ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1268/2560
แดง 162/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1268/2560
แดง 162/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1268/2560
แดง 162/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1268/2560
แดง 162/2561

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1268/2560
แดง 162/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1268/2560
แดง 162/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1268/2560
แดง 162/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1268/2560
แดง 162/2561
ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ความสำคัญของคดี

วัยรุ่น 4 คน รับจ้างวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ร.9 โดยหวังค่าจ้าง แล้วถูกดำเนินคดีในข้อหา อั้งยี่ ซ่องโจร วางเพลิงเผาทรัพย์ และ ม.112 หลังถูกจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และถูกควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหาร รวม 6 วัน อันเป็นการละเมิดสิทธิในความมั่นคงปลอดภัย โดยการสอบสวนในค่ายทหารนำไปสู่การออกหมายจับและดำเนินคดี ซึ่งในขั้นตอนการสอบสวน ผู้ต้องหาก็ไม่มีทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำ ถูกตั้งข้อหาหนักเกินพฤติการณ์จริง รวมทั้งไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกดำเนินคดี

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

1. ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง 4 กับพวก ได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่มุ่งประสงค์จะวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 อันเป็นความผิดฐานเป็นอั้งยี่
2. จำเลยทั้งสี่กับพวกรวม 7 คน ได้ประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อไปวางเพลิงเผาซุ้มดังกล่าวในเขต ต.ชนบท อ.ชนบท จำนวน 2 ซุ้ม อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร
3. เมื่อวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2560 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดป่าธรรมวิเวก ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น จำนวน 1 ซุ้ม และที่ตั้งอยู่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลชนบทอีก 1 ซุ้ม ซึ่งเป็นทรัพย์สินของเทศบาลตำบลชนบท เป็นการร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น และความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยการใช้ถุงบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนหลายถุงขว้างใส่และเทราดใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนเปียกชุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วใช้ไฟแช็กจุดไฟใส่ซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯ จนได้รับความเสียหาย ซุ้มละ 479,000 บาท 2 ซุ้ม รวมค่าเสียหาย 958,000 บาท

ความคืบหน้าของคดี

  • ทนายความและญาติเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว นายไตรเทพ (นามสมมติ) ซึ่งถูกขังในระหว่างสอบสวนอยู่ที่เรือนจำอำเภอพล ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 60 จนถึงปัจจุบัน รวมเวลา 1 เดือน โดยญาติได้ใช้ตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี ในวงเงิน 2 แสนบาท เป็นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว คำร้องฯ ที่ยื่นต่อศาล ระบุเหตุผลในการขอปล่อยชั่วคราวว่า ผู้ต้องหามีอายุ 18 ปี ยังเป็นผู้เยาว์และยังไม่บรรลุนิติภาวะ เรียนจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ยังไม่ได้เรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นเนื่องจากมีฐานะยากจน และอาศัยอยู่กับมารดาซึ่งมีอายุมากถึง 53 ปี เพียงคนเดียว เนื่องจากบิดาได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ผู้ต้องหายังเด็ก ผู้ต้องหาหาเลี้ยงชีพโดยการรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์ หากไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่มีโอกาสทำงานหาเงินมาแบ่งเบาภาระของมารดา นอกจากนี้ ผู้ต้องหาเป็นบุคคลธรรมดาหาเช่ากินค่ำ ไม่ใช่บุคคลที่มีอำนาจหรืออิทธิพลใดๆ ที่จะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ อีกทั้งพยานหลักฐานทั้งหมดได้อยู่ที่เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ต้องหาไม่อาจจะไปยุ่งเหยิงได้เลย ผู้ต้องหายังคงเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวหาว่ากระทำความผิดในฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาเท่านั้น ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นความผิดหรือไม่ ซึ่งตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ข้อ 14(1) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11(1) ล้วนให้การรับรองไว้ว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญาต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด”

    อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาศาลจังหวัดพลมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาต้องหาว่ากระทำความผิดในลักษณะเป็นขบวนการ และก่อเหตุในหลายพื้นที่ มีลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นคง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในชั้นนี้ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนี (ข้อมูลจาก http://www.tlhr2014.com/th/?p=4468)
  • เรือนจำอำเภอพลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 คน เนื่องจากพนักงานสอบสวนกล่าวหาผู้ต้องหาทั้ง 4 ว่ากระทำความผิดอาญาในข้อหาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง 7 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรค 5 กำหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งขังครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวมแล้วไม่เกิน 48 วัน โดยการฝากขังครั้งที่ 4 ครบกำหนดในวันที่ 9 ก.ค. 60 แต่พนักงานอัยการจังหวัดพลยังไม่สามารถสรุปสำนวนเพื่อยื่นส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดพลได้ ทำให้ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ หากพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลจะนัดผู้ต้องหาทั้ง 4 มาอ่านฟ้องให้ฟังและสอบคำให้การต่อไป
  • พนักงานอัยการจังหวัดพลเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 4 ผู้ต้องหา ต่อศาลจังหวัดพล ในความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, เป็นอั้งยี่, ซ่องโจร และร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ หลังพนักงานสอบสวนมีหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 4 ให้มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มเติมในเช้าวันเดียวกันนี้ หลังศาลรับฟ้อง และอ่านฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ฟังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้งสี่ซึ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อครบฝากขังในวันที่ 10 ก.ค.60 ก็ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำอำเภอพลในช่วงเย็น
  • ผู้พิพากษาไม่ได้เข้าในห้องพิจารณา มีเพียงนิติกรมาชี้แจง และให้ทนายอธิบายข้อกล่าวหาและสิทธิของจำเลยให้จำเลยฟัง แล้วถามคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งหมด รับสารภาพแต่ข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ ขอสู้คดีในข้อหาอื่น โดยศาลนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 2 ต.ค. 60
  • ศาลได้อ่านคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยฟัง และถามคำให้การ ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ ส่วนข้อหาอื่น ๆ ขอให้การปฏิเสธ และรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 1-4 ของคดีหมายเลขดำที่ 1267/2560 ซึ่งโจทก์ขอให้นับโทษจำคุกต่อจากคดีดังกล่าวด้วย ศาลจึงตรวจพยานหลักฐานและนัดวันสืบพยาน โดยโจทก์มีพยานบุคคลรวม 22 ปาก คู่ความแถลงว่า พยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ และตรวจพิสูจน์ของกลาง รวม 2 ปาก จำเลยไม่ติดใจสืบ คงเหลือพยานบุคคลที่จะต้องสืบรวม 20 ปาก นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-22 ธ.ค. 60 และวันที่ 23 ม.ค. 61 รวม 5 วัน ส่วนจำเลยมีพยานบุคคลรวม 10 ปาก นัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 24-25 ม.ค. 61 รวม 2 วัน

    นอกจากนี้ ผู้เสียหาย นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลชนบท อ.ชนบท ได้ยื่นคำร้องบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนแพ่ง ศาลจึงมีคำสั่งให้ฝ่ายจำเลยยื่นคำให้การในส่วนแพ่งนี้ภายใน 15 วัน อีกทั้ง ในแต่ละคดี มีพยานโจทก์ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 4 ปาก ศาลได้มีคำสั่งให้นักจิตวิทยาเข้าร่วมในวันนัดสืบพยานปากดังกล่าวด้วย

    (ข้อมูลจาก 6 จำเลยวัยรุ่นคดีเผาซุ้มฯ รับสารภาพวางเพลิง ไม่เจตนาหมิ่นฯ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=5374)
  • ศาลจังหวัดพลนัดพร้อมโจทก์จำเลยคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดขอนแก่น คดีหมายเลขดำที่ อ.1267/2560 ซึ่งมีนายไตรเทพ และพวกรวม 6 คน เป็นจำเลย และคดีหมายเลขดำที่ 1268/2560 ซึ่งมีนายไตรเทพ และพวกรวม 4 คน เป็นจำเลย ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดพล-โจทก์ ยื่นคำร้องขอรวมพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน

    หลังจากจำเลยทั้ง 6 คน ใน 2 คดี ถูกนำตัวมายังห้องพิจารณาคดี ได้ขอปรึกษาหารือกับทนายความ และอัยการจังหวัดพล ซึ่งมาศาลในวันนี้ด้วย จากนั้น จำเลยทั้ง 4 ในคดีนี้ได้แถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะขอถอนคำให้การเดิม และให้การรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้องทุกข้อกล่าวหาในทั้งสองคดี

    โจทก์และจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบ แต่จำเลยขอยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพเป็นหนังสือภายใน 15 วัน และศาลเห็นควรให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้ง 4 รายงานต่อศาล เพื่อศาลใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจก่อนมีคำพิพากษา

    (ข้อมูลจาก 'จำเลยวัยรุ่นคดีเผาซุ้มฯ เปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพทุกข้อหา' ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=5713)
  • นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชนบท ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 958,000 นั้น จำเลยวัยรุ่นทั้ง 4 ไม่สามารถชดใช้ได้ อีกทั้งเห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวสูงเกินจริง จึงต้องทำการสืบพยานเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจพิพากษาว่า จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายในจำนวนเท่าใด โดยนายกเทศมนตรีฯ เบิกความว่า ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวอ้างอิงราคาในการก่อสร้างซุ้มในปี 2551 โดยไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีระเบียบในการคิดค่าเสื่อมราคา ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนการซักค้านพยานผู้เสียหาย และสืบพยานจำเลยไปอีกนัด ในวันที่ 20 ธ.ค.
  • 20 ธ.ค. 60 ศาลจังหวัดพลนัดสืบพยานในส่วนแพ่งของคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1268/2560 ซึ่งนายไตรเทพกับพวกรวม 4 คน ตกเป็นจำเลยจากกรณีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของ ร.9 ในอำเภอชนบท โดยนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชนบท ขอให้จำเลยทั้ง 4 ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 958,000 บาท เป็นการสืบพยานผู้เสียหายต่อจากนัดที่แล้ว

    ทั้งนี้ นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชนบท พยานผู้เสียหายตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ภายหลังเกิดเหตุ พยานไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบว่า ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ 2 ซุ้ม ถูกวางเพลิง เกิดความเสียหายไม่เท่ากัน แต่ไม่สามารถใช้งานได้อีกทั้ง 2 ซุ้ม ทางเทศบาลฯ ได้บันทึกภาพสภาพความเสียหายของโครงเหล็กในระยะใกล้ไว้เป็นหลักฐาน ไม่มีการทำบันทึกการตรวจสอบทางวิชาการ แต่คณะกรรมการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วย ผบช.ภ. 4, ผบ.มทบ.23, นายอำเภอชนบท, ผกก.สภ.ชนบท และพยาน มีความเห็นตรงกันว่า ซุ้มทั้งสองไม่สามารถใช้งานได้อีก อีกทั้งเป็นซุ้มเฉลิมพระเกียรติ การปรับปรุงซ่อมแซมนำมาใช้ใหม่เป็นเรื่องไม่เหมาะสม ให้รื้อถอนออก

    พยานไม่เคยเห็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่จัดทำโดยกรมบัญชีกลาง และมีหนังสือแจ้งถึงปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ให้กระทรวง กรม ยึดถือปฏิบัติ แต่ทราบว่าไม่ได้ใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    พยานทราบว่าคดีนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี แยกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ ซึ่งพยานได้มอบหมายให้นิติกรยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเช่นกัน แต่ศาลให้ถอนคำร้อง เนื่องจากเด็กไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดี

    ต่อมา นายพัฒนะ ศรีใหญ่ ทนายจำเลยทั้ง 4 คนที่ 1 เบิกความเป็นพยานจำเลยทั้ง 4 ว่า พยานได้ไปปรึกษานิติกรผู้ปฏิบัติงานฝ่ายพัสดุ ประจำสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกทำลาย และค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการคิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ ซึ่งนิติกรฯ ได้ทำความเห็นเป็นหนังสือแสดงที่มาที่ไปของการคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในคดีนี้ ยึดตามหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐของกรมบัญชีกลาง มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ซุ้มทั้งสองในคดีนี้จัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่วัสดุอื่นๆ เป็นส่วนประกอบหลัก มีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ปี ซุ้มทั้งสองใช้งานมาแล้วเป็นเวลาเกือบ 9 ปี 9 เดือน (15 ส.ค. 50 - 13 พ.ค. 60) คำนวณค่าเสื่อมราคาด้วยวิธีเส้นตรงตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง มูลค่าที่เหลือของซุ้มทั้งสองในวันที่ถูกเผาทำลายจะอยู่ที่ 23,952.96 บาท นอกจากนี้ นิติกรฯ ยังมีความเห็นในเรื่องการบังคับใช้หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาฯ ของกรมบัญชีกลางว่า แม้จะไม่ได้กำหนดให้ใช้บังคับไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยังไม่มีระเบียบ หรือหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สิน ก็สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ได้โดยอนุโลม เพื่อรับรู้มูลค่าสินทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นผลดีมากกว่า

    หลังสืบพยานส่วนแพ่งเสร็จ ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 31 ม.ค. 61 พร้อมกับคำพิพากษาส่วนอาญา ทั้งนี้ ศาลแจ้งคู่ความว่า คดีนี้ศาลต้องไปปรึกษาสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาคว่า จะใช้หลักเกณฑ์อย่างไร ก่อนเขียนคำพิพากษา
  • ศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 4 มีความผิดตามฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 217, 209 วรรคแรก, 210 วรรคสอง) การกระทำของจำเลยส่งผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทย จำเลยกระทำความผิดโดยไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์มีความร้ายแรง เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างจึงสมควรให้ลงโทษสถานหนัก การกระทำของจำเลยทั้ง 4 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 1, 3 และ 4 มีอายุเกิน 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐานเป็นอั้งยี่ จำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 8 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี, ฐานเป็นซ่องโจร จำจำคุกเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี, ฐานร่วมกันวางเพลิงฯ และหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฏหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานหมิ่นฯ พระมหากษัตริย์ฯ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 2 จำคุก 10 ปี รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 7 ปี 20 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 รวม 13 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 3 ปี 16 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 คงเหลือจำคุก 6 ปี 6 เดือน ให้นับโทษต่อจากคดีหมายเลขดำที่ 1267/2560 ริบของกลางคราบน้ำมันดีเซล 1 กระป๋อง

    คำพิพากษาส่วนแพ่ง เห็นควรกำหนดค่าเสียหายตามสัญญาจ้าง ที่จำเลยต่อสู้ว่า ค่าเสียหายไม่เป็นความจริง ต้องนำค่าเสื่อมราคามาคิดด้วยนั้น เห็นว่าการกำหนดค่าเสื่อมราคาต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างประกอบด้วย เมื่อซุ้มฯ ดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเคารพสักการะ ย่อมไม่อาจนำค่าเสื่อมราคามาพิจารณาได้เยี่ยงวัสดุหรือสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ไม่มีเหตุลดหย่อนค่าเสียหายทางแพ่ง ให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระค่าเสียหายจำนวน 958,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. 60 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่เทศบาลตำบลชนบท

    ทั้งนี้ จำเลยที่ 1-4 เป็นบุคคลเดียวกันในทั้งสองคดี จากการที่ศาลให้นับโทษต่อ ทำให้ไตรเทพ, ฟิล์ม และเบล (นามสมมติ) มีโทษจำคุกรวม 5 ปี 32 เดือน หรือ 7 ปี 8 เดือน ส่วนฟลุค จำเลยที่ 2 ต้องโทษจำคุกมีกำหนดรวม 11 ปี 6 เดือน ขณะที่แทนและเต้ย ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเดียว มีโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน

    (ข้อมูลจาก 'โทษหนัก! จำคุก 10 ปี ข้อหา 112 วัยรุ่นเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ' ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=6182)
  • ทนายความของจำเลยทั้งสี่ได้เข้ายื่นอุทธรณ์ที่ศาลจังหวัดพล คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ตามระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร หรือให้จำเลยเสียค่าปรับ หรือทำงานบริการสังคม โดยจำเลยทั้งสี่ยินยอมถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด และขอให้ลดหย่อนค่าเสียหายทางแพ่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อขอโอกาสให้จำเลยทั้งสี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม พร้อมทั้งดูแลครอบครัวต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคมมากกว่าการจำคุกจำเลยทั้งสี่ไว้เป็นเวลานาน โดยศาลจังหวัดพลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 61 รับอุทธรณ์ของจำเลย ส่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาต่อไป (ข้อมูลจาก http://www.tlhr2014.com/th/?p=6908)
  • ศาลจังหวัดพลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงวันที่ 11 ก.ค. 61 คดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในอำเภอชนบท ซึ่งมีนายไตรเทพ กับพวกรวม 4 คน เป็นจำเลย คำพิพากษามีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้
    “…เห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายประการแรกเสียก่อนว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งสี่จะให้การรับสารภาพ แต่หากพิจารณาตามฟ้องโจทก์แล้วเห็นได้ชัดเจนว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่มุ่งประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ซุ้มประตูอันเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่มีความมุ่งหมายที่จะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มาด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่เห็นพ้องด้วย และความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งสี่ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ไม่ใช่มาตรา 210 วรรค 2
    มีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยทั้งสี่หรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย แม้จำเลยทั้งสี่จะไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน และมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ ก็ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสี่
    มีปัญหาต้องวินิจฉัยในประการสุดท้ายว่า ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 958,117.72 บาท สูงเกินไปหรือไม่ เห็นว่า ได้ความผู้ร้องว่า ซุ้มประตูที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกับพวกวางเพลิงเผานั้นก่อสร้างในปี 2550 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน 958,117.72 บาท หลังเกิดเหตุซุ้มประตูไม่สามารถใช้การได้ ต้องรื้อและสร้างขึ้นใหม่ ที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าซุ้มประตูดังกล่าวเมื่อก่อสร้างขึ้นแล้วย่อมมีความเสื่อมไปตามธรรมชาติและตามสภาพการใช้งาน ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จึงสูงเกินไป เห็นว่า แม้ซุ้มประตูที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกับพวกวางเพลิงเผาจะใช้งานไปนานหลายปี แต่ก็ไม่ปรากฏว่าซุ้มประตูดังกล่าวชำรุด บกพร่อง หรือเสียหาย ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 958,117.72 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
    พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานซ่องโจร จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 วรรคแรก ความผิดฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น จำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 4 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 6 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 2 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 3 ปี เมื่อรวมโทษกับความผิดฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุกจำเลยที่ 1, 3 และ 4 คนละ 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน ยกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น”

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดพลได้มีคำพิพากษาชั้นต้น ยกฟ้องนายปรีชาและนายสาโรจน์ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ รวม 3 คดี จากเหตุการณ์เดียวกับจำเลยวัยรุ่น 6 คนนี้ โดยนายปรีชาและนายสาโรจน์ถูกจับกุมดำเนินคดีภายหลังกลุ่มวัยรุ่นทั้งหก และจำเลยอีก 2 คน ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น

    (http://www.tlhr2014.com/th/?p=9000)

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
ไม่อนุญาต
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสรายุทธ อุดมพร
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสรายุทธ อุดมพร
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสรายุทธ อุดมพร
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสรายุทธ อุดมพร
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 31-01-2018

ศาลอุทธรณ์

ผู้ถูกดำเนินคดี :
เบล

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสายัณห์ ศรีดวม
  2. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ
  3. นายสม กุมศัสตรา

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟอส

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสายัณห์ ศรีดวม
  2. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ
  3. นายสม กุมศัสตรา

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายไตรเทพ

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสายัณห์ ศรีดวม
  2. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ
  3. นายสม กุมศัสตรา

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018
ผู้ถูกดำเนินคดี :
ฟลุค

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายสายัณห์ ศรีดวม
  2. นายศุทธิพงศ์ ภูสุวรรณ
  3. นายสม กุมศัสตรา

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 11-07-2018

ข้อสังเกต

คดีนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่ถือเป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน อีกทั้งการขยายขอบเขตการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้จำเลยในคดีนี้ถูกลงโทษจำคุกค่อนข้างหนักเกินกว่าพฤติการณ์ในคดี และทำให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ต้องถูกจำคุกเป็นเวลานาน แทนที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์