ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- อื่นๆ
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ อ.2244/2565
แดง อ.3911/2566
ผู้กล่าวหา
- ศรีสุวรรณ จรรยา (ประชาชน)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- อื่นๆ
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
- อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
หมายเลขคดี
ดำ อ.2244/2565
แดง อ.3911/2566
ผู้กล่าวหา
- ศรีสุวรรณ จรรยา
ความสำคัญของคดี
"นารา เครปกะเทย" หรือ อนิวัต ประทุมถิ่น ถูกดำเนินคดีร่วมกับ “มัมดิว” หรือ กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ เจ้าของเพจ มัมดิวไดอารี่ และ "หนูรัตน์" หรือ ธิดาพร ชาวคูเวียง ตลอดจนบริษัทขายตรงและบริษัทโฆษณาที่เกี่ยวข้อง ในข้อกล่าวหา "หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีจัดทำคลิปเพื่อใช้ในแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 โดยถูกกล่าวหาว่า มีการแสดงล้อเลียน เสียดสี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยมี ศรีสุวรรณ จรรยา เข้าแจ้งความร้องทุกข์
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความคุ้มครองไปถึงบุคคลในราชวงศ์ ทำให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง
กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี แต่กลับเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแม้ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ทำให้ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการตีความขยายความคุ้มครองไปถึงบุคคลในราชวงศ์ ทำให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 บรรยายฟ้อง มีใจความโดยสรุปดังนี้
1. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 นารากับพวกได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอโฆษณาขนาดสั้นและภาพนิ่งอันมีลักษณะเป็นการล้อเลียน พาดพิง หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ลาซาด้า โดยนาราเป็นผู้จัดทำและร่วมแสดง โดยวีดิโอโฆษณามีเนื้อหาล้อเลียนเสียดสี และหมิ่นประมาทเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10 ว่าไม่ได้ป่วยจริง ทั้งยังเป็นการด้อยค่า ทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ
ต่อมา นาราได้นำคลิปดังกล่าวที่มีการแสดงเนื้อหาที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง โพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของตน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ
2. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 นารากับพวกได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอขนาดสั้นและภาพนิ่ง โฆษณาเซรั่มของนารา จากนั้นนาราได้อัปโหลดคลิปดังกล่าวบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok โดยผู้แสดงมีการแต่งกาย แต่งหน้าและทำผมคล้ายเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นพระโสทรกนิษฐภคินี และเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10 ส่วนอีกคนมีเจตนาล้อเลียนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งเป็นพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 10 เป็นการจงใจแสดงให้ประชาชนที่พบเห็นเกิดความเข้าใจความหมายตามที่แสดง ซึ่งเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ด้อยค่า ดูหมิ่น และหมิ่นประมาท ต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อีกทั้งยังเป็นการด้อยค่า ดูหมิ่น และทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ
3. ระหว่างเดือนเมษายน ถึงวันที่ 5 พ.ค. 2565 นาราได้ร่วมกับบริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้าใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยนาราได้รับว่าจ้างออกแบบและจัดทำวีดิโอโฆษณาแคมเปญ Lazada 5.5 หลังจัดทำเสร็จนารายังโพสต์ลงบัญชี Tik Tok ส่วนตัว โดยประชาชนที่พบเห็นวีดิโอดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนผู้พิการ มีลักษณะดูแคลน ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรง
1. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 นารากับพวกได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอโฆษณาขนาดสั้นและภาพนิ่งอันมีลักษณะเป็นการล้อเลียน พาดพิง หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัชทายาท เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ลาซาด้า โดยนาราเป็นผู้จัดทำและร่วมแสดง โดยวีดิโอโฆษณามีเนื้อหาล้อเลียนเสียดสี และหมิ่นประมาทเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10 ว่าไม่ได้ป่วยจริง ทั้งยังเป็นการด้อยค่า ทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ
ต่อมา นาราได้นำคลิปดังกล่าวที่มีการแสดงเนื้อหาที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง โพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของตน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ
2. ระหว่างวันที่ 3 – 5 พ.ค. 2565 นารากับพวกได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอขนาดสั้นและภาพนิ่ง โฆษณาเซรั่มของนารา จากนั้นนาราได้อัปโหลดคลิปดังกล่าวบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok โดยผู้แสดงมีการแต่งกาย แต่งหน้าและทำผมคล้ายเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อันเป็นพระโสทรกนิษฐภคินี และเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 10 ส่วนอีกคนมีเจตนาล้อเลียนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ซึ่งเป็นพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 10 เป็นการจงใจแสดงให้ประชาชนที่พบเห็นเกิดความเข้าใจความหมายตามที่แสดง ซึ่งเป็นการจาบจ้วง ล่วงเกิน ด้อยค่า ดูหมิ่น และหมิ่นประมาท ต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ อีกทั้งยังเป็นการด้อยค่า ดูหมิ่น และทำให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงรัชกาลที่ 10 เสื่อมพระเกียรติ
3. ระหว่างเดือนเมษายน ถึงวันที่ 5 พ.ค. 2565 นาราได้ร่วมกับบริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้าใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยนาราได้รับว่าจ้างออกแบบและจัดทำวีดิโอโฆษณาแคมเปญ Lazada 5.5 หลังจัดทำเสร็จนารายังโพสต์ลงบัญชี Tik Tok ส่วนตัว โดยประชาชนที่พบเห็นวีดิโอดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนผู้พิการ มีลักษณะดูแคลน ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรง
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 16-06-2022นัด: จับกุมตามหมายจับในวันเดียวกับที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เข้าแสดงหมายจับ “มัมดิว” หรือ กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ เจ้าของเพจ มัมดิวไดอารี่ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถึงบ้านพัก สืบเนื่องมาจากแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ที่ทำร่วมกับ นารา - เครปกะเทย และหนูรัตน์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และควบคุมตัวไปที่กองกำกับการ 2 บก.ปอท. มีรายงานข่าวว่า อนิวัต ประทุมถิ่น หรือ “นารา” และธิดาพร ชาวคูเวียง หรือ “หนูรัตน์” ก็ถูกจับกุมและควบคุมตัวมาที่ กก.2 บก.ปอท. ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ต่อมา พนักงานสอบสวน บก.ปอท.ได้แจ้งพฤติการณ์ของข้อกล่าวหาให้ทั้งสามทราบว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2565 ศรีสุวรรณ จรรยา ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาได้มาพบพนักงานสอบสวน บก.ปอท. และร้องทุกข์กล่าวโทษ กรณีเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 เว็บไซต์ LAZADA และ TikTok ได้โพสต์คลิปวีดิโอโปรโมทแคมเปญลดราคาสินค้าของลาซาด้า โดยมีผู้แสดงคือ นารา, หนูรัตน์ และมัมดิว ซึ่งมีลักษณะไม่เหมาะสม เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ผู้ป่วยหรือผู้พิการ อีกทั้งมีเนื้อหาในลักษณะล้อเลียน เสียดสี บุคคลอันเป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งหลายคนเห็นแล้วไม่สบายใจ เพราะมีรูปภาพหรือการแสดงที่มีลักษณะพาดพิง ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง หรือสถาบันกษัตริย์
พนักงานสอบสวนยังระบุว่า จากการสืบสวนสอบสวนพบการกระทำที่เป็นความผิดดังนี้
1. เป็นคลิปโฆษณาแคมเปญ LAZADA 5.5 เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของ LAZADA และบัญชี TikTok ของนารา ความยาว 1 นาที 26 วินาที โดยมีหนูรัตน์ได้แสดงบทบาทเป็นหญิงพิการแต่งชุดไทยประยุกต์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั่งรถเข็นในลักษณะเอียง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการเลียนแบบหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ และนาราได้แสดงการพูดกับหนูรัตน์ว่า…ฉันจะจัดการกับแก แล้วหนูรัตน์ได้ลุกขึ้นแล้วพูดว่า ฉันลุกขึ้นได้ ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว มีลักษณะในเชิงบิดเบือนว่า สมาชิกราชวงศ์ดังกล่าวโกหกให้คนหลงเชื่อว่าป่วย เพื่อให้เห็นใจ สงสาร ซึ่งเป็นการนำข้อมูลที่บิดเบือนเข้าสู่คอมพิวเตอร์
2. เป็นคลิปวิดีโอที่นาราแสดงร่วมกับหนูรัตน์และมัมดิว ซึ่งภาพที่ปรากฏในคลิปเป็นการที่นาราได้นําสินค้าของตนมอบให้กับมัมดิว โดยที่นารานั่งพับเพียบอยู่กับพื้น ส่วนมัมดิวนั่งอยู่บนโซฟา และหนูรัตน์นั่งอยู่บนรถเข็น แสดงเป็นคนพิการ โดยที่มัมดิวได้สวมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ แต่งหน้า และทําทรงผม มีลักษณะที่คนทั่วไปเข้าใจได้ว่าเป็นการแสดงเลียนแบบพระราชินีในรัชกาลที่ 9 คลิปดังกล่าวเผยแพร่ผ่านบัญชี TikTok ของนารา เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565
พนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า ผู้ต้องหาทั้งสามได้ร่วมกันจัดทำบท ร่วมกันแสดง โดยเจตนาล้อเลียน ด้อยค่า อดีตพระราชินีในรัชกาลที่ 9 และสมาชิกราชวงศ์คนดังกล่าว โดยมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากการสืบสวนสอบสวนเชื่อได้ว่า ผู้ต้องหาทั้งสามเป็นผู้ร่วมแสดงในคลิปวีดีโอดังกล่าว โดยนาราเป็นผู้โพสต์คลิปในบัญชีเฟซบุ๊กและ TikTok ของตนเอง
จากนั้น พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาทั้งสามในข้อหา “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งยังแจ้งข้อกล่าวหานารา “โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ประชาชน และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1)(3) อีกด้วย
เน็ตไอดอลทั้งสามให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลอาญาผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว อ้างเหตุว่า เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งมีอัตราโทษสูง ทั้งเกรงว่าผู้ต้องหาทั้งสามอาจจะไปลบ แก้ไข เปลี่ยนแปลงพยานหลักฐานในระบบคอมพิวเตอร์ ส่งผลเสียหายต่อรูปคดี รวมทั้งอาจมีกระทําความผิดในลักษณะซ้ำเดิมอีกได้ หรืออาจมีการโพสต์ในลักษณะหมิ่นเจ้าพนักงานตํารวจลงในสื่อสังคมออนไลน์
อย่างไรก็ตาม หลังศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ได้ให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งหมด โดยให้วางหลักทรัพย์ประกันในวงเงินคนละ 90,000 บาท ศาลยังกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการในลักษณะหรือทำนองเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก และให้ทั้งสามมารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน
(อ้างอิง: บันทึกการจับกุม กก.2 บก.ปอท. และคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ศาลอาญา ลงวันที่ 16 มิ.ย. 2565 และ https://tlhr2014.com/archives/44935) -
วันที่: 07-09-2022นัด: ยื่นฟ้องพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาราในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (3) และร่วมกันใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมโดยรวม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
อัยการได้ฟ้องข้อหาตามมาตรา 112 แยกเป็น 2 กระทง กระทงแรกกล่าวหาว่า นารากับพวกได้ร่วมกันผลิตจัดทำวิดีโอโฆษณาขนาดสั้นและภาพนิ่งอันมีลักษณะเป็นการล้อเลียน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ และเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ รัชทายาทในรัชกาลที่ 10 เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางลาซาด้า โดยนาราเป็นผู้จัดทำและร่วมแสดง ต่อมานำคลิปดังกล่าวที่มีการแสดงเนื้อหาที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ทั้งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง โพสต์ลงบัญชี Tik Tok ของตน ตั้งค่าเป็นสาธารณะ
ส่วนอีกกระทงหนึ่ง เป็นคลิปโฆษณาเซรั่มของนารา ซึ่งนาราเป็นผู้ผลิตและร่วมแสดง โดยหนูรัตน์แสดงเป็นหญิงพิการ นั่งอยู่บนรถเข็น แต่งหน้าและทำผมคล้ายเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ส่วนมัมดิวได้ใช้สำเนียงการพูดช้าๆ ทำให้เข้าใจได้ว่ามีเจตนาล้อเลียนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 10
นอกจากนี้ อัยการยังระบุว่า นาราได้ร่วมกับบริษัทโฆษณาและบริษัทขายสินค้า ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยนาราได้รับว่าจ้างออกแบบและจัดทำวีดิโอโฆษณาแคมเปญ Lazada 5.5 หลังจัดทำเสร็จนารายังโพสต์ลงบัญชี Tik Tok ส่วนตัว โดยประชาชนที่พบเห็นวีดิโอดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนผู้พิการ มีลักษณะดูแคลน ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรง
-
วันที่: 10-10-2022นัด: ตรวจพยานหลักฐานศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-22 ก.ย. 2566 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 26-27 ก.ย. 2566
-
วันที่: 21-12-2023นัด: ฟังคำพิพากษาที่ห้องพิจารณาคดี 912 เวลาประมาณ 09.40 น. นาราถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เธอถูกคุมขังในคดีส่วนตัว เข้ามายังห้องพิจารณาคดีล่าช้ากว่าที่ศาลนัดหมายไว้ เท้าทั้งสองข้างถูกพันธนาการด้วยกุญแจเท้า สวมชุดผู้ต้องขังเป็นเสื้อแขนสั้นคล้ายผ้าดิบ คอกลม สีน้ำตาลอ่อน และสวมกางเกงขาสั้นสีน้ำตาลแดง ด้านหลังเสื้อพิมพ์ตัวอักษรสีขาวว่า แดน ๔ และด้านบนตัวอักษรนั้นยังมีรอยปากกาเมจิกเขียนเลข 4 ไว้ด้วย
นารายังแต่งหน้าสวยมาเหมือนครั้งก่อน ๆ ที่ถูกเบิกตัวมาศาล ด้วยการทาเปลือกตาเป็นสีชมพูประกายเงิน ปัดขนตาจนดำและเด้งงอน ปัดแป้งฝุ่นที่ใบหน้าจนขาวนวล ส่วนเล็บเท้าเฉพาะนิ้วโป้งถูกสีเขียวเลม่อนเคลือบอยู่ทั้งสองข้าง ทว่านิ้วเท้าอื่น ๆ ไม่ได้ถูกทาสีด้วยแต่อย่างใด
อย่างที่นาราเคยบอกอย่างน้อยวันที่ได้ออกมาข้างนอกขอให้ดูสวยดูดีก็มีความสุขแล้ว โดยเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิวทั้งหลายในเรือนจำนั้นได้มาจากชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ที่มีไว้สำหรับใช้แต่งหน้าเมื่อมีกิจกรรมและงานรื่นเริงในเรือนจำ อาทิ งานแข่งขันกีฬา งานปีใหม่ งานประกวดร้องเพลง เป็นต้น ซึ่งต้องใช้กันอย่างประหยัดมาก ๆ เลือกแต่งเฉพาะโอกาสสำคัญเท่านั้น ส่วนสีทาเล็บของนาราและทุกคนในเรือนจำไม่ใช่สีสำหรับทาเล็บแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้สีทาผนังแทน
เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษายกฟ้อง มีรายละเอียดโดยสรุปว่า จำเลยมีอาชีพโฆษณาสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง เหตุในคดีนี้จำเลยได้รับการติดต่อว่าจ้างจากบริษัทลาซาด้าให้จัดทำคลิปโฆษณาโปรโมชันแคมเปญ 5.5 ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2565
โดยผู้จ้างให้รายละเอียดเป็นหัวข้อ รายละเอียดเกี่ยวกับโปรโมชั่น และช่องทางการซื้อสินค้า ส่วนการเล่าเรื่องในคลิปวิดีโอนั้นเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องเป็นผู้ออกแบบและจัดผลิต เมื่อจำเลยจัดทำคลิปและได้รับการตรวจจากผู้จ้างแล้วว่าสามารถใช้เผยแพร่ได้แล้ว จำเลยจึงโพสต์ลงแพลตฟอร์ม TikTok ของตัวเอง
วัตถุพยานโจทก์มีคลิปวิดีโอที่ 1 ปรากฏจำเลยและหนูรัตน์อยู่ในวิดีโอดังกล่าว โดยจำเลยสวมใส่ชุดปกติสีขาว แต่หนูรัตน์สวมใส่ชุดไทยประยุกต์สีชมพู นุ่งโจงกระเบน สวมใส่เครื่องประดับสร้อยไข่มุก แสดงเป็นหญิงพิการหรือป่วย นั่งอยู่บนรถเข็นผู้พิการ
ส่วนคลิปที่ 2 ปรากฏจำเลย หนูรัตน์ และมัมดิวอยู่ในวิดีโอดังกล่าว โดยจำเลยสวมชุดปกติอยู่ในท่าการนั่งพับเพียบกับพื้น หนูรัตน์นั่งอยู่บนรถเข็นสวมใส่ชุดไทยเช่นเดิม ส่วนมัมดิวแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย นุ่งผ้าถุงลายไทย สวมใส่เครื่องประดับเป็นสร้อยคอ ตุ้มหู และสร้อยมือไข่มุก พูดใช้สำเนียงช้า ๆ มีลักษณะเฉพาะ
คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกว่า การจัดทำคลิปวิดีโอตามฟ้องทั้ง 2 คลิปนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 บัญญัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพด้านต่าง ๆ ไว้เพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการแสดงความเห็น เสรีภาพในเคหสถาน เป็นต้น
ข้อบัญญัติข้างต้นมีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้รัฐก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากเกินไป เว้นแต่จะใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีไว้เป็นเฉพาะ ซึ่งจะต้องบังคับใช้แต่จำเป็น ไม่มากเกินไป และจะต้องไม่บังคับใช้โดยระบุเจาะจงกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งด้วย ขณะเดียวกันบุคคลก็จะต้องไม่ละเมิดต่อเสรีภาพของบุคคลอื่นและใช้สิทธิเสรีภาพของตนอยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญเช่นกัน
เมื่อคดีนี้จำเลยถูกฟ้องว่าทำคลิปวิดีโอที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 112 จึงต้องพิจารณาตามนิติวิธีว่ามีเนื้อหาที่เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้ายหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมาย มาตรา 112
โจทก์มี อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เข้าเบิกความต่อศาลว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่รัฐธรรมนูญ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ศาลเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 6 วรรคที่ 1 และ 2 นั้น แท้จริงมีความมุ่งหมายให้ความคุ้มกันการถูกฟ้องคดีกับพระมหากษัตริย์ ถ้อยคำว่าผู้ใดจะละเมิดมิได้นั้น กล่าวคือพระมหากษัตริย์ไม่สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะการกระทำใด ๆ ของพระมหากษัตริย์จะเป็นความผิดไม่ได้ เพราะไม่ได้กระทำเองโดยตรง แต่เป็นการกระทำของสถาบันทางการเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ฉะนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ทุกพระองค์จึงอยู่เหนือการเมือง ไม่ตรงกับที่พยานโจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด
หลักการของกฎหมายวางไว้ว่า ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าเป็นความผิด ฉะนั้นการจะกล่าวหาและลงโทษกับผู้ใดจะต้องมีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ชัดแจ้ง การไม่มีกฎหมายที่ระบุไว้ชัดแจ้งจะใช้กฎหมายที่คล้ายกันมาเทียบเคียงเพื่อเอาผิด ‘ไม่ได้’
อีกทั้งการตีความตามตัวบทกฎหมายจะขยายความเกินที่ระบุไว้ไม่ได้ ตีความเกินตัวอักษรและตีความเกินเจตนารมณ์ไม่ได้ ข้อกฎหมายจะต้องเป็นถ้อยคำที่วิญญูชนเข้าใจได้โดยทั่วไป เพื่อจะได้ระมัดระวังตนว่าไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย หากว่ากฎหมายมีถ้อยคำที่วิญญูชนไม่อาจเข้าใจได้โดยทั่วกันแล้ว จะต้องมีหมายเหตุสร้างอธิบายไว้เป็นการเฉพาะให้วิญญูชนเข้าใจตรงกันโดยชัดแจ้ง
เมื่อกฎหมายไม่ได้ระบุความหมายของการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้ายไว้เป็นเฉพาะ แต่มีการให้ความหมายของ “การหมิ่นประมาท” และ “การดูหมิ่น” ไว้ ศาลเห็นว่าจึงควรตีความการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และอาฆาตมาดร้ายไปในทิศทางเดียวกัน การตีความไปหลายทางและมีขอบเขตที่กว้างนั้นจะทำลายคุณค่าของรัฐธรรมนูญ
“หมิ่นประมาท” หมายถึง การกระทำที่มีการยืนยันข้อเท็จจริง และเป็นการให้ร้ายและใส่ความเท็จ
“การดูหมิ่น” หมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย ทำให้เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือด่า
ส่วน “อาฆาตมาดร้าย” นั้นไม่ได้มีบัญญัติไว้ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2555 ระบุไว้ว่า หมายถึง พยาบาท มุ่งจะทำร้ายให้ได้
การที่อัยการบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการดูหมิ่นสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันฯ และกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนนั้น ศาลเห็นว่าความรู้สึกและความเข้าใจของผู้คนอาจแตกต่างกันไปตามสภาพและสถานะ ซึ่งในคดีนี้นั้นโจทก์ล้วนแต่นำพยานที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ เท่านั้นมาเบิกความต่อศาล
จำเลยนำสืบว่า จำเลยได้ทำคลิปโฆษณาสินค้าลงเผยแพร่สาธารณะ โดยได้แสดงบทบาทสมมติต่าง ๆ มีการสวมใส่ชุดไทย ใช้คำพูดธรรมดาสามัญ ไม่ได้มีการใช้คำพูดราชาศัพท์ และไม่มีการแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 หรือเครื่องหมายประจำพระองค์ของราชวงศ์ในสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด
การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการแสดงบทบาทสมมติเช่นนี้นั้นยังไม่ถึงกับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ได้มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือดูหมิ่น เป็นการแสดงละครสมมติเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและส่งเสริมการขาย ไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงในลักษณะการอาฆาตมาดร้าย
เห็นว่า การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่ออีกว่าเป็นการดูหมิ่นสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ หรือไม่
ต่อมา มีปัญหาต้องวินิจฉัยอย่างที่ 2 ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) (3) หรือไม่ ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการทำคลิปวิดีโอขึ้นเพื่อโฆษณาและส่งเสริมการขาย ไม่ได้มีเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงและความสงบของประเทศ จึงไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ส่วนปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้าย คือคลิปวิดีโอที่จำเลยจัดทำขึ้นเป็นความผิดฐานร่วมกันใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมโดยรวมหรือไม่
ศาลเห็นว่าการประกาศใช้บทกฎหมายนี้มีเจตนารมณ์สืบเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการธุรกิจนำหลักการตลาดมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการขาย แต่ผู้บริโภคมักจะไม่รับรู้ความจริงเกี่ยวกับสินค้าโดยทันท่วงที
ศาลเห็นว่าข้อความในคลิปโฆษณาของจำเลยนั้นไม่ใช่ข้อความที่ไม่เป็นธรรม ไม่ได้มีการยืนยันข้อเท็จจริงด้วยว่าผู้พิการด้อยค่าอย่างไร และไม่มีการยุยงให้เกิดความวุ่นวาย แม้ว่าข้อความในคลิปที่เกี่ยวกับการโฆษณาการขายและโปรโมชั่นนั้นจะไม่มีการระบุปีที่สิ้นสุดการได้ผลประโยชน์ แต่ศาลเห็นว่าผู้บริโภคก็สามารถเข้าใจได้เองว่าระยะเวลาของโปรโมชั่นสิ้นสุดลงภายในปีที่คลิปวิดีโอนั้นถูกเผยแพร่ออกไป พิพากษายกฟ้อง
เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จ นาราปล่อยโฮร้องไห้เสียงดัง ยกมือขึ้นปิดหน้าและย่อตัวลงไปร้องไห้ จากนั้นได้เข้าสวมกอดกับทนายความที่ว่าจ้างส่วนตัว และได้ฝากขอบคุณทุกคนที่ติดตามให้กำลังใจเธออยู่ข้างนอก นาราคาดว่าเร็ว ๆ นี้จะยื่นประกันตัวในคดีส่วนตัวที่ถูกคุมขังอยู่อีกครั้ง เพื่อออกไปชดเชยความเสียหายให้กับผู้เสียหายทุกคนต่อไป นาราบอกว่าการถูกคุมขังอยู่นั้นไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นเลย นอกจากจะทำให้เธอเสียสิทธิเสรีภาพแล้ว ยังทำให้เธอไม่สามารถทำงานหาเงินเพื่อไปชดใช้ค่าเสียหายกับผู้เสียหายทั้งหมดด้วย
ก่อนหน้านี้นาราเคยเปิดเผยว่า ระหว่างการถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เธอต้องเผชิญกับปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง อาทิ การถูกบังคับให้ตัดผมสั้นเกรียน, การไม่ให้ใส่ชุดชั้นใน แม้ว่าจะผ่าตัดทำหน้าอกแล้ว, การบังคับให้หยุดทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อรักษาสภาพความเป็นคนข้ามเพศให้ยังคงอยู่ ซึ่งมีผลเสียร้ายแรงถึงสุขภาพระยะยาวด้วย หรือแม้กระทั่งการถูกกลั่นแกล้งและคุกคามจากนักโทษด้วยกัน
วันนี้เธอเปิดเผยอีกครั้งว่าภายหลังจากที่เธอบอกเล่าเรื่องราวกับสังคม ทำให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรียกเธอไปพบและสอบถามความต้องการของตัวแทนคนข้ามเพศอย่างเธอว่าจำเป็นจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรในเรือนจำ
หลังจากนั้นดูเหมือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในทิศทางที่ดีเกิดขึ้น อย่างแรกเจ้าหน้าที่ให้ผู้ต้องขังข้ามเพศรับคิวเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินแนวทางการจ่ายฮอร์โมนเอสโตรเจนให้รับประทาน ซึ่งตอนนี้นาราเองและผู้ต้องขังข้ามเพศได้รับอนุญาตให้เทคฮอร์โมนเพศหญิงได้แล้ว
อย่างที่สอง ปกติวันเสาร์อาทิตย์ เรือนจำจะให้ใส่ชุดกีฬาคล้ายชุดเตะบอล แต่ตอนนี้เจ้าหน้าที่อนุโลมให้ผู้ต้องขังข้ามเพศสามารถสวมใส่เครื่องแต่งกายตามเพศสภาพได้ นาราบอกว่าเธอและเพื่อน ๆ ได้สวมชุดผู้หญิงแล้ว เป็นเสื้อผ้าลำลองที่ผู้ต้องขังจะใส่เข้าไปในเรือนจำวันแรก ซึ่งมีทั้งชุดเกาะอก กระโปรง เสื้อผ้าสวย ๆ และชุดอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของหญิงข้ามเพศ
นอกจากนี้หากว่าต้องการขอใช้เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง หรือสิ่งใดก็ตามที่สอดคล้องกับกับอัตลักษณ์เพศ เจ้าหน้าที่ให้พวกเธอเขียนหนังสือเสนอไปยังเรือนจำได้ อาทิ วิกผมผู้หญิง เครื่องสำอาง กระโปรง และชุดแต่งกายที่สวยงาม เจ้าหน้าที่จะนำไปพิจารณาและอนุญาตให้นำเข้าได้เป็นอย่าง ๆ ไปตามที่เห็นควร หากว่าเจ้าหน้าที่อนุมัติหาสิ่งของข้างต้นให้ได้ผู้ต้องขังจะต้องเก็บรักษาไว้ของชมรมทูบีนัมเบอร์วันที่มีส่งเสริมให้ทุกคนกล้าแสดงออก มั่นใจ และเป็นตัวของตัวเอง
นาราบอกว่าเธอรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นข้อบังคับอีกหลายอย่างก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง อย่างเช่นการบังคับผมให้สั้นเกรียนเหมือนทรงนักเรียน ซึ่งในวันนี้เธอก็เดินเข้ามาในห้องพิจารณาคดีด้วยทรงผมนั้นเช่นกัน หรือข้อบังคับที่ไม่อนุญาตให้สวมใส่ชุดชั้นในปิดบังหน้าอกก็ยังคงไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด
นาราเล่าอีกว่า เมื่อไม่นานนี้เธอถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนร่วมห้องขัง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างเธออาบน้ำอยู่ในห้องขัง ซึ่งใช้ผ้าขึงปิดจนมิด แต่อยู่ ๆ ก็มีผู้ต้องขังชายคนหนึ่งพยายามชะโงกมองและคุกคาม “เก็ท” โสภณ พยายามช่วยห้ามไว้ แต่ก็ไม่เป็นผล โดยผู้ต้องขังชายคนดังกล่าวแสดงท่าทีก้าวร้าวและพยายามจะทำร้ายร่างกายเก็ทด้วย
นาราพูดทิ้งท้ายว่า “คุกทำลายอิสรภาพเราได้ แต่คุกจะทำลายความสุขของเราไม่ได้”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคดีนี้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่นาราจะยังคงถูกคุมขังต่อไปอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีส่วนตัว ซึ่งถูกคุมขังมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
(อ้างอิง: https://tlhr2014.com/archives/62500)
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นารา เครปกะเทย
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นารา เครปกะเทย
ผลการพิพากษา
ยกฟ้อง
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
21-12-2023
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์