ผู้ถูกดำเนินคดี
ข้อหา
หมายเลขคดี
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1269/2560

  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)
  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
ดำ 1269/2560

ผู้ถูกดำเนินคดี

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1269/2560

ข้อหา

  • หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (มาตรา 112)
  • อั้งยี่ (มาตรา 209)
  • อื่นๆ (ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ, เลิกจ้าง(คดีแรงงาน), แจ้งความเท็จ, ซ่อนเร้นพยานหลักฐาน)

หมายเลขคดี

ดำ 1269/2560

ความสำคัญของคดี

หนูพิณได้รับการว่าจ้างให้วางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในเขต อ.เปือยน้อย เขาขับรถไปชวนฉัตรชัยซึ่งเป็นลูกชายของเพื่อน โดยมีถุงบรรจุน้ำมันขนาดกำมือหลายถุงอยู่ในรถ แต่เมื่อไปถึงจุดที่ต้องก่อเหตุ ทั้งสองก็เปลี่ยนใจ และขับรถกลับโดยไม่ได้ลงมือเผา แต่ก็ถูกดำเนินคดีในข้อหา อั้งยี่ ตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ และ ม.112 หลังถูกจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และถูกควบคุมตัวโดยพลการในค่ายทหาร รวม 6 วัน อันเป็นการละเมิดสิทธิในความมั่นคงปลอดภัย โดยการสอบสวนในค่ายทหารนำไปสู่การออกหมายจับและดำเนินคดี ซึ่งในขั้นตอนการสอบสวน ผู้ต้องหาก็ไม่มีทนายความหรือผู้ไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำ ถูกตั้งข้อหาหนักเกินพฤติการณ์จริง เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกดำเนินคดี

พฤติการณ์ของคดีตามเอกสารคดี

1. ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง 2 กับพวก ได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่มุ่งประสงค์จะวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9, พระราชินีใน ร.9 และรัชกาลที่ 10 โดยประชาชนทั่วไปไม่อาจรู้ได้ อันเป็นการปกปิดวิธีการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
2. ตามวัน เวลาข้างต้น จำเลยทั้ง 2 กับพวก ได้ร่วมกันตระเตรียมถุงบรรจุน้ำมันจำนวนหลายถุง ผ้าพันไม้ชุบน้ำมันจำนวนหลายอัน ไฟแช็ค รถยนต์กระบะส่วนบุคคล จำนวน 1 คัน เพื่อตระเตรียมจะไปวางเพลิงเผาซุ้มดังกล่าวในเขต อ.เปือยน้อย อันเป็นการตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น และหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

ความคืบหน้าของคดี

  • เรือนจำอำเภอพลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน เนื่องจากพนักงานสอบสวนกล่าวหาผู้ต้องหาทั้งสอง ว่ากระทำความผิดอาญาในข้อหาที่มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง 7 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรค 5 กำหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งขังครั้งละไม่เกิน 12 วัน รวมแล้วไม่เกิน 48 วัน โดยการฝากขังครั้งที่ 4 ครบกำหนดในวันที่ 10 ก.ค. 60 แต่พนักงานอัยการจังหวัดพลยังไม่สามารถสรุปสำนวนเพื่อยื่นส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดพลได้ ทำให้ต้องปล่อยตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ หากพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลจะนัดผู้ต้องหาทั้งสอง มาอ่านฟ้องให้ฟังและสอบคำให้การต่อไป
  • พนักงานอัยการจังหวัดพลเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 2 ผู้ต้องหา ต่อศาลจังหวัดพล ในความผิดฐานร่วมกันตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น, เป็นอั้งยี่ และร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ หลังพนักงานสอบสวนมีหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 2 ให้มารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันหมิ่นประมาทฯ พระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มเติมในเช้าวันเดียวกันนี้ หลังศาลรับฟ้อง และอ่านฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ฟังผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ทั้งสองซึ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อครบฝากขังในวันที่ 11 ก.ค.60 ก็ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำอำเภอพลในช่วงเย็น
  • ผู้พิพากษาไม่ได้เข้าในห้องพิจารณา มีเพียงนิติกรมาชี้แจง และให้ทนายอธิบายข้อกล่าวหาและสิทธิของจำเลยให้จำเลยฟัง แล้วถามคำให้การเบื้องต้น ซึ่งจำเลยทั้งสอง รับสารภาพแต่ข้อหาตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ ขอสู้คดีในข้อหาอื่น โดยศาลนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 2 ต.ค. 60
  • ศาลอ่านฟ้องให้จำเลยฟัง และถามคำให้การ จำเลยทั้งสองรับสารภาพแต่ข้อหาตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ ปฏิเสธข้อหาอื่น แต่ต่อมาหลังอัยการเข้าพูดคุย ทั้งสองขอถอนคำให้การเดิม และเปลี่ยนเป็นให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะความประพฤติของจำเลยทั้งสองรายงานต่อศาล และนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 15 พ.ย. 60
  • ผู้พิพากษาได้ถามจำเลยทั้ง 2 ว่า ยืนยันให้การรับสารภาพตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เมื่อจำเลยยืนยัน ศาลได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจให้จำเลยทั้ง 2 ทราบ จำเลยที่ 1 โต้แย้งในส่วนที่พนักงานคุมประพฤติรายงานเกินข้อเท็จจริงไปว่า จำเลยที่ 1 มีอุดมการณ์เดียวกับผู้จ้างวาน อีกทั้งยังเก็บถุงน้ำมันไว้ รอที่จะเอาไปเผาอีก ศาลอธิบายว่า เป็นขั้นตอนภายหลังการกระทำผิดตามฟ้องที่จำเลยได้รับสารภาพแล้ว ส่วนเรื่องอุดมการณ์เป็นที่ศาลไม่อาจรู้ได้ ซึ่งศาลไม่ได้ใส่ใจนำมาเป็นสาระสำคัญในการพิพากษา จำเลยไม่ติดใจโต้แย้งรายงานการสืบเสาะฯ ในส่วนอื่น ศาลจึงอ่านคำพิพากษา
    พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดหลายกรรม ต่างกรรมต่างวาระกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เรียงกระทงความผิด ฐานเป็นอั้งยี่ ลงโทษจำคุก 1 ปี ฐานตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นและหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานหมิ่นฯ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักที่สุด ให้จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะ คดีมีพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่มีเหตุให้รอลงอาญา ให้ริบน้ำมัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และรถกระบะ ซึ่งเป็นของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด
  • โจทก์-จำเลยไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด

ชั้นสอบสวน

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายฉัตรชัย

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายหนูพิน

การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-

ศาลชั้นต้น

ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายฉัตรชัย

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 15-11-2017
ผู้ถูกดำเนินคดี :
นายหนูพิน

ชื่อองค์คณะผู้พิพากษา :
  1. นายเพิ่มศักดิ์ สุริยวนากุล
  2. นายธีรธร จุฑาทิพย์ชาติกุล

ผลการพิพากษา
ลงโทษ
การอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว
-
พิพากษาวันที่ : 15-11-2017

ข้อสังเกต

คดีนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่ถือเป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน โดยฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน อีกทั้งการขยายขอบเขตการใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้จำเลยในคดีนี้ถูกลงโทษจำคุกค่อนข้างหนักเกินกว่าพฤติการณ์ในคดี

แหล่งที่มา : กรณีที่ศูนย์ทนายความฯ ติดตามสัมภาษณ์