ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

ผู้กล่าวหา
  • ว่าที่ พ.ต.ต.สุพัฒน์ ดิสระ สวป.สน.ดุสิต (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • ว่าที่ พ.ต.ต.สุพัฒน์ ดิสระ สวป.สน.ดุสิต

ความสำคัญของคดี

"ไอซ์" (นามสมมติ) เยาวชน อายุ 14 ปี พร้อม “ภูมิ หัวลำโพง” (นามสมมติ) นักกิจกรรมอายุ 18 ปี ถูกตำรวจใช้กำลังเข้าจับกุมบริเวณแยกพระบรมรูปทรงม้าช่วงค่ำวันที่ 30 ธ.ค. 2564 จนได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลบวมที่ข้อมือและอาการมึนศีรษะ ขณะทั้งสองจะทำกิจกรรมชูป้าย แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า จะมีขบวนเสด็จผ่านมา ทั้งสองถูกควบคุมตัวไป สน.ดุสิต และถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" หลังทั้งสองแสดงป้ายผ้าให้ตำรวจตรวจสอบบริเวณด้านหน้า สน.ดุสิต โดยตำรวจกล่าวหาว่า ข้อความบนป้ายผ้ามีลักษณะอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ ภายหลังตำรวจยังแจ้งข้อกล่าวหา "ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน" เพิ่มเติมอีกด้วย

หลังถูกจับกุม ไอซ์ถูกขังพร้อมภูมิอยู่ที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) 1 คืน ก๋อนถูกนำตัวไปที่ศาลเยาวชนฯ เพื่อตรวจสอบการจับและขออำนาจควบคุมตัว โดยศาลเยาวชนฯ เห็นว่าการจับกุมเป็นไปโดยชอบและออกหมายควบคุม แม้ในระหว่างการจับกุม เจ้าหน้าที่จะใช้ความรุนแรงจนไอซ์ได้รับบาดเจ็บก็ตาม

กรณีนี้นอกจากสะท้อนให้เห็นปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งขยายขอบเขตจนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพกาารแสดงออกของประชาชนแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีเยาวชน ซึ่งไม่ได้มุ่งปกป้องสิทธิของเด็กตามอนุสัญญาสิทธิเด็กซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก แต่กลับมีแนวโน้มที่จะสร้างภาระทางคดีแก่เยาวชนมากกว่าผู้ใหญ่อีกด้วย

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

ชุดจับกุมระบุในบันทึกจับกุมว่า

เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 เวลาประมาณ 20.20 น. ขณะ ด.ต.เพียรชัย ขะบุญรัมย์ ผู้บังคับหมู่การจราจร สน.ดุสิต ปฏิบัติหน้าที่เตรียมความพร้อมในเส้นทางขบวนเสด็จ บริเวณแยกพระรูป ได้พบภูมิกับไอซ์ ซึ่งเป็นบุคคลเฝ้าระวัง โดยหนึ่งในนั้นใส่เสื้อยืดสีขาวข้อความสีแดงว่า “หมดเวลา112” จึงได้แจ้งให้ออกจากบริเวณดังกล่าว เนื่องจากใกล้เวลาขบวนเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากนั้นได้วิทยุแจ้งให้สายตรวจ สน.ดุสิต เข้าตรวจสอบผู้ต้องหาทั้งสองราย

เมื่อสายตรวจมาถึงได้เข้าตรวจสอบภูมิและไอซ์ที่กำลังเดินไปยังบริเวณป้ายรถประจําทาง ตรงข้ามประตูสนามเสือป่าฝั่งธนาคารทหารไทยธนชาติ พบว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังที่มีประวัติและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองบ่อยครั้ง จึงได้ควบคุมตัว ภูมิและไอซ์มายัง สน.ดุสิต เมื่อถึง สน.ดุสิต ทั้งสองได้เดินหนีออกมายังบริเวณปากซอยสุคันธาราม พร้อมแสดงป้ายผ้าที่มีข้อความ “ไอ้ษัตริย์ ปล่อยเพื่อนกู” ซึ่งมีลักษณะอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

(อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.ดุสิต ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/39352)

ความคืบหน้าของคดี

  • เวลา 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าควบคุมตัว “ไอซ์” เยาวชน อายุ 14 ปี พร้อมทั้ง “ภูมิ หัวลำโพง” อายุ 18 ปี ไปที่ สน.ดุสิต ขณะรวมตัวกันทำกิจกรรมที่บริเวณแยกพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 จะผ่านมา จนทำให้ทั้งสองคนได้รับบาดเจ็บบริเวณมือและข้อมือ

    หลังทนายความติดตามไปถึงประมาณ 22.00 น. พบภูมิ ไอซ์ และตำรวจหลายนายที่หน้า สน.ดุสิต โดยตำรวจยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาทั้งสองคนแต่อย่างใด และพยายามเชิญตัวพวกเขากลับเข้าไปใน สน.ดุสิต เพื่อตรวจสอบป้ายผ้าดังกล่าว นอกจากนี้ยังแจ้งว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

    อย่างไรก็ตาม ภูมิยืนยันว่า พวกเขาไม่ได้ขัดคำสั่ง เนื่องจากตำรวจใช้คำว่า “เชิญ” ซึ่งเขามีสิทธิที่จะทำตามหรือไม่ก็ได้ ในส่วนของป้ายผ้าก็ขอให้ตรวจสอบที่ถนนได้เลย ก่อนคลี่ป้ายผ้าออกต่อหน้าประชาชนและสื่อมวลชนอิสระ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายรีบเข้าไปฉุดกระฉากป้ายผ้าอย่างรุนแรง

    ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะยื้อแย่งป้ายผ้าจากภูมิ ประชาชนที่มาติดตามการจับกุมได้เข้าช่วยกันห้ามปรามเจ้าหน้าที่ จนเกิดเหตุชุลมุนวุ่นวายและทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหัวไหล่หลุด 1 ราย

    ภายหลังที่ภูมิและไอซ์ยินยอมเข้าไปใน สน.ดุสิต พร้อมด้วยทนายความ เพื่อเสียค่าปรับข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามที่ผู้กำกับ สน.ดุสิต แจ้งแต่แรก แต่ผู้กำกับกลับแจ้งใหม่ว่า ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ดำเนินคดีมาตรา 112

    ต่อมา เวลาประมาณ 23.55 น. หลังทำบันทึกการจับกุมเสร็จ ตำรวจได้แจ้งกับทนายความว่า จะพาผู้ต้องหาทั้งสองไปสอบปากคำที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) แทน เนื่องจากกลัวประชาชนและสื่อมวลชนไลฟ์สดแล้วจะเกิดความวุ่นวาย ส่วนประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บอีก 1 รายดังกล่าว ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำตัวส่งโรงพยาบาลตำรวจเพื่อรับการรักษาต่อไป

    บันทึกจับกุมระบุว่า เวลาประมาณ 20.20 น. ขณะ ด.ต.เพียรชัย ขะบุญรัมย์ ผู้บังคับหมู่การจราจร สน.ดุสิต ปฏิบัติหน้าที่เตรียมความพร้อมในเส้นทางขบวนเสด็จ บริเวณแยกพระรูป ได้พบภูมิกับไอซ์ ซึ่งเป็นบุคคลเฝ้าระวัง โดยหนึ่งในนั้นใส่เสื้อยืดสีขาวข้อความสีแดงว่า “หมดเวลา112” จึงได้แจ้งให้ออกจากบริเวณดังกล่าว เนื่องจากใกล้เวลาขบวนเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากนั้นได้วิทยุแจ้งให้สายตรวจ สน.ดุสิต เข้าตรวจสอบผู้ต้องหาทั้งสองราย

    เมื่อสายตรวจมาถึงได้เข้าตรวจสอบภูมิและไอซ์ที่กำลังเดินไปยังบริเวณป้ายรถประจําทาง ตรงข้ามประตูสนามเสือป่าฝั่งธนาคารทหารไทยธนชาติ พบว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังที่มีประวัติและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองบ่อยครั้ง จึงได้ควบคุมตัว ภูมิและไอซ์มายัง สน.ดุสิต เมื่อถึง สน.ดุสิต ทั้งสองได้เดินหนีออกมายังบริเวณปากซอยสุคันธาราม พร้อมแสดงป้ายผ้าที่มีข้อความ “ไอ้ษัตริย์ ปล่อยเพื่อนกู” ซึ่งมีลักษณะอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

    เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมตั้งข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

    ทั้งไอซ์และภูมิถูกคุมขังที่ บช.ปส.ตลอดคืน โดยยังไม่สอบปากคำไอซ์ แต่พนักงานสอบสวนจะนำตัวไปตรวจสอบการจับที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางฯ ในวันรุ่งขึ้น

    (อ้างอิง: บันทึกจับกุม สน.ดุสิต ลงวันที่ 30 ธ.ค. 2564 และ https://tlhr2014.com/archives/39352)
  • เวลา 08.30 น. พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต นำตัวไอซ์ไปที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อตรวจสอบการจับและขออำนาจควบคุมตัว ก่อนจะถูกพาไปสอบคำให้การต่อที่ สน.ดุสิต โดยมีที่ปรึกษาทางกฎหมายและผู้ไว้วางใจติดตามไปด้วย

    ศาลเยาวชนฯ เห็นว่า การจับกุมไอซ์เป็นไปโดยชอบ แม้ในระหว่างการจับกุม เจ้าหน้าที่จะใช้ความรุนแรงโดยการกระชากตัวและอุ้มผู้ต้องหาขึ้นรถตำรวจ จนทำให้เกิดบาดแผลบวมที่ข้อมือและอาการมึนศีรษะก็ตาม

    ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวไอซ์ตามที่ที่ปรึกษากฎหมายยื่นคำร้อง โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และนัดให้ไปพบเจ้าหน้าที่ที่สถานพินิจฯ ในวันที่ 6 ม.ค. 2565 และให้นายประกันนำตัวผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาล ในวันที่ 21 ก.พ. 2565

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/39352)
  • ไอซ์พร้อมผู้ปกครองและที่ปรึกษากฎหมายเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมตามที่พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต นัดหมาย โดย พ.ต.ท.พิชัย มีอัฐมั่น และ ร.ต.อ.วราช บุญยืน ได้แจ้งพฤติการณ์คดีตามที่เคยได้แจ้งในวันจับกุม จากนั้นแจ้งข้อกล่าวหาไอซ์เพิ่มเติมว่า “ร่วมกัน" หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

    ไอซ์ให้การปฏิเสธเช่นเดิม หลังลงบันทึกประจำวัน พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวกลับ

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา (เพิ่มเติม) สน.ดุสิต ลงวันที่ 27 ม.ค. 2565)
  • พนักงานสอบสวนนัดหมายไอซ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยนัดหมายที่ สน.บางซื่อ ครั้งนี้ พ.ต.ท.พิชัย และ ร.ต.อ.วราช แจ้งพฤติการณ์คดีเพิ่มเติมด้วย ระบุว่า วันเกิดเหตุ หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบภูมิและไอซ์บริเวณแยกพระรูป และพบว่าเป็นบุคคลเฝ้าระวังที่มีประวัติการเคลื่อนไหวทางการเมืองบ่อยครั้ง ได้แจ้งให้ทั้งสองคนทราบว่า เส้นทางดังกล่าวจะมีขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 ผ่าน และขอให้ออกจากบริเวณดังกล่าวเพื่อเป็นการรักษาเส้นทางเสด็จผ่านและถวายความปลอดภัยฯ แต่ทั้งสองคนยังคงฝ่าฝืนคําสั่ง เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวมายัง สน.ดุสิต เมื่อถึง สน.ดุสิต ภูมิและไอซ์ได้เดินหนีออกมายังบริเวณปากซอยสุคันธาราม พร้อมแสดงป้ายผ้า

    จากนั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาไอซ์และภูมิเพิ่มเติมอีก 1 ข้อหา คือ ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ไอซ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาเช่นเดิม

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา (เพิ่มเติม) สน.บางซื่อ ลงวันที่ 11 มี.ค. 2565)
  • พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต นัดหมายไอซ์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีกเป็นครั้งที่ 3 โดยนัดหมายที่ สน.ดุสิต โดย พ.ต.ท.พิชัย ได้จัดทำบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาให้ชัดเจนว่า การกระทำของไอซ์ในวันที่ 30 ธ.ค. 2564 เป็นความผิดฐาน "ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร" ไอซ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาเช่นเดิม โดยมีที่ปรึกษากฎหมายและผู้ไว้วางใจ รวมทั้งนักจิตวิทยาเข้าร่วมรับฟังการแจ้งข้อกล่าวหาครั้งนี้ด้วย

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา (เพิ่มเติม) สน.ดุสิต ลงวันที่ 4 เม.ย. 2565)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
“ไอซ์” (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์