ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและระเบิด
  • ครอบครองยุทธภัณฑ์ (พ.ร.บ.ครอบครองยุทธภัณฑ์ฯ)
  • ฆ่า / พยายามฆ่า
ดำ อ.687/2561
แดง อ.1663/2561

ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและระเบิด
  • ครอบครองยุทธภัณฑ์ (พ.ร.บ.ครอบครองยุทธภัณฑ์ฯ)
  • ฆ่า / พยายามฆ่า
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

หมายเลขคดี

ดำ อ.687/2561
แดง อ.1663/2561

ความสำคัญของคดี

ซี จันทนา วรากรสกุลกิจ ถูกดำเนินคดีที่ 2 จากการถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีเหตุยิงเวที กปปส. ตราดเมื่อ กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์นี้ศาลจังหวัดตราดเคยพิพากษายกฟ้องจำเลย 3 คน ไปแล้วเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอและไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่จันทนาเคยถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกคดีครอบครองอาวุธ ซึ่งเป็นอาวุธชุดเดียวกับที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในคดีก่อเหตุยิงที่เป็นคดีที่สองนี้

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

โจทก์ฟ้องจันทนาด้วยข้อหาดังนี้คือ ร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต,ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฏหมาย,ร่วมกันพกอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต,ร่วมกันใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันเป็นซ่องโจร

โจทก์บรรพยายพฤติการณ์ของคดีว่าจันทนา กับพวกอีก 3 คนได้แก่ วัชระ กระจ่างกลาง สมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ และสมศักดิ์ สุนันท์ และกับพวกอีกหลายคนที่หลบหนีอยู่ได้กระทำความผิดหลายกรรม ได้แก่

จำเลยและพวกได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร โดยสมคบคิดกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อทำการก่อเหตุร้ายโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายร้ายแรงต่อร่างกายหรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ โดยการใช้อาวุธปืนหรือใช้วัตถุระเบิดและทำให้เกิดระเบิดโดยมีเจตนาฆ่าประชาชนทั่วไป กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบขนส่ง โทรคมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความกลัวในหมู่ประชาชนและกระทำการสะสมกำลังพลและอาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อก่อเหตุดังกล่าว

จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันมีอาวุธปืนจำนวนหลายกระบอก ได้แก่ อาวุธปืนกลมือ เอ็ม 3 1 กระบอก พร้อมซองกระสุนจำนวน 3 อัน ปืนเอเค 47(อาก้า) จำนวน 2 กระบอก พร้อมซองกระสุนจำนวน 3 อัน ปืนคาร์ไบน์เอ็ม 1 จำนวน 1 กระบอก พร้อมซองกระสุนจำนวน 8 อัน มีเครื่องกระสุนขนาด 7.62 มม. จำนวน 529 นัด กระสุนปืนคาร์ไบน์ขนาด .30 จำนวน 361 นัด ลูกระเบิดขว้างสังหารแบบ เอ็ม 22 เอ 2 จำนวน 1 ลูก และลูกระเบิดขว้างสังหารเอ็มเค 2 จำนวน 1 ลูก อันเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย ซึ่งอาวุธและเครื่องกระสุนดังกล่าวเป็นแบบที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้

(อ้างอิง : คำฟ้อง เลขคดีดำที่ 687/2561 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2561)

ความคืบหน้าของคดี

  • จันทนา วรากรสกุลกิจ ถูกแยกฟ้องในข้อหาร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต,ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฏหมาย,ร่วมกันพกอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต,ร่วมกันใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันเป็นซ่องโจร

    (อ้างอิง : คำฟ้อง เลขคดีดำที่ 687/2561 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2561)
  • โจทก์ยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทน
  • จันทนาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
  • ศาลจังหวัดตราดมีคำพิพากษายกฟ้องจันทนา ศาลได้พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับได้ว่าเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2557 คนร้ายหลายคนร่วมกันขว้างระเบิดสังหาร 2 ลูก และใช้อาวุธปืนยิงหลายนัดเข้าไปยังกลุ่มประชาชนที่มาร่วมชุมนุมฟังการปราศรัยของกลุ่ม กปปส. บริเวณตลาดนัดยิ่งเจริญ เป็นเหตุให้มีเด็กเสียชีวิต 2 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ

    ต่อมาทหารได้เข้าจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2557 และค้นห้องเช่าพบของกลางเป็นอาวุธสงครามและของกลางอีกหลายรายการ ตำรวจจึงได้แจ้งข้อกล่าวหามีอาวุธและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองฯ มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่นายทะเบียนสามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มียุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีวิทยุโทรคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ และศาลอาญาได้เคยพิพากษาจำคุกแล้ว

    ในส่วนคดีนี้ตามที่จำเลยได้ต่อสู้ว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาซ่องโจรกับจำเลยและในบันทึกคำให้การของจำเลยก็ไม่มีข้อหาดังกล่าวทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหานี้ และเมื่อศาลตรวจดูบันทึกคำให้การของจำเลยแล้วก็พบว่ามีการเขียนด้วยลายมือแก้ไขเพิ่มเติมข้อหาซ่องโจรเข้ามาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับรองถูกต้องเอาไว้

    แม้ว่าพยานโจทก์ พ.ต.ท.พฤทธิ์ บุญปก พนักงานสอบสวนได้เบิกความว่าตนได้แจ้งข้อหานี้แก่จำเลยตามสำเนาหมายจับ แต่เมื่อศาลตรวจสอบหมายจับแล้วก็ไม่ปรากฏข้อหาดังกล่าว แต่ว่าที่ไม่มีลายมือชื่อของจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อ และจำเลยเองก็ให้การว่าไม่ยอมลงลายมือชื่อจริง ศาลจึงเชื่อว่าพยานโจทก์ได้แจ้งข้อหาแล้วจริงจึงถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายและโจทก์มีอำนาจฟ้องในข้อหาซ่องโจร

    ทั้งนี้จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็มีเพียงเศก จันทารที่ได้ให้การว่าตได้เข้าร่วมก่อเหตุด้วยและให้การอย่างละเอียดชัดเจน เศกจึงถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดด้วย แต่ภายหลังทหารได้คุมตัวเศกไปและซัดทอดว่าบุคคลใดที่รู้เห็นกับเหตุการณ์ในคดีนี้ ซึ่งบุคคลที่เศกซัดทอดถูกดำเนินคดีทั้งหมด จึงเชื่อได้ว่าเศกกลับถูกกันเป็นพยาน จึงเป็นพยานที่เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงโดยไม่ชอบ คำเบิกความของเศกจึงนำมาอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธิีพิจารณาความอาญา มาตรา 226

    ศาลจังหวัดตราดยังเห็นอีกว่า นอกจากนั้นยังไม่มีข้อเท็จจริงว่าจันทนาเข้าไปร่วมสมคบวางแผนเพื่อก่อเหตุคดีนี้แต่อย่างใด อาวุธที่เศกเบิกความว่าจำเลยได้ขอให้เศกจัดหาให้นั้นก็ไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุคดีนี้อย่างไร แต่อาวุธที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดจากบ้านของณรงค์ กระจ่างกลาง ที่เป็นของกลางในคดีนี้นั้นไม่พบว่าจันทนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างไร และอาวุธปืนที่ยึดได้ในคดีที่จำเลยถูกศาลอาญาพิพากษาแล้วนั้น เมื่อตรวจสอบพบว่ารอยเข็มแทงชนวนบนปลอกกระสุนที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุตรงกับอาวุธปืนที่ยึดได้ในคดีดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อศาลได้เคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดไปแล้วในความผิดที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ ศาลจึงไม่สามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้อีก

    เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าจันทนามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีได้อย่างไรนอกจากเศกที่เป็นพยาน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย

    ส่วนของกลางในคดีศาลเคยมีคำสั่งริบไปแล้วในคดีอื่นจึงไม่อาจริบได้อีก

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์