต่างทางการเมือง

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุพฤติการณ์แห่งคดีดังนี้

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. มีการจัดการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เพื่อทวงคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แสดงจุดยืนต่อ 8 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย และไม่เอา สว. ที่ลานอนุสาวรีย์สัญญา ธรรมศักดิ์ หน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในการชุมนุมวันดังกล่าว มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นปราศรัยบนเวที จนกระทั่งเมื่อเวลา 18.40 น. มีบุคคลเป็นหญิงไม่ทราบชื่อ ซึ่งภายหลังสืบสวนทราบว่าเป็นผู้ต้องหา ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีและมีการแสดงออกชู 3 นิ้ว ถ้อยคำปราศรัยที่กล่าวนั้นมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นในทำนองว่า ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ไม่ต้องการให้กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย วิพากษ์วิจารณ์การทำรัฐประหารในประเทศไทยที่เกิดขึ้นมาแล้วถึง 13 ครั้ง รวมทั้งปัญหาการสนับสนุนและรับรองการรัฐประหาร

ผู้กล่าวหาเห็นว่า ผู้ต้องหามีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน นั่นคือ รัชกาลที่ 10 ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังเข้าใจผิดว่าถ้อยคำปราศรัยเป็นความจริง ทั้งนี้ ผู้กล่าวหายังเห็นว่าภาพเคลื่อนไหวและถ้อยคำปราศรัยของผู้ต้องหานั้นถูกนำไปเผยแพร่ทางสื่อโซเซียลออนไลน์ด้วย

(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 22 ส.ค. 2566)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สภ.คลองหลวง “ป้านิด” จิราภรณ์ บุษปะเกศ ประชาชนชาวนนทบุรี อายุ 74 ปี เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการถูกกล่าวหาว่าขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุม THE RETURN OF THAMMASAT #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2566

    คดีนี้ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และพวก ได้เข้าแจ้งความที่ สภ.คลองหลวง ให้ดำเนินคดีกับจิราภรณ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เมื่อจิราภรณ์ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ลงวันที่ 8 ส.ค. 2566 จึงได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมายในวันนี้

    ตั้งแต่เวลาเช้าประมาณ 09.00 น. ป้านิดและกลุ่มประชาชนจำนวนประมาณ 10 กว่าคน ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจป้านิด ได้กินอาหารเช้าที่ร่วมจัดเตรียมกันมา อาทิ ปลาทอด ไข่เจียวชะอม แกงผัก ระหว่างนั่งรออยู่บริเวณลานหน้า สภ.

    เมื่อถึงเวลาป้านิด เพื่อน และทนายความได้เดินเข้าไปใน สภ. เพื่อเตรียมรับทราบข้อกล่าวหา โดยต้องเดินขึ้นบันไดไปที่ห้องประชุมชั้น 3 ระหว่างนั้นป้านิดได้รับความลำบากอย่างมาก ต้องมีคนคอยพยุงเธอขึ้นบันไดทีละขั้นอย่างทุลักทุเล เนื่องจากป้านิดป่วยเป็นโรคหัวเข่าเสื่อมด้วย จึงเดินลำบากอยู่แล้ว

    พ.ต.ท.สุชัย แสงส่อง รองผู้กำกับ (สอบสวน) สภ.คลองหลวง ได้แจ้งพฤติการณ์แห่งคดีว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. มีการจัดการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน เพื่อทวงคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แสดงจุดยืนต่อ 8 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย และไม่เอา สว. ที่ลานอนุสาวรีย์สัญญา ธรรมศักดิ์ หน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ในการชุมนุมวันดังกล่าว มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นปราศรัยบนเวที จนกระทั่งเมื่อเวลา 18.40 น. มีบุคคลเป็นหญิงไม่ทราบชื่อ ซึ่งภายหลังสืบสวนทราบว่าเป็นผู้ต้องหา ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีและมีการแสดงออกชู 3 นิ้ว ถ้อยคำปราศรัยที่กล่าวนั้นมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นในทำนองว่า ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ไม่ต้องการให้กษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย วิพากษ์วิจารณ์การทำรัฐประหารในประเทศไทยที่เกิดขึ้นมาแล้วถึง 13 ครั้ง รวมทั้งปัญหาการสนับสนุนและรับรองการรัฐประหาร

    ผู้กล่าวหาเห็นว่า ผู้ต้องหามีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายกษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน นั่นคือ รัชกาลที่ 10 ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังเข้าใจผิดว่าถ้อยคำปราศรัยเป็นความจริง ทั้งนี้ ผู้กล่าวหายังเห็นว่าภาพเคลื่อนไหวและถ้อยคำปราศรัยของผู้ต้องหานั้นถูกนำไปเผยแพร่ทางสื่อโซเซียลออนไลน์ด้วย

    พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้ง 2 ข้อกล่าวหาแก่จิราภรณ์ ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (3) ทั้งนี้บันทึกข้อกล่าวหาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าผู้ต้องหาได้นำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อย่างไร

    จิราภรณ์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน โดยพนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวัน และพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ ก่อนนัดหมายให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 25 ก.ย. 2566 จากนั้นจึงได้ปล่อยตัวจิราภรณ์กลับไป

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สภ.คลองหลวง ลงวันที่ 22 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/58614)
  • จิราภรณ์เดินทางไปตามนัดของพนักงานสอบสวน จากนั้นพนักงานสอบสวนส่งตัวจิราภรณ์พร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
จิราภรณ์ บุษปะเกศ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์