ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 365/2561
แดง 944/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 365/2561
แดง 944/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 365/2561
แดง 944/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 365/2561
แดง 944/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ความสำคัญของคดี

จำเลย 2 คน เป็นผู้ชักจูงให้วัยรุ่นก่อเหตุเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ 2 ซุ้ม ใน อ.ชนบท แล้วถูกดำเนินคดีในข้อหา อั้งยี่ ซ่องโจร วางเพลิงเผาทรัพย์ และ ม.112 หลังถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหาร รวม 7 วัน อันเป็นการละเมิดสิทธิในความมั่นคงปลอดภัย อีกทั้งการดำเนินคดีโดยตั้งข้อหาตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 ถือเป็นการขยายขอบเขตการใช้กฎหมายดังกล่าวออกไปอย่างกว้างขวาง และในการพิจารณาคดี ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยไม่แจ้งทนายจำเลยและญาติให้ทราบก่อนล่วงหน้าและเข้าร่วมกระบวนการ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ในชั้นสอบสวน และในที่สุดศาลจะยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหา ม.112 ก็ตาม

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

1. ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง 2 กับพวก ได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่มุ่งประสงค์จะวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 โดยประชาชนทั่วไปไม่อาจรู้ได้ อันเป็นการปกปิดวิธีการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
2. ตามวัน เวลาข้างต้น จำเลยทั้ง 2 กับพวกรวม 7 คน ได้ประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำที่กรท่อมของจำเลยที่ 1 และมีการเปิดคลิปวีดิโอ เนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบอบ และจัดเตรียมถุงบรรจุน้ำมันจำนวนหลายถุง เพื่อไปวางเพลิงเผาซุ้มดังกล่าวในเขต ต.ชนบท อ.ชนบท จำนวน 2 ซุ้ม ที่หน้าวัดป่าธรรมวิเวก และหน้าเทศบาลตำบลชนบท อันเป็นการสมคบกันตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร
3. ตามวัน เวลาข้างต้น หลังประชุมวางแผน จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดป่าธรรมวิเวก ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น จำนวน 1 ซุ้ม และที่ตั้งอยู่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลชนบทอีก 1 ซุ้ม ซึ่งเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตำบลชนบท เป็นการร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น และความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยการใช้ถุงบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนหลายถุงขว้างใส่และเทราดใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนเปียกชุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วใช้ไฟแช็กจุดไฟใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนได้รับความเสียหาย ซุ้มละ 479,000 บาท 2 ซุ้ม รวมค่าเสียหาย 958,000 บาท

ความคืบหน้าของคดี

  • ศาลเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาจากเรือนจำมาอ่านฟ้องให้ฟัง และถามคำให้การ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ และโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 22 พ.ค. 61 โดยให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้งสองก่อนมีคำพิพากษา
  • จากการตรวจสำนวนทนายจำเลยพบว่า ศาลนัดสืบพยานส่วนแพ่งคดีเผาซุ้มฯ ใน อ.ชนบท ในวันที่ 15 พ.ค. 61 แต่ในวันที่ 24 เม.ย. 61 ศาลเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาสืบพยานส่วนแพ่งโดยไม่ได้แจ้งทนายความและญาติ โดยแจ้งจำเลยว่า เนื่องจากอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 จะย้ายจึงต้องรีบส่งสำนวนและคำพิพากษาให้อธิบดีฯ ตรวจก่อน จำเลยต้องให้ตำรวจศาลติดต่อญาติ และญาติต้องติดต่อทนายความในพื้นที่เพื่อเข้าร่วมกระบวนการสืบพยานในส่วนแพ่ง

    จำเลยทั้งสองแถลงว่า ค่าเสียหายที่ผู้เสียหายเรียกสูงเกินไป ประกอบกับซุ้มที่ถูกไหม้สร้างมานานแล้ว น่าจะมีค่าเสื่อมราคาด้วย ด้านนายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลชนบท ผู้เสียหาย เบิกความเป็นพยานว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองกับพวกทำให้ซุ้มเฉลิมพระเกียรติเสียหาย คิดเป็นค่าเสียหายรวม 958,000 บาท ตามราคาจัดซื้อจัดจ้างในปี 2551 พยานตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า หนังสือสรุปการประมาณราคาค่าก่อสร้างที่อ้างส่งต่อศาลจัดทำโดยวิศวกรโยธา แต่วิศวกรโยธาคนดังกล่าวไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ ปัจจุบันเทศบาลได้ก่อสร้างซุ้มใหม่แล้ว ซึ่งราคาค่าก่อสร้างถูกกว่าเดิม จำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาพร้อมกับส่วนอาญาในวันที่ 22 พ.ค. 61
  • ศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 18 มิ.ย. 61 โดยระบุว่า เนื่องจากยังเรียงคำพิพากษาไม่เสร็จ
  • ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลได้ให้จำเลยทั้งสองอ่านรายงานการสืบเสาะและพินิจ ซึ่งพนักงานคุมประพฤติจัดทำมาตามคำสั่งของศาล จำเลยทั้งสองอ่านแล้วไม่คัดค้าน ศาลอ่านทบทวนคำฟ้องและถามคำให้การในคดีทั้งสามอีกครั้ง จำเลยทั้งสองยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลจึงอ่านคำพิพากษา พิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ม.209 วรรคแรก, 210 วรรคสอง, 217 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกคนละ 1 ปี, ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกคนละ 2 ปี, ฐานร่วมกันวางเพลิงฯ จำคุกคนละ 7 ปี รวมจำคุกคนละ 10 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 5 ปี ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับจำเลยอีก 4 คน ที่ศาลพิพากษาไปแล้ว ชำระค่าเสียหายจำนวน 958,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. 60 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่เทศบาลตำบลชนบท (http://www.tlhr2014.com/th/?p=7816)
  • ทนายจำเลยเข้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำอุทธรณ์ระบุว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง ลงโทษฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกคนละ 1 ปี, ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกคนละ 2 ปี, ฐานร่วมกันวางเพลิงฯ จำคุกคนละ 7 ปี รวมจำคุกคนละ 10 ปี จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 5 ปี ยกฟ้องข้อหาตาม ม.112 และให้นับโทษต่อจากโทษในคดีแรกนั้น จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เนื่องจากเห็นว่า การกระทำความผิดฐานอั้งยี่นั้นเป็นความผิดกรรมเดียวต่อเนื่องกันมิใช่ความผิดที่กระทำต่างกรรมต่างวาระกัน อีกทั้งคณะบุคคลที่จำเลยทั้งสองเข้าร่วมนั้นก็มีเพียงคณะบุคคลเดียว ผู้กระทำความผิดก็เป็นบุคคลชุดเดียวกันทั้งหมด การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหานี้จึงเป็นการลงโทษจำเลยซ้ำจากการกระทำความผิดครั้งเดียวของจำเลย จำเลยทั้งสองจึงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ และพิพากษาลดโทษและรอการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยทั้งสอง
    ทั้งนี้ ศาลจังหวัดพลมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในทั้ง 3 คดี ส่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาต่อไป

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
สาโรจน์

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปรีชา

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
สาโรจน์

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นางอรุณี ปัทมามาลย์
  2. นายพิทักษ์ พันธุ์วัฒนะสิงห์

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 18-06-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ปรีชา

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นางอรุณี ปัทมามาลย์
  2. นายพิทักษ์ พันธุ์วัฒนะสิงห์

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 18-06-2018

ข้อสังเกต

คดีนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่ถือเป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์