ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558
ดำ อ.3090/2561

ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ทหาร)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ข้อหา

  • ยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116)
  • การชุมนุม
  • คำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558
  • พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ 2558

หมายเลขคดี

ดำ อ.3090/2561
ผู้กล่าวหา
  • พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ

ความสำคัญของคดี

นักกิจกรรม 9 คน ถูกดำเนินคดีหลังเข้าร่วมกิจกรรม ‘รวมพลคนอยากเลือกตั้ง’ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 58 ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน ซึ่งมีการปราศรัยโดยวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจของรัฐบาลหรือ คสช. และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำ และดำเนินคดีรวม 3 ข้อหา ได้แก่ ยุยง ปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และชุมนุมห่างจากเขตพระราชฐานไม่ถึง 150 เมตร ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ

ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวใช้เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามที่พันธกรณีระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญรับรองไว้ การใช้กฎหมายดำเนินคดีประชาชนที่ใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าว จึงเห็นได้ชัดว่า เป็นไปโดยมีเจตนาหวังจะใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน เพื่อมิให้กล้าวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หรือ คสช. ทั้งนี้ กระบวนการต่อสู้คดีอันยาวนานย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนไม่มากก็น้อย

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2561 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งเก้าได้ร่วมกันจัดการแชร์โพสต์ในเฟซบุ๊กของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group มีข้อความว่า “นัดรวมพล ประชาชนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช. ในวันเสาร์ที่ 27 ม.ค. 2561 เวลา 17.30 น. ที่สกายวอล์ค ปทุมวัน” และในวันที่ 26 ม.ค. 2561 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกได้ร่วมกันจัดการโพสต์ข้อความว่า “นัดหมายสำหรับการแสดงพลังต้านการสืบทอดอำนาจ คสช. ในวันพรุ่งนี้ จุดนัดพบสกายวอล์คแยกปทุมวันบริเวณทางเชื่อมไปยังห้าง MBK ผู้เข้าร่วมสามารถเตรียมอุปกรณ์ของตัวเอง เช่น ป้ายเขียนข้อความต่าง ๆ นาฬิกา ฯลฯ เพื่อมาร่วมแสดงออกด้วยกันได้ ทั้งในประเด็นการเลื่อนการเลือกตั้งหรือประเด็นอื่น ๆ เช่น การทุจริตคอรัปชั่น การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และเราขอนำให้ทุกท่านเตรียมร่มมาด้วย เพราะในวันจริงอาจมีฝนตกได้แล้วพบกันตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไปครับ” พร้อมส่งรูปภาพแผนที่ของบริเวณสกายวอล์ค และยังมีข้อความอีกว่า “ทุกท่านคงรู้จัก ‘พีน็อคคีโอ’ กันใช่ไหมครับ ตัวละครจากนิทานฝรั่ง หุ่นเชิด เมื่อพูดโกหกจมูกของมันจะงอกยาวขึ้น ในบ้านเราก็มีหุ่นเชิดประเภทเดียวกันกับพี่น้องคีโอ…” นอกจากนั้น จำเลยกับพวกยังได้ร่วมกันจัดการเสวนาพูดคุยและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ก่อนที่จะไปรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลและ คสช. ที่สกายวอล์ค

ครั้นต่อมาวันที่ 27 ม.ค. 2561 เวลากลางวันถึงเวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกับพวกได้ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะกับกลุ่มประชาชนที่สกายวอล์ค ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ และสถานที่ดังกล่าวอยู่ห่างจากวังสระปทุม อันเป็นพระราชวังของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป ในรัศมี 148.53 เมตร ซึ่งอยู่ในรัศมี 150 เมตร โดยจำเลยกับพวกได้ผลัดกันร่วมปราศรัยกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ว่า มีการทุจริต ใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม และเลื่อนการเลือกตั้ง พร้อมกับปลุกระดมชักชวนประชาชนให้ออกมาร่วมชุมนุมในครั้งต่อไปให้มาก ๆ ขึ้น และจะนำประชาชนเข้าสู่ท้องถนนราชดำเนิน อันเป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง ไม่อยู่ในหลักในเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันโค่นล้มและขับไล่รัฐบาลและ คสช. ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาที่ใกล้จะมีการจัดการเลือกตั้งแล้ว

การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวจึงเป็นการร่วมการชุมนุมทางการเมืองในที่สาธารณะ และเป็นการกระทำที่มีเจตนาอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยได้ชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และการชุมนุมดังกล่าวอยู่ห่างจากวังสระปทุมซึ่งเป็นพระราชวังของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไปในรัศมี 148.53 เมตร ซึ่งอยู่ในรัศมี 150 เมตร อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย


(อ้างอิง: คำฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ 3270/2561 ลงวันที่ 1 พ.ย. 2561)

ความคืบหน้าของคดี

  • ผู้ถูกออกหมายเรียกจากกิจกรรม ‘รวมพลคนอยากเลือกตั้ง’ ที่บริเวณสกายวอล์กหน้าห้างเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ซึ่งถูกเรียกมารับทราบข้อหาชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558, กระทำด้วยวาจาอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 รวมทั้งข้อหาชุมนุมในรัศมี 150 เมตรจากวังของพระบรมวงศ์ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 7 รวม 4 ราย ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม, น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา, นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ และนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน แต่เมื่อทนายความประสานงานกับ พล.ต.ท.ภัคพงษ์ พงษ์เภตรา ทราบว่าพนักงานสอบสวนจะไม่ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา แต่จะนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังต่อทันที ทนายความจึงยื่นหนังสือต่อ พ.ต.อ.ภพธร จิตต์หมั่น ผู้กำกับการ สน.ปทุมวัน ขอเลื่อนพบพนักงานสอบสวนไปเป็นวันที่ 8 ก.พ. 2561 เวลา 10.00 น.

    ส่วนนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายเอกชัย หงส์กังวาน ซึ่งมีรายงานข่าวว่า ถูกออกหมายเรียกใน 3 ข้อหาดังกล่าวข้างต้น ยังไม่ได้รับหมายเรียก ด้านนายอานนท์ นำภา ประกาศจะไม่เข้าร่วมกระบวนการในคดีนี้และยอมถูกจับกุม

    เวลา 14.00 น. แม้ ผกก.สน.ปทุมวัน จะรับหนังสือขอเลื่อนจากทนายความของผู้ถูกเรียกคดี MBK39 แต่ยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อน โดยตำรวจแจ้งต่อทนายความว่าต้องรอ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งการ

    จากนั้นเวลา 15.10 น. ทนายความได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่าจะไม่อยู่รอร่วมสอบปากคำเกี่ยวกับการรับมอบเอกสารมาเลื่อนรับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ล่าช้าและไม่ได้รับมอบอำนาจมาให้ถ้อยคำใด ๆ กับพนักงานสอบสวน เพียงแต่รับมอบอำนาจมาเลื่อนนัดรับทราบข้อกล่าวหาเท่านั้น

    ต่อมา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รอง ผบ.ตร. ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ทางตำรวจไม่อนุญาตให้เลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา แต่จะทำการออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหาเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 ก.พ. ส่วนกระบวนการฝากขังนั้น พล.ต.อ.ศรีวราห์ ระบุว่า เป็นคำสั่งของตนเอง ไม่เกี่ยวกับดุลพินิจของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด และระบุว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการดำเนินการตามข้อหามาตรา 116 ต่อนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนายวีระ สมความคิด เพิ่มเติมอีก เนื่องจากมีพยานหลักฐานว่าทั้งสองคนได้ร่วมปราศรัยในกิจกรรมการชุมนุมดังกล่าว

    (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=6197)
  • ผู้ต้องหากลุ่ม MBK39 ในส่วนแกนนำจำนวน 5 คน ได้แก่ น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา, นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ, นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนายวีระ สมความคิด เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12, ชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ และยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา รวม 3 ข้อหา

    พนักงานสอบสวนบรรยายพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีสรุปได้ว่า ในวันเกิดเหตุ นายเนติวิทย์, นายวีระ, น.ส.ณัฎฐา, นายรังสิมันต์, นายสิรวิชญ์, นายเอกชัย หงส์กังวาน มีการเสวนาที่สวนครูองุ่นในซอยทองหล่อ ในการเสวนามีการกล่าวถึงการชุมนุมที่สกายวอล์คหน้า MBK หลังเสวนาพวกเขาเดินทางไปร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งบริเวณที่ชุมนุมดังกล่าวอยู่ห่างจากวังสระปทุม 148.53 ม. ระหว่างชุมนุมได้มีการผลัดกันปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ว่ามีการทุจริตใช้อำนาจไม่เป็นธรรม และเรื่องการเลื่อนเลือกตั้ง รวมถึงมีการชักชวนให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลและ คสช. โดยนายวีระ, นายสมบัติ, นายเอกชัยได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนพร้อมแสดงป้าย “หมดเวลา คสช.”

    ทั้งนี้ นายสมบัติและนายวีระ ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ยุยงปลุกปั่นเพิ่มเติม ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ในเหตุการณ์วันนั้นพวกตนให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่มาขอสัมภาษณ์เท่านั้น ไม่ได้ร่วมขึ้นปราศรัยตามที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.กล่าวหาพวกตน นายสมบัติยังกล่าวอีกว่า กรณีของนายวีระยิ่งหนักกว่าเพราะอยู่ในบริเวณนั้นเพียงครู่เดียวเท่านั้น นายสมบัติยังตั้งข้อสงสัยถึงข้อหาชุมนุมห่างจากเขตพระราชฐานในระยะ 150 เมตร ว่าวันเกิดเหตุ รองผู้กำกับ สน.ปทุมวัน เป็นคนชี้จุดให้ทำกิจกรรมเองด้วยตนเอง

    หลังจากที่ทั้ง 5 คน รับทราบข้อกล่าวหาและให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาแล้ว พนักงานสอบสวนได้นำตัวไปที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อขออำนาจศาลฝากขัง เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 8-19 ก.พ. 61 โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้ที่มีโทษจำคุกเกิน 3 ปี และมีพยานต้องสอบเพิ่มอีก 5 ปาก รวมถึงยังต้องสอบประวัติอาชญากรรมด้วย อีกทั้งพนักงานสอบสวนได้ค้านการประกันตัวโดยให้เหตุผลว่าพวกเขาได้นัดชุมนุมวันที่ 10 ก.พ.นี้ ที่ถนนราชดำเนิน โดยมีการประกาศให้แนวร่วมและประชาชนมาเข้าร่วม ซึ่งพวกเขาได้ทำหนังสือแจ้งจัดการชุมนุมไปที่ สน.สำราญราษฏร์แล้ว พนักงานสอบสวนจึงเกรงว่าอาจก่อเหตุอันตรายประการอื่นขึ้นอีก

    ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ได้ยื่นคำร้องขอคัดค้านการฝากขังโดยให้เหตุผลว่าผู้ต้องหาเป็นคนธรรมดาไม่มีความสามารถในการไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานได้ อีกทั้งพยานหลักฐานคดีนี้ก็เป็นภาพถ่ายหรือวิดีโอที่อยู่ในครอบครองของพนักงานสอบสวนแล้วอีกด้วย นอกจากนั้นผู้ต้องหาในคดีนี้ยังเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเองไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด และพนักงานสอบสวนยังสอบคำให้การไว้หมดแล้ว ส่วนการดำเนินการของพนักงานสอบสวนตามที่ระบุในคำร้องฝากขังก็ไม่ไ่ด้เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาแล้ว

    อีกทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 นั้นเป็นคำสั่งที่ประกาศบังคับใช้โดย คสช.เอง ไม่ได้ผ่านกระบวนการเห็นชอบจากประชาชน ทั้งยังมีเนื้อหาที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการจัดกิจกรรมและชุมนุมทางการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบันนี้มีเพื่อวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ทางการเมืองของ คสช. โดยแท้

    การใช้เสรีภาพในการชุมนุมเป็นเครื่องมือที่พลเมืองแสดงออกถึงเจตจำนงเสรีของตน และยังเป็นเครื่องมือกระตุ้นเตือนรัฐบาลให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปในทางที่ถูกที่ควรอีก อีกทั้งเสรีภาพในการชุมนุมยังได้รับรองเอาไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR และการใช้เสรีภาพดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองด้วยกฎหมาย

    ในสถานการณ์ขณะนี้ที่มีคณะรัฐประหารเป็นผู้ปกครองประเทศ ไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย คงมีเพียงศาลยุติธรรมเท่านั้นที่พึงคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรตุลาการในรัฐสมัยใหม่ จึงขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา มีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวน

    ทั้งนี้ ในการไต่สวนคำร้องฝากขัง พนักงานสอบสวนตอบคำถามค้านของทนายความผู้ต้องหาว่า การชุมนุมในวันที่ 10 ก.พ.มีการทำหนังสือแจ้งจัดการชุมนุมแล้ว แต่ไม่ทราบผลว่าทาง สน.สำราญราษฎร์ ให้อนุญาตจัดชุมนุมหรือไม่ แต่ผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้จัดการชุมนุมในวันที่ 10 ก.พ. การแจ้งจัดการชุมนุมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และการชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาก็ไม่มีเหตุอันตรายเกิดขึ้น อีกทั้งการชุมนุมไม่ได้มีอันตรายโดยตัวของมันเอง แต่ที่พนักงานสอบเกรงว่าจะเกิดอันตรายเป็นเพียงการคาดเดาของพนักงานสอบสวนเอง

    19.10 น. ภายหลังการไต่สวนคำร้องฝากขัง ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ศาลให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีการหลบหนีเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเองและให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนเป็นอย่างดี ส่วนที่พนักงานสอบสวนอ้างว่าจะไปร่วมชุมนุมแล้วก่ออันตรายประการอื่นนั้นยังเป็นการคาดเดาของพนักงานสอบสวนเองเท่านั้น

    ส่วนบุคคลที่ไม่ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้มี 5 คน ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม ยืนยันว่าจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามวันที่ตนเคยทำหนังสือขอเลื่อนไว้วันที่ 16 ก.พ. นายอานนท์ นำภา ทนายความได้ประกาศฝ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมกระบวนการใด ๆ ในคดีนี้ เช่นเดียวกับนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายเอกชัย หงส์กังวาน

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=6289)
  • ตั้งแต่เวลาประมาณ 7.15 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวน 4 นาย เดินทางไปรออยู่ที่หน้าบ้านพักของนายเอกชัย หงส์กังวาน 1 ใน 4 นักกิจกรรมซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้อนุมัติหมายจับ เนื่องจากไม่ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก 2 ครั้ง นายเอกชัยได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่รอเขาทำภารกิจส่วนตัวก่อน

    จนเวลา 9.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนายเอกชัย จากหน้าบ้านพัก โดยมีการแสดงหมายจับ ลงวันที่ 9 ก.พ. 61 ก่อนจะนำตัวไปที่ สน.ปทุมวัน เพื่อทำการแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และข้อหาชุมนุมห่างจากเขตพระราชฐานไม่ถึง 150 เมตร ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ

    ต่อมา หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการชุมนุม “หยุดยื้ออำนาจ หยุดยื้อเลือกตั้ง” ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเวลา 19.45 น. นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายอานนท์ นำภา ได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จัดรถตู้มารอรับแล้ว ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่แสดงหมายจับ และนำตัวขึ้นรถตู้ไปยัง สน.สำราญราษฎร์ โดยมี พ.ต.อ.ต่อเกียรติ พรหมบุตร ผกก.สน.สำราญราษฎร์ รับตัวเพื่อไปทำบันทึกการจับกุม

    หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทำบันทึกการจับกุม โดยมีทนายความอยู่ร่วมด้วย ทั้งสามคนพบว่าในพฤติการณ์การจับกุมมีการระบุว่าเจ้าหน้าที่ได้ “เข้าจับกุม” ผู้ต้องหา ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ทั้งสามคนไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึก และได้บันทึกหมายเหตุไว้ในบันทึกการจับกุมด้วยว่า พฤติการณ์การจับกุมระบุไว้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากทั้งสามคนได้เป็นผู้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง ไม่ใช่การจับกุม

    จนประมาณ 21.50 น. รังสิมันต์, สิรวิชญ์ และอานนท์ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพาตัวออกจาก สน.สำราญราษฎร์ ต่อไปยัง สน.ปทุมวัน โดยมีประชาชนมารอให้กำลังใจอยู่ด้านหน้าสถานีตำรวจราว 100 คน ประชาชนได้มีการร้องเพลงและจุดเทียนร่วมกัน เรียกร้องให้มีการยุติการดำเนินคดีต่อผู้ใช้สิทธิเสรีภาพทางการเ มืองโดยสงบสันติทุกคนด้วย

    จากนั้น ทางพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้แจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และชุมนุมห่างจากเขตพระราชฐานไม่ถึง 150 เมตร ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ จากกรณีการทำกิจกรรมชุมนุมที่บริเวณสกายวอล์คปทุมวัน หรือ “คดี MBK39” เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 61 ทั้งสามคนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ขณะที่อานนท์ นำภา ยังมีการโต้แย้งเรื่องที่ตำรวจไม่ยอมให้คัดถ่ายเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าเป็นความผิด เพื่อนำไปใช้จัดทำคำให้การเอาไว้ด้วย

    ทางนายรังสิมันต์ โรม ยังปฏิเสธการพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้เจ้าหน้าที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คมช.) ฉบับที่ 25 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญาด้วย

    ต่อมา ตัวแทนนักวิชาการจากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ได้ทำเรื่องยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ด้วยหลักทรัพย์รายละ 1 แสนบาท รวม 4 แสนบาท ซึ่งรวมนายเอกชัย หงส์กังวาน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวจากบ้านพักมาตั้งแต่ในช่วงเช้า โดยใช้เงินทุนที่ระดมสำหรับการประกันตัวผู้ต้องหาในคดี MBK39 และพนักงานสอบสวนได้อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวนนี้ และให้มารายงานตัวอีกครั้งวันที่ 20 ก.พ. 61

    ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้นำตัวนายรังสิมันต์ โรม ไปยังจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากมีการถูกออกหมายจับจากการร่วมกิจกรรมเสวนา “พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน? ” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแเต่เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 59 ช่วงก่อนหน้าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการกล่าวหาดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เรื่องการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ซึ่งคดีนี้มีการสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลทหารขอนแก่นไปก่อนหน้านี้แล้ว 8 ราย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน ได้ทำบันทึกการจับกุมรังสิมันต์ในคดีนี้เอาไว้ด้วย

    จนเวลา 1.45 น. หลังกระบวนการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว ลงบันทึกประจำวัน และการทำเอกสารส่งตัวเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัวทั้งสิรวิชญ์, อานนท์ และเอกชัย ออกจากสถานีตำรวจ ขณะที่รังสิมันต์ เจ้าหน้าที่ได้นำตัวขึ้นรถตู้ของตำรวจเพื่อไปยัง สภ.ขอนแก่นต่อไป โดยที่ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้มีผู้ที่ไว้วางใจติดตามไปด้วย แต่หลังการเจรจา เจ้าหน้าที่ก็ได้อนุญาตให้เพื่อนติดตามไปด้วยได้หนึ่งราย

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=6309 และ https://www.tlhr2014.com/?p=6336)
  • รังสิมันต์ โรม และเอกชัย หงส์กังวาน เข้ารายงานตัวที่ สน.ปทุมวัน ตามที่พนักงานสอบสวนนัดหมาย ด้านอานนท์ นำภา ติดว่าความที่ศาลจังหวัดภูเขียว และสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มในช่วงเช้า แขนข้างซ้ายหักเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงให้นายประกันเข้ายื่นหนังสือขอเลื่อนการรายงานตัว พนักงานสอบสวนอนุญาต และนัดทั้งสี่ให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 7 มี.ค .61 เวลา 10.00 น. โดยในกรณีของสิริวิชญ์ ให้นำใบรับรองแพทย์มายื่นประกอบการรายงานตัวในวันดังกล่าวด้วย

    (อ้างอิง: https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/1582042075178974)
  • ที่ สน.ปทุมวัน กลุ่มแกนนำ MBK39 จำนวน 4 คน คือ นายอานนท์ นำภา, นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายเอกชัย หงส์กังวาน ซึ่งถูกดำเนินคดีตาม ม.116, คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะฯ ได้เข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน จากนั้นพนักงานสอบสวนได้นัดให้มารายงานตัวครั้งหน้าวันที่ 2 เม.ย. 2561 เวลา 13.00 น.

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=6493)
  • นายอานนท์ นำภา, นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายเอกชัย หงส์กังวาน 4 แกนนำ MBK39 เดินทางเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ตามหมายนัด โดยพนักงานสอบสวนนัดหมายให้มารายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 3 พ.ค. 2561

    วันเดียวกันนี้ ผู้ต้องหาทั้งสี่ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติม โดยคำให้การสรุปได้ดังนี้

    พฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกิจกรรม “นัดรวมพล ประชาชนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบอำนาจ คสช.” เป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสุจริต และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามที่พันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ได้รับรองหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้ใน ข้อ 19 วรรคหนึ่งว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และวรรคสอง บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร การตีพิมพ์ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่น ตามที่ตนเลือกที่ และตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ได้มีเจตนาเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนจนล่วงละเมิดกฎหมายตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด

    อีกทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ถูกยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 58 เป็นต้นมา ตามหลักกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าที่มีเนื้อหาเดียวกัน และตามมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติให้การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ/คำสั่งของ คสช. ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ

    นอกจากนี้ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ข้อ 12 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 44 ที่บัญญัติไว้ว่า บุคคลมีเสรีภาพชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และได้กำหนดเงื่อนไขทางรูปแบบไว้ด้วยว่า การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น โดยเมื่อเสรีภาพดังกล่าวถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญอันมีสถานะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ องค์กรของรัฐทุกระดับย่อมมีหน้าที่ต้องผูกพันโดยตรงต่อเสรีภาพดังกล่าว

    คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นคำสั่งที่แทรกแซงเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ไม่ได้อนุญาตให้รัฐสามารถตรากฎหมายหรือออกคำสั่งใดเข้ามาควบคุมหรือห้ามการชุมนุมที่มีเนื้อหาบางประเภทได้ และการ “ห้ามชุมนุมทางการเมือง” ไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะสามารถจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้

    ดังนั้น คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมทางการเมือง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 26 กำหนดไว้ว่า การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการชุมนุม อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอีกด้วย

    นอกจากนี้ คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 ยังใช้ถ้อยคำที่กว้างและคลุมเครือ เช่น คำว่า “ชุมนุมทางการเมือง” ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่าขอบเขตจำกัดความกว้างขวางเพียงใด อีกทั้งเป็นถ้อยคำที่ไม่เคยมีนิยามอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน

    การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาเป็นไปโดยมีเหตุผลทางการเมือง เพื่อยับยั้งการใช้สิทธิ เสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายของประชาชน และมีเจตนาไม่สุจริต โดยพบว่าในปัจจุบัน รัฐมักจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับประชาชน โดยหวังผลข่มขู่บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับตนหรือคัดค้านการใช้อำนาจหรือกิจการที่รัฐได้กระทำ เพื่อทำให้ผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องถูกดำเนินคดี ทำเสียสูญเสียเงินทอง สูญเสียเวลา เสียความสุขในชีวิตกับการต่อสู้คดีอันยาวนาน และในที่สุดก็จะส่งผลให้ประชาชนคนอื่น ๆ เกิดความเกรงกลัวและก็จะ “ปิดปาก” ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในทางวิพากษ์วิจารณ์ต่อต้านใด ๆ อีก

    คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ที่ว่า “ผู้ใด มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไปนั้น เป็นคำสั่งที่ออกมาโดย คสช. หลังจากที่ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศแล้ว ก็ได้ออกคำสั่งดังกล่าวมาบังคับใช้ โดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน โดยเนื้อหาห้ามชุมนุมทางการเมืองดังกล่าวเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ทางการเมืองโดยแท้ ในการแทรกแซง ยับยั้ง ไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็น

    โดยผู้กล่าวหาในคดีนี้เป็นเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทน คสช. มาแจ้งความดำเนินคดี ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ทั้งที่ทราบดีว่าประชาชนมีสิทธิที่จะใช้เสรีภาพในการแสดงออก เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจของรัฐบาลหรือ คสช. เกี่ยวกับการดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามกรอบของรัฐธรรมนูญ มาตรา 23 ประกอบกับมาตรา 44 มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด การแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ จึงเป็นไปโดยมีเจตนาหวังจะใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นเครื่องมือกำบังตน จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน เพื่อมิให้กล้าวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หรือ คสช.

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=6798)
  • สน.ปทุมวัน กรุงเทพฯ นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ (เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์) ได้เข้าให้การกับพนักงานสอบสวนในฐานะพยานคดีแกนนำกลุ่ม MBK39 ซึ่งชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง ในวันที่ 27 มกราคม 2561 โดยชำนาญให้ความเห็นต่อคดีนี้ใน 2 ประเด็น คือ หนึ่ง การเลือกตั้งคืออะไรและสำคัญอย่างไร สอง ทำไมถึงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ทั้งที่รัฐบาลยืนยันว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อยู่แล้ว

    ขณะที่พนักงานสอบสวนยืนยันจะส่งตัวแกนนำ 4 คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา, นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และนายเอกชัย หงส์กังวาน ให้อัยการวันที่ 3 พ.ค. 61

    ชำนาญ จันทร์เรือง ได้ให้การในฐานะพยานแกนนำ ในประเด็น การเลือกตั้งคืออะไรและสำคัญอย่างไร โดยกล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นวิธีการคัดสรรคนเพื่อเข้าไปทำกิจกรรมทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) เพราะเราไม่สามารถให้ประชาชนทุกคนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยในสถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้ ฉะนั้น จึงต้องมีกระบวนการคัดสรรตัวบุคคลเพื่อเข้าไปใช้อำนาจแทนตนเอง ซึ่งวิธีการที่ว่านี้ก็คือ การเลือกตั้ง (election) นั่นเอง

    หลักการของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องประกอบไปด้วยหลักของความที่เป็นการทั่วไป (in general), เป็นอิสระ (free voting), มีระยะเวลาที่แน่นอน (periodic election), เป็นการลงคะแนนลับ (secret voting), หนึ่งคน หนึ่งเสียง (one man one vote) และต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม (fair election) เพราะประทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็มีการเลือกตั้งเหมือนกันแต่ไม่ได้ใช้หลัก 6 ประการที่ว่านี้ โดยเป็น “การบังคับเลือก” ว่าจะเอาหรือไม่เอา หรือเลือกตั้งในกติกาที่ไม่เป็นธรรม

    ในประเด็นที่ว่า ทำไมถึงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ทั้งที่รัฐบาลยืนยันว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อยู่แล้ว ชำนาญ จันทร์เรือง ให้ยกกรณีการเลื่อนเลือกตั้งของ คสช. ว่า ตลอดการมีอำนาจของ คสช. 4 ปี มีการเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งมาแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่

    ครั้งที่ 1: จากปลายปี 2558 สู่การเริ่มนับหนึ่งใหม่ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่

    เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงข่าวร่วมหลังการหารือกันระหว่างนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น บอกว่าไทยจะมีการเลือกตั้งในปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559

    ครั้งที่ 2: จากกลางปี 2560 สู่ปลายปี 2560

    พลเอกประยุทธ์ กล่าวกับ นายบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2558 ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปได้ภายในกลางปี 2560 แต่ก็ไม่เกิดขึ้น

    ครั้งที่ 3: จากปลายปี 2560 สู่ปลายปี 2561

    การเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในช่วงปลายปี 2560 เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ดังนั้น กระบวนการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 10 ฉบับให้เสร็จภายใน 8 เดือนจึงเพิ่งเริ่มนับหนึ่งได้ ตามโรดแมปนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะผ่านร่างกฎหมายลูกครบ 10 ฉบับภายในเดือนมกราคม 2561 และการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปี 2561

    ครั้งที่ 4: จากพฤศจิกายน 2561 สู่กุมภาพันธ์ 2562 และสู่ความไม่แน่นอน

    โรดแมปการเลือกตั้งของ คสช. ที่ชัดเจนที่สุดปรากฏขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560 หลังจากพลเอกประยุทธ์ บินไปเยือนทำเนียบขาวเพื่อพบกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ประกาศกลางทำเนียบรัฐบาลว่าในเดือนมิถุนายน 2561 จะประกาศวันเลือกตั้ง ส่วนในเดือนพฤศจิกายน 2561 จะให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป

    ถึงกระนั้นก็ตาม ในที่สุดสัญญาณเลื่อนการเลือกตั้งก็ปรากฏชัดเจนขึ้นจนได้ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีมติเสียงข้างมาก ปรับแก้ในมาตรา 2 เกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้กฎหมายให้มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน (ซึ่งไม่มีใครไม่เชื่อว่าไม่ได้รับสัญญาณจาก คสช.) จึงตีขลุมเอาว่าต้องยืดระยะเวลาไปอีก 3 เดือน จากเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2562

    ฉะนั้น จึงไม่มีความแน่นอนใด ๆ ที่จะมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทั้ง ๆ ที่หากกระทำโดยเร่งรัดแล้วก็ยังสามารถเลือกตั้งได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ดี แม้ว่าจะมีการยืดการบังคับใช้ พรป.ส.ส.ออกไปอีก 90 วัน และส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วยก็ตาม เพราะฝ่ายรัฐบาลได้ประกาศไว้อยู่แล้วว่าไม่กระทบต่อโรดแมปเดิมแต่อย่างใด

    ชำนาญให้ความเห็นต่อคำถามว่า เหตุใดกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจึงเรียกร้องให้ คสช.ยุติหน้าที่หรือลาออก ทั้ง ๆ ที่สมัยรัฐบาลปกติก็ยังรักษาการจนมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่ กอรปกับรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบันก็บัญญัติให้ คสช.ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่

    โดยชี้ว่า การชุมนุมเป็นการเรียกร้องให้ยุติการทำหน้าที่ คสช. ไม่ได้เรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นรัฐบาลรักษาการแต่อย่างใด จริงอยู่ที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 265 บัญญัติให้ คสช.ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ แต่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ ใดที่บัญญัติห้ามมิให้ คสช.ลาออก ฉะนั้น หากจะอ้างว่ารัฐบาลปกติยังรักษาการใด้ แต่นั่นเป็นคณะรัฐบาลซึ่งไมใช่ คสช.ที่มีอำนาจล้นฟ้าด้วยมาตรา 44 เช่นนี้

    ข้อเรียกร้องทั้งหมดนี้อาจจะดูเหมือนว่าจะปฏิบัติได้ยาก แต่ก็สามารถปฏิบัติได้ หาก คสช.ตั้งใจที่จะทำในฐานะที่เป็นคนกลาง และหากปฏิบัติได้เช่นนี้บ้านเมืองก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่ผู้คนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและสันติ

    แต่หากยังคงจำกัดสิทธิเสรีภาพและดำเนินคดีต่อผู้ที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบันที่ผ่านประชามติรับรองไว้ อีกทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่เราไปให้สัตยาบันไว้ก็บัญญัติรับรองไว้เช่นกัน การกระทำเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ผลกระทบที่ตามมาย่อมตกแก่ประเทศไทยและคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    “หมดยุคสมัยที่จะใช้คำว่าข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวแล้วครับ” ชำนาญ จันทร์เรือง ลงท้ายคำให้การในฐานะพยานแกนนำกลุ่ม MBK39

    (อ้างอิง: http://www.tlhr2014.com/th/?p=6899)
  • ทนายผู้ต้องหาได้เข้าแจ้งเลื่อนการส่งตัวกับพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน โดยผู้มารายงานตัวในวันนี้ 3 ราย ได้แก่ นายสมบัติ บุญงามอนงค์, นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และนายวีระ สมความคิด ขณะนายสุกฤษฏ์ เพียรสุวรรณ ติดธุระที่ต่างประเทศ และผู้ต้องหาที่เหลือยังคงถูกคุมขังอยู่ สน.พญาไท และ สน.ชนะสงคราม จากการมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการชุมนุมและเดินขบวนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริเวณหน้าสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 21-22 พ.ค. จึงขอเลื่อนนัดนี้ออกไปก่อน ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนแจ้งว่า สามารถส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมกันได้ในวันที่ 24 มิ.ย. 61 ขณะที่ทนายความของผู้ต้องหา 7 ราย แจ้งว่าผู้ต้องหาจะมาได้ในวันที่ 25 พ.ค. 61 จึงขอเลื่อนจากนัดวันนี้ออกไปก่อน เพื่อหาวันที่แน่ชัด

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=7502)
  • เวลาประมาณ 10.45 น. ที่สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษอาญากรุงเทพใต้ 4 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน นัดหมายผู้ต้องหาในส่วนแกนนำเพื่อส่งตัวผู้ต้องหาและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ ในวันนี้นายวีระ สมความคิด ไม่สามารถเดินทางมาตามนัดได้ เนื่องจากติดภารกิจที่ศาลอื่น ทำให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหา 8 คน โดยมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดีนี้ ในส่วนพนักงานอัยการเมื่อได้รับสำนวนไว้ จะพิจารณามีความเห็นทางคดีต่อไป และให้นัดฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 28 มิ.ย. 2561 เวลา 10.00 น. ทั้งนี้ คดีนี้หากมีการฟ้องต่อศาล จะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้

    รังสิมันต์ โรม เปิดเผยหลังจากเข้ารับทราบนัดจากอัยการว่า การดำเนินคดีกับการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งล้วนเป็นคดีทางการเมือง เป็นข้อหาทางการเมืองทั้งหมด โดยผู้จัดการชุมนุมก็ทราบว่ามีโอกาสที่จะถูกดำเนินคดี และตระหนักว่าปากกาไม่ได้อยู่ที่เรา ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ที่อำนาจที่ไม่ชอบธรรม จึงไม่แปลกที่จะถูกดำเนินคดีเยอะแยะมากมาย แต่เราก็พร้อมต่อสู้เต็มที่ แม้คดีต่าง ๆ จะก่อภาระมากมาย ให้ต้องเดินทางมาต่อสู้คดี แต่อีกด้านหนึ่งเราเชื่อว่าคดีของเราจะทำให้สังคมได้เห็นว่าใครคือคนที่ถูกรังแก และใครเป็นผู้รังแก

    รังสิมันต์ยังย้ำว่า การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเวลาพูดถึงเรื่องความวุ่นวายนั้น แท้จริงความวุ่นวายไม่ได้เกิดจากผู้ชุมนุม อย่างกรณีวันที่ 22 พ.ค. การปิดถนนเกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ชุมนุมมีการแจ้งการจัดการชุมนุมต่อตำรวจ แจ้งเส้นทางที่ชัดเจน มีการขอใช้พื้นผิวถนน 1 ช่องทางจราจร และเดินขบวนไปโดยสงบ เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=7590)
  • อัยการศาลอาญากรุงเทพใต้ยังไม่มีผลการพิจารณาสั่งคดี จึงเลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 25 ก.ค. 2561
  • อัยการศาลอาญากรุงเทพใต้ เลื่อนนัดฟังคำสั่งฟ้องคดีออกไปเป็นวันที่ 30 ส.ค. 61 เวลา 10.00 น.
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 3 ต.ค. 2561 เวลา 10.00 น.
  • อัยการยังไม่มีคำสั่ง เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 1 พ.ย. 2561 เวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นการเลื่อนฟังคำสั่งอัยการเป็นครั้งที่ 4
  • 10.00 น. ผู้ต้องหาคดี “MBK39” ในส่วนแกนนำ 8 คน ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายอานนท์ นำภา, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ, นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, นางสาวณัฏฐา มหัทธนา และนายสมบัติ บุญงามอนงค์
    ได้เดินทางมารายงานตัวที่สำนักงานอัยการกรุงเทพใต้เพื่อฟังคำสั่ง โดยอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทั้งแปดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ และยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 61 อัยการได้ยื่นฟ้องนายวีระ สมความคิด เป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันจากเหตุการณ์ชุมนุมรวมพลคนอยากเลือกตั้งเมื่อ 27 ม.ค. 61 นี้ไปแล้ว

    14.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้สอบคำให้การ จำเลยทั้งแปดให้การปฏิเสธ และยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ในเวลาต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งหมดโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ และนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 17 ธ.ค. 61 พร้อมกับนายวีระ สมความคิด

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=9412)
  • เวลา 09.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดพร้อมเพื่อตรวจพยานหลักฐานคดี MBK39 แกนนำ ก่อนเริ่มตรวจพยานหลักฐานโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3207/2561 โดยจำเลยมีนายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายอานนท์ นำภา, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ, นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, นางสาวณัฏฐา มหัทธนา และนายสมบัติ บุญงามอนงค์ เข้ากับคดีหมายเลขดำที่ อ.3090/2561 ซึ่งจำเลยคือนายวีระ สมความคิด โดยโจทก์แถลงว่าเนื่องจากคู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความรายเดียวกันและพยานหลักฐานที่โจทก์จะนำสืบเป็นพยานชุดเดียวกัน ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เนื่องจากคดีทั้งสองมีมูลเหตุเดียวกัน พยานหลักฐานชุดเดียวกัน เพื่อความสะดวกและรวดเร็วจึงมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน โดยให้ถือสำนวนคดีอาญาหมายเลขดำ อ.3090/2561 เป็นหลัก และให้นายวีระ เป็นจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1-8 ของคดีดำที่ 3207/2561 เป็นจำเลยที่ 2-9 ในคดีนี้

    จากนั้นศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้ง 9 ฟังอีกครั้ง จำเลยทั้ง 9 ให้การปฏิเสธและยื่นคำแถลงแนวทางการต่อสู้คดีเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมา จำเลยที่ 7 นายสุกฤษดิ์ เพียงสุวรรณ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลัง เนื่องจากสุกฤษฎ์ติดภารกิจศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 7 แต่งทนายความเข้าสู้คดีแทนแล้วและประกอบกับคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ศาลจึงอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลยได้

    นอกจากนี้ ทนายจำเลยยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฏหมายกรณีมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2561 ให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาในคดีนี้ด้วย ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจะมีคำสั่งชี้ขาดในคำพิพากษา

    ก่อนเสร็จสิ้นการตรวจพยานหลักฐาน โจทก์แถลงขอสืบพยาน 14 ปาก ด้านจำเลยแถลงขอสืบพยาน 13 ปาก โดยใช้เวลาสืบพยานโจทก์ 5 นัด และพยานจำเลย 5 นัด เริ่มสืบพยานในคดีนี้วันที่ 4-7, 18-21, 25-26 มิถุนายน 2562

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=10166)
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานโจทก์คดี MBK39 (แกนนำ) จำเลยทั้งหมด 9 ราย ในนัดนี้มาศาลรวม 5 ราย ได้แก่ วีระ สมความคิด, ณัฏฐา มหัทธนา, อานนท์ นำภา, สมบัติ บุญงามอนงค์ และเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล โดยสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ ศาลอนุญาตให้พิจารณาลับหลังจำเลยแล้ว

    ส่วนจำเลยอีก 3 ราย คือ รังสิมันต์ โรม, สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, และเอกชัย หงส์กังวาน ไม่มาศาลเนื่องจากติดภารกิจ และได้มีคำร้องขอพิจารณาลับหลังจำเลยซึ่งทนายจำเลยนำมายื่นในวันนี้ พร้อมกับแถลงต่อศาลถึงกรณีที่จำเลยไม่สามารถมาศาลได้ว่า ในส่วนของรังสิมันต์ ปัจจุบันเป็น ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ จึงติดภารกิจในการเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ ส่วนสิรวิชญ์และเอกชัยถูกทำร้ายร่างกายได้บาดเจ็บ จนต้องฟักฟื้นและรักษาตัวที่โรงพยาบาล ศาลเห็นควรให้สอบจำเลยทั้งสามอีกครั้ง และเพื่อให้ศาลได้ชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิของจำเลย ก่อนดำเนินคดีพิจารณาลับหลัง ทนายจำเลยรับว่า จะพาตัวจำเลยทั้งสามมาศาลในวันพรุ่งนี้ แต่หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถมาศาลได้ ก็จะให้ทำคำแถลงยืนยันการรับรู้ถึงสิทธิและข้อเสียของการไม่มาฟังเบิกความของพยาน โจทก์ไม่ค้าน ศาลจึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 มิ.ย. 62

    จากนั้นโจทก์ได้แถลงต่อศาลว่าพยานโจทก์ปากแรก พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้กล่าวหา ที่จะนำเข้าเบิกความในวันนี้ ไม่สามารถมาศาลนัดได้ในวันพรุ่งนี้ เนื่องจากติดราชการ และจะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานมาในนัดต่อไป พร้อมกับขอสืบพยานโจทก์ 5 ปาก เป็นพยานลำดับที่ 2 ถึงลำดับที่ 6 โดยมี ส.อ. ศราวุธ ดวงแก้ว, พ.ต.ท.สุรศักดิ์ เลิศไกร เจ้าหน้าที่ผู้แฝงตัวในการชุมนุม, นวพร กลิ่นบางบัว เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตปทุมวัน, ประภาส เหลืองศิรินภา เจ้าหน้าที่สำนักงานวิศวกรรมจราจรและขนส่ง, บดีศร เผ่าสุทอ ทนายความ ซึ่งเบิกความในประเด็นเกี่ยวกับความเห็นในการตีความข้อความปราศรัย

    นอกจากนี้ ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจำหน่ายข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เนื่องจากถูกยกเลิกไปแล้ว แต่โจทก์แถลงค้านว่า เนื่องจากประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2561 นั้นมีข้อยกเว้นในข้อ 2 ว่าการยกเลิกประกาศและคำสั่งตามข้อ 1 ซึ่งรวมถึงคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามชุมนุมมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปนั้น ไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการหรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อนการที่จะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งนี้ ศาลพิเคราะห์คำร้องประกอบคำแถลงของโจทก์แล้วเห็นด้วยกับคำแถลงของโจทก์ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของทนายจำเลย

    สำหรับประเด็นซึ่งศาลยกคำร้องขอให้จำหน่ายฐานความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 นั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเคยตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 22/2561 ว่า การระบุให้การยกเลิกประกาศและคำสั่งไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อนการยกเลิกโดยคำสั่งนี้ ยังก่อให้เกิดความคลุมเครือในการตีความและเป็นภาระในการต่อสู้คดีของจำเลย

    ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า จะต้องยึดหลักการตามมาตรา 2 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งรับรองหลักไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nullum Crimen Nulla Poena Sene Lege) อันเป็นหัวใจของกฎหมายอาญาว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” นอกจากนี้ ในวรรค 2 ของมาตราเดียวกันยังกำหนดอีกว่า ถ้าหากมีกฎหมายบัญญัติขึ้นในภายหลังให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ก็ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด หรือหากถ้าขณะนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษเเล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด หรือหากได้รับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

    ทั้งนี้ ภายหลังจากการออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2561 ทั้งศาลทหารและศาลยุติธรรมต่างทยอยจำหน่ายคดีหรือยกฟ้องจำเลยซึ่งถูกฟ้องตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 รวมถึงคดีเวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร ที่ศาลแขวงจังหวัดเชียงใหม่ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายในคดีว่า "เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 61 ได้มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2561 ซึ่งในข้อ 1 (7) ได้ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ จึงเป็นกรณีของบทบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังให้การกระทำตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2 เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งห้าไม่เป็นความผิด จึงเป็นเหตุยกฟ้องคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรค 1"

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=12659)
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานโจทก์ โดยพยานที่เข้าเบิกความในนัดนี้ ได้แก่ ส.อ.ศราวุธ ดวงแก้ว สังกัดกองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และเป็นคณะทำงานด้านกฎหมาย ส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย ของ คสช. ซึ่งในวันเกิดเหตุแฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุม

    ส.อ.ศราวุธ เบิกความตอบอัยการว่า ในวันที่ 25 ม.ค. 61 พยานได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของการชุมนุมผ่านเฟซบุ๊ก ทราบว่าจะมีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งในวันที่ 27 ม.ค. 61 เวลา 16.00 น. ก่อนหน้านั้นมีงานเสวนาที่ ซอยทองหล่อ สถาบันปรีดีพนมยงค์

    ในวันเกิดเหตุพยานกับทีมงานไปที่งานเสวนาในชุดนอกเครื่องแบบ เห็นนายวีระ สมความคิด และนายรังสิมันต์ โรม นอกจากนั้นพยานจำไม่ได้ ในงานเสวนามีการพูดโจมตี คสช. เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จนถึงเวลา 17.00 น.เศษ

    หลังเสร็จงานมีคนกลุ่มหนึ่งเดินทางไปที่สกายวอล์คแยกปทุมวัน พยานติดตามไปพบนายรังสิมันต์, นายเนติวิทย์, น.ส.ณัฏฐา, นายอานนท์, นายเอกชัย, นายสุกฤษฎ์ นอกจากนี้ยังมีนายวีระ กำลังยืนให้สัมภาษณ์อยู่ด้วย มีการปราศรัยโจมตี คสช. เกี่ยวกับการไม่รักษาสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้ง โดยมีคนปราศรัย 7-8 คน พยานและทีมงานได้ถ่ายภาพและบันทึกเสียงทั่วไป รวมทั้งบันทึกภาพของแต่ละบุคคลไว้ หลังจากนั้น พยานได้ถอดเทปคำปราศรัยไว้ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ก่อนที่พยานจะได้มาติดตามการชุมนุมจากเฟซบุ๊ก พยานได้ติดตามการเคลื่อนไหวมาก่อน โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการยั่วยุปลุกปั่นจึงรายงานผู้บังคับบัญชา

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 1
    พยานติดตามกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 61 แต่นายวีระ จำเลยที่ 1 ไม่ได้โพสต์เกี่ยวกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ในการเสวนาที่สวนครูองุ่นได้มีการพูดถึงการคอร์รัปชั่น 4.0 โดยนายวีระไปเป็นวิทยากร แต่พยานไม่ทราบว่า มีการพูดชักชวนคนมาชุมนุมหรือไม่ ส่วนที่สกายวอล์ค พยานเห็นนายวีระกำลังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พยานก็ไม่ทราบว่าให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับอะไร รวมทั้งจำไม่ได้ว่า นายวีระพูดปราศรัยหรือไม่ และยืนอยู่ที่ใด แต่ในบันทึกการถอดเทปคำปราศรัย ไม่มีคำพูดของนายวีระ ส่วนแกนนำคนอื่น ๆ จะยืนอยู่บริเวณนั้นหรือไม่ พยานก็ไม่แน่ใจ พยานไม่ทราบด้วยว่า นายวีระกลับตอนไหน ที่พยานเบิกความว่ามีการพูดยุยงปลุกปั่นนั้นเป็นความคิดของพยานเอง

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2
    พยานรับว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 50 (1) บัญญัติไว้ว่า บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย และพยานทราบว่า คสช. มีการประกาศว่าจะมีการเลือกตั้ง แต่มีการเลื่อนเลือกตั้ง พยานได้ยินนายรังสิมันต์ จำเลยที่ 2 ปราศรัยว่า มีการเลื่อนเลือกตั้ง รวมทั้งปราศรัยเกี่ยวกับการตรวจสอบนาฬิกาของพลเอกประวิตรวงษ์สุวรรณ

    พยานไม่ทราบว่า สถาบันปรีดีซึ่งใช้จัดงานเสวนาเป็นของเอกชน และไม่ทราบว่า งานเสวนาดังกล่าวมีการขออนุญาตหรือไม่ ที่พยานเบิกความว่า เห็นนายรังสิมันต์ที่งานเสวนานั้น พยานเบิกความใหม่ยืนยันว่า นายรังสิมันต์ไม่ได้ไปที่งานเสวนา

    ส่วนที่สกายวอล์ค พยานคิดว่า คำพูดปราศรัยของนายรังสิมันต์เป็นคำพูดที่อาจจะทำให้เกิดการปลุกปั่นได้ ในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ไปปะปนกับกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 20 นาย พยานไม่ได้รับคำสั่งให้ขัดขวางการชุมนุม และพยานแยกไม่ออกระหว่างผู้ชุมนุมกับประชาชนที่เดินผ่านไปรอรถไฟฟ้าหรือเดินเข้าห้าง

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3
    ส.อ.ศราวุธตอบทนายจำเลยว่า พยานมีหน้าที่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น โดยไม่ได้แสดงความเห็นว่า การออกมาเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมดีกว่าการปกครองในระบอบเผด็จการหรือไม่ ตามที่ทนายจำเลยถาม พยานระบุด้วยว่า ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 เนื่องจากเป็นหน้าที่

    ทนายจำเลยที่ 3 ถามว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุม โดยปราศจากอาวุธ และเสรีภาพในการแสดงออกตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ใช่หรือไม่ แต่ศาลติงว่า บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญใครก็รู้ไม่ต้องถามก็นำสืบได้ แต่ทนายจำเลยคัดค้านว่า จำเป็นต้องถาม เนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า การกระทำของจำเลยขัดต่อบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญ

    พยานตอบคำถามทนายจำเลยต่อไปว่า จำไม่ได้ว่าคำปราศรัยของนายสิรวิชญ์ จำเลยที่ 3 ไม่มีคำพูดที่หยาบคายหรือก่อให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ นายสิรวิชญ์ยังปราศรัยเกี่ยวกับเรื่องนาฬิกาของพลเอกประวิตร ซึ่งพลเอกประวิตรไม่ได้แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน จึงเป็นเหตุให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่พยานรับว่า ก็เคยได้ยินข่าวมาเช่นนั้น แต่พยานไม่ทราบว่า การปราศรัยในลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดติดชมหรือก่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องหรือไม่

    พยานไม่ทราบด้วยว่า นายสิรวิชญ์ไปงานเสวนาที่สวนครูองุ่นหรือไม่ ทั้งไม่เห็นว่า แกนนำมีการประชุมแบ่งหน้าที่หรือไม่ เนื่องพยานอยู่ห่างจากงานเสวนาประมาณ 10 เมตร ในวันเกิดเหตุหลังงานเสวนาและการชุมนุมก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปแจ้งความดำเนินคดี

    ในวันเกิดเหตุบริเวณสกายวอล์ค นอกจากเจ้าหน้าที่ทหารแล้ว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบประมาณ 50-60 นาย โดยกระจายตามที่ต่าง ๆ แต่พยานไม่ทราบว่า มีระดับผู้บังคับบัญชาหรือไม่ และไม่ทราบเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจได้ห้ามการชุมนุมหรือไม่ ทั้งนี้ บริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับหอศิลป์ ซึ่งพยานก็เคยได้ยินข่าวว่า เป็นที่ที่ประชาชนมาทำกิจกรรมและชุมนุมอยู่เสมอ ๆ

    ในกิจกรรมดังกล่าวพยานจำไม่ได้ว่า มีการชูสามนิ้วหรือไม่ และไม่ทราบความหมายของการชูสามนิ้ว รวมทั้งไม่ทราบว่า การที่ผู้ชุมนุมออกมาชู 3 นิ้ว เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้ง และเผด็จการจงพินาศประชาธิปไตยจงเจริญนั้นสามารถทำได้โดยชอบธรรมหรือไม่

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยและจำเลยที่ 4
    หลังพยานถอดเทปคำปราศรัยเสร็จแล้วได้ส่งรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทันที ส่วนคำปราศรัยจะมีคำพูดยุยงนั้นหรือไม่ พยานไม่ทราบ การชุมนุมเกิดขึ้นตามกฎหมายหรือไม่พยานก็ไม่ทราบ นอกจากนี้ พยานยังตอบว่าไม่ทราบในประเด็นต่าง ๆ ที่ น.ส.ณัฏฐา จำเลยที่ 4 ถามค้านด้วยตัวเอง เช่น การเสวนาที่สวนครูองุ่นเนื่องจากบ้านเมืองไม่มีฝ่ายค้านมา 4 ปีแล้วใช่หรือไม่ เนื้อหาการเสวนาเป็นความรู้เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในการต่างประเทศและการตรวจสอบเรื่องนาฬิกาของพลเอกประวิตรหรือไม่ ขณะจัดกิจกรรมนั้นสื่อมวลชนอยู่ในการควบคุมของ คสช. และไม่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลใช่หรือไม่ รวมทั้งพยานไม่มีความเห็นในประเด็นที่ว่า การพยายามจัดงานเสวนาเรื่องการตรวจสอบการคอร์รัปชั่น เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะใช่หรือไม่

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 5-6
    พยานไม่ทราบว่า ข้อความที่นายอานนท์ จำเลยที่ 5 โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งแชร์มาจากเฟซบุ๊กของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เป็นข้อความที่มีลักษณะยุยงปลุกปั่นหรือไม่ และจำไม่ได้ว่า คำปราศรัยของนายอานนท์จากการถอดเทป พูดถึงกรณีของอาจารย์อนุสรณ์ อุณโณ และอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่ เนื่องจากพยานมีหน้าที่เพียงบันทึกภาพและถอดเทป แต่พยานยืนยันตามเอกสารการถอดเทปบันทึกคำปราศรัย ส่วนคำปราศรัยที่ว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” จะเป็นการติชมโดยสุจริตใช่หรือไม่ พยานก็ไม่ทราบ และไม่มีความเห็นว่า การเลือกตั้งปี 2560 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

    พยานทำหน้าที่ติดตามนายเอกชัย จำเลยที่ 6 ด้วย และทราบว่า นายเอกชัยเป็นคนแรก ๆ ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตร พยานรับว่า ตามเอกสารการถอดเทปคำปราศรัย ข้อความที่นายเอกชัยพูดไม่ได้เป็นการปราศรัย และไม่มีข้อความใดที่มีลักษณะยั่วยุปลุกปั่น พยานรับด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัญญาว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 แต่ สนช. ขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ทำไห้การเลือกตั้งเลื่อนออกไป จึงเป็นเหตุให้ประชาชนออกมาชุมนุม

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 7
    พยานตอบทนายจำเลยโดยยอมรับว่า ถ้อยคำปราศรัยของนายสุกฤษฎ์ จำเลยที่ 7 ไม่มีข้อความยุยงปลุกปั่น ที่พยานถอดเทปว่ามีข้อความยุยงปลุกปั่นและส่งให้ผู้บังคับบัญชานั้นเป็นความคิดของพยาน และไม่ใช่หน้าที่ของพยานโดยตรง และพยานไม่ทราบว่าหลังจากจำเลยที่ 7 ปราศรัยเสร็จแล้วจำเลยไปที่ไหน และภายหลังการชุมนุมพยานไม่ได้มีการทำรายงานว่าการชุมนุมทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น พยานทราบด้วยว่า มีการดำเนินคดีคนที่ออกมาตรวจสอบการคอร์รัปชั่นของ คสช.

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 8
    ในการทำหน้าที่ถอดเทปของพยาน หลังจากถอดเทปเสร็จแล้วพยานได้ส่งให้ผู้บังคับบัญชาจึงไม่ทราบว่ามีข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างไร และพยานไม่ทราบว่าสิ่งที่เนติวิทย์ จำเลยที่ 8 พูด เป็นเสรีภาพในการแสดงออกที่มีการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ

    ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 9
    พยานใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า “คนไทยเลยขอ” และพยานไม่ทราบว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่าอะไร การทำงานของพยานมีหลายคน แต่พยานไม่ทราบว่าใช้ชื่ออะไรกันบ้าง โดยใช้วิธีการไปกดไลค์เพื่อติดตามเพจเฟซบุ๊ก พยานต้องรายงานต่อร้อยเอกมงคล ส่วนร้อยเอกมงคลจะใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่าอะไร พยานไม่ทราบ

    ในที่เกิดเหตุ พยานไม่เคยนำป้ายห้ามชุมนุม เนื่องจากอยู่ในรัศมี 150 เมตร จากวังของสมเด็จพระเทพฯ ไปติดไว้ และการกะประมาณระยะทางด้วยสายตาก็เป็นการยาก เจ้าหน้าที่จึงพยายามให้ผู้ชุมนุมขยับเข้าไปในสกายวอล์ค พยานไม่ทราบด้วยว่า นายสมบัติ บุญงามอนงค์ จำเลยที่ 9 ยืนให้สัมภาษณ์ตรงจุดไหน และไม่ทราบว่า นายสมบัติเพียงแต่ยืนให้สัมภาษณ์เท่านั้น ไม่ได้มีการปราศรัย พยานยังไม่ขอแสดงความเห็น เมื่อทนายจำเลยถามว่า คสช.มีการสืบทอดอำนาจ เป็นเรื่องที่มีมูลความจริงหรือไม่ ส.อศราวุธ ระบุด้วยว่า ตามบัญชีพยานโจทก์ ไม่มีพยานโจทก์คนใดที่อยู่ในที่เกิดเหตุนอกจากตัวพยาน

    ตอบคำถามติงของอัยการ
    ที่พยานเบิกความว่า ในบัญชีพยานมีแต่พยานที่อยู่ในวันเกิดเหตุ เนื่องจากพยานเป็นคนได้รับมอบหมาย และที่พยานไม่ได้จับกุมผู้ชุมนุมนั้น เนื่องจากพยานได้รับมอบหมายแค่ให้ติดตามผู้ชุมนุม ไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าจับกุม

    (อ้างอิง: คำให้การพยานโจทก์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ 3090/2561 ลงวันที่ 5 มิ.ย. 2562)
  • จากการสืบพยานทั้ง 3 วัน ฝ่ายโจทก์ได้นำพยานเข้าเบิกความแล้วจำนวน 5 ปาก ได้แก่ พยานเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบที่คอยติดตามกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดี 1 ปาก, พยานเจ้าหน้าที่โยธาจากสำนักงานเขตปทุมวัน 1 ปาก, พยานทนายความอาสาที่เข้ามาให้ความเห็นในคดี 1 ปาก, พยานอดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตปทุมวัน 1 ปากและพยานเจ้าหน้าที่จากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา 1 ปาก ทำให้พยานฝ่ายโจทก์ที่จะนำเข้าเบิกความต่อศาลเหลืออีกจำนวน 9 ปาก จากที่ฝ่ายโจทก์ระบุไว้ 14 ปาก และจะสืบพยานโจทก์ต่ออีกครั้งในวันที่ 18 มิ.ย. เวลา 9.00 น.

    (อ้างอิง: https://www.tlhr2014.com/?p=12717)
  • นัดสืบพยานปากต่อไปในวันที่ 28 ส.ค., 1-4, 27 ก.ย., 24 และ 29 ต.ค. 62
  • พยานโจทก์ที่เข้าเบิกความคือ พลตำรวจตรีชุมพล พุ่มพวง เกี่ยวข้องเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนที่แฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุม มีหน้าที่สืบสวนผู้กระทำความผิดในกทม.

    พยานเบิกความไปในทางที่ว่าไม่มีความเห็นว่า อยู่ในที่เกิดเหตุจริงแต่ไม่ได้ตั้งใจฟังว่าจำเลยปราศรัยว่าอย่างไร แต่ทราบว่าเป็นการปราศรัยเกี่ยวกับการโจมตีการทำงานของคสช. และมีการเชิญชวนคนให้ออกมาต่อต้านคสช.

    ส่วนทนายจำเลยสื่อเพื่อชีให้เห็นว่าการปราศรัยของจำเลยไม่ได้มีข้อความใดที่ทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องหรือความไม่สงบเรียบร้อย รวมถึงชี้ให้เห็นว่าการชุมนุมดังกล่าวสามารถทำได้ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้และประชาชนสามารถตรวจสอบหรือวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองได้

    ด้านพยานเบิกความว่าไม่มีความเห็นว่าข้อความที่จำเลยปราศรัยนั้นจะมีความกระด้างกระเดื่องหรือก่อความไม่สงบหรือไม่เนื่องจากขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพนักงานสอบสวน และเอกสารตนไม่ได้เป็นผู้จัดทำแต่เป็นทหารเป็นคนทำ จึงไม่ยืนนยันข้อความในเอกสาร และไม่ได้ดูวิดีโอประกอบคำปราศรัย รวมถึงไม่ได้ฟังการปราศรัยของจำเลยจึงจำรายละเอียดไม่ได้ จำได้เพียงว่ามีการปราศรัยโจมตีคสช.

    แต่พยานเบิกความใหม่ช่วงตอบอัยการถามติงว่าไม่รับรองข้อมูลในเอกสาร แต่ยืนยันว่าบุคคลทั้งหมดนี้ในเอกสารเป็นจำเลยในคดีนี้

    มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตเยอรมันเข้าสังเกตการณ์การพิจารณาคดี
  • ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดสืบพยานโจทก์ปากสุดท้าย ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดี แต่เนื่องจากโจทก์ยื่นคำร้องเลื่อนนัดสืบพยาน โดยอ้างว่า เอกชัย หงส์กังวาน จำเลยที่ 6 ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด เพื่อขอให้อัยการสูงสุดพิจารณามีคำสั่งให้ถอนฟ้องคดีนี้ ทำให้พนักงานอัยการที่ทำคดีนี้ต้องส่งสำนวนที่มีการร้องขอความเป็นธรรมทั้งหมดไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา จึงไม่มีพยานและสำนวนเอกสารในการสืบพยาน และขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของอัยการสูงสุด โจทก์จึงจำเป็นต้องรอคำสั่งของอัยการสูงสุดก่อนดำเนินการสืบพยานต่อไป จึงขอให้ศาลยกเลิกการสืบพยานไปก่อน จากนั้นทนายจำเลยที่ 1-5 และทนายที่ 7-9 ร่วมกันแถลงขอคัดค้านการเลื่อนสืบพยาน เนื่องจากการร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับการกระทำของจำเลยคนอื่น ๆ ในคดีนี้ และคดีนี้มีการสืบพยานมาใกล้เสร็จแล้ว หากมีการเลื่อนสืบพยานจะทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า จึงขอให้ศาลสืบพยานโจทก์และจำเลยในคดีนี้ไปก่อน อีกทั้งทนายของเอกชัยแถลงว่าไม่ทราบเรื่องที่เอกชัยยื่นขอความเป็นธรรมมาก่อน

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เอกชัยขอพิจารณาลับหลังและศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีลับหลังมาโดยตลอด ประกอบกับคดีนี้มีจำเลยคนอื่นด้วย เห็นควรให้สืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งเก้าไปก่อน หากภายหลังอัยการสูงสุดมีคำสั่งอย่างไร ศาลจะพิจารณาสั่งตามกฎหมายต่อไป ศาลจึงได้ยกเลิกการสืบพยานโจทก์ในวันนี้และวันที่ 13 มี.ค. 63 นอกจากนี้ ทนายได้แถลงขอยกเลิกนัดสืบพยานในวันที่ 26 มี.ค. 63 ซึ่งเป็นนัดเดิมที่เคยนัดไว้ เนื่องจากติดพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดระยอง ศาลอนุญาตและให้นัดสืบพยานโจทก์ปากสุดท้ายในวันที่ 19 มี.ค. 63 และสืบพยานจำเลยรวม 18 ปาก ในวันที่ 20, 27 มี.ค., 8, 22 พ.ค. และ 24 ก.ค. 63 เวลา 09.00 น.

    (อ้างอิง: รายงานกระบวยพิจารณา ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ 3090/2561 ลงวันที่ 12 มี.ค. 2563 และ https://www.tlhr2014.com/?p=16490)
  • สืบพยานโจทย์ปากสุดท้ายพนักงานสอบสวนในคดี พยานเบิกความว่า โพสต์ของจำเลยทั้ง 7 ไม่ได้เป็นการเชิญชวนให้คนมาชุมนุมและไม่มีการยุยงปลุกปั่นภายในโพสต์ของจำเลย

    ส่วนการชุมนุมในรัศมี 150 เมตร ใกล้เขตพระราชวังนั้น พยานเบิกความว่า พยานไม่ทราบมาก่อนว่าในจุดเกิดเหตุหรือบริเวณหน้าหอศิลป์จะเป็นเขตพื้นที่ 150 เมตรใกล้เขตพระราชวังมาก่อน และมาทราบภายหลังเกิดเหตุเนื่องจากมีการไปวัดระยะทางจากสำนักงานเขต และบริเวณชุมนุมไม่ได้มีการติดป้ายบอกประชาชนว่าเป็นเขต 150 เมตร ใกล้เขตพระราชวัง และพยานเองไม่ทราบว่าจุดเกิดเหตุที่แท้จริงคือจุดใดเพราะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ ส่วนการวัดนั้นเป็นการวัดจากจุดเกิดเหตุไปถึงเขตรั้ววังแต่ไม่ได้วัดเข้าไปถึงที่ประทับของเจ้าฟ้าเพราะไม่สามารถเข้าไปในเขตรั้ววังได้

    และการปราศรัยของจำเลยที่ 2- 7 ไม่มีข้อความใดที่ยุยงปลุกปั่น เป็นเพียงการปราศรัยเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งและเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นเรื่องนาฬิกาของพลเอกประวิตร ซึ่งก็ปรากฏตามข่าวจริงว่าพลเอกประวิตรมีนาฬิกาจริงแต่ยืมเพื่อนมา รวมถึงเป็นการปราศรัยเกี่ยวกับการปกครองในระบอบเผด็จการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถกระทำได้และอยู่ในความมุ่งหมายในรัฐธรรมนูญ

    ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 9 เป็นเพียงการยืนให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไม่ได้มีการปราศรัยและยืนอยู่คนละจุดกับที่ชุมนุม

    โจทก์แถลงหมดพยาน ศาลเลื่อนนัดสืบพยานจำเลยเดิมนัดไว้ 20, 27 มี.ค. 63 เลื่อนนัดใหม่เป็น 13,14 ส.ค. 63
  • เดิมศาลนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 8, 22 พ.ค., 24 ก.ค. และ 13,14 ส.ค. 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ศาลจึงให้ยกเลิกวันนัดเดิมในวันที่ 8 และ 22 พ.ค. 2563 และให้เลื่อนออกไปเป็นนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่ในวันที่ 15 มิ.ย. 2563 เวลา 09.00 น.
  • วันนี้ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยใหม่หลังจากเลื่อนจากเหตุโควิดจากเดิมนัดสืบ 24 ก.ค., 13,14 ส.ค. 2563 วันนี้ศาลได้เพิ่มวันสืบพยานอีกสองวันคือ 22 ก.ย. และ 15 ต.ค 63

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเอกชัย หงส์กังวาน

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาวณัฏฐา มหัทนา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายวีระ สมความคิด

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสมบัติ บุญงามอนงค์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายรังสิมันต์ โรม

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเอกชัย หงส์กังวาน

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นางสาวณัฏฐา มหัทนา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายวีระ สมความคิด

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสมบัติ บุญงามอนงค์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายรังสิมันต์ โรม

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
อานนท์ นำภา

ผลการพิพากษา
-
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
อนุญาต

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์