ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)
  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • การชุมนุม
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
  • ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
  • พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (มาตรา 9)
  • พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ (ใช้เครื่องขยายเสียง)
  • พ.ร.บ.จราจรฯ
  • กีดขวางทางสาธารณะ (มาตรา 385)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร ผู้กำกับ สน.ชนะสงคราม

ความสำคัญของคดี

ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ พร้อมทั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และข้อหาอื่นๆ อีกรวม 5 ข้อหา จากการจัดชุมนุม #MobFest บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2563 เพื่อสื่อสารปัญหาในแง่มุมต่างๆ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยืนยันใน 3 ข้อเรียกร้อง แม้ว่าศุกรียาจะได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ แล้ว

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาบรรยายพฤติการณ์ในคดีว่า

ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมกิจกรรมทางการเมือง “Mob Fest” “นักเรียนเลว” “ผู้หญิงปลดแอก” มายื่นหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อ ผกก.สน.ชนะสงคราม โดยศุกรียาแจ้งความประสงค์จะขอจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยจะมีการรวมตัวของกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ ถนนราชดําเนินกลาง มีวัตถุประสงค์สร้างความตระหนักถึงอิทธิพลของรัฐธรรมนูญที่ส่งผลต่อชีวิตของประชาชน รณรงค์ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันเสาร์ที่ 14 พ.ย. 2563 เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันที่ 15 พ.ย. 2563 สน.ชนะสงคราม ได้ทําหนังสือเรื่องสรุปสาระสําคัญการชุมนุมสาธารณะแจ้งให้ผู้ขอจัดการชุมนุมทราบ

ต่อมาวันที่ 14 พ.ย. 2563 เวลา 10.40 น. ผู้กล่าวหาพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตํารวจทุกฝ่ายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ออกเดินทางไปสังเกตการณ์ สืบสวนหาข่าว เรื่อยมา บริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ได้พบกลุ่มผู้ชุมนุม MOB FEST จึงได้ประชาสัมพันธ์ในเรื่องของเส้นทางเสด็จฯ วันนี้ ขอให้ช่วยดูแลและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตํารวจด้วย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมร่วมกัน

จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้รวมตัวและปราศรัยเรื่อยมา มีการปิดการจราจรบริเวณถนนราชดําเนินกลางฝั่งขาเข้า สี่แยกคอกวัว โดยกลุ่มการ์ดได้ยกแผงลงมาปิดเอง โดยกลุ่มผู้ชุมนุม “Mob Fest” ได้เคลื่อนย้ายจากจุดที่แจ้งความประสงค์จัดชุมนุมสาธารณะไว้ที่บริเวณหน้าร้านแม็คโดนัลด์ มาจัดตั้งเวที (คอกวัว) บริเวณบนถนนราชดําเนินกลางฝั่งขาเข้าด้านหน้า ศูนย์ภาษา เจ้าหน้าที่ตํารวจจากกองบัญชาการตํารวจนครบาลแจ้งประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่ม “Mob Fest” ทราบ ถึงการชุมนุมในที่สาธารณะให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตํารวจได้แจ้งข้อกฎหมายในเรื่องของการชุมนุมเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะเรียบร้อย เวทีปราศรัยบริเวณตรงข้ามศูนย์ภาษา (เวทีคอกวัว) เริ่มมีการแสดง หลังจากนั้นแกนนําเริ่มอ่านแถลงการณ์ของการจัดการชุมนุม “Mob Fest” มีการปราศรัยสลับการเล่นดนตรี พบนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ขึ้นเวที (เวทีคอกวัว) ปราศรัยโดยผ่านเครื่องขยายเสียงต่อหน้าผู้ชุมนุม โดยเนื้อหาปราศรัยได้กล่าวพาดพิงและโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นได้มีการปราศรัยสลับการเล่นดนตรีเรื่อยมา พบศุกรียาขึ้นเวทีหน้าศูนย์ภาษา ปราศรัยโดยผ่านเครื่องขยายเสียงต่อหน้าผู้ชุมนุม ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 3 กลุ่ม ได้ยุติการชุมนุม

จากการสอบสวนเพิ่มเติมได้ความว่าในการชุมนุม ส่วนใหญ่ผู้มาชุมนุมมีการป้องกันเบื้องต้นโดยการสวมใส่ หน้ากากอนามัยและผ้าปิดปากปิดจมูก มีทั้งสองแบบ ซึ่งบริเวณจุดคัดกรองพบเห็นการตั้งวางแอลกอฮอล์เจล การชุมนุมมีจุดที่ตั้งวางเครื่องวัดเสียง ซึ่งในการชุมนุมที่มีคนจํานวนมากอาจจะมีความใกล้ชิดกัน หากมีผู้ใดเป็นพาหะของโรค จะทําให้เกิดการระบาดของโรคได้ ถึงมีการป้องกันแต่ต้องมีการปฏิบัติในเรื่องของการ เว้นระยะห่างทางสังคมในระยะ 1-1-5 เมตร

(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2563)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 13.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก กรณีเป็นผู้จัดการชุมนุม #MobFest เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

    พ.ต.ท.ประเสริฐ จันทร์แดง รอง ผกก. (สอบสวน) สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อเท็จจริงในคดีให้ผู้ต้องหาทราบว่า

    ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2563 ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมกิจกรรมทางการเมือง “Mob Fest” “นักเรียนเลว” “ผู้หญิงปลดแอก” มายื่นหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อ ผกก.สน.ชนะสงคราม โดยศุกรียาแจ้งความประสงค์จะขอจัดการชุมนุมสาธารณะบริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ ถนนราชดําเนินกลาง มีวัตถุประสงค์สร้างความตระหนักถึงอิทธิพลของรัฐธรรมนูญที่ส่งผลต่อชีวิตของประชาชน รณรงค์ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันเสาร์ที่ 14 พ.ย. 2563 เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันที่ 15 พ.ย. 2563 สน.ชนะสงคราม ได้ทําหนังสือเรื่องสรุปสาระสําคัญการชุมนุมสาธารณะแจ้งให้ผู้ขอจัดการชุมนุมทราบ

    ต่อมาวันที่ 14 พ.ย. 2563 กลุ่มผู้ชุมนุมได้รวมตัวและปราศรัยเรื่อยมา มีการปิดการจราจรบริเวณถนนราชดําเนินกลางฝั่งขาเข้า สี่แยกคอกวัว โดยกลุ่มผู้ชุมนุม “Mob Fest” ได้เคลื่อนย้ายจากจุดที่แจ้งความประสงค์จัดชุมนุมสาธารณะมาจัดตั้งเวที (คอกวัว) บริเวณบนถนนราชดําเนินกลางฝั่งขาเข้าด้านหน้าศูนย์ภาษา เจ้าหน้าที่ตํารวจจากกองบัญชาการตํารวจนครบาลแจ้งประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่ม “Mob Fest” ทราบ ถึงการชุมนุมในที่สาธารณะให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หลังจากนั้นผู้ชุมนุมได้ปราศรัยสลับการเล่นดนตรีเรื่อยมา

    จากการสอบสวนเพิ่มเติมได้ความว่าในการชุมนุม ส่วนใหญ่ผู้มาชุมนุมมีการป้องกันเบื้องต้นโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยและผ้าปิดปากปิดจมูก มีทั้งสองแบบ ซึ่งบริเวณจุดคัดกรองพบเห็นการตั้งวางแอลกอฮอล์เจล การชุมนุมมีจุดที่ตั้งวางเครื่องวัดเสียง ซึ่งในการชุมนุมที่มีคนจํานวนมากอาจจะมีความใกล้ชิดกัน หากมีผู้ใดเป็นพาหะของโรค จะทําให้เกิดการระบาดของโรคได้ ถึงมีการป้องกันแต่ต้องมีการปฏิบัติในเรื่องของการ เว้นระยะห่างทางสังคมในระยะ 1-1.5 เมตร

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาศุกรียารวม 5 ข้อหา ได้แก่ เป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุมสาธารณะฝ่าฝืนข้อกําหนดที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง, ฝ่าฝืนมิได้แจ้งล่วงหน้าต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการชุมนุมสาธารณะว่าจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุม เป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมีคําสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่ภายในสถานที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตาม ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 19, กีดขวางทางสาธารณะจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385, กระทําด้วยประการใด ๆ ใน ลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114 และร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ มาตรา 4

    ศุกรียาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ลงชื่อในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจากพฤติการณ์ที่ตำรวจแจ้งไม่ตรงกับความเป็นจริง หลังเสร็จกระบวนการ พนักงานสอบสวนไม่ได้ควบคุมตัวศุกรียาไว้ นัดส่งตัวให้อัยการในวันที่ 4 ม.ค. 2564

    เป็นที่สังเกตว่า ศุกรียา เป็นหนึ่งในผู้แจ้งการชุมนุมสาธารณะก่อนการชุมนุมครั้งดังกล่าวนี้ แต่ยังถูกดำเนินคดีในข้อหาอื่นๆ อีก

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ชนะสงคราม ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2563)
  • พนักงานสอบสวนขอเลื่อนนัดออกไปเป็นวันที่ 11 ม.ค. 2564
  • ศุกรียาติดภารกิจอื่นที่ต่างจังหวัด จึงทำหนังสือขอเลื่อนส่งตัวอัยการเป็นวันที่ 18 ม.ค. 2564

    (อ้างอิง: หนังสือขอเลื่อนนัดส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการ ลงวันที่ 11 ม.ค. 2564)
  • พนักงานสอบสวนขอเลื่อนนัดออกไปก่อน เนื่องจากไม่สามารถส่งฟ้องได้ภายใน 30 วัน ตามที่ขอผัดฟ้องต่อศาลแล้ว ยังไม่กำหนดวันนัดใหม่

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ศุกรียา วรรณายุวัฒน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์