ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นาถนริศ รัตนบุรี รอง ผกก.สส.สน.บางซื่อ (ตำรวจ)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • พ.ต.ท.นาถนริศ รัตนบุรี รอง ผกก.สส.สน.บางซื่อ

ความสำคัญของคดี

“พลอย” เบญจมาภรณ์ นักกิจกรรมเยาวชนวัย 17 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม “ทะลุวัง” ทำโพลสำรวจความคิดเห็นที่ตั้งคำถามว่า “คุณเห็นด้วยหรือไม่ ที่รัฐบาลอนุญาตให้กษัตริย์ใช้อํานาจได้ตามอัธยาศัย” เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2565 บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิตจนถึงสนามเป้า โดยมี ใบปอ, “บุ้ง” เนติพร (สงวนนามสกุล) และ “เมนู” สุพิชฌาย์ ชัยลอม ถูกดำเนินคดีจากเหตุเดียวกัน แต่แยกดำเนินคดีในศาลอาญา

พลอยถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่สองแล้ว หลังจากถูกจับกุมดำเนินคดีในกรณีแชร์โพสต์จากเพจทะลุวัง เรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ ในคดีของ บก.ปอท. เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับถูกตีความอย่างกว้าง จนกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชนเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการดำเนินคดีกับเยาวชนเป็นการละเมิดสิทธิเด็กตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้ต่อประชาคมโลก

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 พ.ต.ท.นาถนริศ รัตนบุรี ผู้กล่าวหาในคดีนี้ พร้อมพวก ซึ่งเป็นตำรวจฝ่ายสืบสวนของ สน.บางซื่อ ตรวจพบการโพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กของ “กลุ่มทะลุวัง” โดยมีการนัดหมายทำกิจกรรมที่ BTS หมอชิต ในวันที่ 18 เม.ย. 2565 เวลา 16.00 น.

ต่อมาในวันที่นัดหมาย พบผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้ร่วมกิจกรรมทำโพลสำรวจความคิดเห็นโดยมีการแจกสติ๊กเกอร์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนำมาติดแสดงความคิดเห็นบนแผ่นกระดาษ ซึ่งมีข้อความว่า “คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลอนุญาตให้กษัตริย์ใช้อำนาจได้ตามอัธยาศัย” โดยมีเบญจมาภรณ์ร่วมคอยพูดเชิญชวนและช่วยแจกสติ๊กเกอร์ จากนั้นจึงมีการเดินทางไปทำกิจกรรมยังทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า BTS ห้าแยกลาดพร้าว, รถไฟฟ้า BTS สนามเป้า และบริเวณหน้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

ข้อกล่าวหายังระบุว่าเบญจมาภรณ์ได้เป็นผู้พูดสรุปผลโพลดังกล่าว โดยกล่าวไปถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่คณะรัฐประหารเขียนขึ้นเพิ่มอำนาจให้อนุญาตให้กษัตริย์ใช้อำนาจได้ตามอัธยาศัย ซึ่งผู้กล่าวหาอ้างว่ามีลักษณะเป็นการใส่ความ ให้ร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการทําโพลที่ไม่ตรงกับความจริง อันเป็นการไม่สมควร เป็นการล่วงอํานาจ อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

(อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.บางซื่อ ลงวันที่ 10 พ.ค. 2565)

ความคืบหน้าของคดี

  • ที่ สน.บางซื่อ “พลอย” เบญจมาภรณ์ นักกิจกรรมเยาวชนวัย 17 ปี พร้อมผู้ปกครอง และที่ปรึกษากฎหมาย ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีร่วมกิจกรรมทำโพลสำรวจ “คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลอนุญาตให้กษัตริย์ใช้อำนาจได้ตามอัธยาศัย” ไปยังจุดต่างๆ 4 จุดในกรุงเทพฯ ของกลุ่มทะลุวัง เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2565

    สำหรับกรณีการทำโพลครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เคยนำหมายจับเข้าจับกุม ใบปอ, เนติพร และ “เมนู” สุพิชฌาย์ สามนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง ไปดำเนินคดีที่ สน.บางซื่อ แล้วเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2565 โดยมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้ไปขอออกหมายจับ “พลอย” เช่นกัน แต่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางไม่อนุมัติ ทำให้ตำรวจมีการออกหมายเรียกติดตามมา

    พ.ต.ท.สุภัทร เหมจินดา พนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ ได้เป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาต่อพลอย โดยสรุประบุว่า เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 พ.ต.ท.นาถนริศ รัตนบุรี ผู้กล่าวหาในคดีนี้ พร้อมพวก ซึ่งเป็นตำรวจฝ่ายสืบสวนของ สน.บางซื่อ ตรวจพบการโพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กของ “กลุ่มทะลุวัง” โดยมีการนัดหมายทำกิจกรรมที่ BTS หมอชิต ในวันที่ 18 เม.ย. 2565 เวลา 16.00 น.

    ต่อมาในวันที่นัดหมาย พบผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้ร่วมกิจกรรมทำโพลสำรวจความคิดเห็นโดยมีการแจกสติ๊กเกอร์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนำมาติดแสดงความคิดเห็นบนแผ่นกระดาษ ซึ่งมีข้อความว่า “คุณเห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลอนุญาตให้กษัตริย์ใช้อำนาจได้ตามอัธยาศัย” โดยมีเบญจมาภรณ์ร่วมคอยพูดเชิญชวนและช่วยแจกสติ๊กเกอร์ จากนั้นจึงมีการเดินทางไปทำกิจกรรมยังทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้า BTS ห้าแยกลาดพร้าว, รถไฟฟ้า BTS สนามเป้า และบริเวณหน้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

    ข้อกล่าวหายังระบุว่าเบญจมาภรณ์ได้เป็นผู้พูดสรุปผลโพลดังกล่าว โดยกล่าวไปถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่คณะรัฐประหารเขียนขึ้นเพิ่มอำนาจให้อนุญาตให้กษัตริย์ใช้อำนาจได้ตามอัธยาศัย ซึ่งผู้กล่าวหาอ้างว่ามีลักษณะเป็นการใส่ความ ให้ร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นการทําโพลที่ไม่ตรงกับความจริง อันเป็นการไม่สมควร เป็นการล่วงอํานาจ อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

    พลอยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และจะให้การเพิ่มเติมเป็นหนังสือภายใน 30 วัน

    หลังการแจ้งข้อหา พนักงานสอบสวนได้พาตัวพลอย ไปขอออกหมายขังที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลได้อนุญาตให้ออกหมายขัง แต่ให้ประกันตัวโดยให้วางหลักทรัพย์เป็นเงิน 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยนัดให้มารายงานตัวในวันที่ 27 มิ.ย. 2565

    ทั้งนี้ พลอยถูกดำเนินคดีมาตรา 112 คดีนี้เป็นคดีที่สองแล้ว หลังจากถูกจับกุมดำเนินคดีเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ในคดีของ บก.ปอท. กรณีแชร์โพสต์จากเพจทะลุวัง เรื่องงบประมาณสถาบันกษัตริย์ เท่าที่ทราบข้อมูล พลอยนับเป็นเยาวชนรายที่ 16 แล้วที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2565 พลอยเพิ่งแสดงออกโดยการโกนหัวประท้วงที่หน้าเรือนจำ หลังใบปอ และเนติพร ได้ถูกศาลถอนประกันตัว

    (อ้างอิง: บันทึกแจ้งข้อกล่าวหา สน.บางซื่อ ลงวันที่ 10 พ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/43591)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบญจมาภรณ์ (สงวนนามสกุล)

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์