ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
ดำ 301/2560
แดง 1945/2560
ผู้กล่าวหา
- พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี รองหัวหน้ากองยุทธการ มทบ.23 (ทหาร)
ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
- หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
หมายเลขคดี
ดำ 301/2560
แดง 1945/2560
ผู้กล่าวหา
- พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี รองหัวหน้ากองยุทธการ มทบ.23
ความสำคัญของคดี
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" นักศึกษาและนักกิจกรรม ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์บทวิเคราะห์ของสำนักข่าว BBC Thai เรื่อง “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย” ในเฟซบุ๊กส่วนตัว อันเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ซึ่งแชร์บทความดังกล่าวไปกว่า 2,800 ครั้ง หลังจากถูกจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่นไผ่เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน เขาก็ถูกถอนประกันจากการแสดงความเห็นในเฟซบุ๊กส่วนตัวอีก และไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวอีกเลย แม้จะมีการยื่นประกันอีกถึง 10 ครั้ง จตุภัทร์ยังถูกละเมิดสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย โดยศาลจังหวัดขอนแก่นสั่ง "พิจารณาลับ" ทั้งในกระบวนการก่อนพิจารณาคดี และในชั้นพิจารณาคดี ทั้งยังห้ามเผยแพร่เนื้อหาการสืบพยาน และอ่านคำพิพากษาเป็นการลับอีกด้วย
ผู้ที่แจ้งความให้ดำเนินคดีจตุภัทร์ และรวบรวมหลักฐานส่งตำรวจเพื่อให้ถอนประกัน คือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี นายทหารที่ติดตามการเคลื่อนไหว และหลายครั้งจำกัดไม่ให้จตุภัทร์แสดงออกในการคัดค้านรัฐประหาร จึงอาจกล่าวได้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐใช้การดำเนินคดีด้วย มาตรา 112 เพื่อยุติการเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐประหารของจตุภัทร์
ผู้ที่แจ้งความให้ดำเนินคดีจตุภัทร์ และรวบรวมหลักฐานส่งตำรวจเพื่อให้ถอนประกัน คือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี นายทหารที่ติดตามการเคลื่อนไหว และหลายครั้งจำกัดไม่ให้จตุภัทร์แสดงออกในการคัดค้านรัฐประหาร จึงอาจกล่าวได้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐใช้การดำเนินคดีด้วย มาตรา 112 เพื่อยุติการเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐประหารของจตุภัทร์
พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 จำเลยได้หมิ่นประมาท และดูหมิ่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 โดยได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ฯ โดยจำเลยได้โพสต์ข้อความให้ปรากฏทางอินเทอร์เน็ตในเพจเฟซบุ๊ก ของผู้ให้บริการที่ใช้ชื่อโปรไฟล์ว่า Pai Jatupat ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปดูและตรวจสอบได้ โดยใส่ความหมิ่นประมาท และดูหมิ่น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ต่อประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ความว่า ".........." (ยกข้อความ 4 ย่อหน้าช่วงท้ายบทวิเคราะห์เรื่อง “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย” ของ BBC Thai) อันมีความหมายว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ไม่น่าจะมีพระบารมี ไม่เป็นที่เคารพสักการะเท่าพระราชบิดา (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9) อันเป็นการดูหมิ่น สบประมาท เหยียดหยาม พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพสกนิกรชาวไทย และพสกนิกรชาวไทยไม่บังควรที่จะไปกล่าวหาหรือกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ในลักษณะเช่นนี้ และเป็นการใส่ร้าย ดูหมิ่น เหยียดหยาม/สบประมาทพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 ... ทั้งนี้ โดยประการที่ทำให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ พระบารมี เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จากพสกนิกรปวงชนชาวไทย และประชาชนชาวต่างประเทศ เหตุเกิดที่ตำบลในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น (อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลจังหวัดขอนแก่น คดีหมายเลขดำที่ 301/2560 ลงวันที่ 9 ก.พ. 60)
ความคืบหน้าของคดี
-
วันที่: 03-12-2016นัด: แจ้งข้อกล่าวหาหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนำหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่น ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าจับกุมนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ขณะเข้าร่วมกิจกรรมธรรมยาตราที่วัดโปร่งช้าง อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และนำตัวไปทำบันทึกการจับกุมที่ สภ.แก้งคร้อ เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนายจตุภัทร์ไปที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 4 โดยเขาถูกยึดโทรศัพท์และไม่สามารถติดต่อคนใกล้ชิดเพื่อแจ้งให้ทราบได้ว่า เขาอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ ตำรวจได้จัดเตรียมทนายไว้ให้แล้ว แต่จตุภัทร์ปฏิเสธกระบวนการสอบสวนดังกล่าว และยืนยันให้ทนายความที่ตนเองไว้ใจเท่านั้นเข้าร่วม แม้จะมีการข่มขู่คุกคามจากพนักงานสอบสวน ตำรวจจึงต้องมารับตัวทนายความซึ่งรออยู่ที่ สภ.เมืองขอนแก่น โดยทนายความไม่ได้รับการแจ้งว่า จะพาไปยังสถานที่ใด และถูกยึดโทรศัพท์ระหว่างการสอบสวนด้วยเช่นกัน
หลังการสอบสวนโดยคณะพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ซึ่งแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 และจตุภัทร์ให้การปฏิเสธ เขาถูกนำตัวไปขังที่ สภ.น้ำพอง ตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นที่ 901/2559 แทนการขังที่ สภ.เมืองขอนแก่น ตำรวจให้เหตุผลว่าเนื่องจากคดีเกี่ยวข้องกับความมั่นคง มีความละเอียดอ่อน และมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลอื่น หากควบคุมไว้ที่ สภ.เมืองขอนแก่น อาจกระทบต่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยได้
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=2968) -
วันที่: 04-12-2016นัด: ฝากขังครั้งที่ 1พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่นยื่นคำร้องขอฝากขัง ‘ไผ่ ดาวดิน’ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 1 มีกำหนด 12 วัน คือ ในวันที่ 4-15 ธ.ค.59 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น โดยยังจะต้องสอบพยานอีก 6 ปาก และรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือ พร้อมทั้งคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูงและเกี่ยวกับความมั่นคง ละเอียดอ่อน ประกอบกับมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลอื่น หากให้ประกันตัว ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนี และอาจกระทบต่อความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย และความรุนแรงต่างๆ ขึ้นได้ ทนายผู้ต้องหาแถลงคัดค้านการฝากขัง ศาลแจ้งว่า จะอนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากเห็นว่าผู้ต้องหาจำเป็นต้องไปสอบและเรียนให้จบในปีการศึกษา 2559 นี้ โดยฝ่ายผู้ต้องหาไม่ต้องคัดค้านการฝากขัง ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และนำเงินสดวางเป็นหลักประกันจำนวน 400,000 บาท ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติมจากที่ระบุในแบบฟอร์มคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของศาล ซึ่งระบุว่า ผู้ต้องหาจะไม่หลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน รวมทั้งก่อเหตุอันตรายประการอื่น และนัดหมายให้มารายงานตัวต่อศาลอีกครั้งในวันที่ 23 ม.ค. 60 (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=2982)
-
วันที่: 06-12-2016นัด: ลงบันทึกประจำวันเรื่องโทรศัพท์‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น เพื่อให้ลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐานว่า เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตนเองถูกจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ในข้อหา หมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยการโฆษณานั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ยึดโทรศัพท์โนเกียสีดำ พร้อมซิมการ์ดไป โดยไม่มีการทำบันทึกตรวจยึดหรือระบุเป็นของกลางที่ตรวจยึดลงในบันทึกจับกุม ทำให้ตนเองเกรงว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมข้อมูล หรือกระทำการใดๆ ไปในทางมิชอบ และเกิดความเสียหาย
ทั้งนี้ จตุภัทร์เปิดเผยว่า โทรศัพท์ถูดยึดไปหลังเขาให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนักข่าว และในระหว่างเดินทางมาที่ขอนแก่น เขาได้รับอนุญาตให้รับสายหากพ่อ พี่ หรือทนายโทรเข้าไปเท่านั้น แต่ไม่ให้บอกใครว่าอยู่ที่ไหน และพอเข้าตัวเมืองขอนแก่น จนกระทั่งไปพบคณะพนักงานสอบสวนที่ศูนย์ฝึกตำรวจภูธรภาค 4 เขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับใครเลย (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3011) -
วันที่: 22-12-2016นัด: ไต่สวนคำร้องถอนประกันศาลจังหวัดขอนแก่นทำการไต่สวนคำร้องขอถอนประกันจตุภัทร์ หลังจากเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 59 พนักงานสอบสวนยื่นคำร้อง ศาลไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นการลับ ไม่อนุญาตให้ประชาชนและบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าฟัง องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย นางชนกพรรณ บุญสม, นายจักรพงศ์ นรแมนสรวง และนายชกาจ วรรณไพบูลย์ โดยไต่สวนพยานของผู้ร้องจำนวน 1 ปาก คือ พ.ต.ต.ปุณณวิศร์ ธรานันทเศรษฐ์ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น และอ้างส่งเอกสารรวมทั้งหมด 7 ฉบับ พ.ต.ต.ปุณณวิศร์ เบิกความว่า ภายหลังปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ออกจากเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา และยังโพสต์ข้อความ รวมทั้งภาพถ่ายที่แสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์อีกหลายครั้ง ซึ่งประชาชนทั่วไปที่เข้าไปดูอาจเกิดความเข้าใจผิด ประกอบกับจากทางสืบสวนของชุดสืบสวนของ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี พบว่า มีผู้ติดตามเฟซบุ๊กของผู้ต้องหากว่า 4,000 ราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อไปได้ นอกจากนี้ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งผู้ต้องหาเคยต้องหาว่ากระทำความผิดมาก่อนคดีนี้ 4 คดี หากยังคงให้ผู้ต้องหาปล่อยตัวชั่วคราวไป อาจมีการโพสต์ข้อความในลักษณะทำนองเดียวกัน และอาจก่อให้เกิดความเสียหายเช่นว่ามาอีก
ด้านผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขอถอนประกันดังกล่าวทั้งในเหตุผลข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงว่า
1. ผู้ร้องขอถอนประกันผู้ต้องหาไม่ใช่พนักงานสอบสวนในคดี และไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี ที่อาจยื่นคำร้องให้ศาลถอนประกันผู้ต้องหา อีกทั้งไม่มีเหตุอื่นตามกฎหมายที่สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งในคดีนี้ได้
2. การแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของผู้ต้องหาด้วยข้อความเต็มว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 บาท แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริงๆ #เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน” เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีที่ศาลจังหวัดพระโขนงได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้นักวิชาการใช้ตำแหน่งเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลย 3 คน ซึ่งถูกฟ้องในคดีฉีกบัตรลงคะแนนเสียงประชามติ เนื่องจากนักวิชาการคนดังกล่าวไม่ได้เป็นญาติหรือนายจ้างของจำเลยทั้งสาม ซึ่งผู้ต้องหาเห็นว่าเป็นกระบวนการที่มิชอบด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย อันบุคคลทั่วไปสามารถวิพากษ์วิจารณ์ติชมได้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเยาะเย้ยเจ้าพนักงาน
3. ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ต้องหามีประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีความมั่นคงหลายคดีนั้น คดีความดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใด ทั้งผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ ในคดีทั้งหมดผู้ต้องหากระทำตามสิทธิของพลเมืองในการต่อต้านคณะเผด็จการทหาร แต่ถูกดำเนินคดีจากการที่เจ้าหน้าที่พยายามใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดการใช้เสรีภาพของประชาชนทั้งสิ้น
4. ผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลอย่างเคร่งครัด และใช้สิทธิเสรีภาพอยู่ในกรอบของกฎหมายอันประชาชนพึงกระทำได้ตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ
ผู้ต้องหาได้แถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า เหตุที่ไม่ได้ลบข้อความบนเฟซบุ๊กที่ถูกกล่าวหาเป็นคดี เนื่องจากผู้ต้องหาประสงค์จะเก็บไว้เป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำผิด นอกจากนี้ การโพสต์ข้อความและภาพถ่ายตามที่ผู้ร้องกล่าวหา เป็นการแสดงความเห็นใจเพื่อน และเป็นการแสดงออกตามประสาวัยรุ่น ผู้ต้องหาไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น ในส่วนที่เกี่ยวกับเอกสารที่ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี ส่งให้เพิ่มเติมให้กับพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ภายหลังการไต่สวนคำร้อง ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งถอนประกันนายจตุภัทร์ รายละเอียดว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลได้มีคำสั่งกำชับให้นายประกัน ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใด ๆ หลังปล่อยชั่วคราว หากผิดนัด ผิดเงื่อนไข ศาลอาจถอนประกันและอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอีก และภายหลังปล่อยชั่วคราวได้ความจากทางไต่สวนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มที่จะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ความตามคำร้องว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับนายประกันผู้ต้องหาไม่ได้กำชับหรือดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลที่มีคำสั่งจนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา"
จากนั้น เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมตัวจตุภัทร์ไปขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น โดยไม่รอนำตัวไปพร้อมผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ที่อยู่ศาล ต่อมา ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง ระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาต้องเตรียมตัวสอบวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิชาบังคับวิชาสุดท้ายก่อนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยมีกำหนดสอบในวันที่ 17-18 ม.ค.60 ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
(อ้างอิง: คำเบิกความพยานผู้กล่าวหา พ.ต.ต.ปุณณวิศร์ ธรานันทเศรษฐ์, รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดขอนแก่น ลงวันที่ 22 ธ.ค. 59 และ http://www.tlhr2014.com/th/?p=3116)
ทั้งนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 กำหนดหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไว้ว่า “บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย” เมื่อนายจตุภัทร์ ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิต่าง ๆ และพยานหลักฐานย่อมจะต้องได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้บริสุทธิ์ รวมถึงข้อความที่ถูกกล่าวหาด้วย อีกทั้งการลบหรือไม่ลบข้อความดังกล่าวก็ไม่น่าจะเป็นสาระสำคัญของการพิจารณาเพิกถอนการประกันตัว เพราะศาลจังหวัดขอนแก่นอนุญาตให้ประกันตัวนายจตุภัทร์ โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเช่นที่ว่า การลบข้อความดังกล่าวยังเท่ากับเป็นการทำลายพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายจตุภัทร์เอง ซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เป็นธรรมตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8
นอกจากนี้ การวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใดโดยสุจริตย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพของพลเมืองที่ถูกรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญและ ICCPR การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของนายจตุภัทร์ ว่า “ผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้” จึงอาจถือเป็นการใช้ดุลพินิจจำกัดกรอบการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ถูกรับรองไว้ตามกฎหมาย อันเป็นการสร้างภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้แก่นายจตุภัทร์เกินจำเป็น ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 112 วรรคท้าย อีกทั้งคำสั่งศาลก็คลุมเครือ ไม่ระบุชัดเจนว่า เป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐอย่างไร มีองค์ประกอบอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างประจักษ์ชัดเจนคืออะไร -
วันที่: 23-12-2016นัด: ยื่นอุทธรณ์คำสั่งถอนประกันทนายความนายจตุภัทร์เข้ายื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนสัญญาประกันของศาลจังหวัดขอนแก่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น โดยให้ยกเลิกคำสั่งถอนประกันฉบับลงวันที่ 22 ธ.ค. 59, ยกเลิกหมายขังผู้ต้องหา และมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาไปในระหว่างสอบสวนตามคำสั่งและสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในวันที่ 4 ธ.ค. 59 โดยยกข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง สรุปความได้ว่า
1. ข้อวินิจฉัยของศาลจังหวัดขอนแก่นที่ว่า ผู้ต้องหามีการกระทำเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนพยานผู้ร้อง ผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามคำสั่งและเงื่อนไขข้อกำหนดในการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 59 ทุกประการ
2. กรณีที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้บนเฟสบุ๊คของผู้ต้องหานั้น เป็นการยกเหตุนอกไปจากคำร้องขอถอนประกัน และข้อวินิจฉัยที่ว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนเพราะศาลไม่เคยกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวแต่อย่างใด
3. ข้อวินิจฉัยของศาลจังหวัดขอนแก่นว่า ผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรรมในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง เป็นข้อวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เพราะพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนพยานของผู้ร้องนั้น ไม่มีประเด็นใดที่จะวินิจฉัยไปในทางนั้นได้เลย
4. นับแต่ที่ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปผู้ต้องหามิได้กระทำการใด ๆ ผิดจากข้อกำหนดและเงื่อนไขของศาลแต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ร้องขอถอนประกันนั้นเลื่อนลอยไม่มีเหตุผลและไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลก็เป็นเพียงเป็นการแสดงออกของวัยรุ่นในชีวิตประจำวัน ซึ่งพยานของผู้ร้องเองก็เบิกความชัดเจนว่า ไม่มีข้อความหรือลักษณะใด ๆ ที่เป็นการเยาะเย้ยถากถางเจ้าหน้าที่หรือเย้ยหยันอำนาจรัฐแต่อย่างใด
5. การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังจากการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่ผ่านมาไม่เคยก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด และไม่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายเลย เห็นได้จากในชั้นไต่สวน ซึ่งพยานผู้ร้องไม่ได้เบิกความและยืนยันให้ศาลเห็นว่ามีความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น และมีแนวโน้มจะเกิดขึ้น
(อ้างอิง: อุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนสัญญาประกัน ลงวันที่ 23 ธ.ค.59) -
วันที่: 27-12-2016นัด: อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4ศาลจังหวัดขอนแก่นเบิกตัวจตุภัทร์จากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นมาที่ห้องขังใต้ศาล แล้วอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ฟังด้วยวิธีประชุมทางจอภาพ (video conference) โดยศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนสัญญาประกัน มีรายละเอียดดังนี้ "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับตามทางไต่สวนของศาลชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก หากให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวในระหว่างสอบสวน คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง" (อ้างอิง: คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงวันที่ 26 ธ.ค. 59)
วันเดียวกันนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังครั้งที่ 3 ตามที่พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 59 ขอฝากขังนายจตุภัทร์ ครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.59 - 8 ม.ค.60 เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบพยานบุคคลอีก 4 ปาก และรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือ พร้อมทั้งคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง และผู้ต้องหาอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงความคิดเห็นในทางสื่อสังคมออนไลน์ (อ้างอิง: คำร้องขอฝากขังผู้ต้องหา ครั้งที่ 3 ศาลจังหวัดขอนแก่น ลงวันที่ 26 ธ.ค. 59)
ทั้งนี้ คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังครั้งที่ 3 ระบุว่า ศาลพิจารณาคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพโดยมีผู้ร้อง ผู้ต้องหา และสักขีพยานอยู่พร้อมกัน สอบถามสักขีพยานแล้ว ไม่มีเหตุอาจกระทบสิทธิผู้ต้องหา สอบถามผู้ต้องหา แถลงว่า ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว และไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ฝากขังมีกำหนด 12 วัน แต่จตุภัทร์ยืนยันว่า ศาลไม่ได้อ่านคำร้องขอฝากขังให้ฟัง และเขาไม่ได้แถลงว่า ไม่คัดค้านการฝากขังตามที่ศาลบันทึก ดังนั้น การอนุญาตฝากขังเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ -
วันที่: 28-12-2016นัด: ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทนายความยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องนี้ และมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งฝากขังลงวันที่ 27 ธ.ค. 59 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหามีสิทธิตามกฎหมายในการยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 3 และหากมีการฝากขังในครั้งถัดไป ขอศาลมีคำสั่งให้อ่านคำร้องฝากขังให้กับผู้ต้องหา ทนายความผู้ต้องหา และสักขีพยานฟังในห้องพิจารณา แทนการประชุมทางจอภาพด้วย
ต่อมา ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง รายละเอียดว่า "พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ของพนักงานสอบสวน เป็นการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นการยื่นคำร้องขอฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพียงแต่ศาลไม่ได้สอบถามผู้ต้องหาเสียก่อนว่าจะคัดค้านคำร้องฝากขังนั้นหรือไม่เท่านั้น หาทำให้การสั่งอนุญาตให้ฝากขังดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดกฎหมายไม่ ให้ยกคำร้อง ดังนั้น จึงให้เบิกตัวผู้ต้องหามาสอบถามในลักษณะการประชุมผ่านจอภาพในวันนี้ เวลา 16.30 น." จากนั้น ศาลได้ทำการประชุมทางจอภาพกับนายจตุภัทร์ ที่อยู่ในเรือนจำ โดยไม่ได้ให้ทนายผู้ต้องหาที่รออยู่ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วม
ทั้งนี้ ศาลบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาว่า "สอบผู้ต้องหาแถลงคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอฝากขังระหว่างสอบสวน เพราะไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องคุมขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน ประกอบกับผู้ต้องหาต้องการที่จะไปสอบวิชาคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันที่ 17 และ 18 ม.ค. 59 ขอให้ศาลยกคำร้องขอฝากขังของผู้ร้อง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำคัดค้านของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงและมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะควบคุมผู้ต้องหาต่อไป ในชั้นนี้จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.59 - 8 ม.ค.60"
(อ้างอิง: รายงานกระบวนพิจารณา ศาลจังหวัดขอนแก่น คดีดำที่ ฝ.2322/2559 ลงวันที่ 28 ธ.ค.59 และ http://www.tlhr2014.com/th/?p=3174)
อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 87 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญากำหนดให้ศาลพิจารณาฝากขังทุก 12 วันเพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเพื่อไม่ให้ควบคุมบุคคลไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกควบคุมตัวคัดค้านเหตุของพนักงานสอบสวนได้ การดำเนินกระบวนการฝากขังโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาคัดค้านจึงเป็นกระบวนการที่มิชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีการสอบถามผู้ต้องหาแต่คำสั่งอนุญาตคำร้องฝากขังลงวันที่ 27 ธ.ค.59 กลับระบุว่ามีการสอบถามผู้ต้องหาแล้วและผู้ต้องหาไม่คัดค้าน คำสั่งอนุญาตดังกล่าวจึงพิจารณาบนฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ต้องหา แม้จะมีการไต่สวนเพื่อสอบถามผู้ต้องหาอีกครั้งในวันที่ 28 ธ.ค.59 ก็ไม่ทำให้สิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วชอบกฎหมายขึ้นมาในภายหลังได้ -
วันที่: 29-12-2016นัด: ฎีกาคำสั่งถอนประกันและยื่นประกันครั้งที่ 2ทนายความยื่นฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 และอนุญาตให้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปในระหว่างสอบสวน ตามคำสั่งและสัญญาประกันฉบับลงวันที่ 4 ธ.ค. 59 โดยยกหลักการสันนิษฐานว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย และเสรีภาพในการแสดงออก ตามที่รับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และ ICCPR ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีผลผูกพันสถาบันของรัฐ รวมถึงศาล ให้ต้องปฏิบัติตาม บังคับใช้ และการตีความกฎหมายทั้งปวงให้เป็นไปตามกติกาดังกล่าว โดยที่คดีนี้แม้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง แต่ก็เป็นคดีที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันผู้ต้องหาและศาลมีคำสั่งถอนประกันผู้ต้องหา ก็เนื่องจากผู้ต้องหาได้แสดงออกทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งเป็นการแสดงออกตามเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศดังกล่าวแล้ว (อ้างอิง: ฎีกาคำสั่งเพิกถอนสัญญาประกันตัว คดีดำที่ ฝ.2322/2559 ลงวันที่ 29 ธ.ค.59)
อย่างไรก็ตาม ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจตุภัทร์ ระบุเหตุผลว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวยืนตามคำร้องของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวใหม่ จึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของผู้ต้องหา
วันเดียวกัน ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ ระบุเหตุผลที่ต้องเตรียมตัวสอบในวันที่ 17 – 18 ม.ค. 60 อีกทั้งผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี และมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผู้ต้องหาไม่ได้ยุ่งเหยิงต่อพยานหลักฐาน การควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้จะกระทบสิทธิและส่งผลต่ออนาคตทางการศึกษาของผู้ต้องหาอย่างร้ายแรง ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจาก พิเคราะห์แล้วเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาโดยให้เหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้วว่า หากให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล ตามคำสั่งคำร้องที่ 901/2559 ลงวันที่ 26 ธ.ค.59 กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn4) -
วันที่: 30-12-2016นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เพื่อคัดค้านคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลจังหวัดขอนแก่น โดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ของผู้ต้องหา และมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป ตามคำสั่งและสัญญาประกันฉบับลงวันที่ 4 ธ.ค.59 ทั้งนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งส่งศาลฎีกาพิจารณาโดยเร็ว (อ้างอิง: อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีดำที่ ฝ.2322/2559 ลงวันที่ 30 ธ.ค.59 และ http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn4)
-
วันที่: 06-01-2017นัด: อ่านคำสั่งศาลฎีกาและไต่สวนคำร้องฝากขังครั้งที่ 4ศาลจังหวัดขอนแก่นเบิกตัวจตุภัทร์จากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นมายังศาลจังหวัดขอนแก่น หน้าห้องพิจารณาคดีแขวนป้าย ‘พิจารณาลับ’ ทนายความผู้ต้องหาจึงยื่นคำร้องคัดค้านกระบวนพิจารณาลับ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา การพิจารณาคดีต้องกระทำโดยเปิดเผย อีกทั้งเนื้อหาในการพิจารณาครั้งนี้เป็นเพียงประเด็นเรื่องการฝากขัง และความจำเป็นที่ต้องควบคุมไว้หรือไม่ ไม่ได้พาดพิงประเด็นแห่งคดี อย่างไรก็ตาม ศาลมีคำสั่งยืนยันคำสั่งเดิม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 , 15
จากนั้น ศาลได้อ่านคำสั่งศาลฎีกา ลงวันที่ 4 ม.ค. 60 ซึ่งยกคำร้องของผู้ต้องหา เนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 199 ทวิ รายละเอียดดังนี้ "พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวในระหว่างสอบสวน ต่อมา ผู้ต้องหากระทำผิดเงื่อนไขของศาลชั้นต้นในการปล่อยชั่วคราว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน เมื่อผู้ต้องหาอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวในระหว่างสอบสวน และเห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องนั้น การที่ผู้ต้องหาฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวนนั้น ถือได้ว่าผู้ต้องหามีความมุ่งหมายขอให้ศาลฎีกาทบทวนคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาอีกครั้ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 ทวิ ยกคำร้อง"
ต่อมา ศาลไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 4 พนักงานสอบสวน ผู้ร้องแถลงว่า เนื่องจากต้องสอบสวนพยานบุคคลอีก 5 ปาก และเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนยังสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงต่อเนื่องไม่เสร็จสิ้น อีกทั้งในครั้งก่อนที่ผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหายังมีการเคลื่อนไหวในพฤติการณ์ทำนองเดิม และอาจเป็นอุปสรรคในการสอบสวน นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง มีอัตราโทษสูง เกรงว่า ผู้ต้องหาจะหลบหนี และไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
ด้านทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 4 ประกอบการไต่สวนด้วย โดยระบุว่า ไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ระหว่างการสอบสวน เนื่องจากผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ที่พนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา โดยอ้างว่าเกี่ยวกับคดีความมั่นคง แต่คดีความผิดเช่นเดียวกันนี้ศาลก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้หลายกรณี ส่วนที่อ้างว่าผู้ต้องหายังแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ และไม่มีการแสดงความเห็นอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดซ้ำอีก ทั้งไม่ได้ก่อความเสียหายต่อสาธารณะหรือต่อสังคม ที่สำคัญ ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย มีกำหนดจะสอบปลายภาควิชาสุดท้ายเพื่อสำเร็จการศึกษา จตุภัทร์ยังได้แถลงว่า ผู้ต้องหายังคงเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา ศาลยังไม่ได้พิพากษาว่ากระทำผิด จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หลังเสร็จสิ้นการไต่สวนคำร้องฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตฝากขัง 12 วัน ตามที่พนักงานสอบสวนขอ เนื่องจากการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แต่กำชับให้เร่งสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผลของคำสั่งอนุญาตฝากขัง ทำให้จตุภัทร์จะไม่สามารถไปสอบในวันที่ 17-18 ม.ค. 60 ได้ ทนายความและครอบครัวจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง โดยวางหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 500,000 บาท อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีคำสั่งว่า ไม่ปรากฏเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมของศาลอุทธรณ์ภาค 4 (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3233)
การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นดุลพินิจของศาล ที่จะต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยหลักจะต้องอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่นน่าเชื่อถือเพียงพอตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น และแม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว แต่หากมีการยื่นคำร้องใหม่ ศาลจังหวัดขอนแก่นก็มีดุลพินิจที่จะพิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวอย่างเป็นอิสระ ไม่ผูกพันให้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเหมือนคำสั่งเดิมของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด ดังปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ ซึ่งบัญญัติไว้ตอนท้ายว่า คําสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคําร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่ ซึ่งหากกฎหมายรับรองสิทธิในการยื่นประกันคราวใหม่ แต่ศาลยังยึดถือคำสั่งเดิมที่ได้เคยสั่งไว้แล้ว โดยไม่ได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลใหม่ ก็จะทำให้สิทธิของผู้ต้องหาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไม่มีผลในทางปฏิบัติ -
วันที่: 13-01-2017นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 4ทนายความเข้ายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์อีกเป็นครั้งที่ 4 หลังศาลมีคำสั่งถอนประกัน โดยชี้เหตุผลความจำเป็นเรื่องการสอบ รวมทั้งได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ชั่วคราว ไม่ให้คนทั่วไปเห็นข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีในระหว่างพิจารณาของศาล เพื่อให้กระบวนการพิจารณาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยที่ผู้ต้องหาไม่กลายเป็นฝ่าย “ทำลาย” พยานหลักฐาน อย่างไรก็ตาม หลังการพิจารณาคำร้องของผู้พิพากษาเวรชี้ นายรุ่งอรุณ ชนะวีรวรรณ เป็นเวลากว่า 1 ชม. ผู้พิพากษามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมาแล้ว ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ส่งผลให้ความพยายามของครอบครัวและทนายความในการขอประกันตัวให้จตุภัทร์ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้ายเพื่อจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีในวันที่ 17-18 ม.ค.60 ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
นอกจากการยื่นประกันตัวแล้ว กลุ่มพลเมืองโต้กลับมีกิจกรรม “หอบรักมาห่มไผ่ รถไฟช้ามาหานะเธอ” นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ มาเยี่ยมและให้กำลังใจ ‘ไผ่’ ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น พบว่า มีกำลังเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบประมาณ 20 นาย ไปรอสังเกตการณ์และถ่ายรูปที่สถานีรถไฟขอนแก่น และติดตามไปที่ทัณฑสถานฯ นอกจากนี้ มีกำลังสารวัตรทหารจากมณฑลทหารบกที่ 23 กว่า 10 นาย นำโดย พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี รองหัวหน้ากองยุทธการ มาเฝ้าสังเกตการณ์บริเวณด้านหน้าทัณฑสถานฯ ด้วย
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3247) -
วันที่: 16-01-2017นัด: ยื่นคำร้องขอออกจากเรือนจำไปสอบทนายความเข้ายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นขออนุญาตออกจากเรือนจำเพื่อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามที่จตุภัทร์มีกำหนดสอบในวันที่ 17-18 ม.ค.60 ระบุเหตุผลว่า หากผู้ต้องหาไม่ได้เข้าสอบวิชาคอมพิวเตอร์ซึ่งได้ลงทะเบียนสอบไว้แล้ว จะส่งผลกระทบต่ออนาคตการศึกษา และทำให้ผู้ต้องหายังไม่สามารถจบปริญญาตรีได้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้แจ้งให้ทราบว่าไม่สามารถดำเนินการนำตัวผู้ต้องหาออกไปสอบภายนอกเรือนจำได้ เว้นแต่ศาลอนุญาต
โดยศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับไม่มีเหตุตามกฎหมาย ให้ผู้ต้องหายื่นเรื่องกับผู้บัญชาการเรือนจำเอง
นอกจากนี้ นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาและนายประกันของจตุภัทร์ ได้ขอถอนเงินประกันจำนวน 400,000 บาท คืนจากศาล นายวิบูลย์เปิดเผยเหตุผลที่ถอนเงินประกัน เนื่องจากไผ่บอกว่า จากที่เรายื่นหลายๆ ครั้งมาแล้ว และศาลไม่ให้ประกัน เหตุผลของศาล ไม่ใช่เรื่องปกติของกระบวนการยุติธรรม ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องยุ่งเรื่องขอประกันอีก การที่ทำอย่างนี้ไม่ได้แปลว่าเขายอมแพ้ เราก็ยังต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมตามสิทธิของเราที่พึงมี
ทั้งนี้ การยื่นคำร้องขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมตัวจตุภัทร์ไปสอบที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากครอบครัวและทนายความพยายามดำเนินการเพื่อให้จตุภัทร์ได้ออกมาเตรียมตัวสอบในวิชาดังกล่าว โดยการคัดค้านการฝากขัง 2 ครั้ง และยื่นประกันตัว 4 ครั้ง ซึ่งอ้างเหตุจำเป็นในการเตรียมตัวและไปสอบดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล โดยศาลอ้างเหตุผลซ้ำๆ ว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3269)
-
วันที่: 20-01-2017นัด: ไต่สวนคำร้องฝากขังครั้งที่ 5ศาลเบิกตัวนายจตุภัทร์มาศาล ก่อนเริ่มการไต่สวน ศาลได้มีคำสั่งพิจารณาคดีเป็นการลับ โดยขอให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องพิจารณา ยกเว้นตัวผู้ต้องหา บิดามารดา และทนายความ ทนายความจึงแถลงว่า ผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านการพิจารณาลับ เนื่องจากไม่ได้เป็นกรณีที่เป็นเนื้อหาคดี การพิจารณาโดยเปิดเผยจะเป็นหลักประกันเสรีภาพของผู้ต้องหา ศาลขอพักการพิจารณาเพื่อไปปรึกษาผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ราว 5 นาที ก่อนจะกลับมายืนยันคำสั่งพิจารณาคดีลับ โดยชี้แจงว่าเนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และเป็นคดีที่มีโทษสูง จึงจำเป็นต้องสั่งพิจารณาลับ อีกทั้ง ศาลดำเนินการไต่สวนตามคำร้อง และพิจารณาตามหลักฐาน แม้จะพิจารณาลับ ศาลก็ยังให้สิทธิความเท่าเทียม พิจารณาตามหลักฐาน ไม่ได้กระทบสิทธิหรือเป็นโทษต่อผู้ต้องหา ทั้งได้ให้บิดามารดาเข้าร่วมการพิจารณา และให้มีทนายความเต็มที่ โดยที่คำสั่งศาล ทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบได้ ศาลจึงยืนยันตามคำสั่งเดิม
ขณะที่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ผู้ต้องหา ได้แถลงต่อศาลว่าเมื่อศาลสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ตนจึงขอไม่ให้มีทนายความอยู่ในห้องพิจารณา เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีทนายความ ตนก็ไม่ได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องการให้มารองรับกระบวนการที่ไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องเช่นนี้ และยืนยันว่าจะไม่ลงนามในเอกสารใดๆ ในกระบวนการวันนี้ จากนั้นทีมทนายความจึงได้ออกจากห้องพิจารณาตามความตั้งใจของผู้ต้องหา และศาลให้เริ่มการไต่สวนฝากขัง โดยมีเพียงบิดาของผู้ต้องหาอยู่ในห้องพิจารณา
ตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.- 1 ก.พ.60 ระบุว่าจากการประชุมสรุปพยานหลักฐานของหัวหน้าพนักงานสอบสวนตามคำสั่งของตำรวจภูธรภาค 4 พบว่ายังมีพยานหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ต้องทำการสอบสวนเพิ่มเติม เช่น พยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิสูจน์ความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และพยานจับกุม
หลังไต่สวนคำร้องแล้วเสร็จ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาต่อไปอีก 12 วัน โดยเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 10 ปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอฝากขังได้อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคหก อีกทั้งคดีนี้ ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความลงในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ร้องย่อมต้องใช้เวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทุกชนิด เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหา เมื่อผู้ร้องยืนยันว่ายังสอบสวนไม่เสร็จ อีกทั้งยังต้องส่งเสนอสำนวนต่อคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของตำรวจภูธรภาค 4 และยังต้องนำเสนอสำนวนไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อมีความเห็นทางคดีต่อไป จึงมีเหตุจำเป็นที่ผู้ร้องต้องฝากขังต่อไป
ศาลยังได้สอบถามทนายความให้ลงลายมือชื่อในกระบวนการพิจารณา แต่ทนายความได้ระบุว่าไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เพราะได้เดินออกมาจากห้องพิจารณาแล้ว ไม่ได้รับทราบกระบวนการพิจารณาที่เกิดขึ้น จึงไม่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรองรับได้ ทางผู้ต้องหาเองก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อในกระบวนการพิจารณาเช่นกัน
สำหรับบรรยากาศที่ศาลจังหวัดขอนแก่นวันนี้ มีนักกิจกรรม นักศึกษา และอาจารย์ มาให้กำลังใจนายจตุภัทร์ที่ศาล ราว 40 คน อาทิเช่นสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนและปัญญาชนสาธารณะ, ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักกิจกรรมกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีเจ้าหน้าที่ทหารมาสังเกตการณ์โดยรอบศาล นำโดยพ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี สังกัดกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นนายทหารที่เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีนี้กับนายจตุภัทร์ด้วย (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3323) -
วันที่: 01-02-2017นัด: ไต่สวนคำร้องฝากขังครั้งที่ 6ศาลจังหวัดขอนแก่นไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 6 ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ตามที่ พ.ต.ท.จิรัฐเกียรติ สอนวิเศษ สารวัตร (สอบสวน) สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น ยื่นคำร้องขอฝากขังจตุภัทร์ ไว้ในระหว่างสอบสวนต่อไปอีก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 - 13 ก.พ.60
มีประชาชนผู้สนใจเดินทางมาร่วมรับฟังการไต่สวนประมาณ 100 คน โดยที่หน้าห้องพิจารณา 2 แขวนป้าย “พิจารณาลับ” และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า แต่ทนายแจ้งว่า ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการพิจารณาลับไว้ ซึ่งศาลยังไม่มีคำสั่ง ประชาชนก็ควรเข้าห้องพิจารณาได้ หากศาลมีคำสั่งทุกคนก็พร้อมที่จะออกจากห้อง
เวลา 09.45 น. จตุภัทร์ถูกนำตัวมาห้องพิจารณา ขณะผู้พิพากษายังไม่ออกนั่งบัลลังก์ ประชาชนทยอยเข้านั่งในห้องพิจารณามากขึ้น ตำรวจศาลจึงเข้ามานำตัวจตุภัทร์ออกไปแจ้งว่า ผู้พิพากษาต้องการพบ ต่อมา นายสมิต ประสมทอง และนางสาวณิศรา ชุบขุนทด ผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังก์ และมีคำสั่งต่อคำร้องคัดค้านการพิจารณาลับว่า ยืนยันพิจารณาลับ เพื่อความสงบเรียบร้อย นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา แถลงขอให้ศาลอธิบายเหตุผล ศาลยืนยันเพียงว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทนายแถลงค้านว่า การไต่สวนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง นอกจากเรื่องความจำเป็นในการฝากขัง ยิ่งศาลสั่งพิจารณาลับจะยิ่งเพิ่มความขัดแย้ง ประชาชนที่มาศาลต้องการมาเห็นกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ถ้าพิจารณาโดยเปิดเผย ประชาชนก็สบายใจ และยอมรับคำตัดสินของศาล สุดท้าย ศาลยังยืนยันให้พิจารณาเป็นการลับ ทนายจึงแถลงให้นำตัวจตุภัทร์มาห้องพิจารณาฟังคำสั่งด้วย และขอเวลาให้จตุภัทร์ได้ทักทายกับเพื่อนและประชาชนที่มารอรับฟังการไต่สวนในห้องพิจารณา ก่อนที่จะให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้อง ศาลอนุญาต โดยให้เวลา 5 นาที
ขณะที่จตุภัทร์ถูกนำตัวจากห้องขังใต้ศาลกลับมายังห้องพิจารณาและพูดคุยกับเพื่อนๆ ในห้องพิจารณาอยู่นั้น แม่ของจตุภัทร์ ได้ลุกขึ้นแถลงต่อศาลว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองสิทธิของผู้ถูกจับกุมว่า ต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ไผ่เองก็ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกขังมา 42 วัน แล้ว ถ้าไม่มีความเป็นธรรมให้ แม่ก็ขอทำบางอย่างเพื่อลูก จากนั้นจึงร้องไห้พร้อมทั้งพุ่งตัวเอาศีรษะเข้ากระแทกผนังคอนกรีตของห้องพิจารณา แต่มีประชาชนที่อยู่ในห้องเข้าไปกอดและพาออกไปจากห้องพิจารณา
ในห้องพิจารณาที่เหลือเพียงจตุภัทร์ พ่อ และทนายความ จตุภัทร์แถลงต่อศาลว่า ถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นแบบนี้ และในเมื่อเขาไม่มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เขาก็ไม่ขอให้ทนายความ รวมทั้งพ่ออยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วย เขาขอต่อสู้คดีเพียงลำพัง ทำให้การไต่สวนฝากขังในครั้งนี้ มีเพียงพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ร้อง และจตุภัทร์ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาเท่านั้น
ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตฝากขัง โดยระบุว่า คดีนี้เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยผู้ร้องยืนยันว่า พบพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งต้องรอผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานดังกล่าวจากกองพิสูจน์หลักฐาน และอยู่ในระหว่างการเสนอสำนวนการสอบสวนให้สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาและมีความเห็นทางคดี กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่ผู้ร้องต้องฝากขังต่อไป ข้อคัดค้านของผู้ต้องหาฟังไม่ขึ้น อย่างไรก็ตาม ศาลได้กำชับผู้ร้องแล้ว 2 ครั้ง ให้เร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จ แต่การสอบสวนก็ยังไม่แล้วเสร็จ จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหามีกำหนด 10 วัน และกำชับผู้ร้องให้เร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดที่ศาลอนุญาต โดยจตุภัทร์ปฏิเสธไม่ลงลายมือชื่อในคำให้การของพนักงานสอบสวนและรายงานกระบวนพิจารณาในครั้งนี้
ทั้งนี้ ในการขอฝากขังครั้งที่ 6 นี้ พนักงานสอบสวนให้เหตุผลว่า คดีนี้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของตำรวจภูธรภาค 4 ได้พิจารณามีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินัดพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 2 ก.พ.60 นอกจากนี้ เนื่องจากได้พบหลักฐานใหม่ เป็นแผ่นซีดีบันทึกวิดีโอในโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงได้ส่งวัตถุพยานดังกล่าวให้กองพิสูจน์หลักฐานกลางทำการตรวจอยู่ จึงจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาต่อไปอีก 12 วัน
จตุภัทร์ได้ซักค้านพนักงานสอบสวนว่า หากไม่ขอฝากขังผู้ต้องหาในครั้งนี้จะมีผลต่อการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาหรือไม่ ซึ่ง พ.ต.ท.จิรัฐเกียรติตอบว่า ไม่สามารถยืนยันได้ เพราะไม่แน่ใจว่าทางคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นฯ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะสั่งให้สอบสวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
ก่อนหน้านี้ ทนายความของผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยระบุว่า ไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้ระหว่างการสอบสวน เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้มีพฤติการณ์ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และไม่มีพฤติการณ์ใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและการฟ้องคดีแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ต้องหายังเป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย และมีความจำเป็นต้องศึกษาต่อให้จบ การขังผู้ต้องหาต่อไปจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและตัดโอกาสทางการศึกษา ทำให้ผู้ต้องหาต้องได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งที่ผู้ต้องหาเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น ซึ่งในทางกฎหมายผู้ต้องหาต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์กระทำความผิดที่เป็นอาชญากรก่อให้เกิดภยันตรายต่อผู้อื่นและสังคม จึงไม่จำเป็นต้องเอาตัวผู้ต้องหาไว้ในอำนาจศาลแต่อย่างใด
หลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังอีก 10 วัน และจากเหตุการณ์ในห้องพิจารณาคดีในช่วงเช้าที่แม่ของจตุภัทร์เรียกร้องความเป็นธรรมให้ลูก ทนายความจึงตัดสินใจยื่นคำร้องขอประกันตัวอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 5 หลังถูกถอนประกันเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.59 โดยใช้เงินสด 400,000 บาท วางเป็นหลักประกัน ทนายความได้แสดงเหตุผลในคำร้องขอประกันตัวว่า ตามคำให้การของพนักงานสอบสวนชั้นไต่สวนขอฝากขัง พนักงานสอบสวนได้ระบุว่า การสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอสำนวนให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ผู้ต้องหาจึงไม่สามารถไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานซึ่งรวบรวมอยู่ในสำนวนครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ เมื่อผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวในคดีนี้ก่อนหน้านี้ และในคดีของศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ก็ไม่มีข้อเท็จจริงว่า ผู้ต้องหาได้ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือหลบหนี หรือก่อเหตุอันตรายใดๆ อีกทั้งผู้ต้องหามีภาระต้องไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้คดีเกี่ยวกับความมั่นคง อันเนื่องจากการแสดงความเห็นโดยสุจริตอีก 2 คดี ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 และศาลจังหวัดภูเขียว รวมทั้ง ผู้ต้องหาจำเป็นต้องไปประสานงานกับมหาวิทยาลัยเพื่อขอสอบวิชาคอมพิวเตอร์ อันเป็นวิชาสุดท้าย ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมายังไม่สามารถจัดสอบในเรือนจำให้แก่ผู้ต้องหาได้
หลังยื่นคำร้องเกือบสองชั่วโมง ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยระบุว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แล้ว ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง ทำให้จตุภัทร์ ซึ่งจนถึงวันที่ 1 ก.พ.นี้ ถูกขังมาแล้ว 42 วัน จะถูกขังในระหว่างสอบสวนต่อไปอีก 10 วัน จนถึงวันที่ 11 ก.พ.60 หลังจากนั้น เมื่อครบกำหนดตามที่ศาลอนุญาต พนักงานสอบสวน หรืออัยการจะขอฝากครั้งได้อีก 14 วัน หากอัยการส่งฟ้องต่อศาล ศาลจะออกหมายขังไว้ในระหว่างพิจารณาคดี จนกว่าจะพิจารณาคดีเสร็จ หากอัยการยังไม่สามารถส่งฟ้องต่อศาลได้ ต้องปล่อยตัวไป โดยไม่ต้องประกัน
ทั้งนี้ ก่อนการไต่สวนฝากขังในช่วงเช้า ทนายความได้แจ้งเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ว่า ขออนุญาตพบหัวหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับคดีของจตุภัทร์ แต่หัวหน้าศาลไม่อนุญาตให้เข้าพบ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จตุภัทร์จะขอให้ทนายออกจากห้องพิจารณา ทนายความได้แถลงต่อศาลว่า ก่อนหน้านี้ ผู้ต้องหามีนัดพิจารณาคดีที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 และศาลจังหวัดภูเขียว โดยศาลทั้งสองแห่งได้ทำหนังสือขอให้ส่งตัวผู้ต้องหาในคดีนี้ไป แต่หัวหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นไม่อนุญาต ซึ่งมีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีในคดีอื่นๆ ของผู้ต้องหา จึงขอให้ศาลส่งตัวผู้ต้องหาไปตามที่ศาลทั้งสองขอมา แต่ศาลชี้แจงว่า ต้องให้คดีนี้พิจารณาให้เสร็จก่อนจึงจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยไปเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีในคดีอื่นๆ หากศาลอื่นมีหนังสือขอมา ศาลจังหวัดขอนแก่นก็จะไม่ส่งตัวไปเช่นเดิม
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3416) -
วันที่: 09-02-2017นัด: ยื่นฟ้องนายสายัน จันทะรัง พนักงานอัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดขอนแก่น โดยศาลรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 301/2560 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ 14 (3) ทั้งนี้ คำฟ้องของอัยการยังคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย โดยระบุว่าเนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่รักยิ่งและเทิดทูนของประชาชนชาวไทย และเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3466) -
วันที่: 10-02-2017นัด: สอบคำให้การเวลาประมาณ 10.00 น. จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ถูกนำตัวจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นมายังศาลจังหวัดขอนแก่น โดยเจ้าหน้าที่นำตัวเข้าทางด้านหลังของศาล ท่ามกลางนักกิจกรรม นักศึกษา และประชาชนที่มาให้กำลังใจ ราว 200 คน ที่รออยู่ด้านหน้าศาล ในบริเวณศาล ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบอย่างน้อย 6 นาย และนอกเครื่องแบบอีกมากกว่า 10 นาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกจำนวนหนึ่ง
ขณะที่ด้านหน้าห้องพิจารณาคดีนี้ของศาล เจ้าหน้าที่ก็ได้มีการติดป้าย “พิจารณาลับ” เอาไว้ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ มีนางพัชรินทร์ ศรีแสนยง และนายวิเนตร มาดี เป็นผู้พิพากษานั่งบัลลังก์ โดยหลังจากสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้ฝ่ายจำเลยแล้ว (โดยไม่ได้อ่านฟ้องให้จำเลยฟัง) ศาลได้ถามคำให้การของจำเลย นายจตุภัทร์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงได้กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในคดี วันที่ 21 มี.ค. 2560 เวลา 9.00 น.
หลังจากการพิจารณาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวนายจตุภัทร์ลงมาใต้ถุนศาล ก่อนที่เวลาประมาณ 10.40 น. เจ้าหน้าที่จะนำตัวนายจตุภัทร์ออกจากศาลกลับไปยังเรือนจำเพียงลำพังโดยทันที ทั้งที่โดยปกติ ผู้ต้องขังที่มาศาลจะถูกนำตัวกลับเรือนจำพร้อมๆ กันโดยรถของเรือนจำในช่วงเย็น ทำให้เพื่อนนักกิจกรรมและนักศึกษาที่มาให้กำลังใจที่ศาลหลายคนไม่ได้พบนายจตุภัทร์ในวันนี้
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3466) -
วันที่: 22-02-2017นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 6ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หลังอัยการจังหวัดขอนแก่นสั่งฟ้อง เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา นับเป็นการยื่นประกันครั้งที่ 6 หลังถูกถอนประกัน และถูกขังมาแล้ว 62 วัน โดยการยื่นประกันครั้งนี้ ทนายได้เพิ่มหลักประกันจากเดิม 400,000 บาท เป็น 700,000 บาท และมีนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนและนักวิชาการอิสระ เป็นนายประกันร่วมกับนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดา พร้อมทั้งมี ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, รศ.ดร.โคทม อารียา ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำหนังสือรับรองกรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย
ต่อมา นายเกษม ศุภสิทธิ์ ผู้พิพากษาเวรชี้ มีคำสั่งไม่อนุญาต โดยระบุว่า “พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง คืนหลักประกัน”
ทั้งนี้ คำร้องประกอบขอปล่อยตัวชั่วคราว ทนายได้ยื่นเหตุผลในการขอปล่อยชั่วคราว ระบุว่า ตามที่โจทก์คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย เนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่รักยิ่งและเทิดทูนของประชาชนชาวไทย และเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี โจทก์กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย ไม่มีเหตุผล เพราะเดิมที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 4-22 ธ.ค.59 นั้น จำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีเลย แต่ให้ความร่วมมือมาศาลตามคำสั่ง ในคดีความมั่นคงอีกคดีหนึ่งที่จำเลยถูกดำเนินคดีในศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 59 ก็ไม่มีข้อเท็จจริงว่า จำเลยไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือหลบหนี หรือก่อให้เกิดเหตุร้ายอันตรายใดๆทั้งสิ้น
จำเลยยังคงเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีว่ากระทำความผิดในฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาเท่านั้น ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้มีความผิด ซึ่งในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย” ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้รับรองสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ตลอดมา เป็นหลักประกันความยุติธรรม มิเช่นนั้นหากขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาไว้ก่อนเสมออาจถือเป็นการลงโทษจำเลยล่วงหน้า
หลังศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ทนายความให้ความเห็นว่า กรณีของไผ่ ครูบาอาจารย์ ผู้มีผลงานในด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลาช้านาน เช่น อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็มาช่วยยื่นประกันตัว และเพิ่มวงเงินจากที่เคยยื่นไว้ อาจารย์เอกชัย อ.โคทม และ หมอนิรันดร์ ซึ่งไม่สะดวกมา ก็ยังช่วยทำหนังสือ มายืนยันว่าไผ่เคยทำงานด้านสิทธิมนุษยชนช่วยเหลือคนยากคนจน ไม่มีพฤติกรรมทางการหลบแน่และเชื่อแน่ว่าจะไม่หลบหนี แต่ผลออกมาก็ยังเป็นเหมือนครั้งก่อนๆ ที่เคยยื่นไป ที่ศาลท่านก็ให้เหตุผลอย่างกว้างๆว่า ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ซึ่งก็เห็นต่างจากเราก็คือ เรามองว่าเหตุมันก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะคดีมันก็ได้คืบหน้าไป รวมทั้งข้อที่กังวลว่าอาจจะมีการหลบหนีหากให้ประกันตัว อาจารย์ทั้งสี่ท่านที่สังคมเชื่อถือ ก็มาให้การรับรอง เราก็เพียงแต่หวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะเปิดโอกาสให้ เพราะฉะนั้นเราตัดสินใจขอยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลในกรณีนี้ต่อไป ทางเรามองว่า การต่อสู้คดีในขณะที่ยังถูกคุมขังมันยาก ทั้งในแง่การปรึกษาหารือ การรวบรวมพยานหลักฐาน แทนที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มันก็จะลดทอนความน่าเชื่อถือลง ทั้งยังกระทบในคดีอื่นด้วย
ขณะที่จตุภัทร์สะท้อนความรู้สึกผ่านทนายความว่า เขาจะสู้คดีอย่างไร 3 คดี ในเมื่อถูกขังอย่างนี้ เขาพยายามต่อสู้อย่างเต็มที่โดยใช้กระบวนการกฎหมาย แต่นี่ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย เป็นกระบวนการแห่งการใช้อำนาจ ศาลและผู้ปกครองใช้อำนาจโดยไร้หัวใจ
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3530) -
วันที่: 27-02-2017นัด: ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันทนายความเข้ายื่นอุทธรณ์ถึงศาลอุทธรณ์ภาค 4 คัดค้านคำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นลงวันที่ 22 ก.พ.60 ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น และอนุญาตให้จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี ต่อมา ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ดังกล่าวเพื่อส่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ในอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่ให้ประกันจตุภัทร์ของศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ทนายยื่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ระบุเหตุผลโดยสรุป ดังนี้
1. ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งว่าไม่มีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากขณะนี้กระบวนการสอบสวนสิ้นสุดแล้ว อีกทั้งคำสั่งถอนประกันของศาลจังหวัดขอนแก่นที่ว่าการกระทำของจำเลยได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออุปสรรคในการสอบสวนนั้น ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ เหตุในการที่โจทก์คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยนั้น ไม่ได้ระบุว่า เกรงว่าจำเลยจะไปก่อความเสียหายหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ดังนั้น คำสั่งถอนประกัน และคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนของศาลชั้นต้น จึงไม่อาจนำมาใช้เป็นเหตุสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นพิจารณานี้ได้อีก หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปล่อยให้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเหตุผลของศาลชั้นต้นเช่นนี้ เท่ากับเป็นการตัดสินลงโทษจำเลยล่วงหน้าสำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิด
2. ในการขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ เป็นครั้งแรกนับแต่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย กรณีจึงมีเหตุเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากจำเลยต้องรวบรวมพยานหลักฐาน หารือทนายความ เพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ อีกทั้งพยานหลักฐานทั้งหมดอยู่กับโจทก์ครบถ้วนแล้ว ประกอบกับคดีนี้ทั้งพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและหลักฐานก็เป็นหลักฐานทางเทคโนโลยี ซึ่งจำเลยไม่สามารถไปยุ่งเหยิงหรือมีอิทธิพลเหนือพยานหลักฐานของโจทก์ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ จำเลยยังถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง อันเนื่องจากแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตอีก 2 คดี ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 และที่ศาลจังหวัดภูเขียว ซึ่งศาลทั้งสองได้มีหนังสือแจ้งวันนัดสืบพยานมายังศาลนี้เพื่อขอเบิกตัวจำเลยไปตามวันนัดแล้ว แต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งว่าให้ดำเนินคดีนี้เสร็จสิ้นก่อน ซึ่งหากจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีนี้ก็จะไม่มีโอกาสไปดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้คดีทั้งสองดังกล่าวรวมทั้งคดีนี้ได้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีทั้งหมดแล้ว ยังทำให้การพิจารณาคดีอีกสองคดีดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป ส่งผลร้ายต่อจำเลยอื่นในคดีดังกล่าวด้วย
3. ศาลจังหวัดขอนแก่นได้อนุญาตปล่อยชั่วคราวครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.59 โดยพิจารณาแล้วว่าจำเลยจะไม่หลบหนี ภายหลังได้รับการปล่อยชั่วคราวจำเลยก็ไม่ได้หลบหนี และในการขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ จำเลยมีนายประกันและหลักทรัพย์ประกันเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าเชื่อถือว่าจำเลยจะไม่หลบหนี
4. คำสั่งของศาลชั้นต้นกระทบกระเทือนถึงหลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมุ่งจะให้โอกาสจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด คดีนี้แม้จะเป็นคดีที่เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง แต่พฤติการณ์ของจำเลยไม่ได้ร้ายแรง จำเลยเพียงแชร์ข่าวจากเว็บไซต์ข่าวบีบีซีไทย ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือ อีกทั้งมีบุคคลอื่นๆ ได้แชร์ข่าวดังกล่าวไปประมาณ 2,800 ครั้ง จำเลยไม่ได้คิดและเขียนข้อความขึ้นด้วยตนเอง และไม่ได้แสดงความคิดเห็นอันเป็นการแสดงออกว่า ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ฯ แต่อย่างใด ซึ่งหากอาศัยเพียงข้อหาความมั่นคงอันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มาเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย คงไม่เป็นธรรม เนื่องจากจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จำเลยในคดีอื่นซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันนี้หรือในข้อหาร้ายแรงอื่นๆ ก็ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ ทั้งคดีนี้ศาลก็ได้เคยปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นฝากขังมาก่อนแล้ว
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3573) -
วันที่: 01-03-2017นัด: ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ถูกเบิกตัวจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นมาที่ศาลจังหวัดขอนแก่น เพื่อฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 หลังจากทนายความยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นลงวันที่ 22 ก.พ.60 ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวจตุภัทร์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน และขบวนการประชาธิปไตยใหม่ จำเลยในคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีแชร์ข่าว “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย” จากเว็บข่าว BBC Thai
ที่ห้องพิจารณา 4 ซึ่งไม่แขวนป้าย “พิจารณาลับ” เช่นทุกครั้ง นายจักรพงษ์ นรแมนสรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยืนตามศาลชั้นต้น ไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว มีรายละเอียดดังนี้ "พิเคราะห์แล้ว คดีมีอัตราโทษสูงและเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ก่อนคดีนี้จำเลยถูกดำเนินคดีอาญาหมายเลขดำที่ 61/2559 ของศาลมณฑลทหารบกที่ 23 ในความผิดฐานร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้ง 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งตามคำร้องของจำเลยยังรับว่า จำเลยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคงที่ศาลจังหวัดภูเขียวอีกคดีหนึ่งด้วย จำเลยเคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างสอบสวนคดีนี้มาครั้งหนึ่ง แต่จำเลยยังคงมีพฤติกรรมแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์เป็นเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัว และต่อต้านกฎหมายบ้านเมือง จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างสอบสวน พฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่า จำเลยมีแนวโน้มที่จะกระทำซ้ำในลักษณะเช่นนี้ ซึ่งจะทำความเสียหายต่อรัฐอีก ในชั้นนี้จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ยกคำร้อง"
หลังศาลอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 เสร็จ ได้ถามจตุภัทร์ว่ามีกังวลใจอย่างไรหรือไม่ ซึ่งจตุภัทร์ได้แถลงต่อศาลว่า การที่เขาไม่ได้ประกันตัว ทำให้ไม่ได้ปรึกษาทนายเรื่องคดี ซึ่งไม่ได้มีแค่คดีเดียว มันส่งผลให้คดีอื่นล่าช้าด้วย อีกทั้งเขายังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะตัดสินว่ามีความผิด แต่เขากลับไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเหมือนคนอื่น กลับถูกขัง ทำให้เขาไม่สบายใจ เพราะไม่รู้ว่าจะถูกขังอยู่แบบนี้อีกนานแค่ไหน การปรึกษากับทนายก็ทำไม่ได้อย่างเต็มที่ จตุภัทร์แถลงอีกด้วยว่า พอศาลกังวลว่าเขาจะหลบหนี ทนายก็เอาอาจารย์หลายท่านมารับรอง และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาเป็นนายประกัน เพื่อยืนยันว่าจะไม่หนี แต่เขาก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว แล้วศาลจะให้เขาทำอย่างไร เพราะเขาก็สู้ตามกระบวนการทุกอย่างแล้ว
หลังจากนั้น ตำรวจศาลได้พยายามเร่งที่จะควบคุมตัวจตุภัทร์ออกจากห้องพิจารณา ทำให้จตุภัทร์โต้ตอบว่า ขออ่านเอกสารก่อนได้ไหม ประกันก็ไม่ได้ เวลาปรึกษาทนายก็ไม่มี แล้วยังจะเร่งอีก ซึ่งศาลก็บอกตำรวจศาลว่า ให้เวลาจตุภัทร์ได้ปรึกษาทนายก่อน ทั้งนี้ ก่อนถูกควบคุมตัวออกไป จตุภัทร์ได้สะท้อนความรู้สึกมากับทนายความว่า "ไม่แฟร์กับผมไม่เป็นไร แต่แฟร์กับคดีของผมหน่อย"
**จตุภัทร์ถูกตำรวจศาลเร่งควบคุมตัวออกจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้ปรึกษาทนายความอย่างที่ศาลได้อนุญาตไว้ เมื่อถึงชั้นล่างก็ถูกนำตัวขึ้นรถกลับเรือนจำโดยทันที โดยไม่รอกลับพร้อมผู้ต้องขังคนอื่นตามที่เรือนจำเคยปฏิบัติ นอกจากนี้ จตุภัทร์ยังได้ให้ข้อมูลกับทนายในภายหลังว่า ขณะถูกคุมตัวขึ้นรถของเรือนจำมีสารวัตรทหาร 4 นาย ซึ่งปกติการควบคุมตัวผู้ต้องขังที่เป็นพลเรือนเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ทหารไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องมายืนควบคุมอยู่และเร่งให้นำตัวขึ้นรถ พร้อมทั้งพูดลอบๆ ว่า ศาลน่าจะปล่อยตัวมัน ออกมากูจะได้อัดมัน
ทนายความตัดสินใจยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวในครั้งนี้ เนื่องจากเคยยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ในระหว่างสอบสวนมาแล้ว 5 ครั้ง หลังจากถูกถอนประกัน และขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา หลังอัยการฟ้องคดีแล้วอีก 1 ครั้ง ซึ่งศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งไม่อนุญาตทุกครั้ง
การที่จตุภัทร์ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณานี้ ทำให้เขาจะถูกขังต่อไป หลังถูกขังมาแล้วกว่า 2 เดือน จนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำตัดสิน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในคดีของทั้งโจทก์และจำเลย โดยจะถูกนำตัวมาศาลตามที่ศาลนัดพิจารณาคดีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ทวิ บัญญัติไว้ตอนท้ายว่า คําสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคําร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่ ทำให้ทนายความและครอบครัวยังสามารถยื่นคำร้องขอประกันตัวจตุภัทร์ได้อีกเรื่อยๆ
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3582) -
วันที่: 13-03-2017นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 7ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ครั้งที่ 7 โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 700,000 บาท ตามที่ได้ยื่นประกันในครั้งก่อน และนอกจากจะชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการรวบรวมพยานหลักฐานในการต่อสู้คดีนี้ และคดีอันเกิดจากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตคดีอื่นๆ อีก 2 คดี รวมทั้งจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแล้ว ยังได้ชี้แจงเหตุจำเป็นในการสอบวิชาสุดท้าย เพื่อสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรี เนื่องจากจำเลยได้ลงทะเบียนสอบวิชาคอมพิวเตอร์อีกครั้งและมีกำหนดสอบในวันที่ 17 มี.ค. 60
นอกจากนี้ คำร้องขอประกันตัวยังได้อ้างถึงการประชุมทบทวนการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) รอบของประเทศไทย ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 - 14 มี.ค. นี้ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Committee) ได้ส่งประเด็นคำถามเพิ่มเติมต่อรัฐบาลไทยโดยมีประเด็นคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับการควบคุมตัวบุคคลในความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ระหว่างรอการพิจารณาคดีเป็นเวลานานและถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวอย่างเป็นระบบ โดยรัฐบาลได้ชี้แจงต่อคณะกรรมการฯ ว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น มีสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับคดีอาญาอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม นายจักรพงศ์ นรแมนสรวง ผู้พิพากษาเวรชี้ ศาลจังหวัดขอนแก่น มีคำสั่งในเวลาประมาณ 16.15 น. ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดิม โดยระบุว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งไม่อนุญาต และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้น เมื่อพิเคราะห์เหตุตามคำร้องประกอบพฤติการณ์อื่นในคดีแล้ว กรณียังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
ก่อนหน้าการยื่นประกัน ในช่วงเช้าคณะทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นหนังสือถึงผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น เพื่อขอพบนายจตุภัทร์เป็นการส่วนตัวภายในทัณฑสถานฯ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรึกษาหารือกับนายจตุภัทร์เกี่ยวกับแนวทางในการต่อสู้คดี โดยทนายความทำงานเป็นคณะทำงาน หากเยี่ยมในห้องเยี่ยมทนายความปกติ ซึ่งใช้โทรศัพท์สื่อสารกันได้ทีละคน จะทำให้ไม่อาจปรึกษาหารือได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ทัณฑสถานฯ จัดสถานที่ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำผู้ต้องหาหรือจำเลยในทัณฑสถานฯ ได้ อีกทั้งกรณีของนายจตุภัทร์ ทางทัณฑสถานฯ ก็ได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าเยี่ยมภายในทัณฑสถานฯ มาโดยตลอด คณะทนายความของนายจตุภัทร์ จึงขอให้ทัณฑสถานฯ จัดสถานที่เพื่อให้ทนายความมีสิทธิและโอกาสได้พบกับจำเลย เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน เพื่อความเสมอภาคกันในกระบวนการยุติธรรม แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธจากผู้อำนวยการทัณฑสถานฯ
กฤษฎางค์ นุสจรัส หัวหน้าคณะทนายความได้ให้ความเห็นว่า การที่ทัณฑสถานฯ ปฏิเสธที่จะจัดสถานที่ให้คณะทนายได้ปรึกษาหารือกับไผ่เป็นการส่วนตัว โดยให้เยี่ยมแบบปกติเหมือนกับญาติผู้ต้องขัง ซึ่งต้องคุยผ่านโทรศัพท์ ที่สามารถรับฟังได้จากบุคคลที่สาม ทำให้ทนายยังไม่ได้คุยกับไผ่แบบตามลำพังอย่างเต็มที่ และเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสำนวนต่างๆ ที่จะใช้สู้คดี วันที่ 21 มี.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเราต้องนำพยานหลักฐานไปโต้แย้งกับอัยการ ไผ่ก็คงไม่พร้อม พยานหลักฐานต่างๆ ก็คงเตรียมไม่ทัน
ทนายความให้ความเห็นเรื่องที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันเป็นครั้งที่ 7 ว่า โทษสูงสุดของคดีนี้คือ 15 ปี ยังไม่นับว่าเป็นโทษสูงเมื่อเทียบกับคดีอื่น คดีฆ่าคนตายที่มีโทษร้ายแรงกว่า ศาลขอนแก่นหรือศาลที่อื่นก็ยังให้ประกัน อีกทั้งคดีของไผ่ก็ยังไม่ได้มีการตัดสินว่าผิด ศาลขอนแก่นก็เคยให้ประกัน แต่มาถอนประกัน และหลังจากนั้นก็ไม่ให้ประกันอีกเลย แม้เราจะให้คนที่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมมายืนยันว่าไผ่จะไม่หลบหนี ไผ่ก็เป็นเพียงนักศึกษานิติศาสตร์ ไม่ได้เป็นนักเลง นักเลงใหญ่ศาลก็ให้ประกันมาแล้ว เราเห็นว่าการที่ไผ่ไม่ได้ประกันตัวมันขัดกับกฎหมายที่เราใช้อยู่ ขัดกับสิ่งที่รัฐบาลชี้แจงกับต่างประเทศว่า คดี 112 ก็ใช้หลักเดียวกันกับคดีอาญาอื่นๆ ในการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว หลักการมันไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าไผ่ต้องออกมาสอบ แต่มันอยู่ตรงที่ว่า คนที่แค่ถูกกล่าวหาจะต้องไม่ถูกลงโทษไปก่อน ต้องให้ประกันตัว แต่ทุกวันนี้เท่ากับว่าไผ่ถูกลงโทษไปก่อนแล้ว ถ้าศาลตัดสินยกฟ้อง ใครจะรับผิดชอบสิ่งที่เขาได้รับ ขนาดไผ่เป็นคนทำงานทางสังคม เป็นคนที่รู้จักกันทั่วประเทศ ยังไม่ได้ประกัน ถ้าเป็นชาวบ้านตาสี ตาสาจะทำยังไง
การปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยควบคุมตัวไว้ระหว่างรอการพิจารณาคดีเป็นเวลานาน ถูกตั้งคำถามจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งกำลังมีการประชุมทบทวนการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในช่วงวันที่ 13-14 มี.ค.60 โดยการกระทำหรือดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของรัฐไทย มีแนวโน้มว่าเป็นไปในทางไม่สอดคล้องกับ ICCPR โดยเฉพาะในข้อ 9 “ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาจะต้องได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่า จะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดีฯ”
ทั้งนี้ ในการขอประกันตัวหรือคัดค้านการฝากขังในระหว่างการสอบสวน ทนายความ รวมทั้งตัวจตุภัทร์เอง ได้หยิบยก ICCPR ที่ประเทศไทยได้เป็นภาคีและมีผลผูกพันให้ทุกองค์กรภาครัฐต้องปฏิบัติตามกติกาดังกล่าว ซึ่งได้รับรองสิทธิของผู้ที่ถูกดำเนินคดี ทั้งสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด และสิทธิในการรับการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลไม่ได้หยิบยกขึ้นมาประกอบการพิจารณาให้อนุญาตให้ประกันเลย
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3718) -
วันที่: 21-03-2017นัด: ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานหน้าห้องพิจารณาที่ 4 แขวนป้าย “พิจารณาลับ” เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา แต่เนื่องจากทนายความยื่นคัดค้านพิจารณาลับ ประชาชนและเพื่อนนักศึกษาของจตุภัทร์ประมาณ 40 คน ที่มาให้กำลังใจจึงเข้าไปนั่งรอในพิจารณาเพื่อฟังคำสั่งศาลว่าจะสั่งพิจารณาลับหรือไม่
เวลาประมาณ 10.00 น. องค์คณะผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังก์ และสั่งให้การพิจารณาในวันนี้ไม่เป็นการลับ เพื่อไม่ให้เกิดการครหา ทนายจำเลยแถลงประกอบคำร้องขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานออกไป เนื่องจากนับตั้งแต่จำเลยถูกถอนประกัน ทนายไม่สามารถนั่งคุยกับจำเลยได้อย่างเต็มที่ เรือนจำจัดให้ทนายกับจำเลยได้คุยกันในห้องเยี่ยมญาติ ซึ่งไม่สามารถจะเอาเอกสารให้จำเลยดูได้ ทนายจึงได้ทำหนังสือถึงเรือนจำขอให้จัดสถานที่ให้ทนายได้ปรึกษาหารือกับจำเลยเป็นการส่วนตัว เช่นเดียวกับที่จัดให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ต้องหา แต่ทางเรือนจำปฏิเสธ จึงขอเลื่อนตรวจพยานหลักฐานในนัดนี้ออกไป และขออนุญาตปรึกษาหารือกับจำเลยที่ศาล ว่าจำเลยจะอ้างพยานบุคคลเป็นใครบ้าง และจะให้ทนายเสาะแสวงหาหลักฐานอะไรมาบ้าง
ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการตรวจพยานหลักฐาน โดยชี้แจงว่า หากเลื่อนนัดออกไปจะทำให้กระบวนพิจารณากินเวลาเกิน 6 เดือน โดยที่จำเลยถูกขังมานานแล้ว แต่เปิดโอกาสให้ทนายและจตุภัทร์ได้ปรึกษาหารือข้อเท็จจริงกันอย่างเต็มที่ และหลังจากฝ่ายจำเลยยื่นบัญชีพยานเข้ามาแล้ว ในระหว่างการสืบพยาน ทนายก็สามารถเพิ่มพยานหลักฐานเข้ามาได้ตลอด ไม่ได้จำกัดสิทธิของจำเลยแต่อย่างใด
จตุภัทร์ได้ลุกขึ้นแถลงต่อศาลว่า จะเรียกว่าไม่ได้จำกัดสิทธิจำเลยได้อย่างไร ในเมื่อโจทก์มีเวลา 90 วัน ในการเสาะแสวงหาพยานหลักฐาน มีการประชุมปรึกษาหารือในการเตรียมพยาน แต่ฝ่ายจำเลยแม้ศาลจะให้โอกาสเพิ่มเติมหลักฐานในภายหลังได้ แต่ตัวเขาไม่มีโอกาสออกไปแสวงหาพยานหลักฐาน โดยเฉพาะหลักฐานที่เป็นสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งละเอียดอ่อน เนื่องจากถูกกักขังไว้ มีเวลาวันนี้ได้พบทนายเต็มๆ ไม่กี่ชั่วโมง เขาเสียเปรียบในการหาหลักฐาน เขาขอแค่ศาลให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน “ไม่ใช่บอกว่า ให้รีบดำเนินกระบวนพิจารณา เพราะผมถูกขัง แต่ผมไม่ควรถูกขังไว้ในระหว่างพิจารณา ในขณะที่ผมยังเป็นแค่ผู้ถูกกล่าวหา”
ศาลขอให้ไผ่หยุดพูดคำว่า ‘เสียเปรียบ’ เพราะไม่ได้มีไผ่คนเดียวที่ถูกขัง และขณะนี้กำลังพูดเรื่องการตรวจพยานหลักฐาน เรื่องการประกันตัว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ตรงนั้นมันเสร็จไปแล้ว ศาลจะพูดขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป จตุภัทร์แถลงโต้แย้งว่า ที่เขาพูดเรื่องประกันตัวเพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน เขาไม่ได้ประกันตัว ทำให้ไม่โอกาสเตรียมพยานหลักฐานมาสู้คดีอย่างเต็มที่ ทุกอย่างเป็นขั้นตอนตามกฎหมายทั้งหมด ทั้งเรื่องสิทธิในการประกันตัว สิทธิในการสู้คดีอย่างเต็มที่ สิทธิในการได้รับสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ที่ถอนประกันโดยกล่าวว่า เขาเย้ยหยันอำนาจรัฐต่างหากที่ไม่อยู่ในกฎหมาย
ทั้งนี้ ศาลได้เลื่อนการตรวจพยานหลักฐานไปเป็นช่วงบ่าย โดยในช่วงเวลา 11.00-13.30 น. ให้จตุภัทร์และทนายได้ตรวจพยานหลักฐานของโจทก์ ซึ่งประกอบด้วย พยานเอกสาร จำนวน 20 แผ่น และพยานวัตถุเป็นแผ่นบันทึกภาพเคลื่อนไหว (ซีดี/ดีวีดี) จำนวน 4 แผ่น ปรึกษาหารือกัน และกำหนดบัญชีพยานมาโดยคร่าวๆ เพื่อให้ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานต่อไปได้ ส่วนที่ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการพิจารณาคดีลับไว้ ศาลพิเคราะห์แล้วมีคำสั่งว่า ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้โดยเปิดเผยตามปกติ ยกเว้นบางนัดที่ศาลจะพิจารณาเป็นการลับ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งในแต่ละนัดไป
ช่วงบ่าย ก่อนเริ่มการตรวจพยานหลักฐาน ศาลได้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 30 ออกข้อกำหนดให้ ประชาชนที่เข้าร่วมสังเกตการณ์พิจารณาคดีปิดโทรศัพท์และเอาออกจากห้องพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อความสงบเรียบร้อย จากนั้น โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยาน ระบุพยานบุคคล จำนวน 19 ปาก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นโพสต์ของจำเลยและแจ้งความดำเนินคดี คือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี, เจ้าหน้าที่สืบสวน จำนวน 3 ปาก, เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม จำนวน 2 ปาก, พนักงานสอบสวน จำนวน 4 ปาก, นักวิชาการด้าน ICT ผู้ตรวจข้อมูลการจราจรทางอินเตอร์เน็ต และตรวจพิสูจน์แผ่ซีดี/ดีวีดี จำนวน 3 ปาก, นักวิชาการและประชาชนผู้ให้ความเห็นเรื่องความหมายของข้อความ จำนวน 5 ปาก และผู้ติดตามเฟซบุ๊กของจำเลย จำนวน 1 ปาก ใช้เวลาสืบพยานโจทก์ไม่เกิน 5 นัด ในวันที่ 3-4, 15-17 ส.ค. 60
ด้านจำเลยระบุพยานประมาณ 15 ปาก ประกอบด้วย ผู้ที่เคยร่วมทำกิจกรรมทางสังคมกับจำเลย, ผู้ให้ความเห็นด้านระบบคอมพิวเตอร์และเฟซบุ๊ก และผู้ที่ให้ความเห็นต่อถ้อยคำที่ถูกกล่าวหา โดยทนายจำเลยจะยื่นบัญชีพยานภายใน 15 วัน ใช้เวลาสืบพยานจำเลยไม่เกิน 5 นัด เช่นกัน ในวันที่ 30-31 ส.ค. และ 5-7 ก.ย. 60
การสืบพยานจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม เนื่องจากโจทก์และทนายจำเลยมีเวลาว่างตรงกันเร็วที่สุดในช่วงนั้น ซึ่งเป็นเวลาหลังจากนี้ไปอีกกว่า 4 เดือน ทำให้จตุภัทร์ยกมือขึ้นถามองค์คณะผู้พิพากษาว่า ในระหว่างรอการพิจารณาอีกหลายเดือนนี้ ศาลก็จะขังเขาไว้ใช่หรือไม่ ศาลบอกว่า ใช่ แต่ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้ยื่นคำร้องเข้ามา ศาลจะพิจารณา
ทนายความจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล เป็นครั้งที่ 8 หลังจากจตุภัทร์ถูกถอนประกัน โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 700,000 บาท พร้อมทั้งระบุว่า คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวของศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีเหตุผลเพียงว่า จำเลยมีพฤติการณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ จำเลยจึงให้คำมั่นว่า หากได้รับการปล่อยชั่วคราวจำเลยจะไม่แสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอันเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ, ไม่ทำกิจกรรมใดๆ อันทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดี, มารายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน และจะมาศาลตามกำหนดนัดที่ศาลสั่งทุกครั้ง หากศาลเห็นว่าจะมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดอื่นใดเพิ่มเติมจากนี้ ขอให้ศาลกำหนดเงื่อนไขอันสมควร และจำเลยยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกประการ นอกจากนี้ กำหนดวันนัดสืบพยานในคดียังอีกหลายเดือน หากขังจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณา จะกระทบสิทธิเสรีภาพของจำเลยมากเกินจำเป็น
เวลาประมาณ 16.00 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ระบุว่า แม้จำเลยจะอ้างเหตุเพื่อปฏิบัติตัว แต่จากพฤติการณ์แห่งคดี เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว
ทั้งนี้ ในระหว่างที่จตุภัทร์และทนายความ รวมทั้งประชาชน ยังรอฟังคำสั่งต่อคำร้องขอประกันตัวอยู่ในห้องพิจารณา รปภ.ศาลได้เข้ามาแจ้งว่า หัวหน้าศาลให้ควบคุมตัวจตุภัทร์กลับออกจากห้องพิจารณา แต่ฝ่ายจำเลย รวมทั้งเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ยืนยันว่า องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ให้รอฟังคำสั่งอยู่ก่อน รปภ.จึงได้กลับออกไป
ช่วงเช้าสารวัตรทหารยืนรักษาการณ์อยู่ในห้องพิจารณาคดี 1 นาย และนอกห้องอีก 1 นาย ซึ่งปกติแล้ว เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในห้องพิจารณาคดี และในอาคารศาลจะเป็นเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลเท่านั้น นอกจากนี้ มีรายงานอีกว่า บริเวณประตูทางเข้าศาลมีกำลังสารวัตรทหาร และ รปภ.ศาล ประจำอยู่ประมาณ 10 นาย ทำการตรวจค้นกระเป๋าของประชาชน และตรวจค้นรถทุกคันที่ผ่านเข้ามาในบริเวณศาล โดยนักศึกษาบางกลุ่มถูกตรวจ พร้อมทั้งถ่ายรูปบัตรประชาชนด้วย
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3789) -
วันที่: 03-04-2017นัด: อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันครั้งที่ 2ทนายความเข้ายื่นอุทธรณ์ถึงศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อคัดค้านคำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นลงวันที่ 21 มี.ค. 60 ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน และขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยอุทธรณ์ดังกล่าวขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น และอนุญาตให้จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี ต่อมา ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งรับอุทธรณ์เพื่อส่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาต่อไป
ด้านทนายความให้เหตุผลในการยื่นอุทธรณ์ในครั้งนี้ว่า เนื่องจากปัจจุบันมีเหตุเปลี่ยนแปลงแล้ว และสืบสวนเสร็จแล้วเพราะโจทก์ได้สั่งฟ้องแล้ว อีกทั้ง หากศาลไม่ปล่อยตัวไผ่ อาจส่งผลกระทบต่อการสู้คดี ทำให้ไผ่ไม่สามารถปรึกษาหารือ เตรียมพยานหลักฐานการต่อสู้กับทนายได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากนัดสืบพยานอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ (อ้างอิง http://www.tlhr2014.com/th/?p=3872)
ต่อมา วันที่ 5 เม.ย.60 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ระบุว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยมาแล้ว กรณีตามคำร้องของจำเลยไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=3897)
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยืนยันคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้ประกัน นอกจากจะเป็นการปฏิเสธสิทธิที่จตุภัทร์จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ยังเป็นการปฏิเสธสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ตามที่กฎหมายคุ้มครองไว้ด้วย
การไม่ได้ประกันตัวในคดี 112 นั้น สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นไว้ว่า ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการต่อสู้คดี เพราะไม่สามารถออกไปหาพยานหลักฐานภายนอกได้ รวมทั้งไม่ได้ปรึกษาทนายอย่างเป็นการส่วนตัว ทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดี 112 ส่วนใหญ่ ถูกบังคับโดยอ้อมให้รับสารภาพ (อ่านเพิ่มเติม: https://prachatai.com/journal/2017/03/70652) -
วันที่: 08-05-2017นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 9นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของ ‘ไผ่ ดาวดิน’ หรือจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เดินทางไปยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดขอนแก่น โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสด 700,000 บาท เพื่อขอให้ปล่อยตัวไผ่ไปรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560 โดยมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ที่ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ค. 2560
คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระบุว่า จตุภัทร์ไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี แต่ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามหมายเรียกโดยมาศาลตามคำสั่งทุกครั้ง จึงขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งนี้ เพื่อเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศเกาหลีใต้ด้วยตนเอง และให้จำเลยได้มีโอกาสเตรียมคดีและต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ซึ่งการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีย่อมทำให้ไม่กระทบต่อเสรีภาพของจำเลยด้วย ทั้งนี้ จำเลยย่อมเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลตามกฎหมายทุกขั้นตอน ไม่หลบหนี หรือทำให้การดำเนินคดีของศาลได้รับผลเสียหาย คดีนี้แม้จะเป็นคดีที่ข้อกล่าวหาร้ายแรง แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจตุภัทร์ ไม่ได้เข้าองค์ประกอบความผิดตามข้อกล่าวหา ศาลจังหวัดขอนแก่นเองก็เคยอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลจังหวัดขอนแก่นไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
สำหรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งขึ้นโดยเหยื่อจากการปราบปรามการเรียกร้องประชาธิปไตยที่เมืองกวางจู โดยมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) มีกิจกรรมมอบรางวัลให้นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของเอเชียทุกปี ในปีนี้ ไผ่ ดาวดิน ได้รับการเสนอชื่อจากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัล คนไทยคนแรกที่เคยได้รับรางวัลนี้ คือ นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความที่ถูกบังคับให้สูญหาย โดยได้รับรางวัลในปี 2549
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=4204) -
วันที่: 30-06-2017นัด: ยื่นประกันครั้งที่ 10ทนายความเข้ายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่น ขอปล่อยตัวชั่วคราว ของ ‘ไผ่’ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา โดยครอบครัวได้นำเงินสดมาวางเป็นหลักประกันจำนวน 700,000 บาท โดยระบุเหตุผลในการขอปล่อยชั่วคราวครั้งนี้ ซึ่งเนับเป็นครั้งที่ 10 ว่า เพื่อจะได้มีโอกาสได้เตรียมคดีและต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เนื่องจากการสืบพยานจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ส.ค. ที่จะถึงนี้ และจำเลยถูกขังระหว่างสอบสวนและพิจารณาเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ซึ่งกระทบต่อเสรีภาพของจำเลยเป็นอย่างมาก ต่อมา ศาลจังหวัดขอนแก่น โดยผู้พิพากษา นายวิเนตร มาดี มีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยระบุว่า ไม่ปรากฏเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4
วันเดียวกันนี้ ทนายความได้ขอเบิกตัวไผ่จากทัณฑสถานฯ มาที่ศาลเพื่อปรึกษา เตรียมการในการต่อสู้คดี โดยได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.60 นายวิเนตร มาดี ผู้พิพากษา ได้มีคำสั่งอนุญาต โดยให้ใช้ห้องสมานฉันท์ในการพูดคุยปรึกษาหารือ แต่เมื่อเบิกตัวจตุภัทร์มาแล้ว เจ้าหน้าที่ให้ทนายลงไปพูดคุยกับจตุภัทร์ผ่านโทรศัพท์ที่ห้องขังใต้ถุนศาลเช่นเดียวกับผู้ต้องขังคนอื่นๆ เมื่อทนายความขอเข้าพบนายวิเนตรเพื่อขอคำชี้แจง นายวิเนตรไม่สามารถให้เหตุผลได้ ระบุเพียงว่า ผู้พิพากษาก็เป็นข้าราชการคนหนึ่ง
(อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=4579) -
วันที่: 03-08-2017นัด: สืบพยานโจทก์ศาลเบิกตัวจตุภัทร์มาจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น โดยพยานโจทก์ปากแรกที่เข้าเบิกความ คือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี หรือ “เสธ.พีท” ผู้บังคับกองร้อยรักษาความสงบ มณฑลทหารบกที่ 23 ซึ่งเป็นผู้แจ้งความให้ดำเนินคดีจตุภัทร์ อย่างไรก็ดี ก่อนการสืบพยานจะเริ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ศาลได้นำป้าย “พิจารณาลับ” มาติดไว้ที่หน้าห้องพิจารณาคดี ต่อมา ศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ และเชิญเพื่อนและผู้สนใจที่มาร่วมฟังการพิจารณาคดีออกจากห้อง ให้มีแต่ทนายความ และพ่อแม่ของจำเลยเท่านั้น ทั้งยังสั่งให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับทั้งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 177 และห้ามไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาของการสืบพยานในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32 (1) แม้ว่าก่อนหน้านี้ในนัดตรวจพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 60 ศาลจะมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้โดยเปิดเผย ยกเว้นบางนัดที่การสืบพยานอาจจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงและสถาบันฯ เบื้องสูง ศาลจะพิจารณาสั่งอีกครั้ง
แม้จะมีการพิจารณาคดีลับ แต่ยังมีประชาชนและผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 10 ราย ที่เฝ้ารอสังเกตการณ์อยู่ภายนอกห้องพิจารณา
การสืบพยานโจทก์ปากแรกในช่วงเช้า พยานเบิกความตอบที่โจทก์ถาม และในช่วงบ่าย เป็นการถามค้านของทนายจำเลย ซึ่งใช้เวลาจนถึงเวลาประมาณ 16.30 น. ยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับ พ.ท.พิทักษ์พล ติดราชการไม่สะดวกที่จะมาสืบพยานในวันถัดไป ศาลจึงให้เลื่อนการสืบพยานปากแรกนี้ออกไปก่อน
ด้านไผ่ จตุภัทร์ มีอาการติดเชื้อโรคผิวหนังจากในเรือนจำ ทำให้มีผื่นขึ้นบริเวณลำคอ แขน และรู้สึกไม่สบายตัว การพิจารณาคดีนี้เริ่มขึ้นหลังจตุภัทร์ ซึ่งในขณะที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดและถูกจับกุม เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน, ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ถูกขังในระหว่างการสอบสวนและรอการพิจารณาคดีมาเป็นเวลากว่า 7 เดือน โดยไม่ได้สิทธิในการประกันตัว (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=4826) -
วันที่: 04-08-2017นัด: สืบพยานโจทก์นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 โจทก์นำพยานเข้าเบิกความรวม 4 ปาก ได้แก่ น.ส. จาริณี นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นเพื่อนทางเฟซบุ๊กกับจตุภัทร์, นายสุรสิทธิ์ ประธานสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น, นายประหยัด จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น และนายสุพัฒน์ ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดขอนแก่น ซึ่ง 3 ปากหลังเป็นพยานที่มาให้ความเห็นต่อความหมายของข้อความในคดี โดยในนัดนี้พ่อและแม่ของจตุภัทร์ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังการสืบพยานในห้องพิจารณาคดี มีเพียงอัยการ-โจทก์ จำเลย และทนายจำเลย
ส่วนบรรยากาศภายนอกห้องพิจารณา เป็นที่น่าสังเกตว่า น.ส.จาริณี ซึ่งอัยการส่งหมายนัดให้มาตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. และได้เข้าเบิกความในวันที่ 4 ส.ค. นี้ ได้รับการคุ้มกันจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อย่างแน่นหนา นอกจากนี้ ยังคงมีชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย และประชาชนผู้สนใจกว่า 10 คน มานั่งรอหน้าห้องพิจารณาคดี แม้เข้าฟังการพิจารณาคดีไม่ได้ เพื่อรอเข้าพบและให้กำลังใจจตุภัทร์ในช่วงที่ศาลพักการพิจารณาคดี (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=4837)
-
วันที่: 15-08-2017นัด: สืบพยานโจทก์ก่อนเริ่มการสืบพยาน แม่จตุภัทร์ได้ขอพูดคุยกับจตุภัทร์เป็นการส่วนตัว หลังจากนั้น จตุภัทร์ได้แถลงต่อศาลขอเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงนัดอ่านคำพิพากษาในช่วงบ่าย
ก่อนเริ่มอ่านคำพิพากษา นายวิเนตร มาดี และนายเพิ่มพูน พิศาลธุรกิจ องค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งอ่านคำพิพากษาเป็นการลับ ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากห้องพิจารณา จากนั้น ศาลอ่านคำพิพากษาที่ระบุเพียงโทษของจำเลยโดยไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี โดยระบุว่า จำเลยมีความผิดตาม ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(3) เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ให้จำคุก 5 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 61/2559 ของศาล มทบ.23
คดีนี้เป็นอีกคดีที่ศาลยุติธรรมที่มีการพิพากษาลับในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างไรก็ตามแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 จะให้ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ แต่การพิพากษาลับไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 ซึ่งระบุว่า “คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป”
อีกทั้งศูนย์ทนายความฯ ยังมีข้อสังเกตอีกว่าการอ่านคำพิพากษาของศาล ศาลอ่านเพียงเเต่โทษเท่านั้น เเต่มิได้กล่าวถึงคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีว่าการกระทำของจำเลยในประการใดที่มีผลเป็นการดูหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ ตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าจำเลยจะรับสารภาพก็ตาม ซึ่งประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 และ 187 ได้ระบุรายละเอียดที่ควรมีในคำพิพากษาเอาไว้ (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=4906) -
วันที่: 15-09-2017นัด: คดีถึงที่สุดโจทก์และจำเลย ไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด
-
วันที่: 10-05-2019นัด: ปล่อยตัวจตุภัทร์ได้รับการปล่อยตัวออกจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น หลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2562 รวมเวลาถูกคุมขัง 870 วัน หรือ 2 ปี 4 เดือน 20 วัน
สถานะ การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ผลการพิพากษา
ชั้นสอบสวน
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
พฤติการณ์ของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำรวจหรือผู้ต้องหาระหว่างการสอบสวน :
สารวัตรทหารเข้าร่วมสังเกตการณ์โดยตลอด
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ศาลชั้นต้น
ผู้ถูกดำเนินคดี :
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
- นายวิเนตร มาดี
- นายเพิ่มพูน พิศาลธุรกิจ
ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
พิพากษาวันที่ :
15-08-2017
แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์