ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • ต่อสู้/ ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (มาตรา 140)
  • ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน (มาตรา 368)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นพดล สินศิริ สว.สส.สน.ปทุมวัน กับพวก

ความสำคัญของคดี

"ไอซ์" เยาวชนอายุ 14 ปี ถูกดำเนินคดีพร้อมกับนักกิจกรรมอีก 8 คน ในข้อหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ", "ยุยงปลุกปั่น", "ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานฯ" และ "ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน" จากการทำกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 ชั้นสอบสวนตำรวจขอให้ศาลเยาวชนฯ ออกหมายควบคุมตัวไอซ์แม้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ทำให้ต้องประกันตัว โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 20,000 บาท

กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการบังคับใช้มาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปิดกั้นการแสดงออกโดยสงบของประชาชนที่เป็นไปในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ นอกจากนี้การดำเนินคดีกับเยาวชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเด็กตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาระบุพฤติการณ์คดีว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 19.46 น. กลุ่ม “ทะลุวัง – ThaluWang” ลงข้อความผ่านเฟซบุ๊กเชิญชวนประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมกิจกรรม “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?” ในวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งมีผู้เข้ามาดูข้อความดังกล่าว ทั้งมีการแสดงความคิดเห็น และมีการแชร์ข้อความดังกล่าวจํานวนมาก

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ทานตะวันและใบปอได้ร่วมกันชูป้ายข้อความ ซึ่งมีหัวข้อว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่” และยังมีการขีดเส้นแบ่งออกเป็นสองช่อง และมีคําว่า “เดือดร้อน” ปรากฏอยู่บนป้ายทางด้านซ้ายมือ ส่วนคําว่า “ไม่เดือดร้อน” อยู่บนป้ายทางด้านขวามือ และพูดเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น ด้วยการนําแผ่นสติ๊กเกอร์สีเขียวที่ทั้งสองคนเตรียมไว้ไปติดในช่องของข้อความดังกล่าวข้างต้น โดยมีผู้ต้องหาอีกรายทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายวีดีโอไลฟ์สดเหตุการณ์ ในขณะนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าสยามพารากอน ได้เข้ามาชี้แจงห้ามมิให้ ทั้งคู่ทํากิจกรรมแต่ปรากฏว่าทั้งหมดไม่ยอมหยุด

จากนั้น ได้มีผู้ต้องหาคนอื่นๆ รวมทั้งไอซ์ทยอยมาเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และมีการเดินทางยังจุดต่างๆ รวมทั้งพยายามเดินไปทำกิจกรรมที่บริเวณด้านหน้าวังสระปทุม เจ้าหน้าที่อ้างว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้ผลักดันแนวกั้นของตำรวจ โดยมี พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผู้กำกับ สน.ปทุมวัน ได้ประกาศให้ผู้ต้องหาและพวกออกไปจากบริเวณ แต่ผู้ต้องหายังฝ่าฝืนจัดกิจกรรมต่อไป โดยผู้เข้าร่วมบางคนได้ด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนมีการแยกย้ายและออกจากบริเวณดังกล่าวไป ผู้กล่าวหาจึงได้มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 10 มี.ค. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน.ปทุมวัน “ไอซ์” เยาวชนวัยย่าง 15 ปี เดินทางพร้อมที่ปรึกษากฎหมาย เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกพร้อมนักกิจกรรมรุ่นใหม่ 5 ราย ประกอบด้วย “แบม”, “ใบปอ” ทะลุวัง, เนติพร (สงวนนามสกุล), ฐากูร (สงวนนามสกุล), ‘บีม’ ณัฐกรณ์ (สงวนนามสกุล) จากเหตุทำกิจกรรมทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จที่บริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 คดีเดียวกับทานตะวัน

    บรรยากาศบริเวณ สน.ปทุมวัน มีมวลชนเดินทางมาให้กำลังใจจำนวนหนึ่ง และมีการเล่นดนตรีอยู่บนทางเท้าตรงข้าม สน. ทั้งนี้ด้านหน้าและด้านใน สน.ปทุมวัน มีการวางแผงเหล็กจำกัดการเข้าถึงสถานี โดยเปิดทางเข้าแค่ทางเดียว มีการตั้งโต๊ะจุดคัดกรอง และจดรายชื่อทุกคนที่เดินทางเข้า สน.

    เวลา 10.30 น. ร.ต.ท.ปาณัสม์ กลิ่นขจร รองสารวัตร (สอบสวน) สน.ปทุมวัน แจ้งพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2565 เวลา 19.46 น. กลุ่ม “ทะลุวัง – ThaluWang” ลงข้อความผ่านเฟซบุ๊กเชิญชวนประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมกิจกรรม “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?” ในวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งมีผู้เข้ามาดูข้อความดังกล่าว ทั้งมีการแสดงความคิดเห็น และมีการแชร์ข้อความดังกล่าวจํานวนมาก

    ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 17.00 น. ทานตะวันและใบปอได้ร่วมกันชูป้ายข้อความ ซึ่งมีหัวข้อว่า “คุณคิดว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่” และยังมีการขีดเส้นแบ่งออกเป็นสองช่อง และมีคําว่า “เดือดร้อน” ปรากฏอยู่บนป้ายทางด้านซ้ายมือ ส่วนคําว่า “ไม่เดือดร้อน” อยู่บนป้ายทางด้านขวามือ และพูดเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น ด้วยการนําแผ่นสติ๊กเกอร์สีเขียวที่ทั้งสองคนเตรียมไว้ไปติดในช่องของข้อความดังกล่าวข้างต้น โดยมีผู้ต้องหาอีกรายทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายวีดีโอไลฟ์สดเหตุการณ์ ในขณะนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าสยามพารากอน ได้เข้ามาชี้แจงห้ามมิให้ ทั้งคู่ทํากิจกรรมแต่ปรากฏว่าทั้งหมดไม่ยอมหยุด

    จากนั้น ได้มีผู้ต้องหาคนอื่นๆ รวมทั้งไอซ์ทยอยมาเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเติม และมีการเดินทางยังจุดต่างๆ รวมทั้งพยายามเดินไปทำกิจกรรมที่บริเวณด้านหน้าวังสระปทุม เจ้าหน้าที่อ้างว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้ผลักดันแนวกั้นของตำรวจ โดยมี พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผู้กำกับ สน.ปทุมวัน ได้ประกาศให้ผู้ต้องหาและพวกออกไปจากบริเวณ แต่ผู้ต้องหายังฝ่าฝืนจัดกิจกรรมต่อไป โดยผู้เข้าร่วมบางคนได้ด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนมีการแยกย้ายและออกจากบริเวณดังกล่าวไป ผู้กล่าวหาจึงได้มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

    พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาไอซ์เช่นเดียวกับนักกิจกรรมคนอื่น คือ “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ”, “ยุยงปลุกปั่นฯ”, "ร่วมกันขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกระทําความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป" และ "ร่วมกันขัดคำสั่งเจ้าพนักงานฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116, 140 และ 368

    ทั้งนี้พฤติการณ์ข้อกล่าวหา ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าส่วนใดของกิจกรรมดังกล่าวที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามข้อหามาตรา 112 และมาตรา 116

    ภายหลังการแจ้งข้อกล่าวหาและลงบันทึกประจำวัน พนักงานสอบสวนได้แจ้งว่าจะนำไอซ์ไปศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัว

    เวลา 15.30 น. หลังศาลเยาวชนฯ มีคำสั่งให้ออกหมายควบคุมตัว ได้อนุญาตให้ประกันไอซ์ในวงเงินประกัน 20,000 บาท โดยไม่กำหนดเงื่อนไขอื่น ครอบครัวได้ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์วางเป็นหลักประกัน ศาลนัดไอซ์ไปพบพนักงานคุมประพฤติที่สถานพินิจในวันที่ 17 มี.ค. 2565 และนัดมารายงานตัวที่งานรับฟ้องของศาลในวันที่ 2 พ.ค. 2565

    (อ้างอิง: บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา สน.ปทุมวัน ลงวันที่ 10 มี.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/41224)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
“ไอซ์” (นามสมมติ)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์