ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1691/2565
ผู้กล่าวหา
- ปิยกุล วงษ์สิงห์ (ประชาชน)
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.1691/2565
ผู้กล่าวหา
- ปิยกุล วงษ์สิงห์ (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1691/2565
ผู้กล่าวหา
- ปิยกุล วงษ์สิงห์
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ อ.1691/2565
ผู้กล่าวหา
- ปิยกุล วงษ์สิงห์
ความสำคัญของคดี
"ใบปอ" และ "เมนู" สุพิชฌาย์ ชัยลอม สมาชิกกลุ่ม “ทะลุวัง” ถูกตำรวจทางหลวงสกัดบริเวณเขาย้อย จ.เพชรบุรี และจับกุมตามหมายจับ ขณะกำลังเดินทางพร้อมกลุ่มเพื่อนเพื่อไปพักผ่อน หลังปิยกุล วงษ์สิงห์ ประชาชนทั่วไป เข้าแจ้งความที่กองกำกับการ 2 บก.ปอท.ให้ดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(5) กล่าวหาว่า แชร์โพสต์ “งบสถาบันกษัตริย์” จากเพจ “ทะลุวัง” เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2565 โดยมีเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาสถาบันกษัตริย์ ปิยกุลยังกล่าวหา "พลอย" เบญจมาภรณ์ เยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปี ด้วยอีกคน ซึ่งถูกจับกุมพร้อมเมนูและใบปอ ก่อนถูกแยกดำเนินคดีในศาลเยาวชน
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ขยายครอบคลุมไปถึง "สถาบันกษัตริย์์" ทั้งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปิดปากฝ่ายเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ขยายครอบคลุมไปถึง "สถาบันกษัตริย์์" ทั้งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปิดปากฝ่ายเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งกระทบต่อเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
ธีรารัตน์ บุตรโพธิ์ พนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 บรรยายคำฟ้องมีใจความโดยสรุปว่า
ขณะเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” ต่อมาจําเลยทั้งสองได้กระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 30 และ 31 มี.ค. 2565 จำเลยทั้งสองได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยการแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก “ทะลุวัง ThaluWang” ซึ่งมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้อความวิจารณ์งบประมาณสถาบันกษัตริย์ในปี 2565 พร้อมทั้งนัดหมายทำโพลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวม 2 โพสต์ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของทั้งสองที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงใช้พระราชอํานาจโดยการเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้ แล้วเนรคุณต่อผู้เสียภาษี ทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เป็นการบิดเบือนข้อมูล กล่าวร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาอาฆาตมาดร้าย และทําลายสถาบันกษัตริย์ ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ โดยจําเลยทัังสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565)
ขณะเกิดเหตุ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” ต่อมาจําเลยทั้งสองได้กระทําความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 30 และ 31 มี.ค. 2565 จำเลยทั้งสองได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยการเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยการแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก “ทะลุวัง ThaluWang” ซึ่งมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้อความวิจารณ์งบประมาณสถาบันกษัตริย์ในปี 2565 พร้อมทั้งนัดหมายทำโพลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวม 2 โพสต์ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของทั้งสองที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงใช้พระราชอํานาจโดยการเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้ แล้วเนรคุณต่อผู้เสียภาษี ทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เป็นการบิดเบือนข้อมูล กล่าวร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาอาฆาตมาดร้าย และทําลายสถาบันกษัตริย์ ทําให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ โดยจําเลยทัังสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 22-04-2022นัด: จับตามหมายจับประมาณ 07.00 น. ‘ใบปอ’ (นามสมมติ), ‘เมนู’ สุพิชฌาย์ ชัยลอม และ ‘พลอย’ เบญจมาภรณ์ เยาวชนอายุไม่ถึง 18 ปี สมาชิกกลุ่ม “ทะลุวัง” ว่า ตนเอง ถูกตำรวจทางหลวงสกัดด้วยรถยนต์จำนวน 4 คัน บริเวณเขาย้อย จ.เพชรบุรี ขณะกำลังเดินทางพร้อมกลุ่มเพื่อนเพื่อไปพักผ่อน โดยขอดูบัตรประจำตัวประชาชน อ้างว่าเพื่อตรวจสอบว่าในรถมีบุคคลตามหมายจับหรือไม่ แต่ไม่ได้แสดงหมายจับดังกล่าว หลังนักกิจกรรมพยายามขอดูหมายจับ ตำรวจชุดดังกล่าวจึงแจ้งด้วยวาจาว่า มีหมายจับของใบปอ, เมนู และพลอย ทั้ง 3 คนจึงขอนั่งรถคันเดิมตามตำรวจไปเอง โดยชุดจับกุมนำไปยังหน่วยบริการตำรวจทางหลวง อ. ชะอำ เพื่อทำบันทึกจับกุม
ต่อมา จึงทราบว่าเป็นการจับกุมตามหมายจับศาลอาญาและศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ลงวันที่ 20 เม.ย. 2565 ในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(5) โดยมีกองกำกับการ 2 บก.ปอท. เป็นผู้ขอออกหมาย ในส่วนของหมายจับศาลอาญาของเมนูและใบปอ ออกโดยผู้พิพากษาณัฐนนท์ ดุจดำเกิง
เวลา 10.30 น. ขณะทั้งหมดยังอยู่ที่หน่วยบริการตำรวจทางหลวง ตำรวจได้พยายามขอตรวจค้นอุปกรณ์มือถือและค้นรถ โดยมีการแสดงคำสั่งอนุญาตให้เข้าถึงโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเลคโทรนิคของใบปอ, เมนู และพลอย ซึ่งออกโดยศาลอาญา เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2565 โดยมีผู้ร้องคือ ว่าที่พันตำรวจเอกชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ได้มีการเจรจาพูดคุยว่าหากต้องการตรวจสอบ ขอให้เดินทางไปถึง บก.ปอท.และได้เจอกับทนายความก่อน ตำรวจจึงยังไม่ได้ตรวจค้นในเวลาดังกล่าว
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทนายความยังได้รับแจ้งจากเนติพร (สงวนนามสกุล) สมาชิกกลุ่มทะลุวังที่เดินทางไปด้วยกันว่า คอนโดที่เธอเช่าอยู่ถูกตำรวจนำหมายค้นออกโดยศาลอาญา เลขที่ 280/2565 ลงวันที่ 21 เม.ย. 2565 เข้าตรวจค้นในขณะที่พวกตนไม่ได้อยู่ที่ห้องพัก
เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นการตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่ บก.ปอท. ซึ่งมีนิติบุคคลของคอนโดอนุญาตให้ตำรวจเข้าตรวจค้น หลังตรวจค้นได้ยึดสิ่งของไป 7 รายการ ประกอบด้วย 1.คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 1 เครื่อง 2.โทรศัพท์มือถือ iphone 1 เครื่อง 3.เสื้อยืดคอกลมสกรีนข้อความ ‘พี่รู้พี่มันเลว’ 44 ตัว 4.เสื้อยืดคอกลมสกรีนข้อความ ‘เล็กยิงพี่ทำไม’ 47 ตัว 5.เสื้อยืดคอกลม สกรีนโลโก้ ‘เพจทะลุ’ วัง 1 ตัว 6.สติกเกอร์ 64 แผ่น 7.กระดาษแสดงความคิดเห็นจำนวน 4 แผ่น
เมื่อเนติพรได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่นิติบุคคล เจ้าหน้าที่ได้ระบุว่า มีการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นจริงและมีแนวโน้มที่จะยกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากเธอและเพื่อนอาจเป็นผู้กระทำความผิดอาญา
ในระหว่างที่ทั้งหมดถูกควบคุมตัวไว้เพื่อทำบันทึกจับกุมที่ป้อมตำรวจหน่วยบริการทางหลวง อ.ชะอำ โดยไม่มีทนายความร่วมอยู่ในกระบวนการดังกล่าวด้วย ทั้ง 3 ได้เจรจาขอขับรถไปยัง บก.ปอท. ด้วยตนเอง โดยมีตำรวจขับรถตามไป แต่ตำรวจไม่ยินยอม ท้ายที่สุดใบปอ, เมนู และพลอย จึงต้องขึ้นรถตู้ที่ตำรวจจัดเตรียมไว้ โดยมีตำรวจ 5 นาย นั่งรถไปด้วย เป็นชาย 2 หญิง 3 โดยออกเดินทางในเวลาประมาณ 12.30 น.
ช่วงเวลาประมาณ 13.30 น. บริเวณหน้า บก.ปอท. มีการใช้แบริเออร์ปิดทางเข้า โดยให้เข้า-ออกทางเดียว พร้อมมีเจ้าหน้าที่ตรึงกำลังอยู่หน้าทางเข้า-ออก จำนวนประมาณ 10 คน โดยมีประชาชนทยอยเดินทางมาติดตามการจับกุมตัว ใบปอ เมนู และพลอย มายัง บก.ปทอ. ซึ่งย้ายอยู่ภายในบริเวณเดียวกับกองบังคับการตำรวจปราบปราม
กระทั่งเวลา 15.16 น. ใบปอ เมนู และพลอย ถูกนำตัวมาถึง บก.ปอท. โดยได้พบกับทนายความเป็นครั้งแรก พนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปอท. ร.ต.อ.รัชฎ์วิทย์ สิทธิโชค ได้แจ้งข้อกล่าวหาใบปอและเมนูว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์, เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(5)
หลังสอบปากคำ พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังเมนูและใบปอต่อศาลอาญาผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ ระบุรายละเอียดพฤติการณ์คดีในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ว่า
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 ปิยกุล วงษ์สิงห์ ผู้กล่าวหา ได้มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ใช้เฟซบุ๊ก ผู้ดูแล หรือผู้บริหารเพจ “ทะลุวัง ThaluWang” ที่มีการโพสต์ข้อความในความผิดฐาน “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”
โดยผู้กล่าวหาให้การว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2565 เวลาประมาณ 20.30 น. ขณะที่ผู้กล่าวหาเข้าใช้เฟซบุ๊ก และเข้าไปดูที่เพจ “ทะลุวัง ThaluWang” พบว่า มีการโพสต์ข้อความว่า “งบสถาบันกษัตริย์ปี 2565 ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลเผด็จการอุ้มชูสถาบันกษัตริย์ไว้นั้น จากตัวเลขที่ถูกเปิดเผยเมื่อปีก่อน ว่างบสถาบันกษัตริย์มีประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท แต่ในความเป็นจริงงบสถาบันกษัตริย์ตลอดทั้งปีนี้มีจํานวนประมาณ 4 หมื่นกว่าล้านบาท โดยเบื้องต้นใช้จ่ายไปกับ..”
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2565 ผู้กล่าวหาได้มาให้การเพิ่มเติม เพื่อกล่าวหาผู้ใช้เฟซบุ๊กจํานวน 3 บัญชีที่แชร์โพสต์ข้างต้นเมื่อวันที่ 30 และ 31 มี.ค. 2565 ประกอบด้วย เฟซบุ๊กของใบปอ, พลอย และ เมนู โดยเห็นว่า เป็นการกล่าวหาพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระญาติ รวมทั้งในหลวงรัชกาลที่ 10 ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยมีเจตนาทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพนับถือ อย่างชัดแจ้ง โดยมิได้เกรงกลัวต่อความผิดอาญาแผ่นดินแต่อย่างใด
จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า ใบปอ, เมนู และพลอย เป็นสมาชิกของ “กลุ่มทะลุวัง” ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะบุคคลที่มีแนวความคิดต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มคณะราษฎร ที่เรียกร้องให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยมีการทํากิจกรรมทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการเผยแพร่แนวคิดและกิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจชื่อ “ทะลุวัง-ThaluWang” มีวัตถุประสงค์ในการลดทอนความศรัทธาเชื่อถือของประชาชน ด้อยค่า สร้างความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยใบปอ เมนูและพลอย เป็นสมาชิกที่แสดงตนทํากิจกรรมต่อต้านสถาบันภาคพื้นดิน แล้วกลุ่มบุคคลที่ปกปิดตัวตนก็จะนําภาพถ่าย และคลิปวีดีโอ ที่มีการทํากิจกรรมไปเผยแพร่ทางออนไลน์ ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก
พฤติการณ์ของใบปอกับพวกจึงมีรูปแบบเป็นการกระทําความผิดในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทําโดยมี เจตนามุ่งหมายในวัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อเผยแพร่แนวคิดต่อต้าน ด้อยค่า บิดเบือน ลดทอนความน่าเชื่อถือศรัทธาของประชาชน สร้างความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์
เวลา 17.10 น. ภายหลังศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขัง และนายประกันอาสาได้ยื่นประกันเมนูและใบปอ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวน ตีราคาหลักประกันคนละ 100,000 บาท ใช้เงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ ศาลยังกำหนดเงื่อนไข “ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ หรือห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือกระทำการหรือร่วมกิจกรรมใดๆ ในอันที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และรายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญา”
ทั้งนี้เจ้าหน้าได้ปิดชื่อผู้พิพากษาที่มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเมนูและใบปอในวันนี้
คดีนี้เป็นคดีตามมาตรา 112 คดีที่ 2 ของเมนูและใบปอ
(อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 22 เม.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/42843) -
วันที่: 12-07-2022นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 ยื่นฟ้องใบปอและเมนู ในฐานความผิด หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งเป็นฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(5)
คำฟ้องระบุพฤติการณ์คดีมีใจความโดยสรุปว่า การที่ใบปอและเมนูแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก “ทะลุวัง ThaluWang” ซึ่งมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้อความวิจารณ์งบประมาณสถาบันกษัตริย์ในปี 2565 พร้อมทั้งนัดหมายทำโพลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวม 2 โพสต์ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อวันที่ 30 และ 31 มี.ค. 2565 ทำให้บุคคลทั่วไปที่พบเห็นโพสต์ดังกล่าวเข้าใจว่ารัชกาลที่ 10 ทรงใช้พระราชอํานาจโดยการเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้ แล้วเนรคุณต่อผู้เสียภาษี ทําให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เป็นการบิดเบือนข้อมูล กล่าวร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาอาฆาตมาดร้าย และทําลายสถาบันกษัตริย์ โดยจําเลยทัังสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ท้ายคำฟ้อง พนักงานอัยการคัดค้านการปล่อยชั่วคราวจำเลยระหว่างพิจารณาคดี อ้างเหตุว่า คดีมีอัตราโทษสูง และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565) -
วันที่: 22-07-2022นัด: รายงานตัว, สอบคำให้การศาลนัดรายงานตัวตามสัญญาประกัน และสอบคำให้การในวันที่ 18 ก.ค. 2565 หลังอัยการยื่นฟ้องคดี แต่ในวันดังกล่าวเมนูไม่ได้เดินทางไปศาล เนื่องจากลืมวันนัด ส่วนใบปอถูกคุมขังอยู่ในคดีทำโพลขบวนเสด็จ ศาลอาญาจึงออกหมายจับเมนูในวันที่ 19 ก.ค. 2565 และยึดเงินประกันเป็นค่าปรับ
ในวันนี้เมนูซึ่งเดินทางไปศาลอาญาตามนัดในคดีทำโพลเรื่องการใช้อำนาจของกษัตริย์ และทราบว่าถูกออกหมายจับในคดีนี้ จึงเข้ามอบตัวกับศาล โดยนายประกันจากกองทุนราษฎรประสงค์ได้ยื่นคำร้องขอส่งตัวเมนูจำเลยที่ 2 และงดค่าปรับ ระบุว่า จําเลยที่ 2 ถูกดําเนินคดีหลายคดี และมีคดีความในศาลนี้ 2 คดี ซึ่งมีวันนัดรายงานตัวใกล้เคียงกัน จึงเกิดความสับสนและเข้าใจว่าได้มารายงานตัวในคดีนี้แล้ว ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบหนี พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวทั้งเมนูและใบปอในระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้หลักประกันเดิม
ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้งดค่าปรับ ระบุว่า จำเลยที่ 2 ผิดนัด 4 วัน เชื่อว่า ไม่ใช่การหลบหนี จากนั้นมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวเฉพาะเมนู ตีราคาประกัน 200,000 บาท และยังคงเงื่อนไขประกันเช่นเดิมคือ “ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ หรือห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือกระทำการหรือร่วมกิจกรรมใดๆ ในอันที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และรายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน"
นัดสอบคำให้การวันที่ 3 ส.ค. 2565
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 22 ก.ค. 2565) -
วันที่: 03-08-2022นัด: สอบคำให้การศาลอาญานัดสอบคำให้การในคดีนี้ หลังอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา ขณะใบปอถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 กรณีทำโพลขบวนเสด็จที่สยามพารากอน วันเดียวกันนี้ ศาลยังนัดถามคำให้การในคดีมาตรา 112 กรณีคดีทำโพลประเด็นรัฐบาลให้กษัตริย์ใช้อำนาจตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งมีใบปอ, เมนู และ “บุ้ง” เนติพร เป็นจำเลย
เวลาประมาณ 09.00 น. เมนูและ “โบ” พี่สาวของบุ้งในฐานะทนายความ พร้อมคณะทนายความเข้าสู่ห้องเวรชี้ บริเวณใต้ถุนศาลอาญา เพื่อดำเนินกระบวนการสอบคำให้การ ส่วนบุ้งและใบปอไม่ได้ถูกเบิกตัวมาศาล แต่จะสอบคำให้การผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลางแทน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทนายความได้เคยขอให้เบิกตัวทั้งสองคนมาขึ้นศาลในวันนี้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในเรือนจำเห็นว่าทั้งสองมีอาการเจ็บป่วย “จนไม่สามารถเดินทางมาศาลได้” จึงไม่ได้เบิกตัวมาศาลในวันนี้
เมื่อโบพบหน้าบุ้ง บุ้งบอกกับพี่สาวทันทีว่า “เจ็บบริเวณหัวใจ” และจับบริเวณหน้าอกอยู่ตลอดๆ สัญญาณวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไม่ค่อยดีนัก ทำให้เสียงขาดกระท่อนกระแท่นไม่ชัดเจน ยากต่อการสื่อสารพอสมควร
ต่อมาเมื่อศาลเริ่มอ่านคำฟ้องในคดีนี้ให้ใบปอและเมนูได้ฟัง ใบปอนั่งในลักษณะหลับตาคล้ายกึ่งหลับ หลังเอนพิงเก้าอี้ลงไปสุดตัวจนเกือบจะเป็นท่านอน มีอาการชัดเจนว่าไม่มีสติและอ่อนเพลีย
ด้านบุ้งจับบริเวณหน้าอกของตัวเองตลอด โดยเธอพูดย้ำอีกว่า “เจ็บบริเวณหัวใจ” คาดว่าน่าจะเป็นเพราะสาเหตุจาก ‘ภาวะโพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ’ จากการอดหารประท้วงสิทธิในประกันตัวนานกว่า 2 เดือน เนื่องจากโพแทสเซียมเกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. แพทย์ของโรงพยาบาลราชทัณฑ์เปิดเผยว่า “บุ้งมีภาวะโพแทสเซียมต่ำจนอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้เลย”
คณะทนายความเห็นอาการในขณะนั้นของทั้งสอง จึงได้แถลงต่อศาลว่าอาการของทั้งสองย่ำแย่จนไม่สามารถที่จะเข้าใจคำฟ้องได้เลย ผู้พิพากษาจึงหยุดอ่านคำฟ้องและถามใบปอว่า “ไหวไหม” ใบปอตอบว่า “ไม่ไหว” และฟังคำฟ้องไม่รู้เรื่องเลย
ต่อมาศาลจึงเห็นสมควรให้เลื่อนนัดสอบคำให้การทั้งสองคดีออกไปเป็นวันที่ 5 ก.ย. 2565 เวลา 09.00 น. เพราะเห็นว่าจำเลยไม่มีความพร้อม อันเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพและความเจ็บป่วย
สุดท้ายทนายความยังได้ร้องขอให้ศาลกำชับกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ว่าขอให้พาบุ้งและใบปอไปโรงพยาบาล เพื่อรักษาตัวจากการเผชิญอาการวิกฤตจากการอดอาหารประท้วงนานกว่า 2 เดือนด้วย โดยศาลรับว่าจะไปเน้นย้ำเรื่องนี้กับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่มีส่วนรับผิดชอบให้
หลังแล้วเสร็จกระบวนการ เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานหญิงกลางก็ได้ขอศาลตัดสัญญาณภาพวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ทันที ทนายความจึงไม่ทราบว่า ทั้งสองจะถูกพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือไม่
ทนายเผยว่า หากให้เปรียบเทียบสภาพของทั้งสอง ระหว่างก่อนเข้าเรือนจำกับสภาพในวันนี้ จะเห็นได้ชัดว่า บุ้งผอมลงมาก ส่วนลำคอและใบหน้าเล็กลงอย่างชัดเจน ร่างกายผอมเล็กลงในลักษณะตัวลีบเล็ก ตัวซีดเซียวคล้ายป่วยหนัก ด้านใบปอมีอาการเหนื่อยหอบ สีหน้าไม่สดชื่น ดูอ่อนล้า ซึ่งทนายย้ำอีกว่าใบปอก่อนเข้าเรือนจำดูสีหน้าสดใสกว่านี้เยอะมาก
ด้านญาติอีกคนที่มารอเข้ารับบุ้งและใบปอวันนี้ แต่ไม่สามารถเข้าห้องเวรชี้เพื่อเจอหน้าทั้งสองได้ เผยว่า คนส่วนใหญ่มีภาพจำของบุ้งว่าเป็นคนที่ค่อนข้างก้าวร้าว ไม่นอบน้อมกับผู้ใหญ่ แต่จริงๆ แล้วบุ้งเป็นคนที่น่ารักมาก ที่เห็นว่าบุ้งมักพูดออกสื่อด้วยถ้อยคำรุนแรงก็เป็นเพราะความโกรธเกรี้ยวกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น
“จริงๆ แล้วบุ้งเป็นคนที่น่ารักมาก คนรอบตัวจะรู้ดี เป็นคนที่มีนิสัยอ่อนโยน รักสัตว์ ที่บ้านของบุ้งรับแมวจรจัดมาเลี้ยงดู 10 กว่าตัว เจอแมวที่ไหนบุ้งจะเข้าไปหาและเปลี่ยนไปเป็นอีกคนทันที เธอรักแมวมาก”
ญาติบุ้งเล่าว่า เป็นเพราะบ้านตรงข้ามบ้านบุ้งเป็นคุณอาสัตวแพทย์ที่เปิดคลินิกรักษาสัตว์ บุ้งจึงได้ใกล้ชิดกับสัตว์และช่วยหยิบจับให้คุณอาสัตวแพทย์มาตั้งแต่เด็กๆ ถึงกับขนาดว่า ตอนนี้บุ้งสามารถฉีดน้ำเกลือหรือยาให้แมวเองได้แล้ว รวมถึงวินิจฉัยอาการเบื้องต้นของแมวที่ไม่สบายได้อีกด้วย
ญาติของเธอบอกอีกว่า ถ้าบุ้งออกมาได้ อยากพาเธอไปกินแกงไตปลา หมูกรอบ และผัดสะตอ 3 เมนูของโปรดของบุ้ง เพราะครอบครัวของบุ้งพื้นเพเป็นคนใต้ จังหวัดสงขลา บุ้งเลยชอบอาหารที่มีรสเผ็ด จัดจ้าน ถึงเครื่อง
ญาติของบุ้งยังพูดถึงใบปอด้วยว่า ถ้าใบปอได้ออกมาอยากจะพาไปกินโดนัทคริสปี้ครีม เพราะก่อนจะเข้าเรือนจำ ใบปอส่งข้อความในลักษณะพูดซ้ำๆ มาขอร้องว่าขอให้ซื้อโดนัทคริสปี้ครีมจากห้างสรรพสินค้ามาให้กินหน่อย เพราะเธอชอบกินของหวานมาก แทบทุกอย่าง
วันนี้พ่อของใบปอก็มารอเข้าพบลูกสาวเช่นกัน แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องเวรชี้ด้วย พ่อใบปอบอกว่า ใบปอและบุ้งอดอาหารนานกว่า 2 เดือนแล้ว อยากให้ศาลให้ประกันตัวลูกสักที เทอมที่ผ่านมา ศาลก็ให้ใบปอได้ประกันเพื่อออกมาสอบปลายภาค อีกไม่กี่วันมหาวิทยาลัยก็จะเปิดเทอมอีกแล้ว (ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการเรียนที่ 1) ในวันที่ 8 ส.ค. นี้ ศาลพรากทั้งอิสรภาพ โอกาสในการได้เรียน พรากไปหมดแล้วทุกอย่าง
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46823) -
วันที่: 04-08-2022นัด: ยื่นประกันใบปอหลังทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัว “ใบปอ” และ “บุ้ง” เนติพร ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ในคดีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ และศาลอนุญาตให้ประกันตัว ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันใบปอต่อศาลอาญา ในคดีนี้
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันใบปอ ตีราคาประกัน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขประกันเช่นเดียวกับในชั้นฝากขังเหมือนเมนู คือ “ห้ามกระทำการใดๆ ในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ หรือห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือกระทำการหรือร่วมกิจกรรมใดๆ ในอันที่จะทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว และรายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน"
ทนายความได้วางหลักทรัพย์ประกันตัวดังกล่าว จากกองทุนราษฎรประสงค์ ทำให้ทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลาง สิ้นสุดการคุมขัง 94 วัน หลังถูกถอนประกันในคดีทำโพลสำรวจความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จ และสิ้นสุดการประท้วงอดอาหารเพื่อทวงสิทธิการประกันตัว ซึ่งล่วงมาเป็นระยะเวลา 64 วัน ของนักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังทั้งสอง
(อ้างอิง: คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 4 ส.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/46883) -
วันที่: 05-09-2022นัด: สอบคำให้การนัดสอบคำให้การ ใบปอพร้อมทนายความเดินทางมาศาลตามนัด ส่วนเมนูไม่มาศาล ศาลจึงสอบคำให้การใบปอคนเดียวและนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 31 ต.ค. 2565 เวลา 09.00 น. ในส่วนของเมนูศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ให้ออกหมายจับและปรับนายประกันเต็มตามสัญญาประกัน เป็นเงิน 200,000 บาท
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณาและรายงานเจ้าหน้าที่ ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 5 ก.ย. 2565)
-
วันที่: 31-10-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานเวลา 09.00 น. นัดตรวจพยานหลักฐาน ฝ่ายโจทก์แถลงจะนำสืบพยาน 12 ปาก โดยมีพยานปากผู้กล่าวหา เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงนักวิชาการ เช่น ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เป็นต้น ใช้เวลาสืบทั้งหมด 4 นัด
ส่วนฝ่ายจำเลยประสงค์สืบพยาน 8 ปาก ประกอบด้วยตัวจำเลย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ รวมถึงผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเลขาธิการสำนักพระราชวัง ใช้เวลาสืบ 2 นัด
กำหนดนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ วันที่ 7-10 พ.ย. 2566 สืบพยานจำเลยวันที่ 14-15 พ.ย. 2566
ทนายจำเลยยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารหลายรายการเพื่อใช้ในการต่อสู้คดี อาทิ
1. ต้นฉบับหรือสำเนาฉบับรับรองถูกต้อง สำนวนคดีทั้งหมดของศาลแพ่ง ระหว่างกระทรวงการคลังโจทก์ กับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
2. รายงานการใช้งบประมาณโครงการจัดแสดงสินค้าแนวใหม่ในต่างประเทศ สำหรับแบรนด์ Sirivannavari ซึ่งเอกสารมีอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์
3. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2565
4. รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
5. รายการและรายละเอียดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินในพระองค์ และทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565
6. งบประมาณของสำนักพระราชวังในปี พ.ศ. 2561 – 2565
ต้องจับตาการออกหมายเรียกพยานเอกสารเหล่านี้ของศาลต่อไป
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 31 ต.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/50209) -
วันที่: 15-12-2022นัด: ไต่สวนถอนประกันเวลา 10.00 น. ศาลอาญานัดไต่สวนการถอนประกันใบปอในคดีนี้ และคดีการทำโพลเรื่องการใช้อำนาจของกษัตริย์ รวมทั้ง “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง ในคดีปราศรัยในกิจกรรม #ทัวร์มูล่าผัว เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565
ในช่วงเช้าก่อนเริ่มการพิจารณา ได้มีสื่ออิสระ ผู้สังเกตการณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร ญาติ และผู้มาให้กำลังใจ “เก็ท-ใบปอ” ส่วนหนึ่งทยอยมานั่งรอเต็มห้องพิจารณาคดี 703 เพื่อติดตามสถานการณ์การไต่สวนการถอนประกันนักกิจกรรมทั้ง 2 ราย
เวลา 10.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณา ก่อนเริ่มการไต่สวน ทนายจำเลยได้แถลงต่อศาลว่า กรณีการไต่สวนวันนี้ ทนายจำเลยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าวหาและกล่าวหาจากเหตุใด รวมถึงโจทก์มีเอกสารที่อ้างส่งประกอบการไต่สวนเป็นจำนวนมาก และจำเลยประสงค์นำพยานเข้าสืบจำนวนหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ทนายจำเลยจึงขอเลื่อนไปอีกสักนัด เพื่อเตรียมตัวและยื่นบัญชีระบุพยานเพื่อโต้แย้ง
ด้านศาลชี้แจงว่า การไต่สวนเกิดจากเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลว่า ใบปอมีพฤติการณ์ผิดเงื่อนไขสัญญาประกัน จากภาพข่าวสารที่ศาลได้รับรายงานมาได้ปรากฏภาพของจำเลยที่เข้าร่วมการชุมนุมในช่วงการประชุม APEC ทั้งนี้ศาลย้ำว่าวันนี้เป็นเพียงการดูข้อเท็จจริงสั้นๆ ว่าจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ จึงจะให้มีการไต่สวนวันนี้ โดยศาลได้ปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาแล้ว
ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า ขอโอกาสให้จำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่อยากให้ใครมีอำนาจเหนือผู้พิพากษาเจ้าของคดี โดยทนายจำเลยและจำเลยจะขอปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ว่าจะสามารถเลื่อนการไต่สวนถอนประกันตัวออกไปได้หรือไม่
ต่อมา 11.00 น. รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาออกนั่งพิจารณา ทนายจำเลยแถลงว่า โสภณและใบปอได้ถูกเจ้าหน้าที่เรียกมาศาล โดยอ้างว่ามีพฤติการณ์ที่ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอัยการโจทก์เพิ่งมีการยื่นเอกสารหลักฐานเมื่อเช้า และมีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการผิดสัญญาการประกันตัว ซึ่งทนายจำเลยจะขอใช้เวลาตรวจสอบดูก่อนและขอเลื่อนนัดไปสักนัด
ด้านศาลชี้แจงว่า นี่เป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาและสามารถไต่สวนเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีใครร้องขอ อย่างไรก็ตาม ศาลอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนการถอนประกันตัวไปเป็นวันที่ 19 ธ.ค. 2565 เวลา 13.30 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 15 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/51556) -
วันที่: 19-12-2022นัด: ไต่สวนถอนประกันก่อนเริ่มการไต่สวนถอนประกันตัวเก็ทกับใบปอ ศาลได้แจ้งว่าตนมีหน้าที่เพียงมาจดบันทึกการไต่สวนและรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะต้องนำเข้าปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาต่อไป
อัยการโจทก์แถลงต่อศาลว่า ในการร้องขอถอนประกัน เหตุเนื่องจากโสภณและใบปอได้เคลื่อนไหวและเข้าร่วมการชุมนุมในระหว่างการประชุม APEC 2022 เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 และกระทำผิดเงื่อนไขประกัน
อัยการได้ขอเบิกตัวพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนและสอบสวนหาข้อเท็จจริงเข้าเบิกความ 2 ปาก คือ ร.ต.อ.หัตถพล เทพภักดี รองสารวัตรสืบสวน สน.ลุมพินี ซึ่งไปสังเกตการณ์ในวันเกิดเหตุ และ พ.ต.ท.สุระ ตั้งวัฒนกิตติกุล สารวัตรสืบสวน สน.บางซื่อ ผู้รวบรวมข้อเท็จจริงของใบปอจากโซเชียลมีเดีย
ร.ต.อ.หัตถพล เบิกความว่า ในวันที่ 15 พ.ย. 2565 มีกลุ่มมวลชนนัดจัดกิจกรรมยื่นหนังสือต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา แต่พยานไม่ทราบว่าหนังสือฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาว่าอย่างไรหรือเป็นเรื่องอะไร โดยภายหลังการยื่นหนังสือเสร็จ พยานเบิกความว่า ใบปอได้มีการประกาศต่อหน้าสื่อมวลชนว่า จะจัดกิจกรรมเดินขบวนไปยื่นหนังสือต่อผู้นำโลกที่เข้าร่วมการประชุม APEC 2022 ในวันที่ 17 พ.ย. 2565
ในวันดังกล่าว บริเวณศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จัดเป็นพื้นที่หวงห้ามชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ตั้งแต่วันที่ 11 – 19 พ.ย. 2565 พยานพบมวลชนราว 30 คน บริเวณแยกอโศกซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้าม โดยห้ามประชาชนสัญจรตั้งแต่แยกอโศกจนถึงแยกพระราม 4 และมีการชูป้ายข้อความว่า ‘ยกเลิก 112’ และ ‘หยุดฟอกเขียวทุนเจ้า’ แต่ป้ายหยุดฟอกเขียวดังกล่าว พยานไม่เข้าใจว่ามีความหมายว่าอย่างไร ตลอดจนการพูดแถลงการณ์ของเก็ทที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่พยานไม่เข้าใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่สันทัดภาษาอังกฤษ
หลังจากการอ่านแถลงการณ์เสร็จสิ้นแล้ว มีเจ้าหน้าที่เขาไปเจรจาแจ้งว่า การชุมนุมผิด พ.ร.บ.การชุมนุมฯ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมมีการโปรยกระดาษเอสี่ ลงบนพื้นถนนและราดน้ำสีเขียวลงบนป้ายผ้าที่เตรียมมา พยานเบิกความว่ามีผู้ชุมนุมนำน้ำเปล่าและสีสเปรย์พ่นใส่ตำรวจในบริเวณแยกอโศก
อย่างไรก็ตาม ในการชุมนุมวันที่ 17 พ.ย. 2565 พยานไม่ทราบว่าใครเป็นแกนนำ แต่เข้าใจว่าการที่กลุ่มจำเลยพยายามเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม เพราะต้องการยื่นหนังสือเรื่องความไม่เป็นธรรมของรัฐบาลไทย แต่พยานทราบมา ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งผู้ชุมนุมแล้วว่าให้ยื่นหนังสือผ่านตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ แต่ไม่เป็นผล โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้มาตั้งขบวนกันที่ถนนสุขุมวิท การชุมนุมยุติลงในเวลาประมาณ 15.00 น.
ทนายจำเลยถามค้านพยานว่า ตามประกาศของนายกรัฐมนตรีที่มีคำสั่งเกี่ยวกับการชุมนุม ก็มีเพียงแค่ในบริเวณหน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์และโรงแรมที่พักของผู้นำประเทศต่างๆ เท่านั้นใช่หรือไม่ พยานตอบว่า การยื่นหนังสือหน้าสถานทูตสหรัฐในวันที่ 15 พ.ย. 2565 ไม่ได้มีกิจกรรมที่สร้างความวุ่นวาย และกลุ่มผู้ชุมนุมใช้เวลาเพียง 20 นาที ก่อนแยกย้ายกันกลับ และในวันที่ 17 พ.ย. 2565 ช่วงที่มีการอ่านแถลงการณ์ใช้เวลาเพียงคนละ 10 นาทีเท่านั้น แต่ไม่ทราบว่าบริเวณบริเวณแยกอโศกที่จัดกิจกรรมนั้น เป็นพื้นที่หวงห้ามตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ และพยานไม่ทราบว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปห้ามกลุ่มผู้ชุมนุมทำกิจกรรมนั้นเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ร.ต.อ.หัตถพล ยืนยันว่าพยานเป็นผู้ทำรายงานการสืบสวนด้วยตนเอง โดยเนื้อหาและข้อความในรายงานพยานเป็นคนจัดทำมาจากเหตุการณ์ที่เห็นด้วยตนเองทั้งหมด
ทนายถามพยานต่อว่า ในการประชุม APEC มีหัวข้อหลักในการประชุมคือประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย แต่พยานเบิกความว่าไม่ทราบ และเมื่อทนายถามว่าการเรียกร้องของกลุ่มจำเลย เป็นการเรียกร้องทางด้านสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นประเด็นที่มีอยู่ในการประชุมดังกล่าว พยานตอบว่า ไม่มีความเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะสามารถชุมนุมเรียกร้องสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มผู้นำเอเปคได้หรือไม่ต้องไปถามผู้กล่าวหา ซึ่งพยานเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร
นอกจากนี้ ทนายยังได้ถามต่อพยานว่า ในช่วงเวลาของการจัดประชุม APEC มีกลุ่มนักกิจกรรมกรีนพีซมาจัดกิจกรรมว่ายน้ำที่บริเวณสระน้ำหน้าศูนย์ประชุมในวันที่ 13 – 14 พ.ย. 2565 ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวน ของ สน.ในท้องที่ พยานทราบเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ พยานบอกว่าจำไม่ได้ว่าเคยได้รับรายงานหรือยัง
++พยานปากที่ 2 — พ.ต.ท.สุระ ตั้งวัฒนกิตติกุล ชุดสืบสวน ผู้รวบรวมข้อเท็จจริงของใบปอจากโซเชียลมีเดีย แจ้งว่าการชุมนุมทำให้การจราจรติดขัด แม้พยานเพียงแค่เห็นภาพจากไลฟ์สดเท่านั้น
พ.ต.ท.สุระ ตั้งวัฒนกิตติกุล สารวัตรสืบสวน สน.บางซื่อ เบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ตรวจสอบว่าใบปอได้กระทำผิดเงื่อนไขประกันตัวในระหว่างวันที่ 17 พ.ย. และ 19 พ.ย. 2565 จริงหรือไม่
ในวันที่ 15 พ.ย. 2565 พยานได้ทำการตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า ‘ทะลุวัง’ พบว่ามีการประกาศเชิญชวนให้มวลชนเข้าร่วมกิจกรรมยื่นหนังสือต่อผู้นำต่างประเทศในการประชุม APEC ในวันที่ 17 พ.ย. 2565 และพบว่าเฟซบุ๊กส่วนตัวของใบปอ ได้มีการแชร์โพสต์และมีการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจริง
นอกจากนี้ พยานได้ติดตามความเคลื่อนไหวของจำเลยผ่านโซเชียลมีเดีย อาทิเช่น ทวิตเตอร์ ยูทูบ และไลฟ์สดของสำนักข่าวต่างๆ พบว่าใบปอได้เข้าร่วมการชุมนุมในวันที่ 17 พ.ย. จริงจากการไลฟ์สด และทราบได้ทันทีจากการแต่งกายด้วยชุดดำกระโปรงสีเดียวกัน และผมสีแดง
พยานเบิกความต่อไปว่า เฟซบุ๊กส่วนตัวของใบปอ มีการแชร์โพสต์จากข่าวเพจ Ther Matter, iLaw และประชาไท ซึ่งทำประมวลรูปกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันเกิดเหตุ
ต่อมา ทนายได้ถามค้าน พ.ต.ท.สุระ ว่า พยานทราบได้อย่างไรว่าบุคคลที่อยู่ในไลฟ์สดเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีนี้ โดยพยานได้ตอบว่า ตนเคยทำคดีของใบปอมาก่อนจึงทราบได้ทันที แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นแอดมินเพจทะลุวัง เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของ
นอกจากนี้ พยานไม่ได้ตรวจสอบ URL และไอพีแอดเดรสของเพจดังกล่าว แต่ตรวจสอบไอดีของเพจนี้ โดยการกดปุ่มสามจุดที่มุมขวาของภาพถ่ายหน้าเฟซบุ๊กในเพจ
และที่เบิกความว่าดูไลฟ์เฟซบุ๊กของสำนักข่าวราษฎร พยานดูย้อนหลัง ไม่ได้ดูในขณะที่มีการถ่ายทอดสด แต่ยืนยันกับทนายว่าในไลฟ์สด การชุมนุมไม่ได้ปรากฏความรุนแรงแต่อย่างใด ในขณะที่จำเลยทั้งสองได้จัดกิจกรรมและแถลงการณ์ แต่สร้างการจราจรติดขัดสำหรับประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา และไม่ทราบว่าวันที่ 19 พ.ย. ที่จำเลยเข้าร่วมการชุมนุมหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นการชุมนุมเพื่อทำอะไร แต่ไม่พบความวุ่นวายในวันดังกล่าวเช่นกัน
อัยการถามติงว่า ที่พยานไม่ได้ตรวจสอบ URL ในเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มทะลุวัง เนื่องจากพยานได้รับมอบหมายให้ติดตามสืบสวนความเคลื่อนไหวแค่เพียงวันที่ 17 พ.ย. และ 19 พ.ย. เท่านั้นใช่หรือไม่ ซึ่งพยานได้ตอบว่า ใช่
ในส่วนวันที่มีการจัดชุมนุมบริเวณแยกอโศก อัยการถามพยานว่า มีการจราจรที่หนาแน่นใช่หรือไม่ ซึ่งพยานก็ได้ตอบยืนยันตามที่ตนเองเห็นจากไลฟ์สด
ทนายขออนุญาตศาลถามค้านเพิ่มเติมประเด็นเรื่องจราจรติดขัดในวันที่ 17 พ.ย. ว่าพยานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์วันดังกล่าว พยานจะรู้ได้อย่างไรว่าการจราจรติดขัดจริงหรือไม่ พยานตอบว่า เชื่อจากภาพที่เห็นในไลฟ์สด ซึ่งทนายขอให้ศาลได้จดบันทึกไว้ว่า ที่พยานเบิกความว่าเห็นการจราจรติดขัด พยานดูจากคลิปไลฟ์สด ไม่ได้ลงพื้นที่จริง
โจทก์แถลงมีพยานที่ประสงค์จะสืบอีก 1 ปาก เป็นพยานที่รับเอกสารจาก ร.ต.อ.หัตถพล ศาลเห็นว่า ร.ต.อ.หัตถพล นำสืบรับรองเอกสารดังกล่าวแล้ว จึงให้งดสืบพยานปากดังกล่าว โจทก์แถลงหมดพยาน
ทนายจำเลยแถลงว่า ประสงค์จะสืบพยาน 4 ปาก แต่เนื่องจากในวันนี้หมดเวลาราชการและยังคงมีเอกสารอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องทำการพิจารณา ตลอดจนความคลุมเคลือของตัวผู้กล่าวหาและร้องขอถอนประกันตัว ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใด จึงขอเลื่อนออกไปนัดหน้า ศาลเห็นสมควรให้เลื่อนไต่สวนพยานจำเลยไปเป็นวันที่ 26 ธ.ค. 2565
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 19 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/52039) -
วันที่: 26-12-2022นัด: ไต่สวนถอนประกัน (ต่อ)เก็ทและใบปอเดินทางมาศาลพร้อมกับครอบครัว โดยมีประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีและให้กำลังใจทั้งสองคนเป็นจำนวนมากเต็มพื้นที่ห้องพิจารณา และมีเจ้าหน้าที่จากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กรมาร่วมสังเกตการณ์คดีด้วย นอกจากนี้ยังมีตำรวจศาลกว่า 7 นาย มาดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกห้องพิจารณา โดยมีการตั้งโต๊ะตรวจและขอถ่ายรูปบัตรประชาชนของทุกคนที่เข้าห้องพิจารณา
เวลา 09.30 น. ศาลออกนั่งพิจารณา ทนายจำเลยแถลงว่า จากการไต่สวนพยานโจทก์ในนัดที่ผ่านมา พบว่าพยานโจทก์เองไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะขอถอนประกันได้ จึงไม่จำเป็นต้องนำพยานจำเลยเข้าไต่สวน
อย่างไรก็ตาม ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการไต่สวนเพิกถอนประกันในครั้งนี้ เนื่องจากกรณีนี้เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมเป็นผู้ขอให้มีการเพิกถอนประกัน โดยพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการไต่สวนเพิกถอนประกันในครั้งนี้จึงไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยทำการใดๆ ที่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว เห็นได้จากที่ศาลยังต้องอาศัยโจทก์และพนักงานสอบสวนขวนขวายหาพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาข้ออ้างในการเพิกถอนประกัน การกระทำของจำเลยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดต่อบทกฎหมายใดๆ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ผิดเงื่อนไขการประกันตัว
เมื่อทนายความร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการไต่สวนถอนประกันในครั้งนี้ ผู้พิพากษาที่ออกนั่งพิจารณาในวันนี้จึงกล่าวว่าตนเป็นเพียงผู้พิพากษาที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารศาลให้มาไต่สวนเอาข้อเท็จจริงเข้าสู่สำนวนเท่านั้น ดังนั้นคำร้องที่ทนายความส่งมาในวันนี้ จึงต้องนำไปปรึกษากับผู้บริหารศาลก่อน
หลังจากปรึกษากับผู้บริหารศาลแล้ว ศาลมีคำสั่งรับคำร้องของทนายจำเลยไว้พิจารณา และนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนประกันทั้งสองหรือไม่ ในวันที่ 9 ม.ค. 2566 เวลา 09.00 น.
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/51831) -
วันที่: 09-01-2023นัด: ฟังคำสั่งคำร้องขอถอนประกันเวลา 09.20 น. เก็ทและใบปอ พร้อมครอบครัวได้เดินทางมาถึงที่ห้องพิจารณาคดีที่ 912 โดยในวันนี้มีการตั้งจุดตรวจสัมภาระที่บริเวณหน้าห้องพิจารณาคดี เนื่องจากมีประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีและให้กำลังใจจำเลยทั้งสองคนเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ซึ่งในวันนี้มีนัดไต่สวนถอนประกันตัวในเหตุเดียวกันอีกด้วย
ต่อมาในเวลา 10.00 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกนั่งอ่านคำสั่งด้วยตนเอง ระบุว่า “พิเคราะห์ พยานหลักฐานของโจทก์และรายงานเจ้าหน้าที่แล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลเคยอนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งสองคน โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำการในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหา รวมถึงห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่อาจสร้างความวุ่นวายต่อบ้านเมือง
ศาลเห็นว่า การที่จำเลยทั้งสองคน เข้าร่วมชุมนุมประท้วงเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 จนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมามีการนำมวลชนมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำเลยทั้งสองคนไม่ได้นำสืบหักล้างข้อเท็จจริงหรือเหตุผลใดในการกระทำของจำเลย การกระทำของจำเลยทั้งสองคนจึงเป็นการกระทำผิดเงื่อนไขประกันตัวที่ศาลกำหนดไว้”
หลังจากศาลมีคำสั่ง ใบปอและเก็ทถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว และนำตัวไปยังเรือนจำ โดยทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวทั้งสองคนอีกครั้ง โดยขอวางหลักทรัพย์คดีละ 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
ต่อมาเวลา 16.20 น. พริษฐ์ ปิยะนราธร มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันใบปอทั้ง 2 คดี รวมทั้งเก็ท ระบุว่า “จำเลยมีพฤติการณ์ผิดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวจนศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าหากศาลปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นและกระทำการในลักษณะที่ถูกกล่าวหาอีก รวมทั้งผิดเงื่อนไขที่ศาลจะกำหนดแก่จำเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย ยกคำร้อง”
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้ใบปอถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางอีกครั้ง หลังจากเคยถูกคุมขังในช่วงปี 2565 เป็นระยะเวลา 94 วัน ด้านเก็ทถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังจากถูกคุมขังในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 มาแล้ว 30 วัน
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 9 ม.ค. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/52039) -
วันที่: 20-02-2023นัด: ยื่นประกันขณะ "ตะวัน" ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ "แบม" อรวรรณ ภู่พงษ์ อดอาหารเพื่อเรียกร้องให้ศาลปล่อยผู้ต้องขังทางการเมืองเป็นวันที่ 34 ทนายความได้ยื่นประกันผู้ต้องขังคดีการเมืองจำนวน 6 ราย ได้แก่ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง และ ใบปอ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังถูกศาลสั่งถอนประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2566, “พรพจน์ แจ้งกระจ่าง”, “คทาธร” และ “ถิรนัย, ชัยพร (สงวนนามสกุล)” ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าครอบครองวัตถุระเบิด
คำร้องขอประกันของใบปอในคดีนี้ มีใจความสำคัญระบุว่า จำเลยเป็นเพียงนักศึกษา ย่อมไม่มีอิทธิพลเข้าไปยุ่งเหยิงหรือเป็นอุปสรรคต่อพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ อีกทั้งพยานหลักฐานได้อยู่ในการรวบรวมของอัยการโจทก์แล้วทั้งสิ้น
ต่อมา ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันเก็ทและใบปอ ตีราคาประกัน 90,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข “ห้ามมิให้จำเลยกระทำการใดๆ ในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดี หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือกระทำการหรือร่วมทำกิจกรรมใดๆ ในอันที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในระหว่างการปล่อยชั่วคราว และให้จำเลยมารายงานตัวต่อศาลทุก 15 วันภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น”
ผลของคำสั่งดังกล่าว ทำให้เป็นการสิ้นสุดการคุมขังเก็ทและใบปอซึ่งกินเวลารวม 43 วัน หลังถูกถอนประกัน
(อ้างอิง: คำสั่ง ศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ อ.1691/2565 ลงวันที่ 20 ก.พ. 2566 และ https://tlhr2014.com/archives/53763)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ใบปอ (นามสมมติ)
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุพิชฌาย์ ชัยลอม
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ใบปอ (นามสมมติ)
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
สุพิชฌาย์ ชัยลอม
ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์