ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ ยชอ. 277/2564
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดี (ประชาชน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ ยชอ. 277/2564
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดี (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ ยชอ. 277/2564
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดี
ข้อหา
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ ยชอ. 277/2564
ผู้กล่าวหา
- ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดี
ความสำคัญของคดี
ณัฐ (นามสมมติ) และธนกร (สงวนนามสกุล) เยาวชนอายุ 17 ปี ถูกดำเนินคดี "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พร้อมกับ "เพนกวิน" พริษฐ์ ชิวารักษ์ และเพื่อนนักศึกษา/นักกิจกรรมอีก 4 คนโดยมีประชาชนทั่วไป คือ ว่าที่ ร.ต.นรินทร์ ศักดิ์เจริญชัยกุล สมาชิกกลุ่มไทยภักดี เป็นผู้เข้าแจ้งความกล่าวโทษ จากการร่วมกิจกรรม #ใครๆก็ใส่ครอปท็อป ที่ห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อรณรงค์ “ยกเลิก112” และยืนยันว่าการสวมชุดครอปท็อปไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย หลังสายชล (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี ถูกดำเนินคดี มาตรา 112 เพียงเพราะใส่ชุดครอปท็อปและเขียนข้อความบนตัวเอง
ในคดีนี้ณัฐก็เพียงแต่ใส่ชุดครอปท็อปไปร่วมกิจกรรม และร่วมชู 3 นิ้ว ถ่ายรูป ขณะที่ธนกรชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และ “ยกเลิก ม.116, ม.112” รวมทั้งร่วมชู 3 นิ้วเท่านั้น กลับถูกดำเนินคดี เป็นปัญหาของมาตรา 112 ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือให้คนบางกลุ่มใช้กลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง โดยการสร้างภาระทางคดีให้
ณัฐถูกดำเนินคดีจากการร่วมกิจกรรมหรือชุมนุมทางการเมืองคดีนี้เป็นคดีแรก ขณะที่ธนกรถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นคดีที่ 2 แล้ว
ในคดีนี้ณัฐก็เพียงแต่ใส่ชุดครอปท็อปไปร่วมกิจกรรม และร่วมชู 3 นิ้ว ถ่ายรูป ขณะที่ธนกรชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และ “ยกเลิก ม.116, ม.112” รวมทั้งร่วมชู 3 นิ้วเท่านั้น กลับถูกดำเนินคดี เป็นปัญหาของมาตรา 112 ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือให้คนบางกลุ่มใช้กลั่นแกล้งบุคคลอื่นที่เห็นต่างทางการเมือง โดยการสร้างภาระทางคดีให้
ณัฐถูกดำเนินคดีจากการร่วมกิจกรรมหรือชุมนุมทางการเมืองคดีนี้เป็นคดีแรก ขณะที่ธนกรถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นคดีที่ 2 แล้ว
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 เป็นผู้ฟ้องคดีณัฐและธนกร ในฐานความผิด หมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 คำฟ้องโดยสรุประบุว่า
วันที่ 19 ธ.ค. 2563 เจ้าหน้าที่ตํารวจฝ่ายสืบสวนสถานีตํารวจนครบาลปทุมวัน กองบัญชาการตํารวจนครบาล และกองบัญชาการตํารวจสันติบาลได้สืบสวนหาข่าว พบว่าเพจเฟซบุ๊กชื่อ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration”, บัญชีทวิตเตอร์ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และเพจเฟซบุ๊ก “เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ ParitChiwarak” ได้โพสต์ข้อความประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกันใส่ชุด Crop Top (ครอปท็อป หรือชุดเสื้อกล้ามเอวลอย) เดินที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ในวันที่ 20 ธ.ค. 2563 โดยจําเลยทั้งสอง กับพวกอีก 5 คน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกสํานวนดําเนินคดีต่างหาก เป็นแกนนําจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในครั้งนี้
ต่อมาวันที่ 20 ธ.ค. 2563 จําเลยทั้งสอง กับพวกอีก 5 คน ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามที่ได้เตรียมการและนัดหมายกันไว้ล่วงหน้า เพื่อแสดงกิจกรรมล้อเลียน ดูหมิ่น และต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และรัชกาลที่ 10 โดยการ แต่งกายใส่ชุดครอปท็อป, เขียนถ้อยคําหรือข้อความตามเนื้อตัวร่างกาย, ร่วมกันกล่าวคําพูดหรือถ้อยคํา แสดงบทบาท แสดงกิริยาอาการทางร่างกาย ใบหน้า และวิธีอื่นใดในทํานองเดียวกัน แล้วเดินวนเวียนไปมาที่บริเวณห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
การกระทำดังกล่าว มีเจตนาแสดงออกและสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามเข้าใจว่า กลุ่มจําเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันแสดงตนหรือบทบาทล้อเลียนดูหมิ่นรัชกาลที่ 10, พระราชินี และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนเสื่อมความเคารพ ความศรัทธาต่อองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยณัฐได้แต่งกายชุดครอปท็อป เช่นเดียวกันกับพริษฐ์, ปนัสยา, เบนจา และภาณุพงศ์ ขณะที่ธนกรได้ร่วมกันทํากิจกรรมกับณัฐและพวกที่ถูกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และ “ยกเลิก ม.116, ม.112” ตลอดเวลาขณะทํากิจกรรมได้แสดงออกในลักษณะเป็นพวกเดียวกันและมีการร่วมกันชูมือ 3 นิ้ว และร่วมกันถ่ายรูปต่อหน้าสื่อมวลชน อันเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมือง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.277/2564 ลงวันที่ 26 พ.ย. 2564)
วันที่ 19 ธ.ค. 2563 เจ้าหน้าที่ตํารวจฝ่ายสืบสวนสถานีตํารวจนครบาลปทุมวัน กองบัญชาการตํารวจนครบาล และกองบัญชาการตํารวจสันติบาลได้สืบสวนหาข่าว พบว่าเพจเฟซบุ๊กชื่อ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration”, บัญชีทวิตเตอร์ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” และเพจเฟซบุ๊ก “เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ ParitChiwarak” ได้โพสต์ข้อความประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกันใส่ชุด Crop Top (ครอปท็อป หรือชุดเสื้อกล้ามเอวลอย) เดินที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ในวันที่ 20 ธ.ค. 2563 โดยจําเลยทั้งสอง กับพวกอีก 5 คน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้แยกสํานวนดําเนินคดีต่างหาก เป็นแกนนําจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในครั้งนี้
ต่อมาวันที่ 20 ธ.ค. 2563 จําเลยทั้งสอง กับพวกอีก 5 คน ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามที่ได้เตรียมการและนัดหมายกันไว้ล่วงหน้า เพื่อแสดงกิจกรรมล้อเลียน ดูหมิ่น และต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และรัชกาลที่ 10 โดยการ แต่งกายใส่ชุดครอปท็อป, เขียนถ้อยคําหรือข้อความตามเนื้อตัวร่างกาย, ร่วมกันกล่าวคําพูดหรือถ้อยคํา แสดงบทบาท แสดงกิริยาอาการทางร่างกาย ใบหน้า และวิธีอื่นใดในทํานองเดียวกัน แล้วเดินวนเวียนไปมาที่บริเวณห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
การกระทำดังกล่าว มีเจตนาแสดงออกและสื่อความหมายให้ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สามเข้าใจว่า กลุ่มจําเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันแสดงตนหรือบทบาทล้อเลียนดูหมิ่นรัชกาลที่ 10, พระราชินี และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนเสื่อมความเคารพ ความศรัทธาต่อองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยณัฐได้แต่งกายชุดครอปท็อป เช่นเดียวกันกับพริษฐ์, ปนัสยา, เบนจา และภาณุพงศ์ ขณะที่ธนกรได้ร่วมกันทํากิจกรรมกับณัฐและพวกที่ถูกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และ “ยกเลิก ม.116, ม.112” ตลอดเวลาขณะทํากิจกรรมได้แสดงออกในลักษณะเป็นพวกเดียวกันและมีการร่วมกันชูมือ 3 นิ้ว และร่วมกันถ่ายรูปต่อหน้าสื่อมวลชน อันเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมือง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.277/2564 ลงวันที่ 26 พ.ย. 2564)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 20-01-2021นัด: แจ้งข้อกล่าวหาที่ สน.ปทุมวัน ณัฐ (นามสมมติ) และธนกร (สงวนนามสกุล) เยาวชนอายุ 17 ปี เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกิจกรรม #ใครๆก็ใส่ครอปท็อป ไปเดินสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 พร้อมกับนักกิจกรรมกลุ่มราษฎรอีก 4 ราย ได้แก่ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, เบนจา อะปัญ และ “ไมค์” ภานุพงศ์ จาดนอก
พ.ต.ท.เจริญศักดิ์ จงอิทธิ รอง ผกก. (สอบสวน) สน.ปทุมวัน ในฐานะพนักงานสอบสวน แจ้งพฤติการณ์ที่ณัฐและธนกรถูกกล่าวหาเหมือนกับคดีของนักกิจกรรม 4 ราย ระบุว่า ก่อนเกิดเหตุ พริษฐ์, ปนัสยา, ณัฐ และภาณุพงศ์ ได้โพสต์เชิญชวนผ่านเฟซบุ๊กให้ประชาชนมาร่วมกิจกรรมแต่งชุดครอปท็อป (Crop top) เพื่อมาเดินในศูนย์การค้าสยามพารากอนในวันที่ 20 ธ.ค. 2563
ต่อมาในวันดังกล่าว ผู้ต้องหาทั้งหมดได้มารวมตัวทำกิจกรรมในที่เกิดเหตุ โดยพริษฐ์, ปนัสยา, เบนจา, ณัฐ และภาณุพงศ์ ได้แต่งชุดครอปท็อป และมีการแสดงออกให้ประชาชนทั่วไปว่ากำลังแสดงเป็นรัชกาลที่ 10 และพระราชินี พร้อมด้วยข้าราชบริพาร พริษฐ์และปนัสยายังถือลูกโป่งรูปสุนัข โดยบอกประชาชนทั่วไปว่า ถือสุนัขชื่อ “ฟ่องฟู” และ “ฟูฟ่อง” เพื่อสื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนรัชกาลที่ 10 ที่มีสุนัขทรงโปรดชื่อ “ฟูฟู”
นอกจากนี้ พริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา ได้เขียนข้อความบนร่างกาย เช่น ยกเลิก 112, ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เป็นต้น ซึ่งมีความหมายต่อต้านสถาบันกษัตริย์ มีถ้อยคำหยาบคาย ท้าทาย มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่น ไม่ให้ความเคารพรัชกาลที่ 10 เบนจายังถือพานทองที่มีกระเป๋าวางอยู่บนพานและเดินตามพริษฐ์และปนัสยาตลอดเวลาในลักษณะเหมือนข้าราชบริพารเดินถือเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ณัฐและภาณุพงศ์ได้ร่วมเดินอยู่ในกลุ่มผู้ต้องหาตลอดเวลาและมีการร่วมชู 3 นิ้วถ่ายรูปร่วมกันที่ลานพาร์ค พารากอน
ส่วนธนกรได้ร่วมกับกลุ่มผู้ต้องหาแสดงออกในลักษณะเดียวกัน มีการชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” “ยกเลิก ม.116 ม.112” และร่วมเดินกับกลุ่มผู้ต้องหามาร่วมชู 3 นิ้วถ่ายรูป
ผู้กล่าวหาเห็นว่า การกระทำของกลุ่มผู้ต้องหามีเจตนาล้อเลียนรัชกาลที่ 10 ถือเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระมหากษัตริย์ จึงเข้าแจ้งความให้ดำเนินคดี
พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อกล่าวหาณัฐและธนกรว่า “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เช่นเดียวกับนักกิจกรรมอีก 4 คน
ณัฐและธนกรให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือภายในวันที่ 17 ก.พ. 2564 พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวอัยการวันที่ 5 มี.ค. 2564 หลังออกจาก สน.ปทุมวัน ทั้งสองพร้อมผู้ไว้ใจได้เดินทางไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กธนบุรีเพื่อกำหนดนัดหมายวันทำการสืบเสาะประวัติ โดยมีกำหนดนัดในวันที่ 27 ม.ค. 2564
เป็นที่สังเกตว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกหมายควบคุมตัวเยาวชนทั้งสอง ซึ่งก่อนหน้านี้ ในคดีมาตรา 112 ของเยาวชน 2 คดี คือ คดีที่สายชล (นามสมมติ) ตกเป็นผู้ต้องหาจากการแต่งชุดครอปท็อปและเขียนข้อความบนตัวเองไปในกิจกรรม #ม็อบ29ตุลา หน้าวัดแขก ถนนสีลม และคดีที่ธนกร ตกเป็นผู้ต้องหาจากเหตุปราศรัยในการชุมนุมบริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ หลังแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว พนักงานสอบสวนได้นำตัวไปยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกหมายควบคุมตัว โดยศาลอนุญาตให้ออกหมายควบคุมตัว และครอบครัวต้องวางหลักทรัพย์ประกันตัวเยาวชน ทั้งที่เยาวชนทั้งสองเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ไม่ได้ถูกจับกุมตามหมายจับแต่อย่างใด
(อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 20 ม.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/25370) -
วันที่: 27-01-2021นัด: สืบเสาะประวัติณัฐและธนกรขอเลื่อนนัดไปพบเจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ กรุงเทพฯ (ธนบุรี) เพื่อสืบเสาะประวัติไปเป็นวันที่ 3 ก.พ. 2564
-
วันที่: 03-02-2021นัด: สืบเสาะประวัติณัฐและธนกรพร้อมผู้ปกครองเดินทางไปพบเจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ กรุงเทพฯ (ธนบุรี) เพื่อสืบเสาะประวัติ
-
วันที่: 05-03-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการพนักงานสอบสวนเลื่อนนัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้อัยการไปเป็นวันที่ 10 มี.ค. 2564
-
วันที่: 10-03-2021นัด: ส่งตัวให้อัยการธนกรและณัฐเข้าพบพนักงานสอบสวนตามนัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 โดยทั้งสองได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้มีคำสั่งสอบสวนพยานเพิ่มเติมและสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 20 พ.ค. 2564
หนังสือขอความเป็นธรรมที่เยาวชนทั้งสองต่ออัยการ มีเนื้อหาดังนี้
1. การกล่าวหาว่าผู้ต้องหากระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พนักงานอัยการในคดีนี้ซึ่งมีฐานะเป็นพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการทําความเห็นสั่งคดีอาญา ย่อมต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายและแนวคําพิพากษาของศาลดีอยู่แล้ว จึงทราบดีอยู่ว่า การกระทำของผู้ต้องหาไม่เข้าองค์ประกอบความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับ “การกระทํา” ตามมาตรา 112 ซึ่งประกอบด้วยการกระทําใน 3 ลักษณะด้วยกัน คือ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และอาฆาตมาดร้าย
ความผิดตามมาตรา 112 เป็นความผิดอาญาที่มีโทษจํากัดอิสรภาพของบุคคลไว้อย่างสูง หากปล่อยให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้กล่าวโทษคนใดคนหนึ่ง “ตีความ” เอาตามอําเภอใจ เอาตามความคิด ความเข้าใจ ความเห็น หรือประสบการณ์ของตัวเอง โดย “ไร้ขอบเขต” จนเกินเลยไปกว่าทั้ง “ถ้อยคําและเจตนารมณ์” ที่กฎหมาย กําหนด และทั้งไม่เป็นการเข้า “องค์ประกอบของความผิด” ตามกฎหมายเลย ก็ย่อมเป็นการกระทําหรือการบังคับใช้กฎหมายที่ “ขัดต่อหลักกฎหมายอาญา” ที่ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” ในส่วนที่ว่าด้วย “กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด” จะตีความโดยเทียบเคียง หรือขยายความจนเกินเลยไปกว่าตัวบทบัญญัติ หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมายในทางที่เป็นโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจําเลยนั้นไม่ได้ และการปล่อยให้เป็นเช่นนี้ย่อมขัดกับหลักการนิติรัฐประชาธิปไตย ขัดกับระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอีกด้วย
2. คดีนี้นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวน โดยขอให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนพยานบุคคล เพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ดังต่อไปนี้
(1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สอบในประเด็นว่า ร.10 เคยมีพระราชดํารัสไม่ให้ใช้มาตรา 112 จริง หรือไม่ และได้มีพระราชดํารัสเป็นอย่างอื่นเพิ่มเติมหรือไม่
(2) พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง สอบในประเด็นว่า ร.10 ได้มีพระราชดํารัสกับ พล.อ.ประยุทธ์ ดังกล่าวจริงหรือไม่
แต่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ดําเนินการสอบสวนพยานเพิ่มเติมตามที่ผู้ต้องหาได้ร้องขอ ทําให้ผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีเดียวกันไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ตามที่กฎหมายกําหนด
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ต้องหาจึงขอให้อัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนพยานเพิ่มเติม โดยขอให้สอบพยานบุคคลทั้งสองปากในประเด็นดังกล่าวข้าวต้น
อาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ต้องหาจึงขอให้อัยการพิจารณาใช้อํานาจตามกฎหมายมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดฐาน ร่วมกันกระทําความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และเป็นไปตามหลักนิติรัฐ
(อ้างอิง: หนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สั่งสอบสวนพยานเพิ่มเติมและสั่งไม่ฟ้องคดี ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 10 มี.ค. 2564) -
วันที่: 20-05-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการเนื่องจากณัฐใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด จึงต้องกักตัวรอผลตรวจ ที่ปรึกษากฎหมายจึงโทรเลื่อนนัดฟังคำสั่งอัยการ อัยการให้เลื่อนนัดทั้ง 2 คน ไปวันที่ 28 มิ.ย. 2564
-
วันที่: 28-06-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการธนกรและณัฐเข้าพบพนักงานอัยการตามนัดหมาย อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 16 ก.ย. 2564
-
วันที่: 16-09-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการธนกรและณัฐเข้าพบพนักงานอัยการตามนัดหมาย อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 26 พ.ย. 2564
-
วันที่: 26-11-2021นัด: ฟังคำสั่งอัยการ (ฟ้อง)ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 ยื่นฟ้องธนกรและณัฐ ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา นับเป็นการฟ้องคดีเยาวชนที่แสดงออกทางการเมืองคดีที่ 9 โดยเป็นการฟ้องด้วยมาตรา 112 คดีที่ 4 ทั้งยังเป็นคดีที่ธนกรถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 คดีที่ 2
หลังศาลเยาวชนฯ รับฟ้องได้ให้ประกันตัวทั้งสอง โดยให้วางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยศาลได้นัดถามคำให้การอีกครั้งในวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 8.30 น.
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2564 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ได้ยื่นฟ้อง “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, เบนจา อะปัญ และ “ป๊อกกี้” ภวัต หิรัณย์ภณ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์” จากกิจกรรมเดียวกันนี้
อัยการบรรยายฟ้องระบุว่า ณัฐได้แต่งกายชุดครอปท็อป เช่นเดียวกันกับพริษฐ์, ปนัสยา, เบนจา และภาณุพงศ์ ขณะที่ธนกรได้ร่วมกันทํากิจกรรมกับณัฐและพวกที่ถูกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ชูป้ายกระดาษมีข้อความว่า “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และ “ยกเลิก ม.116, ม.112” ตลอดเวลาขณะทํากิจกรรมได้แสดงออกในลักษณะเป็นพวกเดียวกันและมีการร่วมกันชูมือ 3 นิ้ว และร่วมกันถ่ายรูปต่อหน้าสื่อมวลชน อันเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมือง
ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองระหว่างพิจารณาคดี แต่กรณีของธนกร อัยการขอให้นับโทษหรือระยะเวลาฝึกอบรมในคดีนี้ต่อจากโทษหรือระยะเวลาฝึกอบรมในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เหตุร่วม #ม็อบ1พฤศจิกา แยกอุดมสุข / บางนา และคดี 112 จากการปราศรัย #ม็อบ6ธันวา วงเวียนใหญ่
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.277/2564 ลงวันที่ 26 พ.ย. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/38872) -
วันที่: 07-02-2022นัด: สอบถามศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟัง ณัฐและธนกรให้การปฏิเสธ ที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยและอัยการขอเลื่อนตรวจพยานหลักฐานไปสักนัด เนื่องจากพยานหลักฐานมีจำนวนมาก ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 10 พ.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 21-06-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานโจทก์แถลงติดใจสืบพยานบุคคล 34 ปาก ใช้เวลาสืบ 9 นัด ฝ่ายจำเลยขอสืบพยานบุคคล 10 ปาก ใช้เวลา 2 นัด ที่ปรึกษากฎหมายจำเลยยื่นคำร้องขอจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าคดีหมายเลขดำที่ อ.118/2564 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ จะสืบพยานเสร็จ เนื่องจากพยานหลักฐานเป็นชุดเดียวกัน แต่ศาลเห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องจำหน่ายคดีชั่วคราว เนื่องจากฝ่ายจำเลยอาจได้พยานหลักฐานมาครบถ้วนก่อนวันนัดสืบพยานก็ได้
นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 8-9, 14-16, 21-23, 28 มิ.ย. 2566 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 29-30 มิ.ย. 2566
ในนัดนี้มีเจ้าหน้าที่สถานทูตลักเซมเบิร์กและเจ้าหน้าที่ผู้แทนสหภาพยุโรปเดินทางมาศาลเพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคดี แต่ศาลไม่อนุญาตให้อยู่ในห้องพิจารณา โดยแจ้งเหตุผลสั้น ๆ ว่า ตามข้อกำหนดของศาลเยาวชนฯ อนุญาตให้เฉพาะคู่ความเข้าร่วมการพิจารณาเท่านั้น
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่ ยชอ.277/2564 ลงวันที่ 21 มิ.ย. 2565) -
วันที่: 08-06-2023นัด: สืบพยานโจทก์เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และ Amnesty Thailand ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ในฐานะหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน ต่อคณะผู้พิพากษาคดีนี้ แต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยตลอดการสืบพยานคดีนี้ นอกจากคู่ความแล้ว ศาลไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีเลย
คดีนี้สืบพยานไปประมาณ 18 นัด ใช้ระยะเวลานานเกือบ 10 เดือน ตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. 2566 จนถึงปลายเดือน มี.ค. 2567 โดยในตอนแรก ฝ่ายโจทก์ประสงค์จะนำพยานเข้าเบิกความมากถึง 34 ปาก แต่ในสืบพยานจริงได้เข้าเบิกความ 8 ปาก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนัดหมาย ส่วนฝ่ายจำเลย จำเลยทั้งสองคนได้อ้างตัวเองเป็นพยานเข้าเบิกความ โดยศาลให้ตัดพยานนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญออก
ข้อต่อสู้ของฝั่งจำเลยมี 3 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน ดังนี้
1. การเข้าร่วมกิจกรรม #ใครๆก็ใส่ครอปท็อป จำเลยทั้งสองไม่ได้นัดหมายกัน รวมถึงไม่ได้นัดหมายกับจำเลยอื่นที่ถูกฟ้องด้วยเหตุเดียวกันที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทั้งสองเดินทางไปร่วมกิจกรรมเพราะเห็นโพสต์ประชาสัมพันธ์จากเฟซบุ๊กของ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ จึงเกิดความสนใจ จากนั้นจึงเดินทางไปร่วมกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยไม่ได้ทำการนัดหมายกับใครล่วงหน้า
2. การสวมใส่เสื้อครอปท็อปเป็นการกระทำที่สามารถทำได้ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่ถูกรองรับไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย
3. การร่วมกิจกรรมและการแสดงออกในวันดังกล่าว จำเลยไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/67583) -
วันที่: 21-03-2024นัด: สืบพยานจำเลยหลังสืบพยานจำเลยเสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 5 มิ.ย. 2567 เวลา 09.00 น.
-
วันที่: 05-06-2024นัด: ฟังคำพิพากษาเวลาประมาณ 10.20 น. ผู้พิพากษาได้มาถึงห้องพิจารณาที่ 13 โดยวันนี้มีเจ้าหน้าที่จากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง Amnesty Thailand และ iLaw เดินทางมาสังเกตการณ์ด้วย แต่ศาลไม่อนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์
จากนั้นศาลได้อ่านคำพิพากษา ซึ่งมีเนื้อหายาวมากกว่า 77 หน้า โดยมีใจความโดยสรุปว่า คดีนี้อัยการได้ฟ้องมาเพียง 1 กรรม แต่วันเกิดเหตุมีหลายเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น รวมแล้วประมาณ 6-7 เหตุการณ์ ซึ่งมีทั้งเหตุการณ์ที่มีเพียงจำเลยคนใดคนหนึ่งอยู่ร่วมด้วย หรือมีจำเลยทั้งสองอยู่ร่วมด้วยพร้อมกัน ฉะนั้นศาลจึงขอวินิจฉัยไปทีละประเด็นตามลำดับเหตุการณ์สำคัญ โดยกล่าวว่าไม่ใช่เพื่อลงโทษเอาผิดกับผู้ร่วมก่อเหตุที่ถูกฟ้องเป็นคดีอยู่ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ทั้ง 5 คน แต่เพื่อเป็นแนวทางวินิจฉัยการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองคนที่ศาลเยาวชนฯ แห่งนี้
เหตุการณ์ที่ 1 – การเขียนข้อความบนเนื้อตัวของ เพนกวิน – รุ้ง – เบนจา
ศาลได้วินิจฉัยถึงการเขียนข้อความบนร่างกายของพริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา รวมถึงการแสดงของเบนจาว่า เป็นการไม่เคารพนับถือรัชกาลที่ 10 และล้อเลียนราชินี ก่อนวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดในวันเกิดเหตุด้วยหรือไม่
ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองเข้าร่วมกิจกรรม เพราะเห็นโพสต์เชิญชวนจากเฟซบุ๊กที่มีภาพรัชกาลที่ 10 อยู่ด้วย และในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองอยู่ร่วมทำกิจกรรมเกือบจะตลอดทั้งกิจกรรมที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ห้างสยามพารากอน แม้ว่าจำเลยทั้งสองจะได้อ่านดูข้อความบนเนื้อตัวร่างกายของพริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา รวมถึงได้เห็นการถือพานและแสดงบทบาทเป็นข้าราชบริพารของเบนจาแล้ว หากจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาดูหมิ่นและหมิ่นประมาทก็ควรจะปลีกตัวแยกออกไป แต่จำเลยทั้งสองคนไม่ได้ปลีกตัวแยกออกไปแต่อย่างใด ยังคงอยู่ทำกิจกรรมอยู่ด้วยจนเกือบจะตลอดทั้งกิจกรรม จึงถือเป็นการเห็นด้วยกับการกระทำของพริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา จึงมีความผิดในฐานร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น รัชกาลที่ 10 และราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 2 บทสนทนาหน้าร้าน SIRIVANNAVARI
ช่วงหนึ่งของกิจกรรม พริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา ได้เดินไปยังบริเวณหน้าร้าน SIRIVANNAVARI และมีบทสนทนาตอบโต้ระหว่างกัน ศาลวินิจฉัยว่า มีเจตนาล้อเลียนรัชกาลที่ 10 และใส่ความเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี รัชทายาท เป็นการดูถูก ดูหมิ่น หมิ่นประมาท เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
ศาลเห็นว่า เหตุการณ์นี้มีณัฐกรณ์ จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมด้วย ย่อมได้ยินบทสนทนาทั้งหมด แต่ยังไม่ได้แยกตัวออกไป ยังยืนเข้าแถวเรียงหน้ากระดานกับพริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา และยังร่วมทำกิจกรรมต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีความพอใจ ยินดี และเห็นด้วยกับการกระทำของทั้ง 3 คน จึงมีความผิดตามมาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 3 ป๊อกกี้พูด ‘ทรงพระเจริญ’ – มอบดอกไม้
ช่วงหนึ่งของกิจกรรม ภวัตได้คุกเข่าและพูดว่า “ทรงพระเจริญ” จากนั้นได้ยื่นดอกไม้ให้กับพริษฐ์, ปนัสยา และเบนจา คนละ 1 ดอก แล้วพริษฐ์ได้ตอบกลับว่า “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ศาลเห็นว่า เป็นการล้อเลียนรัชกาลที่ 10 และราชินี เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
ศาลเห็นว่า เหตุการณ์นี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ด้วยในเหตุการณ์และไม่ปลีกตัวแยกออกไป จำเลยทั้งสองจึงมีเจตนาที่จะร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท เป็นความผิดตามมาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 4 บทสนทนาเรื่องราคากระเป๋า
ภวัตได้สอบถามราคากระเป๋าของปนัสยา จากนั้นจึงมีบทสนทนาระหว่างภวัต พริษฐ์ และปนัสยา ศาลเห็นว่า เป็นการล้อเลียนและดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 และราชินี
เหตุการณ์นี้จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมด้วย และไม่ปลีกแยกตัวออกไป ศาลเห็นว่า มีเจตนาเห็นด้วยกับการกระทำของพริษฐ์, ภวัต และปนัสยา จึงเป็นความผิดตามมาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 5 การตอบโต้ของ ‘เพนกวิน’ กับประชาชนเห็นต่างการเมือง
ช่วงหนึ่งของกิจกรรมพริษฐ์ได้พูดคุยโต้เถียงกับประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมืองรายหนึ่ง เหตุการณ์นี้ศาลเห็นว่าเป็นการตีตนเสมอและประชดประชันรัชกาลที่ 10 เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้าย เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112
ศาลเห็นว่า เหตุการณ์นี้ จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมด้วย ได้รับฟัง และเข้าใจข้อความทั้งหมด แต่ยังคงอยู่ร่วมกิจกรรมต่อไป ไม่ปลีกตัวแยกตัวออกมา จึงตีความได้ว่า จำเลยที่ 1 เห็นด้วยกับคำพูดของพริษฐ์ จึงมีความผิดตามมาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 6 ‘เพนกวิน’ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่ลานน้ำพุ
ช่วงหนึ่งของกิจกรรม พริษฐ์ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนบริเวณลานน้ำพุในทำนองว่า การที่รัชกาลที่ 10 สวมใส่ชุดครอปท็อป เป็นการสร้างความอับอายให้แก่ประชาชนชาวไทย ศาลเห็นว่า เป็นการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นรัชกาลที่ 10
เหตุการณ์นี้จำเลยทั้งสองอยู่ร่วมด้วย โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำการชู 3 นิ้ว และจำเลยที่ 2 ได้ชูป้ายข้อความร่วมด้วย ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาเห็นด้วยกับถ้อยคำให้สัมภาษณ์ของพริษฐ์ โดยยังคงอยู่ร่วมกิจกรรมต่อ และไม่ปลีกตัวแยกออกมา จึงมีความผิดตามมาตรา 112
เหตุการณ์ที่ 7 ป๊อกกี้หมอบกราบหน้าลิฟต์ และพูด ‘ทรงพระเจริญ’
ช่วงหนึ่งของกิจกรรม บริเวณหน้าลิฟต์ตัวหนึ่งของห้างพารากอน ภวัตได้นั่งหมอบกราบลงและพูดกับพริษฐ์ ปนัสยา และเบนจา ว่า “ทรงพระเจริญ” ศาลเห็นว่า เป็นการหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 และราชินี
เหตุการณ์นี้มีจำเลยที่ 2 อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 ได้นั่งพูดคุยอยู่กับบุคคลอื่น ไม่ให้ความสนใจ และไม่มีส่วนร่วม เฉพาะเหตุการณ์นี้ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามมาตรา 112
สุดท้าย ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการร่วมกันดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายรัชกาลที่ 10 และราชินี ให้ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี แต่ขณะกระทำความผิดทั้งสองมีอายุเพียง 17 ปี จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน
แต่จากการพิจารณารายงานพฤติกรรมและประวัติการศึกษาแล้ว ศาลเห็นว่า ทั้งสองทำผิดเพราะยังเยาว์วัย จึงให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ 1 ปี และขั้นสูง 2 ปี โดยต้องรับการฝึกวิชาชีพจำนวน 3 หลักสูตร และต้องศึกษาสายสามัญให้สำเร็จด้วย
จากนั้นทั้งณัฐกรณ์และธนกรถูกตำรวจศาลควบคุมตัวไปยังห้องควบคุมตัวของศาลในระหว่างรอฟังคำสั่ง หลังผู้ปกครองและนายประกันอาสาได้ยื่นประกันด้วยหลักทรัพย์คนละ 35,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยเป็นหลักทรัพย์เดิม 20,000 บาท และยื่นเพิ่มอีกคนละ 15,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสองระหว่างอุทธรณ์ โดยไม่กำหนดเงื่อนไขใด ๆ
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/67660)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนกร (สงวนนามสกุล)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกรณ์ (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนกร (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
05-06-2024
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกรณ์ (นามสมมติ)
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
05-06-2024
ศาลอุทธรณ์
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ธนกร (สงวนนามสกุล)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกรณ์ (นามสมมติ)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์