ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ (ฝ่ายปกครอง)
ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ผู้กล่าวหา
  • นายชัชวาล ตั้งวัฒนสุวรรณ

ความสำคัญของคดี

เด็กอายุ 14 ปี ถูกรุ่นพี่ชวนแกมบังคับให้ไปร่วมเผาซุุ้มเฉลิมพระเกียรติ โดยได้รับค่าจ้างเพียงเล็กน้อย แล้วถูกดำเนินคดีในข้อหาเป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, วางเพลิงเผาทรัพย์ และดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตาม ปอ.ม.112 หลังถูกจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และถูกควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหาร รวม 6 วัน อันเป็นการละเมิดสิทธิในความมั่นคงปลอดภัยและละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยการสอบสวนในค่ายทหารนำไปสู่การออกหมายจับและดำเนินคดี ซึ่งในขั้นตอนการสอบสวน ผู้ต้องหาก็ไม่มีทนายความและนักจิตวิทยาเข้าร่วมฟังการสอบปากคำ ถูกตั้งข้อหาหนักเกินพฤติการณ์จริง เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกดำเนินคดี ทั้งนี้ คดีนี้เป็นครั้งแรกที่มีการดำเนินคดีเด็กอายุ 14 ปี ในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ

ความคืบหน้าของคดี

  • มีข้อมูลว่า ศาลเยาวชนฯ ขอนแก่น ได้เบิกตัวจำเลยมาอ่านฟ้องให้ฟัง และถามคำให้การ พร้อมทั้งตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมายขอแรงให้ โดยจำเลยรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ศาลฯ นัดฟังผลการกำหนดมาตรการสำหรับจำเลยที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในวันที่ 30 ต.ค. 60 และอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หลังถูกควบคุมในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่นมาแล้วรวม 90 วัน
  • มีข้อมูลว่า ศาลเยาวชนฯ ขอนแก่น กำหนดมาตรการสำหรับจำเลยที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยให้เข้ารายงานตัวเป็นเวลา 6 เดือน

ข้อสังเกต

คดีนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่ถือเป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน ทำให้เด็กถูกดำเนินคดีในข้อหาหนัก และถูกควบคุมในสถานพินิจเป็นเวลาถึง 90 วัน

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์