ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1267/2560
แดง 157/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • ทำให้เสียทรัพย์ (มาตรา 358)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1267/2560
แดง 157/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายจำรัส นาคา

ความสำคัญของคดี

วัยรุ่น 6 คน รับจ้างวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ร.10 โดยหวังค่าจ้าง แล้วถูกดำเนินคดีในข้อหา อั้งยี่ ซ่องโจร วางเพลิงเผาทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และ ม.112 หลังถูกจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และถูกควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหาร รวม 6 วัน อันเป็นการละเมิดสิทธิในความมั่นคงปลอดภัย โดยการสอบสวนในค่ายทหารนำไปสู่การออกหมายจับและดำเนินคดี ซึ่งในขั้นตอนการสอบสวน ผู้ต้องหาก็ไม่มีทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำ ถูกตั้งข้อหาหนักเกินพฤติการณ์จริง รวมทั้งไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกดำเนินคดี

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

1. เมื่อวันที่ใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 3 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง 6 กับพวก ได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่มุ่งประสงค์จะวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ร่องกลางถนนหมายเลข 23 (เส้นทางบ้านไผ่-บรบือ) บริเวณบ้านโคกก่อง หมู่ 2, 11 ต.หินตั้ง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น โดยประชาชนทั่วไปไม่อาจรู้ได้ อันเป็นการปกปิดวิธีการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีนายปรีชา งามดี ซึ่งหลบหนียังไม่ได้ตัวมาฟ้อง เป็นหัวหน้าคณะบุคคลอั้งยี่นี้
2. วันที่ 3 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง ุ6 กับพวก ได้ประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำที่กระท่อมของนายปรีชา และนายปรีชาได้เปิดคลิปวีดิโอ เนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบอบ และจัดเตรียมถุงบรรจุน้ำมันจำนวนหลายถุงมอบให้จำเลยทั้ง 6 กับพวก โดยแบ่งหน้าที่ให้จำเลยทั้ง 6 กับพวก เพื่อไปวางเพลิงเผาซุ้มดังกล่าว อันเป็นการสมคบกันตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร
3. ตามวัน เวลาข้างต้น หลังประชุมวางแผน จำเลยทั้ง 6 กับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นทรัพย์สินของ อบต.หินตั้ง เป็นการร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น และความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยการใช้ถุงบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนหลายถุงขว้างใส่และเทราดใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนเปียกชุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วใช้ไฟแช็กจุดไฟใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนได้รับความเสียหายบางส่วน อันเป็นการทำให้เสียทรัพย์ คิดเป็นค่าเสียหาย 3,000 บาท

ความคืบหน้าของคดี

  • ญาติยื่นประกันตัวนายแทน (นามสมมติ) โดยวางเงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 1 แสนบาท ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต โดยระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาต้องหาว่ากระทำความผิดในลักษณะเป็นขบวนการ มีลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นคง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เกรางว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี
    ต่อมา ญาติของแทนได้ยื่นประกันอีกครั้ง โดยเพิ่มหลักประกันเป็น 3 แสนบาท ศาลจังหวัดพลยังคงไม่อนุญาตให้ประกัน ญาติจึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันยืนตามศาลชั้นต้น
  • ทนายความและญาติเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว นายไตรเทพ (นามสมมติ) ซึ่งถูกขังในระหว่างสอบสวนอยู่ที่เรือนจำอำเภอพล ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 60 จนถึงปัจจุบัน รวมเวลา 1 เดือน โดยญาติได้วางหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวเป็นโฉนดที่ดิน มูลค่า 1.6 แสนบาท คำร้องฯ ที่ยื่นต่อศาล ระบุเหตุผลในการขอปล่อยชั่วคราวว่า ผู้ต้องหามีอายุ 18 ปี ยังเป็นผู้เยาว์และยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียนจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ยังไม่ได้เรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นเนื่องจากมีฐานะยากจน และอาศัยอยู่กับมารดาซึ่งมีอายุมากถึง 53 ปี เพียงคนเดียว เนื่องจากบิดาได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ผู้ต้องหายังเด็ก ผู้ต้องหาหาเลี้ยงชีพโดยการรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์ หากไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่มีโอกาสทำงานหาเงินมาแบ่งเบาภาระของมารดา นอกจากนี้ ผู้ต้องหาเป็นบุคคลธรรมดาหาเช่ากินค่ำ ไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจหรืออิทธิพลใดๆ ที่จะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ อีกทั้งพยานหลักฐานทั้งหมดได้อยู่ที่เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ต้องหาไม่อาจจะไปยุ่งเหยิงได้เลย ผู้ต้องหายังคงเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาเท่านั้น ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นความผิดหรือไม่ ซึ่งตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ข้อ 14(1) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11(1) ล้วนให้การรับรองไว้ว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด”

    อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาศาลจังหวัดพลมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาต้องหาว่ากระทำความผิดในลักษณะเป็นขบวนการ และก่อเหตุในหลายพื้นที่ มีลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นคง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในชั้นนี้ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนี (ข้อมูลจาก http://www.tlhr2014.com/th/?p=4468)
  • เรือนจำอำเภอพลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 คน เนื่องจากพนักงานสอบสวนกล่าวหาผู้ต้องหาทั้ง 6 ว่ากระทำความผิดอาญาในข้อหาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง 7 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรค 5 กำหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งขังครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวมแล้วไม่เกิน 48 วัน โดยการฝากขังครั้งที่ 4 ครบกำหนดในวันที่ 9 ก.ค. 60 แต่พนักงานอัยการจังหวัดพลยังไม่สามารถสรุปสำนวนเพื่อยื่นส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดพลได้ ทำให้ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ หากพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลจะนัดผู้ต้องหาทั้ง 6 มาอ่านฟ้องให้ฟังและสอบคำให้การต่อไป
  • พนักงานอัยการจังหวัดพลเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 6 ผู้ต้องหา ต่อศาลจังหวัดพล ในความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, ทำให้เสียทรัพย์, เป็นอั้งยี่, ซ่องโจร และร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ หลังพนักงานสอบสวนมีหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 6 ให้มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มเติมในเช้าวันเดียวกันนี้ หลังศาลรับฟ้อง และอ่านฟ้องให้จำเลยทั้ง 6 ฟังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้ง 6 ซึ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อครบฝากขังในวันที่ 10 ก.ค.60 ก็ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำอำเภอพลในช่วงเย็น
  • ผู้พิพากษาไม่ได้เข้าในห้องพิจารณา มีเพียงนิติกรมาชี้แจง และให้ทนายอธิบายข้อกล่าวหาและสิทธิของจำเลยให้จำเลยฟัง แล้วถามคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งหมด รับสารภาพแต่ข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ ขอสู้คดีในข้อหาอื่น โดยศาลนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 2 ต.ค. 60
  • ศาลได้อ่านคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยฟัง และถามคำให้การ จำเลยทั้ง 6 ให้การรับสารภาพในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ ส่วนข้อหาอื่น ๆ ขอให้การปฏิเสธ ศาลจึงตรวจพยานหลักฐานและนัดวันสืบพยาน โดยโจทก์มีพยานบุคคลรวม 22 ปาก คู่ความแถลงว่า พยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ และจัดทำรายงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ จำเลยไม่ติดใจสืบ คงเหลือพยานบุคคลที่จะต้องสืบรวม 21 ปาก นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 12-15 ธ.ค. 60 และวันที่ 16 ม.ค. 61 รวม 5 วัน ส่วนจำเลยมีพยานบุคคลรวม 12 ปาก นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 17-19 ม.ค. 61 รวม 3 วัน

    นอกจากนี้ นายจำรัส นาคา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้ง อ.บ้านไผ่ ผู้เสียหาย ได้ยื่นคำร้องบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ศาลจึงมีคำสั่งให้ฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การในส่วนแพ่งนี้ภายใน 15 วัน อีกทั้ง มีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 4 ปาก ศาลได้มีคำสั่งให้นักจิตวิทยาเข้าร่วม

    (ข้อมูลจาก '6 จำเลยวัยรุ่นคดีเผาซุ้มฯ รับสารภาพวางเพลิง ไม่เจตนาหมิ่นฯ' ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=5713)
  • ศาลจังหวัดพลนัดพร้อมโจทก์จำเลยคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดขอนแก่น คดีหมายเลขดำที่ อ.1267/2560 ซึ่งมีนายไตรเทพ และพวกรวม 6 คน เป็นจำเลย และคดีหมายเลขดำที่ 1268/2560 ซึ่งมีนายไตรเทพ และพวกรวม 4 คน เป็นจำเลย ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดพล-โจทก์ ยื่นคำร้องขอรวมพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน

    หลังจากจำเลยทั้ง 6 คน ใน 2 คดี ถูกนำตัวมายังห้องพิจารณาคดี ได้ขอปรึกษาหารือกับทนายความ และอัยการจังหวัดพล ซึ่งมาศาลในวันนี้ด้วย จากนั้น จำเลยทั้ง 6 จึงแถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะให้การรับสารภาพทุกข้อหาตามที่โจทก์ฟ้อง

    เมื่อจำเลยทั้ง 6 แถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะให้การรับสารภาพ ศาลจึงอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามคำให้การอีกครั้ง จำเลยขอถอนคำให้การเดิม และให้การรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้องทุกข้อกล่าวหา

    โจทก์และจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ แต่จำเลยขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพเป็นหนังสือภายใน 15 วัน และศาลเห็นควรให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้ง 6 รายงานต่อศาล เพื่อศาลใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจก่อนมีคำพิพากษา ทั้งนี้ ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 ม.ค. 61

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้เสียหายคือ นายจำรัส นาคา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้ง อ.บ้านไผ่ ได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวน 3,000 บาท ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานส่วนแพ่ง ในวันที่ 12 ธ.ค. 60

    (ข้อมูลจาก 'จำเลยวัยรุ่นคดีเผาซุ้มฯ เปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพทุกข้อหา' ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=5713)
  • ปลัด อบต.หินตั้ง อ.บ้านไผ่ ผู้เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 3,000 บาท จำเลย 6 คน ยิมยอมร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว คู่ความจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความเสนอต่อศาล โดยไม่ต้องมีการสืบพยาน
  • จำเลยทั้ง 6 มีความผิดตามฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 217, 358, 209 วรรคแรก, 210 วรรคสอง) การกระทำของจำเลยทั้ง 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 1, 3-6 มีอายุเกิน 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 8 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี, ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี, ฐานร่วมกันวางเพลิงฯ, ทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานหมิ่นฯ พระมหากษัตริย์ฯ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 4 ปี 8 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 จำคุก 7 ปี รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 5 ปี 20 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 รวมจำคุก 10 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 2 ปี 16 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 คงจำคุก 5 ปี พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบรายงานการสืบเสาะและพินิจเห็นว่า จำเลยทั้ง 6 ร่วมกันวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย นับเป็นการกระทำที่อุกอาจร้ายแรง ไม่มีเหตุรอการลงโทษ

    คำพิพากษาส่วนแพ่ง อบต.หินตั้ง ได้รับค่าเสียหายจำนวน 3,000 บาท จากจำเลยทั้ง 6 แล้ว จึงถอนคำร้องที่ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย

    ก่อนอ่านคำพิพากษา ผู้พิพากษาระบุว่า ได้ตรวจดูคำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ เพื่อพิจารณาประกอบการพิพากษา อีกทั้งได้มีการนำสำนวนคดีปรึกษาอธิบดีและรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4

    ทั้งนี้ คำแถลงประกอบคำรับสารภาพจำเลยทั้ง 6 มีเนื้อหาโดยสรุปยอมรับว่า การกระทำของจำเลยทั้งหมดเป็นความผิดร้ายแรง แต่จำเลยทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอศาลพิจารณาลงโทษจำเลยในสถานเบาและรอการลงโทษ เพื่อให้จำเลยมีโอกาสกลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคมอีกครั้ง

    ส่วนรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งพนักงานคุมประพฤติจัดทำเป็นรายบุคคล เป็นข้อมูลที่พนักงานคุมประพฤติรวบรวมจากการสอบถามจำเลย ครอบครัว และบุคคลในชุมชน อย่างไรก็ดี ในตอนท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ได้สรุปเหตุอันควรปรานี ความต้องการของจำเลย และความเห็นเจ้าหน้าที่ไว้ โดยค่อนข้างคล้ายคลึงกันว่า เหตุอันควรปรานี ได้แก่ จำเลยให้การรับสารภาพ ให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม รวมถึงบางคนกำลังศึกษา จำเลยต้องการให้คุมประพฤติ โดยยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดทุกประการ ส่วนเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า การกระทำของจำเลยเพียงเพื่อให้ได้ค่าจ้างมาใช้จ่าย โดยไม่มีเจตนาไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่จำเลยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะตามมา หากมีจิตสำนึกที่ดีของการเป็นราษฎรไทย สมควรจะต้องรู้สำนึกอยู่แก่ใจว่า การกระทำนั้นเป็นเช่นใด การกระทำของจำเลยทำให้คนไทยรู้สึกสะเทือนใจ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับบุคคลอื่น และเพื่อให้ได้สำนึกต่อการกระทำผิด สมควรได้รับโทษตามกฎหมาย วิธีการควบคุมประพฤติไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับจำเลย

    (ข้อมูลจาก 'โทษหนัก! จำคุก 10 ปี ข้อหา 112 วัยรุ่นเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ' ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=6182)
  • ทนายความของจำเลยทั้งหกได้เข้ายื่นอุทธรณ์ที่ศาลจังหวัดพล คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ตามระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร หรือให้จำเลยเสียค่าปรับ หรือทำงานบริการสังคม โดยจำเลยทั้งหกยินยอมถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด เพื่อขอโอกาสให้จำเลยทั้งหกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม พร้อมทั้งดูแลครอบครัวต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคมมากกว่าการจำคุกจำเลยทั้งหกไว้เป็นเวลานาน
    โดยศาลจังหวัดพลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 61 รับอุทธรณ์ของจำเลย ส่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาต่อไป (ข้อมูลจาก http://www.tlhr2014.com/th/?p=6908)
  • ศาลจังหวัดพลเบิกตัวจำเลยวัยรุ่น 6 คน จากเรือนจำอำเภอพล จ.ขอนแก่น มาศาลเพื่ออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงวันที่ 11 ก.ค. 61 มีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้
    “…เห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายประการแรกเสียก่อนว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งหกจะให้การรับสารภาพ แต่หากพิจารณาตามฟ้องโจทก์แล้วเห็นได้ชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกมุ่งประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอันได้แก่ ซุ้มประตูซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหกมีความมุ่งหมายที่จะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งหกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดเพียงฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 140,000 บาท และฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่เห็นพ้องด้วย และความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งหกย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ไม่ใช่มาตรา 210 วรรค 2 ทั้งนี้ กำหนดโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนี้เหมาะสมแล้ว
    มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยทั้งหกหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกกับพวกเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง แม้จำเลยทั้งหกจะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งแล้วก็ตาม เห็นควรลงโทษจำเลยทั้งหกให้หลาบจำ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อบุคคลอื่น และแม้จะมีเหตุต่าง ๆ ตามที่จำเลยทั้งหกหยิบยกขึ้นกล่าวในอุทธรณ์ก็ยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอปราณีรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งหก
    พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งหกมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นกับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 4 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 2 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 3 ปี เมื่อรวมโทษกับความผิดฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุกจำเลยที่ 1, 3-6 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน ยกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น”


    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดพลได้มีคำพิพากษาชั้นต้น ยกฟ้องนายปรีชาและนายสาโรจน์ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ รวม 3 คดี จากเหตุการณ์เดียวกับจำเลยวัยรุ่น 6 คนนี้ โดยนายปรีชาและนายสาโรจน์ถูกจับกุมดำเนินคดีภายหลังกลุ่มวัยรุ่นทั้งหก และจำเลยอีก 2 คน ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
    (http://www.tlhr2014.com/th/?p=9000)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เต้ย

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แทน

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เต้ย

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แทน

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018

ศาลอุทธรณ์

ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
เต้ย

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
แทน

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสม กุมศัสตรา
  2. นายสายัณห์ ศรีดวม
  3. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018

ข้อสังเกต

คดีนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่ถือเป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน อีกทั้งการขยายขอบเขตการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้จำเลยในคดีนี้ถูกลงโทษจำคุกค่อนข้างหนักเกินกว่าพฤติการณ์ในคดี และทำให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ต้องถูกจำคุกเป็นเวลานาน แทนที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์