สรุปความสำคัญ
14 พ.ย. 2563 กลุ่มนักกิจกรรมร่วมกันจัดการชุมนุม #MobFest บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อสื่อสารปัญหาในแง่มุมต่างๆ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยืนยันใน 3 ข้อเรียกร้อง โดยมีการจัดกิจกรรมเป็นเวทีย่อยๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ ผู้จัดกิจกรรมได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ แล้ว
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการชุมนุม "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งเพิ่งขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกหลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะศุกรียา วรรณายุวัฒน์ ผู้แจ้งการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ อีก พร้อมทั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้วย
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการชุมนุม "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์ ซึ่งเพิ่งขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกหลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะศุกรียา วรรณายุวัฒน์ ผู้แจ้งการชุมนุม ถูกดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ อีก พร้อมทั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้วย
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 30-11-2020
-
ผู้ถูกละเมิด
- พริษฐ์ ชิวารักษ์
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- เสรีภาพในการชุมนุม
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 15-12-2020
-
ผู้ถูกละเมิด
- ศุกรียา วรรณายุวัฒน์
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพในการชุมนุม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
พฤติการณ์การละเมิด
14 พ.ย. 2563 ประชาชนรวมตัวเฉพาะกิจ จัดกิจกรรมม็อบเฟส (Mob Fest) บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อสื่อสารปัญหาจากประชาชนหลายภาคส่วน และเรียกร้องให้รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ในกลุ่มนักเรียนเลว ยังนัดเดินขบวนจากหน้ากระทรวงศึกษาธิการไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาการศึกษาและการคุกคามนักเรียนผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ และกลุ่มผู้หญิงปลดแอก จัดเวทีเสวนาและนิทรรศการเรื่องเพศในการเมือง ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณสี่แยกคอกวัว
ประมาณ 14.40 น. ผบช.น. แถลงข่าวสาระสำคัญคือ การจัดชุมนุมในวันนี้มีทั้งหมด 3 กลุ่ม โดยทั้งหมดได้แจ้งการชุมนุมแล้ว มีเงื่อนไขตามกลุ่มดังนี้
1. MobFest จะต้องอยู่บนทางเท้า ห้ามเคลื่อนขบวน หากจำนวนคนล้น อนุญาตให้ลงถนนได้ 1 ช่องทางจราจร
2. นักเรียนเลว ขอเคลื่อนขบวนจากหน้ากระทรวงศึกษาธิการไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนขบวนให้เสร็จใน 15.00 น.
3. ผู้หญิงปลดแอก อยู่ในบริเวณแยกคอกวัวเท่านั้น ห้ามเคลื่อนขบวน
ทั้งสามกิจกรรมห้ามใช้ป้ายที่มีลักษณะยุยง ปลุกปั่น ห้ามใช้อาวุธ ห้ามย้ายผู้ชุมนุม ห้ามใช้เครื่องเสียงที่ความดังเกิน 115 เดซิเบล โดยใช้ความดังได้ไม่เกิน 70 เดซิเบล
เวลา 16.20 น. แกนนำที่ขึ้นปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระบุตอนหนึ่งว่า ขอแจ้งผู้ชุมนุมเบื้องต้นว่า เวลาประมาณ 17.00 น. จะมีขบวนเสด็จฯ ผ่าน ขอนัดแนะทุกคนชุมนุมอย่างสงบและช่วยกันสอดส่องมือที่สาม โดยผู้ชุมนุมจะรอรับเสด็จฯ ร่วมกัน โดยจะหันหลังและชูสามนิ้วโดยสงบ จากนั้นจะร้องเพลงชาติร่วมกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ขอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
17.31 น. ประชนชนยืนหันหลังให้ถนน โดยชู 3 นิ้วและร้องเพลงชาติระหว่างที่ขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบ โดยภายหลังในเวลาประมาณ 17.50 น. เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่มาตั้งแถวรอรับเสด็จได้ทยอยเดินทางกลับ
เมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้ว เวทีปราศรัยในหลายจุดและกิจกรรมตามซุ้มต่างๆ ก็ดำเนินต่อ ในเวทีปราศรัยย่อยสี่แยกคอกวัว เมื่อเวลา 20.00 น. พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมายังที่ชุมนุม MobFest ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีแยกคอกวัว ยืนยัน 3 ข้อเสนอของผู้ชุมนุมรวมทั้งข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ว่า จะต้องเอาอุปสรรคเฉพาะหน้าคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออก และเปิดทางให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อร่างใหม่ทั้งฉบับทุกหมวด ทุกมาตรา เป็นฉบับที่มาจากประชาชน ทั้งนี้เขากล่าวด้วยว่าถ้ายังไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่มีการประนีประนอม
การชุมนุมทั้งหมดยุติลงในเวลาประมาณ 01.28 น.
(อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2020/11/90425)
30 พ.ย. 2563 ที่ สน.ชนะสงคราม พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษากลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหา จากการปราศรัยใน #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ #MobFest บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์ 4 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116, ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พริษฐ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ยอมรับในอำนาจของศักดินา ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ และไม่ยอมรับว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมาย พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 30 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23649)
ต่อมา วันที่ 15 ธ.ค. 2563 เวลา 13.00 น. ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหา จาก #MobFest เช่นเดียวกัน โดยพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาศุกรียารวม 5 ข้อหา ได้แก่ ฝ่าฝืนข้อกําหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 19, กีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385, กีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114 และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยไม่ได้รับอนุญาต
ศุกรียาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากพฤติการณ์ที่ตำรวจแจ้งไม่ตรงกับความเป็นจริง หลังเสร็จกระบวนการ พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวศุกรียาไว้
ทั้งนี้ ศุกรียา เป็นหนึ่งในผู้แจ้งการชุมนุมสาธารณะก่อนการชุมนุมครั้งดังกล่าวนี้ แต่ยังถูกดำเนินคดีในข้อหาอื่นๆ อีก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2563)
ประมาณ 14.40 น. ผบช.น. แถลงข่าวสาระสำคัญคือ การจัดชุมนุมในวันนี้มีทั้งหมด 3 กลุ่ม โดยทั้งหมดได้แจ้งการชุมนุมแล้ว มีเงื่อนไขตามกลุ่มดังนี้
1. MobFest จะต้องอยู่บนทางเท้า ห้ามเคลื่อนขบวน หากจำนวนคนล้น อนุญาตให้ลงถนนได้ 1 ช่องทางจราจร
2. นักเรียนเลว ขอเคลื่อนขบวนจากหน้ากระทรวงศึกษาธิการไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนขบวนให้เสร็จใน 15.00 น.
3. ผู้หญิงปลดแอก อยู่ในบริเวณแยกคอกวัวเท่านั้น ห้ามเคลื่อนขบวน
ทั้งสามกิจกรรมห้ามใช้ป้ายที่มีลักษณะยุยง ปลุกปั่น ห้ามใช้อาวุธ ห้ามย้ายผู้ชุมนุม ห้ามใช้เครื่องเสียงที่ความดังเกิน 115 เดซิเบล โดยใช้ความดังได้ไม่เกิน 70 เดซิเบล
เวลา 16.20 น. แกนนำที่ขึ้นปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระบุตอนหนึ่งว่า ขอแจ้งผู้ชุมนุมเบื้องต้นว่า เวลาประมาณ 17.00 น. จะมีขบวนเสด็จฯ ผ่าน ขอนัดแนะทุกคนชุมนุมอย่างสงบและช่วยกันสอดส่องมือที่สาม โดยผู้ชุมนุมจะรอรับเสด็จฯ ร่วมกัน โดยจะหันหลังและชูสามนิ้วโดยสงบ จากนั้นจะร้องเพลงชาติร่วมกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ขอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
17.31 น. ประชนชนยืนหันหลังให้ถนน โดยชู 3 นิ้วและร้องเพลงชาติระหว่างที่ขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบ โดยภายหลังในเวลาประมาณ 17.50 น. เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่มาตั้งแถวรอรับเสด็จได้ทยอยเดินทางกลับ
เมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้ว เวทีปราศรัยในหลายจุดและกิจกรรมตามซุ้มต่างๆ ก็ดำเนินต่อ ในเวทีปราศรัยย่อยสี่แยกคอกวัว เมื่อเวลา 20.00 น. พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมายังที่ชุมนุม MobFest ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีแยกคอกวัว ยืนยัน 3 ข้อเสนอของผู้ชุมนุมรวมทั้งข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ว่า จะต้องเอาอุปสรรคเฉพาะหน้าคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออก และเปิดทางให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อร่างใหม่ทั้งฉบับทุกหมวด ทุกมาตรา เป็นฉบับที่มาจากประชาชน ทั้งนี้เขากล่าวด้วยว่าถ้ายังไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่มีการประนีประนอม
การชุมนุมทั้งหมดยุติลงในเวลาประมาณ 01.28 น.
(อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2020/11/90425)
30 พ.ย. 2563 ที่ สน.ชนะสงคราม พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักศึกษากลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหา จากการปราศรัยใน #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ #MobFest บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาพริษฐ์ 4 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116, ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พริษฐ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ยอมรับในอำนาจของศักดินา ไม่ยอมรับอำนาจเผด็จการ และไม่ยอมรับว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมาย พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัว เนื่องจากมาพบตามหมายเรียก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 30 พ.ย. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/23649)
ต่อมา วันที่ 15 ธ.ค. 2563 เวลา 13.00 น. ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหา จาก #MobFest เช่นเดียวกัน โดยพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาศุกรียารวม 5 ข้อหา ได้แก่ ฝ่าฝืนข้อกําหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ข้อหาตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 19, กีดขวางทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385, กีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114 และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยไม่ได้รับอนุญาต
ศุกรียาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากพฤติการณ์ที่ตำรวจแจ้งไม่ตรงกับความเป็นจริง หลังเสร็จกระบวนการ พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวศุกรียาไว้
ทั้งนี้ ศุกรียา เป็นหนึ่งในผู้แจ้งการชุมนุมสาธารณะก่อนการชุมนุมครั้งดังกล่าวนี้ แต่ยังถูกดำเนินคดีในข้อหาอื่นๆ อีก
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2563)
ภูมิหลัง
-
พริษฐ์ ชิวารักษ์อดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์