สรุปความสำคัญ
29 ต.ค. 2563 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดกิจกรรม #ภาษีกู วิพากษ์วิจารณ์การใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีกิจกรรมเดินแฟชั่นโชว์และจัดแสดงศิลปะของประชาชนที่สีลม นอกจากนักศึกษาคือ "มายด์" ภัสราวลี ธนกิจพิบูลย์ผล จะถูกดำเนินคดีฐานเป็นผู้จัดให้มีการชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุม และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 ราย คือ จตุพร แซ่อึง ซึ่งแต่งชุดไทยร่วมเดินแฟชั่นโชว์ และ "สายน้ำ" (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี ซึ่งแต่งชุดเสื้อยืดเอวลอย และเขียนร่างกายด้วยหมึก ถูกแอดมินเพจ #เชียร์ลุง เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
สายน้ำถือเป็นเยาวชนรายแรกที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 และเป็นรายที่ 2 ที่ถูกตั้งข้อหาในหมวดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งเป็นเยาวชนรายที่ 6 ที่ถูกดำเนินคดีจากการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสงบ สันติ
สายน้ำถือเป็นเยาวชนรายแรกที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 และเป็นรายที่ 2 ที่ถูกตั้งข้อหาในหมวดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งเป็นเยาวชนรายที่ 6 ที่ถูกดำเนินคดีจากการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสงบ สันติ
ข้อมูลการละเมิด
ครั้งที่ : 1
วันที่ : 17-12-2020
-
ผู้ถูกละเมิด
- สายน้ำ (นามสมมติ)
- จตุพร แซ่อึง
-
ประเด็นการละเมิดสิทธิ
- เสรีภาพการแสดงออก
- เสรีภาพในการชุมนุม
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
-
รูปแบบการละเมิดสิทธิ
- การเรียกรายงานตัว / ปรับทัศนคติ
-
ผู้ละเมิด
- ตำรวจ
- เอกชน
พฤติการณ์การละเมิด
29 ต.ค. 2563 แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจัดกิจกรรม #ภาษีกู ภายหลังจากมีการรายงานข่าวเรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ปี 2563 โดยมีส่วนหนึ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายโดยตรงของกระทรวงต่างๆ รวมถึงกระทรวงพาณิชย์ ได้ใช้งบประมาณจำนวน 13 ล้านบาท ภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับโครงการจัดแสดงสินค้าแนวใหม่แบรนด์ Sirivannavari ในต่างประเทศ นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งจัดกิจกรรมเดินแบบและจัดแสดงศิลปะของประชาชน เพื่อแสดงออกและตอกย้ำถึงข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
17.00 น. ประชาชนมารวมตัวกันที่หน้าวัดแขกและบีทีเอสศาลาแดง บริเวณวัดแขกเริ่มปิดถนนฝั่งตรงข้าม โดยมีการขึ้นป้าย “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” และ “หมุดราษฎร 2020” ฝั่งตรงข้ามวัดแขกมีการขึ้นรูปกราฟฟิกของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ บริเวณบีทีเอสศาลาแดงหน้าห้างเซ็นทรัลสีลมมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 100 คน มีบางส่วนยืนอยู่บนบีทีเอส มีการเปิดเพลงผ่านลำโพง แล้วใช้โทรโข่งปราศรัย จากนั้น เริ่มปิดถนนสีลมและมวลชนทยอยลงถนน ปูพื้นด้วยป้ายไวนิลภาพกราฟฟิคที่สื่อความหมายทางการเมือง โดยตำรวจในและนอกเครื่องแบบวางกำลังโดยรอบและถ่ายภาพผู้ร่วมชุมนุม
17.30 น. ตำรวจนำเอกสารประกาศเจ้าพนักงานการชุมนุมสาธารณะมาแจ้งต่อผู้จัดกิจกรรมระบุว่า การชุมนุมนี้ยังไม่ได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต่อตำรวจ จีงเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เลิกการชุมนุมภายในเวลา 19.00 น.
18.00 หลังจากยืนตรงร้องเพลงชาติพร้อมชู 3 นิ้วจบ ผู้ชุมนุมก็ทยอยกันเดินลงถนนบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลสีลม ผู้เข้าร่วมหนาแน่นมากจนกระทั่งต้องปิดถนนทั้ง 3 เลน แต่ถนนอีกฝั่งรถยนต์ยังสัญจรได้ ขณะที่ถนนสีลม ด้านหน้าวัดแขก ผู้ชุมนุมมีการปิดถนนทั้งสอง นำพรมแดงไปปูที่ถนนและเริ่มเดินแฟชั่นโชว์ มีการปราศรัยผ่านโทรโข่งตั้งคำถามถึงการใช้ภาษีภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ และกล่าวถึงเหตุผลที่ออกมาบนถนนสีลมวันนี้เพื่อยืนยันว่า ราษฎรทุกคนมีสิทธิในการเดินบนพรมแดงทัดเทียมกัน พรมแดงผืนนี้เป็นของราษฎรใครอยากเดินสามารถเดินได้เลย แล้วใครที่บอกว่า เราปิดถนนเราสร้างความเดือดร้อน ถนนทุกเส้นสร้างมาเพื่อให้ทุกคนใช้ บนฟุตบาทไม่พอใช้ก็ต้องลงมาบนถนน เราทำถนนคนเดินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าซีไอเอมีเงิน กิจกรรมเสร็จสิ้นในเวลา 20.30 น.
(อ้างอิง: https://www.mobdatathailand.org/case-file/1603969455492/)
17 ธ.ค. 2563 นักกิจกรรม 2 ราย คือ จตุพร แซ่อึง และสายน้ำ (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สน.ยานนาวา ทั้งสองถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ. โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ. ชุมนุมฯ และ พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ จากการเข้าร่วมการชุมนุมที่สีลมเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 โดยแต่งกายด้วยชุดไทยและชุดเสื้อยืดเอวลอยเดินพรมแดงบริเวณด้านหน้าวัดแขก ถนนสีลม โดยมีวริษนันท์ ศรีบวรธนกิตติ์ แอดมินเพจ #เชียร์ลุง เป็นผู้กล่าวหา ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
กรณีของจตุพรพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่ได้นำตัวไปยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลแต่อย่างใด แต่กรณีของสายน้ำซึ่งแยกดำเนินคดีต่างหากเนื่องจากเป็นเยาวชน พนักงานสอบสวนได้นำตัวสายน้ำไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมและการแจ้งข้อกล่าวหา รวมทั้งขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัวสายน้ำ โดยอ้างว่ายังมีพยานบุคคลที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ และเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำความผิดอีก ศาลอนุญาตให้ออกหมายควบคุมตัว และให้ประกันตัว โดยให้วางหลักทรัพย์ 8,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตในกรณีของสายน้ำซึ่งเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่ได้เป็นการจับกุมตามหมายจับ และตัวสายน้ำซึ่งเป็นเยาวชนไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี จึงไม่มีความจำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัวไว้ในระหว่างสอบสวน เช่นเดียวกับในกรณีของแกนนำหรือผู้ร่วมชุมนุมคนอื่นๆ ที่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ยานนาวา ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24134)
17.00 น. ประชาชนมารวมตัวกันที่หน้าวัดแขกและบีทีเอสศาลาแดง บริเวณวัดแขกเริ่มปิดถนนฝั่งตรงข้าม โดยมีการขึ้นป้าย “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” และ “หมุดราษฎร 2020” ฝั่งตรงข้ามวัดแขกมีการขึ้นรูปกราฟฟิกของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ บริเวณบีทีเอสศาลาแดงหน้าห้างเซ็นทรัลสีลมมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 100 คน มีบางส่วนยืนอยู่บนบีทีเอส มีการเปิดเพลงผ่านลำโพง แล้วใช้โทรโข่งปราศรัย จากนั้น เริ่มปิดถนนสีลมและมวลชนทยอยลงถนน ปูพื้นด้วยป้ายไวนิลภาพกราฟฟิคที่สื่อความหมายทางการเมือง โดยตำรวจในและนอกเครื่องแบบวางกำลังโดยรอบและถ่ายภาพผู้ร่วมชุมนุม
17.30 น. ตำรวจนำเอกสารประกาศเจ้าพนักงานการชุมนุมสาธารณะมาแจ้งต่อผู้จัดกิจกรรมระบุว่า การชุมนุมนี้ยังไม่ได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ต่อตำรวจ จีงเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เลิกการชุมนุมภายในเวลา 19.00 น.
18.00 หลังจากยืนตรงร้องเพลงชาติพร้อมชู 3 นิ้วจบ ผู้ชุมนุมก็ทยอยกันเดินลงถนนบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลสีลม ผู้เข้าร่วมหนาแน่นมากจนกระทั่งต้องปิดถนนทั้ง 3 เลน แต่ถนนอีกฝั่งรถยนต์ยังสัญจรได้ ขณะที่ถนนสีลม ด้านหน้าวัดแขก ผู้ชุมนุมมีการปิดถนนทั้งสอง นำพรมแดงไปปูที่ถนนและเริ่มเดินแฟชั่นโชว์ มีการปราศรัยผ่านโทรโข่งตั้งคำถามถึงการใช้ภาษีภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ และกล่าวถึงเหตุผลที่ออกมาบนถนนสีลมวันนี้เพื่อยืนยันว่า ราษฎรทุกคนมีสิทธิในการเดินบนพรมแดงทัดเทียมกัน พรมแดงผืนนี้เป็นของราษฎรใครอยากเดินสามารถเดินได้เลย แล้วใครที่บอกว่า เราปิดถนนเราสร้างความเดือดร้อน ถนนทุกเส้นสร้างมาเพื่อให้ทุกคนใช้ บนฟุตบาทไม่พอใช้ก็ต้องลงมาบนถนน เราทำถนนคนเดินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าซีไอเอมีเงิน กิจกรรมเสร็จสิ้นในเวลา 20.30 น.
(อ้างอิง: https://www.mobdatathailand.org/case-file/1603969455492/)
17 ธ.ค. 2563 นักกิจกรรม 2 ราย คือ จตุพร แซ่อึง และสายน้ำ (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของ สน.ยานนาวา ทั้งสองถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ฝ่าฝืนข้อกำหนดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ. โรคติดต่อฯ, พ.ร.บ. ชุมนุมฯ และ พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ จากการเข้าร่วมการชุมนุมที่สีลมเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2563 โดยแต่งกายด้วยชุดไทยและชุดเสื้อยืดเอวลอยเดินพรมแดงบริเวณด้านหน้าวัดแขก ถนนสีลม โดยมีวริษนันท์ ศรีบวรธนกิตติ์ แอดมินเพจ #เชียร์ลุง เป็นผู้กล่าวหา ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
กรณีของจตุพรพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่ได้นำตัวไปยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลแต่อย่างใด แต่กรณีของสายน้ำซึ่งแยกดำเนินคดีต่างหากเนื่องจากเป็นเยาวชน พนักงานสอบสวนได้นำตัวสายน้ำไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมและการแจ้งข้อกล่าวหา รวมทั้งขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัวสายน้ำ โดยอ้างว่ายังมีพยานบุคคลที่ยังสอบสวนไม่เสร็จ และเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำความผิดอีก ศาลอนุญาตให้ออกหมายควบคุมตัว และให้ประกันตัว โดยให้วางหลักทรัพย์ 8,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตในกรณีของสายน้ำซึ่งเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่ได้เป็นการจับกุมตามหมายจับ และตัวสายน้ำซึ่งเป็นเยาวชนไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี จึงไม่มีความจำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัวไว้ในระหว่างสอบสวน เช่นเดียวกับในกรณีของแกนนำหรือผู้ร่วมชุมนุมคนอื่นๆ ที่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ยานนาวา ลงวันที่ 17 ธ.ค. 2563 และ https://tlhr2014.com/archives/24134)
ภูมิหลัง
-
จตุพร แซ่อึงนักกิจกรรมกลุ่มบุรีรัมย์ปลดแอก
-
สายน้ำ (นามสมมติ)ทำกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อวิพากษ์ระบบการศึกษาไทย โดยยืนเคารพธงชาติพร้อมชู 3 นิ้ว ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เช้าจนมืด ก่อนที่จะลาออกจากโรงเรียน เพราะรู้สึกว่าการเรียนในโรงเรียน ในระบบการศึกษาไทย ไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับตน และเริ่มต้นเคลื่อนไหวอย่างเต็มตัว พร้อมกับการเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย
อ่านเพิ่มเติมที่ https://tlhr2014.com/archives/27591
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์