ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นอันตราย (มาตรา 391)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
  • Facebook
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
ดำ อ.1668/2564

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • ทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นอันตราย (มาตรา 391)
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป (มาตรา 215)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม
  • Facebook
  • พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ข้อหา

  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.ความสะอาดฯ
  • มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยเป็นแกนนำ (มาตรา 215 วรรคสาม)
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • การชุมนุม

หมายเลขคดี

ดำ อ.1668/2564
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ รอง ผกก.สส.สน.สำราญราษฎร์ กับพวก

ความสำคัญของคดี

หลังการชุมนุม #เยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 ซึ่งมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลรวม 3 ข้อ มีผู้ร่วมชุมนุมและขึ้นปราศรัย กระทั่งนักดนตรี รวม 14 คน ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญา ข้อหา ยุยงปลุกปั่น และเป็นแกนนำมั่วสุมก่อความวุ่นวาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 215 วรรคสาม รวมทั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการชุมนุม รวมทั้งสิ้น 8 ข้อหา การถูกจับกุมนำไปสู่การนำตัวไปฝากขังต่อศาล และต้องยื่นประกัน แม้ทุกคนได้รับการประกันตัว แต่ศาลกำหนดเงื่อนไขด้วยว่า "ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก"

ซึ่งต่อมา อานนท์ นำภา และภาณุพงศ์ จาดนอก ถูกพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนประกัน โดยอ้างว่า ทั้งสองผิดเงื่อนไขประกันดังกล่าว โดยการไปร่วมชุมนุมและปราศรัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต จนถูกออกหมายจับในข้อหามาตรา 116 อีก ศาลจึงถอนประกันอานนท์ และให้ภาณุพงศ์เพิ่มหลักประกัน แต่ภาณุพงษ์ปฏิเสธ ทั้งสองถูกคุมขังอยู่ 5 วัน ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้งสองจึงได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังระหว่างสอบสวนรวม 5 วัน

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

อัยการได้บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ

1. ระหว่างวันที่ 15 – 18 ก.ค. 2563 กลุ่มจำเลยได้ร่วมกันประกาศเชิญชวนและนัดหมายให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเฟซบุ๊กและสื่อ สังคมออนไลน์อื่นๆ ให้มาร่วมกิจกรรมชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 18 ก.ค. 2563 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยใช้หัวข้อเรื่อง “ใครไม่ทนให้ไปกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”

ต่อมา พวกจำเลยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุมทางการเมืองที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตามที่ได้ประกาศไว้ โดยจําเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวก ได้ร่วมกันตั้งเวทีปราศรัยชั่วคราวเป็นเวทีเหล็กขนาด 1 X 2 เมตร บนถนนราชดําเนินกลาง วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หันหน้าเวทีเข้าหาร้านแม็คโดนัลด์

พันตํารวจเอก อิทธิพล พงษ์ธร ผู้กํากับ สน.สําราญราษฎร์ ซึ่งมีอํานาจดูแลและรับผิดชอบพื้นที่เกิดเหตุ และเป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้ประกาศแจ้งเตือนให้จําเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกทราบว่า การกระทําดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฐานกีดขวางการจราจร กีดขวางทางสาธารณะ และขอให้ประชาชนผู้ร่วมกิจกรรมเว้นระยะห่างเนื่องจากเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค

พริษฐ์ได้กล่าวปราศรัยบนเวทีชั่วคราวดังกล่าวต่อมวลชนที่มาร่วมชุมนุม โดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้า ชักชวนประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมชุมนุมลงมาบนถนนราชดําเนินกลาง ทําให้มีมวลชนเริ่มเดินลงมาบนพื้นผิวจราจร ชูป้ายข้อความ ตะโกนขับไล่นายกรัฐมนตรี

ต่อมาเมื่อมีมวลชนเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ พวกจําเลยจึงได้ทําการเคลื่อนย้ายเวทีไปตั้งติดขอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประมาณ 1,000 คน เต็มพื้นที่บนถนนราชดําเนินกลางบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์ เป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้รถสัญจรผ่านบริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าวได้

พริษฐ์ ชิวารักษ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก, อานนท์ นำภา, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, กรกช แสงเย็นพันธ์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, บารมี ชัยรัตน์, เดชาธร บำรุงเมือง, ธานี สะสม และผู้ที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้อง ได้สลับกันขึ้นพูดปราศรัยบนเวทีพูดชักชวนและเรียกร้องประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมและอยู่ร่วมชุมนุมให้มีจํานวนมาก ๆ โดยไม่ต้องคํานึงว่าจะเป็นการฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมายใดๆ อันเป็นการแสดงให้ปรากฏต่อประชาชน ด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทํา ในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฏหมายแผ่นดิน

จำเลยกับพวกยังมีการกล่าวปราศรัยยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ข้อ คือ ให้ยุบสภา, เลิกคุกคามประชาชน, และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งยังมีการปราศรัยและแสดงป้ายข้อความที่เจตนาโน้มน้าวประชาชนให้ไม่ต้องเคารพสักการะและต่อต้านสถาบันกษัตริย์ อันเป็นการกระทําที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร

2. เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 จําเลยได้ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมและเข้าร่วมทํากิจกรรมการชุมนุม มีประชาชนทั่วไปจำนวนมากเข้าร่วม อันเป็นการชุมนุมในสถานที่แออัด และมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ในเขตที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนเกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด โดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด และไม่ได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ทั้งยังกล่าวปราศรัยบนเวทีที่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกําหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1, 5 และ 11

3. การที่ผู้กํากับการ สน.สําราญราษฎร์ ได้ประกาศแจ้งเตือนให้จําเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกทราบว่า การกระทําของจำเลยและพวกเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย แต่จําเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกยังคงฝ่าฝืนจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อไป ทั้งยังชักชวนประชาชนที่มาร่วมชุมนุมให้ลงมาบนถนนราชดําเนินกลาง เป็นการมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย หรือกระทําการอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีพริษฐ์, ภาณุพงศ์, อานนท์, จุฑาทิพย์, กรกช, สุวรรณา, บารมี, เดชาธร, ธานี และผู้ที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้อง เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทําผิด

4. ตามวันเวลาเกิดเหตุ จําเลยทั้งสิบเอ็ดกับพวกได้ร่วมกันทําการโฆษณา ปราศรัย บอกกล่าว แสดงความคิดเห็น ต่อประชาชน โดยการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

5. ตามวันเวลาเกิดเหตุ พริษฐ์กับผู้ร่วมกิจกรรมชุมนุมหลายคนได้ร่วมกันใช้กําลังทําร้ายเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนที่ยืนอยู่หลังแนวแผงเหล็กกั้นด้านหลังเวที ป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกมากีดขวางช่องทางจราจร โดยได้มีการยกแผงเหล็กลอยขึ้นสูง ทําให้ขาแผงเหล็กกระแทกถูกร่างกายตํารวจควบคุมฝูงชน 5 นาย ได้รับบาดเจ็บเป็นแผลถลอกและฟกช้ำ

6. ทศพร สินสมบุญ ยังได้นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยโพสต์ภาพการถือป้ายกระดาษข้อความปะปนอยู่ในกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ซึ่งเป็นกลุ่มเปิดสาธารณะ

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1668/2564 ลงวันที่ 15 ก.ค. 2564)

ความคืบหน้าของคดี

  • หลังติดตามจับกุมอานนท์ นำภา ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1176/2563 ลงวันที่ 6 ส.ค. 2563 โดยไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวไป สน.สำราญราษฎร์ เพื่อจัดทำบันทึกการจับกุม โดยมีทนายความติดตามไปด้วย ก่อนที่เวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวอานนท์ไปแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนที่ สน.บางเขน โดยแจ้งข้อกล่าวหารวม 8 ข้อหา ได้แก่

    1. ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2)(3)
    2. ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคสาม
    3. ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย ชุมนุม ทำกิจกรรม อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามความในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
    4. ดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นเหตุให้โรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6)
    5. ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385
    6. ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 114
    7. ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ มาตรา 4
    8. ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใด ๆ บนถนน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19

    อานนท์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นพนักงานสอบสวนได้รีบนำตัวอานนท์ออกจาก สน.บางเขน ทันที เพื่อไปยื่นขออำนาจศาลอาญา รัชดาภิเษกในการฝากขัง

    ขณะเดียวกัน หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมตัวภาณุพงศ์ จาดนอก ก็ควบคุมตัวถึง สน.สำราญราษฎร์ ทำบันทึกการจับกุม และแจ้งข้อกล่าวหากับภาณุพงศ์รวม 8 ข้อหา เช่นกัน โดยไม่รอให้ทนายความที่ไว้วางใจมาถึงและเข้าร่วมกระบวนการ โดยภานุพงศ์ไม่เซ็นบันทึกการจับกุมและบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ ก่อนพนักงานสอบสวนจะเร่งรีบนำตัวเขาไปขออำนาจศาลอาญาในการฝากขัง โดยถึงศาลอาญาในเวลาประมาณ 18.00 น.

    ที่ศาลอาญา พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังอานนท์และภานุพงศ์เป็นระยะเวลา 12 วัน โดยอ้างเรื่องการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ ต้องสอบพยานเพิ่มอีก 6 ปาก และรอผลตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา ทั้งยังขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาทั้งสองคน ระบุเหตุผลว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะไปชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

    ขณะที่ผู้ต้องหาทั้งสองคนก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยยืนยันว่าผู้ต้องหาทั้งสองคนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี และคดีไม่มีความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาเอาไว้ ทั้งยังยืนยันว่าคดีนี้เกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ พร้อมกับยื่นคำร้องในการประกันตัวเตรียมไว้หากศาลอนุญาตให้ฝากขัง

    อานนท์ นำภา ยังได้แถลงขอให้ศาลไต่สวนคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน โดยเห็นว่ากระบวนการฝากขังเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกิดขึ้นนอกเวลาราชการ คือหลังเวลา 16.00 น. ทั้งยังเห็นว่าไม่ควรนำกระบวนการยุติธรรมมาใช้จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

    ต่อมาเวลา 20.35 น. อานนท์และภาณุพงศ์ได้ตัดสินใจยื่นขอถอนคำร้องขอประกันตัว ทำให้หากศาลอนุญาตให้ฝากขัง ทั้งสองคนจะถูกนำตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งสองคนยังเขียนข้อความแสดงจุดยืนในการไม่ขอประกันตัว

    เวลาประมาณ 21.30 น. นายสุรจิตร เปลี่ยนขำ รองอธิบดีศาลอาญาได้มาเป็นผู้ไต่สวนคำร้องขอฝากขังด้วยตนเอง ร่วมกับผู้พิพากษาเวร หลังพนักงานสอบสวนให้การตามคำร้องขอฝากขัง ทนายความผู้ต้องหาได้ถามค้านว่าคำร้องขอฝากขังที่อ้างว่ามีเหตุในการฝากขังคือ รอสอบพยานเพิ่มอีก 6 ปาก, รอผลพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากรนั้นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา อีกทั้งพนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมหลักฐานซึ่งเป็นคลิปการปราศรัยได้อยู่แล้ว โดยผู้ต้องหาไม่สามารถยุ่งเหยิงพยานหลักฐานดังกล่าวได้ และการออกหมายจับโดยไม่มีการออกหมายเรียกก่อนทั้งที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในคดีอื่นของ สน.สำราญราษฎร์ ที่ผู้ต้องหาเป็นจำเลยอยู่นั้น ก็มีการออกหมายเรียกก่อน และผู้ต้องหาก็ให้ความร่วมมือตามกระบวนการไม่เคยหลบหนี จึงไม่มีความจำเป็นต้องออกหมายจับในคดีนี้

    พนักงานสอบสวนตอบว่า เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูงเกิน 3 ปี จึงสามารถออกหมายจับตามกฎหมายได้อยู่แล้ว

    ทนายความถามอีกว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลหลังเวลาราชการ ทราบหรือไม่ว่าศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษายกคำร้องฝากขังแล้ว

    ทนายความผู้ต้องหาถามพนักงานสอบสวนว่า เสรีภาพในการชุมนุมได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนสามารถชุมนุมได้ใช่หรือไม่ แต่ศาลแย้งว่า ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับประเด็นไต่สวนฝากขัง จึงไม่บันทึกให้ แต่ทนายแถลงว่าเป็นประเด็นโดยตรงที่ผู้ต้องหาถูกออกหมายจับและนำตัวมาฝากขังและยืนยันให้ศาลบันทึก

    เวลาประมาณ 21.50 น. ศาลอ่านคำสั่ง มีใจความว่าพิเคราะห์แล้วได้ความจากพนักงานสอบสวน ตอบทนายผู้ต้องหาถามค้านได้ความว่า นำตัวผู้ต้องหามาฝากขังหลังเวลา 16.00 น. จึงมีคำสั่งให้คืนคำร้องขอฝากขัง ให้ผู้ร้องรับตัวผู้ต้องหาคืน และยื่นคำร้องขอฝากขังภายใน 48 ชั่วโมงตามกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม หลังศาลออกจากห้องพิจารณาไปแล้ว อานนท์และภาณุพงศ์ยังนั่งอยู่ในห้องพิจารณา ยืนยันว่าจะไม่ไปสถานีตำรวจ เนื่องจากตำรวจหมดอำนาจควบคุมตัวแล้ว แต่ทางตำรวจเห็นว่ายังมีอำนาจควบคุมตัวอยู่ ทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องคำสั่งของศาลระหว่างพนักงานสอบสวน ทนายความ และผู้ต้องหา

    เวลา 23.10 น. ทนายผู้ต้องหาแจ้งว่ารองอธิบดีศาลอาญาได้ลงมาชี้แจงว่าตำรวจยังมีอำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองคนอยู่ แต่ศาลจะไม่ออกหมายขัง

    เวลา 23.20 น. ที่ใต้ถุนศาลอาญา ตำรวจไม่น้อยกว่า 30 นาย ตั้งแถวเพื่อรอรับตัวทั้งสองคนไปขังที่สถานีตำรวจ โดยมีรายงานว่าจะนำตัวไปควบคุมที่สน.ห้วยขวาง

    แต่เวลา 23.30 น. เมื่ออานนท์และภานุพงศ์ถูกนำตัวลงมาถึงใต้ถุนศาล ทั้งสองคนไม่ยินยอมให้ตำรวจพาไปขังที่สถานีตำรวจ เนื่องจากเห็นว่าตำรวจไม่มีอำนาจควบคุมตัวแล้ว จึงยืนเฉยๆ และกล่าวกับตำรวจว่า “ถ้าคิดว่ามีอำนาจจับก็จับไป” แต่ตำรวจพยายามผายมือเชิญ ไม่จับ ขณะที่ประชาชนที่มาให้กำลังใจบริเวณดังกล่าวตะโกนร้องว่า “ข้าราชการ ต้องรับใช้ ประชาชน” หลังพูดคุยกันครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงหิ้วตัวทั้งอานนท์​และภาณุพงศ์​​ ขึ้นรถตู้ตำรวจออกจากศาลอาญา ขณะประชาชนตะโกน​ “หยุดอุ้มประชาชน” ตามหลัง

    เวลา 23.50 น. ตำรวจควบคุมตัวอานนท์และภาณุพงศ์ถึง สน.ห้วยขวาง โดยมีกลุ่มประชาชนทยอยเดินทางติดตามไปที่หน้าสถานีตำรวจ บางส่วนเดินทางมาจากหน้า สน.บางเขน พร้อมกับมีการปราศรัยเรียกร้องให้ปล่อยตัวทั้งสองคนในช่วงกลางดึกของคืนนั้น และมีประชาชนบางส่วนนอนเฝ้าอยู่หน้า สน. จนถึงรุ่งเช้าด้วย

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 7 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/20236)
  • 8.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวอานนท์และภานุพงศ์ออกจาก สน.ห้วยขวาง ไปยังศาลอาญา รัชดาภิเษก เพื่อยื่นขอฝากขังใหม่อีกครั้ง บริเวณบันไดหน้าทางขึ้นศาล เจ้าหน้าที่ศาลมีการตั้งแผงรั้วเหล็กกั้นทางขึ้น โดยไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าไปภายในพื้นที่ศาล ทั้งมีการตรวจสอบรถที่จะเข้าออกอย่างเข้มงวด โดยตำรวจระบุว่าเป็นคำสั่งของศาล หากไม่มีธุระในบริเวณศาล ก็จะไม่อนุญาตให้เข้า นอกจากนั้นยังมีการปิดรั้วบริเวณด้านหลังศาล ไม่ให้เข้าไปในบริเวณที่เจ้าหน้าที่นำตัวผู้ต้องหาเข้าออก รวมทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบมากกว่า 50 นาย อยู่รอบศาล และเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบกว่า 10 นาย อยู่บริเวณใต้ถุนศาล

    ในช่วงเช้านี้ มีประชาชนทยอยเดินทางมาราว 80-100 คน เพื่อให้กำลังใจนักกิจกรรมทั้งสองคน นำโดย “เพนกวิน” นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ โดยทั้งหมดได้เข้าไปนั่งรออยู่บริเวณหน้ารั้วเหล็กที่กั้นบันไดทางขึ้นศาล โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ศาลคอยตรึงกำลังไว้ไม่ต่ำกว่า 30 นาย และยังมีเจ้าหน้าที่คอยบันทึกภาพและวิดีโอเอาไว้ รวมทั้งมีการนำป้ายข้อกำหนดศาลเรื่องการละเมิดอำนาจศาลมาตั้งบริเวณบันไดศาลอีกด้วย

    เวลาราว 10.20 น. พริษฐ์ได้พยายามเจรจากับเจ้าหน้าที่ขอเข้าไปในศาล เพื่อร่วมสังเกตการณ์คดี หลังมีกระแสข่าวลือว่าอาจมีการนำตัวอานนท์และภานุพงศ์ไปควบคุมที่เรือนจำชั่วคราวแขวงทุ่งสองห้อง (เดิมคือเรือนจำชั่วคราวแขวงนครไชยศรี ซึ่งใช้คุมขังผู้ต้องขังคดีความมั่นคง) หลังการเรียกร้องกว่า 20 นาที เจ้าหน้าที่ศาลจึงยินยอมให้ส่งตัวแทนประชาชน 2 คนเข้าไปในศาลได้ ขณะเดียวกันยังมีการนำกำลังตำรวจชุดควบคุมฝูงชนประมาณ 1 กองร้อย เข้ามาเสริมบริเวณด้านหลังศาลอีกด้วย

    ในส่วนกระบวนการขอฝากขัง พ.ต.อ.หญิงจิตติมา ธงไชย พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังเป็นเวลา 12 วัน เช่นเดียวกับเมื่อวานนี้ โดยอ้างเหตุเรื่องการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องรอสอบพยานเพิ่มอีก 6 ปาก รอผลพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร แต่คำร้องในวันนี้พนักงานสอบสวนไม่คัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาเหมือนกับเมื่อวานนี้ แต่ได้ขอให้ศาลกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้ต้องหามีพฤติการณ์จะไปชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอีก

    ขณะที่ทนายความผู้ต้องหาทั้งสองคนได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยยืนยันว่าคดีนี้ไม่มีความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาเอาไว้ ผู้ต้องหาทั้งสองคนถูกสอบสวนเสร็จแล้ว มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี ไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ คดียังเกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ ทั้งการอ้างเหตุของพนักงานสอบสวนว่าเกรงผู้ต้องหาจะไปทำกิจกรรมหรือชุมนุมต่อไปในอนาคต เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าเอา และยังเป็นการมุ่งแทรกแซงยับยั้งการใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง ในส่วนของนายอานนท์ หากถูกฝากขัง ยังจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ทนายความซึ่งมีนัดหมายคดีอยู่อีกด้วย

    ขณะเดียวกัน อานนท์ นำภา ยังได้เขียนคำร้องคัดค้านฝากขังเพิ่มเติมใน 4 ประเด็นด้วยว่า
    1. คดีนี้ไม่มีเหตุผลออกหมายขัง-ควบคุมตัวผู้ต้องหา
    2. พนักงานสอบสวนได้เคยยื่นคำร้องขอฝากขังแล้วเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2563 การฝากขังโดยหมายจับฉบับเดียวกัน 2 ครั้ง เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
    3. ยืนยันว่าการชุมนุมทางการเมืองเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
    4. การฝากขังครั้งนี้ ยังเป็นการจงใจใช้ศาลเป็นเครื่องมือเพื่อสกัดการใช้เสรีภาพในการชุมนุม มีการดึงเวลาให้ฝากขังในยามวิกาล ตั้งข้อหาเกินจริง กระบวนการยุติธรรมเช่นนี้ย่อมนำความเสื่อมเสีย และความเสื่อมศรัทธามาสู่กระบวนการยุติธรรม

    ในการไต่สวนคำร้อง แยกพิจารณาสำนวนคดีของอานนท์และภานุพงศ์ออกจากกัน โดยไต่สวนพยานสำนวนคดีละ 1 ปาก แล้วเสร็จในเวลาประมาณ 11.55 น. โดยศาลนัดฟังคำสั่งต่อไปในเวลา 13.30 น.

    แต่หลังผ่านไปกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง เวลา 15.25 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังอานนท์และภานุพงศ์ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ป.วิอาญา มาตรา 78 ได้วางหลักเกณฑ์การควบคุมตัวไว้เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหาวันที่ 7 ส.ค. 2563 เวลา 16.00 น. ต่อมานำตัวผู้ต้องหาและคำร้องมายื่นต่อศาลอาญาในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.45 น. ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอฝากขังพ้นกำหนดเวลาราชการ จึงมีคำสั่งคืนคำร้อง และให้รับตัวผู้ต้องหาคืน และให้ยื่นคำร้องภายใน 48 ชั่วโมง ตามกฎหมาย

    วันนี้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องมายื่นคำร้องขอฝากขังเวลา 8.52 น. ยังอยู่ในระยะเวลาที่พนักงานสอบสวนสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ตามป.วิอาญา มาตรา 87 วรรคสาม จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ส่วนที่จำเลยคัดค้านว่าผู้ต้องหามีถิ่นที่อยู่และประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ซึ่งมีข้อหาอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี ซึ่งตามกฎหมายเมื่อเป็นกรณีที่ผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และมีเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวน พนักงานสอบสวนชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายขังได้

    พนักงานสอบสวนอ้างเหตุขออนุญาตฝากขังว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 ปาก และรอผลการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ และผลการตรวจประวัติการต้องโทษ ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจขอสอบสวนพยานดังกล่าวได้ เมื่อเป็นการร้องฝากขังครั้งที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนมีเวลาสอบสวนเพียง 48 ชั่วโมง กรณีจึงมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนต่อไป ส่วนข้อคัดค้านอื่นไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา

    จากนั้น ทางทนายความได้ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาทั้งสองคน โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของสมาชิกพรรคก้าวไกล 2 คน ได้แก่ นายคารม พลพรกลาง และนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล เป็นนายประกัน

    จนเวลา 16.35 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวอานนท์และภานุพงศ์ กำหนดวงเงินคนละ 100,000 บาท โดยยังไม่ต้องวางหลักประกันในวันนี้ เมื่อผิดสัญญา จึงจะบังคับเอาหลักประกัน ศาลยังกำหนดเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีก มิฉะนั้นจะให้ถือว่าผิดสัญญาประกัน

    เวลา 16.50 น. ทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัว และได้เดินทางมาพบประชาชนที่มาให้กำลังใจด้านหน้าศาลอาญา พร้อมกับให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว

    (อ้างอิง: คำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 และคำร้องคัดค้านคำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 8 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20236)
  • อานนท์และภาณุพงศ์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไข โดยขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเงื่อนไขดังกล่าว คำอุทธรณ์ระบุเหตุผลว่า หลักสิทธิมนุษยชนได้กำหนดหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไว้ว่า “บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดยเปิดเผยและผู้นั้นได้รับหลักฐานทั้งหลายที่จำเป็นในการต่อสู้คดี” ดังปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อ 11 ดังนั้นการใช้คำสั่งของศาลซึ่งกำหนดเงื่อนไข “ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีกมิฉะนั้นถือว่าผิดสัญญาประกัน” จึงเป็นคำสั่งที่สั่งให้ผู้ต้องหาปฏิบัติเสมือนผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว

    คำอุทธรณ์ได้ยกตัวอย่างคดีหมายเลขดำที่ อ.2893/2561 หรือคดีการชุมนุมของแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนิน เมื่อปี 2561 ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐกล่าวหาว่าประชาชนกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยุยงปลุกปั่นมาโดยตลอด ปัจจุบันคดีได้ถึงที่สุดแล้วและศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยตัดสินว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบและผู้ชุมนุมมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย คดีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความสำคัญของหลัก “บริสุทธิ์จนกว่าจะผิด” ว่ายังคงเป็นหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ไม่ควรถูกมองข้ามหรือบิดเบือน

    “การที่ศาลสั่งว่า ‘ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก’ ย่อมเป็นการปฏิบัติเสมือนผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว และย่อมไม่มีการชุมนุมใดๆ เกิดขึ้นตามมา แม้คดีความยังไม่ถึงที่สุด” ภาวิณีกล่าว

    นอกจากนี้ในคำอุทธรณ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า หากการ “เพิกถอนการประกันตัวอย่างมีเงื่อนไข” ทำได้และกลายเป็นมาตรฐานใหม่ อาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อกล่าวหาปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนได้โดยง่าย เพราะอาจเข้าลักษณะ “ชงเอง-ตบเอง” หรือการผูกพันเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะกล่าวหาประชาชนหรือไม่เท่านั้น กระทั่งอาจส่งผลให้เกิดความบิดเบี้ยวต่อวิธีพิจารณาความทางอาญาโดยรวม

    “คำกล่าวหาก็เป็นเพียงคำกล่าวหาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นซึ่งสามารถทำได้โดยง่าย และอาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งข้อกล่าวหาเพื่อปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนได้โดยง่าย อาทิเช่น หากประชาชนได้จัดการชุมนุมโดยชอบตามกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวหาว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย เช่นนี้ก็อาจจะถือว่าผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นการผูกพันเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะกล่าวหาประชาชนหรือไม่เท่านั้น อันถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สัดส่วนเกินจำเป็น และเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร ไม่ชอบด้วยมาตรา 112 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

    ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของอานนท์และไมค์ ให้เหตุผลว่า เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไข ศาลอาญา ลงวันที่ 10 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=21041)
  • พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวอานนท์ และภาณุพงศ์ โดยอ้างการเข้าร่วมชุมนุม การกล่าวปราศรัย และการโพสต์ให้ไปร่วมกิจกรรมในวันที่ 9 และ 10 ส.ค. 2563 ที่เชียงใหม่ และการชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และอ้างรายงานการสืบสวนของตำรวจภูธรภาค 5 และตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี ว่าการกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนคำสั่งของศาลอาญา ศาลได้พิจารณารับคำร้องไว้และกำหนดวันไต่สวนในช่วงเช้าของวันที่ 3 ก.ย. 2563

    อานนท์ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่าสิ่งที่เขาทำไม่ขัดต่อสัญญาการประกันตัว แต่เป็นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองที่ถูกรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ไม่ก่อความวุ่นวายตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 อีกทั้งยังไม่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลว่าสิ่งที่เขาถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นความจริงแต่อย่างใด

    “เงื่อนไขของศาลบอกว่าห้ามเราทำผิดกฎหมาย ซึ่งเราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย การชุมนุมทุกครั้งสามารถทำได้ สิ่งที่เราทำเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เป็นการนัดหมายที่จะให้ความรู้-ข้อเท็จจริงต่อประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และศาลเองพูดนอกรอบด้วยว่าศาลไม่ได้ห้ามชุมนุมแต่อย่าทำผิดกฎหมายนะ เราก็ไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไร”

    “การประกันตัวโดยมีเงื่อนไขว่า ‘ไม่ให้ทำตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก’ ไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่ใช้กับทุกคดี และเป็นการสั่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนใหญ่เจอในคดีที่ขึ้นศาลทหาร ศาลยุติธรรมปกติไม่เจอ นี่ไม่ใช่เรื่องปกติ” ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าว โดยอ้างอิงถึงกรณีศาลจังหวัดธัญบุรี ซึ่งมีอนุญาตให้ อานนท์-ไมค์ ได้รับการประกันตัว เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 สืบเนื่องจากการปราศรัยเวที #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

    ในระบบยุติธรรมที่รับรองหลักการ “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด” ซึ่งเป็นระบบยุติธรรมที่ไทยใช้อยู่ในขณะนี้ด้วยนั้น การประกันตัวโดยมีเงื่อนไขไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาทำความผิดแล้วป้องปรามไม่ให้ทำอีก ดังที่หลายคนอาจกำลังเข้าใจเช่นนั้น สาวตรี สุขศรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ในงานเสวนาหัวข้อ “เมื่อสิทธิการประกันตัวหายไป” ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2560 ว่าการประกันตัวแบบมีเงื่อนไขเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในต่างประเทศโดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในระบบกระบวนการยุติธรรม สำหรับให้ผู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ได้มีโอกาสได้รับการประกันตัวเช่นเดียวกับผู้มีหลักทรัพย์ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันแต่มีเงื่อนไขให้แทน แต่สำหรับประเทศไทยนั้นกลับต่างออกไป

    ภาวิณีตั้งข้อสังเกตกับการประกันตัวโดยมีเงื่อนไขว่า “ไม่ให้ทำตามที่ถูกกล่าวหาในลักษณะนี้อีก” ของ #เยาวชนปลดแอก ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่มีลักษณะการป้องปรามการใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกที่คืบไปอีกขั้น แม้เทียบเคียงกับกรณีของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” คดีแชร์ข่าวบีบีซีไทย เมื่อปี 2559 ที่ศาลเคยตัดสินให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไขเช่นกัน แต่ยังไม่สะท้อนการป้องปรามการใช้เสรีภาพมากเท่า

    “คดีของ ไผ่ จตุภัทร์ ไม่ได้ระบุเงื่อนไขการถอนประกันที่มีลักษณะป้องปราม เท่าคดีของ #เยาวชนปลดแอก ในเงื่อนไขคดีแชร์ข่าวบีบีซีไทยของไผ่ระบุแค่ว่า ‘ไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ’ แต่เงื่อนไขประกันตัวของ #เยาวชนปลดแอก ระบุลงไปอีกว่า ‘ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้’” ภาวิณีกล่าว

    หากการ “เพิกถอนการประกันตัวอย่างมีเงื่อนไข” ทำได้และกลายเป็นมาตรฐานใหม่ อาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อกล่าวหาปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนได้โดยง่าย

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 13 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=21041)
  • หลังพริษฐ์ ชิวารักษ์ ถูกชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถเข้าจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1172/2563 ลงวันที่ 6 ส.ค. 2563 นำตัวไปทำบันทึกการจับกุมที่ สน.ปากเกร็ด จากนั้นเวลา 18.30 น. เจ้าหน้าที่นำตัวพริษฐ์มาถึง สน.สำราญราษฎร์ โดยมีมารดาติดตามมาที่สถานีตำรวจด้วย หลังทนายความเดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เริ่มอ่านบันทึกการจับกุม โดยมีการถ่ายวีดิโอเอาไว้ตลอด และยังแจ้งว่าจะย้ายตัวผู้ต้องหาไปแจ้งข้อกล่าวหาที่ สน.ตลิ่งชัน โดยอ้างว่าทางตำรวจจาก สน.ตลิ่งชัน เป็นชุดคณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ แต่พริษฐ์และทนายความยืนยันที่จะให้แจ้งข้อหาที่ สน.สำราญราษฎร์ ซึ่งเป็นสถานีตำรวจที่มีอำนาจดูแลสถานที่เกิดเหตุอยู่แล้ว

    ขณะเดียวกัน ด้านหน้าสถานีตำรวจได้มีประชาชนและนักกิจกรรมกว่า 100 คน ทยอยเดินทางมาให้กำลังใจและเรียกร้องให้ปล่อยตัวพริษฐ์ ท่ามกลางสายฝน

    ต่อมามีรายงานประมาณ 19.00 น. ว่าได้มีชายนอกเครื่องแบบ ระบุตนเป็นตำรวจ 2 นาย เดินเข้ามาแจ้งกับเพื่อนของพริษฐ์ ว่าพริษฐ์อยากจะได้โทรศัพท์มือถือ โดยจะพาเข้านำไปให้ทางด้านหลัง สน. แต่เพื่อนของพริษฐ์ยืนยันจะเข้าด้านหน้าเท่านั้น เจ้าหน้าที่จึงเดินจากไป ต่อมาเมื่อตรวจสอบกับพริษฐ์ เขายืนยันว่าไม่ได้แจ้งขอโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

    เวลา 19.45 น. ประชาชนได้เข้าเจรจากับตำรวจ เรียกร้องขอเข้าไปรอให้กำลังใจพริษฐ์บริเวณพื้นที่ภายในสถานีตำรวจ และอยากขอใช้ห้องน้ำ รวมทั้งมีกระแสไม่พอใจที่มีข่าวว่าจะนำตัวพริษฐ์ไปสอบสวนที่ สน.ตลิ่งชัน ประชาชนบางส่วนจึงได้ยกแผงรั้วที่เจ้าหน้าที่นำมาตั้งออก แล้วเข้าไปอยู่ในบริเวณหน้าสถานีตำรวจ

    นอกจากนั้น พริษฐ์ยังได้ฝากข้อความเผยแพร่กับประชาชน โดยยืนยันปฏิเสธกระบวนการอันไม่เป็นธรรมในวันนี้ และยืนยันข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ที่มีการเสนอในเวที “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

    เวลา 20.15 น. พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ชี้แจงกับประชาชนที่รวมตัวกันว่าคดีนี้เป็นอำนาจการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตั้งขึ้น และจะไม่นำตัวไปที่สน.ตลิ่งชัน แต่ภายหลังการสอบสวน จะนำตัวไปฝากขังที่ศาลอาญาต่อไป

    เวลา 19.40 น. พนักงานสอบสวนได้อ่านบันทึกจับกุมเสร็จสิ้น โดยพริษฐ์ปฏิเสธจะพิมพ์ลายนิ้วมือและลงลายมือชื่อ ทางได้ตำรวจได้ให้แพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจมาตรวจร่างกายพริษฐ์ด้วย

    ต่อมา พ.ต.ท.ภาสกร สมุทรคีรี รองผู้กำกับสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหากับพริษฐ์ ทั้งหมด 10 ข้อกล่าวหา โดย 8 ข้อกล่าวหาเป็นข้อหาเดียวกันกับอานนท์และภาณุพงศ์ ตำรวจยังแจ้งข้อหาพริษฐ์เพิ่มเติมอีก 2 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ข้อกล่าวหาสุดท้ายมาจากการที่พริษฐ์ปฏิเสธจะพิมพ์ลายนิ้วมือในคดีนี้ พริษฐ์ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกการแจ้งข้อหาอีกด้วย

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 14 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20395)
  • เวลาประมาณ 8.20 น. พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้นำตัวพริษฐ์เดินทางมายื่นคำร้องขอฝากขังที่ศาลอาญา โดยพบว่าที่บริเวณศาลอาญามีการปิดกั้นประตูทางเข้าโดยรอบเหลือเพียงทางเข้าเดียว และมีการวางกำลังตำรวจในเครื่องแบบอย่างเข้มงวด ซึ่งบริเวณทางเข้าทางเดียวที่เหลืออยู่ได้มีตำรวจคอยตรวจตราและได้แจ้งกับทนายความและผู้สังเกตการณ์ว่าห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า ห้ามพกกล้องถ่ายรูป, โทรศัพท์มือถือ หรือทำการไลฟ์สด อีกทั้งในบริเวณรั้วศาลมีการวางแผงเหล็กกั้นอีกชั้นหนึ่ง พร้อมตั้งโต๊ะตรวจบัตรประชาชนเพื่อลงทะเบียนผู้ที่เข้าไปภายในศาลวันนี้ พร้อมวางกำลังตำรวจไม่น้อยกว่า 1 กองร้อยไว้ทั่วบริเวณศาล

    โดยผู้สังเกตการณ์เห็นว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไม่น้อยกว่า 40 นาย กระจายตัวอยู่ภายในบริเวณรั้วศาล โดยที่ประชาชนที่มาให้กำลังใจนายพริษฐ์ต้องรออยู่บริเวณฟุตบาทด้านนอกรั้วหน้าศาลอาญา

    คำร้องขอฝากขัง โดยระบุเหตุจำเป็นที่จะต้องฝากขังพริษฐ์ว่า เนื่องจากอำนาจควบคุมตัว 48 ชั่วโมงของพนักงานสอบสวนจะครบกำหนดในวันที่ 16 ส.ค. 2563 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ แต่การสอบสวนของพนักงานสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ ยังต้องทำการสอบสวนพยานอีกจำนวน 15 ปาก และรอผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหามาประกอบสำนวนการสอบสวน จึงมีเหตุต้องขอฝากขังผู้ต้องหามีกำหนด 12 วัน ระหว่างวันที่ 15 – 26 ส.ค. 2563 พนักงานสอบสวนยังคัดค้านการปล่อยตัวพริษฐ์ชั่วคราวพริษฐ์มาในท้ายคำร้องขอฝากขัง ระบุเหตุผลว่า เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนีและก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง

    อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากพริษฐ์มีอาการป่วย

    ด้านพริษฐ์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังของพนักงานสอบสวน มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

    การที่พนักงานสอบสวนไม่สามารถสรุปสำนวนคดีภายในเวลา 48 ชั่วโมง ส่งให้กับอัยการได้นั้นไม่ใช่เหตุที่จะคุมขังผู้ต้องหาไว้ได้ ทั้งพยานที่พนักงานสอบสวนยังต้องสอบสวน ผู้ต้องหาก็ไม่ทราบว่าคือผู้ใด และการตรวจสอบประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหาก็เป็นการดำเนินการภายในของพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาจึงไม่อาจไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานใดๆ ได้อีก การปล่อยตัวผู้ต้องหาจึงไม่เป็นอุปสรรคและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน อีกทั้งผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน และพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหาเสร็จแล้ว การสอบสวนคดีในส่วนที่เหลือและการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ล้วนเป็นกระบวนการภายในของพนักงานสอบสวน

    ทั้งนี้ ผู้ต้องหาขอยืนยันเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงอย่างเสรีของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย สะท้อนวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย การแสดงเจตจำนงต่อรัฐบาลเป็นหนึ่งในกลไกการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินได้ในระดับหนึ่ง ท้ายคำร้องยังระบุว่า การที่พนักงานสอบสวนนําตัวผู้ต้องหามาฝากขังโดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปร่วมกิจกรรมอื่นใดในอนาคต ก็เป็นไปเพื่อให้เข้าเหตุตามกฎหมายว่า “จะไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น” เท่านั้น ซึ่งเป็นการหยิบยกอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในเชิงคดีของพนักงานสอบสวนผู้ร้องเท่านั้น และเป็นการกระทําที่มุ่งจะแทรกแซงยับยั้งการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ศาลยกคำร้องของพนักงานสอบสวนและปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ ผู้ต้องหาได้ขอให้ศาลเรียกพนักงานสอบสวนมาชี้แจงเหตุจำเป็นและพยานหลักฐานในการขอออกหมายขังผู้ต้องหาด้วย

    ต่อมาเวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้เริ่มไต่สวนคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ โดยมีพยานเข้าเบิกความจำนวน 2 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ทรงไชย พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ และ พ.ต.อ.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล 2 คณะพนักงานสอบสวนในคดีนี้ โดยทั้งสองได้เบิกความยืนยันเหตุที่ต้องฝากขังตามคำร้องฝากขังที่ได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว การไต่สวนและถามค้านของทนายความผู้ต้องหาดำเนินไปจนถึงเวลาประมาณ 12.00 น.จึงเสร็จสิ้น

    จากนั้นเวลา 13.12 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอ ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวระหว่างการสอบสวน โดยใช้ตำแหน่งของ ผศ.ดร. อดิศร จันทรสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักประกัน

    เวลา 14.39 น. ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัวพริษฐ์โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่กำหนดเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน และหากผิดสัญญาประกันจะปรับเป็นเงิน 1 แสนบาท

    ช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการนำตัวพริษฐ์ไปยื่นคำร้องขอฝากขังที่ศาล ในเวลาประมาณ 10.10 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจราว 5 นายและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไม่ทราบสังกัดราว 20 นาย ได้นำหมายค้นของศาลอาญา เข้าค้นบ้านพักของพริษฐ์ ใกล้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยมีเพื่อนของพริษฐ์และทนายความเป็นพยานในการตรวจค้นด้วย หลังการตรวจค้นราว 30 นาทีเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่พบสิ่งผิดกฎหมายหรือสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีตามหมายค้น หรือสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามกฎหมายอื่น ก่อนจัดทำบันทึกการตรวจค้นไว้เป็นหลักฐาน พร้อมกับให้เพื่อนของพริษฐ์และทนายความลงชื่อไว้เป็นพยาน

    (อ้างอิง: คำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 และคำร้องคัดค้านคำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 15 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20420)
  • หลังบารมี ชัยรัตน์ ถูกจับกุมบริเวณหน้าวัดบวรนิเวศ ตำรวจได้ควบคุมตัวเขาไปยัง สน.สำราญราษฎร์ เพื่อทำบันทึกการจับกุม จากนั้น จึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่บารมี ชัยรัตน์ ใน 8 ข้อหา เช่นเดียวกับคนอื่น ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2)(3), 215 วรรคสาม, 385, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ.จราจรฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ บารมีให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และยื่นคำร้องขอประกันตัวที่เขียนด้วยตัวเอง ต่อผู้กำกับ สน.สำราญราษฎร์ โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 19 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20540)
  • 01.52 น. พนักงานสอบสวนทำบันทึกจับกุมและและแจ้งข้อกล่าวหา สุวรรณา ตาลเหล็ก และกรกช แสงเย็นทรัพย์ ใน 8 ข้อหาเช่นเดียวกันกับบารมี หลังแสดงหมายจับที่หน้า สน.สำราญราษฎร์ ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ โดยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 7 ก.ย. 2563

    เวลา 02.17 น. พ.ต.อ.อิทธิพล พงษ์ธร ผกก.สน.สำราญราษฎร์ มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวบารมี ชัยรัตน์ เนื่องจากเกรงว่าจะเสียรูปคดี อาจมีการหลบหนี ยุ่งเหยิงกับหลักฐาน เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน ต่อมา พนักงานสอบสวนทำบันทึกจับกุมและและแจ้งข้อกล่าวหา กรกช แสงเย็นพันธ์ ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ และไม่ลงชื่อในบันทึกคำให้การ

    03.51 น. ผกก.สน.สำราญราษฎร์ ไม่อนุญาตให้ประกันตัวสุวรรณาและกรกช เช่นกัน หลังจากทั้งสองยื่นประกันตัวโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ทำให้บารมี, สุวรรณา และกรกช ถูกควบคุมตัวในห้องขัง 1 คืน จากนั้น ในตอนเช้าพนักงานสอบสวนนำตัวไปศาลอาญาเพื่อขอฝากขัง

    ขณะเดียวกัน ตำรวจยังได้เข้าจับกุมตัวเดชาธร บำรุงเมือง, ทศพร สินสมบุญ, ธานี สะสม, ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์ และธนายุทธ ณ อยุธยา ตามหมายจับของศาลอาญา นำตัวไปที่ สน.สำราญราษฏร์ ก่อนทำบันทึกจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกจับกุมทั้ง 5 ราย พร้อมให้แพทย์ตรวจร่างกาย เตรียมนำตัวส่งศาลอาญาเพื่อขอฝากขัง โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบกว่า 10 นาย ตรึงกำลังอยู่ด้านล่าง สน.สำราญราษฎร์

    ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้ข้อกล่าวหาเดชาธร, ธานี, ณัฐวุฒิ และธนายุทธ รวม 8 ข้อหา เช่นเดียวกับคนอื่นที่ถูกจับก่อนหน้านี้ คือ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2)(3), 215 วรรคสาม, 385, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ.จราจรฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ แต่กรณีของธนายุทธ ในส่วนข้อหาตามมาตรา 215 ไม่ได้ระบุว่าเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการให้มั่วสุม คือเป็นมาตรา 215 วรรคแรก ส่วนทศพร พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหารวม 6 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2)(3), 215 วรรคแรก, 385, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3)

    เวลา 15.05 น. ผู้ร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอก 5 คน ได้ถูกนำตัวจาก สน.สำราญราษฎร์ไปถึงศาลอาญา และถูกควบคุมตัวเข้าห้องเวรชี้ซึ่งอยู่ใต้ถุนศาล เพื่อรอกระบวนการฝากขัง โดยมี ส.ส.พรรคก้าวไกล, ส.ส.พรรคเพื่อไทย และกลุ่มนักวิชาการ เดินทางมารอให้กำลังใจและเสนอให้ใช้ตำแหน่งยื่นประกันตัวได้ ทั้งนี้ ท้ายคำร้องขอฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่ได้คัดค้านการปล่อยชั่วคราว และให้ศาลกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวแต่อย่างใด

    16.45 น. ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังระหว่างสอบสวนผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย โดยผู้ต้องหาทั้งหมดประสงค์จะยื่นประกันตัวโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ ก่อนที่ทนายความดำเนินการยื่นขอประกันตัวโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ แต่ใช้ตำแหน่งของ ส.ส. และนักวิชาการ

    18.14 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทัังหมด กำหนดวงเงินคนละ 100,000 บาท โดยยังไม่ต้องวางหลักประกันในวันนี้ เมื่อผิดสัญญา จึงจะบังคับเอาหลักประกัน ศาลยังกำหนดเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีก มิฉะนั้นจะให้ถือว่าผิดสัญญาประกัน ศาลนัดทุกคนรายงานตัวอีกครั้ง วันที่ 7 ต.ค. 2563

    (อ้างอิง: บันทึกการจับกุม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 20 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20540)
  • หลังทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี และภานุมาศ สิงห์พรม ถูกจับกุมตัวย่านที่พักในจังหวัดนนทบุรี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1175/2563 และ 1186/2563 ลงวันที่ 6 ส.ค. 2563 และถูกควบคุมขึ้นรถกระบะเดินทางไป สน.สำราญราษฎร์ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 8 ข้อหา เช่นเดียวกับคนอื่นในคดีนี้ โดยทั้งสองคนให้การปฏิเสธตลอข้อกล่าวหา และขอส่งคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 10 ก.ย. 63 จากนั้น พนักงานสอบสวนได้นำตัวทั้งสองไปศาลอาญา เพื่อขออำนาจศาลฝากขัง

    ที่ศาลอาญา พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ธงไชย พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขัง ขณะที่ผู้ต้องหาทั้งสองคนก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง

    ต่อมาศาลอนุญาตให้ฝากขังตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไข โดยทัตเทพ ขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งของ ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนภานุมาศ ขอประกันโดยใช้ตำแหน่งของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล

    คำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขระบุเหตุผลว่า เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไขได้ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนนำไปเป็นเงื่อนไขในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมการสงบ ปราศจากอาวุธของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 และได้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการเพิกถอนหรือร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว อีกทั้งคดีในลักษณะเดียวกันที่เกิดจากการใช้เสรีภาพในการชุมนุม ศาลจังหวัดธัญบุรีก็ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่กำหนดเงื่อนไข ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น เพื่อจะคุ้มครองเสรีภาพและสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเพื่อการรักษาไว้ซึ่งนิติรัฐ ผู้ต้องหาขอศาลอนุญาตชั่วคราว โดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไข

    ต่อมา ประมาณ 17.50 น.ทัตเทพ และภานุมาศได้รับการปล่อยตัวจากห้องเวรชี้ ใต้ถุนศาลอาญา โดยศาลอนุญาตให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักประกัน หากผิดสัญญาประกันปรับ 100,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีที่ถูกกล่าวหานี้อีก

    (อ้างอิง: คำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 และคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 26 ส.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=20857)
  • จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้าแสดงหมายจับและจับกุมตัวย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ในขณะที่เธอกำลังจะเดินทางไปเรียนหนังสือที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และควบคุมตัวไปที่ สน. สําราญราษฎร์ ก่อนทำบันทึกจับกุม

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาจุฑา ทิพย์ ทั้ง 8 ข้อหา เช่นเดียวกับนักกิจกรรมรายอื่นที่ถูกจับก่อนหน้านี้ จุฑาทิพย์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 7 ก.ย. 2563 แทน โดยกระบวนเหล่านี้ใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ไม่ถึง 1 ชั่วโมง

    จากนั้นประมาณ 15.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวจุฑาทิพย์ไปศาลอาญา เพื่อขออำนาจศาลฝากขังเธอในชั้นสอบสวน ก่อนขึ้นรถ เธอออกมายืนต่อหน้าสื่อมวลชน บริเวณด้านล่าง สน.สำราญราษฏร์ โดยมือหนึ่งชูหนังสือ “สามัญสำนึก” อีกมือหนึ่งชูสามนิ้วพร้อมผูกโบว์สีขาวไว้ที่ข้อมือ

    15.20 น. ที่ศาลอาญา เจ้าหน้าที่นำรั้วเหล็กมากั้นตรงบริเวณก่อนทางเดินขึ้นศาลอาญา ไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าเขตบริเวณศาล โดยก่อนหน้านี้ราว 15.00 น. ยังไม่มีการกั้นรั้วแต่อย่างใด ประชาชนที่จะเดินเข้าไปในบริเวณที่กั้นไว้จะต้องบันทึกชื่อสกุล เป็นมาตรการที่เพิ่มเติมจากมาตรการปกติที่ศาลจะทำการบันทึกชื่อสกุลผู้ที่จะเข้าไปในอาคารศาล ด้วยการถ่ายภาพบัตรประชาชน

    พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ธงไชย พนักงานสอบสวน ยื่นคำร้องขอฝากขัง ขณะที่ผู้ต้องหาก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง และให้ทำการไต่สวนพนักงานสอบสวน

    คำร้องขอฝากขังระบุเหตุผลว่า คดีนี้ยังสอบสวนไม่เสร็จสิ้นเพราะต้องสอบพยานเพิ่มอีก 2 ปาก รอผลการพิมพ์ลายนิ้วมือ และผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหามาประกอบสำนวนการสอบสวน จึงมีเหตุจำเป็นต้องขอฝากขังไว้ระหว่างการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 1-12 ก.ย. 2563

    หลังจากไต่สวนพนักงานสอบสวนแล้ว ศาลอนุญาตให้ฝากขังจุฑาทิพย์ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ทนายความจึงได้ยื่นขอประกันตัว โดยขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไข โดยจุฑาทิพย์ขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งของ ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ต่อมา ประมาณ 17.20 น. จุฑาทิพย์ได้รับการปล่อยตัวจากห้องเวรชี้ ใต้ถุนศาลอาญา โดยศาลอนุญาตให้ประกันตัวโดยใช้ตำแหน่ง และยังไม่ต้องวางหลักทรัพย์เป็นวงเงิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีที่ถูกกล่าวหานี้อีก

    17.35 น. หลังจุฑาทิพย์ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เธอออกมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเทสีใส่ตัวเองหน้าป้ายศาลอาญา ข้างถนนรัชดา โดยจุฑาทิพย์ย้ำว่า “สีขาวซักออกได้ แต่ความอยุติธรรมซักออกไม่ได้” หลังจากนั้นประชาชนช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่ทำกิจกรรม

    (อ้างอิง: คำร้องฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 และคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญา ลงวันที่ 1 ก.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/?p=21015)
  • ศาลนัดไต่สวนกรณีพนักงานสอบสวน สน. สำราญราษฎร์ ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวอานนท์และภาณุพงศ์ บรรยากาศโดยรอบศาลอาญาในช่วงเช้า มีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบหลายสิบนายวางกำลังและคอยคัดกรองคนเข้าสู่อาคารศาลอย่างเข้มข้น โดยอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของศาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีผ่านไปได้เท่านั้น ประชาชนจำนวนมากที่ตั้งใจมาฟังการไต่สวน จึงผ่านจุดคัดกรองเข้าสู่อาคารไม่ได้ บางส่วนเข้าอาคารได้แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการไต่สวนในห้องพิจารณาคดี ผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าห้องซึ่งมีได้ไม่เกิน 10 คน ก็ต้องนำโทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงกระเป๋าฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าห้อง

    อานนท์และภาณุพงศ์ได้ยื่นคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของพนักงานสอบสวน โดยมีเหตุผลประการสำคัญ ได้แก่

    1. คำร้องของพนักงานสอบสวน ฉบับลงวันที่ 13 ส.ค. 2563 เป็นคำร้องที่ครอบคลุม ไม่ได้ชี้ชัดว่าพฤติการณ์ที่อ้างมาในคำร้องนั้นมีลักษณะเจาะจงอย่างไร มีองค์ประกอบใดบ้างที่จะนำมาพิจารณาว่าเข้าข่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขการประกันตัวชั่วคราว และมีลักษณะขัดกันกับเงื่อนไขที่ศาลวางไว้อย่างไร คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    2. เสรีภาพในการชุมนุม เป็นหลักการสำคัญตามที่รัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รับรอง แม้ว่าผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากพนักงานสืบสวนสอบสวนที่ตำรวจภูธรภาค 5 (กรณีร่วมชุมนุมที่เชียงใหม่ ของอานนท์) และตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี (กรณีร่วมชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ รังสิต ของอานนท์และภานุพงศ์) ทั้งสองก็ได้ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี พร้อมยืนยันว่าการชุมนุมดังกล่าวนั้นสามารถทำได้โดยชอบตามกฎหมาย คดีดังกล่าวยังยังไม่มีคำพิพากษาเด็ดขาดว่าการกระทำของทั้งสองผิดจริงหรือไม่
    3. การกำหนดเงื่อนไขในการปล่อยตัวของศาลเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถตั้งข้อกล่าวหาเพื่อปิดกั้นการใช้เสรีภาพการชุมนุมของประชาชน ดังเช่นการยื่นคำร้องในครั้งนี้ ทั้งที่เป็นการร่วมชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ การสร้างเงื่อนไขเช่นนี้ยังสร้างความคลุมเครือส่งผลให้พนักงานสอบสวนสามารถตีความเงื่อนไขได้เอง จนสร้างภาระแก่ผู้ต้องหาเกินควรว่าเช่นไรคือการร่วมชุมนุมโดยสงบ หรือเช่นใดคือการทำผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวนี้ อันถือเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่เกินความจำเป็น ขัดต่อต่อเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 44 และมาตรา 112 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    4. หลักการดำเนินคดีอาญา คือ ศาลจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) ปรากฏในมาตราที่ 29 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งประกันตัวชั่วคราวมีเพียงคำกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่รัฐเพียงฝ่ายเดียว จะปฏิบัติกับผู้ต้องหาเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดแล้วไม่ได้
    5. คำปราศรัยของทั้งสองตามเอกสารแนบท้ายคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา เกี่ยวกับการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ มีเนื้อหาที่อยู่ในกรอบการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อยู่ในกรอบกฎหมาย มีข้อเท็จจริงสนับสนุนทั้งสิ้น เป็นประเด็นที่ล้วนเคยผ่านการถกเถียงทั้งในทางวิชาการและในการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว
    6. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อกล่าวหาว่า ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายจากการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ลำพังแต่เพียงหลักฐานว่าผู้ต้องหาพูดปราศรัยวิจารณ์รัฐบาล เป็นไปเพียงเพื่อสร้างเงื่อนไขในการยื่นขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้ทั้งสองถูกคุมขังจนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นได้อีก
    ในคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง RDN50 ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับคดีนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้ใช้กฎหมายกล่าวหาประชาชนซึ่งใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยชอบ แต่ศาลชั้นต้นจนพิพากษายกฟ้อง หากปล่อยให้เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไปผูกกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังเช่นคดีนี้ ก็ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นผลร้ายต่อประชาชนเกินสมควรและเกินกว่าความจำเป็น
    7. การยื่นคำร้องของพนักงานสอบสวนในครั้งนี้ ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นเพียงการอาศัยกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือข่มขู่บุคคลที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้านการใช้อำนาจของรัฐบาล ต้องสูญเสียเงินทอง เวลา และความสงบสุขในชีวิตไปกับการต่อสู้คดี และในที่สุดจะส่งผลให้ประชาชนคนอื่น ๆ เกรงกลัวและถูก “ปิดปาก” ให้ไม่กล้าแสดงความเห็นในทางวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ
    กล่าวอีกนัยคือ รัฐบาลใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือยับยั้งฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ หรือตรวจสอบการทำงานของตน ใช้การดำเนินคดีเพื่อหวังผลในการปิดปาก (SLAPP) หากวิธีการเช่นนี้เป็นที่ยอมรับ บุคคลจะขาดเสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นหัวใจสำคัญและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย

    กระบวนการไต่สวนได้แยกไต่สวนในสำนวนของอานนท์ และภาณุพงศ์ คนละห้องพิจารณา โดยในทั้งสองห้อง ศาลไต่สวนพยานผู้ร้องขอถอนประกัน ได้แก่ พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ 1 ปาก และพยานผู้คัดค้าน 1 ปาก คืออานนท์และภาณุพงศ์

    ++ไต่สวนคำร้องขอถอนประกันภาณุพงศ์++

    ร้อยตำรวจเอกโยธี เสริมสุขต่อ รอง สว.(สอบสวน) สน.สำราญราษฎร์ หนึ่งในคณะทำงานคดี #เยาวชนปลดแอก เบิกความ โดยแจ้งว่าขอเลื่อนการไต่สวนครั้งนี้ออกไปก่อน เนื่องจากเพิ่งได้รับพยานเอกสารเพิ่มเติมจาก สภ.คลองหลวง นั่นคือหมายจับภาณุพงศ์จากกรณีขึ้นปราศรัยที่เวที #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน แต่ผู้พิพากษากล่าวว่าการขอเลื่อนครั้งนี้ควรมาจากความต้องการของฝ่ายผู้ต้องหามากกว่าเจ้าหน้าที่ หากเจ้าหน้าที่มั่นใจว่าพยานหลักฐานสำหรับเพิกถอนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวที่ยื่นมาก่อนหน้านี้เพียงพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการไต่สวนออกไป และกล่าวว่า “ไม่อยากให้ใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือ”

    ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ร้อยตำรวจเอกโยธีกล่าวไว้ในช่วงหนึ่งของการไต่สวนว่า ตนไม่ทราบว่าวันนี้จะแยกห้องพิจารณาคดี และรับในช่วงหนึ่งของการซักค้านว่า พนักงานสอบสวนที่ขึ้นเบิกความในกรณีของอานนท์ เป็นผู้คลุกคลีกับพยานหลักฐานมากกว่าตน

    เมื่อได้ข้อตกลงว่าการไต่สวนจะดำเนินต่อไป รอง สว.(สอบสวน) สน.สำราญราษฎร์ จึงได้นำเอกสารบันทึกการถอดเทปการปราศรัยของภาณุพงศ์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และหมายจับในคดี #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน จาก สภ.คลองหลวง มาเป็นหลักฐานสำคัญในการขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนี้

    ทนายความซักค้านพนักงานสอบสวน เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ภาณุพงศ์พูดบนเวทีกับเอกสารที่ได้จากการถอดเทปถูกต้องตรงกัน ซึ่งพบว่าร้อยตำรวจเอกโยธีไม่ได้นำเทปการปราศรัยมา อีกทั้งไม่ได้ฟังการปราศรัยด้วยตนเอง ไม่ได้ถอดเทป และไม่ได้สอบสวนผู้ได้ฟังปราศรัยดังกล่าว มีเพียงเอกสารบันทึกการถอดเทปการปราศรัยที่ได้รับจาก สภ.คลองหลวง เท่านั้น ผู้พิพากษาจึงสรุปว่าในวันนี้เท่ากับพนักงานสอบสวนนำหลักฐานมาไม่เพียงพอ เมื่อทนายความถามตำรวจว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าข้อความที่ภาณุพงศ์ปราศรัยกับข้อความในเอกสารบันทึกการถอดเทปตรงกันโดยไม่มีการตัดทอนเพิ่มเติม ร้อยตำรวจเอกโยธีไม่ยืนยัน

    ทนายของภาณุพงศ์ถามพนักงานสอบสวนว่า ทราบหรือไม่ว่าผู้ต้องหามีสิทธิหยิบยกข้อบทในรัฐธรรมนูญมาสู้คดี และสิทธินี้ยังได้ระบุไว้ในระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกด้วย เจ้าหน้าที่ สน.สำราญราษฎร์ยอมรับว่าภาณุพงศ์มีสิทธิแสดงออกและชุมนุมตามรัฐธรรมนูญจริง แต่ต้องไม่ทำผิดกฎหมาย

    นอกจากนี้ทนายของภาณุพงศ์ยังกล่าวว่า เหตุผลในการขอถอนประกัน ได้อ้างถึงหมายจับคดี #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน ออกโดยศาลจังหวัดธัญบุรี พยานว่าทราบหรือไม่ว่า ศาลยังไม่ได้ระบุว่า การปราศรัยของภาณุพงศ์ผิดกฎหมายหรือเป็นเหตุให้ออกหมายจับแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่ทราบเรื่องดังกล่าวและเพิ่งได้รับหมายจับเมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาได้โต้แย้งขึ้นว่าการวินิจฉัยเพิกถอนประกันหรือไม่วันนี้เป็นอำนาจของศาลอาญา ไม่เกี่ยวกับว่าศาลจังหวัดธัญบุรีได้วินิจฉัยไว้อย่างไร

    ทนายความยังอ้างอิงถึงพันธกรณีที่ไทยต้องปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งข้อบทที่ 21 รับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง และถามพนักงานสอบสวนว่า ได้รวบรวมพันธกรณีนี้เข้าไว้เป็นพยานหลักฐานหรือไม่ เจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่

    ทนายความยังชี้ว่า ภาณุพงศ์ยังมีสถานะเป็นนักศึกษา ยังต้องไปเรียน มีที่พักเป็นหลักแหล่งแน่นอนใกล้มหาวิทยาลัย ไม่มีพฤติการณ์น่าห่วงกังวลว่าจะหลบหนี อีกทั้งเรือนจำไทยในปัจจุบันมีสภาพแออัด โดยหลักการแล้วเจ้าหน้าที่ไม่ควรนำประชาชนไปควบคุมตัว ร้อยตำรวจเอกโยธีตอบว่า ตนไม่แน่ใจว่าจะนำตัวภาณุพงศ์มาสอบสวนได้หรือไม่ แต่เห็นว่าโดยหลักการแล้วเจ้าหน้าที่รัฐไม่ควรนำตัวผู้ต้องหาไปควบคุมด้วยเหตุเกินจำเป็น แต่ความคิดเห็นนี้เป็นของตนคนเดียว ไม่หมายรวมว่าเป็นความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจคนอื่น จากนั้นผู้พิพากษาได้ถามภาณุพงศ์ว่าได้ขึ้นปราศรัยที่เวที #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน หรือไม่ ซึ่งภาณุพงศ์ยอมรับว่าได้ขึ้นเวทีจริง

    ศาลนัดฟังคำสั่งเวลา 13.30 น. แต่ต่อมาเลื่อนเป็น 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับการฟังคำสั่งในคดีของอานนท์ แต่การอ่านคำสั่งล่าช้าไปกว่าชั่วโมงครึ่ง โดยผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำสั่งราว 16.25 น. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า จากการไต่สวนมีพยานหลักฐานเพียงพอและน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาได้ขึ้นปราศรัยโดยมีข้อความตามที่ปรากฏในบันทึกถอดเทปคําปราศรัยกลุ่มผู้ชุมนุม เป็นการผิดเงื่อนไขตามสัญญาประกัน แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงอายุ อาชีพ และพฤติการณ์แห่งการกระทําที่ถูกกล่าวหาให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวนหรือการดําเนินคดี สมควรให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาสักครั้งหนึ่ง แต่มีเงื่อนไขโดยให้มีประกันในวงเงินเพิ่มเป็น 200,000 บาท และให้ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาลทุก 15 วันนับแต่วันนี้ หากผู้ต้องหาไม่ดําเนินการตามคําสั่งในวันนี้ ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว และออกหมายขัง

    อย่างไรก็ตาม ภาณุพงศ์ตัดสินใจไม่ยินยอมรับเงื่อนไขประกันตัวของศาลซึ่งสร้างบรรทัดฐานในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมผ่านวิธีการให้ประกันตัวอย่างมีเงื่อนไข “ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับคดีนี้อีก”

    ++ไต่สวนคำร้องถอนประกันอานนท์++

    จุมพล รัตธนภาส, ชัยชะรัตน์ ชูแก้ว และวีร์ธิชา ตั้งรัตนาวลี ออกนั่งพิจารณาคดี นายจุมพล ผู้อ่านและบันทึก โดยชี้แจงว่า​ พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ธงไชย พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติม​ในวันนี้​ เป็นเอกสารกรณีกิจกรรมชุมนุมวันที่​ 9​ และ​ 10 ส.ค. 2563

    “ไม่ได้กล่าวว่าที่สิ่งอานนท์ปราศรัยฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการกล่าวก้าวล่วง”

    พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ธงไชย พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างเหตุว่า อานนท์ ได้กระทำซ้ำในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา เบิกความว่า ได้รับรายงานจากตำรวจภูธรภาค 5 และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี ว่าอานนท์ได้ร่วมชุมนุมและปราศรัยในหัวข้อ “การขยายอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์​ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย” ที่ประตูท่าแพ และลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ตามลำดับ

    ส่วนเอกสารประกอบคำร้อง เป็นเอกสารที่ถอดเทปการปราศรัยของอานนท์ ในการชุมนุมทั้งสองแห่ง โดยเอกสารทั้งสองฉบับนี้ พ.ต.ท.หญิงจิตติมาไม่ได้มีส่วนในการถอดเทป ไม่ได้ฟังการปราศรัย และไม่ทราบว่า คำถอดเทปปราศัยที่ยื่นนั้นตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ อีกทั้งยังไม่ได้ส่งไฟล์คลิปเสียงต่อศาล และไม่เคยดูคลิปการปราศรัย พยานยืนยันได้แค่ว่า พยานได้รับรายงานมาจากตำรวจภูธรภาค 5 และ สภ.คลองหลวงเท่านั้น “เป็นการทำไปตามหน้าที่ของพนักงานสอบสวน” และไม่สามารถตอบได้ว่าคำกล่าวของอานนท์ผิดไปจากข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง แต่เป็นสิ่งที่ปกติชนไม่พูดกัน

    เมื่อทนายฝ่ายผู้ต้องหา ถามว่าข้อความดังกล่าวฝ่าฝืนอะไรในรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.หญิงจิตติมา ตอบว่าไม่ได้ระบุว่าข้อความดังกล่าวฝ่าฝืน แต่เป็นการกล่าวก้าวล่วง เป็นการกล่าวพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็ยอมรับว่า การปราศรัยของอานนท์ครั้งนี้ไม่มีการเรียกร้องให้ใช้กำลังความรุนแรง หรือกระด้างกระเดื่องต่อกฎหมายใดเลย อีกทั้งอานนท์ก็มีสิทธิเสรีภาพเหมือนประชาชนทุกคน แต่เมื่อมาอยู่ในอำนาจฝากขัง และได้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีเงื่อนไข พนักงานสอบสวนก็ต้องทำตามหน้าที่

    ระหว่างที่ผู้ร้องขึ้นเบิกความนั้น เวลา 10.20 น. มีโทรศัพท์ดังขึ้น เจ้าหน้าที่ศาลเป็นผู้รับ ก่อนยื่นโทรศัพท์ให้หนึ่งในผู้พิพากษาองค์คณะฯ พูดคุย และเมื่อจบคำเบิกความของพยานผู้ร้อง เวลา 11.05 น. ผู้พิพากษา 2 คนได้ออกไปนอกห้อง และกลับเข้ามาอีกครั้ง เมื่ออานนท์เข้าเบิกความ เวลา 11.07 น.

    ศาลชี้แจงว่า จะให้อานนท์อธิบายเป็นประเด็น และแจ้งว่า ศาลจะพิจารณาตามคำเบิกความเป็นหลัก

    อานนท์เริ่มเบิกความว่า การกล่าวคำปราศรัยในคดีนี้ และการปราศรัยที่ชุมนุมที่เชียงใหม่และธรรมศาสตร์ เป็นการใช้เสรีภาพสุจริตตามรัฐธรรมนูญ และมุ่งหวังให้สังคมอยู่ภายใต้การปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง

    ผมมีอาชีพเป็นทนายความ คดีที่รับว่าความส่วนใหญ่เป็นคดีสิทธิมนุษยชน การประกอบอาชีพทำให้เห็นการละเมิดสิทธิต่างๆ ทั้งเสรีภาพในการชุมนุม ความผิดมาตรา 112 มาตรา 116 รวมทั้งคนที่ออกมาต่อต้านรัฐประหาร คนที่มีความเห็นทางการเมือง เขาไม่ได้มีช่องทางการแสดงออก จึงเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย รวมทั้งนักศึกษาที่ออกมาพูดแทน ถ้าไม่มีการออกมาชุมนุม น่าจะนำไปสู่วิกฤตของบ้านเมือง

    กล่าวได้ว่า เรื่องนี้ไม่สามารถแยกออกจากสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ เพราะคนที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นคนที่เล่นทวิตเตอร์ เป็นนักเรียนนักศึกษา รวมถึงการมาถึงจุดที่รัฐธรรมนูญมีปัญหาเรื่องสมาชิกวุฒิสภา 250 คน พอมีการเลือกตั้ง ส.ว.ยกมือโหวต เลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นหน้าที่ของ ส.ว. มีปัญหา

    รวมทั้งการเรียกร้องรัฐสภา ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แล้วยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญ

    การกระทำของผมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เป็นการชุมนุมของคนที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีนักศึกษามาร่วม

    ประเด็นหลักที่ปราศรัยที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ สืบเนื่องจากการปราศรัยวันที่ 3 สิงหาคม คือพูดเรื่องปัญหาในการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์กรที่เป็นปัญหาคือคณะรัฐประหาร 2557 ที่มีการขยายกฎหมาย ให้พระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์

    ยกตัวอย่าง คณะรัฐประหาร แก้มาตรา 16 ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่ต้องประทับในประเทศ ปัญหาเหล่านี้สะท้อนผ่านการชุมนุม คณะรัฐประหารเป็นคนแก้ ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ ผมได้เสนอแนวทางแก้ รวมทั้ง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560, พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบกกองทัพไทย กระทรวงกลาโหมไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560

    มันมีกฎหมายที่ขยายพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์เกินกว่าระบอบประชาธิปไตยที่ทำได้ และการแก้ไขกฎหมายสามารถทำได้ในระบบรัฐสภา ไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ

    ข้อความที่ถอดเทปมา และข้อความที่พนักงานสอบสวนขีดเส้นใต้ ผมปราศรัยไปตามจริง เดิมกฎหมายทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้รัฐดูแล แต่ล่าสุด เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย คืออาจจะจำหน่ายจ่ายแจกอย่างไรก็ได้ ยกตัวอย่างกรณีเรื่องจวนผู้ว่า ที่เป็นของรัฐ จะกลายเป็นของที่ผู้ว่าจะนำไปยกให้ใครก็ได้ ซึ่งกฎหมายแบบนี้ขัดกับระบอบประชาธิปไตยโดยตรง

    จริงๆ หลัง 2475 ก็มีการอภิปรายเรื่องนี้หลายครั้ง เป็นหน้าที่ของรัฐสภา และประชาชนที่จะพูดเรื่องนี้ได้อย่างตรงไปตรงมา รัฐบาลจอมพล ป. ก็เคยฟ้องพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์

    ที่พระมหากษัตริย์ไปอาศัยต่างประเทศยังสิ้นเปลืองภาษีประชาชน ผมคิดว่าเราพูดกันตรงๆ พูดด้วยความเคารพ มันดีกว่ากล่าวอ้อมๆ

    นอกจากพูดเรื่องนี้ ผมยังพูดเรื่อง เอา ส.ว. 250 คน ออกไปจากการเมืองไทยในปีนี้ด้วย​ รวมทั้งประเด็นที่ผมอยากให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริง เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่เซ็นรับรองรัฐประหาร ผมขอพูดเพิ่ม มีข้อเรียกร้องที่ 11 ถ้ามีการรัฐประหาร ศาลต้องไม่รับรอง​ (ศาลแทรกว่า​ อย่าเพิ่งพูดเรื่องนี้​ ขอให้อยู่ในประเด็น)​

    เวลาไปปราศรัยทางการเมือง กับเวทีวิชาการจะแตกต่างกัน ในการปราศรัยทางการเมือง จะมีการใช้ถ้อยคำปลุกเร้า ผมพูดด้วยความสุภาพ คนเห็นด้วยก็ปรบมือ เป็นการชุมนุมที่สงบมาก

    วันที่ 9 สิงหาคมวางแผนว่าจะไปเชียงใหม่ เป็นกำหนดการที่ผมประกาศว่าจะไปก่อนที่จะถูกหมายจับ ที่ผมคาดว่าการออกหมายจับไม่สุจริต ย่อมหมายถึงเป็นการจำกัดไม่ให้ผมไปร่วมการชุมนุม

    การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 10 สิงหาคม เป็นกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์ กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม เป็นเวทีเปิด ให้ใครเข้าร่วมก็ได้ และได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

    ผมไปในฐานะเป็นผู้ร่วมปราศรัยไม่ใช่ผู้จัด หัวข้อที่ได้รับการพูด คือการขยายพระราชอำนาจในแง่กฎหมาย เราพูดกันหลายประเด็น ถ้อยคำที่ประสานคล้ายคลึงกับวันที่ 3 และ 9 สิงหาคม ก็คือเป็นเนื้อเดียวกัน ก็คือเรียกร้องไห้นิติบัญญัติแก้ไขกฎหมายขยายพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์

    โดยสรุปคือเราเรียกร้องไปยังรัฐสภา ให้แก้ไขกฎหมาย เรียกร้องไปยังสังคม จูนสถาบันพระมหากษัตริย์ กับประชาชนเข้าหากัน ถ้าให้รัฐสภาขยายพระราชอำนาจฯ ไปเรื่อยๆ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะออกห่างประชาชนเรื่อยๆ หลังจากวันที่ 10 ผมไปพูดในเวทีวันที่ 16 สิงหาคม เสนอว่าเป็นความฝันร่วมกันของคนทั้งสังคม อยากให้สถาบันอยู่กับเราจริงๆ อยากให้ท่านมาร่วมฝันด้วย

    นอกจากใช้สิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีกติการะหว่างประเทศ (ICCPR) รับรองเสรีภาพอีกด้วย ข้อเสนอของผมมีประชาชนหลายส่วนมากที่สนับสนุน มีอาจารย์มหาวิทยาลัยลงชื่อสนับสนุน มีประชาชนแสดงความคิดเห็นสนับสนุน รวมทั้งมีแถลงการณ์ของคณะอาจารย์

    ทุกคดีของผมเป็นคดีเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ก่อนคดีนี้เคยถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับคดีชุมนุมทางการเมือง

    ทั้งนี้ ศาลไม่ได้บันทึกคำเบิกความของอานนท์ทั้งหมด ก่อนจบการเบิกความ อานนท์ยังขอแถลงต่อศาลว่า “เรามาถึงจุดที่เราเห็นปัญหา ผมก็ยินดีสละทุกอย่าง ทั้งเสรีภาพส่วนตน อย่างวันนี้ก็มีเพื่อนมาด้วยเพราะกันคนมาทำร้าย เรามาถึงจุดที่ต้องพูดเรื่องนี้กันอย่างตรงๆ ด้วยความมุ่งหวังที่ดีต่อบ้านเมือง ไม่ได้มีเจตนาร้าย ทั้งผมและน้องนักศึกษา”

    อานนท์เบิกความเสร็จสิ้นเวลา 12.00 น. ใช้เวลาเบิกความเกือบ 1 ชั่วโมง ก่อนศาลจะนัดฟังคำสั่งในบ่ายสามวันเดียวกัน โดยมีคำสั่งถอนประกัน

    คำสั่งถอนประกันระบุว่า พิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคําร้องและคําคัดค้านขอเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวแล้ว เห็นว่าเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา โดยมีเงื่อนไขห้ามกระทําการใดๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทําที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก เมื่อผู้ต้องหาเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดธัญบุรี โดยมีข้อกล่าวหาว่าร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน อันมีลักษณะการกระทําใดๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทําที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก เป็นการผิดเงื่อนไขการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เพื่อป้องกันผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น กรณีมีเหตุสมควร จึงมีคําสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หมายขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน

    หลังอ่านคำสั่งศาลกล่าวว่าการเพิกถอนประกัน ไม่ได้ตัดสิทธิผู้ต้องหาในการยื่นประกันตัวใหม่ได้ อานนท์ได้แถลงต่อศาลว่า ตนตัดสินใจไม่ขอยื่นประกัน เนื่องจากการปราศรัยในการชุมนุมนั้นเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่ความผิด ตนจึงยินดีจะสละเสรีภาพส่วนตัว​ เพื่อรักษาอุดมการณ์ทางการเมือง และยืนยันว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับนักเรียนนักศึกษาเป็นสิ่งที่ผิด

    16.30 น. อานนท์ยังโพสต์จดหมายเขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว “ยินดีที่ได้ต่อสู้กับทุกคน เราเดินมาไกล จงเดินต่ออย่างกล้าหาญ หน้าที่นอกคุกผมจบแล้ว ขอเดิมพันทั้งหมดเพื่อการเปลี่ยนแปลง 19 กันยายนนี้ ช่วยยืนยันทีว่าเรามาถูกทาง เชื่อมั่นในทุกคน (ลายเซ็น) 3 ก.ย. 63 ณ ศาลอาญา” ก่อนที่ทั้งสองคนจะถูกควบคุมตัวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

    (อ้างอิง: คำร้องคัดค้านการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาและรายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา ลงวันที่ 3 ก.ย. 2563, https://tlhr2014.com/?p=21101, https://tlhr2014.com/?p=21142, https://tlhr2014.com/?p=21181 และ https://tlhr2014.com/archives/21113)
  • พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอานนท์และภาณุพงศ์ต่อศาลอาญา โดยระบุเหตุผลว่า “เนื่องจากพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ทำการสอบสวนมาพอสมควรแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขังผู้ต้องหาอีกต่อไป”

    ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ออกหมายปล่อยทั้งสองคน เนื่องจากสอบพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนยืนยันให้การตามคำร้องนี้

    เวลา 17.30 น. อานนท์และภาณุพงศ์ ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังถูกขังระหว่างสอบสวนรวมเวลา 5 วัน โดยเจ้าหน้าที่เร่งทำเอกสารเพื่อปล่อยตัวโดยเร็ว ในขณะที่ปล่อยตัว ผู้สื่อข่าวและผู้มาให้กำลังใจส่วนใหญ่ยังเดินทางมาไม่ถึงเรือนจำ

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหา ศาลอาญา ลงวันที่ 7 ก.ย. 2564)
  • ที่ศาลอาญา รัชดาฯ พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ เดินทางไปยื่นคำร้องขอฝากขังพริษฐ์เป็นครั้งที่ 4 หลังจากศาลอนุญาตให้ฝากขังตั้งแต่ในการขอฝากขังผัดแรก แต่อนุญาตให้พริษฐ์ได้ประกันตัว

    ขณะเดียวกันพริษฐ์ก็ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยขอให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องฝากขังครั้งที่ 4 ของพนักงานสอบสวน ด้วยเหตุผลดังนี้

    เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีในสำนวนการสอบสวนเดียวกันกับคดีที่มีอานนท์ นำภา และภาณุพงศ์ จาดนอก เป็นผู้ต้องหา ซึ่งเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2563 พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอานนท์และภาณุพงศ์ต่อศาลอาญา โดยระบุเหตุผลว่า “เนื่องจากพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ทำการสอบสวนมาพอสมควรแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขังผู้ต้องหาอีกต่อไป” และศาลได้มีคำสั่งว่า พนักงานสอบสวนยืนยันให้การตามคำร้องนี้ ก่อนจะออกหมายปล่อยทั้งสอง

    ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ต้องหาจึงเห็นว่า การสอบสวนในคดีได้เสร็จสิ้นแล้วและไม่มีความจำเป็นต้องขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนอีกต่อไป ประกอบกับผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน การฝากขังย่อมเป็นการควบคุมตัวที่เกินจำเป็น นอกจากไม่เกิดประโยชน์ต่อการสอบสวนแล้ว ยังสร้างภาระเกินจำเป็นกับผู้ต้องหา ส่งผลกระทบต่อการเรียน ทั้งยังกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของผู้ต้องหา

    ในเวลาราว 13.30 น. ศาลเริ่มไต่สวนคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน โดยมีพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความเป็นพยานฝ่ายผู้ร้อง รวม 2 ปาก

    พยานปากแรกคือ ร้อยตำรวจเอกโยธี เสริมสุขต่อ จาก สน.สำราญราษฎร์ หนึ่งในคณะพนักงานสอบสวนเบิกความว่า สาเหตุที่ต้องยื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 4 เพราะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา เนื่องจากกระบวนการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ฝ่ายผู้ต้องหาได้ยื่นขอให้มีการสอบคำให้การ ผศ.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังเกรงว่า หากปล่อยตัวไปจะเป็นการยาก ถ้าจะนำตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาลต่อไป

    ในการตอบคำถามค้านของทนายผู้ต้องหา ร.ต.อ.โยธี ยอมรับว่า สำนวนการสอบสวนคดีนี้เป็นสำนวนเดียวกันกับคดีของอานนท์และภาณุพงศ์ ใช้พยานหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนชุดเดียวกัน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ร้องขอศาลให้ออกหมายปล่อยผู้ต้องหาทั้งสอง เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2563 แล้ว

    พนักงานสอบสวนยังยอมรับอีกว่า ในการสอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่จำเป็นที่ผู้ต้องหาต้องเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย อีกทั้งในการฝากขังครั้งที่ 1 – 3 ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาได้ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานแต่อย่างใด โดยผู้ต้องหาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด แต่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้รับคำให้การเป็นหนังสือของพริษฐ์แต่อย่างใด นอกจากนั้นการอ้างพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอบปากคำในคดีเป็นการอ้างโดยผู้ต้องหารายอื่นในคดี ไม่ใช่พริษฐ์

    ในส่วนการจับกุม พนักงานสอบสวนตอบทนายผู้ต้องหาว่า การออกหมายจับอ้างอิงที่อยู่ตามบัตรประชาชน แต่พนักงานสอบสวนไม่แน่ใจว่าการจับกุมเกิดขึ้นที่ใด และถึงแม้ผู้ต้องหาจะมีที่อยู่อาศัยชัดเจน แต่ไม่แน่ใจว่าจะตามตัวได้หรือไม่

    พนักงานสอบสวนที่เข้าเบิกความเป็นพยานปากที่ 2 คือ พันตำรวจโทหญิงจิตติมา ทองดี รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สน.สำราญราษฎร์ เบิกความว่า สาเหตุที่ต้องยื่นคำร้องฝากขังในครั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากผู้ต้องหา 6 ราย ในคดีที่เพิ่งยื่นคำให้การเป็นหนังสือเข้ามา มีการอ้างพยานบุคคลเพิ่ม อีกทั้งมีการอ้างคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 2469/2562 ของศาลนี้ (คดีแกนนำคนอยากเลือกตั้งในการชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน หรือ RDN50) ซึ่งมีคำพิพากษาสิ้นสุดแล้ว โดยอยู่ระหว่างที่พนักงานสอบสวนขอคัดถ่ายสำเนาคำพิพากษา แต่ยังไม่ได้รับมา จึงขอให้ศาลอนุญาตให้ฝากขังอีก 1 ผัด เป็นเวลา 12 วัน

    ทนายผู้ต้องหาได้ถามค้านในประเด็นการสอบคำให้การพยานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งพริษฐ์ไม่ทราบว่ามีการอ้างพยานผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้อ้างเอง พนักงานสอบสวนตอบว่า เนื่องจากเป็นคดีเดียวกัน จึงจำเป็นต้องมีการสอบพยานร่วมกัน

    ในประเด็นเรื่องการคัดถ่ายเอกสารคำพิพากษา พยานปากที่ 2 ยอมรับว่า เป็นกระบวนการของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา อีกทั้งในการฝากขังครั้งที่ 1 – 3 ก็ไม่ปรากฎว่าผู้ต้องหาได้เข้าสร้างความยุ่งเหยิงกับหลักฐานแต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนให้เหตุผลเพิ่มเติมในเรื่องการขอฝากขังว่า เนื่องจากตัวผู้ต้องหาเป็นแกนนำในการชุมนุม จึงเกรงว่าจะยากกับการตามตัวมาส่งสำนวนฟ้อง จึงขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาในครั้งนี้

    หลังการไต่สวนคำร้องฝากขัง ผู้พิพากษามีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวน เนื่องจากพยานปากผู้เชี่ยวชาญนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องผู้ต้องหารายนี้ การร้องให้มีการสอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญเป็นของผู้ต้องหารายอื่น การสอบปากคำสามารถทำได้โดยที่พริษฐ์ไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง เหตุผลของผู้ร้อง ประกอบกับคำให้การของพนักงานสอบสวนทั้งสองไม่มีน้ำหนักพอเป็นเหตุให้ฝากขัง ให้ยกคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา 87

    การฝากขังในครั้งนี้เป็นการฝากขังตามอำนาจควบคุมตัวของตำรวจเป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ระบุว่าความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกัน ทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนประกันพริษฐ์ โดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับกรณีอานนท์และภาณุพงศ์ คือ พริษฐ์มีการกระทำที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขประกันตัวที่ศาลกำหนด โดยเข้าร่วมปราศรัยและกล่าวพาดพิงกษัตริย์ในการชุมนุมที่ขอนแก่น อุบลฯ และอยุธยา ศาลในไต่สวนคำร้องในวันที่ 8 ต.ค. 2563 แต่การที่ศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังต่อในครั้งนี้ ทำให้พริษฐ์ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาต่อไป จึงสิ้นสุดสัญญาประกันที่ได้ยื่นประกันไว้ และศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนประกันอีก โดยในเวลาต่อมาศาลได้มีหมายแจ้งยกเลิกนัดไต่สวนในวันที่ 8 ต.ค. 2563

    (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 4, คำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 4 ศาลอาญา ลงวันที่ 18 ก.ย. 2564, หมายแจ้งคำสั่งยกเลิกนัดไต่สวน ลงวันที่ 22 ก.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/21440)
  • บารมี ชัยรัตน์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, กรกช แสงเย็นพันธ์, เดชาธร บำรุงเมือง, ทศพร สินสมบุญ, ธานี สะสม, ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์, และ ธนายุทธ ณ อยุธยา ได้เดินทางมารายงานตัวที่ศาลอาญาตามนัด และได้รับแจ้งว่า อัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง ทำให้ทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจขอฝากขังต่อไปอีก (คดีนี้ฝากขังได้ทั้งหมด 4 ผัด ผัดละ 12 วัน) ทั้งหมดจึงไม่ต้องมารายงานตัวต่อศาลอีก

    อย่างไรก็ตาม คดีความยังไม่ถือว่าสิ้นสุด เพราะคดีมีอายุความ 10 ปี อัยการยังมีอำนาจในการสั่งฟ้องได้อีกภายในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งหากมีคำสั่งฟ้องและจะยื่นฟ้องต่อศาล อัยการต้องนัดหมายผู้ต้องหามาอีกครั้ง

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/22099)
  • ทัตเทพและภานุมาศ เดินทางไปรายงานตัวต่อศาลตามกำหนดนัด และได้รับแจ้งว่า อัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง ทำให้ทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจขอฝากขังต่อไปอีก (คดีนี้ฝากขังได้ทั้งหมด 4 ผัด ผัดละ 12 วัน) หลังจากรายงานตัว ทั้งสองคนได้เดินทางไปร่วมชุมนุม #คณะราษฎร ต่อไป

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/22099)
  • ตัวแทนจุฑาทิพย์เดินทางไปที่ศาลอาญาแจ้งว่า จุฑาทิพย์มีเหตุขัดข้องไม่สามารถมารายงานตัวต่อศาลตามนัดได้ อย่างไรก็ตาม อัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้อง และไม่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดฝากขัง 48 วัน
  • เวลา 10.00 น. ทศพร สินสมบุญ พร้อมทนายความ เดินทางไปที่ สน.สำราญราษฎร์ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ตามที่ได้รับการแจ้งจากพนักงานสอบสวน

    พ.ต.ท.หญิง จิตติมา ธงไชย รอง ผกก.(สอบสวน) สน.สําราญราษฎร์ และ ร.ต.อ.โยธี เสริมสุขต่อ รอง สว.(สอบสวน) ได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ทศพร โดยแจ้งพฤติการณ์แห่งคดีเช่นเดิม จากนั้นระบุว่า พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 ได้พิจารณาสํานวนดังกล่าวแล้วเห็นว่า การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาทศพรว่า ร่วมกับพวกกระทําความผิดฐาน กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดฯ, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน, ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, กีดขวางทางสาธารณะ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง นั้น พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทศพรในความผิดฐาน ร่วมกันกีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 114 และร่วมกันตั้งวาง หรือกองวัตถุใด ๆ บนถนน ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19 ด้วย

    พนักงานสอบสวนจึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ทศพรทราบเพิ่มเติมว่ามีความผิดฐาน “ร่วมกันกีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 114 และร่วมกันตั้งวาง หรือกองวัตถุใด ๆ บนถนน ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19"

    ทศพรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 20 วัน โดยพนักงานสอบสวนแจ้งว่า อัยการจะยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 15 ก.ค. นี้

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม สน.สำราญราษฎร์ ลงวันที่ 13 ก.ค. 2564)
  • เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด รัชดา ผู้ต้องหาจำนวน 9 คน ได้แก่ สุวรรณา ตาลเหล็ก, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, ธานี สะสม, ธนายุทธ ณ อยุธยา, เดชาธร บำรุงเมือง, อานนท์ นำภา, กรกช แสงเย็นพันธ์, บารมี ชัยรัตน์ และทศพร สินสมบุญ เดินทางมาฟังคำสั่งฟ้อง

    ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 5 คน ซึ่งไม่ได้เดินทางมาในวันนี้ ได้แก่ ‘เพนกวิน’พริษฐ์ ชิวารักษ์ และณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์ ซึ่งแจ้งต่ออัยการว่ายังอยู่ระหว่างการกักตัวเนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขณะ ‘ไมค์’ ภาณุพงศ์ จาดนอก มีนัดฟังคำสั่งอัยการในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดระยอง ส่วนภานุมาศ สิงห์พรม และทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ไม่ได้เดินทางมาศาล

    เวลา 14.00 น. พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 จึงมีคำสั่งฟ้องและยื่นฟ้องจำเลย 11 คน ต่อศาลอาญา รวมทั้งพริษฐ์และภาณุพงศ์ที่ไม่ได้มาศาลในวันนี้ด้วย เนื่องจากทั้งสองอยู่ในอำนาจของศาลอาญาในคดีการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร แล้ว ศาลมีอำนาจเบิกตัวมาพิจารณาคดี อัยการจึงสามารถยื่นฟ้องโดยไม่มีตัวจำเลยได้ ส่วนที่เหลืออัยการจะยื่นฟ้องในภายหลังต่อไป

    อัยการได้บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15 – 18 ก.ค. 2563 กลุ่มจำเลยได้ร่วมกันประกาศเชิญชวนและนัดหมายให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเฟซบุ๊กและสื่อ สังคมออนไลน์อื่นๆ ให้มาร่วมกิจกรรมชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 18 ก.ค. 2563 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยใช้หัวข้อเรื่อง “ใครไม่ทนให้ไปกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” จากนั้น จำเลยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุมตามที่ประกาศ มีการตั้งเวทีปราศรัยบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผู้ชุมนุมประมาณ 1,000 คน เต็มพื้นที่บนถนนราชดําเนินกลางบริเวณวงเวียน กีดขวางการจราจรจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้รถสัญจรผ่านได้

    พริษฐ์ ชิวารักษ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก, อานนท์ นำภา, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, กรกช แสงเย็นพันธ์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, บารมี ชัยรัตน์, เดชาธร บำรุงเมือง, ธานี สะสม และผู้ที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้อง ได้สลับกันขึ้นพูดปราศรัยบนเวที โดยไม่ได้คํานึงว่าจะเป็นการฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นการแสดงให้ปรากฏต่อประชาชน ด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทําในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฏหมายแผ่นดิน

    พริษฐ์ยังได้สั่งการให้กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมใช้กําลังฝ่าแนวแผงเหล็กที่มีตํารวจจัดเป็นแนวป้องกัน เพื่อนํามวลชนให้ลงไปสู่พื้นผิวการจราจร ทำให้เกิดการยื้อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตํารวจและกลุ่มผู้ทํากิจกรรม จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมฝูงชนหญิงที่ยืนรักษาความปลอดภัยแนวแผงเหล็ก ได้รับบาดเจ็บจํานวน 5 นาย

    นอกจากนี้ทศพร สินสมบุญ ยังได้นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยโพสต์ภาพการถือป้ายกระดาษข้อความปะปนอยู่ในกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ซึ่งเป็นกลุ่มเปิดสาธารณะ

    ทั้ง 11 คน ถูกฟ้องใน 6 ข้อหาที่เหมือนกัน ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 385, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 114, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ มาตรา 19, พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ มาตรา 4

    ในส่วนจำเลย 9 คน ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์, ภาณุพงศ์ จาดนอก, อานนท์ นำภา, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, กรกช แสงเย็นพันธ์, สุวรรณา ตาลเหล็ก, บารมี ชัยรัตน์, เดชาธร บำรุงเมือง และธานี สะสม ถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคสาม ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิด ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ส่วนธนายุทธ ณ อยุธยา และทศพร สินสมบุญ ถูกฟ้องในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 เฉพาะวรรคแรก ไม่ได้เป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการ ซึ่งกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ทศพร ยังถูกฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา โทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

    พริษฐ์ ชิวารักษ์ ยังถูกฟ้องในข้อหาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่อัยการไม่ฟ้องในข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีที่พริษฐ์พิมพ์ไม่ลายนิ้วมือในชั้นสอบสวน

    จนเวลา 14.30 น. ภายหลังอัยการยื่นฟ้อง ทั้ง 9 คนได้ถูกนำตัวไปยังห้องเวรชี้ โดยทั้งหมดให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ทนายความได้ยื่นประกันตัวจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยศาลตีวงเงินประกันตัวคนละ 35,000 บาท ยกเว้นสุวรรณาและกรกช ซึ่งศาลตีวงเงินประกันตัวคนละ 70,000 บาท เนื่องจากเคยต้องคดีที่มีคำพิพากษาศาลชั้นต้น คือคดีผู้ชุมนุมคนอยากเลือกตั้ง ARMY57 ที่ศาลแขวงดุสิต โดยจำเลย 10 คน ได้ใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล จำนวน 5 คน ในการยื่นประกันตัว ขณะที่บารมี ชัยรัตน์ ใช้หลักทรัพย์จากกองทุนราษฎรประสงค์

    เวลา 17.30 น. ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัวทั้งหมด และได้กำหนดวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 7 ก.ย. 2564 เวลา 9.00 น.

    ทั้งนี้ ผู้ถูกฟ้องในคดีนี้ ยังไม่ได้เป็นแกนนำการชุมนุมทั้งหมดด้วย บางรายเพียงแต่ถูกเชิญขึ้นร่วมปราศรัย หรือบางรายเป็นนักดนตรีเพลงแร็พ ที่ขึ้นทำการแสดง โดยไม่ได้ปราศรัย หรือกรณีทศพรก็ไม่ได้ขึ้นร่วมปราศรัยแต่อย่างใด เพียงแต่ถูกกล่าวหาจากป้ายข้อความที่นำมาชูในที่ชุมนุม

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1668/2564 ลงวันที่ 15 ก.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/32168)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เนตรนภา อำนาจส่งเสริม หรือ “ไนซ์”

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภานุมาศ สิงห์พรม

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
กรกช แสงเย็นพันธ์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุวรรณา ตาลเหล็ก

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
บารมี ชัยรัตน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธานี สะสม

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนายุทธ ณ อยุธยา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทศพร สินสมบุญ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เดชาธร บำรุงเมือง

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
พริษฐ์ ชิวารักษ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
กรกช แสงเย็นพันธ์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ภาณุพงศ์ จาดนอก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุวรรณา ตาลเหล็ก

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
บารมี ชัยรัตน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธานี สะสม

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนายุทธ ณ อยุธยา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทศพร สินสมบุญ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เดชาธร บำรุงเมือง

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์