ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
ดำ อ.756/2565

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน (มาตรา 136)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ดำ อ.756/2565
ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ความสำคัญของคดี

นักกิจกรรมรุ่นใหม่ 6 ราย พร้อมสื่ออิสระอีก 2 ราย ถูกดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ", "ยุยงปลุกปั่น" และ "ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน" จากการทำกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 โดยสื่ออิสระทำการถ่ายทอดสดกิจกรรมเท่านั้น บางรายยังถูกดำเนินคดีข้อหา "ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ" และ "ดูหมิ่นเจ้าพนักงานฯ" ด้วย ทั้งหมดถูกฝากขังในชั้นสอบสวนแม้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ทำให้ต้องประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท ทั้งยังต้องติด EM และถูกกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ และห้ามโพสต์เชิญชวนหรือเข้าร่วมการชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวาย กิจกรรมครั้งนี้ยังมีเยาวชนอายุไม่ถึง 15 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันนี้อีกรายหนึ่งด้วย

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

อรรถพันธ์ ตั้งมโนวุฒิกุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 บรรยายคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้งแปดกับพวก (เยาวชน) ได้ร่วมกันกระทำความผิด และต่างกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ

1. จำเลยทั้งแปดกับพวกดังกล่าว ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท โดยการร่วมกันทำแผ่นป้ายกระดาษสีขาวขนาดใหญ่ โดยทำให้ปรากฏข้อความที่ส่วนบนของกระดาษว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่” โดยส่วนด้านล่างของแผ่นกระดาษ ได้ทำการแบ่งออกเป็น 2 ช่อง แล้วทำให้ปรากฏข้อความที่ช่องทางด้านซ้ายมือของผู้อ่านว่า “เดือดร้อน” และที่ช่องทางด้านขวามือของผู้อ่านว่า “ไม่เดือดร้อน” ออกเผยแพร่แสดงแก่ประชาชนทั่วไป

และได้แจกสติ๊กเกอร์สีเขียวเพื่อให้ประชาชนผู้สัญจรผ่านไปมาในบริเวณดังกล่าว และในละแวกใกล้เคียงที่ประสงค์แสดงความคิดเห็น นำสติ๊กเกอร์ดังกล่าวไปติดที่ช่องที่เลือก อันเป็นการสื่อความหมายเป็นการโจมตีเรื่องขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นโบราณราชประเพณีสืบต่อกันมาในการถวายความปลอดภัยให้กับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์

โดยเจตนาจะสื่อไปถึงสถาบันกษัตริย์ว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นการทำให้ปรากฏข้อความ หนังสือ แก่ประชาชน อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

2. จําเลยทั้งแปดกับพวกยังได้รวมกลุ่มกันเพื่อเดินทางไปยังบริเวณหน้าวังสระปทุม พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผกก.สน.ปทุมวัน ได้สั่งให้จําเลยทั้งแปดกับพวกหยุดกระทําการและห้ามเดินทางรวมกลุ่มไปยังบริเวณหน้าวังสระปทุม ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานที่ประทับของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จําเลยทั้งแปดกับพวกได้ทราบคําสั่ง แต่ไม่ปฏิบัติตาม โดยยังขืนกระทําการอันเป็นความผิดตามข้อ 1. และยังร่วมกันเดินรวมกลุ่มไปยังบริเวณหน้าวังสระปทุม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

3. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ตั้งแนวกั้น และวางแผงเหล็กเป็นแนวรั้วกั้น ไม่ให้มีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมเข้าไปในบริเวณหน้าวังสระปทุม อันเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในการถวายความปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัยฯ มาตรา 5, 6 และ พ.ร.บ.ตํารวจแห่งชาติฯ มาตรา 6 จําเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 8 ซึ่งมีจํานวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ดังกล่าว โดยใช้กําลังประทุษร้ายผลักดันแนวกั้น และแนวรั้วป้องกันดังกล่าว

4. ขณะที่ พ.ต.ต.ชูชีพ วงษ์บุญเพ็ง สารวัตรสืบสวน กองกํากับการสืบสวนตํารวจนครบาล 6 ซึ่งแต่งกายนอกเครื่องแบบ กับพวก กําลังปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัย ตั้งแนวรั้วป้องกันไม่ให้จําเลยทั้งแปดกับพวก ล่วงล้ำเข้าไปบริเวณหน้าวังสระปทุม จําเลยที่ 4 ได้ดูหมิ่น พ.ต.ต.ชูชีพ โดยการชี้นิ้วพร้อมกับกล่าวต่อว่า ด่าทอด้วยถ้อยคําหยาบคาย

5. หลังเกิดเหตุ จําเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยการชู 3 นิ้วที่บริเวณหน้าวังสระปทุม และให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว จําเลยที่ 3 ได้ดูหมิ่น พ.ต.อ.นริศ ปรารถนาพร ผู้กํากับการ ประจํากองกํากับการสืบสวน กองบังคับการตํารวจนครบาล 6 โดยการชี้นิ้วมาทาง พ.ต.อ.นริศ พร้อมกับกล่าวต่อว่าด่าทอด้วยถ้อยคําหยาบคาย

(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 30 พ.ค. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ระหว่าง "ตะวัน" ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมวัย 20 ปี ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ บช.ปส. หลังถูกจับกุมขณะไลฟ์สดที่หน้า UN ได้มีพนักงานสอบสวนจาก สน.ปทุมวัน เข้าแจ้งข้อกล่าวหาในอีกคดีหนึ่ง จากกิจกรรมทำโพลสอบถามความคิดเห็นว่า “ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่” ที่บริเวณลานหน้าห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565

    จากการตรวจสอบพบว่าตำรวจเพิ่งมีการออกหมายเรียกทานตะวันให้ไปพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 10 มี.ค. 2565 โดยระบุว่าคดีมี พ.ต.ท.นพดล สินศิริ กับพวก เป็นผู้กล่าวหา แต่ ร.ต.ท.ปาณัสม์ กลิ่นขจร รองสารวัตร (สอบสวน) สน.ปทุมวัน ได้เดินทางเข้าแจ้งข้อกล่าวหาก่อนในวันนี้

    พนักงานสอบสวนแจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาโดยระบุถึงกิจกรรมทำโพล “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?” เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 โดยกลุ่มทะลุวัง ที่บริเวณห้างสยามพารากอน กล่าวหาว่าทานตะวันพร้อมกับนักกิจกรรมคนอื่นๆ ได้ร่วมกันชูป้ายข้อความ และเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ด้วยการนำสติกเกอร์สีเขียว ไปติดในช่องข้อความคำว่า “เดือดร้อน” และ “ไม่เดือดร้อน” โดยมีการเดินไปทำกิจกรรมยังที่ต่างๆ

    ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามปิดกั้นไม่ให้เดินไปทำกิจกรรมที่บริเวณด้านหน้าวังสระปทุม แต่ผู้ต้องหาได้ผลักดันแนวกั้นของตำรวจ พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผู้กำกับ สน.ปทุมวัน จึงได้ประกาศให้ผู้ต้องหาและพวกออกไปจากบริเวณ แต่ผู้ต้องหายังฝ่าฝืนจัดกิจกรรมต่อไป โดยผู้เข้าร่วมที่ได้ด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนมีการแยกย้ายและออกจากบริเวณดังกล่าวไป ผู้กล่าวหาจึงได้มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด 4 ข้อหา ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116, ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกระทําความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368

    ทั้งนี้พฤติการณ์ข้อกล่าวหา ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าส่วนใดของกิจกรรมดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามข้อหามาตรา 112 และมาตรา 116

    ทานตะวันได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือต่อไป

    จากนั้น พนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันไว้ และได้นัดหมายให้ทานตะวันไปพบที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันพรุ่งนี้่ (8 มี.ค. 2565) เพื่อพนักงานสอบสวนจะดำเนินการยื่นขอฝากขังทานตะวันต่อไป

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา บช.ปส. ลงวันที่ 7 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41057)
  • พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ยื่นขอฝากขังทานตะวันต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยศาลได้อนุญาตให้ฝากขัง ก่อนทนายความจะยื่นขอประกันตัวทานตะวัน

    ต่อมาเวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันทานตะวัน โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันจำนวน 200,000 บาท ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่

    1. ห้ามทำกิจกรรมหรือการกระทำใดที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    2. ห้ามโพสต์เชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
    3. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
    4. ให้ติดอุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

    ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาในคดีนี้อีก 8 ราย ในจำนวนนี้เป็นเยาวชนอายุย่าง 15 ปี 1 ราย ให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ปทุมวัน ในวันที่ 10 มี.ค. 2565 นี้ โดยตำรวจระบุว่าจะแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 และมาตรา 116 ต่อทุกคน และเตรียมจะยื่นขอฝากขังต่อศาลทั้งหมดด้วย

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/41057)
  • ที่ สน.ปทุมวัน นักกิจกรรมรุ่นใหม่ 5 ราย ประกอบด้วย “แบม”, “ใบปอ” ทะลุวัง, เนติพร (สงวนนามสกุล), ฐากูร (สงวนนามสกุล), ‘บีม’ ณัฐกรณ์ (สงวนนามสกุล) พร้อมทั้ง “ไอซ์” เยาวชนวัยย่าง 15 ปี อีก 1 ราย เดินทางพร้อมทนายความเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกจากเหตุทำกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 คดีเดียวกับทานตะวัน

    บรรยากาศบริเวณ สน.ปทุมวัน มีมวลชนเดินทางมาให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง และมีการเล่นดนตรีอยู่บนทางเท้าตรงข้าม สน. ทั้งนี้ด้านหน้าและด้านใน สน.ปทุมวัน มีการวางแผงเหล็กจำกัดการเข้าถึงสถานี โดยเปิดทางเข้าแค่ทางเดียว มีการตั้งโต๊ะจุดคัดกรอง และจดรายชื่อทุกคนที่เดินทางเข้า สน.

    เวลา 10.30 น. หลังผู้ได้รับหมายเรียกเดินทางเข้าไปในสถานี ร.ต.ท.ปาณัสม์ กลิ่นขจร และคณะพนักงานสอบสวน เริ่มอ่านบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา ระบุก่อนเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 19.46 น. กลุ่ม “ทะลุวัง – ThaluWang” ลงข้อความผ่านเฟซบุ๊กเชิญชวนประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมกิจกรรม “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?” ในวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งมีผู้เข้ามาดูข้อความดังกล่าว ทั้งมีการแสดงความคิดเห็น และมีการแชร์ข้อความดังกล่าวจํานวนมาก

    ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ทานตะวันและใบปอได้ร่วมกันชูป้ายข้อความ ซึ่งมีหัวข้อว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่” และยังมีการขีดเส้นแบ่งออกเป็นสองช่อง และมีคําว่า “เดือดร้อน” ปรากฏอยู่บนป้ายทางด้านซ้ายมือ ส่วนคําว่า “ไม่เดือดร้อน” อยู่บนป้ายทางด้านขวามือ และพูดเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น ด้วยการนําแผ่นสติ๊กเกอร์สีเขียวที่ทั้งสองคนเตรียมไว้ไปติดในช่องของข้อความดังกล่าวข้างต้น โดยมีผู้ต้องหาอีกรายทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายวีดีโอไลฟ์สดเหตุการณ์ ในขณะนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าสยามพารากอน ได้เข้ามาชี้แจงห้ามมิให้ ทั้งคู่ทํากิจกรรมแต่ปรากฏว่าทั้งหมดไม่ยอมหยุด

    จากนั้น ได้มีผู้ต้องหาคนอื่นๆ ทยอยมาเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และมีการเดินทางยังจุดต่างๆ รวมทั้งพยายามเดินไปทำกิจกรรมที่บริเวณด้านหน้าวังสระปทุม เจ้าหน้าที่อ้างว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้ผลักดันแนวกั้นของตำรวจ โดยมี พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผู้กำกับ สน.ปทุมวัน ได้ประกาศให้ผู้ต้องหาและพวกออกไปจากบริเวณ แต่ผู้ต้องหายังฝ่าฝืนจัดกิจกรรมต่อไป โดยผู้เข้าร่วมบางคนได้ด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนมีการแยกย้ายและออกจากบริเวณดังกล่าวไป ผู้กล่าวหาจึงได้มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

    พนักงานสอบสวนแจ้ง 3 ข้อกล่าวหากับนักกิจกรรมทั้งห้าเหมือนกัน ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ”, “ยุยงปลุกปั่นฯ” และ "ร่วมกันขัดคำสั่งเจ้าพนักงานฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ 368

    ใบปอ, ฐากูร และบีม ยังถูกแจ้งอีก 1 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยร่วมกระทําความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 รวมเป็น 4 ข้อหา ขณะที่เนติพรยังถูกแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 “ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่” รวมเป็น 4 ข้อหาเช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้พฤติการณ์ข้อกล่าวหา ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าส่วนใดของกิจกรรมดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามข้อหามาตรา 112 และมาตรา 116

    ++ตำรวจยื่นขอฝากขัง แม้ผู้ต้องหาจะมาตามหมายเรียก ไม่ได้หลบหนี++

    เวลา 11.45 น. ภายหลังการแจ้งข้อกล่าวหาและลงบันทึกประจำวัน พนักงานสอบสวนได้แจ้งว่าจะมีการขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในช่วงบ่าย ด้านเยาวชนได้แยกไปศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

    ทั้งนี้ ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขัง และขอให้มีการไต่สวนคำร้องขอฝากขังที่ศาล แทนการไต่สวนผ่านคอนเฟอเรนซ์ ต่อมา นักกิจกรรมทั้ง 5 คน ถูกนำตัวขึ้นรถตู้จากด้านหลัง สน.ปทุมวัน ไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยทั้งหมดไม่ได้รับอนุญาตให้พบผู้มาให้กำลังใจด้านหน้า สน.ปทุมวันแต่อย่างใด

    เวลา 14.45 น. ศาลเริ่มไต่สวน ร.ต.ท.ปาณัสม์ กลิ่นขจร พนักงานสอบสวน เบิกความว่า พนักงานสอบสวนของฝากขังครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 10-21 มี.ค. 2565 เพื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติมพยานบุคคลอีก 10 คน และรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือกับประวัติอาชญากรจากสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

    ต่อมา ร.ต.ท.ปาณัสม์ ตอบคำถามทนายความว่า ตนทราบดีว่าผู้ต้องหาทั้ง 5 คนมาตามกำหนดวันและตรงกับเวลาที่ลงไว้ในหมายเรียกให้มาพบพนักงานสอบสวนครั้งที่ 1 และการส่งหมายเรียกไปทั้ง 5 ฉบับนั้นส่งไปที่บ้านของผู้ต้องหาทั้ง 5 คน อันแสดงให้เห็นถึงว่าผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และการมาพบพนักงานสอบสวนในวันนี้ทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธในทุกข้อหาไว้แล้ว รวมถึงยอมพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรมด้วยดี

    ร.ต.ท.ปาณัสม์ ได้ตอบทนายความถึงช่วงอายุของผู้ต้องหาทั้งหมดที่มีตั้งแต่อายุ 18 ถึง 26 ปี โดยมีหนึ่งคนที่เพิ่งอายุเลยเกณฑ์เยาวชนมาไม่นาน และอีกสองคนที่กำลังศึกษาอยู่ปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปี 2 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งผู้ต้องหาเหล่านี้ไม่มีทางไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนจะสอบเพิ่มได้

    ทั้งนี้ พยานบุคคลที่พนักงานสอบสวนจะสอบเพิ่มที่ประกอบด้วยประชาชนทั่วไป 3 คน, ตำรวจที่อยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์อีกประมาณ 4 คนนั้น พนักงานสอบสวนก็ไม่ได้แจ้งว่ารายชื่อต่อผู้ต้องหาทั้งหมด ผู้ต้องหาจึงไม่มีทางที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานเหล่านี้ได้ อีกทั้ง พนักงานสอบสวนยังรับว่า การไม่รับฝากขังผู้ต้องหาทั้งหมดไว้ในครั้งนี้ ไม่ทำให้การสอบสวนไม่สามารถดำเนินไปได้ การสอบสวนยังดำเนินการได้ตามปกติ

    ต่อมา ผู้ต้องหาทั้ง 5 คนแถลงด้วยวาจาผ่านทนายความว่าเหตุผลการฝากขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การฝากขังนี้จัดทำขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมเพื่อแสดงความเห็นในประเด็นของสังคม ขั้นตอนการสอบสวนที่เหลือเป็นขั้นตอนของพนักงานสอบสวนเอง

    อีกทั้ง ผู้ต้องหาทั้งหมดปฏิบัติตามกำหนดและเวลาในหมายเรียก และไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะสอบเพิ่มได้ โดยทุกคนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ขอให้ศาลยกคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน

    เวลา 15.25 น. หลังเสร็จการไต่สวน ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำขอของพนักงานสอบสวน ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งห้า ระหว่างรอว่าศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ นักกิจกรรมทั้ง 5 คนถูกนำไปควบคุมตัวไว้ที่ห้องขังใต้ถุนศาล

    ทั้งนี้ ตลอดการไต่สวนและการฟังคำสั่งมีตำรวจศาล 1 นาย และพนักงานรักษาความปลอดภัย 2 นาย ยืนคุมอยู่ที่ประตูห้องพิจารณาตลอดเวลา รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจำนวนหนึ่งนั่งรออยู่หน้าห้องพิจารณาด้วย

    เวลา 16.30 น. สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวนักกิจกรรมทั้ง 5 ราย โดยให้วางหลักทรัพย์จำนวน 200,000 บาท พร้อมกำหนด 4 เงื่อนไขการประกันตัวเช่นเดียวกับทานตะวัน ซึ่งถูกแจ้งข้อกล่าวหาและได้รับการอนุญาตประกันตัวก่อนหน้านี้

    หลังวางหลักประกันเป็นเงินสดจากกองทุนราษฎรประสงค์รวม 1,000,000 บาท ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวในเวลาประมาณ 18.00 น. และเดินลงมาพบผู้มาให้กำลังใจและสัมภาษณ์สื่อมวลชนด้านหน้าตึกศาล

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 10 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41224)
  • วรเวช (สงวนนามสกุล) อายุ 31 ปี สื่ออิสระจากเฟซบุ๊กเพจ ‘ปล่อยเพื่อนเรา‘ และ “นุ้ย” (นามสมมติ) อายุ 48 ปี สื่ออิสระจากยูทูบ ‘ศักดินาเสื้อแดง‘ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียก จากกรณีร่วมกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565

    ร.ต.ท.ปาณัสม์ กลิ่นขจร ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อทั้งสองคน ระบุพฤติการณ์ข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับคนอื่นๆ คือการร่วมกิจกรรมของกลุ่มทะลุวัง ทำโพลสำรวจในประเด็นว่า “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?” โดยให้ประชาชนนำแผ่นสติ๊กเกอร์สีเขียวไปร่วมแปะในช่องข้อความว่า “เดือดร้อน” หรือ “ไม่เดือดร้อน”

    พนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า วรเวชได้ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายวิดีโอในไลฟ์สดเหตุการณ์ตามจุดต่างๆ ก่อน “นุ้ย” มาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย และได้ไลฟ์สดกิจกรรมเช่นกัน

    จากนั้น ผู้ทำกิจกรรมได้พยายามเดินไปที่ด้านหน้าวังสระปทุม ตำรวจกล่าวหาว่ามีการพยายามผลักดันแนวกั้นของตำรวจ และฝ่าฝืนจะทำกิจกรรมต่อไป โดยนุ้ยด่ากล่าวถ้อยคำด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่พยายามเข้าอุ้มตัวนักกิจกรรมที่เป็นผู้หญิง

    พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาทั้งสองคน ได้แก่ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ”, “ยุยงปลุกปั่นฯ”, ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานฯ โดยร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตามมาตรา 138 ประกอบมาตรา 140, ร่วมกันฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 368 เฉพาะ “นุ้ย” ตำรวจยังได้แจ้งข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามมาตรา 136 อีก 1 ข้อหาด้วย

    พฤติการณ์ข้อกล่าวหาไม่ได้มีการระบุแน่ชัดว่าส่วนใดของกิจกรรมที่เข้าข่ายองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 และมาตรา 116

    ทั้งสองคนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน

    หลังการแจ้งข้อกล่าวหา ร.ต.อ.ปาณัสม์ กลิ่นขจร พนักงานสอบสวน ได้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แม้ทั้งสองคนจะมาตามหมายเรียก และไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี โดยอ้างว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 10 ปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา

    พนักงานสอบสวนยังคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าผู้ต้องหาได้ร่วมกันกระทำ “ความผิด” กับทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ซึ่งเป็นนักจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะที่ผ่านมา และมีพฤติการณ์จะไปยุ่งเหยิงต่อพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าพฤติการณ์ดังกล่าวคืออะไร

    ต่อมาศาลอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา แต่มนัส ภักดิ์ภูวดล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมให้ติดกำไล EM โดยอ้างว่า “เพื่อป้องกันการหลบหนี” และกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่

    1. ห้ามกระทำกิจกรรมหรือกระทำการใด หรือกระทำการในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา ที่อาจทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    2. ห้ามโพสต์ข้อความปลุกปั่น ยั่วยุ ชักชวนให้มีการร่วมกิจกรรมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง

    นัดรายงานตัวต่อศาลในวันที่ 9 พ.ค. 2565 เวลา 08.30 น.

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 22 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41729)
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันใบปอและเนติพรของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ในคดีนี้

    ในช่วงเช้า ได้มีกลุ่มสื่ออิสระจำนวนหนึ่งเดินทางมาร่วมไลฟ์หน้าศาลเพื่อติดตามสถานการณ์ของนักกิจกรรมทั้ง 2 รายด้วย บรรยากาศก่อนเริ่มพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความเข้มงวด โดยมีการตั้งโต๊ะตรวจสัมภาระของผู้เข้าร่วมฟังพิจารณาคดี ในวันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเยอรมนีและสถานทูตฟินแลนด์ และประชาชนผู้สนใจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย

    ผู้รับมอบฉันทะทนายความได้แถลงต่อศาล ขอเลื่อนนัดไต่สวนถอนประกันของนักกิจกรรมทั้ง 2 ราย เนื่องจากทนายความของผู้ต้องหาติดภารกิจว่าความที่ศาลอื่น

    ศาลได้พิจารณาคำร้อง ก่อนแจ้งว่าการไต่สวนนี้เป็นกรณีระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวน จาก สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องขอถอนประกัน แต่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหามีสิทธิคัดค้านคำร้องดังกล่าว และสิทธิที่จะซักถามพยานในชั้นไต่สวน ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และให้ผู้ต้องหาได้ใช้สิทธิตามกฎหมายได้อย่างเต็มที่โดยมีทนายความ จึงอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนออกไปเป็นวันที่ 27 เม.ย. 2565 เวลา 09.00 น. เนื่องจากเห็นว่าวันดังกล่าว ผู้ต้องหามีนัดต้องมารายงานตัวที่ศาลอยู่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ผู้รับมอบฉันทะได้ติดต่อปรึกษากับทนายความ และได้ร้องขอให้เลื่อนการไต่สวนในวันดังกล่าวเป็นช่วงบ่ายแทน เนื่องจากในช่วงเช้า ทนายความของผู้ต้องหาติดภารกิจต้องพาผู้ต้องหาในคดีอื่นไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกครั้งที่ 2 ซึ่งไม่สามารถเลื่อนนัดได้ เนื่องจากหากไม่ไปตามหมายอาจจะถูกออกหมายจับ

    10.45 น. ศาลอ่านรายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งยังยืนยันการนัดหมายไต่สวนในช่วงเช้า โดยได้กำชับทนายความผู้ต้องหาผ่านผู้รับมอบฉันทะว่า หากทนายความผู้ต้องหาไม่สะดวกในการมาทำหน้าที่ในวันเวลาดังกล่าว ให้เตรียมทนายความคนอื่นมาทำหน้าที่แทน นอกจากนี้ ศาลยังไม่ได้บันทึกถ้อยคำแถลงที่ทนายความผู้ต้องหาแจ้งผ่านผู้รับมอบฉันทะถึงเหตุขัดข้องไว้ด้วย

    ภายหลังเสร็จสิ้นการพิจารณา นักกิจกรรมทั้ง 2 ราย เปิดเผยทราบว่าทั้งคู่มีโอกาสที่ศาลจะพิจารณามีคำสั่งถอนประกันตัว ตามคำร้องของตำรวจ สน.ปทุมวัน และคงจะต้องเตรียมรับมือกับการใช้ชีวิตในเรือนจำ โดยทั้งสองได้ฝากให้ติดตามกลุ่มทะลุวังต่อไป เนื่องจากว่ามีข้อมูลหลายอย่างที่ไม่ใช่แค่เรื่องขบวนเสด็จ ซึ่งอยากจะเปิดเผยให้กับประชาชนและสังคมได้รับรู้

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 19 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42640)
  • เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนคำร้องของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ที่ขอถอนประกัน ‘ใบปอ’ และ ‘เนติพร’ (สงวนนามสกุล) จากกลุ่มทะลุงวัง ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 กรณีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565

    ในช่วงเช้าวันนี้ พบกลุ่มสื่อมวลชนจำนวนมากร่วมติดตามสถานการณ์อยู่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ตลอดจนมีเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติ (UN) และสถานทูตเยอรมนี นักกิจกรรมและประชาชน รวมประมาณ 20 คน เดินทางมาเข้าร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจนักกิจกรรมทั้ง 2 รายในห้องพิจารณาด้วย

    เวลา 10.40 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 601 ศาลได้ให้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ผู้ร้อง เข้าเบิกความ และไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้อง โดยศาลขอให้ผู้ร้องแสดงบัตรประจำตัวหรือบัตรประชาชน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้พกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่หรือบัตรประชาชนมาแต่อย่างใด

    ก่อนเริ่มการไต่สวน ศาลได้ชี้แจงให้ใบปอ, เนติพร และทนายผู้ต้องหาทราบว่า “ในการไต่สวนวันนี้จะทำเหมือนการสืบพยาน และเมื่อไต่สวนเสร็จ ศาลจะเข้าประชุมกับคณะผู้บริหารศาลอาญา และขอให้ผู้ต้องหารอฟังคำสั่งต่อไป”

    การไต่สวนเริ่มขึ้นโดยศาลได้สอบถามพนักงานสอบสวนว่า ในวันที่ 8 ก.พ. 2565 ผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ได้เข้าชุมนุมแบบใด พนักงานสอบสวนเบิกความว่า ทั้งสองเป็นผู้จัดกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน โดยมี ‘ใบปอ’ เป็นผู้ถือป้ายโพล และ ‘เนติพร’ เป็นผู้ถือสติกเกอร์แจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดินสัญจรผ่านไปมา โดยบนแผ่นป้ายปรากฏช่องแสดงความคิดเห็น 2 ประการ คือ เดือนร้อนและไม่เดือดร้อน โดยมีใบปอเป็นผู้ชักชวนให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยการติดสติกเกอร์ลงในช่องดังกล่าว ส่วนเนติพรเป็นผู้ถือสติกเกอร์เพียงเท่านั้น

    ศาลถามต่ออีกว่า หลังจากการยืนถือโพลอยู่บริเวณหน้าสยามพารากอน ผู้ชุมนุมได้เคลื่อนตัวไปที่ไหน อย่างไรบ้าง พนักงานสอบสวนเบิกความตอบว่า ผู้ชุมนุมรวมถึงผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ได้เคลื่อนตัวไปทำโพลที่หน้าร้าน Sirivannavari หลังจากนั้นก็ย้ายไปที่ลานน้ำพุในห้างดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างคอยควบคุมอยู่ตลอดเวลา เวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมและผู้ต้องหาได้เคลื่อนตัวไปที่วังสระปทุม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยควบคุมความสงบอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากว่าเป็นพื้นที่ควบคุมเข้มงวด และได้มีการตักเตือนและขอให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม ในเวลา 18.30 น.

    พนักงานสอบสวนเบิกความต่อว่า จนกระทั่งในวันที่ 10 มี.ค. 2565 เจ้าหน้าที่ได้มีการนำตัวผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาและฝากขังต่อศาล โดยศาลได้อนุญาตให้ฝากขัง จากนั้นทนายความได้ยื่นเรื่องขอประกันตัว ศาลได้อนุญาตให้ประกันโดยมีเงื่อนไขระบุว่า “ห้ามทำกิจกรรมใดๆ ที่จะสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนห้ามโพสต์ข้อความหรือชักชวนให้ประชาชนพูดถึงสถาบันฯ ในทางเสื่อมเสีย ตลอดจนสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง”

    พนักงานสอบสวนแถลงต่อศาลต่อไปว่า ต่อมา ในวันที่ 13 มี.ค. 2565 มีรายงานการสืบสวนจากกองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ว่า ผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ได้จัดกิจกรรมทำโพลสอบถามประชาชนในบริเวณอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเรื่อง “ขบวนเสด็จ ม็อบชาวนา ปัญหาหนี้สิน การผูกขาดที่ดิน โดยกลุ่มทุน-ศักดินา” โดยตั้งคำถามในโพลว่า “คุณยินดีที่จะยกบ้านของคุณให้กับราชวงศ์หรือไม่” โดยปรากฏตัวเลือก 2 ประการ คือ ยินดีและไม่ยินดี ทั้งนี้ ผลโพลดังกล่าวได้นำไปใช้ในการยื่นถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ในกรณีที่ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เวนคืนที่ดินในชุมชนตลาดเฉลิมลาภด้วย

    รายงานการสืบสวนยังระบุอีกว่า ในวันที่ 21 มี.ค. 2565 ใบปอได้ถ่ายรูปคู่กับพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม อันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์

    นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการสำรวจโพลความคิดเห็นของประชาชนต่อการจ่ายภาษีให้กับราชวงศ์ที่ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 และการแชร์โพสต์ของใบปอจากเพจ “ทะลุวัง -ThaluWang” ในหลายๆ ครั้ง

    เวลา 12.20 น. ศาลสอบถามพนักงานสอบสวนจนจบ แต่ทนายผู้ต้องหายังไม่ได้ถามค้าน ศาลให้เลื่อนไปไต่สวนต่อในช่วงบ่าย

    ในเวลา 13.30 น. ศาลได้ให้ทนายผู้ต้องหาถามค้านพนักงานสอบสวน โดยทนายได้ถามว่า ในโพลของกิจกรรมเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 มีตัวเลือก 2 ประการ คือ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นการสำรวจความเดือดร้อนของประชาชนจากขบวนเสด็จที่ไม่ได้มีการบังคับหรือเชิญชวนให้ใครต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งใช่หรือไม่ พนักงานสอบสวนตอบว่า ถูกต้อง ผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ไม่ได้มีการบังคับให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาต้องเข้ามาทำโพล

    จากนั้นทนายความได้ยกพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงตรัสไว้ว่า “หากขบวนเสด็จได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายอำนวยความสะดวกให้ประชาชนด้วย” และได้ถามกับผู้ร้องว่า การทำกิจกรรมของผู้ต้องหาจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ได้อย่างไรในเมื่อกษัตริย์ทรงได้ตระหนักรู้และตรัสไว้เช่นเดียวกันแบบนั้น

    ทนายความยังได้ถามพนักงานสอบสวนที่ยื่นคำร้องขอถอนประกันถึงข้อกล่าวหาที่ว่า การแชร์ข้อความจากเพจ “ทะลุวัง” ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวของผู้ต้องหา เป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และทำผิดเงื่อนไขการประกันตัวว่า พยานทราบถึงความสัมพันธ์ของเพจกับผู้ต้องหาหรือไม่ พนักงานสอบสวนตอบว่าไม่ทราบ และไม่มีหลักฐานถึงความเกี่ยวข้องของแอดมินเพจดังกล่าวกับผู้ต้องหาทั้งสอง

    ทนายความจึงแถลงต่อศาลว่า การกล่าวหาด้วยโพสต์ข้อความจากเพจทะลุวัง ไม่ได้หมายความว่าผู้ต้องหาจะเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว หากจะแจ้งดำเนินคดีก็ต้องทำการแจ้งความกับผู้แชร์คนอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เพียงผู้ต้องหาในคดีนี้เท่านั้น

    หลังจากทนายผู้ต้องหาหมดคำถาม ผู้ต้องหาได้แถลงขออนุญาตเบิกความถึงข้อเท็จจริงด้านการศึกษาของตนที่มีความเกี่ยวข้องกับการสำรวจความคิดเห็นและปัญหาของประชาชน เพื่อนำไปพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่อไป โดยการทำโพลต่างๆ ที่ปรากฏต่อสาธารณชนนั้นเป็นการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการในการศึกษาและการทำงานของตัวผู้ต้องหาเอง ซึ่งผู้ต้องหาได้แถลงว่า “การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันฯ แต่เป็นการทำไปเพื่อให้เห็นความสุจริต และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่พึงมี ซึ่งสามารถกระทำได้ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย”

    อีกทั้งในการทำกิจกรรมสำรวจความคิดเห็นทั้งสองครั้งที่พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน อ้างถึง ก็ไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีจาก สน.พญาไท และ สน.ลุมพินี ซึ่งเป็นท้องที่ที่ผู้ต้องหาเข้าไปทำกิจกรรมอีกด้วย

    ราว 15.00 น. หลังเสร็จการไต่สวน ศาลแจ้งให้รอฟังคำสั่งภายในวันนี้โดยบันทึกลงในรายงานกระบวนพิจารณาด้วย ก่อนออกจากห้องพิจารณาไปประชุมกับคณะผู้บริหารตามที่ได้แจ้งไว้ก่อนเริ่มการไต่สวน

    หลังจากทุกคนให้ห้องพิจารณารออยู่กว่า 1 ชั่วโมง ประมาณ 16.30 น. ศาลได้กลับมาที่ห้องพิจารณาและขอแก้ไขรายงานกระบวนพิจารณาจากให้รอฟังคำสั่งวันนี้ เป็นนัดฟังคำสั่งในวันที่ 3 พ.ค. 2565 โดยไม่ได้ชี้แจงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว

    อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในระหว่างการไต่สวนคำร้องถอนประกัน ศาลได้ใช้คำว่า ‘ชุมนุม’ แทนคำว่า ‘กิจกรรมทำโพลสำรวจ’ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ต้องหาและทนายความได้แถลงต่อศาลว่าลักษณะของการทำกิจกรรมของกลุ่มผู้ต้องหานั้นไม่ได้เป็นไปในรูปแบบของการชุมนุม หากแต่เป็นเพียงการเดินสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป และไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความไม่สงบต่อบ้านเมืองแต่อย่างใด

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 27 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42972)
  • เวลา 13.30 น. บรรยากาศหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้เต็มไปด้วยสื่อมวลชนที่ร่วมติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งมีกลุ่มมวลชน รวมทั้ง "พลอย" เบญจมาภรณ์ เดินทางมาให้กำลังใจใบปอและเนติพร ขณะหน้าห้องพิจารณาคดี 604 มีความเข้มงวดในการตรวจตรากลุ่มผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมฟังคำสั่ง โดยจะต้องตรวจ ATK หรือมีผลตรวจโควิดภายใน 72 ชั่วโมง

    เวลา 14.00 น. ศาลได้อ่านคำสั่งถอนประกันใบปอและเนติพร ระบุว่า “จากการที่กลุ่มผู้ต้องหาโพสต์ข้อความชักชวนให้เข้าร่วมเหตุชุมนุม จนเป็นเหตุให้พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีลักษณะและวิธีการในทำนองเดียวกันกับการกระทำของผู้ต้องหากับพวกตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังมาแล้ว และการโพสต์ดังกล่าว ย่อมเป็นเหตุให้นอกจากกลุ่มผู้ต้องหากับพวกแล้ว ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากกลุ่มของผู้ต้องหาเข้าร่วมชุมนุมหรือสังเกตการณ์การชุมนุมของผู้ต้องหากับพวกด้วย อันอาจทำให้มีผู้ร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองได้

    และได้ปรากฏข้อเท็จจริงตามภาพถ่ายท้ายคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวว่า นอกจากกลุ่มของผู้ต้องหากับพวกแล้ว ยังมีกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) เข้าร่วมชุมนุมในบริเวณใกล้เคียงกับที่ผู้ต้องหากับพวกร่วมกันทำกิจกรรมอยู่ด้วย และในระหว่างทำกิจกรรมมีเหตุชุลมุนเนื่องจากมวลชนกลุ่มทะลุวังได้เดินเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมของกลุ่ม ศปปส.

    การกระทำของผู้ต้องหาจึงถือได้ว่า เป็นการเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองอันเป็นการละเมิดเงื่อนไขข้อห้ามตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา” ลงนามโดย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล และพฤตวรรษ รินทร์ธราศรี

    หลังศาลอ่านคำสั่งเสร็จสิ้น ใบปอและเนติพรถูกควบคุมตัวไปทัณฑสถานหญิงกลางทันที

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ ลงวันที่ 3 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43235)
  • เวลา 13.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังใบปอและเนติพรครั้งที่ 6 บรรยากาศหน้าศาล ไม่มีสื่อมวลชนติดตามสถานการณ์ เนื่องมาจากการนัดไต่สวนเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุก ส่วนบรรยากาศหน้าห้องพิจารณาคดี 604 ยังคงเต็มไปด้วยความเข้มงวด โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจตราผู้เข้าร่วมฟังพิจารณาคดีอย่างใกล้ชิด โดยมีเพื่อนของผู้ต้องหาเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยจำนวน 1 คน

    ก่อนเริ่มการไต่สวน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 4 นายเดินทางมาพร้อมใบปอและเนติพรซึ่งสวมใส่ชุดนักโทษหญิงในแดนแรกรับ โดยเจ้าหน้าที่มีความเข้มงวดตลอดระยะเวลาที่ผู้ต้องหาทั้งสองพูดคุยกับทนายความและทักทายกับเพื่อนผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์

    เวลา 13.40 น. ศาลได้อ่านคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ก่อนที่จะให้พนักงานสอบสวนผู้ร้องขึ้นเบิกความถึงเหตุจำเป็นในการขอฝากขังครั้งนี้

    ต่อมา ศาลให้ทนายผู้ต้องหาถามค้าน ทนายได้แถลงว่าคดีนี้เหลือเพียงการรอผลตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหา และรอเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งฟ้อง ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้อีก

    ก่อนทนายสอบถามพนักงานสอบสวนว่า ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาทั้ง 2 รายนั้น ได้ไปตั้งแต่ในวันที่แจ้งข้อกล่าวหาแล้วใช่หรือไม่ ซึ่งพนักงานสอบสวนตอบว่า ใช่

    ทั้งนี้ คำร้องคัดค้านการฝากขังระบุว่า ในคดีนี้ไม่มีเหตุหรือความจำเป็นที่จะออกหมายขังผู้ต้องหาไว้อีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามมาตรา 71 และมาตรา 66 “เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ดังนั้น พนักงานสอบสวนจะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้หรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามมาตรา 66 ประกอบด้วยเป็นสำคัญ ซึ่งคดีนี้ผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุภยันตรายประการอื่น”

    คำร้องยังระบุว่า พฤติการณ์ที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหานั้น เป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเป็นการชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีเหตุความวุ่นวายหรือสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกายผู้ใด กิจกรรมดังกล่าวที่ถูกกล่าวหาไม่ใช่การก่อเหตุอันตราย ซึ่งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

    ต่อมาในเวลา 14.20 น. ศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณา ก่อนจะออกจากห้องพิจารณาเพื่อปรึกษากับคณะผู้บริหารศาล และให้ผู้ต้องหารอฟังคำสั่งต่อไป

    และในเวลา 14.45 น. ศาลได้มีคำสั่งว่า “พิเคราะห์เหตุตามคำร้องขอฝากขังและคำคัดค้านของทนายผู้ต้องหาแล้ว เห็นว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้ร้องขอให้ฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 6 หลังจากได้ร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว และเมื่อผู้ร้องยืนยันว่าพนักงานสอบสวนจำเป็นที่จะต้องรอผลการตรวจสอบประวัติพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา และเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา อันเป็นกรณีการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จกรณีจึงมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือฟ้องคดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87

    ส่วนเหตุตามคำร้องคัดค้านของทนายความ ลงวันที่ 5 พ.ค. 2565 นั้น ไม่ต้องตามข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องทำการสอบสวน ประกอบกับผู้ต้องหาถูกคุมขัง จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาต่ออีก 7 วัน และกำชับให้ผู้ร้องเร่งสอบสวนให้แล้วเสร็จ” ผู้พิพากษาที่ลงนามในคำสั่ง คือ ตระการ สุรมณี

    เมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณา ใบและเนติพรได้ถูกนำตัวกลับทัณฑสถานหญิงกลางทันที โดยตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. จนถึงวันที่ 6 พ.ค. 2565 ผู้ต้องหาทั้ง 2 รายถูกคุมขังมาแล้ว 4 วัน และการฝากขังครั้งที่ 6 นี้มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 9-15 พ.ค. 2565

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43387)
  • วรเวชและนุ้ยเดินทางมาศาลตามนัด ก่อนศาลนัดรายงานตัวครั้งต่อไปวันที่ 23 พ.ค. 2565

    ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2565 ศาลอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองอีก 12 วัน หลังพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังเป็นครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 9-20 พ.ค. 2565 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น รอผลการตรวจสอบประวัติและลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมและเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาต่อไป
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังใบปอและเนติพรครั้งที่ 7 หลังพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังอีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 16-27 พ.ค. 2565 และทนายยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังต่อ

    การไต่สวนถูกเลื่อนจากช่วงเวลา 10.00 น. มาเป็นเวลา 13.30 น. โดยใบปอและเนติพรไม่ได้ถูกเบิกตัวมาร่วมฟังการไต่สวนที่ศาลด้วย แต่ศาลเบิกตัวทั้งสองผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลาง

    ใบปอและเนติพรอยู่ในชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาลพร้อมคลุมด้วยชุด PE สีฟ้าตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์ โดยมีญาติของหนึ่งในผู้ต้องหาเดินทางมาร่วมสังเกตการณ์คดีด้วยจำนวน 1 คน ทนายความได้เปิดโอกาสให้ญาติได้พูดคุยกับผู้ต้องหาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ในระหว่างการรอศาลเริ่มการไต่สวน

    เวลา 14.20 น. ศาลเริ่มการไต่สวน โดยพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ผู้ร้อง ได้เบิกความถึงเหตุในการขอฝากขังครั้งนี้ ระบุว่า สำนวนคดีของผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ได้ดำเนินการสอบสวนจนเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ในระหว่างการรอพิจารณาความเห็นในการฟ้องคดีจากผู้บังคับบัญชา

    อย่างไรก็ตาม ศาลได้ย้อนกล่าวถึงคำสั่งให้ฝากขังครั้งที่ 6 ว่าศาลได้กำชับให้พนักงานสอบสวนได้เร่งการพิจารณาคดีแล้วใช่หรือไม่ ผู้ร้องได้แถลงว่า การยื่นฝากขังในครั้งนี้ มีคำสั่งมาจากผู้บังคับบัญชาให้สอบปากคำบิดาของผู้ต้องหาในคดีเดียวกันนี้เพิ่มเติม

    ต่อมา ทนายความได้ถามค้านผู้ร้องว่า บุคคลที่พนักงานสอบสวนต้องทำการสอบเพิ่มเติมไม่ใช่บิดาของหนึ่งในผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย แต่เป็นบิดาของผู้ต้องหารายอื่นใช่หรือไม่ โดยผู้ร้องได้ตอบว่า ใช่ แต่การยื่นสำนวนของผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว ต้องยื่นต่ออัยการ จำนวนทั้งหมด 9 ราย ซึ่งทำให้ในวันนี้ต้องยื่นคำร้องขอฝากขังใบปอและเนติพรต่อ เนื่องจากว่าสำนวนของผู้ต้องหาคนอื่นในคดีนี้ยังไม่เสร็จสิ้น และผู้บังคับบัญชายังไม่ลงลายมือชื่อ

    ทนายความได้แถลงต่อศาลว่าในคดีดังกล่าว ผู้ต้องหาคนอื่นทั้งหมด 7 ราย ได้รับการประกันตัวไปหมดแล้ว เหลือเพียงผู้ต้องหา 2 รายนี้ที่ยังคงไม่ได้รับการประกันตัว อีกทั้งผู้ร้องเองก็ได้ยืนยันว่าสำนวนคดีของใบปอและเนติพรได้ทำการสอบสวนเสร็จสิ้นหมดแล้ว หากไม่ยื่นฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือการพิจารณาความเห็นในการฟ้องคดีของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ต้องหาก็ไม่สามารถจะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานใดๆ

    ทนายยังได้ถามต่อว่าผู้ต้องหาทั้งสองเองก็ได้แสดงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง รวมถึงในวันที่ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกพร้อมกันใช่หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องได้ตอบว่า ใช่

    อย่างไรก็ตาม หนึ่งในผู้ต้องหาได้แถลงต่อศาลว่า ต้องการถูกเบิกตัวไปฟังการพิจารณาคดีที่ศาลในวันนี้ด้วย และต้องการที่จะพูดคุยกับทนายความตรงหน้า รวมถึงดูเอกสารต่างๆ ก่อนจะลงลายมือชื่อของตนเอง ซึ่งศาลได้ตอบว่า การวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ก็ทำให้ผู้ต้องหาสามารถพูดคุยกับทนายได้ รวมถึงหากต้องการที่จะถูกเบิกตัวก็ขอให้ทนายทำเรื่องในครั้งถัดไป ทั้งในการไต่สวนคำร้องขอฝากขังไม่มีผู้พิพากษาที่เป็นเจ้าของสำนวน ดังนั้นศาลไม่สามารถบังคับดุลยพินิจของผู้พิพากษาท่านอื่นได้

    เมื่อทนายขอให้ศาลบันทึกคำแถลงของผู้ต้องหา ที่ต้องการจะถูกเบิกตัวมาศาลในวันนี้ ศาลแจ้งว่าไม่มีความจำเป็นที่จะบันทึกลงในรายงานกระบวนพิจารณา และได้ถามกับพนักงานสอบสวนต่อว่า ในระยะเวลา 12 วันนี้ ผู้ร้องจะสามารถส่งคำฟ้องได้ทันใช่หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องก็ได้ยืนยันว่าสามารถทำได้

    เวลา 15.00 น. ศาลอ่านรายงานกระบวนพิจารณา ก่อนจะออกจากห้องพิจารณาไปเพื่อปรึกษากับคณะผู้บริหารศาล และบอกให้ผู้ต้องหาทั้ง 2 รายรอฟังคำสั่งต่อไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้พูดคุยกับทนายความในระหว่างการรอฟังคำสั่ง

    ใบปอและเนติพรได้เปิดเผยว่ายังไม่ได้รับอาหารที่มีคนฝากเข้ามาให้ และอาหารที่ได้รับประทานในทุกวันนี้เป็นเพียงข้าวและเศษผักกับกระดูกสัตว์เท่านั้น รวมถึงยังมีความต้องการสบู่เหลวในการใช้ทำความสะอาดร่างกายอีกด้วย

    ในอีก 1 ชั่วโมงต่อมา ณ เวลา 16.00 น. ศาลได้มีคำสั่ง “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเบิกความว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา กรณีถือได้ว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น และมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนและการฟ้องคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 และผู้ร้องคาดว่าสามารถฟ้องเป็นคดีภายในระยะเวลาที่ขอ จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหามีกำหนด 12 วัน” ลงนามโดย วัฒนศักดิ์ ผิวขาว

    เมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณา ใบปอและเนติพรยังคงได้มีโอกาสพูดคุยกับญาติและทนายความอีกเล็กน้อย ก่อนที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะตัดการติดต่อผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไป

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43387)
  • เวลา 10.15 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวใบปอและเนติพร ซึ่งถูกขังระหว่างการสอบสวนอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางมาแล้ว 18 วัน หลังถูกศาลเพิกถอนประกันเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา

    คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวใบปอมีใจความโดยสรุปว่า ในขณะนี้ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ซึ่งอยู่ในช่วงสอบปลายภาคของภาคเรียน ผู้ต้องหาลงทะเบียนเรียนไว้ 5 วิชา และได้ขาดสอบไปแล้ว 1 วิชา เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ในเรือนจําตามหมายขังของศาล ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 เป็นต้นมา

    หากผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อเข้าสอบในวันที่ 20-21 พ.ค. นี้ จะส่งผลให้ผู้ต้องหาขาดสอบรวมกันทั้งสิ้น 4 วิชา ซึ่งจะทําให้คะแนนเฉลี่ยของผู้ต้องหาต่ํากว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกําหนด และต้องพ้นสภาพนักศึกษา ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันจะเป็นการทําลายอนาคตและลิดรอนสิทธิของผู้ต้องหาเกินสมควรในคดีที่ยังไม่มีการตัดสินว่าการกระทําของผู้ต้องหาเป็นความผิด หากต่อไปพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหามิได้กระทําความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ก็ไม่สามารถเยียวยาความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาของผู้ต้องหาได้ อันเป็นการทําให้ผู้ต้องหาได้รับผลร้ายเกินสมควรแก่กรณี

    คำร้องยังระบุว่า หากศาลกําหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เช่น กําหนดให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ผู้ต้องหาก็พร้อมปฏิบัติตามคําสั่งศาล และขอเสนอให้ศาลแต่งตั้งให้อาจารย์ประจําคณะวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้ต้องหาและผู้ต้องหาให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งเป็นผู้กํากับดูแล

    ส่วนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเนติพรระบุโดยสรุปว่า ผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ซึ่งต้องประกอบอาชีพสอนวิชาภาษาอังกฤษผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อหาเลี้ยงตนเอง อีกทั้งมารดาและบิดาของผู้ต้องหาแยกทางกัน มารดาป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงและโรคหัวใจซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง จึงมีเพียงผู้ต้องหาและพี่สาวของผู้ต้องหาเท่านั้นที่รับภาระค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลของมารดา การที่ผู้ต้องหาถูกคุมขังอยู่ มีผลกระทบต่อการหารายได้เพื่อนํามาเป็นค่ารักษาพยาบาลของมารดาผู้ต้องหาอย่างมาก

    นอกจากนี้ ผู้ต้องหาเคยเข้ารับการตรวจโรคที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงจะเป็นก้อนเนื้อที่มดลูก และต้องรับประทานยาเพื่อปรับฮอร์โมน การที่ต้องถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนจะทําให้ผู้ต้องหาได้รับความลําบากในการปรึกษาแพทย์เพื่อป้องการความเสี่ยงที่จะเกิดก้อนเนื้อในมดลูก

    ทั้งนี้ หากศาลกําหนดเงื่อนไขใดที่เป็นประโยชน์ต่อการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา เช่น กําหนดให้ผู้ต้องหาติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ผู้ต้องหาก็พร้อมปฏิบัติตามคําสั่งศาล รวมถึงขอเสนอให้ศาลแต่งตั้งให้พี่สาวของผู้ต้องหาซึ่งประกอบอาชีพทนายความเป็นผู้กํากับดูแลผู้ต้องหาให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล

    อนึ่ง ในคำร้องของผู้ต้องหาทั้งสอง ได้ขอวางเงินเป็นหลักประกันจำนวน 200,000 บาท รวมถึงมีการหยิบยกเอากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทําผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด” เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณาให้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว

    อีกทั้งผู้ต้องหาไม่ได้กระทําความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และคดีมีหนทางจะต่อสู้คดีได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ต้องหาเป็นเพียงบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีอิทธิพลเพื่อที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่นใด และไม่อาจก่ออุปสรรคหรือความเสียหายต่อการดำเนินคดีในชั้นศาล

    ทัายคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสองยังระบุด้วยว่า หากศาลมองว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องยังไม่เพียงพอ ขอให้ศ่าลไต่สวนผู้ต้องหาทั้งสองประกอบการพิจารณาด้วย

    หลังทนายความรอฟังคำสั่งกว่า 5 ชม. เวลา 16.00 น. มนัส ภักดิ์ภูวดล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวใบปอและเนติพรโดยไม่ได้เบิกตัวทั้งสองมาไต่สวน ให้เหตุผลว่า พิเคราะห์แล้วผู้ต้องหาทั้งสองเคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีเงื่อนไขที่ผู้ต้องหายอมรับต่อศาล แต่กลับไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขและกระทำผิดเงื่อนไขจนถูกเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าหากได้รับการปล่อยตัว จะกลับไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง

    จากคำสั่งไม่ให้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าว ทำให้ใบปอและเนติพรต้องถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/43914)
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขังใบปอและเนติพรของพนักงานอัยการ ในผัดที่ 8 อีก 5 วัน (28 พ.ค. -1 มิ.ย. 2565) หลังทนายผู้ต้องหายื่นคัดค้านฝากขัง

    การไต่สวนคำร้องมีขึ้นเวลา 13.30 น. โดยใบปอและเนติพรไม่ได้ถูกเบิกตัวมาร่วมฟังการไต่สวนที่ศาลด้วย เนื่องจากศาลไม่อนุญาต ให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ทำให้ทั้งสองต้องเข้าร่วมผ่านการวีดิโอคอนเฟอเรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลาง

    บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี 502 ซึ่งในวันนี้มีญาติของผู้ต้องหา 2 คน และประชาชนที่ติดตามกลุ่มทะลุวังอีก 2 คน ได้เดินทางมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย ทั้งหมดได้เห็นใบปอและเนติพรผ่านหน้าจอโทรทัศน์ในชุดผู้ต้องขังสีน้ำตาล และสวมหน้ากากอนามัยสีฟ้า โดยไม่ได้คลุมด้วยชุด PE ตามมาตรการป้องกันโควิด – 19 ของกรมราชทัณฑ์อย่างเคย โดยทนายความเปิดโอกาสให้ทั้งหมดได้พูดคุยกันก่อนการไต่สวนเริ่มขึ้น

    พนักงานอัยการเบิกความว่า ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดยคดีนี้มีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มีหนังสือสั่งการลงวันที่ 21 ก.พ. 2561 ให้คดีประเภทดังกล่าวอยู่ในอำนาจของอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาสั่งฟ้อง

    ต่อมา ทนายผู้ต้องหาได้ถามพนักงานอัยการว่า ในการพิจารณาสั่งฟ้องจะมีพนักงานอัยการเป็นผู้ลงความเห็นใช่หรือไม่ ซึ่งพนักงานอัยการได้ตอบว่า ตนเองมีหน้าที่เพียงรวบรวมข้อเท็จจริงและส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2565 แล้ว

    ทนายความได้แถลงต่อศาลว่า ที่ถามพนักงานอัยการ เนื่องจากต้องการจะทราบว่าสำนวนการสอบสวนทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้วหรือไม่ ซึ่งพนักงานอัยการก็ได้ตอบว่า เบื้องต้นไม่มีคำสั่งให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม ทนายถามอัยการต่อว่า ในกรณีหากศาลไม่ให้ฝากขัง ก็ไม่ได้มีผลต่อสำนวนคดีที่เสร็จสิ้นไปแล้วใช่หรือไม่ อัยการตอบว่า อาจมีปัญหาในการติดตามตัวมานัดฟังคำสั่งอัยการ

    ทั้งนี้ คำร้องคัดค้านการฝากขังได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และไม่ได้มีพฤติการณ์ในการหลบหนีแต่อย่างใด

    เมื่อเสร็จการไต่สวน ผู้พิพากษาได้ขอตัวออกนอกห้องพิจารณา เพื่อเข้าปรึกษากับคณะผู้บริหารศาล ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะเดินกลับเข้ามาในห้องพิจารณาคดี

    ต่อมาในเวลา 15.30 น. ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังใบปอและเนติพร “พิเคราะห์คำร้องขอฝากขัง เอกสารประกอบคำร้องและคำคัดค้านของทนายผู้ต้องหาแล้ว เห็นว่าผู้ร้องมาเบิกความยืนยันต่อศาลว่า ได้รับสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ซึ่งผู้ต้องหาได้กระทำความผิดที่มีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมอยู่ด้วย

    ซึ่งอัยการสูงสุดได้มีหนังสือสั่งการลงวันที่ 21 ก.พ. 2561 วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นคำสั่งในคดีประเภทดังกล่าว ให้พนักงานอัยการส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมบันทึกความเห็นให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาสั่ง ผู้ร้องจึงได้สรุปข้อเท็จจริงนำเสนออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาสั่งในวันที่ 25 พ.ค. 2565 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอฟังคำสั่งจากคณะทำงานของอัยการสูงสุด

    กรณีมีเหตุจำเป็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 คำคัดค้านของทนายความ ผู้ต้องหา ไม่ต้องตามข้อกฎหมายดังกล่าว จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาต่อไปอีก 5 วัน” ลงนามคำสั่งโดย วีรัช วรรธนะวงษา

    หลังจากศาลมีคำสั่งให้ฝากขัง ทนายความจึงได้คำร้องขอยื่นประกันใบปอและเนติพรเป็นครั้งที่ 2 หลังถูกศาลเพิกถอนประกันเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ต่อมา ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

    ปัจจุบันใบปอและเนติพรได้ถูกฝากขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางมาเป็นระยะเวลา 25 วันแล้ว หลังถูกศาลเพิกถอนประกัน หากนับระยะเวลาที่ทั้งสองถูกฝากขังหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 จะครบ 84 วัน ตามที่กฎหมายอนุญาตให้ฝากขังในชั้นสอบสวน ในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 หากถึงวันที่ 1 มิ.ย. พนักงานอัยการยังไม่ยื่นฟ้องต่อศาล ใบปอและเนติพรก็จะได้รับการปล่อยตัว

    (อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/44132)
  • อรรถพันธ์ ตั้งมโนวุฒิกุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ได้ยื่นฟ้องนักกิจกรรมและสื่ออิสระทั้ง 8 ราย ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในฐานความผิด “ร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ, ร่วมกันยุยงปลุกปั่นฯ, ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่โดยร่วมกระทําความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป, ร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่ และร่วมกันขัดคำสั่งเจ้าพนักงานฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 136, 138, 140 และ 368

    บรรยายคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้งแปดกับพวก (เยาวชน) ได้ร่วมกันกระทำความผิด และต่างกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ

    1. จำเลยทั้งแปดกับพวกดังกล่าว ได้ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท โดยการร่วมกันทำแผ่นป้ายกระดาษสีขาวขนาดใหญ่ โดยทำให้ปรากฏข้อความที่ส่วนบนของกระดาษว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่” และได้แจกสติ๊กเกอร์สีเขียวเพื่อให้ประชาชนผู้สัญจรผ่านไปมานำสติ๊กเกอร์ดังกล่าวไปติดที่ช่องที่เลือก โดยเจตนาจะสื่อไปถึงสถาบันกษัตริย์ว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

    2. จําเลยทั้งแปดกับพวกยังได้รวมกลุ่มกันเพื่อเดินทางไปยังบริเวณหน้าวังสระปทุม ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผกก.สน.ปทุมวัน ที่ได้สั่งให้จําเลยทั้งแปดกับพวกหยุดกระทําการและห้ามเดินทางรวมกลุ่มไปยังบริเวณหน้าวังสระปทุม

    3. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ตั้งแนวกั้น และวางแผงเหล็กเป็นแนวรั้วกั้น ไม่ให้มีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมเข้าไปในบริเวณหน้าวังสระปทุม เพื่อถวายความปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัยฯ มาตรา 5, 6 และ พ.ร.บ.ตํารวจแห่งชาติฯ มาตรา 6 จําเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 8 ได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กําลังประทุษร้ายผลักดันแนวกั้น และแนวรั้วป้องกันดังกล่าว

    4. จําเลยที่ 4 ได้ดูหมิ่น พ.ต.ต.ชูชีพ วงษ์บุญเพ็ง สารวัตรสืบสวน กองกํากับการสืบสวนตํารวจนครบาล 6 ซึ่งตั้งแนวรั้วป้องกันไม่ให้จําเลยทั้งแปดกับพวกล่วงล้ำเข้าไปบริเวณหน้าวังสระปทุม โดยการชี้นิ้วพร้อมกับกล่าวต่อว่า

    5. หลังเกิดเหตุ จําเลยที่ 3 ได้ดูหมิ่น พ.ต.อ.นริศ ปรารถนาพร ผู้กํากับการ ประจํากองกํากับการสืบสวน กองบังคับการตํารวจนครบาล 6 โดยการชี้นิ้วมาทาง พ.ต.อ.นริศ พร้อมกับกล่าวต่อว่าด่าทอ

    ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งแปดในระหว่างพิจารณา โดยระบุให้อยู่ในดุลพินิจของศาล

    ภายหลังศาลอาญากรุงเทพใต้รับฟ้องแล้ว ได้นัดสอบคำให้การจำเลยทั้งแปดในวันที่ 2 มิ.ย. 2565

    (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 30 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44438)
  • นัดสอบคำให้การ ทานตะวัน, ฐากูร, วรเวช, ณัฐกรณ์, นุ้ย และแบมมาศาล โดยศาลได้เบิกตัวใบปอและเนติพรจากทัณฑสถานหญิงกลางมาสอบคำให้การด้วย ทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น.

    จากนั้น ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมดระหว่างพิจารณาคดี โดยกรณีของใบปอและเนติพร ซึ่งถูกถอนประกันไปในชั้นฝากขัง ทนายความได้ยกเหตุผลประกอบที่สำคัญคือ ใบปอต้องไปดำเนินการขอเข้าสอบย้อนหลังเพื่อไม่ให้พ้นสภาพนักศึกษา ส่วนเนติพรมีเหตุจำเป็นในการเลี้ยงดูและดูแลแม่ซึ่งมีโรคประจำตัว ประกอบกับตัวเนติพรเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ต้องทานยาและปรึกษาแพทย์ โดยทั้งสองยิมยอมหากศาลจะกำหนดเงื่อนไขจำกัดการเดินทางเพื่อป้องกันจำเลยทั้งสองจะไปกระทำความผิดซ้ำ และขอแต่งตั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพี่สาวของเนติพรเป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาล

    เวลา 14.53 น. มนัส ภักดิ์ภูวดล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวจำเลย 6 คน ยกเว้นใบปอและเนติพร โดยใช้หลักประกันเดิมในชั้นฝากขัง เป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมให้ติด EM และกำหนดเงื่อนไขเช่นเดียวกับชั้นฝากขัง คือ ห้ามทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับที่ถูกฟ้อง อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามโพสต์ข้อความปลุกปั่น ยั่วยุ หรือชักชวนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

    กรณีใบปอและเนติพร ซึ่งศาลยังคงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ได้ระบุเหตุผลว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าศาลเคยให้โอกาสปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 – 3 ในระหว่างพิจารณาแต่จำเลยที่ 2 – 3 กระทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนด โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 – 3 ที่จะปฏิบัติตาม จะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขอปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 3 พ.ค 2565 ดังนั้นหากศาลปล่อยตัวชั่วคราว จึงเกรงว่าจำเลยที่ 2 – 3 จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ตามคำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ยกคำร้อง”

    ปัจจุบันใบปอและบุ้งได้ถูกฝากขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางมาเป็นระยะเวลา 31 วันแล้ว หลังถูกศาลเพิกถอนประกัน

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 2 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44438)
  • บุ้งและใบปอถูกเบิกตัวจากทัณฑสถานหญิงกลางมาที่ศาล เพื่อปรึกษาหารือในการเตรียมนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน หลังวานนี้ (8 มิ.ย. 2565) ทนายความยื่นคำร้องทางระบบออนไลน์ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เบิกตัวบุ้งและใบปอมาศาลในช่วงเวลา 09.30 – 16.00 น.

    คำร้องดังกล่าวระบุโดยสรุปว่า แม้จำเลยยังไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว แต่ทั้งสองคนยังมีสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างที่ แต่เนื่องจากการถูกคุมขังเอาไว้ ทำให้จำเลยทั้งสองไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว โดยทั้งสองถูกคุมขังไว้ร่วมกับผู้ต้องขังอื่นที่คดีถึงที่สุดแล้ว ไม่สามารถพบปะปรึกษาหารือกับทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว เพราะระเบีบบการเยี่ยมของทัณฑสถานหญิงกลางกำหนดให้ทนายความเยี่ยมผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ทำให้เกิดข้อจำกัดมากมาย ทั้งด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต เสียงแทรกระหว่างการสนทนา เนื่องจากผู้ต้องขังรายอื่นๆ ก็มีการเยี่ยมผ่านระบบนี้เช่นกัน

    นอกจากนั้นการสื่อสารระหว่างทนายความกับจำเลยทั้งสองยังถูกรับฟัง ถูกบันทึกภาพหรือเสียงระหว่างสนทนาไว้โดยเจ้าพนักงานเรือนจำ และในระหว่างการปรึกษาหารือ จะมีเจ้าพนักงานเรือนจำร่วมอยู่กับทั้งสองอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถปรึกษาหารือกับทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว ทำให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิในการต่อสู้คดี และเป็นการละเมิดบทบัญญัติของกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาอย่างชัดเจน

    เนื่องจากศาลได้นัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในคดีของจำเลยทั้งสองในวันที่ 18 ก.ค. 2565 จึงมีเหตุจำเป็นที่จำเลยทั้งสองและทนายความต้องปรึกษาหารือแนวทางการต่อสู้คดี รวมทั้งตรวจสอบพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาปรึกษาหารือกับทนายความเป็นการเฉพาะตัว และได้มีโอกาสในการตรวจสอบพยานหลักฐาน พยานวัตถุ และตระเตรียมพยานบุคคลในวันที่ 9 มิ.ย. 2565 โดยขอให้ศาลจัดห้องสำหรับปรึกษาคดีอย่างเป็นการเฉพาะตัวไว้ด้วย

    ทั้งนี้ ทั้งบุ้งและใบปอได้เริ่มอดอาหารภายในเรือนจำมาตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2565 โดยดื่มเพียงน้ำ น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่

    (อ้างอิง: คำร้องขอเบิกตัวจำเลยมาศาล ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44558)
  • เวลา 13.00 น. ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวบุ้งและใบปอเป็นครั้งที่ 4 หลังถูกถอนประกันเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

    1. จําเลยทั้งสองถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางรวมเป็นเวลา 45 วันแล้ว แต่เนื่องจากในคดีนี้ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานของคู่ความในวันที่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น. ซึ่งในวันดังกล่าวจําเลยทั้งสองจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร เพื่อใช้ในการต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน แม้ว่าเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ศาลได้อนุญาตให้เบิกตัวจําเลยทั้งสองมาพบ ปรึกษาหารือกับทนายความเป็นการเฉพาะที่ศาลแล้ว แต่เนื่องจากคดีนี้มีพยานโจทก์ พยานจําเลย ข้อเท็จจริงที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและพยานเอกสารจํานวนมาก จำเลยทั้งสองคนจึงมีความจําเป็นต้องไปติดต่อกับพยานบุคคลผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์และนักวิชาการด้วยตนเอง

    2. คําสั่งของศาลเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยทั้งสองไปในระหว่างพิจารณาคดีโดยเชื่อเพียงว่า จําเลยทั้งสองจะไปก่อภยันตรายประการอื่นนั้น จําเลยทั้งสองเห็นว่ายังเป็นคําสั่งที่คลาดเคลื่อนไม่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบเพียงพอ โดยในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ จำเลยทั้งสองเห็นว่ามีเหตุที่สมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ดังนี้

    2.1 โจทก์ไม่คัดค้านการที่ศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยทั้งสอง ซึ่งแสดงว่าโจทก์เห็นว่า ไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจําเลยทั้งสองจะไปก่อภยันตรายประการอื่นทั้งสิ้น

    2.2 ตามหลักกฎหมายทั้งวิธีพิจารณาความอาญาและหลักรัฐธรรมนูญแล้ว จําเลยทั้งสองย่อมถือเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําความผิด ดังนั้นศาลควรจะสันนิษฐานว่า จำเลยทั้งสองย่อมจะไม่ไปก่อภยันตรายอื่นถ้าได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

    2.3 จําเลยทั้งสองขอสิทธิในการต่อสู้คดีนี้อย่างเต็มที่ โดยขอให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจําเลยทั้งสองในระหว่างพิจารณาคดี เพื่อที่จะไปร่วมกันกับทนายความและจําเลยอื่นในคดีนี้แสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งปวงมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้

    เวลา 15.50 น. มนัส ภักดิ์ภูวดล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ระบุว่า “พิเคราะห์คำร้องประกอบแล้วยังไม่มีพฤติการณ์ใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”

    “ใบปอ” และ “บุ้ง” ได้อดอาหารภายในเรือนจำมาตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย. 2565 จนถึงปัจจุบันรวมเป็นระยะเวลา 15 วันแล้ว ล่าสุด บุ้งมีอาการแสบท้องและอาเจียน สมองเบลอ และตาพร่ามัวอยู่แทบจะตลอดเวลา ไม่สามารถทานอะไรได้นอกจากน้ำเปล่า ส่วนใบปอมีอาการปวดท้อง แสบท้อง อ่อนเพลีย และตาพร่ามัวเช่นเดียวกัน

    คำสั่งศาลที่ยังคงไม่ให้ประกันในครั้งนี้ทำให้ทั้งสองยังคงถูกคุมขังและอดอาหารเรียกร้องสิทธิประกันตัวเพื่อออกมาแสวงหาพยานหลักฐานต่อสู้คดีต่อไป ในขณะที่คดียังไม่ได้เริ่มกระบวนการตรวจพยานหลักฐานและกำหนดนัดสืบพยาน

    (อ้างอิง: คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44870)
  • เวลา 08.41 น. ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวบุ้งและใบปอเป็นครั้งที่ 5 โดยขอวางเงินสดเป็นหลักประกันคนละ 200,000 บาท มีใจความสำคัญ ระบุว่า

    1. จำเลยทั้งสองถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางมาเป็นระยะเวลากว่า 50 วันแล้ว และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของจำเลยทั้งสอง โดยทั้งสองมีอาการปวดท้อง เวียนหัว ร่างกายอ่อนเพลีย โดยเฉพาะบุ้งที่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยหลายครั้ง ประกอบกับก่อนที่จะถูกคุมขัง แพทย์เฉพาะทางได้วินิจฉัยพบว่าบุ้งมีก้อนเนื้อที่มดลูก ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องกินยาเป็นประจำ การที่ถูกคุมขังในคดีนี้ทำให้จำเลยไม่สามารถรักษาตัวได้อย่างต่อเนื่อง

    เกี่ยวกับการต่อสู้คดีนั้น จำเลยทั้งสองจำเป็นต้องได้ติดต่อขอความยินยอมต่อประจักษ์พยานและพยานบุคคลอื่นด้วยตนเอง เพื่อให้มาเป็นพยานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยในชั้นศาล

    2.การที่จำเลยทั้งสองถูกคุมขังมาเป็นระยะเวลากว่า 50 วัน ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของจำเลยทั้งสอง กล่าวคือ ใบปอ ในฐานะนิสิตวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วยอึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขาดสอบวัดผลตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้น ซึ่งใบปอได้ดำเนินเรื่องขออนุญาตภาควิชาในการดำเนินการสอบวัดผลย้อนหลังหากได้รับอนุญาตในการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของจำเลยไม่ให้ต้องพ้นสภาพนักศึกษา

    ในส่วนของบุ้งนั้น ก่อนถูกคุมขังในคดีนี้ บุ้งมีอาชีพรับจ้างสอนพิเศษ เพื่อเลี้ยงดูมารดาของตัวเอง ซึ่งมีอาการป่วยหนัก และมีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวย่อมทำให้จำเลยมีโอกาสกลับไปเลี้ยงดูและจัดการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาโรคของมารดาได้

    จำเลยทั้งสองได้ให้คำยืนยันว่า หากศาลกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติขณะปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งสองยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลอย่างเคร่งครัด หากศาลเกรงว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลซ้ำอีก ก็ขอให้มีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีกำหนดระยะเวลา 60 วัน ซึ่งหากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลอาจสั่งเพิกถอนประกันหรือไม่อนุญาตให้ประกันจำเลยต่อไปในภายหลัง

    ต่อมาในเวลา 11.57 น. เนตรดาว มโนธรรมกิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ระบุว่า “พิเคราะห์คำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวแล้วเห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 และ 3 อ้างว่ามีอาการปวดท้อง ร่างกายอ่อนเพลียนั้นเนื่องจากในเรือนจำมีแพทย์และโรงพยาบาลที่สามารถดูแลรักษาอาการดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง”

    อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 22 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา บุ้งได้มีอาการทรุดหนักจนต้องถูกส่งตัวเข้าสถานพยาบาลกลางดึก อีกทั้งการที่บุ้งไม่ได้รักษาก้อนเนื้อในมดลูกจากแพทย์เฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อสุขภาพของเธอในระยะยาว และการที่ใบปอไม่สามารถรักษาสิทธิทางการศึกษาของเธอไว้ได้ อาจส่งผลต่ออนาคตทางการศึกษาของเธอในภายภาคหน้าอีกด้วย

    (อ้างอิง: คำร้องประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 23 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45185)
  • ทนายความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันบุ้งและใบปอต่อศาลอุทธรณ์เป็นครั้งแรก มีใจความสำคัญ ระบุว่า

    1. ตามที่ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า "พิเคราะห์คำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราวแล้วเห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 และ 3 อ้างว่ามีอาการปวดท้อง ร่างกายอ่อนเพลียนั้นเนื่องจากในเรือนจำมีแพทย์และโรงพยาบาลที่สามารถดูแลรักษาอาการดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม" เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ตรงกับคำร้องและเหตุผลตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลยทั้งสอง นอกจากคำร้องเรื่องอาการเจ็บป่วยดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองยังยืนยันถึงเหตุจำเป็นอื่นอีกหลายประการ

    2. การที่จำเลยทั้งสองถูกคุมขังมาเป็นระยะเวลากว่า 50 วัน ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของจำเลยทั้งสอง ทำให้ใบปอขาดสอบวัดผลตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยได้จัดขึ้น และบุ้งขาดรายได้เพื่อไปเลี้ยงดูมารดาซึ่งมีอาการป่วย

    3. ในคดีนี้ พนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 8 คน ในระหว่างพิจารณาคดี และศาลอาญากรุงเทพใต้ได้อนุญาตให้จำเลยอื่นได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปในระหว่างพิจารณาคดีทั้งหมดแล้ว เหลือเพียงบุ้งและใบปอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการที่โจทก์ไม่คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาคดี ย่อมไม่เป็นการก่อให้เกิดอันตรายอื่นแต่อย่างใด

    4. คดีนี้เป็นคดีสำคัญที่มีพยานหลักฐานเป็นจำนวนมาก ซึ่งการที่บุ้งและใบปอถูกกักขังไว้ในเรือนจำย่อมเป็นการตัดโอกาสในการต่อสู้คดี ในการแสวงหาหลักฐานเพื่อมายืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง

    ต่อมา วันที่ 27 มิ.ย. 2565 ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ระบุว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วจำเลยที่ 2 และ 3 ถูกฟ้องว่าร่วมกับพวกกระทำความผิดหลายข้อหาบางข้อหามีอัตราโทษสูงและมีลักษณะเป็นการกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไปถือเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 3 ในระหว่างสอบสวน โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่จำเลยที่ 2 และ 3 ผิดเงื่อนไขจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 3 กรณีจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นนี้จำเลยที่ 2 และ 3 อาจจะหลบหนีหรือก่อให้เกิดภัยอันตรายประการอื่น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง”

    จากคำสั่งศาลอุทธรณ์ในครั้งนี้ ทำให้บุ้งและใบปอยังถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป ซึ่งทั้งสองยังคงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิประกันตัว

    (อ้างอิง: คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 24 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45294)
  • ทนายความได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขออนุญาตให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาอาการก้อนเนื้อในมดลูกเข้าตรวจดูอาการบุ้ง เพื่อให้ความเห็นและวางแผนการรักษาพยาบาลโดยด่วน หลังจากที่เธอมีอาการทรุดหนักจนต้องส่งตัวเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา

    หนังสือดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า ‘ด้วยปรากฏว่า เนติพร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนี้ถูกขังตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ อยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง เกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย เจ็บและปวดท้องเป็นระยะ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2565 เจ้าหน้าที่ได้ส่งตัวเนติพร ไปรักษาอาการ ณ โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ต่อมาแพทย์มีความเห็นว่าเนติพรมีภาวะโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งอาการดังกล่าวหากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้’

    นอกจากนี้ ทนายความยังได้ระบุเหตุผลเพิ่มเติมว่า ก่อนที่บุ้งจะถูกคุมขังในคดีนี้ เธอได้มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับมดลูกมาก่อน และได้เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลรามาธิบดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทนายได้แนบเอกสารใบสรุปประวัติการรักษาพยาบาลและส่งตัวผู้ป่วยมาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตาม ทนายความขอให้สังคมจับตามองกรมราชทัณฑ์ ในกรณีที่มีการยื่นหนังสือขออนุญาตให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เข้าไปตรวจอาการและวางแผนรักษาอาการป่วยของบุ้งต่อไป ซึ่งในวันนี้ทางกรมราชทัณฑ์ก็ได้รับหนังสือฉบับนี้ไปแล้ว

    ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 บุ้งและใบปอ ได้ทำการประท้วงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิประกันตัว เป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็มแล้ว

    (อ้างอิง: หนังสือถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ลงวันที่ 1 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45540)
  • เวลา 09.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีนัดไต่สวนคำร้องขอประกันตัวบุ้งและใบปอ หลังวานนี้ (5 ก.ค. 2565) ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งสองอีกครั้งเป็นครั้งที่ 6 พร้อมทั้งขอให้ศาลนัดไต่สวน โดยมีชญาภัส (สงวนนามสกุล) พี่สาวของบุ้ง เดินทางมาเป็นพยานผู้ร้องและในฐานะผู้ขอเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสอง พร้อมด้วยครอบครัวของใบปอซึ่งได้เดินทางมาร่วมฟังการไต่สวนในวันนี้ด้วย

    บรรยากาศหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ประชาชนจำนวนหนึ่งชุมนุมต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับบุ้งและใบปอ

    ++พี่สาวคนโตของบุ้งในฐานะผู้ยื่นขอกำกับดูแล แถลงต่อศาลว่าทั้งสองอาการทรุดหนัก

    เวลา 09.30 น. ศาลออกพิจารณาคดี โดยไม่ได้เบิกตัวบุ้งและใบปอมาร่วมฟังการไต่สวนทั้งที่ศาลและทางคอนเฟอเรนซ์ พี่สาวของบุ้งเบิกความว่า ปัจจุบันประกอบอาชีพทนายความ โดยตัวเธอเป็นพี่สาวคนโตของบุ้ง ปัจจุบันบุ้งและใบปอได้ถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาเป็นระยะเวลา 2 เดือนแล้ว

    ศาลถามว่าในคดีนี้ จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปแล้ว 1 ครั้ง ก่อนจะถูกยื่นถอนประกัน และไม่เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวอีกเลยใช่หรือไม่

    ชญาภัสแถลงต่อศาลว่า เป็นความจริงที่ทั้งสองไม่เคยได้รับการประกันตัวอีกเลย นับตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 ตนได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมบุ้งและใบปอหลายครั้ง โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 4 ก.ค. 2565 ตนได้เข้าเยี่ยมจำเลยทั้งสองพบว่า ใบปอไม่มีเรี่ยวแรงจนต้องมีคนช่วยพยุงเธอเพื่อเข้ามาสนทนา และไม่สามารถตอบโต้ได้ดีเท่าที่ควร ตลอดจนมีร่างกายที่ผอมโทรม พยายามที่จะพูดคุยกับพยานแต่สีหน้าก็แย่มากแล้ว

    ส่วนบุ้ง น้องสาวของตน พบว่าร่างกายของบุ้งสั่นไปทั้งตัว ไม่สามารถประคองโทรศัพท์เพื่อพูดคุยกับตนได้ ไม่มีเรี่ยวแรง และมีอาการปวดท้องจนร้าวไปถึงซี่โครง นอกจากนี้ บุ้งยังได้เปิดเผยกับพยานว่าทุกครั้งที่หายใจเข้าออกก็รู้สึกเจ็บปวดตลอดเวลา และยังมีอาการคล้ายหมดสติอีกด้วย

    ทนายความได้ถามพยานว่า ก่อนที่บุ้งจะถูกคุมขังในคดีนี้ จำเลยได้มีการรักษาโรคประจำตัวใดอยู่หรือไม่ พยานตอบว่าบุ้งเคยรับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี แพทย์ได้วินิจฉัยว่าบุ้งมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดก้อนเนื้อในมดลูก ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

    ชญาภัสแถลงต่อว่า ตนได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อร้องขอให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการรักษาอาการของบุ้งก่อนที่จะถูกคุมขัง ได้มีโอกาสเข้าไปตรวจอาการและวางแผนรักษาน้องสาวของตนที่โรงพยาบาลข้างนอก ซึ่งตนได้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวให้ทนายความยื่นต่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์เรียบร้อยแล้ว

    ศาลได้ถามต่อว่า ในการยื่นหนังสือฉบับดังกล่าว ทางกรมราชทัณฑ์ได้มีคำสั่งหรือตอบกลับว่าอย่างไรบ้าง โดยพยานได้แถลงต่อศาลว่า ทนายความได้ยื่นหนังสือขออนุญาตให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจอาการของบุ้ง นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่ได้รับการตอบกลับจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์แต่อย่างใด

    ++พี่สาวคนโตของบุ้ง แถลงว่าเงื่อนไขเดียวที่ต้องการตอนนี้ คือขอให้บุ้งและใบปอได้ออกมารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    ชญาภัส ยังแถลงต่อศาลว่าปัจจุบัน บุ้งมีค่าโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ทนายถามต่อว่า หากทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว เงื่อนไขใดบ้างที่คิดว่าจะไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งพยานก็ได้ตอบว่า สิ่งที่ต้องการตอนนี้มีเพียงให้จำเลยทั้งสองได้รับการประกันตัว และส่งตัวไปรับการรักษาจากโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และหากครบกำหนดปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว หรือมีอาการดีขึ้นแล้ว ก็ขอให้นำตัวทั้งสองมาพิจารณาคดีตามดุลยพินิจของศาลใหม่ได้

    พยานยังได้แถลงอีกว่า โดยเฉพาะบุ้งที่มีอาการป่วยทางมดลูก ควรได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลประจำ ซึ่งหากไม่ได้รับการปล่อยตัว ทั้งสองอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต

    ศาลได้ถามต่อพยานผู้ร้อง โดยขอให้พยานยืนยันว่าหากจำเลยทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจะสามารถเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสองได้ ซึ่งพยานได้ตอบว่า ตนประสงค์ที่จะเป็นผู้กำกับดูแลบุ้งและใบปอ ในฐานะที่บุ้งเป็นน้องสาวแท้ๆ ส่วนใบปอเองก็เป็นเพื่อนสนิทของบุ้งที่มีความไว้ใจในตัวของพยานอยู่แล้ว

    เวลา 10.14 น. ศาลได้ออกจากห้องพิจารณา โดยแจ้งว่าจะนำสำนวนและคำเบิกความของพยานผู้ร้องเข้าปรึกษากับ ‘รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้’ ให้ทนายความและครอบครัวของจำเลยไปรอฟังคำสั่งที่ห้องงานประกันชั้นล่าง

    ++รอกว่า 6 ชั่วโมง ก่อนศาลออกคำสั่งให้นัดไต่สวนพยานเพิ่ม

    ต่อมาในเวลา 16.22 น. ศาลได้มีคำสั่งให้ไต่สวนเพิ่มเติมอีก มีใจความระบุว่า ‘กรณีเห็นควรไต่สวนเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น จึงให้หมายเรียกพยาบาล 2 ราย นัดไต่สวนวันที่ 7 ก.ค. 2565 เวลา 10.00 น. และให้นัดฟังคำสั่งวันที่ 8 ก.ค. 2565 เวลา 11.00 น.’ ลงนามโดย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้

    หากนับตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 จนถึงวันนี้ (6 ก.ค.2565) บุ้งและใบปอ นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวังได้ถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาเป็นระยะเวลากว่า 65 วัน และได้ประท้วงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิประกันตัวมาเป็นเวลากว่า 35 วันแล้ว

    ++ทนายเข้าเยี่ยม: อาการยังแย่ลง ใบปอเริ่มฟุบกับโต๊ะเป็นระยะ

    ทนายความยังได้เยี่ยมบุ้งและใบปอที่ทัณฑสถานหญิงกลาง โดยใบปอระบุว่าอาการแย่ลงกว่าทุกวัน โดยปกติใบปอจะเป็นคนดูแลบุ้ง แต่วันนี้บุ้งก็ต้องช่วยดูแลใบปอด้วย ระหว่างคุยกันก็มีช่วงที่ใบปอต้องฟุบลงไปกับโต๊ะ ไม่ได้ฟังการสนทนาระหว่างทนายและบุ้ง ใบปอบอกกับทนายว่าเหนื่อยมากๆ และเริ่มมีอาการหายใจไม่ออกเป็นระยะ โดยเธอดื่มแต่น้ำเปล่ามาสองอาทิตย์แล้ว

    ส่วนบุ้งเอง ก็ยังมีอาการในลักษณะเดิม คือหัวหมุน มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า และหากจับท้อง ก็จะเจ็บมาก

    ทั้งคู่ตื่นเต้นมาก เมื่อทราบว่าศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอประกันตัว มีความหวังมากขึ้น และยังรอติดตามผลคำสั่งศาลต่อไป

    (อ้างอิง: คำร้องขอให้ศาลนัดไต่สวนการขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45732)
  • เวลา 10.00 น. ศาลนัดไต่สวนพยานจากราชทัณฑ์เพิ่มเติม พยาบาลและเจ้าหน้าที่จากราชทัณฑ์ได้เดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดี พร้อมด้วยประชาชนผู้ติดตามกลุ่มทะลุวัง ศาลออกไต่สวนโดยแจ้งว่า การไต่สวนพยานเพิ่มเติม 2 ปากนี้ เนื่องจาก ‘รองอธิบดีผู้พิพากษา’ ต้องการข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการป่วยของจำเลยทั้งสอง

    ++พยานปากที่ 1: วิลาสินี พยาบาลวิชาชีพจากทัณฑสถานหญิงกลาง

    วิลาสินีเบิกความตอบศาลว่า ตนเป็นผู้ซักถามประวัติสุขภาพของจำเลยทั้งสองตั้งแต่แรกรับ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 จำเลยทั้งสองแจ้งว่า ไม่ได้มีประวัติโรคประจำตัวแต่อย่างใด ต่อมา วันที่ 27 มิ.ย. 2565 ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลเวร พยานได้รับแจ้งจากบุ้งว่ามีอาการปวดท้องหนัก ในเวลาประมาณ 21.00 น. จึงได้เข้าไปดูอาการที่หน้าห้องขังและซักถามอาการ พยานเห็นว่าบุ้งมีอาการไม่สบาย จึงส่งออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในคืนนั้น

    นอกจากนี้ วิลาสินีได้แถลงต่อว่า ตนได้ตามประกบดูแลอาการของบุ้งตลอดทางจนถึงโรงพยาบาล และเมื่อไปถึงแล้ว แพทย์และพยาบาลได้มีการวัดความดัน ตรวจร่างกาย และเจาะเลือด ก่อนที่แพทย์จะประเมินอาการและให้แอดมิทรักษาตัวที่โรงพยาบาล จากนั้นแพทย์ได้ให้น้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อ เอ็กซเรย์ช่องท้อง เจาะเลือด เก็บปัสสาวะ งดการให้อาหารและน้ำ หลังจากทราบอาการเบื้องต้นแล้ว พยานก็ได้เดินทางกลับไปทัณฑสถานหญิงกลาง

    พยานแถลงเพิ่มเติมว่า หลังจากในวันที่ 27 มิ.ย. ก็ไม่ได้เจอบุ้งอีกเลย แต่ทราบว่าได้มีการนำตัวบุ้งกลับมาที่เรือนจำ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 แต่ถึงอย่างนั้น พยานก็ไม่ได้เป็นเวรในวันดังกล่าว จึงทำให้ไม่ได้ทราบอาการหรือเจอตัวของบุ้งแต่อย่างใด

    ต่อมา ในวันที่ 3 ก.ค. 2565 พยานได้เข้าเวร และได้รับหน้าที่ในการตรวจร่างกายของจำเลยทั้งสองคน เนื่องจากว่าทั้งสองได้อดอาหารมาเป็นระยะเวลานาน พบว่ามีชีพจรปกติ ระดับความดันอยู่ในค่าคงที่ และมีระดับค่าออกซิเจนในเกณฑ์ที่ยังปกติดี และได้สอบถามถึงการอดอาหารในครั้งนี้ พบว่าจำเลยทั้งสองได้ดื่มเพียงแค่น้ำเท่านั้น แต่หลังจากวันนั้นพยานก็ไม่ได้พบกับจำเลยทั้งสองอีกเลย

    เท่าที่พูดคุยในวันที่ 3 ก.ค. บุ้งตอบโต้รู้เรื่อง น้ำหนักเสียงและการเคลื่อนไหวปกติดี มีอาการอ่อนเพลียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่ถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ส่วนอาการป่วยด้วยโรคประจำตัว หรืออาการก้อนเนื้อในมดลูกของบุ้งนั้น พยานไม่ได้ทราบมาก่อน และได้ยืนยันว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยตามมาตราฐานของสาธารณสุข

    ทนายความได้ขออนุญาตซักถามพยานเพิ่มเติม โดยถามว่า ในวันแรกรับมีการตรวจร่างกายของผู้ต้องขังรายใหม่พร้อมกันหลายคน พยานให้จำเลยกรอกใบประวัติเอง ไม่ได้มีการซักถามใช่หรือไม่ วิลาสินีอธิบายว่า พยานได้ให้กรอกประวัติทางการแพทย์ วัดอุณหภูมิ ความดัน และได้ซักถามอาการ รวมถึงโรคประจำตัวของจำเลยทั้งสองด้วยตนเอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้แจ้งกับพยานว่ามีโรคประจำตัว จึงทำให้ไม่มีการตรวจสอบอาการเพิ่มเติม

    ทนายจำเลยถามต่อว่า ในวันที่ 27 มิ.ย. คำสั่งที่ให้บุ้งแอดมิท เป็นคำสั่งของแพทย์ใช่หรือไม่ ซึ่งพยานได้ตอบว่า ใช่

    ศาลถามแทรกว่า พยานรู้ถึงอาการปวดท้องของบุ้งหรือไม่ว่ามีสาเหตุจากก้อนเนื้อในมดลูก หรือเพราะเหตุใด ทนายได้แย้งว่า ผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาอาการป่วยของบุ้งควรเป็นความเห็นของแพทย์ ไม่ใช่พยาน ขอให้พยานเบิกความตามความจริง เพราะเป็นเรื่องความเป็นความตายของชีวิตคน ในฐานะที่พยานเป็นพยาบาลวิชาชีพ การตรวจเนื้องอก หรือความผิดปกติในมดลูกต้องใช้เครื่องมืออย่าง เครื่อง MRI ใช่หรือไม่ วิลาสินีอธิบายว่า ในการจะตรวจถึงความผิดปกติในมดลูก ควรต้องมีการส่งชิ้นเนื้อตรวจทางอัลตร้าซาวด์ด้วย แต่ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีเพียงเครื่อง CT scan เท่านั้น ไม่ได้มีเครื่องมืออย่าง MRI หรือเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดว่าเนื้องอกในมดลูกดังกล่าวเป็นเนื้อร้ายหรือไม่

    อย่างไรก็ตาม ทนายได้ถามต่อวิลาสินีว่าในการตรวจสอบก้อนเนื้อดังกล่าว ราชทัณฑ์ก็มีความจำเป็นที่จะต้องส่งออกไปตรวจที่โรงพยาบาลข้างนอกใช่หรือไม่ แต่ผลตรวจเลือด ราชทัณฑ์มีทรัพยากรที่สามารถทำการวิเคราะห์ผลได้ และพยานก็ได้ตอบว่าใช่

    นอกจากนี้ แพทย์เคยวินิจฉัยว่า บุ้งมีภาวะค่าโพแทสเซียมต่ำจนอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ทนายจึงถามต่อพยานว่าในทราบอาการดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งพยานได้ตอบว่า ภาวะโพแทสเซียมต่ำมีผลต่อกล้ามเนื้อจริง แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้หรือไม่

    พยานได้แถลงเพิ่มเติม ในส่วนอาการของใบปอ (จำเลยที่ 2) โดยบอกว่าตั้งแต่แรกรับจนวันที่ 3 ก.ค. 2565 ร่างกายของจำเลยซูบผอมลงชัดเจน แต่ยังพูดคุยได้ปกติ และมีอาการอ่อนเพลียเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อทนายความได้ขอให้พยานอัปเดตน้ำหนักตัวล่าสุดของจำเลยทั้งสอง วิลาสินีได้แถลงต่อศาลพร้อมเอกสารทางการแพทย์ว่า ในส่วนของบุ้งในวันแรกรับมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 83 กิโลกรัม ปัจจุบัน 72.9 กิโลกรัม ลดลงมา 10 กิโลกรัม ส่วนใบปอน้ำหนักแรกรับอยู่ที่ 53 กิโลกรัม ปัจจุบัน 49.2 ลดลงมาเกือบ 4 กิโลกรัม

    ++พยานปากที่ 2: วัชรีวรรณ เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพ ชำนาญการ จากทัณฑสถานหญิงกลาง

    ต่อมา วัชรีวรรณ พยานปากที่ 2 ได้ขึ้นเบิกความว่า ตนได้พบกับจำเลยทั้งสองตั้งแต่วันแรกรับ 3 พ.ค. เป็นต้นมา และได้พบกันอยู่เป็นประจำ ตลอดจนได้มีการพูดคุยทักทาย และให้กำลังใจจำเลยทั้งสองในการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำอีกด้วย

    ในวันแรกรับทั้งสองมีสภาพปกติดี โดยจำเลยทั้งสองได้ถูกนำไปกักตัวตามมาตรการโควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์ เป็นระยะเวลา 10 วัน ก่อนจะถูกย้ายมาที่ห้องกันชนโควิด 7 วัน หลังจากนั้นจึงได้ลงมาใช้ชีวิตตามปกติที่เรือนจำ ซึ่งพยานเป็นผู้เดินตรวจตราทำให้ได้เจอจำเลยทั้งสองอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    พยานทราบอาการป่วยและชีวิตประจำวันของทั้งสองคน ตลอดจนทั้งสองได้มีความประสงค์ที่จะอดอาหารตั้งแต่วันที่ทานตะวันได้รับการประกันตัวออกมา แต่ไม่ทราบอาการป่วยที่มดลูกของบุ้ง ถึงอย่างนั้นพยานก็ได้พูดให้กำลังใจกับจำเลยทั้งสองอยู่เป็นประจำ

    ต่อมา ทนายได้ขอซักถามพยาน โดยถามว่าในวันที่ 27 มิ.ย. มีการส่งตัวบุ้งไปที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ พยานทราบหรือไม่ ซึ่งพยานได้ตอบว่าตนทราบเรื่องนี้ แต่ไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงว่าบุ้งเข้าโรงพยาบาลเพราะสาเหตุใด แต่ทราบถึงวันที่จำเลยได้ถูกนำตัวกลับมาที่เรือนจำเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา

    ทนายถามต่ออีกว่า พยานทราบถึงเรื่องอาการปวดหัวไมเกรนของใบปอ ตลอดจนสภาพล่าสุดของทั้งคู่เป็นอย่างไรบ้าง พยานตอบว่า ล่าสุดที่พบทั้งสองคือเมื่อวันที่ 6 ก.ค. พบว่าทั้งสองคนยังสามารถใช้ชีวิตปกติ ไม่มีอาการใดๆ ยังเดินได้ และสดใสร่าเริง แต่ทั้งคู่มีร่างกายที่ซูบผอมและน้ำหนักลงอย่างชัดเจน

    ++ทนายความยื่นคำร้องขอให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งประกันตัว บุ้ง — ใบปอ เป็นวันนี้ เนื่องจากคดีนี้เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคน

    เวลา 11.25 น. ศาลได้ไต่สวนพยาน 2 ปาก จากราชทัณฑ์เสร็จสิ้น ทนายได้ยื่นคำร้องขอให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งจากวันที่ 8 ก.ค. 2565 เวลา 11.00 น. มาเป็นในวันนี้แทน โดยมีข้อความระบุว่า

    คดีนี้ ศาลนัดไต่สวนพยานเพิ่มเติมวันนี้ และมีคำสั่งให้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 8 ก.ค. 2565 เวลา 11.00 น. แต่เนื่องจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องด่วนกระทันหัน ที่อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตของจำเลยทั้งสองได้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนการนัดฟังคำสั่งในกรณีนี้เป็นวันที่ 7 ก.ค. 2565 เวลา 11.30 น. ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสองในการวางแผนการรักษาพยาบาลและอาการป่วยโดยเร็ว ไม่ว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นประการใดก็ตาม

    ต่อมา 12.17 น. ศาลรับคำร้องและนัดให้ทนายและนายประกันเข้าฟังคำสั่งที่ห้องงานประกันชั้นล่างในเวลา 15.00 น.

    16.02 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวบุ้งและใบปอ ระบุใจความสำคัญว่า ‘เมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 – 3 แล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หากจำเลยที่ 2 – 3 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อห้าม หรือคำสั่งของศาลได้แต่อย่างใด จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองอาจกระทำการที่ละเมิดเงื่อนไขหรือข้อห้ามคำสั่งของศาลอีก

    ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 – 3 มีสุขภาพทรุดโทรม จนอาจถึงอันตรายแก่ชีวิตและมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำทำให้หัวใจวายได้ ก็ปรากฏว่า ได้ความจากพยานปากนางวัชรีวรรณ (เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์) เบิกความต่อทนายผู้ร้องว่าจำเลยทั้งสองยังสามารถใช้ชีวิตตามปกติ เดินเหิน และมีความสดใสรื่นเริง สภาพร่างกายซูบผอมในลักษณะที่น้ำหนักลดลงเท่านั้น ข้อเท็จจริงในส่วนนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีสุขภาพทรุดโทรมจนอาจถึงอันตรายแก่ชีวิตตามที่อ้าง

    ส่วนใบสรุปประวัติการรักษาพยาบาลของจำเลยที่ 3 ได้มีการเข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นระยะเวลาผ่านมากว่า 2 ปีก่อนเกิดเหตุในคดีนี้ และในเอกสารดังกล่าวระบุว่าผู้ป่วยขอรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลของท่าน ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีแพทย์ที่สามารถดูแล และรักษาผู้ต้องขังที่ป่วยรวมทั้งจำเลยที่ 3 ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้วตามที่จำเลยที่ 3 ไปแจ้งต่อโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อขอออกใบสรุปประวัติการรักษาพยาบาลและส่งตัวผู้ป่วย กรณีจึงยังไม่มีพฤติการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง’ ลงนามโดย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 7 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/45759)
  • เวลา 09.00 น. นัดตรวจพยานหลักฐาน บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี 404 เต็มไปด้วยกลุ่มประชาชน เพื่อน และครอบครัวของจำเลยทั้ง 8 ราย โดยมีนุ้ย จำเลยที่ 4 และวรเวช จำเลยที่ 6 ได้เดินทางมาถึงห้องพิจารณาก่อนเป็นสองคนแรก และในวันนี้ได้มีตัวแทนนักศึกษาจากองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาเข้าร่วมสังเกตการณ์คดี เพื่อให้กำลังใจใบปอ ในฐานะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดียวกันอีกด้วย

    ต่อมา 09.34 น. บุ้งและใบปอ ถูกนำตัวมาถึงห้องพิจารณาคดี โดยใบปอมีสภาพอิดโรย ไร้เรี่ยวแรงจนต้องนั่งวีลแชร์ ซึ่งมีบุ้งเป็นผู้เข็นรถวีลแชร์ของใบปอเข้ามาในห้อง

    ในระหว่างที่รอการพิจารณาคดี ทนายความได้เข้าสอบถามกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ผู้ดูแลจำเลยทั้งสองคนว่า ในวันนี้ได้มีแพทย์หรือพยาบาลติดตามมาเพื่อดูแลอาการป่วยของจำเลยทั้งสองคนหรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ตอบว่า ไม่มี เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ของราชทัณฑ์ไม่ได้มีเพียงพอที่จะตามมาดูแลอาการจำเลยทั้งสองคนในชั้นศาลได้

    09.56 น. ตะวัน แบม และบีมได้เดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดีพร้อมกัน โดยทั้งหมดได้ตรงเข้าไปถามไถ่อาการของบุ้งและใบปอ พบว่าใบปอแทบจะสื่อสารอะไรไม่ได้ อยู่ในสภาพแน่นิ่งและนั่งเอาศีรษะพิงบุ้งอยู่ตลอดเวลา ส่วนบุ้งก็ดูอ่อนแรง ไม่ได้แจ่มใสหรือมีอาการเป็นปกติแต่อย่างใด ตลอดจนสภาพของจำเลยทั้งสองยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำให้การตามที่ทนายร้องขอได้อีกด้วย

    ในเวลา 10.12 น. ศาลนั่งพิจารณาคดี โดยทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานในวันนี้ออกไปก่อน เนื่องจากอาการของจำเลยที่ 2 และ 3 ไม่สู้ดี และไม่สามารถที่จะรับฟังการพิจารณาคดีใดๆ ได้

    อย่างไรก็ตาม อัยการโจทก์แถลงว่า ได้เตรียมพยานเอกสารและภาพถ่ายมาเสนอต่อศาล จำนวน 41 อันดับ และประสงค์ที่จะขอนัดสืบพยานจำนวน 19 ปาก ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 นัดในการสืบพยาน

    ทนายจำเลยทั้งหมดแถลงร่วมกันว่าในการสืบพยานจำเลยที่ 1 – 8 จะมีทั้งหมด 34 ปาก โดยเป็นตัวจำเลยที่ 1 – 8 จำนวน 8 ปาก และพยานที่เหลืออีก 26 ปาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือนักวิชาการที่จะมาให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ กลุ่มที่สองคือพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในแบบสำรวจทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

    ทนายจำเลยแถลงเพิ่มเติมว่า ขอเวลาในการศึกษาพยานหลักฐานที่โจทก์อ้างก่อน อีกทั้งยังย้ำถึงเรื่องอาการป่วยของบุ้งและใบปอว่า ในวันนี้ทั้งสองคงไม่สามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีได้ เนื่องจากไม่มีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตของทั้งสองคน

    10.42 น. บุ้งเกิดอาการปวดท้องรุนแรงกระทันหันในระหว่างที่ทนายความกำลังเจรจากับศาลให้เลื่อนการนัดตรวจพยานหลักฐานในวันนี้ออกไปก่อน ตะวันและจำเลยทั้งหมดได้สังเกตเห็นอาการไม่สู้ดีของบุ้ง จึงได้ร้องต่อศาลขอให้บุ้งและใบปอได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

    ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เดินไปแถลงต่อศาลถึงหน้าบัลลังก์ว่า หากต้องนำตัวจำเลยทั้งสองไปรับการรักษาพยาบาล ขอให้ทั้งคู่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์เท่านั้น

    ทนายความได้แถลงต่อศาล โดยยืนยันว่าอาการเจ็บป่วยของทั้งสองในขณะนี้ ไม่ควรรีรอให้ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในเมื่อมีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ศาลที่พร้อมจะตรวจดูอาการฉุกเฉินของจำเลยทั้งสองคนได้

    หรือหากมีสถานพยาบาลที่ศาลแห่งนี้ ก็ควรให้จำเลยทั้งสองได้เข้ารับการดูแลจากแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลได้บอกกับทนายว่า ที่ศาลไม่ได้มีสถานพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์คอยให้บริการ จึงไม่สามารถดูแลรักษาอาการป่วยของจำเลยทั้งสองได้

    ความวุ่นวายเริ่มเกิดขึ้น ศาลจึงขอให้บุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นคู่ความกับจำเลยทั้งหมดในคดีนี้ ออกไปจากห้องพิจารณา ก่อนสั่งให้เรียกเจ้าหน้าที่อาสาพยาบาลประจำศาล เข้ามาประเมินอาการบุ้งและใบปอที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี

    เจ้าหน้าที่อาสาพยาบาลประจำศาลได้เข้ามาประเมินอาการทั้งคู่ พบว่าอาการไม่สู้ดีและควรนำตัวส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งศาลได้เห็นสมควร จึงสั่งให้นำตัวบุ้งและใบปอไปโรงพยาบาลเลิดสินในทันที

    ต่อมา ศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาคดี มีข้อความระบุว่า ‘พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 2 และ 3 มีอาการเจ็บป่วยกระทันหันไม่อยู่ในภาวะที่จะดำเนินกระบวนการพิจารณาได้ กรณีมีเหตุจำเป็นจึงให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยทั้ง 8 คน และตรวจพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย และกำหนดวันนัดสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายใหม่เป็นวันที่ 29 ส.ค. 2565 เวลา 09.00 น.’

    นอกจากนี้ ศาลยังได้มีคำสั่งให้มีหนังสือแจ้งกรมราชทัณฑ์ให้ประสานจัดแพทย์และพยาบาลเพื่อมาดูแลบุ้งและใบปอที่จะถูกเบิกตัวมาขึ้นศาล ในวันนัดครั้งถัดไปอีกด้วย

    เวลาประมาณ 11.00 น. ทนายความได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลเลิดสิน พบว่าอาการปวดท้องรุนแรงของบุ้งในห้องพิจารณาคดี อาจเกิดจากกระเพาะอักเสบหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นว่าควรส่งตัวกลับไปตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์

    ทั้งนี้ แพทย์ฉุกเฉินได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ในการตรวจอาการเบื้องต้น ยังไม่เข้าข่ายต้องให้จำเลยทั้งสองแอดมิท และหากต้องการตรวจอย่างละเอียดจำเป็นที่จะต้องมีแพทย์นิติเวชด้วย ซึ่งที่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่ได้มีแพทย์นิติเวชประจำการ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็แจ้งว่าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็ไม่ได้มีแพทย์นิติเวชเช่นเดียวกัน

    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้กล่าวว่าหากได้นำตัวจำเลยทั้งสองกลับไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่สามารถประสานขอแพทย์นิติเวชจากโรงพยาบาลตำรวจมาตรวจอาการบุ้งและใบปอให้ได้

    ต่อมาเวลา 14.00 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ยืนยันที่จะนำตัวบุ้งและใบปอกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยได้นำส่งขึ้นรถโรงพยาบาล ก่อนจะตรงไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในทันที

    เวลา 13.00 น. ทนายความยังได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวบุ้งและใบปอ เป็นครั้งที่ 7 ซึ่งวางหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยมีใจความสำคัญระบุว่า

    1. ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และ 3 มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ โดยในระหว่างการพิจารณาของศาลในวันนี้ ปรากฏเหตุจำเลยที่ 2 และ 3 ล้มป่วยด้วยอาการปวดท้อง หน้ามืด วิงเวียนเป็นลม ศาลได้กรุณาเรียกหน่วยฉุกเฉินทางการแพทย์จากภายนอกมาตรวจในห้องพิจารณา เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินได้แจ้งต่อศาลว่า จำเป็นที่จะต้องนำจำเลยทั้งสองไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดคือ โรงพยาบาลเลิดสิน กรณีดังกล่าวจึงเป็นเหตุจำเป็นอันเร่งด่วนที่ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปล่อยตัวจำเลยทั้งสองชั่วคราว เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลให้พ้นจากภัยอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิต

    2. สำหรับใบปอ หรือ จำเลยที่ 2 เนื่องจากในขณะนี้จำเลยที่ 2 เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 และมีความจำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนเรียนในการเปิดภาคเรียนในระหว่างวันที่ 8 – 21 สิงหาคม 2565 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อไปดำเนินการตามที่เรียนไว้ข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งอนาคตทางการศึกษาของจำเลยที่ 2

    3. นอกจากนี้ ทางองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีคำร้องขอให้ศาลได้พิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย

    ด้วยเหตุจำเป็น ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ จึงขอให้ศาลได้มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 3

    ต่อมา 17.45 น. ศาลได้มีคำสั่งให้รอฟังผลประกันของบุ้งและใบปอในวันที่ 19 ก.ค. 2565 เวลา 15.00 น. โดยมีคำสั่งระบุว่า ‘เหตุที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ถูกเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากได้กระทำการอันเป็นการละเมิดข้อกำหนดของศาล และคำร้องก็ไม่ได้กล่าวถึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะดำเนินการในคำร้องดังกล่าวอย่างไร อ้างเพียงเหตุเจ็บป่วยร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปโรงพยาบาลเลิดสินจากนั้นส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ศาลยังไม่ได้รับผลตรวจ จึงให้ประสานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ขอให้ส่งผลตรวจของโรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาประกอบการพิจารณาต่อไป ให้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 19 ก.ค. 2565 เวลา 15.00 น.’ ลงนามโดย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้

    ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 บุ้งและใบปอถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มาเป็นระยะเวลา 77 วัน และได้อดอาหารเพื่อทวงคืนสิทธิประกันตัวมาเป็นระยะเวลากว่า 47 วันแล้ว

    (อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 18 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46118)
  • พี่สาวของบุ้งได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติม โดยยินยอมเป็นผู้กำกับดูแลบุ้งและใบปอ โดยมีใจความสำคัญ ระบุไว้ดังนี้

    ‘ในคดีนี้ ตามที่จำเลยที่ 2 และ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดี เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่สาวของบุ้ง หรือจำเลยที่ 3 และเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 2 ให้ความเคารพเชื่อถือ ประสงค์ที่จะรับเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสอง

    หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ในระหว่างการพิจารณาคดี โดยผู้ร้องขอรับรองว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนด กล่าวคือ จะกำชับมิให้จำเลยทั้งสอง กระทำการใดๆ ที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะกำชับมิให้จำเลยทั้งสองโพสต์เชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อบ้านเมือง และจะกำชับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดอื่นใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัด

    จำเลยทั้งสองยินยอมให้ติดอุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ประกอบกับยินยอมให้ศาลจำกัดระยะเวลาการเดินทาง เว้นแต่เหตุทางการรักษาพยาบาล การศึกษา หรือเหตุจำเป็นเร่งด่วนประการอื่น

    อนึ่ง หากศาลเห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และศาลเห็นว่าจะต้องออกข้อกำหนดใดๆ ที่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อศาลออกข้อกำหนดใดๆ ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องรับรองว่าจะกำกับดูแลให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติไปตามข้อกำหนดอันชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวทั้งสิ้นทุกประการ’

    ต่อมาเวลา 15.17 น. สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวบุ้งและใบปอ ระบุใจความสำคัญว่า คำร้องดังกล่าวยังคงไม่ปรากฏข้อความหรือข้อเท็จจริงอื่นใดที่จะแสดงให้เห็นว่า หากจำเลยทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีแล้วจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อห้ามและคำสั่งศาลได้อย่างเคร่งครัด

    ส่วนกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่สาวของจำเลยที่ 3 ประสงค์ที่จะเป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสองคน ก็เป็นหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการเช่นนั้นอยู่แล้ว และในกรณีที่จำเลยทั้งสองป่วย ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวไปตรวจที่โรงพยาบาลเลิดสิน ก็ปรากฏว่า สุขภาพโดยรวมของจำเลยทั้งสอง ยังเป็นปกติตามบันทึกข้อความของแพทย์ผู้ตรวจรักษา กรณียังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้อง

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 19 ก.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46199)
  • ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวบุ้งและใบปอเป็นครั้งที่ 8 มีใจความสำคัญโดยสรุประบุว่า

    1. คดีนี้จำเลยทั้งสองคน ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนหน้านี้ หลายครั้ง แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ซึ่งจำเลยทั้งสองขอถือเอาเหตุผลตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีที่ได้ยื่นไว้ก่อนหน้านี้ทุกฉบับเป็นเหตุผลประกอบคำร้องฉบับนี้ด้วย

    2. จำเลยทั้งสอง เห็นว่าหากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้ศาลแต่งตั้ง ชญาภัส (สงวนนามสกุล) พี่สาวของจำเลยที่ 3 หรือบุ้ง และเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 2 หรือใบปอ เคารพนับถือ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ ให้เป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสอง ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวด้วย

    3. ในคดีนี้ จำเลยทั้งสองได้ปรึกษากับชญาภัสว่า หากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยทั้งสองของรับรองต่อศาลว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดที่ศาลจะกำหนดให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกประการ โดยจำเลยทั้งสองขอรับรองว่าจะไม่หลบหนีและจะมาศาลทุกนัดตามที่ศาลนัดหมาย และจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ ที่เสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ และจะไม่ไปกระทำการที่ทำให้เกิดภยันตรายอื่นทั้งสิ้น

    รวมทั้ง หากศาลมีข้อกำหนด และข้อห้ามอื่นใดเช่น การติดอุปกรณ์กำไล EM หรือการกำหนดเวลาออกนอกเคหสถาน จำเลยทั้งสองยินดีที่จะปฏิบัติตาม และผู้กำกับดูแลก็จะควบคุมดูแลให้จำเลยปฏิบัติตามที่ศาลกำหนด

    เวลา 15.20 น. มนัส ภักดิ์ภูวดล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันบุ้งและใบปอ ระบุว่า พิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลยทั้ง 2 คน โดยพิเคราะห์จากคำร้องประกอบการขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลได้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ โดยอ้างเหตุผลและสมัครใจเสนอเงื่อนไข การขอปล่อยตัวชั่วคราวมาหลายข้อว่า จำเลยทั้งสองคนจะไม่กระทำการใดอันทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ และจะไม่ก่อความวุ่นวายอีก

    จำเลยทั้งสองจะปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด โดยขอตั้งให้ ชญาภัส เป็นผู้กำกับดูแลจำเลยทั้งสองคน ในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว การที่จำเลยทั้งสองคนเสนอเงื่อนไขมา และรับรองว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด จึงน่าเชื่อว่าเงื่อนไขดังกล่าวน่าจะเพียงพอในการกำกับจำเลยทั้งสองได้ หากว่าการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสอง จะไม่ไปก่อภัยอันตรายหรือก่อความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวอีก

    ดังนี้ จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยทั้งสอง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาล อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสองคน ตีวงเงินราคาประกันคนละ 200,000 บาท และให้ตั้ง ชญาภัส เป็นผู้กำกับดูแลสอดส่องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว และเห็นควรกำหนดเงื่อนไขตามที่จำเลยทั้งสองเสนอมาตามคำร้อง

    1. ห้ามจำเลยทั้งสองคนกระทำการใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันตามที่ถูกกล่าวหาในคำฟ้อง
    2. ห้ามจำเลยทั้งสองคนกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนการพิจารณาของศาล
    3. ห้ามจำเลยทั้งสองคนออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 19.00 – 06.00 น. ของอีกวัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาลหรือได้รับอนุญาตจากศาล
    4. ห้ามจำเลยทั้งคนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
    5. ให้จำเลยทั้งสองคนมารายงานตัวต่อศาลทุกๆ 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

    อนึ่ง หากจำเลยทั้งสองคนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ศาลอาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว

    หลังผลการประกันตัวดังกล่าว ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวในคดีที่บุ้งและใบปอยังมีหมายขังเหลืออยู่ ได้แก่ กรณีของบุ้ง มีหมายขังของศาลจังหวัดนนทบุรี ในคดีสาดสี-พ่นสเปรย์บนรูปปั้นภายในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประท้วงปัญหาการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19

    กรณีของใบปอ มีหมายขังของศาลอาญา ในคดีมาตรา 112 กรณีแชร์โพสต์ข้อความจากเพจทะลุวัง ซึ่งทนายความได้เข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวเช่นเดียวกัน

    ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวใบปอ และศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวบุ้ง ทำให้ทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง สิ้นสุดการคุมขัง 94 วัน และสิ้นสุดการประท้วงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิการประกันตัว ซึ่งล่วงมาเป็นระยะเวลา 64 วัน ของนักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังทั้งสอง

    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดี จำนวนอย่างน้อย 28 คน

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 4 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46883)
  • จำเลยทั้งแปดพร้อมทนายจำเลยมาศาล ศาลอ่าน อธิบายฟ้อง และถามคำให้การจำเลยอีกครั้ง จำเลยทั้งแปดยืนยันให้การปฏิเสธตามคำให้การเป็นเอกสารที่ยื่นในวันนี้

    อัยการโจทก์แถลงเหมือนนัดก่อนว่า ประสงค์ที่จะสืบพยานบุคคลจำนวน 19 ปาก อาทิเช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 6, เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจสันติบาล, ผู้สืบสวนการข่าวกรอง, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างสยามพารากอน และเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งจะมาเบิกความในส่วนของการจัดการอารักขาให้พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาสืบ 4 นัด

    ฝ่ายจำเลยประสงค์สืบพยานทั้งหมด 34 ปาก โดยเป็นตัวจำเลย 8 ปาก และอีก 26 ปาก แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการที่จะมาให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดีนี้, ผู้อยู่ในเหตุการณ์, ผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในแบบสำรวจทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนรักษาความปลอดภัยในขบวนเสด็จ ใช้เวลาสืบ 10 นัด นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 5-8 ก.ย. 2566 สืบพยานจำเลยวันที่ 24-27, 31 ต.ค., 16-17, 28-30 พ.ย. 2566

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 29 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/47681)
  • เวลา 13.00 น. ตะวัน และ “แบม" อรวรรณ (สงวนนามสกุล) นักกิจกรรมอิสระ เดินทางมาที่ศาลอาญา แสดงเจตจำนงขอถอนประกันของตนเองเพื่อประท้วงความอยุติธรรมของศาล และทวงคืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังในคดีจากการแสดงออกทางการเมือง

    เวลา 13.10 น. บริเวณหน้าศาลอาญา มีการตั้งจุดตรวจบัตรประชาชนและตรวจค้นสัมภาระอย่างเข้มงวด มีประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากเดินทางมาร่วมติดตามสถานการณ์ของสองนักกิจกรรมอย่างใกล้ชิด ตะวันและแบมเดินทางมาพร้อมกันที่ศาลอาญา และเริ่มอ่านแถลงการณ์ซึ่งมีข้อเรียกร้อง 3 ประการ ดังนี้

    1. ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างแรกมาก่อนสิ่งอื่นใด ต้องเป็นอิสระ ปราศจากอำนาจนำ ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน และผู้บริหารศาลต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาคดี

    2. ยุติการดำเนินคดีความกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง

    3. พรรคการเมืองทุกๆ พรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการยกเลิกมาตรา 112 และ 116

    ทั้งสองกล่าวต่อหน้าสื่อมวลชนว่า พวกเธอจะให้เวลาศาลและพรรคการเมืองทุกพรรคเป็นระยะเวลา 3 วัน หากในวันพุธที่ 18 ม.ค. 2566 ผู้ต้องขังคดีการเมืองยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และข้อเรียกร้องดังกล่าวยังไม่เป็นผล จะมีการยกระดับทั้งในและนอกเรือนจำ ในวันที่ 19 ม.ค. 2566

    ++ศาลรับคำร้อง อนุญาตให้ “ตะวัน – แบม” ถอนประกัน ทั้งสองเผยขอยืนยันว่าจะไม่ยื่นประกันตัวเองจนกว่าคนในเรือนจำจะได้รับสิทธิประกันตัวคืน

    ต่อมา ตะวันได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา ขอยกเลิกการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีไลฟ์สดหน้า UN เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 ในขณะที่แบมได้เดินทางไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้พร้อมกับทนายความ เพื่อยื่นคำร้องแสดงเจตจำนงขอถอนประกันตัวเองในคดีนี้ โดยคำร้องของทั้งสองมีใจความสำคัญระบุว่า ศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดี โดยมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องปฏิบัติตามหลายประการ

    จำเลยเห็นว่า เงื่อนไขในการที่ศาลกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามในระหว่างที่ได้รับการประกันตัวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของจำเลยที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

    จำเลยจึงไม่ประสงค์ที่จะขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีนี้อีกต่อไป จำเลยขอถอนคำร้องปล่อยตั่วชั่วคราวนับตั้งแต่ที่ยื่นคำร้องนี้ จึงขอเรียนมาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งประกันตัวของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีนี้เสีย

    อนึ่ง จำเลยได้เดินทางมาปรากฏตัวต่อหน้าศาลและให้ศาลรับตัวจำเลยไปดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อไป ทั้งนี้การถอนการประกันตัวเอง เป็นความประสงค์ของจำเลยอย่างแท้จริง

    ต่อมาเวลา 14.27 น. ศาลอาญารับคำร้องขอถอนประกันตัวเองของตะวัน และในเวลา 16.06 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็มีคำสั่งรับคำร้องขอถอนประกันตัวของแบม

    ก่อนที่ตะวันจะถูกส่งตัวลงไปที่ห้องฝากขัง เธอได้เปิดเผยถึงการแสดงเจตจำนงขอถอนประกันตัวครั้งนี้ว่า “เรายืนยันว่าจะไม่ยื่นประกันตัวเอง จนกว่าเพื่อนเราจะได้รับสิทธิประกันตัว เราจะไม่อ้อนวอนร้องขอความเห็นใจใดๆ ทั้งสิ้นจากศาล”

    ทางด้านแบม ก็ได้เปิดเผยเช่นเดียวกันว่า ตัวเองขอหนักแน่นถึงการประท้วงเพื่อทวงคืนสิทธิประกันตัวของผู้ต้องขังคดีการเมืองในเรือนจำ และการที่เธอได้ประกันตัวออกมายืนอยู่ ณ ที่นี้ มันไม่ใช่อิสรภาพที่แท้จริง ดังนั้น การที่เธอและตะวันแสดงเจตจำนงที่จะถอนประกันของตัวเองเป็นสิ่งที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่า พวกเธอไม่ยอมรับความอยุติธรรมของศาล โดยแบมได้กล่าวว่า “เราขอแลกอิสรภาพจอมปลอม เพื่ออิสรภาพที่แท้จริงของทุกคน”

    ผลของการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ ‘ตะวัน ทานตะวัน’ และ ‘แบม อรวรรณ’ ได้ถูกส่งตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางทันที และทำให้มีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำจากการแสดงออกทางการเมือง หรือมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการต่อสู้คดีเป็นจำนวน 15 คนแล้ว โดยเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 จำนวน 7 คน

    (อ้างอิง: คำร้องขอถอนประกัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 16 ม.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/52338)
  • พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวแบมต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐในสถานพยาบาลที่ได้รับมอบตัวผู้ต้องควบคุมในอำนาจศาลไว้ดูแล และได้รับมอบหมายจากกรมราชทัณฑ์ ระบุเหตุผลว่า เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 7 หรือแบม อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมแก่การควบคุมตัวระหว่างพิจารณาคดี และสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะวิกฤต หากควบคุมตัวต่อไปจำเลยอาจเสียชีวิตได้ จึงขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี เพื่อให้ทำการรักษาตัว และฟื้นฟูร่างกายได้ง่ายกว่า และทำให้สะดวกและทำให้ลดเงื่อนไขที่อาจจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของจำเลยลงได้เมื่อจำเลยมิได้อยู่ในสถานะผู้ถูกควบคุมตัวภายใต้อำนาจศาลแล้วนั้น

    ต่อมา ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว ระบุว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ร้องเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ทำการรักษาจำเลยที่ 7 ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 แต่เมื่อความปรากฏตามคำร้องทำนองว่า จำเลยยืนยันปฏิเสธการรักษาและแจ้งความประสงค์ที่รับการรักษาจากโรงพยาบาลภายนอก โดยยังคงไม่รับประทานอาหาร อาการโดยรวมของจำเลยที่ 7 เลวร้ายลงมากจนอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากมีภาวะคีโตนในเลือดสูงมากขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานกรองของเสียของไตลดลงอย่างมาก จำเลยอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะแก่การควบคุมตัวระหว่างพิจารณาคดี และสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง หากยังคงควบคุมตัวจำเลยเอาไว้ มีโอกาสที่จำเลยอาจเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวได้ สอดคล้องกับรายงานการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ และหนังสือของทัณฑสถานหญิงกลางที่อ้างถึงแถลงการณ์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จึงน่าเชื่อว่า อาการเจ็บป่วยของจำเลยที่ 7 อยู่ในขั้นวิกฤต

    ศาลเห็นด้วยว่า หากขังจำเลยต่อไป อาจอันตรายถึงชีวิต การกำหนดเงื่อนไขปล่อยตัวชั่วคราวในการปล่อยชั่วคราวใด ๆ ในช่วงเวลานี้ จึงมิใช่สาระอันสำคัญและจำเป็นยิ่งไปกว่าการคุ้มครองดูแลชีวิตของจำเลย ทั้งจำเลยทึ่ 7 เจ็บป่วยถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต โอกาสที่จำเลยจะก่อภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายหลังจากปล่อยตัวชั่วคราวจึงเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งจำเลยที่ 7 เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วช่วงเวลาหนึ่ง และไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนี เมื่อความปรากฏต่อศาลเช่นนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรค 3 และมาตรา 108 วรรคสอง จึงเห็นควรอนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 7 ชั่วคราวโดยไม่มีประกัน"

    หลังศาลมีคำสั่งให้ประกันทั้งแบมและตะวัน เพจเฟซบุ๊ก "ทะลุวัง" เผยแพร่ภาพคำชี้แจงของทั้งสอง ระบุในตอนหนึ่งว่า ทนายความได้แจ้งข่าวที่ทั้งสองได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ขณะที่ ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองจำนวน 8 ราย กลับไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้ทั้งทั้งสองเกิดความประหลาดใจ โดยกล่าวว่า เธอทั้งสองคนไม่ได้ต้องการขออิสรภาพให้ตัวเธอเอง เพราะที่จริงแล้ว พวกเธอก็เป็นคนไปขอถอนประกันตัวเอง และเรียกร้องให้ศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคน

    แบมและตะวันยืนยันว่า ตนไม่รับรู้และไม่รับทราบใดๆ กับการที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ และศาลดำเนินการสั่งถอนหมายขังครั้งนี้แต่อย่างใด และไม่ลงลายมือชื่อในเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวเธอในครั้งนี้โดยเด็ดขาด

    (อ้างอิง: https://prachatai.com/journal/2023/02/102663)

  • ทนายความยื่นคำร้องขอถอนประกันใบปอในคดีนี้ เนื่องจากใบปอไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีของศาลอาญา 2 คดี จึงขอถอนประกันในนคดีนี้เพื่อนับโทษขังไปพร้อมกัน
  • ขณะ "ตะวัน" ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ "แบม" อรวรรณ ภู่พงษ์ อดอาหารเพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยผู้ต้องขังทางการเมืองเป็นวันที่ 34 ทนายความได้ยื่นประกันผู้ต้องขังคดีการเมืองจำนวน 6 ราย ได้แก่ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และ ใบปอ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังถูกศาลสั่งถอนประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2566, “พรพจน์ แจ้งกระจ่าง”, “คทาธร” และ “ถิรนัย, ชัยพร (สงวนนามสกุล)” ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าครอบครองวัตถุระเบิด

    คำร้องขอประกันของใบปอในคดีนี้ มีใจความสำคัญระบุว่า จำเลยเป็นเพียงนักศึกษา ย่อมไม่มีอิทธิพลเข้าไปยุ่งเหยิงหรือเป็นอุปสรรคต่อพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานได้อยู่ในการรวบรวมของอัยการโจทก์แล้วทั้งสิ้น

    ต่อมา ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันใบปอ ตีราคาประกัน 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข “ห้ามจำเลยกระทำกิจกรรมใดๆ เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ถูกฟ้อง ห้ามก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามปลุกปั่นยุยงหรือชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล”

    ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้เป็นการสิ้นสุดการคุมขังเก็ทและใบปอซึ่งกินเวลารวม 43 วัน หลังถูกถอนประกัน

    (อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 20 ก.พ. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/53763)
  • ทนายความได้ยื่นขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารที่จะใช้ในการต่อสู้คดีจำนวน 3 รายการ ซึ่งได้เคยระบุไว้ในบัญชีพยาน ตั้งแต่นัดตรวจพยานหลักฐานในช่วงปี 2565 ได้แก่

    1. รายงานการจราจรและสภาพการจราจร รวมถึงคำสั่งปิดการจราจร ในบริเวณการเดินทางของขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ภายในกรุงเทพมหานคร ในช่วงปี 2563-64 ที่มีอยู่ในกองบังคับการตำรวจจราจร

    2. แผนการรักษาความปลอดภัยในขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีอยู่ในกองบัญชาการตำรวจนครบาล

    3. รายละเอียดแผนผังการเดินทางของขบวนเสด็จของรัชกาลที่ 10 พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ภายในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงปี 2563-64 ที่มีอยู่ในกองบัญชาการตำรวจนครบาล

    หลังการยื่นคำร้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลย ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ปรากฏรายละเอียดในคำร้องว่าเอกสารที่ขอเรียกมานั้น มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทหรือข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 7 อย่างไร เหตุใดจึงจำเป็นต้องขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าว ในชั้นนี้จึงให้ยกคำร้อง”
    .
    วันเดียวกันนี้ พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ขอเพิกถอนประกันทานตะวัน จำเลยที่ 1 และเนติพร จำเลยที่ 3 จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2566 จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองหน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อสถาบันกษัตริย์ โดยศาลวางเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราว ห้ามจำเลยทั้งสองกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกันตามที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความแต่เพียงว่า จำเลย ที่ 1 และที่ 3 กับพวกไปชุมนุมที่ทำการพรรคเพื่อไทย ทำการโปรยกระดาษข้อความ ปารองเท้า ขวางทางเข้าออกตึกไทยซัมมิท อาคารที่ทำการพรรคเพื่อไทย

    ซึ่งการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และที่ 3 มิใช่การกระทำที่ลักษณะทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคำฟ้อง แต่เป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจทางการเมืองในการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งรัฐบาล หากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยก็สามารถใช้สิทธิดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้

    ข้อเท็จจริงตามคำร้องยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวตามที่ศาลกำหนด จึงให้ยกคำร้อง

    (อ้างอิง: คำร้องขอออกหมายเรียกพยานเอกสาร ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 10 ส.ค. 2566, https://tlhr2014.com/archives/59063 และ https://www.matichon.co.th/politics/news_4123072)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารที่จะใช้ในการต่อสู้คดีจำนวน 3 รายการ อีกเป็นครั้งที่ 2 โดยยืนยันว่าเอกสารที่ขอให้ศาลออกหมายเรียกดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดีโดยตรง เพราะเป็นข้ออ้างที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ และเป็นพยานเอกสารพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้อย่างชัดเจน ทั้งเป็นพยานหลักฐานภายนอกซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น ซึ่งประชาชนธรรมดาไม่สามารถนำมาด้วยตนเองได้

    จากนั้นศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำสั่งไม่ออกหมายเรียกเช่นเดิม “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานเอกสารที่จำเลยทั้งแปดขอมานั้นไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่จำเลยถูกกล่าวหา ไม่สามารถนำมาใช้พิสูจน์ความจริงในคดีในประเด็นข้อสำคัญได้ หรือจำเลยทั้งแปดอาจไปขอคัดถ่ายเอาเองเพื่อมายื่นต่อศาลได้อยู่แล้ว จึงให้ยกคำร้อง”

    (อ้างอิง: คำร้องขอออกหมายเรียกพยานเอกสาร ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 25 ส.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/59063)
  • ทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารเป็นครั้งที่ 3

    (อ้างอิง: คำร้องขอออกหมายเรียกพยานเอกสาร ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 1 ก.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/59063)
  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากใบปอ จำเลยที่ 2 ป่วย ศาลอนุญาต
  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากใบปอ จำเลยที่ 2 ยังมีอาการป่วย และบุ้ง จำเลยที่ 3 ประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางมาศาล ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 24-27 ต.ค. 2566 ตามที่เดิมเป็นวันนัดสืบพยานจำเลย และให้ยกเลิกนัดในวันที่ 7 และ 8 ก.ย. 2566
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันตะวัน จำเลยที่ 1 และบุ้ง จำเลยที่ 3 หลังเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2566 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุว่า ทั้งสองเข้าร่วมการชุมนุมที่หน้ากระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2566 เพื่อเรียกร้องให้ถอดถอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีการพ่นสีสเปรย์ จุดพลุ และพลุควัน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขประกันที่ศาลเคยกำหนดไว้ว่า “ห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหา อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง”

    อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ผู้ร้อง ไม่มาศาลตามนัด ศาลจึงยกคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัวดังกล่าว
  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากตะวัน จำเลยที่ 1 และฐากูร จำเลยที่ 5 ติดสอบรวมทั้งต้องเตรียมตัวสอบไปจนถึงปลายเดือน ต.ค. ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 16 พ.ย. 2566 ตามที่นัดไว้เดิม และให้ยกเลิกนัดในวันที่ 25-27 ต.ค. 2566
  • สืบพยานโจทก์ได้ 3 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.นพดล สินสิริ สน.ปทุมวัน ผู้กล่าวหา, ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ ผู้กล่าวหาที่ 2 และ พ.ต.ต.ชูชีพ วงษ์บุญเพ็ง บก.น.6
  • สืบพยานโจทก์ได้อีก 3 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.นัฐกฤชพงษ์ ทรัพย์สิน, พ.ต.อ.นริศ และ ร.ต.อ.นิยม รัศคีรี ตำรวจจราจร
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องขอถอนประกันตะวัน จำเลยที่ 1 และบุ้ง จำเลยที่ 3 อีก หลังพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งโดยอ้างเหตุเดิม

    ตะวันและบุ้งเดินทางมาฟังการพิจารณาคดี พร้อมกับเพื่อนนักกิจกรรมที่มาร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง

    เวลา 09.40 น. ร้อยตำรวจโทสราวุฒิ จันทร์เขียว พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ผู้ร้อง เข้าเบิกความถึงข้อเท็จจริงตามคำร้อง โดยระบุว่า ในคดีนี้ หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนดให้ปฏิบัติ โดย สน.ปทุมวัน ได้รับรายงานการสืบสวนจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ซึ่งพบว่า เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2566 จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมบริเวณหน้ากระทรวงวัฒนธรรม เรียกร้องให้มีการถอดถอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพ่นสีสเปรย์ จุดพลุ และพลุควัน ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ซึ่งผิดข้อกำหนดการปล่อยชั่วคราวของศาล

    และได้รับรายงานการสืบสวนเพิ่มเติมจาก สน.ห้วยขวาง พบว่า จำเลยที่ 3 ได้นำสีสเปรย์มาพ่นใส่ธงประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินี ทั้งยังให้สัมภาษณ์ความว่า “ไม่กลัวที่จะถูกดำเนินคดี 112 เพราะเคยถูกดำเนินคดีมาแล้ว”

    ร.ต.ท.สราวุฒิ ระบุว่า การกระทำในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยสำนึกในโอกาสที่ตนได้รับ และฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลกำหนด จึงเป็นสาเหตุให้พยานยื่นคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัวจำเลย

    ในการตอบทนายจำเลยถามค้าน ร.ต.ท.สราวุฒิ รับว่า เกี่ยวกับคดีนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้รับการปล่อยตัว โดยปัจจุบันอยู่ในการพิจารณาของศาล ซึ่งมีโจทก์คือ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 พยานไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือหน้าที่ใด ๆ แล้ว เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้มายื่นคำร้องขอถอนประกันจำเลยเท่านั้น

    ในนัดไต่สวนครั้งแรก ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง พยานจึงได้ยื่นคำร้องอีกครั้ง โดยได้รับคำสั่งจากรองผู้กำกับ (สอบสวน) สน.ปทุมวัน แต่รองผู้กำกับจะได้รับคำสั่งมาจากใครอีกนั้น พยานไม่ทราบ

    พยานไม่เคยตรวจสำนวนในคดีนี้มาก่อน แต่ทราบข้อมูลการปล่อยตัวชั่วคราวจากผู้บังคับบัญชาซึ่งได้จัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวไว้แล้ว ก่อนให้พยานทำคำร้องมายื่น

    พยานไม่ทราบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามในการยื่นถอนประกันมาแล้วหลายครั้ง และศาลก็ให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้ถอนประกัน เนื่องจากไม่ได้ผิดเงื่อนไขการประกันตัว ในการมายื่นขอถอนประกันจำเลยทั้งสองครั้งนี้ พยานก็ไม่ได้แจ้งพนักงานอัยการก่อน

    ที่พยานเบิกความว่า จำเลยที่ 3 พ่นสีสเปรย์ลงบนธงประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินี พยานไม่ทราบข้อเท็จจริงว่ามีใครร่วมกระทำบ้าง และจะมีการสั่งฟ้องหรือไม่

    พยานได้รับมอบหมายให้นำคำร้องมายื่น แต่ในวันเกิดเหตุตามคำร้อง พยานไม่ได้ลงพื้นที่ และไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมถึงไม่ทราบว่า มีการฟ้องคดีใครไปแล้วหรือไม่

    การที่จำเลยที่ 3 ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ไม่กลัวที่จะถูกดำเนินคดี 112 นั้น จะเป็นการตอบคำถามในเชิงท้าทายให้มาดำเนินคดีหรือไม่ พยานไม่ทราบ

    พยานไม่ทราบว่า เงื่อนไขการประกันตัวของจำเลยทั้งสองจะมีอะไรบ้าง และไม่ทราบว่า การชุมนุมที่หน้ากระทรวงวัฒนธรรมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

    ร้อยตำรวจเอกเทวฤทธิ์ (ไม่ทราบนามสกุล) ผู้จัดทำรายงานการสืบสวน สน.ห้วยขวาง เบิกความในฐานะพยานผู้ร้องว่า พยานได้รับรายงานจากทางการข่าวว่า กลุ่มทะลุวังจะมีการจัดการชุมนุมที่หน้ากระทรวงวัฒนธรรมในวันที่ 6 ส.ค. 2566 เพื่อเรียกร้องให้ถอดถอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ

    หลังทราบข่าว ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้หน่วยของพยานเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุม บันทึกภาพ และกลับมาทำรายงานการสืบสวน โดยไม่ต้องเข้าจับกุมหรือใช้ความรุนแรง

    ในวันเกิดเหตุพยานได้ลงพื้นที่และพบว่า กลุ่มทะลุวังเดินทางมาในเวลาประมาณ 16.00 น. มีการจัดกิจกรรมจนถึงเวลา 18.00 น.

    ในการตอบทนายจำเลยถามค้าน ร.ต.อ.เทวฤทธิ์ กล่าวว่า ตนอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมในวันที่ 6 ส.ค. 2566 และเห็นจำเลยทั้งสอง กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดมีประมาณ 30 กว่าคน แต่พยานทำการพิสูจน์ได้เพียง 18 คน และยังไม่มีการฟ้องคดีกับคนที่ไปร่วมชุมนุมแต่อย่างใด

    ทนายถามพยานว่า ตามรายงานการสืบสวน ไม่ได้มีการตั้งข้อหาเกี่ยวกับธงประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินีใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่ทราบ เนื่องจากเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวน

    ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ จำเลยที่ 1 เบิกความระบุว่า ในวันที่ 6 ส.ค. 2566 มีการนัดหมายให้ไปชุมนุมที่หน้ากระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเรียกร้องให้มีการถอนถอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ เนื่องจากไม่เคารพเสียงข้างมากของประชาชน จากกรณีไม่ยกมือโหวตให้แคนดิเดตนายกฯ ที่ประชาชนเลือกมา ตนจึงได้ไปร่วมชุมนุมด้วย โดยในวันนั้นมีการทำกิจกรรมประมาณ 1 ชม. จากนั้นก็ได้แยกย้ายกันกลับ ไม่มีการก่อเหตุความวุ่นวายใด ๆ

    จากการชุมนุมดังกล่าว พยานถูกพนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง แจ้งข้อหา ขีดเขียน พ่นสี ลงบนทางสาธารณะ แต่พยานไม่ได้ทำ และไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำ โดยคดีนี้ยังไม่มีการสั่งฟ้องแต่อย่างใด

    ศาลอาญากรุงเทพใต้ไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขประกันว่า ห้ามพยานไปชุมนุมทางการเมือง

    เนติพร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 3 เบิกความระบุว่า เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้คือ 1.ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร 2.ห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับที่ถูกกล่าวหาอีก 3.ห้ามขัดขวางกระบวนการพิจารณาของศาล ไม่ได้มีการห้ามไปใช้สิทธิในการชุมนุมซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

    วันที่ 6 ส.ค. 2566 พยานได้ไปชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการถอนถอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา ออกจากการเป็นศิลปินแห่งชาติ เนื่องจากไม่เคารพเสียงข้างมากของประชาชน จากกรณีไม่ยกมือโหวตให้แคนดิเดตนายกฯ ที่ประชาชนเลือกมา ในวันดังกล่าวมีผู้ชุมนุมประมาณ 30-40 คน

    ในวันดังกล่าว พยานไม่ได้ขีดเขียน หรือพ่นสีใด ๆ ภายหลังการชุมนุม พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาพยานว่า กระทำการขีดเขียน พ่นสี ทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย ซึ่งไม่มีข้อหาเกี่ยวกับมาตรา 112 และธงประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินี โดยคดีดังกล่าวยังไม่ได้มีการสั่งฟ้องหรือพิพากษาแต่อย่างใด

    ที่ผู้ร้องเบิกความว่า พยานให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า ไม่กลัวที่จะโดนคดี 112 นั้น ข้อเท็จจริงคือ นักข่าวได้ถามว่า กลัวหรือไม่ที่จะโดนคดี พยานจึงตอบไปว่า “ไม่กลัว เพราะโดน ม.112 มาแล้ว คงไม่มีอะไรที่หนักไปกว่านี้แล้ว”

    เนติพรยืนยันว่า ตนไปชุมนุมตามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ตนยังไม่ได้ทำผิดตามเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวที่ศาลกำหนดด้วย
    .
    หลังไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 25 ธ.ค. 2566 เวลา 09.00 น.

    อนึ่ง ภายหลังจากการไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้องรวม 2 ปากเสร็จสิ้น ทนายจำเลยแถลงว่า ขอนำพยานในฝ่ายของจำเลยเข้าไต่สวนด้วย โดยขอเวลาเตรียมพยานสักครู่ ระหว่างที่ทนายกำลังเตรียมพยานอยู่หน้าห้องพิจารณาที่ 505 นั้น ได้มีบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพทนายความและจำเลยทั้งสอง และหลบหนีไป ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจศาลสามารถควบคุมตัวไว้ได้ ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลกับบุคคลดังกล่าว

    ศาลสอบบุคคลดังกล่าวแล้วได้ความว่าชื่อจ่าสิบตำรวจอรรถพล ตุ้มทอง ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสันติบาล ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้มาติดตามดูคดีนี้ว่ามีเหตุวุ่นวายใด ๆ หรือไม่ จ.ส.ต.อรรถพล แถลงยอมรับว่าได้ถ่ายภาพทนายจำเลยไว้จริง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากเพิ่งย้ายมารับราชการในกรุงเทพฯ และได้ลบภาพดังกล่าวออกไปหมดแล้ว

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จ.ส.ต.อรรถพล ได้ถ่ายภาพทนายจำเลยบริเวณหน้าห้องพิจารณา 505 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จนเป็นเหตุให้ทนายจำเลยไม่แน่ใจในความปลอดภัย และไม่ทราบว่าจะนำภาพดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), มาตรา 33 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงมีคำสั่งให้ลงโทษไล่ออกจากบริเวณศาล และว่ากล่าวตักเตือน จ.ส.ต.อรรถพล ว่าอย่ากระทำเช่นนี้อีก

    (อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ.765/2565 ลงวันที่ 21 พ.ย. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/61753)



  • ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เนื่องจากตะวัน จำเลยที่ 1 ติดเชื้อในลำไส้จึงต้องทำการแอดมิทที่โรงพยาบาล ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 29 พ.ย. 2566 ตามที่นัดไว้เดิม
  • เนื่องจากจำเลยที่ 1 อาการยังไม่ดีขึ้นจึงต้องพักรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาล ทนายจำเลยจึงขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ออกไปก่อน ศาลอนุญาตและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 ก.พ., 18 มี.ค., 20 และ 27 พ.ค. 2567

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกรณ์ (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฐากูร (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แบม (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เนติพร (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ใบปอ (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรัณยา แซ่ง้อ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรเวช (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ณัฐกรณ์ (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฐากูร (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แบม (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เนติพร (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ใบปอ (นามสมมติ)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรัณยา แซ่ง้อ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
วรเวช (สงวนนามสกุล)

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์